รวม คติธรรม คำสอน ของ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่

ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย naruphol, 6 พฤษภาคม 2010.

  1. naruphol

    naruphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +1,075
    ***เทศน์ของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ณ วัดดอยแม่ปั๋ง กัณฑ์ที่ ๑-๒

    ณ วัดดอยแม่ปั๋ง กัณฑ์ที่ ๑

    ถาม – หลวงปู่มีอะไรจะแนะนำในเรื่องการปฏิบัติทางจิตบ้างครับ
    ตอบ – จะเอาทางจิตทางใจก็แ แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์นี้มีขึ้นที่ใจอย่างเดียว รักษาแต่ใจอย่างเดียวให้แน่นหนา รักษาแต่ใจอย่างเดียวตลอดชีวิต รักษาศีลห้าให้บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในกุศลกรรมบถสิบ รักษากายวาจาใจให้บริสุทธิ์ นี่เป็นเบื้องต้น

    เวลาอยู่ในคนหมู่มาก ได้พูดกับคนหมู่มาก บางทีก็จะลืมตัวไป จงมองเข้ามาดูใจนี้ ใจนี้เป็นใหญ่ คุมกายกรรม วจีกรรม ให้รู้เข้ามาในกาย ให้มองมาดูใจนี่แหละ เอาใจนี้เป็นผู้รู้ ใจนี้เองน่ะแหละเป็นผู้หลง ใจนี้แหละเป็นผู้ละ ปฏิบัติกายวาจาใจนี่ให้เรียบร้อย กายนี่ก็ออกไปจากใจนี่แหละ ให้พิจารณา กายนี่เขาก็ไม่เที่ยง ใจนี่เขาก็ไม่เที่ยง
    แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ก็ชี้เข้ามาที่ใจนี่แหละ ใจนี้เป็นเหตุ ให้ใจนี้ละ ให้ใจนี้วาง ให้ใจนี้ถอน ถอนทุกสิ่งทุกอย่างหมด มันจึงจะได้
    ถอนทีแรกก็เอาใจนี่แหละถอน ถอนอยู่ที่ใจนี้ ละอยู่ที่ใจนี้ วางอยู่ที่ใจนี้ ให้ใจนี้รักษา ต้องรักษาตา รักษาหู รักษาจมูก รักษาลิ้น รักษากายวาจานี้แหละ
    รูปมาทางตานี่ ก็นึกที่ใจ พอใจก็ดี ไม่พอใจก็ดี ก็ที่ใจนี่แหละ เอาศีลนำออกมาให้หมดจากใจของตน ละออกจากใจนี่แหละ เอาใจนี่วาง เอาใจนี่ถอนมันให้หมด เวลาไปหาหมู่มาก พูดไปพูดมาแล้วก็หลง มันหลงใหลอยู่เท่านั้นแหละ ต้องน้อมเข้ามาที่ใจของตน สิ่งใดก็ตามเถอะ ให้น้อมเข้ามาสู่ใจ

    แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ก็ชี้เข้ามาที่ใจของ ตน อุปัชฌายะสอนก็สอนเข้ามาถึงกายนี้แหละ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ปัญจกกัมมัฏฐาน กายคตากัมมัฏฐาน ฐานที่ตั้งของกายนี้แหละ กายเขาไม่รู้แจ้ง จะรู้แจ้งก็รู้แจ้งที่ใจนี่แหละ เอาใจละสิ่งทั้งหลายที่มาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มาทางตา ที่พอใจก้ดี ม่พอใจก็ดี มาทางหู ที่พอใจก็ดี ไม่พอใจก็ดี มาทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ที่พอใจก็ดี ที่ไม่พอใจก็ดี เอาศีลนี่แหละนำออกเสียด้วยปัญญาของตนออกไปจากใจนี้
    ใจ เป็นผู้รู้ ผู้ละ ผู้ถอน ผู้วาง รับเอาทุกเรื่องก็ไม่ไหวละ มันเป็นธรรมเมาเท่านั้นแหละ

    เรื่องอดีตอนาคตก็ใช้ปัญญานำออกให้หมด ตัดอดีต อนาคตหมดอย่าให้มันเหลือ อดีต อนาคตมันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ตัดอดีตอนาคตออกแล้ว ให้จิตนิ่งอยู่กับปัจจุบัน เดินอยู่กับปัจจุบัน ว่างอยู่กับปัจจุบันวางอยู่กับปัจจุบัน มันจึงเป็นพุทโธ มันจึงเป็นธรรมโม สังโฆ อยู่นี่แหละ
    มัวเอาที่อื่นก็ไม่ไหวละ รักษาตา รักษาจมูก รักษาลิ้น รักษาหู รักษากาย ใจ ให้ตลอด เวลาพบคนมาก มันก็ต้องมีหลายสิ่งหลายประการ พูดอยู่ก็ต้องน้อมเข้ามาหาใจ มากำหนดให้รู้ใจของตน อุปาทานทั้งห้ามันเกิดมาจากใจนี่แหละ อนิจจังทั้งห้ามันก็เกิดจากใจนี่แหละ เหตุมันก็มาจากใจนี่แหละ ทุกขังทั้งห้าก็ดี อนัตตาทั้งห้าก็ดี นิจจังทั้งห้าก็ดี มันเป็นนิจจัง มันอยู่คงที่ มันเที่ยงอยู่ อนัตตาทั้งห้ามันวางหมด แล้วทีนี้มันเป็นอัตตาตั้งอยู่ภายใน ยึดเรื่อยไปก็เป็นอัตตา แต่อาศัยอนัตตาอยู่ เพราะว่าไปพิจารณาอยู่

    อุปัชฌาย์ สอน ก็ชี้ลงที่กายนี้เสียก่อน เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ นึกถึงปัญจกัมมัฏฐาน กายคตากัมมัฏฐาน เวลาได้โอกาสก็ให้นั่งทำความสงบ ทุกข์มันจะเกิดขึ้น มันก็เกิดที่นี่ ที่ใจนี่แหละ เจ็บแข้ง เจ็บขา เจ็บหลัง เจ็บเอวก็เกิดขึ้น กำหนดทุกข์เข้าจนรู้เหตุรู้ผล รู้เหตุว่ามันนำทุกข์มาให้เสวย เหตุดับ ทุกข์ดับ ปัจจัยของเราก็ดับ อวิชชาความมืดก็ดับ

    นี่แหละให้หมั่น ตั้งใจรักษา ศีลก็บัญญัติลงที่ใจนี่แหละ สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี บัญญัติลงในกายในใจนี่แหละ สองอย่างเท่านี้แหละ รุ้ทางกายก็วางไว้หมด รู้ทางกาย ก็ชวนเข้ามาที่ใจนี้แหละ แปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์รุ้ที่ใจนี้แหละ ใจจึงเป็นเหตุ ก็เอาใจนี่แหละละ ก็เอาใจนี่แหละถอน เอาใจนี่แหละวาง วางอยู่ที่ใจนี่แหละมันจึงจะใช้ได้ ถ้าไปเอาอันอื่นมาละ มันใช้ไม่ได้หรอก

