สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    - เหตุใดเวลานั่งสมาธิจึงมักง่วงนอน

    โปรดเข้าใจว่าจิตใจที่กำลังจะเป็นสมาธิที่แนบแน่น กับจิตใจที่กำลังจะหลับ มีอาการคล้ายกัน จิตใจที่ก่อนจะตายด้วย จิตใจที่กำลังจะเกิด จะดับ(คือตาย) จะหลับ จะตื่น จะมีอาการอย่างนี้ คือ จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ ไปยังศูนย์กลางกาย ตรงระดับสะดือพอดี จิตดวงใหม่จะลอยเด่นขึ้นมา ทำหน้าที่ต่อไป

    เช่น ถ้าคนนอนหลับ ก็อาจจะทำหน้าที่ฝัน ถ้าคนจะตายก็ไปเกิด เพราะฉะนั้น อาการของใจคนที่จะเป็นสมาธิ ก็มีว่า จิตดวงเดิมที่ขุ่นมัวด้วยกิเลสนิวรณ์ก็จะตกศูนย์ จิตดวงใหม่ที่ผ่องใสปราศจากกิเลสนิวรณ์ ก็จะลอยปรากฏขึ้นมาตรงศูนย์กลางกาย เหนือระดับสะดือ ๒ นิ้วมือ ในอาการเดียวกันกับคนจะหลับ

    จิตดวงเดิมก่อนหลับก็จะตกศูนย์ ใจที่จะทำหน้าที่หลับ แล้วไปทำหน้าที่ฝัน ก็จะลอยขึ้นมา อาการตรงนี้ จะมีอาการเคลิ้มๆ แต่ความเคลิ้มนั่น เพราะใจมารวมหยุดนิ่งโดยอัตโนมัติ โดยธรรมชาติ ถ้ามีสติสัมปชัญญะอยู่นั้น เป็นสัมมาสมาธิ แต่ถ้าเผลอสติมันก็หลับ เพราะฉะนั้น อาการหลับกับอาการที่สมาธิกำลังจะเกิดแนบแน่น เป็นอาการเดียวกัน ต่างกันที่ สติสัมปชัญญะยังอยู่หรือว่าเผลอสติ ถ้าเผลอสติก็หลับ เช่น เราตั้งใจว่าเราจะหลับ เราบริกรรมภาวนา "สัมมาอะระหังๆๆ" เราตั้งใจจะหลับ เราปล่อยใจให้เผลอสติ พอจิตรวมกันหยุดเป็นจุดเดียวกันที่ศูนย์กลางกาย ทีนี้ ก็จะหลับเลย

    เพราะฉะนั้น วิธีแก้โรคคนที่ใจฟุ้งซ่านนอนไม่หลับ ให้บริกรรมภาวนา เอาใจไว้ที่ศูนย์กลางกาย "สัมมาอะระหังๆๆ" ให้ใจรวมลงหยุดที่ศูนย์กลางกาย พอรวมแล้วเรากำหนดในใจว่าเราจะหลับ สติจะเผลอ แล้วก็จะหลับได้โดยง่าย

    เพราะฉะนั้น คนทำสมาธิแล้วง่วง เพราะตรงนี้เผลอสติ ถ้าไม่เผลอสติ ทำใจให้สว่างไว้ ให้รู้สึกตัวพร้อมอยู่ จิตดวงเดิมจะตกศูนย์ จะรู้สึกเหมือนมีอาการหวิวนิดหน่อย แล้วใจดวงใหม่จะปรากฏใสสว่างขึ้นมาเอง แล้วใจก็หยุดนิ่งกลางดวงใสสว่างนั่น ก็จะใสสว่างไปหมดเลย ไม่ง่วง ไม่ซึม เข้าใจนะ

    ถ้าใครนั่งง่วงหลับงุบงับๆแล้ว ก็ให้พึงเข้าใจว่า ใจไม่เป็นสมาธิแล้วนะ กำลังเผลอสติ จะหลับแล้ว ต้องพยายามอย่าเผลอสติ ให้มีสติสัมปชัญญะ รู้เท่าทันกิเลสนิวรณ์อยู่เสมอ

    __________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    __________
    ที่มา
    ตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ
    __________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า.

    5OGe_iaNyH_YyoEKxYqivWiXnU6gPLskm4KHDSalEoAE8AFfB4Oi55MKPbQ356d1OaX_eJTy&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    พระปรมัตถ์ : อกุศลจิต



    1 ตุลาคม 2496

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    lphor_tesna_vn.jpg

    ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา
    จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ จตุธา ปรมตฺถโต
    นิพฺพานมิติ สพฺพถาติ.


    ปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วยปรมัตถเทศนา ซึ่งมีมาในพระปรมัตถปิฏก ยกอุเทศในเบื้องต้นขึ้นแสดงก่อน เพื่อจะได้เป็นอุทาหรณ์แนะนำแก่ท่านทั้งหลายสืบไปเป็นลำดับๆ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา เริ่มต้นแห่งปรมัตถปิฎกนี้ว่า

    ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา ในพระอภิธรรมปิฏกนั้น กล่าวโดยความประสงค์แล้ว ถ้าจะกล่าวโดยอรรถอันลึกซึ้ง โดยปรมัตถ์ ก็จัดเป็น 4 ประการ (1) จิต (2) เจตสิก (3) รูป (4) นิพพาน, 4 ประการเท่านี้ พระพุทธศาสนามีปิฎก 3 คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก ที่ท่านทั้งหลายได้เคยสดับตรับฟังแล้วโดยมาก ในพระวินัยบ้าง พระสูตรบ้าง ในพระปรมัตถ์ไม่ค่อยจะได้ฟังนัก วันนี้จะแสดงในพระปรมัตถปิฎก เพราะเวลานี้วัดปากน้ำกำลังเล่าเรียนพระปรมัตถปิฎกอยู่ ควรจะฟังพระปรมัตถปิฎกนี้ให้ชำนิชำนาญ ให้เข้าเนื้อเข้าใจ จะได้จำไว้เป็นข้อวัตรปฏิบัติ เป็นธรรมอันพระพุทธเจ้าทรงตรัส

    ในเริ่มแรกเริ่มเบื้องต้น ทรงตรัสในดาวดึงส์เทวโลก ได้ทรงตรัสพระปรมัตถปิฎกนี้ สนองคุณพระพุทธมารดา และแก่หมู่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่พากันมาสดับตรับฟัง ทรงตรัสอยู่ถ้วนไตรมาสสามเดือน เมื่อเวลารุ่งเช้า สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพุทธนิมิตให้ตรัสพระอภิธรรมปิฎก พระบรมครูทรงไปแสวงหาอาหารบิณฑบาตในอุตตรกุรุทวีป ไปฉันในป่าหิมพานต์ พระสารีบุตรเถรเจ้าไปปฏิบัติสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกๆ วัน แล้วพระองค์ทรงแสดงพระอภิธรรมปิฎกนั้นแก่พระสารีบุตร พระสารีบุตรก็นำเอาพระอภิธรรมปิฎกนั้นมาแก่มนุษย์ มนุษย์ทั้งหลายจึงได้สดับฟัง

    เมื่อพระองค์ทรงตรัสเทศนาจบพระปรมัตถปิฎกแล้ว เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลกที่เมืองสังกัสสนคร ในคราวนั้นพระองค์ทรงเปิดโลก ให้สัตว์นรก เทวดา มนุษย์ เห็นกันและกัน พร้อมกัน เห็นปรากฏเป็นมหัศจรรย์ ในครั้งนั้นพระพุทธาภินิหารเป็นมหัศจรรย์ สรรพสัตว์เหล่านั้นตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า อยากเป็นพระพุทธเจ้า จนกระทั่งมดดำแดง อยากเป็นพระพุทธเจ้ากันทั้งนั้น อันนี้เป็นความมหัศจรรย์ของพระพุทธเจ้า เพราะเหตุนั้น ที่ท่านทั้งหลายจะพึงได้สดับในเนื้อความของปรมัตถปิฎก ณ เวลาวันนี้ นับว่าเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ ดังจะแสดงต่อไป

    ตามวาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า ตตฺถ วุตฺตาภิธมฺมตฺถา จตุธา ปรมตฺถโต จิตฺตํ เจตสิกํ รูปํ นิพฺพานมิติ สพฺพถาติ แปลว่า เนื้อความในพระปรมัตถปิฎกนั้น ถ้าจะกล่าวโดยเนื้ออันยิ่งใหญ่แล้ว กล่าวโดยปรมัตถ์ จัดเป็น 4 คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน 4 ประการนี้เท่านั้นเรียกว่า พระปรมัตถปิฎก เป็นเนื้อความของพระปรมัตถปิฎกทีเดียว จำไว้ให้มั่น จิตถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง 89 ดวง หรือ 121 ดวง เจตสิก ถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง 52 ดวง นี่ส่วนเจตสิก รูปถ้าจำแนกแยกออกไปมีถึง 28 รูป มหาภูตรูป 4, อุปาทายรูป 24 รวมเป็น 28 นิพพานแยกออกไปเป็น 3 คือ กิเลสนิพพาน ขันธนิพพาน ธาตุนิพพาน นิพพานแยกเป็น 3 ดังนี้

    วันนี้จะแสดงในเรื่อง จิต เป็นลำดับ จิต 89 ดวง หรือจิต 121 ดวง ท่านจัดไว้ดังนี้ อกุศลจิต 12 ดวง อเหตุกจิต 18 ดวง กามาวจรจิต 24 ดวง รูปาวจรจิต 15 ดวง อรูปาวจรจิต 12 ดวง และโลกุตตรจิต 8 ดวง นี่เป็นจิต 89 ดวง จำไว้เสียให้มั่น คือ อกุศลจิต 12 ดวง อเหตุกจิต 18 ดวง 18 กับ 12 รวมกันเป็น 30 กามาวจร 24 รวมกันเข้าเป็น 54 ดวง รูปาวจรจิต 15 รวมกันเข้าเป็น 69 ดวง อรูปาวจรจิต 12 รวมกันเข้า เป็น 81 ดวง โลกุตตรจิต 8 ดวง รวมเข้าเป็น 89 ดวง ดังนี้ นี่โดยย่อ ถ้าโดยพิสดาร ต้องแยกโลกุตตรจิตออก ยกฌานขึ้นรับรองจิตทั้ง 8 ดวงนี้ คงเหลือจิต 81 ดวง จิต 89 ดวง ยกเอาโลกุตตรจิต 8 ดวงออกเสีย ยกฌานทั้ง 5 ขึ้นเป็นที่ตั้ง จิตเดินในฌานทั้ง 5 นั้น ฌานละ 8 ดวง คูณกับ 5 เป็น 40 ดวง จิต 81 ดวงเป็นโลกิยจิต ยกเอาโลกุตตรจิต 40 ดวง มาบวกกันเข้า 8 ก็รวมเป็นจิต 121 ก็จิต 81 ดวงนั่นเอง แต่ว่ายกเอาโลกุตตรจิต 8 ดวง ออกเสีย ถ้าว่าเอาโลกุตตรจิตมาเพียง 8 ดวง ก็เป็นจิต 89 ดวง ถ้าหากว่าโลกุตตรจิต 8 ดวงนั้นแยกพิสดารออกไปตามฌานทั้ง 5 ก็เป็น 121 ดวง นี่รู้จักแล้วว่าจิตมีเพียงเท่านี้ จะชี้แจงแสดงจิตเป็นลำดับไป ให้จำไว้เป็นหลักฐานเป็นประธาน

    ต่อไปนี้จะแสดงคัมภีร์ปรมัตถ์ที่เป็นหลักเป็นประธานให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว เพราะเป็นเนื้อธรรมจริงๆ ที่เราได้ยินได้ฟังเข้าเนื้อเข้าใจแล้วนั้นยังไม่ถึงเนื้อธรรม เมื่อถึงจิต เจตสิก รูป นิพพาน เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงล่ะ จงตั้งอกตั้งใจฟัง ยาก ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของละเอียดด้วย ไม่ใช่เป็นของพอดีพอร้าย ไม่ใช่อยู่กับคนที่มีกิเลสหนาปัญญาหยาบ ต้องมีกิเลสบาง ปัญญาละเอียดทีเดียว จึงจะฟังเข้าเนื้อเข้าใจได้ ถ้าจะเทียบละก้อ ต้องเข็มเล็กๆ ด้ายเส้นเล็กๆ เย็บตะเข็บผ้าจึงจะละเอียดได้ ถ้าเข็มโตไป ด้ายเส้นโต จะเย็บตะเข็บผ้าให้เล็กลงไปไม่ได้ ฉันใดก็ดี ปรมัตถปิฎกนี้เป็นของละเอียด ต้องปัญญาละเอียดไปตามกัน จึงจะฟังเข้าเนื้อเข้าใจ เหตุนั้นจงตั้งใจฟังให้ดี

    ในอกุศลจิต 12 ดวงนี้นั้น แบ่งออกเป็น 3 จำพวก โลภมูล ความโลภ มี 8 ดวง โทสมูล ความโกรธมี 2 ดวง โมหมูล ความหลงมี 2 ดวง 8 กับ 4 รวมเป็น 12 ดวง นี้อกุศลจิต อกุศลจิตนี้แหละที่สากลโลก ภิกษุก็ดี สามเณรก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ที่จะทำความชั่วร้ายไม่ดีไม่งามก็เพราะอกุศลจิต 12 ดวงนี้แหละ ไม่ใช่ทำด้วยอย่างอื่นเลย ทำด้วยอกุศลจิต 12 ดวงนี้ทั้งนั้น ทำชั่วน่ะ เราต้องรู้ตัวเสีย ให้เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว คำว่าที่เรียกว่าจิตน่ะมันเป็นดวงๆ ที่จะจัดนี้มีถึง 12 ดวง ดังนี้คือ

    จิตโลภ จัดเป็น 8 ดวง

    1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยความยินดีมาก ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความ เห็นผิด และเกิดขึ้นตามลำพัง นี่ดวง 1
    2. จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือ ชักจูง นี้ดวง 1
    3. จิตที่ประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดโดยลำพังนี้ดวง 1 นี้ดวงที่ 3
    4. จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้น หรือชักจูง นี้อีกดวง 1 รวมเป็น 4 ดวง
    5. จิตที่เกิดประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้น โดยลำพัง นี้ดวง 1 เป็นดวงที่ 5
    6. จิตที่ประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดย ถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง 1 เป็นดวงที่ 6
    7. จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดย ลำพัง นี้ดวง 1 เป็น 7 ดวง
    8. จิตประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด และเกิดโดย ถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง 1 เป็น 8 ดวง
    นี้ชั้นหนึ่ง 8 ดวงนี้เป็นส่วนโลภะ ความอยาก

    จิตโกรธ จัดเป็น 2 ดวง

    1. จิตโกรธเกิดขึ้นตามลำพัง ดวง 1
    2. จิตโกรธเกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง นี้ดวง 1
    จิตหลง ก็มี 2 ดวง

    1. จิตหลงเกิดขึ้นโดยความสงสัย ดวง 1
    2. จิตหลงเกิดขึ้นโดยความฟุ้งซ่าน ดวง 1
    รวมเป็น 12 ดวงด้วยกัน นี้เป็นอกุศลจิต 12 ดวงเท่านี้ ฟังยากไหมล่ะ ยากจริงๆ ไม่เข้าเนื้อเข้าใจทีเดียว ฟังเหมือนบุรุษคนหนึ่งนั่งกินข้าวอยู่ทีละคำๆ มันก็อิ่มเป็นลำดับขึ้นไป บุรุษคนหนึ่งนั่งกินลมอยู่เป็นคำๆ เข้าไป พอเลิกแล้วไม่อิ่มสักนิด อ้ายกินข้าวกินลมมันลึกซึ้ง อย่างนี้จริงไหม นี้ฟังเรื่องปรมัตถ์เหมือนกินลม ไม่มีเนื้อมีหนังเลย ไม่อิ่มไม่ออกเลยทีเดียว เห็นไหมล่ะ แต่รสชาติอัศจรรย์นักนะ อุตส่าห์ตั้งอกตั้งใจฟัง

