สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    079B52FA-7079-4829-9BDB-811333564714.jpeg

    วิสัชนาแบบปฎิเวธ! สมาธิ

    ต่อให้เปิดเสียงดังขนาดไหน แต่ถ้าเข้าสู่ ฌานใน สุญญตสมาธิ สามารถหรี่เสียงหรือเพิ่มเสียงได้เอง กำจัด ไม่กำจัด

    ต่อให้มีอายตนะ นอกในมากขนาดไหน ฯลฯกำจัด ไม่กำจัด

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก…
    ........
    ข้อความบางตอนใน มหาสติปัฏฐานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐
    http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=10&siri=9



    #“ ข้อได้เปรียบของเหล่าปฎิสัมภิทา” ทำลายฆานะสัญญาทั้งปวง

    เสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานสติ
    อีกอย่างหนึ่ง เพราะพระโยคาวจรไม่ละ ละแวกบ้านอันอื้ออึ้งด้วยเสียงหญิงชาย ช้างม้าเป็นต้น จะบำเพ็ญอานาปานสติกัมมัฏฐาน อันเป็นยอดในกายานุปัสสนา เป็นปทัฏฐานแห่งการบรรลุคุณวิเศษ และธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งปวงนี้ให้สำเร็จ ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ เลย เพราะฌานมีเสียงเป็นข้าศึก
    แต่พระโยคาวจรกำหนดกัมมัฏฐานนี้แล้วให้จตุตถฌาน มีอานาปานสติเป็นอารมณ์เกิดขึ้น ทำฌานนั้นนั่นแลให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วบรรลุพระอรหัต ซึ่งเป็นผลอันยอดจะทำได้ง่าย ก็แต่ในป่าที่ไม่มีบ้าน ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะอันเหมาะแก่ภิกษุโยคาวจรนั้น จึงตรัสว่า อรญฺญคโต วา ไปป่าก็ดี เป็นต้น.
    .......
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถามหาสติปัฏฐานสูตร
    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10.0&i=273&p=2

    FA8FA170-8447-4B15-A3B2-3CA4E15C7DE9.jpeg

    12ACDFF3-8EED-4578-B0E6-18377C9C6ED5.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2024
  2. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    ปฎิสัมภิทาญาน ระดับ อนุบาล โดยอุปมาอุปไมย

    6BBFE117-B56E-4909-92D0-B1A991308C93.jpeg



    โดยรวม นี่คือเศษเสี้ยวเล็กๆของปฎิสัมภิทาญานเพียงเท่านั้น!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2023
  3. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    8E378D0C-921E-4D12-A5A7-6F95CDFD9A44.jpeg

    [๑๐๗๗] ภิกษุไม่พิจารณาเห็นแม้ประโยชน์ตน ด้วยเพียงท่องบ่นพระพุทธวจนะ ย่อมเที่ยวชูคอ สำคัญตัวว่าประเสริฐกว่าเขา[๑๐๘๑] ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้นั้นย่อมห่างไกลจากพระสัทธรรม เหมือนฟ้ากับดิน


    สาธุพระอรหันต์เจ้า ท่านทราบล่วงหน้าโดยถ่ายทอดนิรุตติญานทัสสนะนี้ไว้

    กราบนมัสการท่านพระอรหันต์เจ้าฯ
    AFBF19F9-EE3A-49A1-987E-D2EC918B8027.jpeg 25456B68-32FD-4BB6-865A-929394AB3E16.jpeg

    #ก็ยุคใดสมัยใดเล่าที่เที่ยวชูคอท่องบ่นพุทธวจนะ ด้วยความปรารถนาชั่วในการกวาดล้างทำลายพระไตรปิฏกทั้งโลก

    จงตรวจสอบดูทั้ง 84,000 ว่ามี พระสูตรบทใด ที่มีคำกล่าวทำนองนี้ จากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และจากพระอรหันต์สาวกท่านอื่นด้วยนี้แหละ ท่านเล็งกันหลุดกันพลาดกันหายสาปสูญแห่งอุทานธรรม เพราะมีเหตุเกิด

    เพื่อการคำนวนระยะเวลาก่อนหรือหลังพระปรินิพพานและนัยยะอื่นๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ธันวาคม 2023
  4. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    นิรุตติญานทัสสนะที่ถูกถ่ายทอดไว้! ในเถระคาถา

    นอกจากนี้ยังมีในพระสูตรใดบ้างที่แสดงถึงพฤติกรรมของท่าน โปฐิละ จงพยายามค้นหาดู

    มิน่าจึงติดขัดติดค้างขนาดนั้น!


    ท่านพระโปฐิละ จึงสอนได้แต่อรรถและพยัญชนะ ไม่สามารถสอนสภาวะและชี้สภาวะได้

    026676E0-E0F3-4961-A5E7-C1002DA155C7.jpeg

    4D593742-9A4A-4AEC-B54A-72B0A8CD32E8.jpeg

    B2A04D37-F5B8-4F51-A4FD-DAA8BF122D95.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ธันวาคม 2023
  5. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    ราตรีที่ผ่านมา: นิมิต ยังไม่ถึงขนาดนั้น!