    ที่อุปัชฌาย์สอนก็สอนที่กาย นี้ ดีสงบก็ที่กายนี้ ดีสงบก็ที่ใจนี้ คิดดีก็ใจนี้ คิดชั่วก็ใจนี้ ดูไป ๆ มันก็ได้กำลังนะ เอาเข้า ๆ มันก็ได้กำลัง เบิกยา รูแจ้งเห็นจริง ผู้ปฏิบัติน้อมเข้ามาปฏิบัติกาย วาจา ใจ ธรรมะเกิดขึ้นในดวงใจนี้ เวทนาคือตัวกรรม ไม่ใช่มีกับเราเท่านั้น เวทนาคือตัวกรรมบุญ เวทนาคือตัวกรรมบาป น้อมทเข้ามาที่นี่จนถึงอัพยากตธรรม ทางนี้ไม่มีกิเลสหนา อัพยากตธรรมเป็นฐาน น้อมเข้ามาที่นี่ พูดมากคุยมากมันก็มากไป จงหยุดน้อมเข้ามาในใจเสียก่อน เดี๋ยวจะลืมไป
    เอาแค่นี้ก็อยู่ได้ เอามามากมายก็จะทุกข์ ใจนี่มันคิด ใจนี่มันทุกข์ ตัดออกให้หมด ไม่คิดไม่นึก เมื่อไม่คิด จิตของเราก็ตั้งอยู่เป็นปกติ ไม่ได้ไปที่ไหน รูป เสียง กลิ่น รส ธรรมารมณ์ทั้งห้า นำเอาเข้ามาหมักหมมไว้ในใจ ให้เขาผ่านไป ไม่เก็บเข้ามา ใจก็เป็นปกติ ไม่ไปที่ไหน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็เป็นปกติ รูป เสียง กลิ่น รสนี่เป็นธรรมดาโลกนะ ดีเขาก็ว่า ชั่วเขาก็ว่า ร้ายเขาก็ว่า ก็มีอยู่อย่างนี้แหละ รักษาจิตให้ดี ทำทุกวัน เวลาได้โอกาส พักผ่อนให้ทำไป ทำให้มาก มันก็ทำจิตให้เบิกบานผ่องใส

    ถาม – การที่จะรักษาความสงบควรทำแบบไหนครับ
    ตอบ – ให้ใจนี้ละ อันใดที่ยังคงขัดข้องอยู่ในใจนี้ ให้ละ จาโคปฏินิสสัคโค สละคืนเสีย ให้เขาเสีย ของเราก็มีอยู่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ของเรามีอยู่ครบแล้ว ชั่วก็มี ดีก็มี เวทนาก็มี อะไรก็มีหมดทุกสิ่งทุกอย่าง เราไม่ต้องเอาของเขา มันก็วางได้ มันก็จาโคปฏินิสสัคโค สละคืนให้หมด เอาออกจากใจให้หมด หาอุบายถอนออกจากใจนี่ อย่าให้มันหมักหมมอยู่ มันเป็นทุกข์

    ถาม – จะรู้ได้อย่างไรว่า ใครเคยเป็นอะไรมาแต่ชาติก่อน ๆ
    ตอบ – อันนั้นมัน วิชชาจรณะสัมปันโน ต้องพร้อมด้วยวิชชาสาม มีปุพเพสันนิวาสานุสสติญาณ เหมือนครูอาจารย์มั่น ท่านศึกษาจนรุ้ดีว่า ท่านปรารถนาพุทธภูมิมานี่ได้กี่ภพกี่ชาติกี่อสงไขย หรือพระพุทธเจ้าได้พยากรณ์ไว้แล้ว สาวเข้าสาวเข้าก็ถึงวันที่ตั้งความสัตย์ ปรารถนาพุทธภูมิ แต่ที่ ตาย ๆ เกิด ๆ นี่ก็หลาย ตายก็เพราะกาม เกิดก็เพราะกาม ทุกข์ก็เพราะกาม สุขก็เพราะกาม
    ท่านมองดูชั้นฟ้าท้องฟ้า จนจดพุทธภูมิ พุทโธ่ เราจะมาตายมาเกิดอย่างไม่มีกำหนดอีกแล้ว จากนั้นท่านก็เร่งความเพียร จนตีสองก็ได้วิชชาสอง คือ จุตูปปาตญาณ รู้ว่าสัตว์ภพนี้ ดับที่นี้ ไปเกิดที่โน้น ภพโน้น ดับที่โน้น ดับที่นี่ไปเกิดที่โน่น ดับที่โน่นไปเกิดที่นั่น อันนี้ จุตูปปาตญาณ อาสวักขยญาณ วิชาชั้นสาม รุ้จักกิเลสของตนว่าสิ้นไปหมดไป กิเลสของกายวาจาสิ้นไปหมดไป กิเลสของใจเราสิ้นไปหมดไป เรามีกรรมเป็นอันขาด มีกรรมอันไม่งอกแล้ว จิตดวงหลังดับไปอยู่แล้ว อาศัยกำลังทั้งห้า คือกำลังศรัทธา กำลังความเพียร กำลังสติ กำลังสมาธิ กำลังปัญญา ให้รู้แจ้งชัชวาล เพื่อดับขันธปรินิพพาน เราไม่ยินดีจะก่อภพใหม่อีก ก็หมดเรื่องไป

    ถาม – หลวงปู่มีอะไรเกี่ยวข้องกับใครบ้างไหม
    ตอบ – นิมิตต่าง ๆ มันต้องศึกษา พอรู้เท่าแล้วก็วาง ๆ ๆ เข้าไปเล่นวนอยู่ก็เป็นธรรมเมาละ ประเทศชาตินี่ก็อาศัยคนมาก จะตั้งทางไหน ก็ตั้งอยู่กับความยุติธรรม จะตั้งทางไหน ก็หมั่นทำ ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ มันเกิดอะไรเบียดเบียนละก็น้อมเข้ามาหาใจ ให้มันสงบก็สบายเท่านั้นแหละ ให้รู้อยู่กับปัจจุบันนี้แหละ มันจึงเป็นพุทโธ ธัมโม สังโฆ ทำอยู่แค่นี้ก็พอแล้ว ความเกิดแก่เจ็บตายมันเป็นกงจักร กงจักรมันบดสัตว์ ความเกิดแก่เจ็บตาย มันเป็นของจริงเมื่อเรายังมีภพมีชาติอยู่ เวลาหยุดพักผ่อนก็ให้ทำความสงบทันที ปฏิบัติที่ใจนี้ คนมันมาก พูดกับคนนี้ก็เป็นอย่างหนึ่ง กับคนโน้นก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง มันไม่ลงรอยกันสักที อายุสังขารของเรามันก็เต็มที่แล้ว วันคืนเดือนปีมันก็สิ้นไปหมดไป เราจะทำอะไรอยู่ก็ตามก็ต้องหมั่นทีจิตของเราไปเรื่อย ๆ เวลาธาตุทั้งสี่ ขันธ์ทั้งห้า จะพรากจากกัน ดินก็ไปเป็นดินของเก่า น้ำก็ไปเป็นน้ำของเก่า ไปมันก็ไปเป็นไฟของเก่า ลมก็ไป! เป็นลมของเก่า อากาศธาตุมันก็วางไว้อย่างเก่านั่นแหละ เหลือแต่ใจ ดินก็ไม่ใช่ใจ น้ำก็ไม่ใช่ใจ ไฟก็ไม่ใช่ใจ ลมก็ไม่ใช่ใจ แต่เราก็อาศัยสิ่งเหล่านี้แหละ นี่มันก็เป็นสมบัติของบิดามารดา นะ กับ โม นี่แหละสมบัติ ของดี จะไปตั้งศีลก็อาศัยสมบัติของบิดามารดา ปู่ ย่า ตา ยาย นี่แหละ เวลาจะทำบุญสุนทานก็อาศัยสมบัติของบิดามารดาเป็นที่ตั้ง จะเล่าเรียนวิชาของโลกมันก็เอาสมบัติของบิดามารดานี่แหละเป็นที่ตั้ง