    จิตดวงที่ 1 ที่ประกอบด้วยความยินดีมาก จิตดวงนี้เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมาก และประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง จิตดวงนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร นี่ต้องอย่างนี้ล่ะ จึงจะมีรส ค่อยมีรสหน่อย เราจะต้องพินิจพิจารณา หากว่าจิตของเราเองมันเกิดขึ้น มีความยินดีมาก ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง เออ อ้ายประกอบด้วยความเห็นผิดน่ะ เห็นอย่างไร ลักษณะเห็นผิดน่ะเหมือนเรายินดีมากในสิ่งที่ผิด เมื่อเราเห็นทรัพย์เข้าก้อนหนึ่ง ไม่ใช่ของเรา มันเป็นของเขา ก็รู้เหมือนกันว่าเป็นของเขา แต่มันอยากได้เหลือทน ทรัพย์ก้อนนั้นมันใหญ่พอประมาณอยู่ ถ้าได้เข้าแล้วมันเลี้ยงชีพได้ตลอดสาย นับเป็นล้านๆ หรือนับเป็นแสนๆ ทีเดียว เมื่อไปเห็นทรัพย์เข้าเช่นนั้นแล้ว เราไม่ได้คิดไว้เลยว่าจะเอาทรัพย์ก้อนนั้น หรือจะขโมยหรือจะลักเขา ไม่ได้คิดเลย พอไปเห็นทรัพย์ก้อนนั้นเข้า ในที่ที่ควรจะได้ เจ้าของเผลอ พอเห็นทรัพย์เข้าเท่านั้น ใจมันปลาบปลื้มยินดีอย่างชนิดปล่อยชีวิตจิตใจทีเดียวอย่างนี้ ความยินดีมากมันเกิดขึ้นเองแล้ว จิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมากนั่นแหละ นี่ทรัพย์ก้อนนี้เราหยิบเอาเสีย ธนบัตรสักแสนหนึ่งไม่เท่าไร ถ้าใบละหมื่นก็ 10 ใบ เท่านั้น ใบละพันๆ ก็ 100 ใบเท่านั้น เป็นแสนหนึ่งเสียแล้ว เอ นี่จะเอาหรือไม่เอา นี่ความเห็นผิดเกิดขึ้น เอาได้ เราก็รวย พอเห็นผิดเกิดขึ้นเช่นนั้น ไม่ต้องมีใครชักชวนกระตุ้นละก้อ คว้าเอาทรัพย์ของเขาเข้าทีเดียว คว้าทีเดียวซ่อนทีเดียว นี่สำเร็จสมความปรารถนาของตัวแล้ว เอาไปได้สำเร็จ สมเจตนาด้วย และไม่มีใครรู้เห็นด้วย ทำสนิททีเดียว นี่แหละจิตดวงนั้นแหละเกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีมาก และประกอบด้วยความเห็นผิดด้วย มันเห็นว่าของเขา ไม่ใช่ของเรา นี่มันไปลักของเขานี้จะไม่ผิดอย่างไรเล่า มันก็ผิดนะซี่ เกิดขึ้นตามลำพังของตัว ไม่มีใครกระตุ้นหรือชักจูง ไม่ว่าในป่าหรือในที่ลับใดๆ หรือในที่มืดใดๆ ก็ตามเถอะ เอาทรัพย์ของเขามาได้สมเจตนา ไม่แต่เพียงแสนหนึ่งนะ สตางค์หนึ่งก็ดี สองสตางค์ก็ดี ถ้าว่าเป็นของเขาละก้อ แบบเดียวกัน อย่างนี้ทั้งหมด ถ้าว่าจิตเกิดขึ้นโดยความยินดีเช่นนั้น ถือเอาของเขามาเช่นนั้น นี่แหละโลภมูลดวงหนึ่ง นี้เป็นดวงต้นเกิดขึ้น เป็นอกุศลทีเดียว เราต้องไปนรกแน่ ต้องได้รับทุกข์แน่ เชื้อจิตดวงนี้ ต้องได้รับทุกข์แน่ รับบาปแน่ทีเดียว นี่ที่จะทำบาปลงไปชัดๆ มันปรากฏแก่ตนดังนี้ นี่ดวงหนึ่ง

    ดวงที่ 2 ต่อไป จิตประกอบด้วยความยินดีมาก และเห็นผิดอีกเหมือนกัน คือ ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง คราวนี้เห็นทองคำเข้าก้อนหนึ่ง หรือไปเห็นสายสร้อยเข้าเส้นหนึ่ง ราคานับแสนทีเดียว โดยเป็นของหลวงด้วย ราคานับแสนๆ ไม่ใช่ของราษฎร์ แต่ว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดเขาเอามาซ่อนไว้ ไปเห็นเข้า หรือตกหล่นอยู่ อย่างหนึ่ง อย่างใดก็ตามเถอะ ไปเห็นเข้า รู้ทีเดียวนี่ไม่ใช่ของธรรมดา ราคามากทีเดียว เมื่อไปเห็นเข้า เช่นนั้นไม่กล้า เพราะรู้ว่าเป็นของหลวง มันไม่กล้าลักของหลวง กลัวติดคุกติดตะรางขึ้นมาเสียแล้ว ก็มากระซิบกับเพื่อนกัน เออ! ข้าไปพบของสำคัญไว้ที่นั่นแน่ะทำอย่างไรนี่ อยู่ที่นั่นแน่ะ ข้าไปพบเข้าแล้วจะทำอย่างไร อ้ายเพื่อนก็ว่า ทำไมไม่เอาเสียล่ะ เพื่อนกระตุ้นเข้าแล้วว่าทำไมไม่เอาเสียล่ะ พอว่าเท่านั้นแหละก็แพล็บไปเอามาสมความปรารถนา นี่ถูกกระตุ้น หรือชักจูงเข้าแล้ว ไปเอาของของเขามาแล้ว โดนอกุศลเข้าอีกดวงหนึ่ง นี้เป็นอกุศลสำคัญ นี้แหละเป็นโลภมูล เกิดจากความโลภ เป็นอกุศลร้ายกาจอย่างนี้หนา นี้ว่าถึงลักถึงขโมย ไม่ใช่ ลักไม่ใช่ขโมยอย่างเดียว ที่ชั่วละก้อ ทั้งนั้นแหละ แบบเดียวกัน ชักตัวอย่างให้เข้าใจ ให้เข้าใจ ว่าดวงจิตดวงนี้มันเป็นอย่างนั้น ให้รู้จักหลักนี้

    ดวงที่ 3 จิตประกอบด้วยความยินดีมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง ยินดีมากเมื่อไปเห็นสิ่งของของคนอื่นที่มีค่าเข้า ที่มีค่ามาก จะเป็นเงินทองหรือแก้วแหวนชนิดใดๆ หรือผ้านุ่งผ้าห่มชนิดใดๆ ก็ตามเถอะ เป็นวัตถุชนิดหนึ่งชนิดใดใช้ได้ จนกระทั่งสตางค์เดียวก็ใช้ได้ ใช้ได้ทั้งนั้น เมื่อไปเห็นเข้าแล้วก็รู้ว่าของนี่เจ้าของเขาพิทักษ์รักษาอยู่ เขาดูแลอยู่ เราไปพบทองเข้าหนักขนาดพันบาท นี่ก็มากอยู่หนักขนาดพันบาท แต่ว่าทองนี้ ถ้าเราเอาไปได้ เราก็ใช้ได้นาน ลงทุนลงรอนได้ ถ้าเราเอาไปไม่ได้เราก็จนอยู่แค่นี้ ถ้าเราเอาไปได้ละก้อ ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เชียว ถ้าหากเขาจับเราได้ก็ต้องเข้าคุกตะรางไป ถ้าเขาจับเราไม่ได้ล่ะ เราก็ตั้งเนื้อตั้งตัวได้ แต่ว่าไม่มีความเห็นผิดอะไร เห็นว่าถ้าเราเอาไปได้ก็เป็นประโยชน์แก่เรา เราไม่เอาไปก็ไม่เป็นประโยชน์แก่เรา เข้าใจว่าจะหลบหลีกพ้น แต่เราต้องได้รับผลชั่วเพราะเราขโมยเขา จะทำอย่างไรได้ ก็มันจนนี่ มันก็ต้องขอไปทีสิ คว้าทองนั้นเข้าก้อนหนึ่งโดยความยากจน มาเป็นของตัวแล้ว ไม่มีใครกระตุ้นหรือชักจูงเลย คิดตกลงในใจของตัวเอง เอาของของเขาไปดังนี้ แล้วก็รู้ด้วยว่าเป็นบาปเป็นกรรมเป็นอกุศลเป็นโทษ เห็นก็ไม่ใช่เห็นผิด เห็นถูกนี่แหละเห็นว่าเป็นบาปเป็นกรรมเป็นโทษ แต่ว่ามันจนเต็มที มันก็ต้องขอไปที ใจกล้าหน้าด้านเอาทีหนึ่ง มันก็เป็นอกุศลจิตเหมือนกัน อกุศลอีกนั่นแหละ ลักเขาขโมยเขาไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เห็นถูก นี้เป็นจิตอีกดวงหนึ่ง ดวงที่ 3

    ดวงที่ 4 ก็แบบเดียวกันอย่างนั้นอีก จิตที่ประกอบด้วยความอยากมาก ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด แบบเดียวกันกับเห็นทองอย่างนั้นแหละ เกิดขึ้นโดยถูกกระตุ้นหรือชักจูง ทีนี้เราเห็นเพชรสักเม็ดหนึ่งราคานับล้านแต่ไม่ใช่ของเราแบบเดียวกัน เออ! เมื่อไปเห็นเพชรเข้าเช่นนั้นแล้ว จะตกลงใจอย่างไรล่ะ ราคามันมากขนาดนี้เมื่อไรจะพบกันล่ะ แต่ยังไม่กล้า ที่จะเอาเพชรเม็ดนั้นด้วยกลัวเกรงอันตรายหรือกลัวติดคุกติดตะราง นำเอาเรื่องไปบอกพวกเพื่อนๆ พวกเพื่อนๆ บอกว่าทำไมจึงไม่เอา เอ็งนี่มันโง่เกินโง่อย่างนี้นี่ พอเพื่อนว่าเข้าเท่านั้น ก็ไปลักเพชรเม็ดนั้นได้สมความปรารถนา เอาไปเก็บไว้สมเจตนาของตน นี้ต้องมีผู้กระตุ้น หรือชักจูงเป็นจิตดวงที่ 4

    สี่ดวงนี้เป็นโลภมูลทั้งนั้น โลภมูลอีกสี่ดวงต่อมาเป็น 8 ดวง

    ดวงที่ 5 จิตที่เกิดขึ้นประกอบด้วยความยินดีพอประมาณ แต่ว่าประกอบด้วยความเห็นผิด เกิดขึ้นตามลำพัง จิตดวงนี้เกิดขึ้นด้วยความยินดีพอประมาณ ไม่มีความยินดีมากมายใหญ่โตนัก ได้ก็เอา ไม่ได้ก็แล้วไป พอสมควรแต่ว่ากิริยาแบบเดียวกัน นี่เป็นจิตดวงที่ 5

    ดวงที่ 6 จิตที่เกิดขึ้นด้วยความยินดีพอประมาณแบบเดียวกัน และประกอบด้วยความเห็นผิด ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูง จึงจะสำเร็จสมความปรารถนา ก็แบบเดียวกันอย่างที่ได้อธิบายมาแล้ว แต่ว่ามันไม่ยินดีมากนัก ดวงก่อนยินดีมาก ดวงหลังยินดีพอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นเพราะความอยากได้พอประมาณ เช่น ไปเห็นทองหรือเพชรดังกล่าวแล้วแบบเดียวกัน ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงจึงจะสำเร็จความปรารถนา นี้เป็นดวงที่ 6

    ดวงที่ 7 จิตที่อยากได้พอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นมีความอยากได้พอประมาณ แต่ว่าไม่มีความเห็นผิด เกิดขึ้นโดยลำพัง ก็แบบเดียวกัน ดังอธิบายมาก่อน นี่เป็นดวงที่ 7

    ดวงที่ 8 จิตที่อยากได้พอประมาณ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความอยากได้พอประมาณ ไม่มีความเห็นผิด แต่ต้องมีผู้กระตุ้นหรือชักจูง จึงจะสำเร็จสมความปรารถนาแบบเดียวกันนั่นแหละ นี้เป็นดวงที่ 8

    จิต 4 ดวงก่อนกับ 4 ดวงหลัง ไม่ได้ต่างจากกัน สี่ดวงก่อน จิตที่เกิดขึ้นด้วยความอยากมากยินดีมาก สี่ดวงหลังนี่ยินดีพอประมาณเท่านั้น เมื่อรู้จักจิต 8 ดวงนี้แล้ว มันก็อยู่ในตัวของเรานี่เองเกิดขึ้นแก่เราเอง เราเคยพบมานี่ อ้ายพวกนี้ เคยพบเคยปะอยู่บ้าง แต่ว่าเราไม่รู้จักมัน วันนี้เราจะรู้จักมันล่ะ พอมีรสบ้าง แต่ว่ายังมีรสน้อยเต็มที กว้างกว่านี้ ยังจะมีรสมากว่านี้อีก แต่ว่าให้รู้จักเสียชั้นหนึ่งก่อนโดยย่อ

    จิตที่เป็นอกุศล จิตโทสะ มี 2 ดวง

    จิตโทสะดวงที่ 1 เกิดขึ้นโดยลำพัง อ้ายนี่อกุศลจิต เกิดขึ้นโดยลำพังมันเป็นอย่างไร อกุศลจิตเกิดขึ้นโดยลำพัง เช่น เราไปในสถานที่ใดๆ ก็ช่าง อยู่ในบ้านก็ช่าง ไม่มีใครชักจูง ไม่มีอะไรทั้งหมด ใจมันโกรธ จิตดวงนี้เป็นจิตโกรธ มันโกรธขึ้นไม่มีใครทำอะไรเลย อยู่ดีๆ มันก็พลุ่งพล่านโกรธขึ้นอย่างนั้น ไม่มีใครว่าไม่มีใครทำอะไรทั้งหมด โกรธขึ้นมาก็มีอาการต่างๆ ใครจะพูดกระทบกระเทียบเข้านิดๆ หน่อยๆ ไม่ได้ก็แปลบๆ ขึ้นมาทีเดียว นั่นมันเรื่องอะไร ไม่มีใครรู้เรื่องของตัวเลย มันโกรธอยู่ในใจอย่างนั้นแหละ นี่โกรธขึ้นโดยลำพัง ไม่มีใครชักจูง ไม่มีว่ากล่าวกระทบกระเทียบเลย มันเกิดขึ้น มันพลุ่งพล่านอยู่ภายในของตัวเอง อ้ายนี้แหละเขาเรียกว่าโทสจริต นี่แหละโทสจริตมันเกิดขึ้นอย่างนี้แหละ เกิดขึ้นโดยลำพัง

    จิตโทสะดวงที่ 2 มันเกิดขึ้นโดยมีคนชักจูงหรือกระตุ้นเตือน มีคนชักจูงหรือกระตุ้นขึ้น อ้ายนั่นมันยั่วให้โกรธน่ะซี สามียั่วให้ภรรยาโกรธบ้าง ภรรยายั่วให้สามีโกรธบ้าง หรือชาวบ้านยั่วให้โกรธบ้าง คนโน้นคนนี้ยั่วให้โกรธบ้าง ไม่ได้เกิดขึ้นโดยลำพัง มีคนยั่วให้โกรธ เอารูปที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอาเสียงที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอากลิ่นที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง เอารสที่ไม่ชอบใจมายั่วบ้าง ยั่วเข้ามันก็โกรธน่ะซี่ นั่นแหละมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงให้โกรธขึ้น

    จิต 2 ดวงนี้ก็ร้ายเหมือนกัน จิต 2 ดวงนี้เกิดขึ้นโดยลำพังดวง 1 เกิดขึ้นโดยมีผู้กระตุ้นหรือชักจูงดวง 1 จิตเหล่านี้พออธิบายง่ายหรอก จิตโกรธนี่น่ะ

