สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]เพียรเถิดจะเกิดผลแม้ยังไม่เห็นอะไรก็อย่าท้อแท้ใจ
    [​IMG]การเจริญภาวนาแต่เพียงขั้นต่ำ หรือการปฏิเสธ
    สมถกัมมัฏฐาน และมุ่งเน้นแต่การพิจารณาสภาวะธรรมเพื่อให้เกิดปัญญานั้น เสี่ยงต่อการเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างมาก


    โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติภาวนา มีสติปรากฏยิ่งจนเกินไป กล่าวคือ มีสติพิจารณาสภาวะธรรมแก่กล้าเกินไป แต่ปัญญาอันเห็นแจ้งที่แท้จริงยังเกิดขึ้นไม่ทัน คงมีอยู่แต่ปัญญาจากการจำได้หมายรู้จากตำราเสียโดยมากนั้น จิตจะปล่อยวางอารมณ์วิปัสสนาที่เคยยกขึ้นมาพิจารณาอยู่เสมอนั้นไม่ได้
    [​IMG]แม้แต่จะได้รับคำแนะนำให้ปล่อย หรือให้ปฏิเสธนิมิต ก็ปฏิเสธไม่ออก เป็นเหตุให้เกิดนิมิตลวงขึ้นในใจ โดยที่เจ้าตัวไม่ได้ตั้งใจจะรู้จะเห็น เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลสข้ออุปัฏฐานอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตได้
    [​IMG]จึงใคร่จะกล่าว ถึงคุณค่าของการเจริญภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ปฏิบัติและสั่งสอนถ่ายทอดไว้ ว่าเป็นกรรมฐานที่มีทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน เป็นการเจริญภาวนาที่มีมหาสติปัฏฐานโดยครบถ้วนอยู่ในตัวเสร็จ คือ มีการพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรมอยู่ในตัวเสร็จ
    [​IMG]มีอุบายวิธีที่ทำให้สมาธิเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว และให้สามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในสัจธรรมจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น
    [​IMG]เมื่อยกสภาวธรรมใดขึ้นพิจารณาให้เกิดปัญญาแล้ว ก็มีวิธีให้พิสดารกาย พิศดารธาตุธรรมไปสู่สุดละเอียด ให้ใจของทุกกายรวมหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายที่สุดละเอียดอยู่เสมอ จิตก็ละวางนิมิตที่ยกขึ้นพิจารณานั้นไปเองโดยอัตโนมัติ วิปัสสนูปกิเลสดังกล่าวจึงไม่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญภาวนาตามแนวนี้แต่ประการใด
    [​IMG]และยิ่งสำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว ยิ่งเห็นอรรถเห็นธรรม ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า สังขตธาตุ สังขตธรรมกับทั้งที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่าอสังขตธาตุ อสังขตธรรม ได้โดยชัดแจ้ง ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย
    จึงขอเชิญชวนท่านสาธุชนเจริญให้มาก แม้ในระยะแรกๆ บางรายอาจจะยังมิได้เห็นอะไร ก็อย่าท้อแท้ใจ ว่าปฏิบัติไม่ได้ผล ความจริงถ้าสังเกตดูในเหตุและผลแล้ว ก็จะพบว่า ท่านได้รับผลดีจากการปฏิบัติอย่างแน่นอน ขอแต่ให้ปฏิบัติให้ได้ตรงตามวิธีที่แนะนำไป ด้วยใจรักในธรรมปฏิบัตินี้ ด้วยความเพียรพยายาม ไม่ย่อท้อ ด้วยใจจดจ่ออยู่เนืองนิจ และด้วยความพินิจพิจารณาในเหตุสังเกตในผลให้ถูกต้อง ตามที่วิปัสสนาจารย์ให้คำแนะนำไว้
    [​IMG]โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้พึงระวังอุปกิเลสของสมาธิให้ดี เช่นว่า
    [​IMG]ระวังอย่าให้เพียรหย่อนเกินไป จนจิตใจง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปี้กระเป่า
    [​IMG]เพียรจัดเกินไป จนกายและใจไม่สงบ
    [​IMG]อยากเห็นนิมิตจนเกินไป ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน
    [​IMG]หรือ..พลอยหงุดหงิด เมื่อรู้สึกว่าปฏิบัติไม่ได้ผล
    [​IMG]หรือ..สะดุ้งตกใจกลัว/ตื่นเต้นจนเกินไปเมื่อเห็นนิมิต ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน หรือเคลื่อนจากสมาธิ
    [​IMG]และพึงระวังรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สำหรับผู้เป็นฆราวาสก็อย่างน้อยศีล ๕ ขึ้นไป
    [​IMG]พึงหลีกเลี่ยงจากกามฉันทะ อย่าไปตรึกนึกถึงมันให้มากนัก เพราะเป็นอุปกิเลสของสมาธิตัวสำคัญเสียด้วย
    [​IMG]สิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษ อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งหลาย
    [​IMG]ตลอดทั้งการดูการละเล่น หรือ ประโคมดนตรีเหล่านี้ ก็ล้วนแต่เป็นเครื่องกีดกั้นหนทางเจริญสมาธิและปัญญาทั้งสิ้น



    หลวงปู่วีระ คณุตฺตโม
    อดีตรองเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำภาษีเจริญ


    [​IMG]
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    กิเลสทั้งปวงนับตั้งแต่อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
    อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายที่
    รวมเรียกว่า สมุทัยนั้น ต่างก็ประชุมรวมลงอยู่ที่ จิตใจของสัตว์ คือใน เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง ๔ อย่างนี้
    ทั้งสิ้น
    เพราะฉะนั้น การแก้ หรือปหานกิเลสทั้งมวลเหล่านี้
    ก็จะต้องแก้ที่จิตใจ คือที่ เห็น จำ คิดและรู้นี่เอง
    กิเลสจึงจะดับหมด
    แล้วธรรมกายจึงจะใสสะอาดบริสุทธิ์ ขยายส่วนใหญ่โตออกไป ได้เต็มธาตุ เต็มธรรม แล้วก็จะไม่กลับมัวหมอง และไม่กลับเล็กเข้ามาอีก เพราะเบิกบานเต็มที่ เหมือนดอกบัวที่บานแล้ว ก็จะเห็นธรรมกายนั้น ใสสว่างอยู่ทุกเมื่อ