    เมื่อสมาทานศีล พิจารณาอาหาร ฟังธรรม พิจารณาธรรม นั่งภาวนา สมาธิ การพัฒนาแบบก้าวกระโดด ไปไวมาก
    B079CC44-B30E-4531-8F26-B2C5ED1EA848.jpeg

    #ไม่ได้กินผู้ยังไม่หวังในพระนิพพานในชาติอย่างข้าพเจ้าดอก!
    # ยังไม่อยากไปพระนิพพานเพราะเห็นภัยในวัฎสงสารของเหล่าสัตว์ ไม่ใช่เห็นภัยในวัฎสงสารของตนเอง
    “ตัวชี้วัด ก็ใน มหาวิปัสสนาญาน ที่ไม่เหลืออะไรเลย! จะจากไป หรือ จะฉุดช่วย

    จะไปเมื่อไหร่!ก็ไปได้ ถ้าสั่งสมบุญบารมีถึง แล้วเวไนยหมู่เพื่อนร่วมภพร่วมชาติ ร่วมชะตากรรมใครจะช่วยเขา

    ก็การเกิดเป็นของยากอย่างนี้!

    สละได้ก็สละ! รักเคารพในพระรัตนตรัย ปฎิบัติธรรม ศึกษาอย่างเคารพ จะกลัวไปไยภัยในสังสารวัฏ

    ผู้เรียนรู้ดูคำเตือนจากพระสูตรมีอยู่!

    ถ้ามาด้วยเหตุอื่นอันชอบก็ขออนุโมทนาฯ



    B4B8FCF9-0ADA-4E9D-8A0E-0E4DE3FE8646.jpeg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 ธันวาคม 2023
  6. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    ตอบกระทู้ต่างๆในสื่อฯลฯ :ผู้บิดเบือนไม่รู้จริงในการทำสังคายนาพระไตรปิฏก!

    FDCA7E71-18C6-4A79-BCB1-4EE4B141DDB2.jpeg 53B8DAE6-88DE-4057-AB30-15B2F0C901AB.jpeg

    71DEFB47-7618-46AD-A43B-2F44D5D89F44.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2023
  7. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    แม้แต่ท่านพุทธทาส ก็ยังมีคำกล่าวว่า” พระอภิธรรม คือ ปฎิสัมภิทามรรค “

    และการศึกษาแบบผิดที่ผิดทาง ในพระอภิธรรมเป็นเรื่องที่ไม่ควร

    ฟังแล้วให้เกิด สุตตะมย จินตามย ภาวนามย

    #หมากอีกหลายๆกระดาน คือ แสดงนรกสวรรค์ให้ได้!

    สุดท้ายบทสรุปส่งท้ายไปที่ สูญญตาธรรม {พระสัทธรรม}

    “ความว่าง”




    4D1908BD-0D5C-43B1-8AB6-3C8A758F9CBF.jpeg





    D741D260-B587-47E3-B6CB-7271B701EA33.jpeg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2023
  8. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    สาวตฺถิยํ วิหรติ ... ภูตปุพฺพํ ภิกฺขเว ทสารหานํ
    อานโก นาม มุทิงฺโค อโหสิ ฯ ตสฺส ทสารหา อานเก ผฬิเตอญฺญํ อาณึ โอทหึสุ ฯ อหุ โข โส ภิกฺขเว สมโย ยํ อานกสฺส มุทิงฺคสฺส โปราณํ โปกฺขรํ ผลกํ อนฺตรธายิ อาณิสงฺฆาโต จ อวสิสยิ ฯ เอวเมว โข ภิกฺขเว ภวิสฺสนฺติ ภิกฺขู อนาคตมทฺธานํ

    เย เต สุตฺตนฺตา ตถาคตภาสิตา คมฺภีรา คมฺภีรตฺถา โลกุตฺตราสุญฺญตปฏิสญฺญุตฺตา เตสุ ภญฺญมาเนสุ น สุสฺสุสิสฺสนฺติ นอญฺญาจิตฺตํ อุปฏฺฐาเปสฺสนฺติ น จ เต ธมฺเม อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณิตพฺพํ มญฺญิสฺสนฺติ ฯ เย ปน เต สุตฺตนฺตา กวิกตากาเวยฺยา จิตฺตกฺขรา จิตฺตพฺยญฺชนา พาหิรกา สาวกภาสิตา เตสุภญฺญมาเนสุ สุสฺสุสิสฺสนฺติ โสตํ โอทหิสฺสนฺติ อญฺญาจิตฺตํ อุปฏฺฐาเปสฺสนฺติ เต จ ธมฺเม อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณิตพฺพํ มญฺญิสฺสนฺติ ฯ

    เอวเมว เตสํ ภิกฺขเว สุตฺตนฺตานํ ตถาคตภาสิตานํ คมฺภีรานํ คมฺภีรตฺถานํ โลกุตฺตรานํ สุญฺญตปฏิสญฺญุตฺตานํอนฺตรธานํ ภวิสฺสติ ฯ ตสฺมาติห ภิกฺขเว เอวํ สิกฺขิตพฺพํ เยเต สุตฺตนฺตา ตถาคตภาสิตา คมฺภีรา คมฺภีรตฺถา โลกุตฺตราสุญฺญตปฏิสญฺญุตฺตา เตสุ ภญฺญมาเนสุ สุสฺสุสิสฺสาม โสตํ โอทหิสฺสาม อญฺญาจิตฺตํ อุปฏฺฐาเปสฺสาม เต จ ธมฺเม อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณิตพฺพํ มญฺญิสฺสามาติ เอวญฺหิ โว ภิกฺขเว สิกฺขิตพฺพนฺติ ฯ สตฺตมํ ฯ



    26D2EFEF-457B-4B56-8E18-82D121544AD7.jpeg 3A81E67B-D5A5-4670-AA01-6A622599E925.jpeg 7920CFC6-EBFA-4CC4-A165-43F4C283AAB7.jpeg F80F1D06-50C6-4A5B-B885-28B4A4D90A29.jpeg

    “ร่างต้นอยู่ในถ้ำหรือบนบกก็จริง แต่กายทิพย์ อาจอยู่บนฟ้า”