    จิตหลงนี่น่ะลึกซึ้งนัก จิตหลงมี 2 ดวง

    จิตหลงดวงที่ 1 เกิดขึ้นโดยสงสัยลังเลไม่ตกลงใจ อ้ายนี่สำคัญอยู่ จิตหลงเกิดขึ้นโดยสงสัยลังเลไม่ตกลงในใจ จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง ในการครองเรือนของตนก็ดี จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง หรือไม่ได้ครองเรือนก็ดี จะทำอะไรไม่ตกลงสักอย่าง ลังเล ไม่ตกลงในใจอย่างนั้นแหละร่ำไป อย่างนี้เขาเรียกว่าจิตหลง จะทำอะไรก็ไม่แน่นอนลงไป เข้าทำราชการก็ไม่แน่นอน แต่จะทำหรือไม่ทำก็ไม่แน่นอน ทำส่วนตัวก็ไม่แน่นอน ทำนา ทำไร่ ไม่แน่นอนทั้งนั้น ไม่ตกลงในใจ ถึงทำกิจการอันหนึ่งอันใดก็ไม่ตกลงในใจทั้งนั้น เมื่อสั่งการงานไม่ตกลงในใจอย่างนี้ มันลังเลอยู่เช่นนี้ มันก็ทำอะไรไม่ได้ มันก็หลงงมงายอยู่เช่นนั้น นี่เขาเรียกว่าจิตหลงมันเกิดขึ้น ลังเลไม่ตกลงในใจ สิ่งใดที่ลังเลไม่ตกลงในใจแล้ว พูดออกไปก็ดี ทำลงไปก็ดี มีผิดกับถูกสองอย่างเท่านั้น ถูกก็มี ผิดก็มี เพราะมันลังเล ไม่ตกลงในใจเสียแล้ว การที่จิตลังเลไม่ตกลงในใจน่ะ เช่น เรารักษาศีลอย่างนี้แหละไปเจอ ทรัพย์เข้าหรือสัตว์เข้าตัวใหญ่ๆ ที่ชอบอกชอบใจที่มีค่ามาก เราฆ่าลงไปเป็นอาหารของเราได้นาน เราลักเอาไป ก็เป็นอาหารได้นาน แต่เราไม่ตกลงในใจ เราจะรักษาศีลดี หรือรักชีวิตดี จะลักเขาดีหรือจะฆ่าเขาดี หรือว่าจะไม่ลักไม่ฆ่าเขาดี ถ้าไม่ลักไม่ฆ่าเขาเราก็อด เราก็จน ถ้าลักเขาฆ่าเขาได้ เราเลิกอดเลิกจน ลังเลไม่ตกลงในใจอย่างนี้ นี่เขาเรียกว่าจิตหลง มันระคนจิตหลงเข้าคละอยู่ด้วย ถ้าทำลงไปด้วยอำนาจจิตหลงอย่างนั้น ถ้าทำผิดมันก็ผิดไป ถ้าทำถูกมันก็ถูกไป แต่ว่าในที่นี้ประสงค์เอาที่ผิดเพราะว่าเป็นอกุศลจิต ไม่ใช่กุศลจิต ประสงค์ที่ผิดฝ่ายเดียว เรียกว่าลังเลไม่ตกลงในใจ นี้เป็นจิตหลงดวง 1

    จิตหลงดวงที่ 2 อาการทำโดยฟุ้งซ่านน่ะ อ้ายนี่มันครึ่งบ้าครึ่งดี ลูกเต้าใกล้เคียง เหวี่ยงปึงลงไปให้ก็ตายเลย กำลังมันไม่สบายอกสบายใจ ทำโดยฟุ้งซ่าน ด้วยหลงเหมือนกัน เหมือนคนทำโดยฟุ้งซ่านทำมันแรงเกินไป ไม่ปรารถนาให้ตายหรอก มันไปตายเข้าก็เลยติดคุก นั่นเพราะทำด้วยจิตฟุ้งซ่าน นี้เป็นจิตหลงดวง 1

    จิตหลง 2 ดวงนี้สำคัญมาก ต้องคอยระแวดระวังสำคัญอยู่ ไม่ให้ไปทางถูก ให้ไปทางผิดร่ำไป

    นี้จิต 12 ดวงนี่แหละมันควบคุมเราอยู่ ให้เราไปเกิดในอบายภูมิทั้ง 4 เราตกต่ำเลวทรามลงได้ด้วยประการใดๆ ก็เพราะจิต 12 ดวงนี่เอง ต้องควบคุมไว้ให้ดี ต้องเล่าเรียนเสียให้ชัดทีเดียว ถ้าว่าเล่าเรียนเสียให้ชัดแล้ว รู้หน้ารู้ตารู้ขอบรู้เขตของมันแล้ว มันจะข่มเหงเราไม่ได้ ถ้าเราไม่รู้เท่าทันมันเสียแล้วมันก็จะข่มเหงเราตามชอบใจ ในตัวของเรานี้ไม่ใช่ที่อื่น นี่แหละมันเนื้อหนังปรมัตถ์ทีเดียว ฝ่ายความชั่วล่ะ เป็นเนื้อหนังของพระอภิธรรมปิฎกทีเดียว จิต 12 ดวงนี่แหละ

    ที่แสดงวันนี้แสดงแต่เพียง 12 ดวง เวลาไม่เพียงพอ แล้วต่อไปจะแสดงเป็นลำดับไป อเหตุกจิต กามาวจรจิต รูปาวจรจิต อรูปาวจรวิต พอหมดเรื่องจิตแล้วละก็จะแสดงรูป 28 มหาภูตรูป 4 อุปาทายรูป 24 หมดรูปแล้วจะแสดงนิพพาน ให้เข้าเนื้อเข้าใจแตกฉานใน 4 อย่างนี้ให้ได้ เพราะวัดปากน้ำเริ่มลงมือเล่าเรียนกันแล้วใน 4 อย่างนี้ ภิกษุสามเณรเล่าเรียนกันแล้ว ที่แสดงนี้ก็เป็นอุปการะแก่ภิกษุสามเณรอุบาสกอุบาสิกาที่กำลังเล่าเรียนกันอยู่นี้ กำลังศึกษาอยู่ มีครูสอน พระทิพย์ปริญญาเป็นผู้สอนปรมัตถปิฎกนี้ ผู้สอนปรมัตถ์ ไม่ใช่เล่นๆ หนา ต้องมีภูมิพอ ต้องมีการศึกษาพอ ถ้าไม่มีการศึกษาพอละก้อ ลูกศิษย์สู้ครู ถามกันเจ๊งแน่ทีเดียว ไม่ต้องสงสัยละ เพราะเป็นของที่ลึกซึ้งมาก ถามเจ๊งแน่ ถามติดแน่ทีเดียว เพราะฉะนั้นอุบาสกอุบาสิกาควรตั้งอกตั้งใจศึกษาเถิด

    ปรมัตถปิฎกเป็นเนื้อหนังพุทธศาสนาจริงๆ ส่วนวินัยปิฎกเป็นข้อห้ามข้อปรามไม่ให้ทำชั่วด้วยกายด้วยวาจาเท่านั้น ส่วนสุตตันตปิฎก เป็นสายบรรทัด เป็นตัวอย่างว่าคนนั้นทำอย่างนี้เป็นสุขอย่างนี้ คนนั้นทำดังนี้ พ้นจากทุกข์ พ้นจากไตรวัฏ ไปสู่นิพพานอย่างนี้ นั่นเป็นหน้าที่ของสุตตันตปิฎก ไม่ใช่เนื้อหนังของธรรม ส่วนปรมัตถปิฎกนี้เป็นเนื้อหนังของธรรมจริงๆ นะ ที่ดับสูญไปเสีย ไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เรียนกันแต่เปลือกๆ ผิวๆ เป็นแต่กระพี้ๆ ไป ก็เพราะมารขวางกีดกันไว้ ให้ศึกษาเผินไปหมด พุทธศาสนาก็จะถล่มทลายเพราะเนื้อธรรมไม่มีใครรู้แน่แท้ลงไป รู้แต่เปลือกแต่ผิวไปเสีย เหตุนี้ เราทั้งหลายควรตั้งใจเสียให้ดี ทั้งภิกษุสามเณรจงอุตส่าห์เล่าเรียนปรมัตถคัมภีร์อภิธรรมปิฎก นี้ให้แตกฉานชำนาญเถิด ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ควรรักษากาย วาจา ใจ ให้เป็นฝ่ายขาวเสมอ

    "...สังขารคือความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่ง และมีทางเกิดเป็น 2 ฝ่าย
    ฝ่ายทุจริตเกิดจากอวิชชาและอาสวะ
    ฝ่ายสุจริตเกิดจากวิชชา และอนาสวะ

    ฝ่ายเหตุทุจริตเป็นดวงดำมืดมน
    ฝ่ายเหตุสุจริตเป็นดวงขาวใสซ้อนอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นคู่ปราบกันอยู่

    ฝ่ายชั่ว(ดำ) เป็นภาคมาร,
    ฝ่ายดี(ขาว) เป็น ภาคพระ
    ต่างมีเจ้าของด้วยกัน ฝ่ายชั่วอำนวยการให้มืด
    ฝ่ายดีอำนวยการให้สว่าง

    คล้ายโรงงานทำหมอกควันพวกหนึ่ง
    โรงงานทำไฟฟ้าพวกหนึ่ง

    เมื่อเราไม่คอยระวังฝ่ายชั่วสอดเข้าไปได้ ย่อมเป็นเหตุให้เราตกไปทางชั่ว คือจะทำอะไรก็ทำในทางชั่ว จะพูดอะไรออกมา ก็เป็นทางชั่ว จะคิดทำอะไรก็เป็นไปในทางชั่วหมด (อกุศลกรรมบถ 10)

    ถ้าเราคอยระวังรักษาไว้ให้ดี บำเพ็ญสมาธิให้ดวงขาวใสปรากฏอยู่ในศูนย์กลางกายเสมอ เราจะทำอะไรก็เป็นไปในทางดี พูดอะไรก็พูดไปทางดี คิดอะไรก็คิดไปทางดี

    เพราะ ฉะนั้น จึงควรบำเพ็ญตนให้เป็นฝ่ายขาวเสมอ เวลาจะตายถ้าปล่อยให้ไปตกอยู่ฝ่ายดำ เรียกว่าหลงตาย จะไปสู่ทุคติ

    ถ้าอยู่ในฝ่ายขาวเรียกว่าไม่หลงตาย จะไปสู่สุคติแน่แท้ จึง เป็นการจำเป็นยิ่งที่จะระวังให้อยู่ฝ่ายขาว..."

    คัดลอกบางส่วนจาก
    พระธรรมเทศนา เรื่อง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
    เทศน์เมื่อ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๘ – ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
    โดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

    e-g79vw7ojXzRhtABye42dEolmIgcEdRo3_02fqSNsHc8DU7umDv6P36cdY0jIeANn4172-b&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    4DnB22b3KzaaNlYuAfDeFdKLcaVks_hRmVAsnIbL6RlagZnkd6fNl8MFL8bysiN2Bv9OY8n9&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ธาตุละเอียดจากกำเนิดเดิมนี้เอง
    ที่เป็นที่ตั้งของขันธ์ 5•


    เพื่อให้เข้าใจถึงคุณค่าของการปฎิบัติธรรมตามแนวนี้ว่า ช่วยส่งเสริมสุขภาพกายด้วย จึงขอทบทวนไปถึงคำสอนของวิปัสสนาจารย์ที่กล่าวไว้ว่า

    ณ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7นั้น มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดวงปฐมมรรค ซึ่งเป็นที่ประชุม "ธาตุธรรมละเอียด" จากกำเนิดเดิม

    และภายในดวงธรรมนี้ จึงมีธาตุละเอียด มีลักษณะเป็นดวงกลมใสดวงเล็กๆ ซึ่งเรียกว่า ศูนย์รวมทั้งหมด 5 ศูนย์ หรือ 5ดวง คือศูนย์กลาง หน้า ขวา หลัง ซ้าย

    ศูนย์กลางคือ อากาศธาตุ
    หน้า ธาตุน้ำ
    ขวา ธาตุดิน
    หลัง ธาตุไฟ
    และซ้าย ธาตุลม
    ตรงกลางอากาศธาตุคือ วิญญาณธาตุ

    ธาตุละเอียดจากกำเนิดเดิมนี้เอง ที่เป็นที่ตั้งของขันธ์ 5 ส่วนละเอียดได้แก่ รูป เวทนา สัญญาสังขาร และวิญญาณ

    ซึ่งสามารถจะเห็นได้ด้วยญาณธรรมกาย ว่า เป็นดวงกลมใสเล็กๆ ซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ และขยายส่วนหยาบออกมาเป็น ดวงเห็น จำ คิด และรู้ และเจริญเติบโตขึ้นมาเป็น กาย ดวงใจ ดวงจิต และวิญญาณ

    ธาตุละเอียดจากกำเนิดเดิมนี้เอง ที่ทำหน้าที่ควบคุมธาตุส่วนหยาบ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นกาย อันมีของเหลว ของหยาบ-แข็ง อุณภูมิ อากาศ และช่องว่างทั้งหลาย ให้อยู่ในสภาวะอันพอเหมาะ

    แต่ถ้ามีเหตุสิ่งหนึ่งสิ่งใด มาทำให้ธาตุละเอียดเหล่านี้ วิปริตแปรปรวน ก็ทำให้ไม่สามารถ จะควบคุมธาตุส่วนหยาบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ธาตุส่วนหยาบที่ประกอบกันขึ้นเป็นกาย จึงได้รับความกระทบกระเทือนด้วย ทำให้เกิดความเจ็บไข้ไม่สบายกายขึ้น

    และถ้าเหตุที่มากระทบนั้นรุนแรง จนถึงขั้นไม่สามารถ จะควบคุมธาตุส่วนหยาบให้ทรงอยู่ได้แล้ว ก็ต้องแตกสลาย และเปลี่ยนสภาพกลับไปเป็นธาตุเดิมของมันต่อไป.

    ที่มา: หนังสือ พุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย
    กรกฎาคม 2525

    " คำว่า ธรรมกาย ก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี
    ว่า ธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี
    เป็นชื่อของ ตถาคต "

    uvzyqz8rrn9c0ulp5rywwjf9_zc_-i8r0azturvnrkne7c71ldtucf2uftvuqbno6ojo-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    yq-_nc_ohc-ogiu7wiydq4aqlbzgbbstt-nbrpbfswxbmc86jlalbyjxfgnkhqkkf-ng-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg

    ภารสุตฺตกถา

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธาภาราหาโร จ ปุคฺคโลภาราทานํ ทุกฺขํ โลเกภารานิกฺเขปนํ สุขํนิกฺขิปิตฺวา ครุํ ภารํอญฺญํ ภารํ อนาทิยสมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺหนิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดงธรรมีกถา แก้ด้วย ภารสุตฺตกถา วาจาเครื่องกล่าว ปรารภซึ่งพระพุทธพจน์ แสดงในเรื่องภาระของสัตว์โลก สัตว์โลกทุกข์ยากในเรื่องภาระ ทั้งหลายเหล่านี้นัก จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี และคลี่ความเป็นสยามภาษา ตาม อัตโนมตยาธิบาย เพราะว่า เราท่านทั้งหลาย หญิงชาย คฤหัสถ์บรรพชิต ล้วนแต่ต้องมี ภารกิจหนักอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ทุกข์ยากลำบากเดือดร้อนลำเค็ญอยู่ต่างๆ ก็เพราะอาศัย ภาระเหล่านี้ ภาระเหล่านี้เป็นของสำคัญ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเห็นภาระอันใหญ่ยิ่ง ดังนั้นจึงได้ทรงแสดงภารสูตรว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา ขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาระหนักแท้ เป็นภาระโดยแท้ ภาราหาโร จ ปุคฺคโล ก็บุคคลนำภาระไป ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก ถือภาระ ไว้เป็นทุกข์ในโลก ภารานิกฺเขปนํ สุขํ วางภาระเสียเป็นสุขนิกฺขิปิตฺวา ครุ ํ ภารํ บุคคล วางภาระอันหนักแล้ว อญฺญํ ภารํ อนาทิย ไม่ฉวยเอาภาระอื่นมาเป็นภาระอีก สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห ถอนตัณหาทั้งรากเสียได้ นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโตติ มีความปรารถนาดับสิ้น ชื่อว่า นิพพานได้ ดังนี้ นี่ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา

    ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบาย ขยายความในเรื่องภาระหนักของสัตว์โลก หญิงชายคฤหัสถ์ บรรพชิตทุกถ้วนหน้า ขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาระ ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์นี้ ที่มนุษย์อาศัยเรียกว่าขันธ์ 5 นี้แหละ จะเป็นหญิงเป็นชาย เป็นเด็กเป็นผู้ใหญ่ ก็ต้องอาศัยขันธ์ 5อาศัยรูป คือ ร่างกาย อาศัยเวทนา คือความสุข ทุกข์ ไม่สุข ไม่ทุกข์ อาศัยสัญญา คือ ความจำ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพารมณ์ อาศัยสังขาร คือ ความปรารถนาดี ชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว อาศัยวิญญาณ คือ ความรู้แจ้งขันธ์ทั้ง 5 นี่แหละ เรียกว่าเป็นภาระ เป็นภาระอย่างไร เราต้องพิทักษ์รักษาเอาใจใส่ หยุดก็ไม่ได้ เวลาเช้า ตื่นจากที่นอนแล้วเราต้องล้างหน้าบ้วนปากให้มัน ไม่เช่นนั้นมันเหม็น ปวดอุจจาระปัสสาวะ ต้องไปถ่าย พอเสร็จแล้วมันจะรับประทานอาหาร ต้องไปหามาให้ ต้องการอะไร เป็นต้องไป เอามาให้ เมื่อไม่เอามาให้ ไม่ได้ อยากอะไรก็ต้องไปหามา ไม่ใช่แต่เท่านั้น ไม่ว่าอยากอะไร ต้องไปหาให้มัน ถ้าไม่มาให้ มันไม่ยอม นี่เป็นภาระอย่างนี้ เราต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างใน อัตภาพร่างกายนี้เป็นภาระทั้งนั้น มันอยากจะเห็นอะไร ต้องหาให้มัน ไม่สบายต้องแก้ไข ไปอีก ต้องนำภาระไปอย่างนี้ มันบอกว่าที่นี่อยู่ไม่สบาย ต้องหาที่อยู่ให้มัน มันจะอยู่ ตรงนั้นตรงนี้ตามเรื่องของมัน ต้องเป็นภาระทุกสิ่งทุกอย่างไปนี่แหละ เรียกว่าเป็นภาระ อย่างนี้ ยุ่งกับลูกหญิงลูกชายซึ่งเป็นภาระของพ่อแม่ ภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาก็เป็น ภาระของสมภาร ในบ้านในช่องทั้งครอบครัวเป็นภาระของพ่อบ้านแม่บ้าน ราษฎรทั้ง ประเทศเป็นภาระของพระเจ้าแผ่นดิน ผู้ปกครองประเทศ ข้าวของแพงเหล่านี้ก็เป็นภาระ ของผู้ปกครองประเทศ

    ภาระทั้งหลายเหล่านี้ไม่อัศจรรย์เท่าภาระของขันธ์ 5 นี้ ลำพังขันธ์ 5 นี้ จำเพาะตัว ของมันก็ยังไม่สู้กระไรนัก ผู้ใดไม่พอก็หาภาระเพิ่มอีก 5 ขันธ์ เป็น 10 ขันธ์ ไปเอาอีก 5 ขันธ์ เป็น 15 ขันธ์ ไปเอาอีก 5 ขันธ์ เป็น 20 ขันธ์ เป็น 25, 30, 35, 40 หนักเข้า ถึงร้อยพันขันธ์ ที่ทนไม่ไหว เพราะเหตุว่าภาระเหล่านี้มันหนัก ไม่ใช่ของเบา เมื่อมีภาระ เหล่านี้จะเป็นภาระ 5 ขันธ์ก็ดี ภาระอื่นจาก 5 ขันธ์ก็ดี ภาระเหล่านี้แหละ ภาราหาโร จ ปุคฺคโล บุคคลถือภาระนี้ไว้กี่ขันธ์ก็ช่าง บุคคลนำภาระนี้ไป บุคคลต้องนำทุกข์ของตัวไป เพราะมีขันธ์ 5 ด้วยกันทั้งนั้น บุคคลนำภาระไป ภาราทานํ ทุกฺขํ โลเก ถ้าว่าไปถือภาระ นี้ไว้ ตำรากล่าวว่าเป็นทุกข์ในโลก ถึงจะหมดขันธ์ 5 ก็อย่าถือมัน วางธุระเสีย ถ้าไปถือมัน ก็เป็นทุกข์ในโลก แปลว่า ถ้าถือภาระไว้เป็นทุกข์ในโลก ภารานิกฺเขปนํ สุขํ ปล่อยวางภาระ เสีย ปล่อยขันธ์ 5 นั่นเองเป็นสุข ถือไว้เป็นทุกข์ ปล่อยขันธ์ 5 นั่นเองเป็นสุข ถือไว้ เป็นทุกข์ ปล่อยเป็นสุข นิกฺขิตฺวา ครุํ ภารํ อญฺญํ ภารํ อนาทิย สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺห แม้ปล่อยภาระที่หนักเสียแล้ว ไม่ฉวยเอาภาระของคนอื่นเข้ามา ปล่อยขันธ์ 5 นี่ ไปเอา ขันธ์ 5 นั่น ปล่อยขันธ์ 5 นั่น ไปเอาขันธ์ 5 นี่ ไปเอาขันธ์ 5 นั่น ปล่อยขันธ์ 5 นั่น ไป เอาขันธ์ 5 โน่น นี่เรียกว่าไปเอาภาระอื่นเข้ามาถือไว้อีก ถ้าปล่อยเสียแล้วไม่ถือไว้ ก็ชื่อว่า เป็นผู้ถอนตัณหาทั้งรากได้สิ้นเชื้อทีเดียว นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต มีความปรารถนาดับสิ้น ชื่อว่านิพพานได้ ดังนี้เราจะได้รับความสุข ก็เพราะปล่อยภาระเหล่านี้เสีย เราได้รับความ ทุกข์ก็เพราะถือภาระเหล่านี้ การที่ปล่อยไม่ใช่ของง่าย การที่ถือง่าย การปล่อยยากเหมือน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของตัวนี้ ท่านก็เทศน์กันนักกันหนาว่าเป็น อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เราก็ไม่ยอมดีๆ เราก็เชื่อว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นตัว แต่อย่างนั้นเราก็ต้องบริหารรักษา ของเรา ที่เราจะยอมลงความเห็นเด็ดขาดไม่ได้ เพราะเหตุว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร ตลอดวิญญาณทั้ง 5 อย่างนี้เราต้องอาศัยทุกคน สัญญา สังขาร วิญญาณออกเสีย เราก็ ไม่มีที่อาศัย เราต้องอาศัยแต่ว่าอย่าไปถือมัน รู้ว่าอาศัยเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว เป็นไปตามสภาพอย่างไร เราไม่ควรยึดถือ ปล่อยตามสภาพของมันอย่างนี้ ทุกข์ก็น้อยลง ต่อเมื่อไรถือมัน มันก็เป็นทุกข์มาก เป็นภาระหนักขึ้น

    เหตุนี้พระองค์ทรงเห็นแล้วว่าขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาระสำคัญและหนักด้วย ใครปล่อย วางขันธ์ 5 ละไม่ได้ ผู้นั้นต้องเวียนว่ายตายเกิด ผู้ใดปล่อยได้ผู้นั้นนับวันจะหมดชาติ หมดภพ จะมีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ที่เทศนานี้ล้วนสอนให้ถอดขันธ์ 5 ออกเป็น ชั้นๆ ไป แต่ว่าจะถอดขันธ์ 5 จะถอดอย่างไร มันเหมือนมะขามสด เนื้อกับเปลือกมันติดกัน ไม่หลุด ไม่กรอกจากกัน ไม่ล่อนจากกัน ถอดไม่ได้ เรายังไม่เห็นขันธ์ 5 ต่อเมื่อใดถอดขันธ์ 5 เราจะเห็นขันธ์ 5 เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่เรารู้เห็นด้วยตามนุษย์ รูปเรา เห็นได้ เวทนาเราก็เห็น หน้าตาแช่มชื่นดี เราก็รู้ว่าสุข เรื่องสัญญา สังขาร วิญญาณ เราก็ ไม่เห็น เราจะต้องเห็นทั้ง 5 อย่างจึงจะละได้วางได้ ถ้าไม่เห็นขันธ์ทั้ง 5 อย่าง ละวางไม่ได้

    ถ้าอยากเห็นขันธ์ 5 เราต้องถอดกายออกเป็นชั้นๆ ต้องถอดกายทิพย์ออกจาก กายมนุษย์ วิธีจะถอดขันธ์ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของยาก หมื่นยากแสนยากทีเดียว แต่วิธี เขามีที่วัดปากน้ำ วิธีเข้ากายถอดขันธ์ คือ ทำจิตใจให้หยุดให้นิ่งที่กำเนิดเดิม ถอดขันธ์ออก ไปแล้วจึงเห็นขันธ์ ถอดขันธ์ 5 ของมนุษย์ออกจากขันธ์ 5 ของทิพย์ ถอดขันธ์ 5 ของ ทิพย์ออกจากขันธ์ 5 ของรูปพรหม ถอดขันธ์ 5 ของรูปพรหมออกจากขันธ์ 5 ของ อรูปพรหม ถอดขันธ์ 5 ของอรูปพรหมออกจากธรรมกาย เหมือนถอดเสื้อกางเกงอย่างนั้น แต่ว่าต้องถอดเป็น ถอดไม่เป็นก็ถอดไม่ได้

    วิธีถอดมี ต้องทำใจของตัวให้หยุดให้นิ่ง เห็น อย่างหนึ่ง จำอย่างหนึ่ง คิด อย่างหนึ่ง รู้ อย่างหนึ่ง หยุดนิ่งเหมือนอย่างกุมารน้อยอยู่ในท้องมารดา ใจหยุดที่กำเนิดเดิมคือศูนย์ กลางกายของกายมนุษย์ กำเนิดเดิมแค่ราวสะดือ เอาใจหยุดที่ตรงนั้น พอถูกส่วน ถูกที่เข้า เท่านั้นแหละ ก็เกิดเป็นดวงใส นั่นแหละเรียกว่า ปฐมมรรค หรือศีล เป็น ดวงศีลหยุดนิ่ง ต่อไป ถูกส่วนเข้า จะเห็น ดวงสมาธิ เข้าไปหยุดนิ่งกลางดวงสมาธิ จะเห็น ดวงปัญญา หยุด นิ่งกลางดวงปัญญา เห็น ดวงวิมุตติ หยุดนิ่งที่กลางดวงวิมุตติ จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เห็น กายทิพย์ กายมนุษย์-กายทิพย์หลุดจากกันแล้ว เห็นกายทิพย์แล้วเหมือนมะขาม กรอก กายมนุษย์เป็นเปลือกไป กายทิพย์เป็นเนื้อไป เป็นคราบงูที่ลอกออกไป เป็นเนื้อ มะขามใส เห็นชัดอย่างนี้ กายมนุษย์หลุดออกไป ขันธ์ 5 ของมนุษย์หลุดออกไป เหลือ กายทิพย์แล้วก็ทำวิธีอย่างนี้ วิธีถอดเข้าไปศูนย์ว่างของกลางกายทิพย์ แล้วก็ใจหยุดนิ่งที่ กลางกำเนิดของกายทิพย์ หยุดถูกส่วน เห็นเป็นดวงใส เรียกว่าดวงศีล ใจหยุดนิ่งกลาง ดวงศีลนั่นแหละ เห็นดวงสมาธิ ว่างกลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา ว่างกลางดวงปัญญา เห็นดวงวิมุตติ ว่างกลางดวงวิมุตติ เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ จะเห็น กายรูปพรหม ถอดจากกายทิพย์อีกแล้ว เหมือนมะขามกรอกอีกแล้ว ทำเข้าสิบเข้าศูนย์ถูกส่วนในกายรูปพรหมเข้าอีก พอหยุดถูกส่วน จะเห็นดวงใส คือ ดวงศีล หยุดนิ่งกลางดวงศีล เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งกลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งกลาง ดวงปัญญา เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งกลางดวงวิมุตติ เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เห็น กายอรูปพรหม ถอดออกจากกายรูปพรหมเหมือนกับมะขามกรอกอีกแล้ว กายรูปพรหม เหมือนเปลือกมะขาม ทำอย่างนี้อีก เข้าสิบเข้าศูนย์ให้ถูกส่วน ใจของกายอรูปพรหม พอ ถูกส่วน จะเห็นดวงใส ก็แบบเดียวกัน เป็นดวงศีล กลางว่างดวงศีล เห็นดวงสมาธิ กลาง ว่างดวงสมาธิ จะเห็นดวงปัญญา กลางว่างดวงปัญญา จะเห็นดวงวิมุตติ กลางว่างดวงวิมุตติ จะเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะเห็น กายธรรม ถอดออก จากกายอรูปพรหม ใสเหมือนยังกับแก้ว ถอดเป็นชั้นๆ อย่างนี้ พอถึงกายทิพย์ก็มองดู กายทิพย์ กายมนุษย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เห็นชัดอย่างนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายมนุษย์ ถอดออกจากกายทิพย์นั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายทิพย์ถอดออกจากกายรูปพรหมนั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายรูปพรหม ถอดออกจากกายอรูปพรหมนั่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายอรูปพรหม ถอดออกจากธรรมกาย ออกเป็น 20 ขันธ์ ตัวคนเดียวถอดออกเป็น 20 ขันธ์ พญามารเขาสอนให้ถอด ถอดกายอย่างนี้เป็นพวกของข้า ถ้าไม่ถอดกายไม่ยอม พระพุทธเจ้าก็สอนพวกพุทธบริษัทถอดกายอย่างนี้แล้วก็เข้านิพพานไป ถอดกายเหลือแต่ กายธรรมอย่างนี้แหละ พญามารมันยอม เรียกว่านิพพานถอดกาย อย่างชนิดนี้ให้เห็นชัด อย่างนี้เป็นวิธีถอดกาย เรียกว่า เข้านิพพานถอดกาย นิพพานไม่ถอดกายยังมีอีก หากว่า เอาวิธีไม่ถอดกายมาเทศน์ในเวลานี้ ถูกนัตถุ์ยา เหตุนั้นต้องสอนวิธีถอดกายเสียก่อน วิชานี้ เป็นวิชาของพญามารสอนให้ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ถอดกายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหมออกเสีย กายธรรมก็ไม่มี แม้จะผจญกับพญามารก็สู้ไม่ได้ ที่เอานางธรณี บีบน้ำท่วม มารจมน้ำ มันทำเล่นๆ ทำหลอกเล่น ที่จริงที่แท้แพ้มัน ที่แท้ทีเดียวต้องนิพพาน ไม่ถอดกาย แต่ว่านี่มันยอมกันเข้ามามากแล้ว ต้องแสดงวิธีถอดกายไปพลางๆ ก่อน แล้วจึง จะสอนไม่ถอดกายต่อไป เมื่อรู้จักขันธ์ 5 เป็นขันธ์ 5 ให้ถอดขันธ์ 5 เป็นชั้นๆ ดังกล่าวแล้ว ก็ไม่มีอะไรยึดถือ เพราะขันธ์ 5 ของมนุษย์ เป็นชาติของกาม กามก็อาศัยได้ในกายมนุษย์ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา มันเกาะอาศัยได้ ในกายมนุษย์ กายทิพย์ ส่วนกายรูปพรหม ภวตัณหาเกาะได้ กายอรูปพรหม วิภวตัณหามันเกาะอาศัยได้ ต่อเมื่อถึงกาย ธรรมแล้วตัณหาเกาะไม่ได้ มันเกาะไม่ถึง ตัณหาเกาะไม่ได้ในกายธรรม ตัณหาซาบซึม ไม่ได้ เราจะเอาน้ำหมึกรดกระจกเข้าไป มันก็ไม่เข้าไป กายธรรมก็เหมือนแก้ว เมื่อถึง กายธรรมแล้ว กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เข้าไปไม่ได้เพราะเป็นเนื้อแก้วที่สนิท ละเอียดกว่า ไม่มีช่อง ไม่มีหนทางเอิบอาบซึมซาบได้เลย เหมือนกระดาษแก้ว ส่วนกาย มนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เหมือนกระดาษฟาง มันเป็นที่ตั้งอาศัยของ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อถึงกายธรรมเสียแล้วเป็นแก้ว ตัณหาเข้าไปไม่ได้ จึงได้ชื่อว่าเป็นกายธรรม กายธรรมนั่นเองที่ปล่อยจากกายอรูปพรหมไป ตัณหาอาศัยไม่ได้ ที่เรียกว่า สมูลํ ตณฺหํ อพฺพุยฺหได้ชื่อว่า ถอนตัณหาทั้งรากได้ ตัณหาอยู่แค่กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ไม่มีแก่นิพพาน เมื่อเข้าถึงนิพพานเสียแล้ว ก็ถอนโคนราก ของตัณหาหมดแล้ว ตัณหาไม่หยั่งรากเข้าถึงกายธรรมได้ เหตุฉะนี้เมื่อถึงกายธรรมแล้วหมด ตัณหาแล้ว ไม่มีความปรารถนาที่จะเข้ามาอาศัยกายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ต่อไป จึงได้ชื่อว่า นิจฺฉาโต ปรินิพฺพุโต มีความปรารถนาดับสิ้นแล้ว ชื่อว่านิพพานได้แปลว่า ดับสิ้นแล้ว คือ ดับสิ้นจากกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เพราะเหตุฉะนั้น ขันธ์ 5 เหล่านี้ที่กล่าวในตอนต้นว่าเป็นภาระสำคัญ เราต้องทุกข์ยากลำบากเวียนว่ายตายเกิด ก็ เพราะสลัดไม่ออก สลัดขันธ์ของมนุษย์ออกไปติดขันธ์ 5 ของทิพย์ สลัดทิพย์ออกไปติด ขันธ์ 5 ของรูปพรหม สลัดรูปพรหมออกไปติดขันธ์ 5 ของอรูปพรหม นั่นเหมือนกับ มะขามสด เปลือกกับเนื้อมันติดกันจะแกะเท่าใดก็ไม่ออก แกะเปลือกเนื้อติดเปลือกไปด้วย ขันธ์ 5 ที่จะละทิ้งจิตใจของมนุษย์ ละไม่ได้ เพราะเนื้อกับเปลือกติดกัน เพราะมันอยู่ใน กามภพ มนุษย์ 1 สวรรค์ 6 ชั้น เป็นตัวกามภพ จะละไม่ได้ จะไปอยู่รูปภพ มันก็มี ภวตัณหาอีก ติดภวตัณหาเป็นเปลือกอยู่อีก เมื่อหลุดจากภวตัณหา จากรูปภพได้ จะไปอยู่ อรูปภพ ก็วิภวตัณหา ไปติดตัณหาในอรูปภพ ต่อเมื่อใดถึงกายธรรมจึงหลุดได้ หลุดไม่มี ระแคะระคาย เป็นโสดา สกทาคา อนาคา อรหัต แตกกายทำลายขันธ์ก็ไปนิพพาน ทิ้งขันธ์ 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม แต่เรา ยังสงสัยอยู่บ้างในเรื่องขันธ์ 5 ขันธ์ 5 ของทิพยเทวดา 6 ชั้นฟ้า จะเอามาใช้ในมนุษย์ ก็ไม่ได้ ขันธ์ 5 ของอรูปพรหม จะเอามาใช้กายมนุษย์ กายทิพย์ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งก็ไม่ได้ ขันธ์ 5 ของอรูปพรหมจะเอาไปใช้ในกายรูปพรหม กายทิพย์ กายมนุษย์ แต่ขันธ์ใด ขันธ์หนึ่งก็ไม่ได้ ขันธ์ของภพไหนต้องอยู่ประจำภพนั้น ข้ามภพใช้ไม่ได้ เพราะอะไร? รูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สังขารก็ดี วิญญาณก็ดี ที่เป็นของมนุษย์จะเอาไปใช้ในภพทิพย์ไม่ได้ ทิพย์เป็นของละเอียด จะเอามาใช้ในภพมนุษย์ไม่ได้ ส่วนขันธ์ 5 ของรูปพรหม อรูปพรหม ก็แบบเดียวกัน สลับกันไม่ได้ เอาไปใช้ในนิพพานไม่ได้อีกเหมือนกัน นิพพานเขามีธรรมขันธ์ทั้ง 5 ซึ่งขันธ์ 5 ของเขามีเรียกว่า ธรรมขันธ์ ที่เรียกว่า ธรรมธาตุกายก็เรียกว่า ธรรมกาย ไม่เรียกว่ารูปกายเหมือนกายมนุษย์ทั้งหลาย ในนิพพานจะมีรูปธรรม นามธรรม อย่างกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ไม่มี เป็นของละเอียด เหตุฉะนี้ แหละพวกเรารู้ว่าขันธ์ทั้ง 5 ของมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม เหล่านี้เป็นของหนัก แล้วให้ปลีกกายให้ดี ให้ถอดกายออกเป็นชั้นๆ อย่างนี้แล้วก็ลองปล่อยขันธ์ 5 เหล่านั้นเสีย ปล่อยทั่วๆ ไม่ใช่อย่างเดียว เหมือนอย่างจำศีลภาวนา ปล่อยลูกไว้ทางบ้าน แต่ลูกก็มีขันธ์ 5 ปล่อยได้ชั่วขณะชั่วคราว ถึงแม้ปล่อย ใจก็คิดตะหงิดๆ อยู่เหมือนกัน มันยึดถืออยู่ ไม่ปล่อยจริงๆ ต้องถอดเป็นชั้นๆ แต่ถอดเช่นนั้นยังเสียดาย น้ำตาตกโศกเศร้าหาน้อยไม่ ไม่ต้องของตัวถอดดอก เพียงแต่ของคนอื่น ก็ร้องทุกข์กันออกลั่นไป ถ้าของตัวถอดจะเป็น อย่างไร น้ำตาตกข้างใน เรียกว่าร้องไห้ช้าง คือร้องหึ่มๆ ถึงแก่เฒ่าชราก็ไม่อยาก ถึงเป็น โรคเรื้อรังก็ไม่อยากถอด อยากให้อยู่อย่างนั้น เสียดาย เพราะเหตุฉะนั้น การถอดขันธ์ 5 มันต้องถอดแน่ เราต้องหัดถอด เขามีวิธีให้ถอด ถอดเป็นชั้นๆ ถอดกายทิพย์ออกจาก กายมนุษย์ ถอดกายรูปพรหมออกจากกายทิพย์ ถอดกายอรูปพรหมออกจากกายรูปพรหม ถอดกายธรรมออกจากกายอรูปพรหม ถอดให้คล่อง เวลาถึงคราว เราก็ถอดคล่องชำนิ ชำนาญเสียแล้ว พอรู้ว่าจะตาย ส่งขันธ์ 5 มนุษย์ออกไป ข้าก็เอาขันธ์ 5 ของทิพย์ ชำนิ ชำนาญอย่างนี้แล้ว ก็ไม่มีความเสียดาย ถ้าไม่เคยถอดก็น้ำตาตก ร้องไห้กันอย่างขนานใหญ่ เพราะฉะนั้นเมื่อรู้จักขันธ์ 5 เป็นภาระหนัก ให้อุตส่าห์วางเสีย แม้ถึงจะยึดก็แต่ทำเนา เป็นของ อาศัยชั่วคราว เป็นของมีโทษ ดังภาชนะขอยืมกันใช้ชั่วคราว ของสำหรับอยู่อาศัย ชั่วครั้ง ชั่วคราว ร่างกายก็อาศัยชั่วคราวหนึ่ง อย่าถือเป็นจริงๆ ถือเป็นของอาศัยชั่วครั้งชั่วคราว เท่านั้น ถึงมีทุกข์บ้างก็หน่อยหนึ่ง ขันธ์ทั้ง 5 นี้เป็นภาระ จะต้องดูแลเอาใจใส่พิทักษ์รักษา เมื่อนำขันธ์ 5 คือภาระนี้ไป ถ้าว่าขืนยึด ปล่อยวางไม่ได้ในขันธ์ทั้ง 5 เป็นทุกข์ในโลก ถ้าปล่อยวางได้เป็นสุข ขันธ์ถ้าปล่อยวางแล้ว ขันธ์อื่นๆ จะเอามาเป็นภาระไม่ได้ ถ้าเอามา เป็นภาระก็เป็นเชื้อเป็นที่ตั้งของตัณหา จะถอนไม่ออก ถ้าไม่เอาเป็นภาระแน่ จะถอนตัณหา ทั้งราก ปล่อยให้ถึงที่สุด ปล่อยได้ไปอยู่กับอะไร ต้องไปอยู่กับกายธรรม เมื่ออยู่กับกายธรรม ใจเหมือนอยู่ในนิพพาน สบายแสนสบาย แสนสำราญ