    พระราชพรหมเถร
    หลวงปู่วีระ คณุตฺตโม



    ?temp_hash=4e4be3b5bbf348fe824000f3bbe53837.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    #ถ้ายังไม่ได้เป็นพระอริยสงฆ์พระอริยเจ้าก็อย่าหลงว่าตนเองเป็นผู้รู้มาก
    [​IMG]เลิกละความหลงผิด ไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามความเป็นจริง
    [​IMG]ส่วนมากบางคนก็ไม่รู้นะ มากต่อมาก ที่มักจะแสดงความเห็นว่า "ตนเองนี่ รู้แล้ว" ก็ยอมรับว่ารู้อยู่...แต่ส่วนเดียว มันมีส่วนที่ละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีกมาก
    #ยังไม่เป็นพระอริยสงฆ์ #ไม่เป็นพระอริยเจ้าจริงๆแล้ว อย่าหลงตัวเอง ว่าตัวเองรู้แล้ว..ไม่มีทาง มันมีหยาบ กลาง ละเอียด กิเลสน่ะ ถ้าหลงตัวเองก็เสร็จเลย ไม่ต้องพูด มันเป็นอยู่อย่างนี้
    [​IMG]เพราะฉะนั้น วิธีกำจัดกิเลส ซึ่งมันเกิดขึ้นแก่ใจ มันก็ต้องอบรมจิต
    อบรมจิตตรงไหนล่ะ? ทำไมจะอบรมได้?
    #เบื้องต้นต้องอบรมศีลก่อน บุคคลพวกเรานี่แหละ บกพร่องกัน ยังไม่ใช่พระอริยเจ้าก็ต้องคิดว่าบกพร่องอะไร
    [​IMG]แม้แต่ผู้พูดนี่ก็บกพร่องนะ ไม่ใช่ว่าเก่งเสมอไปนะ แต่ก็ทำความเข้าใจตัวเองว่า "อะไรเราผิด อะไรเราควรจะทำให้มันถูก บางทีมันเผลอไผลไปอะไรไป ก็ทำให้มันดี" เป็นพระนี่แหละไม่ใช่ว่าหมดกิเลส ยัง ไม่อย่างนั้นไม่ต้องมาบวชหรอก เป็นพระอรหันต์ไปแล้ว ๓ วันก็มรณภาพ หรือตายไปแล้ว
    ถ้าเป็นพระอรหันต์นี่ เป็นเพศอุบาสก อุบาสิกา ไม่ได้ อยู่ได้ไม่เกิน ๓ วัน
    เทวดา..ถ้าบรรลุคุณธรรมเป็นพระอรหันต์เมื่อไหร่ ทำกาละเมื่อนั้น นิพพานเมื่อนั้นเลย ดังนี้เป็นต้น
    แล้วตราบใดที่มันยังอยู่นี้ ก็นี่แหละ ความเพียรแหละ กำจัดกิเลส แต่ว่าเริ่มต้นสำคัญ ที่ควบคุมจิตนี่คือ เจริญภาวนาสมาธิ ด้วยอุบายวิธีสงบใจ ตัวนี้มันตัวสำคัญมาก
    #หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านเลือกมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ด้วยอุบายวิธีสงบใจที่มีประสิทธิภาพสูงมาก
    คือ...
    อาโลกกสิณ ๑
    อานาปานสติ ๑
    พุทธานุสติ ๑
    #สุดยอดของกัมมัฏฐานแล้วฝ่ายสมถะ มีคุณค่าในการศึกษาสัมมาปฏิบัติ เพื่อกำจัดกิเลสนิวรณ์เครื่องกั้นปัญญาสูงที่สุด ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ไม่ได้ผล คุณไม่ต้องไปหาวิธีอื่นหรอก เพราะนี่ มันยอดของอารมณ์สมถะที่มีคุณค่า มีคุณประโยชน์ มีอานุภาพสูงสุด
    อาโลกกสิณ เป็นกสิณกลาง เหมาะแก่ทุกจริตอัธยาศัย
    พุทธานุสติ ก็เหมาะแก่พวกพุทธจริต
    อานาปานสติ ก็เหมาะแก่ทุกคนทุกจริตอัธยาศัย
    นี่..ถ้าเรียนธรรมะมาเราจะรู้เลย ในขบวนสมถะภูมิ ๔๐ เนี่ย ๓ ข้อนี้ เลิศเลยแหละ เพราะฉะนั้น ตั้งใจปฏิบัติ
    [​IMG]แต่มันดูเหมือนว่า..มันจะยาก ก็เพราะเราไม่ได้สั่งสมมามากพอสมควร ก็ต้องตั้งใจ ถามว่า..เราอยากพ้นทุกข์ไหม หรือเราอยากเวียนว่ายตายเกิดอย่างนี้ต่อไป ถ้าทุกคนเข้าใจก็จะตอบว่า ไม่อยากเวียนว่ายตายเกิดหรอก
    [​IMG]เพราะฉะนั้น #เมื่อไม่อยากเวียนว่ายตายเกิด ก็ต้องเจริญภาวนาสมาธิ ให้ถึง"จิตตวิสุทธิ"
    ความหมดจดแห่งจิต คือ เป็นสมาธิตั้งมั่นตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป เป็นมรรคองค์ที่ ๘ ตั้งแต่"ปฐมฌาน"ขึ้นไป
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสอริยมรรค์มีองค์ ๘ เป็นทางให้ตัดกิเลสเหตุแห่งทุกข์ บรรลุมรรคผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ ข้อที่ ๘ คือ สัมมาสมาธิ
    #การเจริญภาวนาสมาธิ ในระดับฌานจิต ตั้งแต่ปฐมฌานถึงจตุตถฌาน เป็นอย่างต่ำ คือ ตรงนี้ได้มาตรฐาน มีกำลังพอที่จะคู่กันกับ เมื่อใจสงบบริสุทธิ์ผ่องใสแล้ว เจริญวิปัสสนาให้เห็นแจ้งในสภาวะธรรมและอริยสัจธรรมตามความเป็นจริง ตรงนี้เป็นภาวนามยปัญญา ให้เจริญปัญญาด้วยการที่ได้ทั้งเห็น และ ทั้งรู้ แล้วจึงจะเจริญวิชชา คุณเครื่องช่วยให้เห็นแจ้งในสภาวะธรรม และอริยสัจธรรมตามความเป็นจริง ให้ชัดเจนแน่วแน่อีกครั้งหนึ่ง
    อย่างน้อยวิชชา ๓
    คือ...
    ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๑
    จุตูปปาตญาณ ๑
    และวิชชาที่สามสุดท้ายคือ อาสวักขยญาณ
    อาสวักขยญาณเนี่ย ถ้าสมาธิไม่ดีพอ ไปไม่ถึง เพราะไม่สามารถจะเข้าถึงคุณธรรมที่ให้เห็นแจ้ง รู้แจ้ง สภาวะธรรมตามความเป็นจริงได้
    #ต่อเมื่อท่านปฏิบัติถึงธรรมกาย ธรรมเป็นที่ประชุมคุณธรรมของพระอริยสงฆ์ พระอริยเจ้า ตั้งแต่"โคตรภูบุคคลขึ้นไป" จึงจะเจริญทิพจักษุ ทิพโสต สมันตจักษุ พุทธจักษุ และ ปัญญาจักษุ...ได้อย่างชัดเจนแจ่มแจ้ง นี่แหละ เรื่องมันสูงขึ้นไปถึงขนาดนี้ ก็ต่อเมื่อไปเข้าสู่กระแสพระนิพพาน เรียกว่า "#ตกกระแส"



    [​IMG]


    พระเทพญาณมงคลเสริมชัย ชยมงฺคโล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    [​IMG]ให้นึกให้เห็นด้วยใจบ่อยๆ ใจก็จะมารวมอยู่ที่นั่น เพราะใจเห็นอยู่ที่ไหนใจก็อยู่ที่นั่น

    นี้เป็นอุบายวิธี พอใจหยุดแล้ว เราไม่ต้องนึกแล้ว เพียงหยุดตัวเดียว เมื่อหยุด ใจก็จะไม่ออกไปฟุ้งซ่านภายนอก ใจก็จะหยุดสงบนิ่ง ผ่องใส
    [​IMG]หลวงปู่สดเทศน์ตอนนึงในเรื่องพระของขวัญไว้ว่า
    "ใจหยุดนิ่งอยู่กับพระที่เห็นแจ่มนั่นแหละ
    เป็นมหัคคตกุศล กามาวจรกุศล จะทำบุญกุศลอย่างหนึ่งอย่างใดสู้ไม่ได้ สร้างวัดวาอาวาสอย่างหนึ่งอย่างใด สู้ใจหยุดนิ่งอยู่กับพระของขวัญนั้นอึดใจเดียวเท่านั้นไม่ได้ เสียเงินสักกี่โกฏิกี่ล้านก็สู้ไม่ได้
    เมื่อเราเอาใจของเราจรดอยู่พระของขวัญที่เห็นแจ่มนั้น เป็นมหัคคตกุศล เป็นสมาธิแล้ว ตายไม่ตกนรก"


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    #ดูเทวดาชั้นจตุมหาราชิกาที่มีใจโหดร้าย ๔ จำพวก ได้แก่