    D573719E-8EFA-418A-A0F4-0839621D0BE1.jpeg
    #ท่านผู้มีวาสนาและปัญญาธรรม ย่อมพิจารณาได้ ว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสถึง พระสัทธรรม หรือ พระไตรปิฏก โดยพระนามแห่ง พระคัมภีร์/คำภีร์

    #เมื่อท่านทั้งหลายพิจารณาตามได้ดังนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ไม่หลงทาง

    ขออนุโมทนาฯ


    154B28E1-733B-43A1-B3C7-10205D0E0273.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2023
  9. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
  10. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    B532B864-B3CD-4AB8-91A9-6D58350D6E94.jpeg

    [๑๘] “ท่านอานนท์ ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียรอุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่หรือไม่หนอ”

    ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่”

    ทสมคหบดีถามว่า “ท่านอานนท์ ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่บรรลุธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว เป็นอย่างไร”

    รูปฌาน ๔

    [๑๙] ท่านพระอานนท์ตอบว่า “คหบดี ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่ปฐมฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งแล้ว สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา’ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในธรรมนั้นแล้ว ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์(สังโยชน์
    เบื้องต่ำ) ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก

    คหบดี ธรรมอันเป็นเอกแม้นี้แล ซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียรอุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว (๑)

    [๒๐] คหบดี อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่ทุติยฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ’ (๒)

    อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่ตติยฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๓)

    อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ ภิกษุนั้นย่อมเห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘แม้แต่จตุตถฌานนี้แลก็ถูกปรุงแต่งแล้ว ฯลฯ และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม ที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ (๔)
    …ฯลฯ...
    ..............
    ข้อความบางตอนใน อัฏฐกนาครสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=2
    อรรถกถาอัฏฐกนาครสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=18

    หมายเหตุ อัฏฐกนาครสูตร มีเนื้อหาโดยสรุปว่า คหบดีชาวอัฏฐกนครชื่อทสมะ เรียนถามท่านพระอานนท์ว่า ธรรมอันเป็นเอกซึ่งเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้นไป และเป็นที่บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุ โดยลำดับของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ที่พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว มีอยู่หรือไม่
    คหบดีถามถึงธรรมอันเป็นเอกเพียงข้อเดียว แต่ท่านพระอานนท์ ตอบถึง ๑๑ ข้อ คือ
    รูปฌาน ๔ ได้แก่
    ๑. ปฐมฌาน
    ๒. ทุติยฌาน
    ๓. ตติยฌาน
    ๔. จตุตถฌาน
    อัปปมัญญา ๔ ได้แก่
    ๑. เมตตา
    ๒. กรุณา
    ๓. มุทิตา
    ๔. อุเบกขา
    อรูปฌาน ๓ ได้แก่
    ๑. อากาสานัญจายตนฌาน
    ๒. วิญญาณัญจายตนฌาน
    ๓. อากิญจัญญายตนฌาน
     
  11. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    26462D0F-F8A0-4B24-8393-29D4CA2E8744.jpeg F4CB90CB-9DAC-49ED-A74A-FDCC66C3915C.jpeg

    “เมื่อพิจารณาถึงคาถา”
    “เริ่มจะคิดถึงสิ่งที่เป็น อจินไตย กันแล้วสินะ ! สมเด็จองค์ปฐม หรือไม่ก็ พระเจ้าของพระพุทธศาสนา หยุดคิดไว้แค่นี้พอ! ใส่ใจสิ่งที่พระพุทธเจ้าท่านทรงโปรดถ่ายทอดไว้พอ


    มา อนุสฺสวเนน - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะฟังตามกันมา
    มา ปรมฺปราย - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถือสืบกันมา
    มา อิติกิราย - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
    มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีในตำรา
    มา ตกฺกเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะตรรกะ
    มา นยเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะอนุมาน
    มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะลักษณะอาการที่ปรากฏ
    มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะตรงกับความคิดของตน
    มา ภพฺพรูปตา - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะดูน่าเชื่อถือ
    มา สมโณ โน ครูติ - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเป็นครูของตน

    EDF4EE1B-D06B-4F2A-922F-6AE3DBFA46ED.jpeg FAEDCC48-0B3D-484E-B7DC-3BC220058BE3.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มกราคม 2024
  12. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27



    B6C79998-0FC4-4B61-AB55-F2EDFF04D2E9.jpeg 6D0C777C-F4D6-4C2A-A64C-C8045E594A18.jpeg 801BACE6-B9E2-4942-8A0B-9CDFF36217FB.jpeg 9042F6B9-047F-4911-830C-3781B4C3B3A1.jpeg 27F7B1B4-5A59-40CC-918F-7907108FF87F.jpeg


    {พระมหาปกรณ์}

    สุทธิมาคธี โดยสกานิรุตติ มาเป็น บาลีมคธ
    ข้าพเจ้าเห็นจากองค์พระไตรปิฏกท่าน แต่ยังระลึกจำไม่ได้ จึงกราบนมัสการทูลขอให้แปลงเป็นภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจคืออักษรไทย พระสัทธรรมท่านก็ทรงเมตตา แปลงภาษาให้ เป็นบท อภยปริตร พร้อมด้วยสังคีตประโคมทำนอง ในดวงสุญญตธรรม


    ที่นี้ก็ดูว่า ในโลกนี้ใครเคยเห็นบ้าง! และแสดงไว้บ้าง!

    กล่าวถึงบ้าง!