    ถาม - ทำไมคนบางคนอยากจะทำชั่ว ทำไมคนบางคนอยากจะทำดี คนทำชั่วก็ไม่มีโอกาสทำความดี เพราะคิดแต่จะทำชั่ว
    ตอบ – มันเป็นเพราะกรรมนั่นแหละ เจตนามันก็กรรมนั่นแหละ เจตนาเป็นตัวกรรมบุญ เจตนาเป็นตัวกรรมบาป เจตนาทั้งนั้นแหละทั้งสองอย่างนี้ เจตนาหํ ภิกฺขเว วทามิ พระพุทธเจ้าตรัสว่า เจตนานี้เป็นตัวกรรม กรรมดี กรรมชั่ว เจตนาที่เป็นกรรมบุญ ตัวอย่างเช่น เจตนาที่จะรักษาศีล วันนี้จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์ทั้งกาย วาจา จะรักษาใจให้ผ่องใสแผ้ว ทำความพอ มีขันติ ความอดทนทั้งกายและใจ อดีตอนาคตไม่ต้องเกี่ยว อตีตาธัมเมา อนาคตาธัมเมา

    ถาม – คนที่ทำชั่วก็ต้องตกนรกไปเรื่อย ๆ เขาจะมีทางแก้ตัวไหม
    ตอบ – ไม่มีหรอก ทำกรรมด้วยกายวาจาใจไว้แล้ว เจตนาฆ่าสัตว์ก็ดี เจตนาลักทรัพย์ก็ดี เจตนาทุกอย่างนั่นแหละ มันมีกรรมมาก เจตนามันเป็นกรรมชั่ว เจตนาหํ ภิกฺขเว วทามิ พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสก อุบาสิกาก็ดี เจตนานี้เป็นตัวกรรม ให้เจตนาเป็นกรรมบุญ ให้ตั้งอยู่ในเจตนาที่จะรักษากายให้จริงกาย จริงวาจา จริงใจนี่ ไม่ให้มันฟุ้งซ่านรำคาญไป ทำความพอหมด ตาก็เป็นปกติอยู่แล้ว หู จมูก ลิ้น กายก็เป็นปกติอยู่แล้ว ใจก็เป็นปกติอยู่แล้ว ใจไม่ได้ไปที่ไหน ใจบริสุทธิ์นี้ตั้งอยู่เป็นปกติ ไม่ไปที่ไหนดอก มีแต่สัญญานี่ไปจำเอา ๆ มาหมักหมมไว้ที่ใจดอก ใจนี่มันก็เดือดร้อนเท่านั้น เดี๋ยวก็คุบ (ตะครุบ) โน่น คุบนี่ เดี๋ยวก็ง่วงเหงาหาวนอน เจ็บหลัง เจ็บแข้ง เจ็บขา เอาละ ขี้เกียจแล้ว จะนอนก็นอนเสีย หลับมาทุกวันทุกวันแล้ว ...............(มีเสียงรบกวน ฟังไม่ออก) ............................!

    จะ ขึ้นรถหรือขึ้นเรือบิน ขึ้นคอปเตอร์หรือรถเรือทุกชนิด ก็ให้นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ทุกครั้ง นั่งไปเรื่อย ๆ ไม่ได้นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หากไปฝ่าอันตรายเข้าก็ใจหายและกลัวอันตราย ให้นึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นสรณะ ขออานุภาพปกเกล้าปกกระหม่อม ให้ปราศจากภัยอันตรายทั้งหลาย ให้ไปเป็นสุข ถึงรถจะไปคว่ำลงหรือชนกันก็บ่เป็นหยังดอก
    มีคนหนึ่งขึ้นเครื่องบินไปชาย แดน เครื่องบินไฟไหม้ ตกลง คนตายหมด ผู้นั้นผู้เดียวรอด เขานั่งเครื่องตกสามเที่ยวแล้วยังไม่เป็นอันตรายสักที “อู๊คิดถึงหลวงปู่” เขาว่า
    นึกถึงพระพุทธ พระธรรม เป็นที่ตั้ง มันก็ผ่านพ้นภัยอันตรายทั้งหลายได้ .......(เสียงแทรก)..........ไม่ สำเร็จหนา มันจะนำมาแล้วก็วุ่นวายอยู่ในจิตใจนี้ นั่นแหละอดีต ต้องตัดอดีตอนาคตให้มันเป็นแห่งเดียวกันเสีย มันมาแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว พระร้ายก็มี พระดีก็มี พระวุ่นก็มี มันก็วุ่นด้วยกามตัณหานี่แล้ว ความพอใจก็ตัณหานี่แหละ ภวตัณหาก็ดี วิภวตัณหาก็ดี ความพอใจก็ตัณหานี่แหละ ความไม่พอใจก็ตัณหาอันนี้แหละ รักเกิดขึ้นก็นำออกเลย กรรมเกิดขึ้นก็นำออกจากจิตใจของตนเสีย ต้องละมันให้หมด แล้วก็สบายเท่านั้นแหละก๊า มีรัก มีชัง รู้เท่ามันเป็นจริงอย่างนั้นแหละ

    ถาม – หลวงปู่ให้ละวางให้หมด อย่างบางคนเรารักเขา แล้วก็ละวาง อย่างนี้เรียกว่าใจร้ายไหม
    ตอบ – จะนำมาหลายสิ่ง มันเลยรก มันก็อยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่แหละ ศีลห้าก็ประจำอยู่ที่นี่ ขาสอง แขนสอง หัวหนึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส ธรรมารมณ์ทั้งห้านี่ก็ปล่อยให้เขาผ่านมาแล้วผ่านไป ผ่านไป เท่านั้นแหละ ดีหรือร้าย ดีเขาก็ว่า ไม่ดีเขาก็ว่า ว่าอยู่เรื่อย เต็มโลก เต็มบ้านเต็มเมือง เราก็วางเสีย อย่าเอาเข้ามาหมักไว้ในใจของตน วางเสียตรงนี้แหละ ละเสียที่ใจนี้แหละ ไม่ได้ไปละที่อื่น เอาใจนี่แหละละ มันจึงใช้ได้หนา อย่าไปพกแผนที่ ดูแผนที่ ดูทิศ ดูทาง จำได้มาก ๆ พูดกันได้ แต่เอาไปทำเมืองไม่ได้หนา มันต้องเข้ามาหากาย บัญญัติลงที่กายนี้ บัญญัติลงที่ใจนี้ รวมอยู่นี้ ละก็ละอยู่ในกายในใจนี้แหละ ไม่ได้ไปละที่อื่นหนา อดีตอนาคตก็มาละอยู่ที่ใจนี้ มันนำมาก็คุบอยู่นั่นแหละ คุบไป คุบมา ก็เดือดร้อนแล้ว
    ต้องรู้เท่ามัน นี่แหละ ตัดก็ตัดอย่างนี้แหละ เวลาที่เราทำจิตใจของเราให้สงบแล้ว มันก็สว่างหมด ทาตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งอดีต อนาคต ให้นำออกให้หมด ใจเราไปเก็บมาหมด อดีต อนาคต แล้วก็ระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่เรื่อย มันต้องทำความพอ เวลานี้เราจะทำจิตทำใจของเรา วางหมดน่ะแหละ อะไรก็เห็นมาพอแล้ว ได้ยินมาพอแล้ว ทางฝ่ายโลกก็ดี ได้ยินมาพอแล้ว อย่าเอาเข้ามาหมักไส้ในใจอีก