    (๑) เทวดายักษ์ มีทั้งยักษ์ชาย (ยกฺข) และยักษ์หญิง (ยกฺขินี) อยู่ภายใต้การปกครอง ของ “ท้าวเวสสุวัณมหาราช” พวกหนึ่งมีรูปร่างสวยงาม มีรัศมี อีกพวกหนึ่ง มีรูปร่าง น่าเกลียด ไม่มีรัศมี พวกนี้จัดเป็นเดรัจฉานยักษ์
    1f33c.png เทวดายักษ์เหล่านี้ ชอบเบียดเบียนสัตว์นรก เวลามีจิตใจชั่วร้าย ก็จะเนรมิตตัวเป็น นายนิรยบาลลงไปสู่นิรยโลก (นรก) เที่ยวลงโทษสัตว์นรกตามอำเภอใจของตน เมื่อต้องการ จะกินสัตว์นรก ก็จะเนรมิตตัวเป็นแร้งยักษ์/กายักษ์ จับสัตว์นรกเหล่านั้นกินเสีย
    บางทีเขาก็เบียดเบียนมนุษย์
    ดังตัวอย่างประสบการณ์ของผู้ตั้งใจศึกษาสัมมาปฏิบัติท่านหนึ่งต่อไปนี้
    รถยนต์ ๑๐ ล้อ บรรทุกทราย เต็มคันรถ กำลังมุ่งหน้าไปทางกรุงเทพฯ ขณะกำลังขึ้นแล้วลงจากคอสะพาน รถยนต์ของท่านกำลังขับตามมาห่างๆ (ประมาณ ๒๐ เมตร) ได้เห็น
    กุมภัณฑเทวดา หรือ รากษส ตัวใหญ่คล้ายยักษ์ตนหนึ่ง ยืนรออยู่ข้าง ถนนด้านซ้าย ห่างจากคอสะพานไปประมาณ ๒๐ เมตร บันดาลลม (เป่าลม) ไปทางรถยนต์บรรทุกคันนั้น พลันรถคันนั้นก็เสียความทรงตัว แล่นลงจากคอสะพานเหมือนงูเลื้อย แล้วก็พลิกคว่ำลงข้างทาง โดยมี รถของท่านตามมาใกล้ๆ ซึ่งปกติเมื่อท่านนั่งอยู่ในรถจะเจริญภาวนา อธิษฐานปาฏิหาริย์ “จักรแก้ว” จากศูนย์กลาง “พระธรรมกาย” ให้ คุ้มครองรถที่ท่านนั่งอยู่ ชะรอยยักษ์ที่ยืนพ่นลมอยู่นั้น คงจะเห็น “จักรแก้ว” ที่กำลังหมุนอยู่โดยรอบรถยนต์ที่ท่านนั่งป้องกันภัย จึงชะงัก เกิดความกลัว และหยุดพ่นลมแรงให้รถยนต์บรรทุกคันนั้นเกิดอุบัติเหตุ ร้ายแรง เพื่อให้คนขับตายหรือบาดเจ็บเลือดตกยางออก แล้วจะได้กิน เลือดกินเนื้อเสีย
    เมื่อรถยนต์ที่ท่านนั่งกำลังแล่นผ่านไป ท่านจึงได้หันกลับไปดูคนขับ รถยนต์บรรทุกที่คว่ำลงข้างทางนั้น มองเห็นคนขับกำลังคลานออกมาจาก ที่นั่งโดยปลอดภัย ก็รู้สึกโล่งใจที่เขาปลอดภัยจากรากษสนั้น”
    (๒) คันธัพพเทวดา อยู่ในปกครองของ “ท้าวธตรฐมหาราช” เป็นเทวดาที่ถือกำเนิด อยู่ตามต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม เช่น เกิดอยู่ตามรากไม้ แก่นไม้ เกิดอยู่ในเนื้อไม้ ในเปลือกไม้ อยู่ ในกะพี่ไม้ อยู่ในน้ำหอม หรือเกิดอยู่ในใบไม้ ในดอกไม้ ในผลไม้ หรือในเมล็ดผลไม้ และที่เกิด อยู่ในเหง้าใต้ดิน ก็มี เทวดาเหล่านี้ ชื่อว่า “กัฏฐยักขะ (กัฏฐยักษ์)” เมื่ออาศัยอยู่กับไม้ใดๆ ก็จะอาศัยอยู่ตลอดไป แม้ต้นไม้นั้นจะถูกตัดไป หรือตายไป หรือโค่นล้มไปแล้วก็ตาม หรือ แม้ผู้คนจะนำไม้ไปสร้างบ้าน สร้างกุฏิ สร้างเรือ ฯลฯ ก็ตาม ก็จะไม่ยอมละทิ้งที่อยู่ของตน นี้คือข้อแตกต่างจากรุกขเทวดาทั้งหลายอื่น ซึ่งถ้าต้นไม้ตายไปหรือคนตัดไป ก็จะละที่ อยู่ของตนไปหาต้นไม้อื่นเป็นที่อยู่อาศัยใหม่
    คันธัพพเทวดาเหล่านี้ เมื่อติดอยู่กับไม้ที่เขาเอาไปสร้างบ้านเรือน หรือกุฏิ หรือเรือ ที่ชาวบ้านเรียก “นางไม้” หรือ “แม่ย่านางเรือ” เป็นต้นเหล่านี้ บางทีก็แสดงตนให้ปรากฏ แก่ผู้อยู่อาศัยหรือผู้เป็นเจ้าของ/ผู้ใช้เรือ ด้วยต้องการของเช่นไหว้ หรือต้องการอนุโมทนา
    ส่วนบุญเวลาผู้อาศัยหรือเจ้าของทำบุญ แต่บางกรณีที่ไม่พอใจ ก็รบกวนผู้อยู่อาศัยหรือ เจ้าของให้มีอุปสรรค ให้เจ็บป่วย หรือให้เกิดความเดือดร้อนแก่เจ้าของหรือผู้อยู่อาศัยได้
    1f34e.png คันธัพพเทวดาอีกพวกหนึ่ง บางรายที่ก่อนที่มาอุบัติเกิดเป็นคันธัพพเทวดานั้น ได้ เคยประกอบกรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นเวรกันมากับหญิงคนใด ก็จะมาเข้าสิงหญิงคนนั้น ถ้าไม่พอใจใคร ก็จะไปทำความเดือดร้อนแก่บุคคลที่ตนไม่ชอบนั้น บางราย ในวันเพ็ญ ยามพระจันทร์เต็มดวง ก็จะออกเที่ยวแสวงหาอาหารที่สกปรกในเวลากลางคืน ในขณะที่ เที่ยวแสวงหาอาหารอยู่นั้น ก็มีแสงเรืองเป็นประกายออกมาจากร่างด้วยอิทธิฤทธิ์ของ คันธัพพเทวดานั้น พวกนี้แหละที่ชาวบ้านเรียกว่า “ผีปอบ”
    ดังที่ข้าพเจ้าผู้เรียบเรียงนี้ เมื่อตอนเป็นเด็กอายุประมาณ ๗-๘-๙ ขวบ ก็เคยได้เห็น เหมือนดวงไฟเคลื่อนวาบๆ ออกไปจากพุ่มไม้ (ที่ชาวบ้านใช้เป็นที่ปลดทุกข์) ไปยังกอไผ่ หาย ไปสักอึดใจก็เห็นเคลื่อนวาบๆ ต่อๆ ไปยังกอไผ่ที่ ๒ หายไปชั่วอึดใจก็วาบๆ ออกไปใน สวน และเป็นเช่นนั้นต่อๆ ไป จนลับตาหายไป และก็มีคนอื่นๆ ได้เคยเห็นทำนองเดียว กัน คือ เห็นเหมือนดวงไฟวาบๆ ไปยังที่ถ่ายสิ่งปฏิกูลของหญิงคลอดบุตรใหม่ๆ เงียบหาย ไป ณ ที่นั้นสักครู่ ก็ปรากฏวาบๆ ออกจากที่นั้นลับหายไป
    (๓) กุมภัณฑเทวดา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “รากษส” อยู่ในความปกครองของ “ท้าว วิรุฬหกมหาราช” มีลักษณะร่างกายพุงใหญ่ ตาพองสีแดง
    พวกที่ ๑ อยู่ในมนุษย์โลก มีหน้าที่รักษาป่า ภูเขา ต้นไม้ สระโบกขรณี แม่น้ำ พุทธเจดีย์ แก้วรัตนะ ต้นยาที่ประเสริฐ ต้นไม้ที่มีดอกหรือไม้หอม และ/หรืออยู่เฝ้ารักษา ธาตุกายสิทธิ์ต่างๆ ถ้ามีผู้ใดล่วงล้ำเข้าไป และ/หรือ ไปเอาของที่เขาเฝ้ารักษาในบริเวณ ที่เขาคอยปกปักษ์รักษาอยู่ ซึ่งท้าววิรุฬหกมหาราชได้กำหนดให้เป็นเขตที่เขาเฝ้าดูแลรักษา กุมภัณฑเทวดา หรือ รากษส นั้นมีสิทธิ์จับตัวกินได้ โดยไม่มีโทษจากท้าวมหาราช
    พวกที่ ๒ อยู่ในนิรยโลก (นรก) ได้แก่ พวกที่เนรมิตกายเป็นนายนิรยบาลรากษส, แร้ง รากษส, การากษส หรือสุนัขรากษส ที่มีหน้าที่คอยลงโทษสัตว์นรก และจับสัตว์นรกกินนั่นเอง
    (๔) นาคเทวดา หรือที่เรียกกันว่า “พญานาค” อยู่ในความปกครองของ “ท้าววิรูปักษ์
    มหาราช” มีอยู่ ๒ กำเนิด คือ กำเนิด “สุนธระ” และกำเนิด “ภุมมเทวะ” มีที่อยู่ ๒ แห่ง คือ อยู่ใต้ดินธรรมดา แห่ง ๑ กับอยู่ใต้ภูเขาอีกแห่ง ๑ นาคเทวดาที่อาศัยอยู่ในสถานที่ ๒ แห่งนี้ จึงชื่อว่า “ปฐวีเทวดา” พญานาคเหล่านี้ชอบการสนุกสนานรื่นเริงด้วยการเล่นกีฬา และการละเล่นต่างๆ และชอบเล่นน้ำ พญานาคเหล่านี้มีวิชาเวทย์มนต์คาถาต่างๆ ด้วย ชื่อว่า “วัตถุวิชา” คือ วิชาที่เสกวัตถุให้เป็นไปตามปรารถนา เช่น วิชาเสกใบไม้เป็นนก หรือ เสกใบมะขามเป็นแตน/ต่อ ฯลฯ หรือ “ภูมิวิชา” คือ วิชาเสกสถานที่ หรือวัตถุให้เป็น ที่อยู่อาศัย เช่น วิชาเสกท้องทะเล/มหาสมุทร เป็นนาคพิภพ เป็นที่ตั้งวิมานและทิพยสมบัติ ต่างๆ หรือ วิชาที่เสกวัตถุให้เป็นที่สถิตอยู่ของเทวดาที่จะให้คุณแก่ผู้มีไว้ในครอบครอง ได้แก่ เสกวัตถุธาตุให้เป็น “กายสิทธิ์” ต่างๆ เป็นต้น เวลาจะท่องเที่ยวไปในมนุษย์โลก บางทีก็ไปในร่างกายเดิมของตน บางทีก็เนรมิตกายเป็นคน เป็นสุนัข เป็นเสือ/ราชสีห์ ท่องเที่ยวไป นาคเทวดาเหล่านี้จัดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
    ในสมัยพุทธกาล ได้เคยมีพญานาคตนหนึ่ง เนรมิตกายเป็นมนุษย์ ไปขอบรรพชาอุปสมบท กับพระอุปัชฌาย์ผู้ยังไม่ได้ทิพพจักษุญาณ ท่านไม่ทราบว่าพญานาคแปลงกายมาขอบวช ท่านก็จึงบวชให้ได้เป็นพระภิกษุ พอพระภิกษุนาคนั้นได้จำวัดหลับไป จึงได้คลายร่าง เป็นพญานาคตามธรรมชาติของเขา พระภิกษุอื่นไปเห็นเข้าก็ตกใจร้องโวยวาย ความทราบ ถึงสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงตรัสห้ามการบวชให้พญานาค เพราะพญานาคเป็นสัตว์ ในกำเนิดแห่ง “อเหตุกสัตว์” คือเป็นสัตว์เดรัจฉาน ที่ไม่มีเหตุปัจจัยให้บรรลุมรรคผลได้ เพราะเหตุนั้น ในการที่พระอุปัชฌาย์จะให้การบรรพชาอุปสมบท จึงทรงให้ถามอุปสัมปทาเปกข์ ก่อนรับบวชว่า “มนุสโสสิ ?” เมื่ออุปสัมปทาเปกข์รับตามที่เป็นจริงว่า “อามะ ภันเต” จึงจะให้การบรรพชาอุปสมบทได้ และได้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติในพิธีบรรพชาอุปสมบท กุลบุตรมาตราบเท่าทุกวันนี้
    ในสมัยพุทธกาล ได้เคยมีพญานาค ชื่อ “เอรกปัตต์” ได้แสดงตนเป็นมาณพไปเฝ้า พระพุทธเจ้า ถวายบังคมแล้วชบหน้าร้องไห้ด้วยความโศกเศร้าว่า ไม่ได้เฝ้า ไม่ได้ฟังธรรม จากพระพุทธเจ้า มาเป็นเวลา
    ตลอดพุทธันดรหนึ่งแล้ว นับตั้งแต่ได้เคยบวชเป็นพระภิกษุ มาแล้วถึง ๒ หมื่นปี ในพุทธกาลของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากัสสปะ
    พญานาค “เอรกปัตต์” ได้เล่าถวายพระบรมศาสดาว่า ในกาลครั้งนั้น ตนเป็น พระภิกษุหนุ่ม ได้โดยสารเรือไปในแม่น้ำคงคา ได้คว้ายึดใบตะไคร่น้ำกอหนึ่ง เมื่อเรือแล่นเร็ว ก็ไม่ปล่อย ใบตะไคร่น้ำขาดติดมือไปด้วย แต่ไม่ได้แสดง (ปลง) อาบัติ เพราะเห็นว่าเป็นโทษ เพียงเล็กน้อย พอถึงเวลาใกล้จะมรณภาพ ก็เป็นเหมือนถูกใบตะไคร่น้ำรัดคอ อยากจะแสดง อาบัติแต่ก็มองไม่เห็นภิกษุอื่น จนมรณภาพ ด้วยอกุศลกรรมที่ทำให้ใบตะไคร่น้ำขาด ต้อง อาบัติ ชื่อ “ปาจิตตีย์” ฐานพรากของเขียว (สิกขาบทที่ ๑ แห่งภูตคามวรรคที่ ๒) และ ไม่ได้แสดงอาบัตินั้น จึงได้ไปบังเกิดเป็นนาคเทวดา (พญานาค) ชื่อ “เอรกปัตต์” กว่า จะได้มีโอกาสได้เข้าเฝ้าและได้ฟังธรรมพระพุทธเจ้าอย่างนี้ ก็นานแสนนาน ถึง ๑ พุทธันดร พระบรมศาสดาจึงได้ตรัสว่า “มหาบพิตร ชื่อว่า ความเป็นมนุษย์ หาได้ยากนัก, การฟัง พระสัทธรรมก็อย่างนั้น, กาลอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ก็หาได้ยากเหมือนกัน, เพราะว่าทั้ง ๓ อย่างนี้ บุคคลย่อมได้โดยลำบากยากเย็น” เมื่อจะทรงแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า
    “ความได้อัตตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก, ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก, การฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก, การที่อุบัติขึ้นแห่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก๕๔
    ในกาลจบเทศนา เหล่าสัตว์ (ผู้ได้ร่วมฟังพระธรรมเทศนาในวันนั้นด้วย) จำนวน ๘๔,๐๐๐ ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว ฝ่ายนาคราชจะพึงได้โสดาปัตติผลในวันนั้น (ก็จริง), แต่ก็ไม่ได้บรรลุ ธรรม เพราะความที่ตนเป็นสัตว์เดรัจฉาน
    ตามธรรมดา พญานาคนั้นย่อมถึงความลำบากในฐานะทั้ง ๕ กล่าวคือ การถือ ปฏิสนธิ, การลอกคราบ, การวางใจเผลอสติ หรือปราศจากสติ แล้วก้าวลงสู่ความหลับ, การเสพเมถุนกับด้วยนางนาคผู้มีชาติเสมอกัน, และการจุติ ที่พวกนาคถือเอาสรีระแห่ง นาคนั่นแหละ เป็นไปในอาการทั้ง ๕ นั้น
    แต่ด้วยอานิสงส์ในการได้เข้าเฝ้าถวายบังคมเบื้องพระยุคลบาท และได้ฟังธรรม จากพระบรมศาสดา จึงไม่ต้องถึงภาวะความลำบากดังกล่าว และย่อมได้ภาวะเพื่อท่อง เที่ยวไปด้วยรูปแห่งมาณพนั่นแล ดังนี้แล
    หลวงป๋า