    อัศจรรย์ หรือ ปาหี่ ผู้มีปัญญาธรรม พิจารณาตาม ก็เริ่มมีความคิดเห็นไตร่ตรองได้ชัดเจนขึ้นจนล้น เกินคำว่า”เชื่อ”ไปแล้ว คือ ถ้ามีความหมายอื่นๆ ที่สามารถใช้สื่อสาร ความหมายเกินคำว่า “เชื่อ “ คงจักต้องยกลงมาใช้

    CD58ABE5-8A1A-4031-B32F-01C010481E7C.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2023
  13. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
  14. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    56412414-5E1A-4916-9D21-7A8FF0233DE0.jpeg
    {เราได้แสดงเรื่องสากัจฉสูตร ศีล ปัญญา สมาธิ วิมุตติ วิมุตติญานทัสสนะ ไว้สนับสนุนเป็นที่ประกอบตามกาลแล้ว}

    ท่านทั้งหลายพึงมีความเพียรพยายามเถิด
    DEBD8BFC-1F5E-43EF-B014-63B391911EB6.jpeg
    F86AAB3E-7949-44FC-B686-36E3BBBAEFB8.jpeg 665326A8-6540-4618-B417-44EFC8A174E3.jpeg

    เริ่มการบำเพ็ญขั้นอุกฤษฏ์ไม่กินอาหาร 7 วันผ่านมา

    ถ้าเห็นหายไป ก็แสดงว่าตาย อดจนตายไปแล้ว เป็นการปฎิบัติต่อเนื่องจนกว่าร่างกายจะหมดสภาพ จนล้มหมอนนอนเสื่อ เข้าโรงบาล ICU จึงจะหยุดหันกลับมากินตามปกติ

    การบำเพ็ญตบะครั้งนี้ จะเป็นในฆราวาสวิสัย ยังไม่ใช่พระดาบส ฤาษีวิสัย หรือ ภิกษุสงฆ์วิสัย

    สภาวะที่ปรากฎก็มีมาเรื่อยๆค่อยสรุปผลในตอนท้ายฯ

    วัตถุประสงค์ ปฎิบัติบูชา ขั้นอุกฤษฏ์
    สถานะผู้ปฎิบัติ ศีล ๖ ทำงานตามปกติ
    มิใช่ไม่กินแล้วนั่งๆนอนๆ
    สถานะ เป็นผู้ที่มีสำรับอาหารเตรียมไว้เฉพาะทุกวัน
    เริ่มจากอดข้ามปี ปฎิเสธคำเชิญงานเลี้ยงทุกกรณี!
    [กระทู้นี้เป็นความเชื่อและความคิดเห็นส่วนบุคคล ที่ปฎิบัติและทำการทดลองด้วยตนเอง]

    [น้ำเปล่าหรือน้ำผลไม้และนมจืดนมถั่วเหลืองไม่เกิน 3-5 ขวดหรือกล่องปกติต่อวันเพื่อทดแทนอาหารที่สามารถขบเคี้ยวได้ กินบ้างไม่กินบ้างแล้วแต่กรณี]

    "ทั้งนี้ก็เป็นไปเพื่อเป็นตัวอย่างหรือแบบทดสอบที่จะส่งผลทางร่างกายของมนุษย์ เพื่อการเรียนรู้ แก่ตนเองและผู้อื่น!"

    “ผู้ไม่อยาก ผู้นั้นเอาชนะความอยาก ชีวิตผู้นั้นจักต้องการสิ่งใด”
    แม้อาหารเพื่อดำรงชีพก็ยังไม่ต้องการ ชีวิตของเขาจักต้องการสิ่งใด


    D3CA5F90-FBC2-4CD6-88D9-65F3D9492D5F.jpeg 60020C40-A78D-4F21-8682-E22A66CE8D7B.jpeg C0DFB180-FB0E-48D4-B72B-D3B6D9616FFB.jpeg B8002EC0-A8CE-46AE-968E-5968B344CC4A.jpeg 0D018ECA-04BF-4BDB-B498-3C1B9F7F0BBF.jpeg B6ECA51E-8E48-4113-A0E5-15B1A4AC2FD6.jpeg
    F133D2CB-BDF7-4FF3-8752-B3B62DA1C345.jpeg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 มกราคม 2024
  15. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    23E8E059-54BA-4856-9940-12AA440E5E25.jpeg