    ดังที่ได้แสดงมาใน ภารสุตฺตกถา วาจาเครื่องกล่าวปรารภซึ่งแบบสำหรับให้ปล่อยวาง ขันธ์ 5 ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามอัตโนมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา วรญฺญํ สรณํ นตฺถิ สิ่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐ เราท่านทั้งหลาย สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิด แก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมา พอ สมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.

    หลวงพ่อวัดปากน้ำ สด จันทสโร
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร


    lphor_tesna_vn.jpg


    1 มกราคม 2498

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    เอวมฺเม สุตํ. เอกํ สมยํ ภควา พาราณสิยํ วิหรติ อิสิปตเน มิคทาเย. ตตฺร โข ภควา ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขู อามนฺเตสิ

    เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา โย จายํ กาเมสุ กามสุขลฺลิกานุโยโค หีโน คมฺโม โปถุชฺชนิโก อนริโย อนตฺถสญฺหิโต โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข อนริโย อนตฺถสญฺหิโต. เอเต เต ภิกฺขเว อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ.

    กตมา จ สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ. อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค. เสยฺยถีทํ สมฺมาทิฏฺฐิ สมฺมาสงฺกปฺโป สมฺมาวาจา สมฺมากมฺมนฺโต สมฺมาอาชีโว สมฺมาวายาโม สมฺมาสติ สมฺมาสมาธิ. อยํ โข สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา ในวันปัณณรสีที่ 15 ค่ำ ในเดือนยี่นี้ เป็น วันขึ้นปีใหม่ของทางสุริยคติ ผู้เทศน์ก็ต้องดำริหาเรื่องที่จะต้องแสดงให้สมกับวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันแรก และเป็นวันมงคลของพระพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย วันนี้แหละถือว่าเป็นวันขึ้น ปีใหม่ เราจะทำอย่างไรจึงจะเป็นคนดี เรื่องนี้เรื่องที่เป็นมงคลดี-ไม่ดีนั้น พระองค์ทรงรับสั่ง ยืนยันตัดสิน ตั้งแต่ปีใหม่นี้เราต้องตั้งใจเด็ดขาดลงไป สมกับที่พระองค์จอมปราชญ์แสดง มงคลว่า อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ เราต้องตัดสินใจเด็ดขาดลงไปว่า อเสวนา จ พาลานํ ไม่เสพสมาคมคบหาคนพาลเด็ดขาด ทีเดียว ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ตั้งแต่ได้อรุณวันนี้ ไม่เสพคบหาสมาคมกับคนพาลเป็นเด็ดขาด ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา จะเสพสมาคมคบหาแต่บัณฑิตเท่านั้น ปูชา จ ปูชนียานํ จะบูชาสิ่งที่ ควรบูชา เอตํ ติพฺพิธํ 3 ข้อนี้แหละเป็นมงคลอันสูงสุดคือจะไม่คบคนพาล คบแต่บัณฑิต บูชาแต่สิ่งที่ควรบูชา ตั้งใจให้เด็ดขาดลงไปอย่างนี้ อย่าลอกแลก ไม่เสพสมาคมกับคนพาล น่ะ ในตัวของตัวเองมีหรือ ซีกทางโลกเป็นซีกของ โลภ โกรธ หลง เป็นเหตุของคนพาล เป็นเหตุให้เกิดพาล ซีกทางธรรมเป็นซีกของ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เป็นเหตุของบัณฑิต เป็นเหตุให้เกิดบัณฑิต บูชาสิ่งที่ควรบูชา มั่นลงไปอย่างนี้นะ นี่วันนี้ปีใหม่เราต้องตั้งใจให้ เด็ดขาดลงไปอย่างนี้ เมื่อเด็ดขาดลงไปดังนี้ละก็ ตัดสินใจว่าเราดีแน่ นี่วันนี้ปีใหม่เราต้อง ตั้งใจให้เด็ดขาดลงไปอย่างนี้ เมื่อเด็ดขาดลงไปดังนี้ ไม่มีทุจริต ไม่มีชั่วเข้าไปเจือปนเลย เป็นซีกบัณฑิตแท้ๆ เหตุนี้แล เมื่อเป็นบัณฑิตแล้วสมควรจะฟังธรรมเทศนา

    ในวันใหม่ปีใหม่ในทางสุริยคตินี้ พระจอมไตรอุบัติขึ้นในโลก ยังไม่ได้แสดงธรรมเทศนา กับบุคคลใดบุคคลอื่นเลย ได้แสดงปฐมเทศนาเป็นครั้งแรก โปรดพระปัญจวัคคีย์ วันนี้จะ แสดงปฐมเทศนาที่พระองค์โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แคว้นเมือง พาราณสี บัดนี้เราจะฟัง ปฐมเทศนา ซึ่งเป็นธรรมอันลุ่มลึกสุขุมนัก ไม่ใช่ธรรมพอดีพอร้าย และธรรมนี้เป็นตำรับตำราของพุทธศาสนิกชนสืบต่อไปด้วย ไม่ใช่เป็นเพียงแต่ว่าเป็น ปฐมเทศนาเท่านั้น เป็นตำรับตำราของพุทธศาสนิกชนทีเดียว ที่ผู้ปฏิบัติจะเอาตัวรอดได้ใน ธรรมวินัยของพระบรมศาสดา

    เริ่มต้นแห่งปฐมเทศนาว่า เอวมฺเม สุตํ นี่เป็นพระสูตรที่พระอานนท์เอามากล่าว ปฏิญาณตนเพื่อให้พ้นจากความเป็นสัพพัญญู ว่าตัวไม่ได้รู้เอง เพราะได้ยินได้ฟังมาจาก สำนักของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เอวํ อากาเรน ด้วยอาการอย่างนี้ เอกํ สมยํ ในสมัย ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลกทั้งหลาย ทรงประทับสำราญอิริยาบถ ณ สำนักมิคทายวัน แคว้นเมืองพาราณสี ครั้งนั้นพระองค์ทรงรับสั่งหาพระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 มารับสั่งว่า เทฺวเม ภิกฺขเว อนฺตา ปพฺพชิเตน น เสวิตพฺพา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดทั้ง 2 อย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ โย จายํ กาเมสุ กามสุขลฺลิกานุโยโค การประกอบตน ให้พัวพันด้วยกามในกามทั้งหลายนี้ใด หีโน เป็นของต่ำทราม คมฺโม เป็นเหตุให้ตั้งบ้าน เรือน โปถุชฺชนิโก เป็นคนมีกิเลสหนา อนริโย ไม่ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ อนตฺถสญฺหิโต ไม่เป็นประโยชน์ นี่คืออย่างหนึ่ง โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข อนริโย อนตฺถสญฺหิโต การประกอบความลำบากให้แก่ตนเปล่านี้ใด กลับเป็นทุกข์แก่ผู้ประกอบด้วย ไม่ไปจาก ข้าศึกคือกิเลสได้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้อย่างหนึ่ง เป็น 2 อย่างนี้ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค นี่เป็นตัวกามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค ทีเดียว

    เอเต เต ภิกฺขเว อุโภ อนฺเต อนุปคมฺม มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ไม่แวะเข้าใกล้ซึ่งที่สุดทั้ง 2 อย่างนี้นั้น อัน พระตถาคตเจ้าได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญายิ่ง และทำความเห็นให้เป็นปกติ เรียกว่า จกฺขุกรณี ญาณกรณี ย่อมเป็นไปพร้อม อุปสมาย เพื่อความเข้าไปสงบระงับ อภิญฺญาย เพื่อความรู้ยิ่ง สมฺโพธาย เพื่อความรู้พร้อม นิพฺพานาย เพื่อความดับสนิท กตมา จ สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติเป็นกลางนั้นที่พระตถาคต เจ้าตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเป็นไฉน อยเมว อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค หนทางมีองค์ 8 ประการ ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ เสยฺยถีทํ คือ สมฺมาทิฏฺฐิ ความเห็นชอบ สมฺมาสงฺกปฺโป ความดำริชอบ สมฺมาวาจา กล่าววาจาชอบ สมฺมากมฺมนฺโต ทำการงานชอบ สมฺมาอาชีโว เลี้ยงชีพชอบ สมฺมาสติ ระลึกชอบ สมฺมาสมาธิ ตั้งใจชอบ นี่ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ อยํ โข สา ภิกฺขเว มชฺฌิมา ปฏิปทา ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา จกฺขุกรณี ญาณกรณี อุปสมาย อภิญฺญาย สมฺโพธาย นิพฺพานาย สํวตฺตติ อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง กระทำความเห็นให้เป็นปกติ กระทำความรู้ให้เป็น ปกติ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่งรู้พร้อมเพื่อพระนิพพาน