    ?temp_hash=0642c0b73e366252f9e4dde3df615bb2.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    "ธรรมกายซึ่งเป็นกายตรัสรู้ธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์ทุกคน
    ธรรมกายของพระพุทธศาสนาเป็นของแท้ ไม่ใช่ของเก๊หรือของเทียม ธรรมกายจะปรากฏเป็นความจริงแก่ผู้เข้าถึงธรรม
    ของจริงมีจริง และมีอยู่ในพระพุทธศาสนาเท่านั้น แต่ของจริงนั้น บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยการปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริงเท่านั้น มิใช่จะเกิดขึ้นเพราะความคิดนึกและความปรารถนา"




    ที่มา https://web.facebook.com/profile.ph...YSsso0yFxktkJNlcXbwP4VORn-aQQmCQ&__tn__=-UC-R
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    เหตุผล ที่การสอนโดยรวมกับคนหมู่มาก ใช้ดวงแก้ว ดวงสว่าง เพราะ เป็นกสินกลาง
    ทุกชีวิตเคยพบกับแสงสว่างมาแล้ว แต่ลืมไป ด้วยการบันทึกเรื่องราวต่างๆทับถมในจิตมากมายมหาศาล


    ขอเพียงให้จิตจดจ่อในอุบายใดก็ได้
    จนใจหยุดนิ่งได้

    และหยุดสนิท จนตกศูนย์ที่ศูนย์กลางกาย
    ก็จะพบดวง และ กายที่มีอยู่แล้วในทุกคน


    ไม่ว่าจะใช้ภาพกางเขน กสิณสี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อวัยวะภายใน สิ่งของที่ไม่นำจิตให้ติดนิวรณ์ หรือ แม้ไม่ใช้ภาพ ใช้การบริกรรม การกำหนดล้วนๆหยุดที่กลางกายได้

    ก็จะพบในสิ่งเดียวกัน
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    "หลักสำคัญอยู่ว่า เมื่อรู้เห็นแล้วก็อย่าคะนองใจ


    ว่าตนเก่งกล้าแล้วพยากรณ์ให้แก่ผู้อื่นฟัง หรือโอ้อวดในคุณธรรมของตน อันจะเป็นทางเสื่อมอย่างยิ่ง"
    โอ้อวด อยากจะอวด อยากจะโก้ อยากดัง จิตถูกปรุงด้วยกิเลส ก็เคลื่อนจากศูนย์ออกมาจากธรรมกาย โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ตัว
    [​IMG]พวกที่ธรรมกายมัวหมอง หรือไม่ก็ดับไปเลย ไม่รู้เท่าทันกระบวนการของจิต ไม่รู้เท่าทันกิเลส
    [​IMG][​IMG][​IMG]อย่าได้คะนองใจ-คะนองปาก ทักทายหรือพยากรณ์จิตในจิตของผู้อื่น อันจะเป็นการแสดงโอ้อวดภูมิธรรมของตนให้กิเลสและ หรือมานะทิฏฐิ
    ว่าตนเองมีภูมิธรรมสูง ซึ่งจะกลับเป็นโทษอย่างยิ่ง
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ผู้ที่ยังปฏิบัติไม่ได้ถึงขั้นละสัญโญชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก)
    อย่างน้อย 7 ประการคือสักกายทิฏฐิวิจิกิจฉา
    และสีลัพพตปรามาสก้าวล่วงข้ามโคตรปุถุชนเป็นอริยบุคคลได้แล้ว
    แต่มักชอบพยากรณ์ทักทายจิตใจของผู้อื่นอยู่นั้น
    [​IMG]ย่อมมีโอกาสให้จิตกำเริบด้วยอวิชชากิเลสตัณหาอุปาทานให้ภูมิจิตตกต่ำลงกลายเป็นปุถุชนผู้ยังหนาด้วยกิเลสตามเดิมได้โดยง่าย
    [​IMG]และความจริงแล้วแม้ผู้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลแล้วเพียงใดท่านก็ยิ่งมีสติสำรวมระวังศีลและอินทรีย์ไม่นิยมพยากรณ์ผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
    ท่านจึงได้ชื่อว่าเป็น“ สมณะ” ผู้สงบ บริสุทธิ์ผ่องแผ้วแล้วด้วยประการฉะนี้


    หลวงป๋า



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    "หลักสำคัญอยู่ว่า เมื่อรู้เห็นแล้วก็อย่าคะนองใจ