    พรรณนาคาถาว่า วโร วรญฺญู
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจวจนะ ที่มีพุทธรัตนะเป็นที่ตั้งด้วยปริยัตติธรรมอย่างนี้แล้ว
    บัดนี้ จึงทรงเริ่มตรัสด้วยโลกุตรธรรมว่า วโร วรญฺญู.
    ในคำนั้น บทว่า วโร ความว่า พระพุทธเจ้าผู้อันผู้มีอัธยาศัยน้อมใจเชื่อที่ประณีตปรารถนาว่า โอหนอ! แม้เรา ก็จักเป็นเช่นนี้. หรือพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ สูงสุด ประเสริฐสุด เพราะประกอบด้วยพระคุณอันประเสริฐ.
    บทว่า วรญฺญู ได้แก่ ผู้ทรงรู้พระนิพพาน. จริงอยู่ พระนิพพานชื่อว่า ประเสริฐ เพราะอรรถว่าสูงสุดกว่าธรรมทั้งปวง. ก็พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้ปรุโปร่ง ซึ่งพระนิพพานนั้น ที่โคนโพธิพฤกษ์ ด้วยพระองค์เอง.
    บทว่า วรโท ความว่า ประทานธรรมอันประเสริฐที่เป็นส่วนตรัสรู้ และส่วนที่อบรมบ่มบารมีแก่สาวกทั้งหลาย มีพระปัญจวัคคีย์ พระภัททวัคคีย์ และชฏิลเป็นต้น และแก่เทวดาและมนุษย์อื่นๆ
    บทว่า วราหโร ได้แก่ ที่เรียกว่า วราหโร เพราะทรงนำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ
    จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ มาตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามทีปังกร ทรงนำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐเก่าๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พระองค์ก่อนๆ ทรงดำเนินมาแล้ว. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงถูกเรียกว่า วราหโร ผู้นำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ.
    อนึ่ง พระพุทธเจ้า ชื่อว่า วโร ผู้ประเสริฐ เพราะทรงได้พระสัพพัญญุตญาณ.
    ชื่อว่า วรัญญู ผู้รู้ธรรมอันประเสริฐ เพราะทรงทำให้แจ้งพระนิพพาน
    ชื่อว่า วรโท ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ เพราะประทานวิมุตติสุขแก่สัตว์ทั้งหลาย
    ชื่อว่า วราหโร ผู้นำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ เพราะทรงนำมาซึ่งปฎิปทาสูงสุด
    ชื่อว่า อนุตตโร ยอดเยี่ยม เพราะไม่มีคุณอะไรๆ ที่ยิ่งกว่าโลกุตรคุณเหล่านั้น.
    มีนัยอื่นอีกว่า ชื่อว่า วโร เพราะทรงบริบูรณ์ด้วยอธิษฐานธรรม คืออุปสมะ ความสงบระงับ.
    ชื่อว่า วรัญญู เพราะทรงบริบูรณ์ด้วยอธิษฐานธรรม คือปัญญาความรอบรู้.
    ชื่อว่า วรโท เพราะทรงบริบูรณ์ด้วยอธิษฐานธรรม คือจาคะ ความสละ
    ชื่อว่า วราหโร เพราะทรงบริบูรณ์ด้วยอธิษฐานธรรม คือสัจจะ ความจริงใจ. ทรงนำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ.
    อนึ่ง ชื่อว่า วโร เพราะทรงอาศัยบุญ ชื่อว่า วรัญญู ก็เพราะทรงอาศัยบุญ
    ชื่อว่า วรโท เพราะทรงมอบอุบายแห่งบุญนั้นแก่ผู้ต้องการเป็นพระพุทธเจ้า.
    ชื่อว่า วราหโร เพราะทรงนำมาซึ่งอุบายแห่งบุญนั้นแก่ผู้ต้องการเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า.
    ชื่อว่า อนุตฺตโร เพราะไม่มีผู้เสมอเหมือนในธรรมนั้นๆ หรือเพราะเป็นผู้ไม่มีอาจารย์ แต่กลับเป็นอาจารย์ของคนอื่นๆ ด้วยพระองค์เอง ได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ เพราะทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ ที่ประกอบด้วยคุณมีธรรมที่ตรัสดีแล้วเป็นต้น เพื่อผลนั้นแก่ผู้ต้องการเป็นสาวก.
    คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล.
    พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของพระองค์ด้วยโลกุตรธรรม ๙ ประการอย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นแล จึงทรงประกอบสัจจวจนะว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ เป็นต้น
    ความของสัจจวจนะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาก่อนแล้วนั่นแล
    แต่พึงประกอบความอย่างเดียวอย่างนี้ว่า
    พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสรู้โลกุตรธรรมอันประเสริฐได้ด้วย ได้ประทานโลกุตรธรรมได้ด้วย ทรงนำมาซึ่งโลกุตรธรรมได้ด้วย ทรงแสดงโลกุตรธรรมได้ด้วย
    แม้อันนี้ ก็เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า
    พวกอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาล ก็พากันยอมรับพุทธอาชญาแห่งพระคาถานี้แล.
     
  16. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
  17. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27


    “เหตุปัจจัย”

    โสตานุคตสูตร ว่าด้วยอานิสงส์การฟังธรรม ๔ ประการ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลาย ที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคล พึงหวังได้ อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็น ธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ เธอมีสติหลงลืม เมื่อการทำกาละ ย่อมเขาถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคลพึงหวังได้

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด ด้วยดีด้วยทิฏฐิ เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกาย หมู่ใดหมู่หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มีความสุขอยู่ใน ภพนั้นเลย แต่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง เขาเดินทางไกล ฟังได้ยินเสียงกลอง เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า เสียงกลอง หรือไม่ใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๒แห่งธรรมทั้งหลาย ที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคล พึงหวังได้

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... บทแห่งธรรม ทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรย่อม แสดงธรรมในเทพบริษัท เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติ พรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่า สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาด ต่อเสียงสังข์เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือเคลือบแคลงว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรมคือ สุตตะ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๓ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิอันบุคคลพึงหวังได้

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ... บทแห่ง ธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แม้ภิกษุ ผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แม้เทพบุตร ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิด ทีหลังว่า ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ใน กาลก่อน เธอกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์ๆ สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษเร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สหายของคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่งสหาย คนหนึ่ง พึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราละลึกได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลันดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น อานิสงส์ประการที่ ๔ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคลพึงหวังได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการ นี้ แห่งธรรมทั้งหลายที่ ภิกษุฟังแล้วเนืองๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิอันบุคคล พึงหวังได้