    กงจักรอันใหญ่หลวงคือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย มันกำลังบดเราอยู่ มันเป็นของจริง เราจะมัวไปหอบเอาอันโน้น อันนี้มา มันก็เป็นธรรมเมาเท่านั้นแหละ
    อารมณ์ก็สัญญานี่แหละ สัญญาไปจำมันมา ใจเรารับมันมา คิดไป คิดมา มันก็เดือดร้อนอีก เวลานี้เรามาทำความพอ อะไร ๆ ก็ให้มันพอ หลงก็พอแล้ว โลภก็พอแล้ว โกรธก็พอแล้ว อันนี้เป็นรากเป็นเง่าของกิเลสตัณหาทั้งหลาย ความพอใจก็เพราะตัณหา ความไม่พอใจก็เพราะตัณหานี่แหละ

    กามตัณหานี่ อุปมาเหมือนน้ำในแม่น้ำลำธารเล็ก ๆ น้อย ๆ นับไม่ถ้วน ไหลลงสู่ทะเล ไม่มีเต็มสักที อันนี้ฉันใดก็เหมือนกันนั่นแหละ มันก็ไหลลงไปของมันนั่นแหละ อันนี้ตัณหามันไม่พอ เราจะทำความพอใจอยู่เดี๋ยวนี้ ทำใจให้ผ่องใส ตั้งอยู่ในศีล ตั้งอยู่ในธรรม ตั้งอยู่ในสมาธิ เราทำความพออยู่เดี๋ยวนี้ อย่าเอามาเว้าอีก
    อดีต อนาคตหมดแล้ว ดับไปหมดแล้ว กวาดออกหมดแล้ว ตัณหานี่มันไม่มีพอหรอก แต่เวลานี้เราจะนำเอาตัณหาความไม่พอนี้ออกเสีย เวลานี้เราจะทำจิตทำใจของเรา ทำกายของเราให้รู้แจ้งในภายในของเรานี้ นอกนั้นปล่อยหมด วางอยู่ที่ใจนี้แหละ ละอยู่ที่ใจนี้แหละ บนสังขารนี้แหละ

    สังขาร มันปรุงมันแต่ง มันเกิดมันดับ โทษทุกข์ภัย ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ว่าอยู่นี่แหละ นี่มันว่าจากสังขารก๊า มันปรุงมันแต่งขึ้น เป็นโน่นเป็นนี่ อดีต อนาคต มันก็เป็นนี่ ตัดนี่แหละ จิตก็นิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้อยู่กับปัจจุบัน ละอยู่กับปัจจุบัน ละที่จิตนี่แหละ จะไปละที่ไหน จะหอบเอาก็ไม่ได้หนา มันเสียเวลา เวลานี้เราทำความพอใจให้หมด ทำจิตใจให้ผ่องใส รู้แจ้งในมรรคในผล ในสมาธิ ปัญญา

    ใจนี่แหละละอยู่ นี่แหละ วางอยู่นี่แหละ จะไปวางที่ไหน อดีตอนาคตก็วางอยู่ในใจนี่แหละ เอาใจนี่แหละละ เอาใจนี่แหละถอน ถอนเอา ถอนเอา รู้เท่าอารมณ์นี้แล้วมันก็วางหมด อารมณ์มันก็ใจ ใจมันก็เป็นปกติ ตามันก็ปกติ หู จมูก ลิ้น กาย มันก็ปกติ มีแต่รูป เสียง กลิ่น รส ธรรมารมณ์ทั้งห้านี่ก็ปล่อยให้เขาผ่านไปผ่านมา แล้วก็พอแล้ว ไม่ให้มาหมักไว้ในใจ ใจมันก็ไม่เดือดร้อน ความโลภ ความโกรธ ความหลงเหล่านี้ เรามีอยู่ทุกอย่าง กิเลสพันห้า ตัณหาร้อยแปด มันก็มีอยู่ที่นี่แหละ อย่าไปหอบเอามา ความหลงมันก็มีอยู่ที่นี่ ความโง่ก็มีอยู่นี่ อวิชชาความมืดก็มีอยู่นี่ ของเราก็ถมเถไปแล้ว ไม่ต้องเอาของใคร

    มัน ก็ต้องถอนไปเรื่อย ๆ แหละ เอาใจนี่แหละถอน ที่ร้ายก็ผ่านมา ที่ดีก็ผ่านมา ผ่านมาหมด ใจนี้ก็เป็นกลาง มีอิสระเท่านั้น อิสระแล้ว ใจนี้ก็หัวเราะ ธรรมทั้งหลายที่ดีก็ดี ที่ชั่วก็ดี มันไหลมาจากเกตุ ครั้นรู้เท่าเหตุแล้วมันก็ดับ อวิชชาก็ดับ รู้แจ้งเห็นจริงไปหมดละ ใจมันสำคัญนี่ เหตุมันเกิดจากใจนี่แหละ พอละก๊ะ ตั้งต้นหัดเอาละก๊ะ อธิษฐานไว้ เวลานี้ได้โอกาสที่ว่าง เราจะทำจิตทำใจของเรา ทิ้งทั้งหมด พอหมดแล้ว ผ่านมาพอแล้ว วางหมด

    ถ้ามีสัจจะ จริงกาย จริงวาจา จริงใจนะ ไม่หลงไปตามเขา อารมณ์ทั้งหลายนี้ที่ผ่านมา อดีตอนาคตก็เพราะอารมณ์ เราจำเอามาหมักไว้ในใจ มันก็เดือดร้อน ทำความพอหมด ความโกรธ ความโลภ ความหลงทีมันเป็นเง่าเป็นกกแห่งกิเลสทั้งหลาย เราจะวางให้หมด ละให้หมด

    กิเลสมันมาทุกด้าน ความพอใจ ความไม่พอใจมันก็กิเลสนั่นแหละ ความรักความชังนั่นก็กิเลส ตัวกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาไม่มีที่พอ พอละก๊า เวลานี้เราจะทำใจให้พอทุกอย่าง ใจนี้เป็นผู้ละ เป็นผู้วาง ผู้ถอนหนา ใจนี้แหละเป็นตัวเหตุ มันจำมา จำมา แล้วก็มาคิดมาอ่าน แล้วบางทีจะนั่งก็มาเจ็บหลัง เจ็บเอว ง่วงเหงาหาวนอน มันไม่ได้ธรรมนี่ จะว่าพุทโธ ๆ มันก็กลายเป็นธรรมเมาไปเสียแล้ว ต้องละอยู่ในใจนี่ สางอยู่ในใจนี่ ทำความพอใจอยู่ในใจนี่แหละ ตั้งความสัตย์จะทำจริง จริงกาย จริงวาจา จริงใจ เท่านั้นแหละ เมื่อจิตมันละหมดแล้ว วางหมดแล้ว มันก็มีแต่ดวงใจที่บริสุทธิ์เท่านั้นแหละ แจ้งในพระนิพพานก็แจ้งนั่นแหละ แจ้งที่ใจที่เป็นปกติอยู่นั่นแหละ
    ถาม – จิตเทียมมันเป็นอย่างไร
    ตอบ – จิตเทียมมันก็สังขารนั่นแหละ มันสมมติเป็นจิตเทียมนั่นแหละ ความเกิดความดับ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา มันก็มาจากสังขารนี่ นั่นแหละจิตเทียม จิตแท้ ๆ จิตบริสุทธิ์ แล้วมันก็ไม่มีจิตเทียมหรอก ละได้แล้ว จิตบริสุทธิ์แล้ว มันก็สบาย