    ว่าตนเก่งกล้าแล้วพยากรณ์ให้แก่ผู้อื่นฟัง หรือโอ้อวดในคุณธรรมของตน อันจะเป็นทางเสื่อมอย่างยิ่ง"
    โอ้อวด อยากจะอวด อยากจะโก้ อยากดัง จิตถูกปรุงด้วยกิเลส ก็เคลื่อนจากศูนย์ออกมาจากธรรมกาย โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ตัว
    1f49a.png พวกที่ธรรมกายมัวหมอง หรือไม่ก็ดับไปเลย ไม่รู้เท่าทันกระบวนการของจิต ไม่รู้เท่าทันกิเลส
    1f608.png 1f645_200d_2642.png 1f645_200d_2642.png อย่าได้คะนองใจ-คะนองปาก ทักทายหรือพยากรณ์จิตในจิตของผู้อื่น อันจะเป็นการแสดงโอ้อวดภูมิธรรมของตนให้กิเลสและ หรือมานะทิฏฐิ
    ว่าตนเองมีภูมิธรรมสูง ซึ่งจะกลับเป็นโทษอย่างยิ่ง
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ผู้ที่ยังปฏิบัติไม่ได้ถึงขั้นละสัญโญชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก)
    อย่างน้อย 7 ประการคือสักกายทิฏฐิวิจิกิจฉา
    และสีลัพพตปรามาสก้าวล่วงข้ามโคตรปุถุชนเป็นอริยบุคคลได้แล้ว
    แต่มักชอบพยากรณ์ทักทายจิตใจของผู้อื่นอยู่นั้น
    1f91c.png ย่อมมีโอกาสให้จิตกำเริบด้วยอวิชชากิเลสตัณหาอุปาทานให้ภูมิจิตตกต่ำลงกลายเป็นปุถุชนผู้ยังหนาด้วยกิเลสตามเดิมได้โดยง่าย
    2764.png และความจริงแล้วแม้ผู้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคลแล้วเพียงใดท่านก็ยิ่งมีสติสำรวมระวังศีลและอินทรีย์ไม่นิยมพยากรณ์ผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
    ท่านจึงได้ชื่อว่าเป็น“ สมณะ” ผู้สงบ บริสุทธิ์ผ่องแผ้วแล้วด้วยประการฉะนี้


    หลวงป๋า



    ?temp_hash=05d709e8a6c19aed5e740a07b11742f7.jpg
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    การเจริญภาวนาตามแบบที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ สอนให้ปฏิบัติถึงธรรมกาย สามารถจะเจริญภาวนาทั้งสมถะและวิปัสสนา เป็นกายานุปัสสนาและธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน อย่างได้ผลดี ดังนี้

    1f338.png ผู้ปฏิบัติที่ได้ถึงเพียงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย หรือดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ให้
    หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กลางของกลาง อากาศธาตุ และกลางของกลางวิญญาณธาตุ ให้เห็นใสสว่างชัดเจนดี แล้วจะเห็นสายกำเนิด ธาตุธรรมเดิม เป็นสายไอเล็กๆ เหมือนเส้นใยบัว มีลักษณะขาวใส ก็ให้รวมใจ (เห็น-จำ-คิด- รู้) หยุดในหยุดกลางของหยุด กลางของกลางๆๆ สายกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้น

    1f33c.png ตั้งจิตอธิษฐาน ให้เห็นชีวิตอัตตภาพของตนเองสืบต่อไป ในระยะ ๒-๓ ปี หรือ ๕ ปี ข้างหน้า แล้วก็รวมใจหยุด ในหยุด กลางของหยุด กลางของกลางๆๆ นิ่ง ถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางก็จะขยายว่างออกไป ก็จะ ปรากฏอัตตภาพ (นิมิตกายมนุษย์หยาบ) ของตนในช่วงระยะเวลานั้นๆ เมื่อเห็นแล้ว ก็ให้รวม ใจ (เห็น-จำ-คิด-รู้) หยุดในหยุดกลางของหยุด ตรงกลางของกลางๆๆ ดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์นั้น กลางของกลางสายกำเนิดธาตุธรรมเดิม อธิษฐานดูชีวิตอัตตภาพของตนสืบต่อๆ ไป แต่ละช่วงของชีวิตเป็นช่วงๆ ไป โดยนัยเดียวกัน จนถึงวันตายของตน ก็หยุดนิ่งกลางของ กลางๆ อัตตภาพที่ตายแล้วนั้น ให้เห็นอาการตายของตน และสภาพที่อัตตภาพนั้นจะเสื่อมสลาย หมดสิ้นสภาพเดิมของมันไป และถ้าใจสงบใสสว่างดี ก็ยังจะมีญาณหยั่งรู้กำหนดวันตายของตนได้ อีกด้วย

    1f3f5.png แล้วยกสังขารนิมิตอัตตภาพแต่ละช่วงชีวิตนั้น ขึ้นพิจารณาสภาวะของสังขารธรรมอัน ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง (มีธาตุ ขันธ์ เป็นต้น อย่างนี้) ให้เห็นธรรมด้วยปัญญาว่า มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา (อุปปาทวยธมฺมิโน) ก็จะเกิดธรรมสังเวช และเห็นสภาวะของสังขาร ธรรมทั้งหลายทั้งปวงด้วยปัญญาแจ้งชัด ว่าเป็น อนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา ให้เกิดความเบื่อหน่ายในทุกข์ อันเป็นไปเพื่อความหมดจด คือ ความคลายกำหนัด และถึงความหลุดพ้นได้ต่อไปเมื่อพิจารณา สภาวธรรม แล้ว ก็ให้อธิษฐานถอยกลับตามสายกำเนิดธาตุธรรมเดิม มาสู่ปัจจุบัน


    1f341.png สำหรับผู้ที่ปฏิบัติได้ถึงเพียงดวงธรรม ก็อาจจะเห็นนิมิตอัตตภาพสืบต่อไปในอนาคตตาม ที่กล่าวนั้นได้ยาก ในเบื้องต้น และเห็นไม่ค่อยชัด แต่ถ้าฝึกปฏิบัติบ่อยๆ ให้ชำนาญก็สามารถ เห็นชัดเจนขึ้นได้
    ส่วนผู้ปฏิบัติได้ถึงกายละเอียดต่อๆ ไปเพียงใด
    ทิพพจักษุ ทิพพโสต เครื่องรู้เห็น ก็จะมี ประสิทธิภาพสูงขึ้นเพียงนั้น คือให้สามารถรู้เห็นได้ชัดเจนขึ้น ง่ายขึ้น
    โดยรวมใจหยุดอยู่ ณ ศูนย์ กลางกายในกายที่ได้เข้าถึง รู้-เห็น และเป็นที่สุดละเอียดนั้นก่อน แล้วก็รวมใจ (เห็น-จำ-คิด รู้) ของกายสุดละเอียดนั้น หยุดในหยุดกลางของหยุด กลางของกลางๆๆๆ ดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์หยาบ และดำเนินต่อๆ ไปตามที่แนะนำแล้ว ก็จะได้ผลคือสามารถเห็นแจ้งรู้แจ้งได้ ชัดเจนง่ายขึ้น
    1f9d8.png สำหรับผู้ปฏิบัติถึงธรรมกายแล้ว ก็จะสามารถบำเพ็ญกายานุปัสสนาและธัมมานุปัสสนา- สติปัฏฐาน โดยเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาภาวนา เจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมจากการที่ได้ ทั้งเห็นและทั้งรู้โดยชัดแจ้ง ดังต่อไปนี้
    2665.png ให้รวมใจของทุกกายอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายองค์ที่ละเอียดที่สุดก่อน แล้วพิสดารกาย เจริญ (รูปฌาน) สมาบัติโดยอนุโลมและปฏิโลม ให้บริสุทธิ์ผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ ควรแก่งาน แล้วจึงใช้ญาณรัตนะของธรรมกาย เพ่งลงที่กลางของกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายหรือดวงธัมมา นุปัสสนาสติปัฏฐานของกายมนุษย์ หยุดในหยุดกลางของกลางอากาศธาตุ และวิญญาณธาตุ เห็น สายกำเนิดธาตุธรรมเดิม แล้วน้อมจิตไปเพื่อ “อนาคตังสญาณ” ตามสายกำเนิดธาตุธรรมเดิม พิจารณาดูชีวิตอัตตภาพของตนในแต่ละช่วงชีวิต เช่น ใน ๒-๓ ปี หรือ ๕ ปี ข้างหน้าต่อๆ ไป ตาม วิธีที่ได้แนะนำแล้ว
    ก็จะเห็นนิมิตอัตตภาพของตนในแต่ละช่วงชีวิตนั้นๆ ไปจนถึงวันตาย
    1fab7.png แล้วกำหนดใจถามที่ศูนย์กลางธรรมกายที่ใสบริสุทธิ์ (ถ้าไม่ใสบริสุทธิ์ก็ให้รวมใจคือเห็น-จำ-คิต รู้ หยุดในหยุดกลางของหยุด ให้ใสบริสุทธิ์ก่อน) ก็จะทราบกำหนดวัน-เวลาตายของตนได้แม่นยำ
    แล้วยกสังขารนิมิตอัตตภาพแต่ละช่วงของชีวิตขึ้นพิจารณาสภาวะสังขารธรรมนั้น ก็จะเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปของสังขารธรรมนั้นด้วยปัญญา และเห็นแจ้งรู้แจ้งสภาวะของ สังขารธรรมนั้น ว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามธรรมชาติที่เป็นจริงชัดเจน เป็นวิปัสสนาปัญญา
    1f34e.png แล้วอธิษฐานกลับคืนตามสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมมาสู่ปัจจุบัน เจริญฌานสมาบัติพิจารณา อริยสัจ ๔ ต่อไป ดังที่ได้เคยแนะนำแล้ว เสร็จแล้วพิสดารธรรมกายอรหัดในอรหัตๆๆๆ ออกจาก ฌานสมาบัติ ทำนิโรธ (ดับสมุทัย) ปหานอกุศลจิตของกายในภพ ๓ จนเป็นแต่ใจของธรรมกาย- อรหัตในอรหัตที่บริสุทธิ์ล้วนๆ ตกศูนย์เข้าอายตนะนิพพาน ซ้อนหยุดนิ่งแน่น เข้ากลางของกลางๆๆ พระนิพพานและจักรพรรดิ์ (ภาคผู้เลี้ยง) ต่อญาณทัสสนะ ต่อแว่น ต่อกล้อง เข้าไปในสุดรู้ สุดญาณ ของพระพุทธเจ้าและจักรพรรดิ์
    ฟังรู้ที่ตรัสรู้ในนิโรธของพระพุทธเจ้า คำนวณรู้ที่ตรัสรู้ ในนิโรธของพระพุทธเจ้า และจักรพรรดิ์ (ภาคผู้เลี้ยง) นับอสงไขยอายุธาตุ อายุบารมี ไม่ถ้วน จน ถึงพระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรม ในอายตนะนิพพานเป็น ต่อๆ ไปจนสุดละเอียด