    จบ โสตานุคตสูตรที่ ๑


    อรรถกถา โสตานุคตสูตร

    พึงทราบวินิจฉัยในโสตานุคตสูตรที่ ๑ ดังต่อไปนี้ :-

    บทว่า โสตานุคตาน ความว่า ธรรมที่บุคคลเงี่ยโสตประสาทฟัง แล้วกำหนดด้วยโสตญาณ

    บทว่า จตฺตาโร อานิสสา ปาฏิกงฺขา ความว่า คุณานิสงส์ ๔ ประการ พึงหวังได้ ก็สูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภ ด้วยอำนาจอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่อง ถามว่า ด้วยอำนาจเหตุเกิดเรื่องอะไร ตอบว่า ด้วยอำนาจเหตุเกิดเรื่อง คือ การที่ภิกษุทั้งหลายไม่เข้าไปฟังธรรม ได้ยินว่า พวกพราหมณ์ ๕๐๐ บวชแล้ว ไม่ไปฟังธรรมด้วยคิดว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อตรัสแต่ ลิงค์ วจนะ วิภัติ บท และพยัญชนะ เป็นต้น จักตรัสแต่ข้อที่พวกเรารู้แล้วทั้งนั้น ข้อที่เรายังไม่รู้ จักตรัสอะไรได้ ดังนี้

    พระศาสดาได้สดับเรื่องนั้นแล้ว จึงให้เรียกพราหมณ์ที่บวชเหล่านั้นมาแล้ว ตรัสว่า เพราะอะไร พวกเธอจึงทำอย่างนี้ พวกเธอจงฟังธรรมโดยความเคารพ เมื่อฟังธรรมโดยความเคารพ และสาธยายธรรม อานิสงส์เหล่านี้ เท่านี้เป็น หวังได้ดังนี้ เมื่อทรงแสดงจึงเริ่มเทศนานี้

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺม ปริยาปุณาติความว่า ภิกษุ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ บาลี ซึ่งเป็นนวังคสัตถุศาสน์คำสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙ มีสุตตะ เคยยะเป็นอาทิ

    บทว่า โสตานุคตา โหนฺติ ความว่า ธรรมเหล่านั้นก็ย่อมตามไปเข้าโสตเนืองๆ

    บทว่า มนสานุเปกฺขิตา ได้แก่ ตรวจดูด้วยจิต

    บทว่า ทิฏฺฐิยา สุปฺปฏิวิทฺธา ความว่า รู้ทะลุ ปรุโปร่งดี คือทำให้แจ่มแจ้งด้วยปัญญาทั้งโดยผลทั้งโดยเหตุ พระพุทธพจน์

    บทว่า มุฏฺสฺสติ กาล กุรุมาโน นี้ มิใช่ตรัส เพราะไม่มีสติระลึกถึง แต่ตรัสหมายถึง การตายของปุถุชน จริงอยู่ ปุถุชนชื่อว่า หลงลืมสติตาย

    บทว่า อุปปชฺชติ ความว่า ภิกษุตั้งอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์แล้ว ย่อมเกิดขึ้น เทวโลก

    บทว่า ธมฺมปทา ปิลปนฺติ ความว่า ธรรมคือพระพุทธวจนะ ที่คล่องปากอันมีการสาธยายเป็นมูลมาแต่ก่อนทั้งหมด ย่อมลอยเด่นปรากฏรู้ ได้ชัด แก่ภิกษุผู้มีสุข ซึ่งเกิดในระหว่างภพ เหมือนเงาในกระจกใส

    บทว่า ทนฺโธ ภิกฺขเว สตุปฺปาโท ความว่า การระลึกถึงพระพุทธพจน์เกิดขึ้นช้า คือ หนัก

    บทว่า อล โส สตฺโร ขิปฺปเมว วิเสสคามี โหติความว่า ย่อมบรรลุนิพพาน

    บทว่า อิทฺธิมา เจโตวสิปฺปตฺโต ได้แก่ พระขีณาสพ ผู้ถึงพร้อมด้วยฤทธิ์ถึงความเชี่ยวชาญแห่งจิต

    ในบทว่า อย วา โส ธมฺมวินโย นี้ วา ศัพท์มีอรรถว่า กระจ่างแจ้ง

    บทว่า ยตฺถ คือ ในธรรมวินัยใด

    บทว่า พฺรหฺมจริย อจรึ ได้แก่ เราได้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ บทนั้น ตรัสด้วยอำนาจการะลึกถึง พระพุทธพจน์ว่า ชื่อว่าพระพุทธพจน์แม้นี้ เราก็ได้เล่าเรียนมาแล้วแต่ก่อน

    บทว่า เทวปุตฺโต ได้แก่ เทวบุตรผู้เป็นธรรมกถึกองค์หนึ่ง ดุจปัญจาล จัณฑเทวบุตร ดุจหัตถกมหาพรหม และดุจสนังกุมารพรหม

    บทว่า โอปปา ติโก โอปปาติก สาเรติ ความว่า เทวบุตรผู้เกิดก่อนให้เทวบุตรผู้เกิด ภายหลังระลึก ทรงแสดงความที่สหายเหล่านั้นสนิทสนมกันมานาน ด้วยบทว่า สหปสุกีฬกา นั้น

    บทว่า สมาคจฺเฉยฺยุ ความว่า สหายเหล่านั้นพึงไปพร้อมหน้ากันที่ศาลาบ้าง ที่โคนต้นไม้บ้าง

    บทว่า เอว วเทยฺย ความว่า สหายผู้นั่งก่อนที่ศาลาบ้าง ที่โคนต้นไม้บ้าง พึงกล่าวอย่างนี้กะสหายผู้มาภายหลัง

    บทที่เหลือทุกแห่ง พึงทราบโดยนัยที่กล่าวมาแล้วแล

    จบ อรรถกถาโสตานุคตสูตรที่ ๑
     
  18. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    5449C9DC-AE4C-4B0A-B208-C9DE85C162A2.jpeg 854A8B98-7731-4D12-BFE8-C21E938B32C5.jpeg F3C13528-E76F-40E6-BE65-EF73D101F605.jpeg 8CFA71EA-BEA5-4D6E-9335-314A57653E78.jpeg
    เตือนไว้แล้วในกระทู้ “พุทธทำนาย”