    นี้หลักประธานปฐมเทศนา ทรงรับสั่งใจความพระพุทธศาสนาบอกพระปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 โดยตรงๆ ไม่มีวกไปทางใดทางหนึ่งเลย บอกตรงๆ ทีเดียว แต่ว่าผู้ฟังพอเป็นนิสัยใจคอ เป็นฝ่าย ขิปฺปาภิญฺญา เท่านี้ก็เข้าใจแล้วว่าธรรมของพระศาสดานี้ลึกจริง ถ้าว่าไม่เป็น ขิปฺปาภิญฺญา เป็น ทนฺธาภิญฺญา จะต้องชี้แจงแสดงขยายออกไปอีก จึงจะเข้าใจปฐมเทศนา พระองค์ทรงรับสั่งบอกพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ว่าที่สุดทั้ง 2 อย่างนั่นนั้น อันบรรพชิตไม่ควรเสพ ที่สุด 2 อย่างน่ะอะไร

    เอาใจไปจรดในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ที่ชอบใจนั้นแหละ หรือ ยินดีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชอบใจนั้นแล ตัวกามสุขัลลิกานุโยค ถ้าว่าเอาไปจรดรูปนั้นเข้าแล้ว จะเป็นอย่างไร ทุกฺโข เป็นทุกข์แก่ผู้เอาใจไปจรดนั้น หีโน ถ้าเอาใจไปจรดเข้ารูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่ชอบใจนั้น ใจต่ำ ไม่สูง ใจต่ำทีเดียว ใจมืดทีเดียว ไม่สว่างเพราะเอาไปจรดกับ อ้ายที่ชอบใจ ที่มัวซัวเช่นนั้น ถ้าไปจรดที่มืดมันก็แสวงหาที่มืดทีเดียว ไม่ไปทางสว่างละ นั่นน่ะจับตัวได้ เอาใจเข้าจรดกับรูป เสียง กลิ่น สัมผัส ที่ชอบใจ ชวนไปทางมืดเสียแล้ว ไม่ชวนไปทางสว่าง ปิดทางสว่างเสียแล้ว เมื่อเป็นอย่างนั้นท่านจึงได้ยืนยัน หีโน ต่ำทราม ไม่ไปทางนักปราชญ์ราชบัณฑิต ไปทางโลก ไปทางปุถุชนคนพาลเสียแล้ว หีโน ต่ำทราม ลงไปอย่างนี้ คมฺโม ถ้าไปจรดมันเข้าไม่สะดวก ทำให้ต้องปลูกบ้านปลูกเรือนให้เหมาะเจาะ มีฝารอบขอบชิดให้ดีจึงจะสมความปรารถนานั้น ไปเสียทางโน้นอีกแล้ว นั้นใจมันชักชวน เสียไปทางนั้นแล้วนั้น โปถุชฺชนิโก ก็หมักหมมสั่งสมกิเลสให้หนาขึ้นทุกที ไม่บางสักทีหนึ่ง นั่นแหละรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เข้ามาๆๆ เป็นตึกร้านบ้านเรือนกันยกใหญ่เชียวคราวนี้ แน่นหนากันยกใหญ่เชียว อนริโย ไม่ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้ ไม่หลุดจากรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่หลุดจากความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ติดอยู่นั่นเอง พระองค์ทรงรับสั่ง ว่า นี่ๆ พวกนี้ กามสุขัลลิกานุโยค ไปจากข้าศึกคือกิเลสไม่ได้ ไปไม่ได้ทีเดียว อนตฺถสญฺหิโต แล้วเป็นอย่างไรบ้าง ไม่มีประโยชน์เลย ถามคนแก่ดูก็ได้ที่ครอบครองเรือนมาแล้ว ที่ติดอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสมาแล้ว ติดจนกระทั่งถึงแก่เฒ่าชรา ไปถามเถอะ ร้อยคนพันคน มายืนยัน บอกตรงทุกคน ทำไมจึงบอกตรงล่ะ แกวางก้ามเสียแล้วนะ บอกตรงซิ ถ้ายังไม่วาง ก้าม ยังกระมิดกระเมี้ยนอยู่ ยังจะนิยมชมชื่นอยู่ นั่นพระองค์ทรงรับสั่งว่า กามสุขัลลิกานุโยค ไม่มีประโยชน์อะไร อย่าเข้าไปติด ถ้าเข้าไปติดแล้วไปไม่ได้

    นั่นว่า โย จายํ อตฺตกิลมถานุโยโค ทุกฺโข ประกอบความลำบากให้แก่ตนเปล่า ไร้ ประโยชน์ นี่ อตฺตกิลมถานุโยโค เป็นทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไปจากข้าศึกคือกิเลสนั้นไม่ได้ ไม่มี ประโยชน์อีกเหมือนกัน อัตตกิลมถานุโยคนั่นทำอย่างไร ประกอบความลำบากให้แก่ตน พวกประกอบความลำบากให้นั่นทำอย่างไร นอนหนาม ตากแดด ย่างไฟ ไม้เคาะหน้าแข้ง หาบทราย นี่พวกประพฤติดับกิเลส นอนหนาม ตากแดด ย่างไฟ ไม้เคาะหน้าแข้ง หาบทราย นอนหนาม หนามนั่นเจ็บ เสียความสงัดยินดีก็หายไปได้ เข้าใจว่าหมดกิเลส เป็นทางหมด กิเลส ตากแดดล่ะ เมื่อตากแดด แดดร้อนเข้าก็ไม่มีความกำหนัดยินดีเข้านะซิ เข้าใจว่ากิเลส ดับแล้ว นั่นความเข้าใจของเขา เข้าใจอย่างนั้น ย่างไฟล่ะ ย่างไฟมาจากแดด แดดไม่สะดวก ก็เอาไฟย่างมาก่อไฟ ก่อไฟถ่าน อยู่ข้างบนเข้าให้ นอนบนกองไฟ นอนบนไฟย่าง นอนบนไฟ นอนข้างบนร้อนรุ่มเหมือนอย่างกับไฟย่างนั้น ได้ชื่อว่าย่างไฟ ไม้เคาะหน้าแข้งล่ะ มีความ กำหนัดยินดีขึ้นมา ไม่รู้จะทำอย่างไร มันเดินก็ไม่ถนัด ขาแข็งไปหมด ไม้เคาะหน้าแข้งเปก เข้าไปให้เงียบ หายความกำหนัดยินดี ดับไป เอ้อ! นี่ดีนี่ ได้อย่างทันอกทันใจ ทีหลัง กำหนัดยินดี เวลาไหนก็เอาไม้เคาะหน้าแข้งเปกๆ เข้าไปให้อย่างหนัก นี้ความกำหนัดยินดีก็ หายไป อย่างนี้เป็นหมู่เป็นพวก ต้องทำเหมือนกัน เป็นหนทางดีทางถูกของเขา พวกไม้เคาะ หน้าแข้ง หาบทราย หาบทรายเหนื่อยเต็มที่ หมดความกำหนัดยินดี ควายเปลี่ยวๆ ยังสยบ เลย ถึงอย่างนั้น หาบทราย ไอ้ทรายกองใหญ่ที่พวกอัตตกิลมถานุโยคประพฤติตนปฏิบัติ อยู่นาน เข้ามาอาศัยกองใหญ่มหึมาทีเดียว หาบมาเอามากองเข้าไว้ หาบเข้ามากองไว้ใหญ่ มหึมา นั่นเพื่อจะทำลายกิเลส ดับกิเลส นี่เขาเรียกว่าอัตตกิลมถานุโยคทั้งนั้น ลักษณะ อัตตกิลมถานุโยค มีมากมายหลายประการ ที่ผิดทางมรรคผลปฏิบัติตนให้เหนื่อยเปล่า ไม่มี ประโยชน์ นั่นแหละอัตตกิลมถานุโยคทั้งนั้น ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อัตตถิลมถา- นุโยคเหมือนกัน เอาดีไม่ได้ เดือดร้อนร่ำไป นั่นอัตตกิลมถานุโยคเหมือนกัน อัตตกิลมถานุโยค เป็นอย่างไรล่ะ ร่างกายทรุดโทรมไปตามกัน ฆ่าตัวเอง ทำลายกำลังตัวเอง ตัดแรงตัวเอง นี่ งมงายอวดว่าฉลาด นึกดูที เอ้อ! เราไม่รู้เท่าทัน ถ้ารู้เท่าทัน ไม่ถึงขนาดนี้เลย เพราะไม่ได้ยิน ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ได้ฝึกฝนใจทางพระพุทธเจ้าเลย ความรู้ไม่เท่าทัน จึงได้เป็นอัตตกิลมถานุโยคอยู่เช่นนี้ นี่เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

    2 อย่างนี้ กามสุขัลลิกานุโยค อัตตกิลมถานุโยค เลิกเสีย ไม่เสพ อย่าเสพ อย่าเอา ใจไปจรด อย่าเอาใจไปติด ปล่อยทีเดียว ปล่อยเสียให้หมด เมื่อปล่อยแล้วเดินมัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่แวะวงเข้าไปใกล้ซึ่งทางทั้ง 2 อย่างนั้น อันพระตถาคตเจ้าตรัสรู้ แล้ว ด้วยพระญาณอันยิ่ง นี่ข้อปฏิบัติเป็นกลางซึ่งเราควรรู้ กลางนี่ลึกซึ้งนัก ไม่มีใครรู้ ใครเข้าใจกันเลย ธรรมที่เรียกว่าข้อปฏิบัตอันเป็นกลางน่ะ ปฏิบัติแปลว่า ถึงเฉพาะซึ่งกลาง อะไรถึง ต้องเอาใจเข้าถึงซึ่งกลางซิ เอาใจเข้าไปถึงซึ่งกลาง กลางอยู่ตรงไหน กลางมีแห่งเดียว เท่านั้นแหละ เมื่อเราเกิดมาเป็นมนุษย์ ใจเราก็หยุดอยู่กลาง เมื่อเวลาเราจะหลับ ใจเราก็ต้อง ไปหยุดกลาง ผิดกลางหลับไม่ได้ ผิดกลางเกิดไม่ได้ ผิดกลางตายไม่ได้ ผิดกลางตื่นไม่ได้ ต้องเข้ากลางถูกกลางละก้อ เป็นเกิด เป็นหลับ เป็นตื่นกันทีเดียว อยู่ตรงไหน ในมนุษย์นี่ มีแห่งเดียวเท่านั้น ศูนย์กลางกายมนุษย์ สะดือทะลุหลังขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งตึง ได้ระดับ กรอบปรอททีเดียว สะดือทะลุหลังขึงด้ายกลุ่มเส้นหนึ่งตึง ขวาทะลุซ้ายขึงด้ายกลุ่มอีกเส้น ตึงอยู่ในระดับแค่กัน ได้ระดับกันทีเดียว ได้ระดับกันเหมือนแม่น้ำทีเดียว ระดับน้ำ หรือระดับ ปรอทแบบเดียวกัน เมื่อได้ระดับเช่นนั้นแล้ว ดึงทั้ง 2 เส้น ข้างหน้าข้างหลังตึง ตรงกลาง จรดกัน ตรงกลางจรดกันนั่นแหละ เขาเรียกว่า “กลางกั๊ก” ที่เส้นด้ายคาดกันไปนั่น กดลงไป นั่นกลางกั๊ก กลางกั๊กนั่นแหละถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟอง ไข่แดงของไก่ กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ แรกเรามาเกิดเอาใจหยุดอยู่ ตรงนั้น ตายก็ไปอยู่ตรงนั้น หลับก็ไปอยู่ตรงนั้น ตื่นก็ไปอยู่ตรงนั้น นั่นแหละเป็นที่ดับ ที่หลับที่ตื่น กลางแท้ๆ เทียว กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดง ของไก่ กลางนั่นแหละ ตรงกลางนั่นแหละ ไปหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางนั่นแหละ ได้ชื่อว่ามัชฌิมา มัชฌิมานะ พอหยุดก็หมดดีหมดชั่ว ไม่ดีไม่ชั่วกัน หยุดทีเดียว พอหยุดจัดเป็นบุญก็ไม่ได้ พอหยุดจัดเป็นบาปก็ไม่ได้ จัดเป็นดีก็ไม่ได้ ชั่วก็ไม่ได้ ต้องจัดเป็นกลาง ตรงนั้นแหละกลางใจ หยุดก็เป็นกลางทีเดียว นี้ที่พระองค์ให้นัยไว้กับองคุลิมาลว่า “สมณะ หยุด!” “สมณะ หยุด!” พระองค์ทรงเหลียวพระพักตร์มา สมณะหยุดแล้ว ท่านก็หยุด นี้ต้องเอาไปหยุดตรงนี้ หยุด ตรงนั้นถูกมัชฌิมาปฏิปทาทีเดียว พอหยุดแล้วก็ตั้งใจอันนั้นที่หยุดนั้น อย่าให้กลับมาไม่หยุด อีกนะ ให้หยุดไปท่าเดียวนั่นแหละ พอหยุดแล้วก็ถามซิว่า หยุดลงไปแล้วยังตามอัตตกิลม- ถานุโยคมีไหม ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ตัวรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ยินดีไหม ไม่มี นั่นกามสุขัลลิกานุโยคไม่มี ลำบากยากไร้ประโยชน์ (อัตตกิลมถานุโยค) ไม่มี หยุดตาม ปกติ ของเขาไม่มี ทางเขาไม่มีแล้ว เมื่อไม่มีทางดังกล่าวแล้ว นี่ตรงนี้แหละที่พระองค์ทรงรับ สั่งว่า ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา พระตถาคตเจ้ารู้แล้วด้วยปัญญายิ่ง ตรงนี้แห่งเดียวเท่านั้น ตั้งต้นนี้แหละจนกระทั่งถึงพระอรหัตตผล

    ทีนี้จะแสดง วิธีตรัสรู้ เป็นอันดับไป ถ้าไม่แสดงตรงไม่รู้ ฟังปฐมเทศนาไม่ออกทีเดียว อะไรล่ะ พอหยุดกึกเข้าคืออะไร หยุดกึกเข้านั่นละ เขาเรียกใจเป็นปกติละ หยุดนิ่งอย่าขยับไป หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ กลางของนิ่งนั้นแหละ จะไปเห็น ดวงธัมมานุปัสสนา- สติปัฏฐาน เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ บริสุทธิ์สนิทดังกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า อยู่ในกลาง หยุดกลางนิ่งนั่นแหละ กลางนั่นแหละ พอเข้าถึงกลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ก็หยุด นิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานอีกแบบเดียวกัน พอถูกส่วนเข้า จะเข้าถึง ดวงศีล เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก เข้าถูกส่วน เข้ากลางดวงศีล นั่นเอง จะเข้าถึง ดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นแหละ ดวงเท่ากัน พอถูกส่วนเข้า เท่านั้น จะเข้าถึง ดวงปัญญา ดวงเท่ากัน หยุดอยู่กลางดวงปัญญานั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า เท่านั้นแหละ เข้าถึง ดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง ดวงวิมุตติ-ญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ นั่นแหละ พอถูกส่วนเข้า เห็น กายมนุษย์ ละเอียด เห็นแจ่มแปลกจริง กายนี้เราเคยฝันออกไป เวลาฝันมันออกไป เมื่อไม่ฝัน มันอยู่ ตรงนี้เองหรือ ให้เห็นแจ่มอยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ กลางตัวของตัวนั่น เห็นชัดเชียว อีกชั้นหนึ่งละนะ เข้ามาถึงนี้ละ นี่พระพุทธเจ้าเดินอย่างนี้ พักอย่างนี้ทีเดียว เอา เราเดินเข้า มาชั้นหนึ่งแล้ว เข้ามาถึงอีกชั้นหนึ่งแล้ว ต่อไปนี้ไม่ใช่หน้าที่ของกายมนุษย์หยาบละ เป็น หน้าที่ของกายมนุษย์ละเอียดทำไป

    ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด แบบเดียวกันที่เดียว พอถูกส่วนก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมา-นุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เข้าถึง ดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา แบบเดียวกัน เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงวิมุตติญาณ- ทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เข้าถึง กายทิพย์ ที่นี่หมดหน้าที่ ของกายมนุษย์ละเอียดไปแล้ว

    ใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายทิพย์อีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนา- สติปัฏฐาน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็น กายทิพย์ละเอียด

    ใจกายทิพย์ละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายทิพย์ละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน แบบเดียวกัน หยุดอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูก ส่วนเข้า เห็นดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายรูปพรหม

    ใจกายรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ- ญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายรูปพรหมละเอียด

    ใจกายรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ละเอียด นี้เป็นกายที่ 6 แล้ว พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงศีล พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายอรูปพรหม

    ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วน เข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์ กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายอรูปพรหมละเอียด

    หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวง สมาธิ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรม รูปเหมือนพระพุทธปฏิมากร เกตุดอก บัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กตามส่วน ไม่ถึง 5 วา หย่อนกว่า 5 วา นี่เรียกว่า กายธรรม

    กายธรรมนี่เรียกว่าพุทธรัตนะ นี่พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้ได้อย่างนี้ นี่ปฐมยาม ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างนี้ทีเดียว เป็นตัวพระพุทธรัตนะอย่างนี้ นี่พระพุทธเจ้าท่าน ตรัสรู้ขึ้นอย่างนี้ นี่ปฐมยามได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างนี้ทีเดียว เป็นตัวพระพุทธเจ้า ทีเดียว รูปเหมือนพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องหน้า ที่ทำรูปไว้ นี่แหละ นี่แหละตัวพระพุทธเจ้าทีเดียว แต่ว่ากายเป็นที่ 9 กายที่ 9 เป็นกายนอกภพ ไม่ใช่กายในภพ ทำไมรู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า ก็ทำรูปไว้ทุกวัดทุกวาจะไม่รู้ว่าเป็นพระพุทธ- เจ้าอย่างไร ทำตำราไว้อย่างนี้ ก่อนเราเกิดมาเป็นไหนๆ ก็ทำไว้อย่างนี้ ปรากฏอย่างนี้แหละ ตัวพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทีเดียว ตัวพุทธรัตนะทีเดียว อ้อ! นี่เข้าถึงพุทธรัตนะ เป็น พระพุทธเจ้าแล้ว ที่ท่านรับรองว่า ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธา ตถาคเตน แปลว่า ตถาคต ธรรมกายน่ะ แต่ว่าธรรมกายนั้นท่านทรงรับสั่งว่า ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เราพระตถาคต ผู้ เป็นธรรมกาย ตถาคตสฺส วาเสฏฺฐ เอตํ ธมฺมกาโยติ วจนํ คำว่า ธรรมกายน่ะ ตถาคตแท้ๆ ทรงรับสั่งอย่างนี้ เข้าถึงธรรมกายแล้วนี่ตถาคตทีเดียว รู้ขึ้นแล้ว เป็นขึ้นแล้ว ปรากฏขึ้นแล้ว

    ต่อไปนี้เรามาเป็นธรรมกายดังนี้ รู้จักทางแล้ว ใจธรรมกายก็หยุดนิ่งที่ศูนย์กลาง ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ดวงธรรมของธรรมกายวัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตัก ธรรมกาย กลมรอบตัว ใสเกินกว่าใส ใจธรรมกายก็หยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้ เป็นธรรมกาย หยุดนิ่งพอถูกส่วน ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่าดวงธรรมนั้น หยุด อยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลาง ดวงปัญญา ก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณ- ทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็น ธรรมกายละเอียด หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป ธรรมกายหยาบเป็นพุทธรัตนะ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกายเป็นธรรมรัตนะ ธรรมกายละเอียดอยู่ในกลางดวงธรรมรัตนะ นั่นแหละเป็นสังฆรัตนะ ดังนี้ อยู่ในตัว ที่อื่นไม่มี ทุกคนมีอยู่ในตัวของตัว ผู้หญิงก็มี ผู้ชายก็มี เช่นเดียวกันทุกคน นี่แหละพุทธรัตนะ ธรรม- รัตนะ สังฆรัตนะ เมื่อรู้จักดังนี้ เมื่อท่านเป็นพระพุทธเจ้าขึ้นเช่นนี้แล้ว นี้เป็นโคตรภูแล้ว ท่านก็สำเร็จขึ้นไปอีก 8 ชั้น ท่านก็เป็นพระอรหันต์ไปอยู่กับพระพุทธเจ้าทีเดียว

    พอเป็นสัพพัญญูพุทธเจ้า ก็ท่านเอาเรื่องนี้มาแสดงกับพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ให้ พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ฟัง ท่านแสดงเรื่องของท่านว่า อันเราตถาคตเจ้าตรัสรู้แล้วด้วยปัญญา อันยิ่ง ท่านทำความเห็นเป็นปกติ เห็นอะไร ตาอะไร ตาพระพุทธเจ้า ตาธรรมกาย มีตา ตาดีนัก เห็นด้วยตาธรรมกายนั่นแหละ จกฺขุกรณี ทำให้เห็นเป็นปกติ เห็นความจริงหมด ญาณกรณี กระทำความรู้ให้เป็นปกติ ญาณของท่าน

    เมื่อท่านเป็นมนุษย์ ส่วนดวงวิญญาณของท่านก็เล็กเท่าดวงตาดำข้างในของท่าน เมื่อท่านขึ้นไปเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตาของท่านก็มีเหมือนเราเช่นนี้ ตาธรรมกาย มีญาณ ของธรรมกาย มีดวงวิญญาณนั่นแหละกลับเป็นดวงญาณใหญ่โตมโหฬาร ใหญ่โตขึ้น ดวงใส เท่าดวงตาดำ ข้างในแหละที่มีความรู้อยู่ในใจนี้แหละเขาเรียกว่าดวงวิญญาณ พอไปเป็น ธรรมกายเข้าแล้วกลับเป็นดวงญาณทีเดียว วัดผ่าเส้นศูนย์เท่าหน้าตักธรรมกาย ดวงญาณ เท่าหน้าตักธรรมกาย นั้นแหละเรียกว่า จกฺขุกรณี เห็นเป็นปกติ เห็นด้วยตาธรรมกาย เห็น อะไร เห็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 ในมนุษย์โลกนี้ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของมนุษย์ ของมนุษย์ละเอียด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายทิพย์ ของกายทิพย์ละเอียด เห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ของกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด, อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด เห็นเบญจขันธ์ทั้ง 5 ของ 8 กายนี้ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นจริง เห็นด้วยตาธรรมกาย เห็นไม่เที่ยงจริงๆ เห็นจริงอย่างนี้ ตามนุษย์เห็นไม่ได้ ตา 8 กาย ในภพนี้เห็นไม่ได้ กายมนุษย์ก็ไม่เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กายมนุษย์ละเอียดก็ไม่เห็น กายทิพย์ก็ไม่เห็น กายทิพย์ละเอียดก็ไม่เห็น กายรูปพรหมก็ไม่เห็น กายรูปพรหมละเอียด ก็ไม่เห็น อรูปพรหมก็ไม่เห็น อรูปพรหมละเอียดก็ไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นไม่ได้ ตามันไม่ดี ตามันไม่ถึงขั้นที่จะได้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำไมไม่ถึงขนาดเล่า ก็มัน ขั้นสมถะนี่ กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด นี่มันขั้นสมถะ แต่รูปฌาณ เท่านั้น เลยไปไม่ได้ พอถึงกายธรรมมันขั้นวิปัสสนา ตาพระพุทธเจ้าท่านก็เห็นเบญจขันธ์ ทั้ง 5 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แท้ๆ เห็นจริงๆ จังๆ อย่างนั้นละ เห็นแท้ทีเดียว เห็นชัดๆ ไม่ได้เห็นด้วยตากายในภพ เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยฌาณธรรมกาย เห็นด้วยตาพระ พุทธเจ้า รู้ด้วยญาณพระพุทธเจ้า เห็นอย่างนี้แหละเห็นด้วยตาของพระตถาคตเจ้า รู้ด้วย ญาณของพระตถาคตเจ้า ธรรมกายนั่นเป็นตัวของพระตถาคตเจ้าทีเดียว ไม่ใช่อื่น เห็นชัด อย่างนี้นี่แหละ เห็นอย่างนี้แหละเขาเรียกวิปัสสนา เห็นเบ็ญจขันธ์ทั้ง 5 เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    เห็นเป็นอนิจจังน่ะเห็นอย่างไร เห็นตั้งแต่กายมนุษย์เกิด กายมนุษย์เกิดไม่อยู่ที่ เกิดเรื่อยๆ เกิดริบๆ เหมือนไฟจุดอยู่ มีไส้ มีน้ำมัน มีตะเกียง จุดมันก็ลุกโพลง เราเข้าใจ ว่าไฟดวงนั้นเป็นอย่างนั้นแหละ ไอ้กายมนุษย์มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ แต่ตาธรรมกายไม่ เห็นอย่างนั้น เห็นไฟเก่าหมดไป ไฟใหม่เดินเรื่อยขึ้นมา ไฟเก่าหมดไปไฟใหม่เดินเรื่อย ขึ้นมา แล้วก็เอามือคลำดูข้างบน ก็รู้ ร้อนวูบๆๆๆ ไป อ้อ! ไฟใหม่เกิดเรื่อย กายมนุษย์นี้ก็ เช่นเดียวกัน ไอ้เก่าตายไป ไอ้ใหม่เกิดเรื่อย หนุนไม่ได้หยุดเหมือนไฟ เหมือนดวงไฟ อย่างนั้นแหละ ไม่ขาดสาย มันเกิดหนุนอย่างนั้น นั่นเห็นขนาดนั้น เห็นเกิดเห็นตายเรื่อย เกิดแล้วก็ตายไป เกิดแล้วก็ตายไป ไม่มีหยุดละ เหมือนกันหมดทั้งสากลโลก เห็นทีเดียวว่า มีแต่เกิดกับดับ ยงฺกิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมํ สิ่งทั้งปวงมีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมมีความเกิดเสมอ สิ่งทั้งปวงมีเกิดเสมอ มีความดับเสมอ มีเกิดกับดับ 2 อย่างเท่านั้น หมดทั้งสากลโลก เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรมกายจริงๆ อย่างนี้ นี้ทำวิปัสสนา เห็นจริงเห็นจังอย่างนี้

    ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ก็แบบเดียวกัน สมุปาทยธมฺมํ เห็นตลอดขันธ์ 5, อายตนะ 12, ธาตุ 18, อินทรีย์ 22, อริยสัจ 4, ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12, แปดดวงนี้เห็นตลอด หมด เห็นจริงเห็นจังทีเดียว เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรมกาย รู้ชัดอย่างนี้ นี้เรียกว่า สํวตฺตติ ย่อมเป็นด้วยพร้อม อุปสมาย เพื่อความสงบเมื่อเห็นเช่นนั้นแล้ว ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ไม่มี สงบหมด หายไปหมด เงียบฉี่เชียว ที่ยินดีถอนไม่ออก เงียบฉี่ เชียว อภิญฺญาย รู้ยิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง สมฺโพธาย รู้พร้อมรู้จริงทุกสิ่งทุกอย่าง นิพฺพานาย ดับหมด ราคะ โทสะ โมหะ ดับหมด ปรากฏอย่างนี้ ดังความจริงอย่างนี้ นี่ที่ไปถึง พระตถาคตเจ้าอย่างนี้ ไปถึงธรรมกายเช่นนี้ ไม่ได้ไปทางอื่นเลย ไปทางปฐมมรรค ไปกลาง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ดวงศีลคืออะไร ดวงศีลนะคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว อริยมรรค 3 องค์ นั้นเรียกว่าดวงศีล ดวงสมาธิ : สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ อริยมรรคอีก 3 องค์ ดวงปัญญา : สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป เป็นแปด องค์ในอริยมรรคนั้นทั้งสิ้นอยู่ในนั้น จึงได้ เข้าถึงธรรมกายนี้ได้ ถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ แท้ๆ นี้แหละ ให้แน่วแน่ลงไว้ เราก็ เกิดมาประสพพบพระพุทธศาสนา พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ไม่ได้ถึงตัวจริงของ ศาสนาไม่ได้ มีตัวจริงศาสนา นี่แก่นศาสนาอยู่ในตัวของเราเป็นลำดับของกายเข้าไป อย่าไปทางอื่นนะ ไม่ได้ ต้องไปทางหยุดทางเดียว จะยุ่งยากอย่างหนึ่งอย่างใดเข้าให้ถึง หยุด ให้ถูกส่วน หยุดให้เข้ากลาง หยุดให้ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนา ทำตามที่พระองค์ รับสั่งไว้ในปฐมเทศนา ให้แน่นอนอย่างนี้ จะได้เข้าถึงตัวจริงเช่นนี้ ถ้าเข้าถึงตัวจริงเช่นนี้แล้ว ก็พึงรู้ อ้อ! ที่แสดงมานี้ เว้นเสียจากที่สุดทั้ง 2 สิ่ง ไม่เสพที่สุดทั้ง 2 นั้น เดินตามมัชฌิมาปฏิปทาไป ทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ไปเป็นลำดับนั้น จึงเข้าถึงตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า เป็นตถาคตเจ้าแท้ๆ ดังที่ได้แสดงมานี้ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ผู้มีปรีชาญาณ มนสิการกำหนดไว้ในใจทุกคน ทุกถ้วนหน้า

    วันนี้เป็นวันปีใหม่ ได้แสดงปฐมเทศนา พระองค์ทรงตรัสเทศนาเป็นเบื้องต้น เป็น ทีแรกเรียกว่าปฐมเทศนา พอเป็นเครื่องประคับประคองฉลองศรัทธา ประดับสติปัญญา คุณสมบัติของท่านพุทธบริษัท คฤหัสถ์ บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า ว่าเราท่านทั้งหลายผู้เป็นเมธีมีปัญญาต้องการสิ่งที่เป็นมงคล ต้องการความเจริญแล้ว ตั้งใจ ให้แน่แน่ว ให้ถึงพระรัตนตรัย วันนี้เป็นวันใหม่ ชั่วร้ายด้วยกายวาจาใจตัดขาด อย่ากระทำ ทำใจให้หยุดให้ถูกเป้าหมายใจดำทางพระพุทธศาสนา ที่ได้ชี้แจงแสดงมา มนุษย์แท้ๆ ถึงจะ ไม่เข้าใจ อย่างดีมนุษย์ธรรมดาเห็นจะดีกว่าค้างคาวแน่ ฟังเทศน์เอาบุญกัน ไม่ฟังเทศน์เอา เรื่องเอาราวกัน คนแก่คนเฒ่าเป็นอย่างนั้น คนที่สนใจฟังธรรมจริงๆ เรียนธรรมจริงๆ รู้ธรรม จริงๆ เป็นอีกพวกหนึ่ง ต้องเรียนเอาเรื่องเอาราวกันจริงๆ จึงจะปฏิบัติธรรมกันในพระพุทธศาสนาได้ ดังนี้

    ที่ชี้แจงแสดงมานี้ เป็นตำรับตำราแน่นอนในทางพระพุทธศาสนา ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา นตฺถิ เม สรณํ อญฺญํ สิ่งอื่น ไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย สรณํ เม รตนตฺตยํ พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอัน ประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ มาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา ขอ สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    อาสาฬหบูชา ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ ที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓


    วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (ปีที่มีอธิกมาส คือ เดือน ๘ สองหน จะเลื่อนไปเป็นวันเดือน ๘ หลัง)



    วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรก โดยการแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ผลของการแสดงธรรมครั้งนี้ คือ ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม คือเห็นว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดย่อมดับไปเป็นธรรมดา” และได้ทูลขออุปสมบทเป็นพระภิกษุ พระองค์ได้ทรงประทานอุปสมบทให้ด้วยพระองค์เอง (เอหิภิกขุอุปสัมปทา) ท่านจึงพระสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา โดยได้นามว่า “พระอัญญาโกณฑัญญะ” วันนี้จึงเป็นวันที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนา และเป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบบริบูรณ์


    คำว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” แปลว่า สูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป มีความโดยย่อว่า ที่สุด ๒ อย่างที่บรรพชิตไม่ควรประพฤติปฏิบัติ คือ


    - การประกอบตนให้อยู่ในความสุขด้วยกาม (กามสุขขัลลิกานุโยค) เป็นธรรมอันเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ที่สุดอีกทางหนึ่งคือการประกอบการทรมานตนให้เกิดความลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค) ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

    - การดำเนินตามทางสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้งสองอย่างนั้น เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาและญาณให้เกิด เป็นไปเพื่อความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน ทางสายกลาง ได้แก่ อริยมรรคมีองค์แปด คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจมั่นชอบ

    - อริยสัจ ๔ คือ ความจริงอันประเสริฐที่พระองค์ค้นพบ มี ๔ ประการ


    อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ได้แก่

    ๑. ทุกข์ ได้แก่ สภาพที่ทนได้ยาก จักต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันในความเป็นจริงของทุกข์