    ?temp_hash=5c05343c57daafd993dd04dc0210624b.jpg


    หลวงป๋า


    ที่มา https://web.facebook.com/profile.ph...MDNi-XpHGQzUtutxANb-myk-frCJ9g&__tn__=-UC,P-R
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    1f338.png คนเล่นอินเทอร์เนตมากเหลือเกิน
    ไปข้องไปคุยกันด้วยความคิดของตนเองในเรื่องการปฏิบัติธรรม อันนี้อาตมาบอกไว้ก่อน
    1f33a.png ถ้ารู้ไม่จริงแล้วก็อย่าแสดงออก
    เป็นบาปอกุศลถ้ามันพลาดพลั้งไป แล้วไปโต้เถียงกันในเน็ต ไม่ได้เป็นบุญหรอก จะเป็นบุญก็เอาธรรมะเทศนา เอาธรรมะที่ครูอาจารย์ไปเผยแผ่พอแล้ว ไม่ต้องไปเถียงกัน
    1f341.png ใครอยากรู้ให้มาปฏิบัติให้เข้าถึง ให้รู้ให้เห็นแล้วท่านจะรู้เอง ยิ่งบางคนนั้นเอาธรรมะลึกๆไปคุยกัน โดยที่อ่านตำราบ้าง ฟังเขามาบ้าง โอกาสผิดพลาดมีมาก จึงบอกหยุดการกระทำนั้นเถิด
    ถ้าการปฏิบัติยังไม่ได้เข้าถึง ยังไม่รู้ ยังไม่ได้เห็น ไม่ได้เป็น อย่าไปพูดมาก โต้เถียงกัน กิเลสกำเริบแล้วมันเป็นบาปอกุศล
    1f33c.png อย่าว่าพวกท่านเลย แม้ผู้เรียนปริยัติสูงๆ พูดผิดก็มี
    ผิดแล้วต้องรีบแก้ตัวซะ แล้วจะได้ไม่ติดไปในสัมปรายภพ บุญก็ทำบาปก็ทำ แทนที่จะละสิ่งที่เป็นบาปอกุศล แล้วจะได้ประโยชน์อะไร
    อยู่นิ่งๆมาปฏิบัติ อย่าเถียงกันเสียเวลา


    พระเทพญาณมงคล
    (หลวงป๋า)
    อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม จ.ราชบุรี
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    สามเณรกัมปนาท เขมดำรง
    อายุ ๑๑ ปี ชั้น ป.๖ ร.ร.มงฟอร์ตวิทยา เชียงใหม่