    เรามิได้มีความเพียบพร้อม มีน้ำพระทัยอันทรงพระเมตตาพระมหากรุณาธิคุณอย่างองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าฯ

    เพราะเวลาไม่มีอีกแล้วที่จะมาโลเลท่ามาก เอาให้รู้ดีรู้ชั่ว

    บวกๆกันไปเลย ! ไม่นรกก็สวรรค์ จบๆ นี่อุตส่าห์แช่งตัวเองดรอปตัวเองให้ต่ำสุดกู่แล้วนะ! เผื่อใจไว้ให้เจ็บ จะได้ยิ้มได้บ้างสำหรับคนพาล ผู้ไม่มีมรรคผลอันใดเลยในภพชาติ และก็จักไม่ได้อะไรในภพชาตินี้อีก! เวียนว่ายต่อไป!

    เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สนใจ สัมปรายภพคือทุคติภูมิที่ไปของผู้เป็นโมฆะบุรุษทั้งหลายฯ ไม่ใช่วาระไปโปรดสัตว์นรก!

    เรียกว่า”ฟันทีเดียวขาด โดยไม่ต้องไปฟันซ้ำหรือเหลียวหน้าเหลียวหลังมองให้แน่ใจว่าตกตายดับดิ้นไปหรือยัง”

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2024
  19. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27



    ถือศีลอดวันที่12

    คืนที่10นิมิตปรากฎรูปอาหารปรุงสุกใหม่๑สำรับ พร้อมไอระอุ มีกลิ่นหอมของเครื่องปรุง เครื่องเทศ หลากหลายชนิด

    เหมือนตอนหัดอดอาหารเพื่อชี้ทางธรรมแก่มารดา มีผู้เอาผลไม้ใส่ถาดมาถวายในนิมิตแต่ปฎิเสธไป

    ใช้เวลาปกติในเวลาทานอาหาร หลายๆแห่ง ไปนั่งร่วมวงเชียร์ผู้ทานอาหาร ให้ทานให้อร่อย อยู่เนืองๆ ขอร้องให้ผู้ทานอาหาร ปรุงอาหาร ให้ทำท่าทางทานอย่างเอร็ดอร่อย สรุปมีผู้รู้จำนวนมากกว่า50คนในที่ทำงาน รู้ว่าบำเพ็ญตบะอดอาหารอยู่ แถมยังจับจอบขุดดิน ขนดิน ฯลฯ สารพัดงานใช้แรง เดินทำงานมิได้แต่ต่างจากผู้ทำงานหนัก คนอื่นๆ และบางวันก็สมัครใจที่จะทำงานให้หนักกว่าใครๆ

    ไม่รู้สึกหิว หรือ รู้สึกอยากกิน

    #อีกใจหนึ่งฉุกคิดอย่างสมมุติ หากมีการฝึกฝนแบบพิเศษไม่กินอาหาร ใช้เรี่ยวแรง แข่งขันกันระดับโลก นานาชาติ ร่างเน่าๆนี้คงสามารถทนได้มากกว่าใครๆ

    สมมุติและนึกฝันไปว่า หากสามารถอดจนนานไปหลายวันหลายเดือนเป็นปีจนทำลายสถิติโลก ก็ แอบคิดว่าก็ดีนะถ้าไม่ต้องกินอีกตลอดไป ภาระก็ไม่มาก

    สมมุติถึงเวลานั้น มีผู้ไม่เชื่อ ถึงขั้นพนันขันต่ออลังการงานสร้าง ก็อยากให้ สร้างสถานที่ ทำการทดสอบขังไว้ในห้องนั้นสัก1ปี ห้องที่มีห้องน้ำในตัวมีกล้องวงจรปิด ตรวจเช็ค มีไฟฟ้าหรือแสงเทียน มีระบบอากาศถ่ายเท ชนิดทำเป็นคุกมืดก็ได้ คุกเปิดคุกสว่างก็ดี (แบบมุซาชิ) มีตู้พระไตรปิฏกให้และคัมภีร์พุทธศาสนาต่างๆ มีปากกา ดินสอ สมุดจดที่ใช้ในการพิจารณาธรรมให้ มีช่องสอดน้ำและนมให้ ก็คิดว่าอยู่ได้ โดยไม่ต้องกินอาหาร


    #แค่นั้นก็เพียงพอแล้วชีวิตนี้

    “ไม่ใช่หนทางสว่างของใคร?”
    F305DED3-4074-40EA-A4FF-57918E20DDCD.jpeg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 มกราคม 2024
  20. Lord deva

    Lord deva สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2022
    โพสต์:
    345
    ค่าพลัง:
    +27
    ในสุตมยญาณนิทเทส มีเนื้อหาที่ท่านพระสารีบุตรได้จำแนกธรรมที่ทรงจำธรรมที่ได้สดับมา ๑๖ ประเภท คือ

    ๑.“ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง”

    ๒. “ธรรมเหล่านี้ควรกำหนดรู้”

    ๓. “ธรรมเหล่านี้ควรละ”

    ๔. “ธรรมเหล่านี้ควรเจริญ”

    ๕.“ธรรมเหล่านี้ควรทำให้แจ้ง”

    ๖. “ธรรมเหล่านี้เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อม”

    ๗. “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งความตั้งอยู่”

    ๘. “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณวิเศษ”

    ๙. “ธรรมเหล่านี้เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส”

    ๑๐. “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง”

    ๑๑. “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์”

    ๑๒. “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา”