    เทศน์ ของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ


    ณ วัดดอยแม่ปั๋ง กัณฑ์ที่ ๒

    ๑๐ ธันวาคม ๒๕๑๕
    .......เทศน์ภายในเลยมันจึงเหมาะ ถ้าเทศน์ภายนอกนี่มันคล้ายกับแผนที่ตำรับตำรา พอปานกับเครื่องกระจายเราต้องเทศน์ภายใน
    .......จะเอาอย่างใดอีก ตำรับตำราทางบ้านท่านฟังมาเต็มที่แล้ว จะฟังก็ในกายเท่านั้นแหละ ทีนี้ ให้ภาวนาเอากายเป็นมรรค เอากายเป็นผล จะพากันละอุปาทานทั้ง ๕ อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ อนัตตาทั้ง ๕ ละรูปธรรม นามธรรมนี้ วางได้มันก็เป็นธรรมนั่นแหละ วางไม่ได้มันก็ยึดเอารูปธรรมนามธรรมเป็นตนเป็นตัว มันก็เป็นธรรมเมาอยู่นั่นเอง
    พิจารณา สังขาร นามรูป ที่มันเป็นอยู่อย่างนี้ อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ อนัตตาทั้ง ๕ อุปาทานทั้ง ๕ มีรูปูปาทานักขันโธ เป็นอุปาทานที่หนึ่ง เวทนูปาทานักขันโธเป็นอุปาทานที่สอง สัญญูปาทานักขันโธ เป็นอุปาทานที่สาม สังขารูปาทานักขันโธ เป็นอุปาทานที่สี่ วิญญูปาทานักขันโธ เป็นอุปาทานที่ห้า ครั้นค้นคว้าอยู่ในธาตุสี่ ขันธ์ห้า วางธาตุสี่ ขันธ์ห้านี้ได้แล้วละก็ ภาวนาสงบดี ครั้นเวทนาดับลง สัญญาดับลง สังขารดับลง วิญญาณดับลง รูปธรรมส่วนสมมติเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม วางได้แล้วมันก็สบาย จิตก็สงบลง
    ชำระศีลห้าของตนให้บริสุทธิ์ ทางตานี่ก็เป็นศีลประเภทหนึ่ง ทางหูก็เป็นศีลประเภทหนึ่ง นำความผิดออกจากตา ออกจากหู ออกจากจมูก ออกจากลิ้น ออกจากกาย ทั้งสี่ ทั้งห้านี้แหละ ศีลทั้งห้าก็อันนี้แหละ นำความผิด ความยินดียินร้ายออกจากจิตใจของตนให้บริสุทธิ์หมดจด ทำให้เป็นไป จะเอาพุทโธเป็นบริกรรมก็เอา หรือจะเอาธัมโมเป็นบริกรรม เป็นมรรคภาวนาก็ได้ เคยทำกันมาแล้วกระมัง

    ครั้นได้พุทโธ พุทโธ นี้เป็นอารมณ์ของจิตใจอยู่เป็นนิจ เวลาเอาเข้าหนักเข้า หนักเข้า ลมมันก็สงบได้เหมือนกัน แต่รักษาไว้อย่าให้เป็นธรรมเมา พุทโธ พุทโธ นี่นะ พุทโธ พุทโธ กลายเป็นธรรมเมา ธัมโม ธัมโม มันไม่เป็นธัมโม มันกลายเป็นธรรมเมาไปเสีย สังโฆ สังโฆ พวกนี้เป็นอารมณ์ของใจ ให้ดิ่งอยู่เป็นอันหนึ่ง นาน ๆ เข้าจิตใจก็สงบลงเป็นสมาธิได้เหมือนกันนั่นละ
    รักษาธรรมเมานี้ไม่ให้เกิด อดีตธรรมเมา อนาคตธรรมเมา อดีตที่ล่วงแล้วมันนำมาหเป็นธรรมเมา อนาคตยังไม่มาถึงก็เป็นธรรมเมา ถ้าจิตดิ่งอยู่ปัจจุบันมันจึงเป็นธัมโม อดีต อนาคตเป็นธรรมเมาแล้วจงรักษาดี ๆ มีสองอย่างเท่านั้นแหละ มันเป็นธรรมเมา นอกจากจิตดิ่งอยู่ปัจจุบันนี่เป็นธัมโม มันไม่หมุนตามสังขาร มาหมุนตามสมมติ แล้วมันก็ใช้ได้
    นี่ก็พิจารณา จะเอาพุทโธเป็นมรรคก็ได้ มรรคภาวนาหรือจะเอากายเป็นมรรค พิจารณากาย สังขาร นาม รูป อันนี้ใช้ชำนิชำนาญบุราณท่าน หรือสมัยนี้ก็เหมือนกัน กุลบุตรทั้งหลายที่มาบวชบรรพชาเพศ อุปัชฌาย์ท่านสอน กายนี่แหละเป็นมรรค เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นขา โลมา เกสา อนุโลม ปฏิโลม ทั้งเบื้องบนพิจารณาแต่เล็บเท้าขึ้นมาถึงปลายผม เบื้องต่ำพิจารณาตั้งแต่ปลายผมถึงเล็บเท้า นี่แหละเป็นมรรค เอากายเป็นมรรค ต่อเมื่อใดวางหมดแล้ว ไม่ยึดรูปธรรม นามธรรมเป็นตนเป็นตัว สัญญาก็สงบลง สังขาร ความปรุงแต่ง ความเกิด ความดับ โทษ ทุกข์ ภัย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดับลง วิญญาณ ความรู้ รู้ดี รู้ชั่ว รู้บุญ รู้บาป รู้ผิด รู้ถูก ก็ดับลงหมด แล้วมันก็จิตสงบลงได้
    ครั้นการรักษาธรรมเมานี่หนา มันมีอดีตอนาคตหุ้มมา อดีตมันเคยได้รู้ ได้เห็น จากเคยได้คุยกัน ว่าเล่นกัน เวลาตั้งจุดพุทโธ พุทโธ มันจะกลายเป็นธรรมเมาไปเสียนี่ ครั้นเผลอก็เป็นธรรมเมาไปแล้ว เมาคิดโน่น คิดนี่ อดีตที่เคยเห็นก็นำมาคิดเป็นธรรมเมาไปแล้วนั่น พุทโธที่จะเอาเป็นบริกรรม จะเอาเป็นอารมณ์ของใจก็ไม่ได้ มันเป็นธรรมเมาไปแล้ว มันปรุงไป แต่งไป เกิดไปดับไปในทุกสิ่งทุกอย่างนั่นแหละ จึงรักษาธรรมเมาไว้