    คุณพ่อเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    มาบรรพชาเป็นสามเณรภาคฤดูร้อน รุ่นที่ ๘ พ.ศ.๒๕๔๔ และเข้ารับการอบรมพระกัมมัฏฐาน รุ่นที่ ๔๑
    dhammakaya.tv/สามเณรกัมปนาท-เขมดำรง/
    ใครแนะนำสามเณรมาบวช ?
    คุณพ่อได้รับจดหมายจากทางวัด จึงพามาบรรพชาเป็นสามเณรครับ
    ลำบากไหม ต้องเดินทางมาไกลอย่างนี้ ?
    ไม่ลำบากครับ จากเชียงใหม่ก็เดินทางใช้เวลา ๘-๑๐ ชั่วโมง ความจริงผมเคยมาวัดนานแล้ว ตอนปิดเทอมครับ
    ก้าวแรกที่เข้ามาวัดรู้สึกอย่างไร ?
    เข้ามาแล้ว เห็นอุโบสถแล้วคิดว่าสวยงามมากครับ ชอบน้ำพุที่หมุนๆ ครับ
    กิจกรรมแต่ละวัน และความเป็นอยู่ระหว่างบวช เป็นอย่างไร ?
    ก็ฉันเช้า พักซักแป๊บนึง ก็ฉันเพล แล้วให้นอนพักผ่อน แล้วฝึกสมาธิ แล้วทำวัตร กิจกรรมที่นี่ไม่เครียดครับ สบายๆ อาหารก็ดีครับ มีหลายอย่าง ไม่ค่อยซ้ำกัน ที่พักก็ไม่ร้อน นอนได้ครับ
    การบรรยายธรรมะของพระอาจารย์แต่ละท่าน เป็นอย่างไร ?
    การบรรยายถือว่าดี มีสาระเยอะมากเลยครับ บางทีจะเล่าเรื่องอะไรให้ฟังก่อนแล้วบรรยาย แต่ถ้าต้องการให้จดบันทึก ท่านน่าจะพูดให้ช้ากว่านี้จะดีครับ
    คุณพ่อคุณแม่พาเข้าวัดบ่อยไหม ?
    ปกติพ่อแม่เข้าวัดบ้างครับ ในวันสำคัญทางศาสนา
    อยู่ที่บ้าน ทำอะไรบ้าง ?
    กลับจากโรงเรียน ทำการบ้าน แล้วไปว่ายน้ำครับ ในวันหยุดก็พักผ่อนอยู่บ้าน บางทีคุณพ่อพาไปห้างสรรพสินค้าครับ
    ปกติสนใจในทางพระพุทธศาสนาไหม ?
    ไม่ค่อยสนใจครับ ธรรมะต่างๆ รู้จักจากหนังสือ โรงเรียน ถ้าสงสัยก็ไปถามคุณพ่อ แล้วคุณพ่อก็จะบอกครับ
    แล้วเรื่องนรก-สวรรค์ล่ะ ?
    ก่อนมาบวชนี่ไม่สนใจ คิดว่ามี แต่ก็ไม่ได้สนใจครับ แต่จะไม่ทำไม่ดี เพราะเดี๋ยวจะตกนรกครับ
    เคยฝึกสมาธิมาก่อนหรือไม่ ?
    ที่บ้านเคยฝึกสมาธินิดหน่อยครับ ไม่ทุกวัน ครั้งนึงไม่ถึง ๕ นาทีเลยครับ ตั้งแต่ประมาณ ป.๓ อายุ ๘-๙ ขวบ ได้เห็นองค์พระ คุณพ่อก็แนะนำให้ แต่ยังไม่เคยฝึกไล่ ๑๘ กาย ถ้าได้ทำจะดีกว่า เพราะจะทำให้พื้นฐานเราดี ชำนาญในการเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌานครับ
    ตอนได้ธรรมกาย รู้สึกอย่างไร ?
    ความรู้สึกขณะอยู่ในธรรมกาย ก็ไม่รู้สึกอะไร ยินดียินร้ายอะไร [เป็นอุเบกขา]
    รู้สึกว่ายากไหม ?
    ไม่ยากครับ แล้วแต่คนครับ ว่าจิตเขาบริสุทธิ์แค่ไหน ผมก็ทำไปเรื่อยๆ ครับ ไม่ต้องใช้ความพยายามมากอะไร นั่งไม่นานก็เห็นครับ
    ลักษณะพระธรรมกายเป็นอย่างไร ?
    ผมเห็นเป็นองค์พระใหญ่ ประมาณตึกสามชั้น ๒๐ วา พระธรรมกายเกตุดอกบัวตูม ไม่มีผ้ารัดอก ห่มจีวรหมุนขวา ไม่เคยเห็นหมุนซ้ายครับ
    นรก/สวรรค์ ที่ได้พบเห็น มีลักษณะอย่างไร ?
    ตอนได้ไปดูสวรรค์ พื้นที่เห็นดูคล้ายเมฆครับ ได้เห็นเทพเทวดาต่างๆ เราก็ไปถามเขาว่าเขาทำความดีอะไรมา จึงได้มาอยู่สวรรค์ ในนรก ลักษณะส่วนใหญ่เป็นถ่านแดงๆ เห็นสัตว์นรก น่าเกลียดครับ เขาทำบาปต่างกัน ได้รับผลต่างกัน ก็ให้รู้ว่า ทำไม่ดีตายแล้วจะเป็นอย่างไรครับ
    แล้วเทวดามีลักษณะอย่างไร ?
    เหมือนคน แต่มีชฎาครับ ไม่ใส่เสื้อ มีสร้อยสังวาลย์คล้องอยู่ มีวิมานคล้ายๆ อุโบสถของเรา แต่ของเขาจะละเอียดอ่อนมาก แล้วก็มีหลายขนาด แล้วแต่บุญของแต่ละคนครับ วิมานขนาดเล็กก็มี เป็นของคนที่ยังไม่ตาย ยังว่างๆ อยู่ มีนางฟ้ามารออยู่ด้วยครับ
    ศิลปะของเขาเหมือนของไทยไหม ?
    คล้ายของประเทศไทย แต่รูปทรงเขามีความละเอียดอ่อนเยอะครับ ละเอียดมาก ไม่เหมือนทางคริสต์ ไม่มีเทวดาฝรั่งครับ
    ถ้ามีคนมาพูดว่า การสอนธรรมะ ไม่จำเป็นต้องเอาสวรรค์มาล่อ เอานรกมาขู่ ก็สามารถปฏิบัติธรรมได้ สามเณรคิดอย่างไร ?
    พูดอย่างนั้นเป็นการลบหลู่ศาสนาครับ เพราะพระสารีบุตรพระโมคคัลลานะยังไปดูนรกสวรรค์มาแล้ว
    เราเห็นสวรรค์ แล้วจะเป็นเหตุให้เราทำความดีครับ แล้วก็ไม่ [ยึด] ติด ไม่ให้ไปนิพพาน แต่จะเป็นการโน้มน้าวจิตใจให้ทำความดีเยอะขึ้น เห็นนรกแล้วก็เป็นเครื่องโน้มน้าวให้ทำความดีละความชั่ว ให้เกรงกลัวต่อบาปครับ
    แล้วสามเณรไปดูชั้นพรหมไหม ?
    ครับ พรหมจะมีรัศมีแตกต่างกัน แล้วแต่ใครจะทำความดีมาเยอะขนาดไหน จะสร้างบารมีมาขนาดไหนครับ ถ้าเป็นมหาพรหมก็รัศมีมากครับ และรัศมีก็มากกว่าเทวดาด้วย กายพรหมก็ใหญ่กว่าเทวดา ๒-๓ เท่าแล้วแต่ชั้นพรหมครับ ที่ไปตรวจนรกสวรรค์นี้ แต่ละชั้นผมไปดู [พอให้รู้] แค่แป๊บเดียวครับ
    ถ้ามีคนว่าที่เห็นนั้นเป็นการนึกเอาเองล่ะ ?
    มันไม่ใช่อย่างนั้นครับ เพราะเราต้องมองไปให้เห็นจักรวาลก่อน แล้วค่อยเข้าไปตรวจดูแต่ละภพๆ เพราะเราจะนึกได้เฉพาะสิ่งที่เราเคยเห็นแล้วจำได้ ถ้านึกก็จะเห็นอย่างนั้นละครับ แต่ที่เห็นด้วยธรรมกายนี่เราไม่เคยรู้เคยเห็นครับ ผมเคยคุยกับเพื่อนที่อยู่ฝึกภาวนาอยู่ชั้นเดียวกัน เขาก็เห็นเหมือนกันครับ เขาก็ขึ้นปฏิบัติชั้นสูงพร้อมกับผมครับ และตอนที่เห็นเราต้องมีสติสัมปชัญญะ ไม่เคลิ้มครับ
    วิชชาธรรมกายมีประโยชน์อย่างไร ?
    จะทำให้เรามีสมาธิ และเรียนหนังสือเก่งครับ ไม่ฟุ้งซ่าน ตัดสินใจได้ดีขึ้น มีสติไม่เหม่อลอย เพ้อเจ้อไปนอกเรื่องครับ เป็นการบำเพ็ญบารมีด้วยครับ เป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง แล้วก็ยังแผ่กุศลไปให้พ่อแม่ ญาติพี่น้อง พระอุปัชฌาย์ครูอาจารย์ ทั้งสัตว์โลก แล้วเทวดาสัตว์นรกได้ครับ แต่เป้าหมายหลักก็คือบำเพ็ญบารมี เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานครับ ช่วยตนเอง และช่วยคนอื่น เช่นช่วยให้ดวงธรรมของเขาใสขึ้นได้ครับ
    ช่วยเรื่องการเรียนมากแค่ไหน ?
    ช่วยได้มากครับ อย่างเช่น ถ้าต้องอ่านหนังสือ ๑๐ รอบ อาจจะอ่าน ๒-๓ รอบ ก็จำได้ครับ เข้าใจได้เร็ว โดยอ่านแล้วให้เข้าไปในศูนย์กลางกายครับ
    การฝึกภาวนาที่บ้านกับที่วัดต่างกันอย่างไร ?
    ไม่เหมือนกันครับ มีเสียงรถรบกวน เพราะบ้านอยู่ติดถนนครับ อย่างอื่นก็ไม่มีอะไร คุณพ่อก็ปฏิบัติธรรมด้วยครับ
    การมาบวชครั้งนี้ เราได้ประโยชน์อะไรบ้าง ?
    เราต้องนอนตื่นเช้า ไม่ขี้เกียจ เรามาฝึกสมาธิ ให้มีสติ ไม่เหม่อลอย มาฝึกระเบียบวินัย ทำอะไรให้มีระเบียบ ไม่เล่นจนเกินไป ไม่ใช่มาเล่น เรามาฝึกตนครับ ได้มาศึกษาธรรมของพระพุทธเจ้าครับ ซึ่งน้อยคนที่จะได้มารู้เห็น ทำให้ชีวิตเราเจริญ รู้ทางเจริญทางเสื่อมครับ
    ฝึกสมาธิแล้ว ถ้าพบสิ่งที่มีน่าชอบใจ เช่นมีคนทำให้เราโกรธ เราจะทำอย่างไร ?
    เราต้องมีขันติ ต้องไม่สะทกสะท้านในการกระทำของผู้อื่น ถ้าเขามาว่าเรา เราก็ไม่โต้กลับ ก็พยายามอดกลั้น เฉย ไม่สนใจ แต่ถ้ามาหนักก็คงต้องเข้ากลางธรรมกาย แผ่เมตตาให้เขาครับ
    แล้วสำหรับสิ่งน่าชอบใจ เช่น การเล่นเกมส์ล่ะ ?
    เราต้องมีสติ สมาธิขณะเล่น รู้ตัวเมื่อจะเล่นเกินไปแล้ว ไม่เล่นอย่างเอาเป็นเอาตายครับ
    นึกถึงคนที่ไม่ได้มีโอกาสมาปฏิบัติอย่างเราไหม ? จะชักชวนแนะนำคนอื่นหรือไม่ ?
    ครับ เราต้องพยายามสอนเขา ต้องมีวิธีสอน ๒ อย่าง คือ แบบละมุนละไม คือสอนให้รู้ความดี รู้หนทางแห่งความเจริญ ให้รู้จักและทำแต่กายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต แบบรุนแรง ก็ให้รู้บาป ให้เขาเกรงกลัวบาป หิริโอตตัปปะ ให้รู้และไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ถ้าเขายังไม่รับ ก็ถือว่าตอนนี้เขายังไม่มีบุญพอครับ
    คิดว่า ศีล ๕ จำเป็นสำหรับชีวิตไหม ?
    จำเป็นครับ ออกไปผมก็จะถือศีล ๕ แต่ข้อแรกทำยาก คือ ปาณาฯ ต้องระวังเรื่องตบยุงครับ
    จะฝากอะไรถึงเพื่อนๆ เยาวชนบ้าง ?
    อยากให้เขามาสนใจมาฝึกสมาธิให้มากขึ้น และขอให้ตั้งใจฝึกด้วย เพราะจะทำให้ได้บุญกุศล เรียนหนังสือเก่ง ระงับอารมณ์ได้ แก้ปัญหาได้ดีครับ
    ปีหน้าจะมาบวชอีกไหม ?
    มาครับ.
    ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔
    dhammakaya.tv/สามเณรกัมปนาท-เขมดำรง/

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    สถานที่สัปปายะ สิ่งที่อยู่แล้วสบายกายสบายใจ
    สถานที่เหมาะสม อันเกื้อหนุนในการเจริญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย
    พิกัดที่พักสงฆ์ป่ามงคลธรรม ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา


    ?temp_hash=0da90b380d3836975c6a655345dfabd0.jpg
    ?temp_hash=0da90b380d3836975c6a655345dfabd0.jpg
    ?temp_hash=0da90b380d3836975c6a655345dfabd0.jpg
    ?temp_hash=0da90b380d3836975c6a655345dfabd0.jpg

    ?temp_hash=0da90b380d3836975c6a655345dfabd0.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    #เพียรเถิดจะเกิดผลแม้ยังไม่เห็นอะไรก็อย่าท้อแท้ใจ