    ๒. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หมายถึงสาเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะเป็นต้นเหตุสำคัญในการเกิดทุกข์

    ๓. นิโรธ ได้แก่ สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ

    ๔. มรรค ได้แก่ หนทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดนิโรธ มีองค์ประกอบ ๘ ประการ


    มรรค ๘ ได้แก่

    ๑. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่ เห็นอริยสัจ ๔ เห็นไตรลักษณ์ เป็นต้น

    ๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ ได้แก่ ดำริออกจากกาม ดำริไม่พยาบาท และดำริไม่เบียดเบียน

    ๓. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ ได้แก่ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อ

    ๔. สัมมากัมมันตะ คือ การงานชอบ ได้แก่ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ และไม่ประพฤติผิดในกาม

    ๕. สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ หมายถึง การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง ไม่เอาเปรียบหรือเบียดเบียนผู้อื่น

    ๖. สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ ได้แก่ เพียรละบาปที่เกิดขึ้นในใจ เพียรระวังบาปไม่ให้เกิดขึ้นในใจ เพียรทำความดีให้เกิดขึ้น และเพียรรักษาความดีไว้ไม่ให้เสื่อม

    ๗. สัมมาสติ คือ ระลึกชอบ ได้แก่ การมีสติพิจารณาเห็นกาย เวทนา จิต และธรรม

    ๘. สัมมาสมาธิ คือ การตั้งใจมั่นชอบ ได้แก่ การเจริญรูปฌาน ๔


    ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง จึงได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า นี้เป็นทุกข์ อันควรกำหนดรู้ และพระองค์ได้กำหนดรู้แล้ว นี้สาเหตุแห่งทุกข์ อันควรละ และพระองค์ได้ละแล้ว นี้ความดับทุกข์ อันควรทำให้แจ้ง และพระองค์ได้ทำให้แจ้งแล้ว นี้หนทางปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ อันควรเจริญ และพระองค์ได้เจริญแล้ว


    สรุปได้ว่า ปัญญาอันรู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ คือ ขั้นแรกรู้ว่าอริยสัจแต่ละอย่างนั้นเป็นจริงอย่างไร ขั้นที่สองรู้ว่าควรจะทำอย่างไรในอริยสัจแต่ละประการนั้น และขั้นที่ ๓ พระองค์ได้ทรงกระทำตามนั้นสำเร็จแล้ว


    จากการที่พระองค์ทรงค้นพบ คือตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการนี้ พระองค์จึงทรงกล้าปฏิญญาว่าเป็นผู้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะพระองค์ได้รู้แจ้งเห็นแจ้งตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างหมดจดดีแล้ว เมื่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว ได้มีการบันลือต่อๆ กันไปให้ทราบทั่วกันว่า พระธรรมอันยอดเยี่ยมที่พระองค์ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันใครๆ ในโลกจะปฏิวัติไม่ได้


    วันอาสาฬหบูชา มีเหตุการณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนาอยู่ ๓ ประการคือ

    ๑. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา โดยทรงแสดงพระปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ประกาศสัจธรรมอันเป็นองค์แห่งพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พระองค์ตรัสรู้ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย

    ๒. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระอริยสงฆ์สาวกขึ้นในโลก คือ พระอัญญาโกณฑัญญะ เมื่อได้ฟังพระปฐมเทศนาจบ ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ทูลขออุปสมบท และพระพุทธเจ้าได้ทรงประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา

    ๓. เป็นวันแรกที่มีพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ ครบอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์

    ขอบคุณภาพประกอบ : พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา

    2ZihR9LOp8mDck7t-yeNFT8Gigc7TF0zWIsOeVU8hujYms2wRkhV3zZQEPWAmR0TfP4QNZM3&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    edWDP-o90gexMDsM8OG-bKuvdYHB1vwyCUYBTDzmPz9-xiQa3aXXoAmylrCeIs6aEqpCgkON&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    -aqmerusjkelrufuly5bmled1vkegkcfdyeiyqjmb_5necjriwnfa5rpe2eosoklha8g-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg


    เรื่อง "การบำเพ็ญบารมี เพื่อความสิ้นกิเลส และกองทุกข์ ถึง มรรค ผล นิพพาน"
    โดย พระเทพญาณมงคล
    เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี

    ***คัดลอกมาบางส่วน
    ...........

    ทีนี้ธาตุ ที่เป็นที่ตั้งของธรรม คือยังไง?
    ถ้าธรรมฝ่ายบุญกุศล เข้ามาดลจิตดลใจ ให้เป็นไปตามอำนาจของเขา ก็มีธรรมชาติเป็นเครื่องชำระจิตใจ เห็น จำ คิด รู้ ให้ใสสะอาด ตั้งอยู่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม และธาตุนี้แหละ หรือ ธรรมชาตินี้ ฝ่ายบุญกุศล นอกจากชำระเห็น จำ คิด รู้ แล้ว ยังชำระธาตุนั้นแหละ ให้สะอาด
    เพราะฉะนั้น คนดี จึงมีธาตุแห่งความดี ที่บริสุทธิ์ แล้วก็มีใจที่ดี ที่ชาวบ้านเรียกว่า "สันดาน"

    สันดาน แปลว่า ก้นบึ้งของหัวใจ คนที่สันดานดี ก็แปลว่า ทำความดีมามาก #จนจิตใจนี่ดีไปจนสุดละเอียดเลย นั่นสันดานดี นี่พูดให้เข้าใจภาษาง่าย ๆ แต่ธาตุสำหรับคนสันดานดี หรือทำความดีบ่อย ๆ ประทับความดีไว้ บุญกุศลขึ้นมาปรากฏชำระธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ให้ดี ผ่องใสอยู่เรื่อย ส่งผลให้ธาตุหยาบ จากธาตุละเอียดที่ว่า มหาภูตรูปสี่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ และวิญญาณธาตุ ขยายส่วนหยาบออกมา เป็นกาย ใจ จิต วิญญาณ ก็ดีไปด้วย นี่แหละที่ว่า ดีข้างนอก ก็ดีไปถึงข้างใน ดีจากข้างในเป็นเหตุให้ดีมาถึงข้างนอก นี่...มันกลับไปกลับมาอย่างนี้ แต่ว่าไม่ได้กลับไปไหน อยู่ตรงกลางของกลางนั่นแหละ

    เพราะฉะนั้น คนดีที่มีความดีมาก ๆ จะปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใส ใสด้วยบุญกุศลนั้นแหละ ทีนี้บุญกุศลนี้ ถ้าจิตละเอียด ถึงธรรมกายละเอียด ๆ แล้ว มันเห็นเป็นประเภทเชียวนะ แต่นั้นต้องละเอียดมาก

    ...........

    อนูโมทนาบุญท่านเจ้าของภาพและพิมย์บทความครับ
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    "... วิปัสสนาวิชชาแยกได้เป็น 10 ประการ คือ

    1. สัมมสนญาณ พิจารณาย่นย่อนามรูป คือ ความเห็นตามเป็นจริงของนามรูปนั้นๆ

    2. อุทยัพพยญาณ คำนึงถึงความเกิดความดับของสังขารร่างกาย ดังอุทาหรณ์เรื่องฟองน้ำ ดังที่กล่าวมาข้างต้น คือ เห็นเกิดดับๆๆๆ ติดต่อกันไป

    3. ภังคญาณ คำนึงถึงแต่ความดับอย่างเดียว ให้เห็นว่าสังขารร่างกายที่เกิดมาแล้วนี้ มันรังแต่จะแตกดับอย่างเดียว และก็จะแตกดับอยู่รอมร่อแล้ว ประหนึ่งเรือนที่ปลูกอยู่ริมตลิ่ง ทั้งตัวเรือนก็เซซวนจวนจะพังอยู่แล้วด้วย ซึ่งเป็นความจริงแท้ เราพูดกันอยู่หยกๆ พอขาดคำ เราอาจจะตายเพราะโรคภัยอันตรายล้อมอยู่รอบข้าง ไม่รู้ว่ามันจะปรากฏขึ้นขณะใด

    4. ภยญาณ คำนึงให้เห็นว่าสังขารร่างกายเป็นภัย เสมือนสัตว์ดุร้ายไม่น่าจะเข้าใกล้ ซึ่งหมายความว่าไม่ควรจะหลงนิยมชมชื่น อันจะดูดดึงให้ใจเราหมกมุ่น เป็นเหตุให้ติดอยู่ในภพ

    5. อาทีนวญาณ นี่เป็นอีกแง่หนึ่งให้คำนึงถึงโทษแห่งสังขารว่า ถ้าเรามีอุปาทานยึดมั่นอยู่ว่า เป็นตัวเป็นตนของเราแล้ว มันจะให้ทุกข์โทษดังกล่าวในประการที่ 4 นั้นดุจเดียวกัน

    6. นิพพิทาญาณ เมื่อพิจารณาเห็นความเป็นไปแห่งสังขารดังกล่าวมาใน 1-2-3-4-5 นั้นแล้ว ก็ให้เกิดปรีชาคิดเบื่อหน่ายสังขารเป็นกำลัง ไม่อยากได้ใคร่ดีแล้ว

    7. มุญจิตุกัมยตาญาณ ถึงขั้นนี้ก็ใฝ่ใจที่จะให้พ้นเสียจากสังขาร คือ ไม่อยากมีสังขาร แต่ไม่ได้หมายความว่าจะให้ทำลายสังขารเสียโดยความโง่ๆ เช่น ฆ่าตัวตาย ให้ดำเนินการที่คิดพ้นจากสังขารโดยอุบายที่ถูกทาง

    8. ปฏิสังขาญาณ คิดคำนึงหาทางพ้นต่อไป แต่หาทางออกทางพ้นไม่ได้ เพราะมันได้เกิดมาเป็นสังขารเสียแล้ว ผะอืดผะอมอย่างนี้ เรียกว่า กลืนไม่เข้า คายไม่ออก สำรอกไม่ไหว ต่อไปก็ถึง

    9. สังขารุเปกขาญาณ วางใจเป็นกลางไว้ เท่ากับว่าเมื่อกลืนไม่เข้า คายไม่ออกแล้ว ก็อมเฉยไว้ก่อน ต่อจากนี้จะมีญาณอีกอันหนึ่งเกิดขึ้น คือ

    10. อนุโลมญาณ คำนึงผ่อนให้เป็นไปตามความที่เป็นจริงของมัน นี่เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เดินสายกลางหันเข้าหาอริยสัจ 4

    โดยวิธีดังที่บรรยายมาข้างต้น ว่าโดยรวบรัดตัดความ ก็หันเข้าหลักธรรมกายนั่นเอง พิจารณาเห็นแจ้งชัดอริยสัจ 4 ด้วยตาธรรมกาย รู้ชัดด้วยญาณธรรมกาย จึงเป็นวิปัสสนาวิชชา

    แต่ละอย่างๆ ที่กล่าวมาใน 10 ข้อนี้เป็นอาการหรือ อารมณ์ของวิปัสสนาที่จะพยุงจิตให้ข้ามขึ้นจากโลกีย์ไปสู่ภูมิโลกุตตระ คำว่าสังขารร่างกาย ในที่นี้หมายถึงนามรูปนั่นเอง ที่เรียกว่านามรูปนั้นได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 5 อย่างนี้รวมกัน ย่นย่อลงเรียกว่า นามรูป

    มโนมยิทธิ แปลว่า ฤทธิ์ทางใจ ใครบำเพ็ญได้ถึงที่ ย่อมทำได้ คือทำให้ใจมีฤทธานุภาพผิดไปจากธรรมดา จะนึกให้เป็นอย่างไรก็เป็นไปตามนึก ดังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์ นึกจะให้เทวดามนุษย์เห็นกัน เทวดาก็มองเห็นมนุษย์ มนุษย์ก็มองเห็นเทวดา ซึ่งมีปรากฏใน เทโวโรหนสูตร นั้น เพราะมีธรรมกาย ธรรมกายนึกอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น

    อิทธิวิธี แปลว่า แสดงฤทธิ์ให้ปรากฏได้ต่างๆ ดังเช่น เนรมิตจักร เนรมิตพระกาย และเนรมิตปราสาทราชฐานในครั้งทรงทรมานพระเจ้าชมพูบดี จนพระเจ้าชมพูบดีหมดทิฏฐิมานะ แล้วจึงทรงแสดงธรรมสั่งสอน เป็นต้น

    ทิพพจักขุ แปลว่า ตาทิพย์ ซึ่งหมายความว่า มองเห็นอะไรๆ ได้หมด ไม่ว่าอยู่ใกล้ไกล อย่างไร ดังเช่นเรื่องพระมเหศวรทดลองพระศาสดา ให้ทรงปิดพระเนตรเสีย แล้วพระมเหศวรซ่อนตัว โดยจำแลงตัวให้เล็ก แทรกแผ่นดินไปซุกอยู่ในเมล็ดทรายใต้เชิงเขาพระสุเมรุ

    พระองค์ก็มองเห็น ทรงเรียกให้ขึ้นมา ยังหาว่าเป็นอุบายของพระองค์จะเดาลักเค้าเอา ในที่สุดพระองค์ก็เอาฝ่าพระหัตถ์ช้อนเอาตัวติดขึ้นมาพร้อมกับเมล็ดทรายนั้นให้เห็นประจักษ์ ตาทิพย์นี้แม้สาวกของพระองค์ก็มีได้ เอาตามนุษย์ ตากายทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ซ้อนกัน แล้วเอาตาธรรมกายมองซ้อนตากายอรูปพรหม จะเห็นชัด คล้ายกับว่า แว่นหลายๆ ชั้นซ้อนกัน

    ทิพพโสต แปลว่า หูทิพย์ ใครจะพูดอะไรกันที่ไหนได้ยินหมด โดยเอาแก้วหูกายมนุษย์ ทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ซ้อนกันตลอดแก้วหูของธรรมกาย ย่อมสัมฤทธิ์ผลเป็นหูทิพย์ ได้ยินอะไรหมด

    ปรจิตตวิชชา แปลว่า ความรู้ที่สามารถทำให้ล่วงรู้ถึงวาระจิตของผู้อื่นได้ ดังมีเรื่อง พวกยักษ์เป็นอุทาหรณ์ คิดว่าจะตั้งปัญหาถามพระศาสดา ถ้าแก้ไม่ได้จะจับโยนข้ามมหาสมุทร ครั้นมาถึงก็เรียกพระองค์ว่ามานี่ ยังมิทันจะได้พูดอะไรต่อไป พระองค์ก็ล่วงรู้เสียก่อนแล้วว่า อาฬวกยักษ์คิดมาอย่างไร

    พระองค์ทรงตอบเย้ยไปว่าจะเรียกตถาคตไยเล่า เข้าไปหา ท่านจะจับเราโยนข้ามมหาสมุทร แล้วในที่สุดได้ตรัสตอบไปว่า ปัญหาที่ท่านคิดจะถามเรานั้น พ่อของท่านบอกไว้ใช่ไหม แล้วเราจะบอกท่านได้ต่อไปด้วยว่า พ่อท่านได้รับบอกมาจากพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า นี่ล่วงรู้ใจคนได้อย่างนี้

    ปุพเพนิวาสวิชชา แปลว่า ความรู้ที่ระลึกชาติหนหลังได้ ว่าชาติไหนเป็นอะไร เกิดที่ไหนมาแล้ว ดังมีเรื่องเวสสันดรชาดกเป็นหลักฐาน ไม่มีสิ่งที่จะพึงระแวงสงสัยอย่างไร เป็นองค์แห่งสัมมาสัมโพธิญาณแน่แท้

    อาสวักขยวิชชา แปลว่า ความรู้ที่ทำลายอาสวะให้หมดสิ้นไป กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ ทั้ง 4 ประการนี้ พระองค์มีทัศนะปรีชาญาณหยั่งรู้วิถีทางที่ทำให้หมดสิ้นไป ไม่มีในพระกมลของพระองค์แม้แต่สักเท่ายองใย..."

    คัดลอกบางส่วนจาก
    พระธรรมเทศนา เรื่อง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
    เทศน์เมื่อ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๘ – ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘
    โดย พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)

    rgqjGyDrmkTj6YjwDoOprPLLCIrYdMVpDFryOyTeBMiRzdJ1fbbzoR-mqkGYZIZorhg-6ABp&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
    k2Ble0teZ22r4ovi49a76_POg2raOmGK8yzOPQW7JTOQgx--rcZzZS_SpRfsZ0iODN8d869Q&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,755
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,138
    ค่าพลัง:
    +70,534
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...