    อดีตก็ เป็นธรรมเมาอันหนึ่ง อนาคตก็เป็นธรรมเมาอันหนึ่ง จิตดิ่งอยู่ในปัจจุบัน รู้ปัจจุบัน ละปัจจุบัน ตัดตัณหา ตัดกิเลส ตัดมานะทิฐิ ตัดความยึดมั่นถือมั่นของตนให้เสร็จลง แล้วก็สงบได้ รักษาแต่ธรรมเมาอันเดียวนี่แหละ ให้มันเผลอก็เป็นธรรมเมาละ ครั้นไม่เผลอ พุทโธ พุทโธ ดิ่งอยู่ นั่นแหละเป็นอารมณ์ของใจ เป็นมรรคของใจ เป็นที่พึ่งของใจก็ได้ อยู่ที่ รักษา ตัวเดียวเท่านั้นแหละ ทำให้ติดไป เก็บดิ่งอยู่เป็นนิจ ทำอย่างนั้นก็ใช้ได้ละ

    .....สันทิ ทิฐิไปเปล่า ๆ นั้นก็เป็นธรรมเมาแล้วนะ ไม่ให้คิด ไม่ให้นึกมัวหลงเมายศ เมาเกียรติไปนั่นเป็นธรรมเมา อกุสลาธัมเมา กุสสาธัมเมา มันตั้งอยู่นั่นแหละ อัพยากตธัมเมา เป็นที่พิจารณากำหนดให้จิตดิ่ง ให้จิตสงบดี มันก็ใช้ได้ ครั้นสาวเข้าไปให้ถึงอกุสสลาธัมเมานี้ ความหลง ความโลภ ความโกรธ มันเกิดขึ้นละก็ มันเกิดกิเลส ก็ตัวนั้นแหละตัวหลง ตัวโลภ ตัวโกรธนั่นแหละ ตัวราคะ ตัดกิเลสตัณหา ความเจ็บความไข้ เป็นเหง้าเป็นโคนแห่งกิเลสทั้งหลาย กิเลสทั้งห้า ตัณหานับได้ เป็นอยู่ที่เจตนา ตัณหานี้ ความพอใจมันก็เป็นกิเลส ความหลง ความโลภนี่แหละมันเกิดขึ้น ระงับความหลง ความโลภ ความโกรธ ราคะกิเลสนี้ตัดออกหมดแล้ว ดับหมดแล้ว ความหลงความโลภนี้ เราก็รู้แจ้งได้นี่นา วิญญาภิสังขาร อวิญญาภิสังขาร ส่วนอันเป็นกุศล อกุสสลธัมมานี้ เราละได้ วางได้นี่นา ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร แต่งให้เป็นบุญ เป็นกุศล แต่งให้เป็นทานไปได้นี่ อกุสลาธัมมา นี่มันแต่งมาให้โลภ ให้โกรธ ให้หลง แต่งมาให้ราคะ ให้กิเลสบัง! เกิดขึ้นแก่จิตใจของเรา เมื่อมาละมันให้หมดได้ มันก็เป็นธัมโม ครั้นละไม่ได้มันก็เป็นธรรมเมา

    อกุสสลาธัมเมานี่เมาโลภ เมาหลง เมาโกรธไปทุกแห่งทุกหนนั่นแหละ เป็นเจ้าเป็นนายของกิเลสทั้งหลาย กิเลสตัณหา ภยายโอฆะ กามโอฆะก็อันนี้ ภวโอฆะ ทิฐิโอฆะ ก็อันเดียวกันนี้แหละ อวิชชาโอฆะ ดับหมู่นี้ได้หมด ก็เออสบายอกสบายใจ บริกรรมพุทโธไว้ให้สงบเป็นอารมณ์เดียว ทำให้เคยละก็ไม่ได้เชียวละ มันกลายเป็นธรรมเมา มันเคยเมา มันเมาคิด อดีตนั่นแหละมันคิดขึ้น ปรุงขึ้น แต่งขึ้นในเรื่องของสังขาร ความเกิด ความดับ โทษ ทุกข์ ภัย อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เรื่องของสังขาร เข้ากับสภาพแล้วละก็ เออ เป็นธรรมเมาละคราวนั้น ให้พิจารณากายนี้ให้มากยิ่ง ๆ ในขันธ์สมมติ เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม ธาตุทั้งสี่ที่ยึดอยู่นี้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้เป็นนามธรรม นามธรรมเกิดขึ้นแล้วมันลืมตัวนะ มันไม่รู้หรอก สังขารน่ะ นามธรรมอันนี้มันปรุงทีแรก ปรุงทั้งบาป ปรุงทั้งบุญ ปรุงทั้งผิดทั้งถูก ทั้งดี ทั้งชั่ว ถ้าไปหลงตามก็เป็นธรรมเมาละ ครั้นไม่หลงก็เป็นธัมโม

    เมื่อ ละความโกรธ ความหลงสิ้นไปหมดแล้ว อันนี้ก็เป็นธัมโมอยู่เป็นนิจ ส่วนพิจารณา สังขาร นาม รูปนั้นคงแค่เป็นเหตุที่ว่ากุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา พยากตาธัมมา อพยากตาธัมมา
    กุสลาธัมมา กุศลธรรม อกุสลาธัมมา อกุศลธรรม นี้ เราแต่งเอาได้ แต่งให้เป็นบุญ แต่งให้เป็นบาป แต่งไม่ให้โลภ แต่งไม่ให้หลง แต่งไม่ให้โกรธ แต่งไม่ให้ราคะกิเลสบังเกิดขึ้น ใช้ได้ ครั้นแต่งไม่ได้ ก็ตกอยู่ใต้อำนาจของความหลงความโลภละก็ ใช้ไม่ได้ละ เขาแต่งเราหนา ครั้นในแต่งเราละก็ เราเดือดร้อนหนา ความหลง ความโลภ ความโกรธ นี่เราแต่งได้ ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร ปุญญาภิสังขารเราแต่งให้เป็นบุญกุศลได้ อปุญญาภิสังขารเราแต่งบาปให้เกิดแก่จิตใจของเราได้ มันก็จะเป็นธรรมเมาอยู่เป็นนิจละ เข้าใจแล้วนะ
    ทำเรื่อย ๆ สมควรแล้วละ เอาหนักเกินไปเป็นธรรมเมานะ ธรรมเมานี่ลำบากหนา มันเอาเรื่องมาแต่ดึกดำบรรพ์โน่น เวลามันตั้งขึ้นมันเกิดมาแต่ไหนไม่รู้มัน ธรรมเมานี่มันสำคัญ พอเผลอขึ้นมาแล้ว มันเมาคิดเมา นึกไปเสียแล้ว เอาละ สมควร
    อย่าเอามากมายเลย เอาทีละน้อย ให้มันรวมเข้า รวมเข้าเถอะ รวมเข้าแล้วเป็นเอกัคคตาได้เป็นดีนะ ชาวกรุงเทพฯ เขามาบ่อยนี่นา
     
  2. naruphol

    naruphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +1,075
    ***อย่าทิ่มแทงกันด้วยหอกด้วยดาบ