    [​IMG]การเจริญภาวนาแต่เพียงขั้นต่ำ หรือการปฏิเสธสมถกัมมัฏฐาน และมุ่งเน้นแต่การพิจารณาสภาวะธรรมเพื่อให้เกิดปัญญานั้น เสี่ยงต่อการเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างมาก
    [​IMG]โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติภาวนา มีสติปรากฏยิ่งจนเกินไป กล่าวคือ มีสติพิจารณาสภาวะธรรมแก่กล้าเกินไป แต่ปัญญาอันเห็นแจ้งที่แท้จริงยังเกิดขึ้นไม่ทัน คงมีอยู่แต่ปัญญาจากการจำได้หมายรู้จากตำราเสียโดยมากนั้น #วิปัสสนูปกิเลส" ข้อ"#อุปัฏฐาน" อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตได้
    [​IMG]จึงใคร่จะกล่าว ถึงคุณค่าของการเจริญภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ #ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ปฏิบัติและสั่งสอนถ่ายทอดไว้ #ว่าเป็นกรรมฐานที่มีทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน เป็นการเจริญภาวนาที่มีมหาสติปัฏฐานโดยครบถ้วนอยู่ในตัวเสร็จ
    คือ มีการพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม..อยู่ในตัวเสร็จ
    [​IMG]มีอุบายวิธีที่ทำให้สมาธิเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว และให้สามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในสัจธรรมจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น
    [​IMG]เมื่อยกสภาวธรรมใดขึ้นพิจารณาให้เกิดปัญญาแล้ว ก็มีวิธีให้พิสดารกาย พิศดารธาตุธรรมไปสู่สุดละเอียด ให้ใจของทุกกายรวมหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายที่สุดละเอียดอยู่เสมอ จิตก็ละวางนิมิตที่ยกขึ้นพิจารณานั้นไปเองโดยอัตโนมัติ #วิปัสสนูปกิเลสดังกล่าวจึงไม่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญภาวนาตามแนวนี้แต่ประการใด
    [​IMG]และยิ่งสำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว ยิ่งเห็นอรรถเห็นธรรม ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า #สังขตธาตุ #สังขตธรรม กับทั้งที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า #อสังขตธาตุ #อสังขตธรรม ได้โดยชัดแจ้ง ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย
    #จึงขอเชิญชวนท่านสาธุชนเจริญให้มาก แม้ในระยะแรกๆ บางรายอาจจะยังมิได้เห็นอะไร ก็อย่าท้อแท้ใจ ว่าปฏิบัติไม่ได้ผล ความจริงถ้าสังเกตดูในเหตุและผลแล้ว ก็จะพบว่า ท่านได้รับผลดีจากการปฏิบัติอย่างแน่นอน ขอแต่ให้ปฏิบัติให้ได้ตรงตามวิธีที่แนะนำไป ด้วยใจรักในธรรมปฏิบัตินี้ ด้วยความเพียรพยายาม ไม่ย่อท้อ ด้วยใจจดจ่ออยู่เนืองนิจ และด้วยความพินิจพิจารณาในเหตุสังเกตในผลให้ถูกต้อง ตามที่วิปัสสนาจารย์ให้คำแนะนำไว้
    #โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    #ให้พึงระวังอุปกิเลสของสมาธิให้ดี เช่นว่า..
    ระวังอย่าให้เพียรหย่อนเกินไป จนจิตใจง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปี้กระเป่า
    เพียรจัดเกินไป จนกายและใจไม่สงบ
    อยากเห็นนิมิตจนเกินไป ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน
    หรือ..พลอยหงุดหงิด เมื่อรู้สึกว่าปฏิบัติไม่ได้ผล
    หรือ..สะดุ้งตกใจกลัว/ตื่นเต้นจนเกินไปเมื่อเห็นนิมิต ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน หรือเคลื่อนจากสมาธิ
    และ..พึงระวังรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สำหรับผู้เป็นฆราวาสก็อย่างน้อยศีล ๕ ขึ้นไป
    พึ่งหลีกเลี่ยงจากกามฉันทะ อย่าไปตรึกนึกถึงมันให้มากนัก เพราะเป็นอุปกิเลสของสมาธิตัวสำคัญเสียด้วย
    สิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษ อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งหลาย
    ตลอดทั้งการดูการละเล่น หรือ ประโคมดนตรี..เหล่านี้ ก็ล้วนแต่เป็นเครื่องกีดกั้นหนทางเจริญสมาธิและปัญญาทั้งสิ้น.


    พระราชพรหมเถร
    อดีตรองเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,122
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    #เพียรเถิดจะเกิดผลแม้ยังไม่เห็นอะไรก็อย่าท้อแท้ใจ


    1f3af.png การเจริญภาวนาแต่เพียงขั้นต่ำ หรือการปฏิเสธสมถกัมมัฏฐาน และมุ่งเน้นแต่การพิจารณาสภาวะธรรมเพื่อให้เกิดปัญญานั้น เสี่ยงต่อการเกิดวิปัสสนูปกิเลสอย่างมาก
    1f339.png โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่ผู้ปฏิบัติภาวนา มีสติปรากฏยิ่งจนเกินไป กล่าวคือ มีสติพิจารณาสภาวะธรรมแก่กล้าเกินไป แต่ปัญญาอันเห็นแจ้งที่แท้จริงยังเกิดขึ้นไม่ทัน คงมีอยู่แต่ปัญญาจากการจำได้หมายรู้จากตำราเสียโดยมากนั้น #วิปัสสนูปกิเลส" ข้อ"#อุปัฏฐาน" อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตได้
    1f341.png จึงใคร่จะกล่าว ถึงคุณค่าของการเจริญภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน ๔ #ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำได้ปฏิบัติและสั่งสอนถ่ายทอดไว้ #ว่าเป็นกรรมฐานที่มีทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน เป็นการเจริญภาวนาที่มีมหาสติปัฏฐานโดยครบถ้วนอยู่ในตัวเสร็จ
    คือ มีการพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม..อยู่ในตัวเสร็จ
    1f338.png มีอุบายวิธีที่ทำให้สมาธิเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว และให้สามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในสัจธรรมจากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น
    1f33c.png เมื่อยกสภาวธรรมใดขึ้นพิจารณาให้เกิดปัญญาแล้ว ก็มีวิธีให้พิสดารกาย พิศดารธาตุธรรมไปสู่สุดละเอียด ให้ใจของทุกกายรวมหยุดอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายที่สุดละเอียดอยู่เสมอ จิตก็ละวางนิมิตที่ยกขึ้นพิจารณานั้นไปเองโดยอัตโนมัติ #วิปัสสนูปกิเลสดังกล่าวจึงไม่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญภาวนาตามแนวนี้แต่ประการใด
    1f33c.png และยิ่งสำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้ว ยิ่งเห็นอรรถเห็นธรรม ทั้งที่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า #สังขตธาตุ #สังขตธรรม กับทั้งที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่เรียกว่า #อสังขตธาตุ #อสังขตธรรม ได้โดยชัดแจ้ง ปราศจากความเคลือบแคลงสงสัย
    #จึงขอเชิญชวนท่านสาธุชนเจริญให้มาก แม้ในระยะแรกๆ บางรายอาจจะยังมิได้เห็นอะไร ก็อย่าท้อแท้ใจ ว่าปฏิบัติไม่ได้ผล ความจริงถ้าสังเกตดูในเหตุและผลแล้ว ก็จะพบว่า ท่านได้รับผลดีจากการปฏิบัติอย่างแน่นอน ขอแต่ให้ปฏิบัติให้ได้ตรงตามวิธีที่แนะนำไป ด้วยใจรักในธรรมปฏิบัตินี้ ด้วยความเพียรพยายาม ไม่ย่อท้อ ด้วยใจจดจ่ออยู่เนืองนิจ และด้วยความพินิจพิจารณาในเหตุสังเกตในผลให้ถูกต้อง ตามที่วิปัสสนาจารย์ให้คำแนะนำไว้
    #โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
    #ให้พึงระวังอุปกิเลสของสมาธิให้ดี เช่นว่า..
    ระวังอย่าให้เพียรหย่อนเกินไป จนจิตใจง่วงเหงา ซึมเซา ไม่กระปี้กระเป่า
    เพียรจัดเกินไป จนกายและใจไม่สงบ
    อยากเห็นนิมิตจนเกินไป ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน
    หรือ..พลอยหงุดหงิด เมื่อรู้สึกว่าปฏิบัติไม่ได้ผล
    หรือ..สะดุ้งตกใจกลัว/ตื่นเต้นจนเกินไปเมื่อเห็นนิมิต ทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน หรือเคลื่อนจากสมาธิ
    และ..พึงระวังรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สำหรับผู้เป็นฆราวาสก็อย่างน้อยศีล ๕ ขึ้นไป
    พึ่งหลีกเลี่ยงจากกามฉันทะ อย่าไปตรึกนึกถึงมันให้มากนัก เพราะเป็นอุปกิเลสของสมาธิตัวสำคัญเสียด้วย
    สิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษ อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งหลาย
    ตลอดทั้งการดูการละเล่น หรือ ประโคมดนตรี..เหล่านี้ ก็ล้วนแต่เป็นเครื่องกีดกั้นหนทางเจริญสมาธิและปัญญาทั้งสิ้น.


    พระราชพรหมเถร
    อดีตรองเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ


    ?temp_hash=1be43b211a709b9fc5e28f8e41cca909.jpg
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...