    ๑๓. “นี้ทุกขอริยสัจ”

    ๑๔. “นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ”

    ๑๕ “นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ”

    ๑๖. “นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจควรกำหนดรู้”
    ปัญญารู้ชัดธรรมที่ได้สดับมานั้น ชื่อว่า สุตมยญาณ
    ………………
    สำหรับประเภทที่ ๑ “ธรรมเหล่านี้ควรรู้ยิ่ง” นั้น แบ่งเป็น ๒ ตอน คือ
    ตอนที่ ๑ หมวดธรรมตามจำนวน
    ตอนที่ ๒ หมวดธรรมต่าง ๆ มี ๖ ชุด คือ
    ชุดที่ ๑ ธรรมหมวดต่าง ๆ แบ่งเป็น ๑๒ หมวด,
    ชุดที่ ๒ ธรรมหมวดพิสดาร แบ่งเป็น ๒ หมวด,
    ชุดที่ ๓ ธรรมหมวดผสม แบ่งเป็น ๕ นัย,
    ชุดที่ ๔ ธรรมหมวดสภาวะ แบ่งเป็น ๑๕ หมวด,
    ชุดที่ ๕ ธรรมหมวดกัมมัฏฐาน แบ่งเป็น ๔ หมวด,
    ชุดที่ ๖ ธรรมหมวดบัญญัติ แบ่งเป็น ๗ หมวด
    ……………
    สำหรับข้อความที่ยกมาในที่นี้ เป็น ชุดที่ ๕ ธรรมหมวดกัมมัฏฐาน แบ่งเป็น ๔ หมวด มีหัวข้อธรรม ๔๑ ประการ ดังนี้

    หมวดที่ ๑ ธรรมฝ่ายอุปจารฌาน ๗ ประการ คือ เนกขัมมะ อพยาบาท
    อาโลกสัญญา อวิกเขปะ ธัมมววัตถาน ญาณ ปามุชชะ

    หมวดที่ ๒ สมาบัติ ๘ ประการ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
    จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนสมาบัติ วิญญาณัญจายตนสมาบัติ
    อากิญจัญญายตนสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ

    หมวดที่ ๓ มหาวิปัสสนา ๑๘ ประการ คือ อนิจจานุปัสสนา
    ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา นิพพิทานุปัสสนา
    วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา ปฏินิสสัคคานุปัสสนา
    ขยานุปัสสนา วยานุปัสสนา วิปริณามานุปัสสนา
    อนิมิตตานุปัสสนา อัปปณิหิตานุปัสสนา สุญญตานุปัสสนา
    อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา ยถาภูตญาณทัสสนะ
    อาทีนวานุปัสสนา ปฏิสังขานุปัสสนา วิวัฏฏนานุปัสสนา

    หมวดที่ ๔ โลกุตตรธรรม ๘ ประการ คือ โสดาปัตติมรรค
    โสดาปัตติผลสมาบัติ สกทาคามิมรรค สกทาคามิผลสมาบัติ
    อนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ อรหัตตมรรค อรหัตตผลสมาบัติ

    ดังมีข้อความดังนี้
    ....................
    [๑๘] เนกขัมมะ(การออกจากกาม) ควรรู้ยิ่ง อพยาบาท(ความไม่พยาบาท) ... อาโลกสัญญา(ความหมายรู้ในนิมิตแห่งแสงสว่าง) ... อวิกเขปะ(ความไม่ฟุ้งซ่าน)... ธัมมววัตถาน(ความกำหนดธรรม) ... ญาณ(ความรู้) ... ปามุชชะ (ความปราโมทย์) ควรรู้ยิ่ง
    ปฐมฌานควรรู้ยิ่ง ทุติยฌาน ... ตติยฌาน ... จตุตถฌาน ...
    อากาสานัญจายตนสมาบัติ ... วิญญาณัญจายตนสมาบัติ ...
    อากิญจัญญายตนสมาบัติ ...เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติควรรู้ยิ่ง
    อนิจจานุปัสสนาควรรู้ยิ่ง ทุกขานุปัสสนา ... อนัตตานุปัสสนา ...
    นิพพิทานุปัสสนา ... วิราคานุปัสสนา ... นิโรธานุปัสสนา ...
    ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ... ขยานุปัสสนา(การพิจารณาเห็นความสิ้นไป) ...
    วยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเสื่อมไป) ...
    วิปริณามานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความแปรผัน) ...
    อนิมิตตานุปัสสนา(การพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิต) ...
    อัปปณิหิตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้ง) ...
    สุญญตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความว่าง) ...
    อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา (การพิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง) ...
    ยถาภูตญาณทัสสนะ (การรู้เห็นตามความเป็นจริง) ...
    อาทีนวานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นโทษ) ...
    ปฏิสังขานุปัสสนา (การตามพิจารณา) ...
    วิวัฏฏนานุปัสสนา(การพิจารณาเห็นอุบายที่จะหลีกไป) ควรรู้ยิ่ง
    [๑๙] โสดาปัตติมรรคควรรู้ยิ่ง โสดาปัตติผลสมาบัติ ...
    สกทาคามิมรรค ...สกทาคามิผลสมาบัติ ... อนาคามิมรรค ...
    อนาคามิผลสมาบัติ ... อรหัตตมรรค ...อรหัตตผลสมาบัติควรรู้ยิ่ง...
    .......
    ข้อความบางตอนในสุตมยญาณนิทเทส ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑
    ขุ.ป.(ไทย) http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=5

    ขุ.ป.(บาลี) http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=31&item=30&items=26

    55EA6883-BA81-4EC2-99D7-8C633329CC80.jpeg
     

แชร์หน้านี้

Loading...