    เมื่อ ออกพรรษาแล้ว หลวงปู่มั่น พระอาจารย์ใหญ่ พร้อมด้วยพระอาจารย์ พร สุมโน ได้ตาม มาสมทบหลวงปู่แหวน หลวงปู่ขาว ที่ป่าเมี่ยงขุนปั๋ง ที่หลวงปู่ทั้งสององค์พักจำพรรษาอยู่
    ต่อมา หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี กับพระอาจารย์อ่อนสี สุเมโธ ก็ตามขึ้นไปสมทบอีก
    เมื่อ เห็นว่า มีพระไปอยู่ด้วยกันหลายรูป เกรงว่าจะเป็นภาระหนักแก่ชาวบ้าน หลวงปู่มั่น จึงให้หาทางแยกย้ายกันออกไปวิเวกบริเวณที่ไม่ไกลกันนัก
    จะมารวมกันเฉพาะวันอุโบสถ เพื่อฟังสวดปาฏิโมกข์แล้วรับการอบรมจากพระอาจารย์ใหญ่ เสร็จแล้วก็แยกย้ายกันกลับไปที่อยู่ของแต่ละองค์
    เมื่อ จะใกล้จะเข้าพรรษาต่อไป หลวงปู่แหวน กับ หลวงปู่ขาว ได้กราบเรียนพระอาจารย์ใหญ่ ขอกลับออกมาจำพรรษาที่ดอยน้ำมัว หรือดอยนะโม หรือ ฮ่องนะโม (ชื่อสถานที่เดียวกัน) และเมื่อพระอาจารย์พร สุมโน ทราบเรื่องก็ขอตามไปจำพรรษาด้วย รวมเป็น ๓ องค์
    เมื่อเข้าไปกราบลา หลวงปู่มั่นได้พูดเตือนสติศิษย์ทั้งสามว่า " เออ ไปแล้วอย่าไปทิ่มแทงกัน ด้วยหอกด้วยดาบนะ"
    หลวง ปู่ทั้งสามไม่ค่อยเข้าใจความหมายของคำเตือนนั้น และได้กราบลาเดินทางมา ดอยน้ำมัว บ้านทุ่งบวกข้าว ซึ่งเป็นเทือกเขาเดียวกันกับ ดอยแม่ปั๋ง อยู่ไม่ห่างกันนัก อยู่ทางตะวันออก ไปมาหากันได้สบาย ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒๐ นาที เท่านั้น
    ส่วน พระอาจารย์ใหญ่มั่น กับลูกศิษย์องค์อื่นๆ คงอยู่จำพรรษาที่ป่าเมี่ยงขุนปั๋งนั้น โดยมี พระอาจารย์ใหญ่พักอยู่ใกล้ถ้ำฤาษี ซึ่งชาวบ้านได้สร้างกุฏิชั่วคราวถวาย

    เกิดเหตุขัดเคืองใจกัน

    การ อยู่จำพรรษาที่ดอยนะโม (น้ำมัว) ของหลวงปู่แหวน หลวงปู่ขาว และหลวงปู่พร สุมโน เป็นไปด้วยความเรียบร้อย การภาวนาไม่มีอุปสรรค จิตก้าวหน้าดี เกิดอุบายธรรมแปลกๆ หลาย อย่าง
    มีเหตุการณ์ อยู่วันหนึ่ง ขณะที่หลวงปู่แหวน กำลังเดินจงกรมอยู่ หลวงปู่ขาว เดินถือไม้กวาดตรงเข้าไปหา เมื่อถึงทางเดินจงกรม หลวงปู่ขาวก็ลงมือกวาดเรื่อยไปตามทางจงกรม กวาดไปจนถึงที่หลวงปู่แหวนเดินอยู่ ก็ยังกวาดไปกวาดมา อยู่ที่เท้าของหลวงปู่แหวนนั่นเอง เสร็จแล้วหลวงปู่ขาวก็เดินออกไปโดยไม่พูดไม่จา
    ครั้ง แรก หลวงปู่แหวน นึกขัดเคืองใจอยู่เหมือนกัน ที่ถูกรบกวน ท่านได้คิดทบทวนดูว่า หลวงปู่ขาวทำเช่นนั้นเพราะเหตุใด จึงนึกได้ว่า เมื่อสักครู่ที่ผ่านมา ขณะที่หลวงปู่ขาวนั่งสมาธิอยู่ ท่านใช้ไม้กวาด กวาดบริเวณ คงส่งเสียงดังรบกวนการนั่งสมาธิของหลวงปู่ขาว ด้วยเหตุนี้ หลวงปู่ขาว จึงได้มาเตือน ความขัดเคืองใจก็หายไป ทำให้ท่านระมัดระวังยิ่งขึ้น
    เหตุการณ์ครั้ง ที่สอง เมื่อออกพรรษาแล้ว มีโยมนำผ้ามาถวายเพื่อให้ตัดเย็บเป็นจีวร เมื่อลงมือเท่านั้น หลวงปู่ทั้งสามองค์ เกิดความเห็นไม่ตรงกัน องค์หนึ่งเห็นว่าควรตัดขนาดเท่านั้น อีกองค์ว่าเท่านี้ จึงจะพอดี ก็เกิดการโต้แย้งกันขึ้น กลายเป็นการโต้เถียง เพื่อเอาแพ้ชนะกัน
    แม้ไม่มีเหตุรุนแรง แต่ก็หงุดหงิดใจต่อกันพอสมควร

    โดนหลวงปู่มั่นเทศน์อย่างหนัก

    หลังออกพรรษานั้นเอง แคว่น (กำนัน) มี ขึ้นมาหาที่ดอยนะโม กราบเรียนว่าเขาจะไปทำธุระที่บ้าน ป่าเมี่ยงขุนปั๋ง
    หลวงปู่แหวน กับหลวงปู่ขาว จึงบอกว่า ขากลับให้นิมนต์และรับ
     
  3. naruphol

    naruphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +1,075
    ***มรณานุสสติ


    ความ เกิดมีแล้ว ความแก่ ความตายมันก็มีอยู่ ไม่มีใครพ้นตาย เกิดก็เกิดเต็มแผ่นดิน ตายก็ตายเต็มแผ่นดิน อยู่เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดอยู่นี้แหละ ความตายเต็มแผ่นดินอยู่ เป็นเป็ด ไก่ หมู หมา เขาก็ตาย มนุษย์ชายหญิงก็ตาย ใครล่ะ เกิดมาแล้วไม่ตาย


    ถ้า เกิดมาขวางโลกเขา เกิดมาแล้วไม่ตาย ไม่เฒ่า ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ขวางบ้าน ขวางแผ่นดิน ขวางโลก เขาอยู่ได้อย่างไร ให้ภาวนา มรณานุสสติอยู่อย่างนี้แหละ


    เป็น เป็ดเป็นไก่มันก็ตาย เป็น วัว ควาย ช้าง ม้า หมู หมา เขาก็ตาย คนแก่ก็ตาย คนหนุ่มก็ตาย ถ้ากลัวตายมีใครพ้นตายไหม ทุกคนทุกสิ่งสรุปลงสู่ความตายทั้งหมด


    เป็ด ไก่ วัว ควาย หมู ปลา ถ้ามันไม่ตายเอง เขาก็ฆ่าเอาให้มันตาย อยู่ในสภาพไหนล่ะมันจะพ้นจากความตาย ถึงจะมีอายุผ่านพ้นไปร้อยปีพันปี มันก็ต้องตายอยู่นั่นแหละ สัจจธรรมข้อนี้ใครๆ ก็พ้นไปไม่ได้ นั่งอยู่ก็ตาย นอนอยู่ก็ตาย กินอยู่ก็ตาย ไม่กินก็ตาย เจ็บป่วยอยู่ก็ตาย ไม่เจ็บไม่ป่วยมันก็ตาย ความตายมันมีอยู่ทุกฐานะทุกสถานที่


    ความ เกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันครอบงำเราอยู่ทุกเมื่อ พิจารณาให้รู้แจ้งเห็นจริงเสีย แม้อบายโลก เขาก็ฆ่ากันกินกันอยู่ ความตายจึงไม่มีที่จะหลีกเร้นซ่อนหนี


    ที่ พึ่งอย่างอื่นไม่มีนอกจาก พุทฺธํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ สงฆํ ชีวิตํ ยาว นิพฺพานํ สรณํ คจฺฉามิ ที่พึ่งอย่างอื่นของข้าพเจ้าไม่มี นอกจากพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เราต้องหาที่พึ่งอันประเสริฐไว้เสียแต่บัดนี้ แต่ยังมีชีวิตอยู่อย่างนี้ ยังแข็งแรงอยู่อย่างนี้ ถ้าร่างกาย จิตใจมันไม่อำนวยแล้วจะไปคิดถึงอะไรจะไปยึดไปถือเอาอะไรเป็นที่พึ่งมันยาก


    ศีล เราก็ต้องรักษาให้มันดี ศีลก็คือการนำความผิดความชั่วออกจากกายจากวาจาของเรานี้แหละ ธรรมทั่วทั้งสิ้นแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ พระพุทธเจ้าพระองค์ชี้ลงสู่กายสู่ใจของเรา พระองค์ทรงบัญญัติพระวินัย ก็ทรงบัญญัติเพื่อให้รักษาไตรทวาร พระอุปัชฌายอาจารย์ท่านสอนมูลกัมมัฏฐาน เกสา โลมา นขา ทันตา ตะโจ ท่านก็สอนย้ำลงในสิ่งของที่มีอยู่ในตัวของเรา


    ปัญจก กัมมัฏฐาน ๕ นี้แหละเป็นที่ตั้งของกรรม กรรมมันหมุนอยู่นี้แหละ ในไตรทวารนี้แหละ ความรัก ความโลภ ความโกรธอันใด มันหมุนอยู่ในฐานอันนี้แหละ กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา กุศลนำสัตว์ให้ไปเกิดในทางเจริญ อกุศล นำสัตว์ไปสู่อบายภูมิ มีเปรต นรก สัตว์เดียรัจฉานก็ดี มันหมุนอยู่ในไตรโลกอันนี้ ตกอยู่ในกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้ เกิดแก่ เจ็บ ตาย ของจริงมันมีอยู่ประจำอยู่อย่างนี้ มันหมุนเป็นกงจักรบดสัตว์โลกทั้งหลาย อยู่ประจำอิริยาบถ เจ็บแข้ง เจ็บขา ปวดหลัง ปวดเอว เจ็บไข้ได้ป่วย เป็น อนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา มันแสดงให้เราดูอยู่อย่างนี้ เว้นแต่เรามองไม่เห็นมันเท่านั้น


    ส่วน มากจะตกอยู่ใต้อำนาจของสังขาร มันปรุงมันแต่งเป็นอดีตอนาคตไป ส่วนปัจจุบันสัจจธรรมที่เขาแสดงตัวให้ปรากฏอยู่ มันไม่ใคร่เอามานึกมาคิด ไม่เคยน้อมเข้าหากายหาใจของเรา มันคอยแต่จะเป็น ธรรมเมาไป.
    __________________
     
  4. naruphol

    naruphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +1,075
    ***บันทึกพระกรรมฐาน ตามแนวทางพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ฉบับที่ ๖


    เรื่องแนวทางการพิจารณากรรมฐาน
    พระอาจารย์มั่น สอน หลวงปู่แหวน
    ------------------



    ในพรรษาปีนั้นได้จำพรรษาร่วมกับหลวงปู่มั่นและตาผ้าขาวอีกคนหนึ่ง การปรารภความเพียรใน
    พรรษานั้นเป็นไปอย่างเต็มที่ เพราะมีหลวงปู่มั่นคอยควบคุมแนะนำ อุบายจิตภาวนา การแนะนำ
    ให้ศิษย์ปฏิบัติภาวนานั้นหลวงปู่มั่นท่านย้ำอยู่เสมอว่า

    จะใช้บทพุทโธเป็นบทบริกรรมสำหรับผูกจิตก็ได้ เมื่อจิตสงบลงเป็นสมาธิแล้วให้วางบทบริกรรม
    เสีย แล้วพิจารณาร่างกายครั้งแรกให้พิจารณาเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งที่เราสามารถที่จะเพ่งพิจารณาได้
    อย่างสะดวกในอาการ ๓๒ เมื่อพิจารณาจนเกิดความชัดเจนกลับไปกลับมาหรือที่เรียกว่าอนุโลมปฏิโลม
    แล้ว เมื่อหายสงสัยในจุดที่พิจารณานั้นแล้วจึงค่อยเปลี่ยนเป็นจุดอื่นต่อไป อย่าพิจารณาเป็นวงกว้าง
    ทั้งร่างกาย เพราะปัญญายังไม่แก่กล้า ถ้าพิจารณาพร้อมกันทีเดียวทั้งร่างกายความชัดเจนจะไม่ปรากฏ
    ต้องค่อยเป็นค่อยไป เมื่อพิจารณาจนเกิดความชำนาญแล้ว ถ้าเราเพ่งปัญญาลงไปจุดใดจุดหนึ่ง ความชัด
    เจนจากจุดอื่น ๆ ก็จะปรากฏเป็นนัยเดียวกัน
    เมื่อพิจารณาพอสมควรแล้วให้น้อมจิตเข้าพักอยู่ในความ
    สงบ เมื่อพักอยู่ในความสงบพอสมควรแล้วให้ย้อนกลับออกมาพิจารณาร่างกายอีก ให้เจริญอยู่อย่าง
    นี้ จึงจะเจริญทางด้านปฏิบัติเมื่อจิตมีความชำนาญเพียงพอแล้วคำบริกรรมพุทโธก็ไม่จำเป็น เพียง
    กำหนดจิตก็จะสงบเข้าสู่สมาธิได้ทันที
    ผู้ปฏิบัติจิตภาวนาถ้าส่งจิตออกไปภายนอกจากร่างกายแล้วเป็นอันผิดทางมรรคภาวนา เพราะบรรดาพระธรรม
    คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ได้ทรงสั่งสอนประกาศพระศาสนาอยู่ตลอดพระชนม์ชีพของ
    พระองค์นั้น แนวการปฏิบัติไม่พ้นไปจากกาย กายจึงเป็นสนามรบ กายจึงเป็นยุทธภูมิ ที่ปัญญาจะต้อง
    ค้นเพื่อทำลายกิเลสและกองทุกข์ซึ่งจิตของเราทำเป็นธนาคารเก็บสะสมไว้ภายใน หอบไว้ หาบไว้ หาม
    ไว้ หวังไว้จนนับภพนับญาติไม่ได้ สัตว์ทั้งหลายไม่ว่าชนิดใดในสังสารวัฏนี้ ล้วนแต่ติดอยู่กับกายนี้
    ทั้งสิ้น ทำบุญทำบาปก็เพราะกายอันนี้ มีความรักมีความชัง มีความหวง มีความแหนก็เพราะกายอัน
    นี้ เราสร้างทรัพย์สมบัติขึ้นมาก็เพราะกายอันนี้ เราประพฤติศีลประพฤติธรรมก็เพราะกายอันนี้ เรา
    ประพฤติผิดศีลเราประพฤติผิดธรรมก็เพราะกายอันนี้
    ในพระพุทธศาสนาพระอุปัชฌาย์ก่อนที่จะให้
    ผ้ากาสายะแก่กุลบุตรผู้เข้ามาขอบรรพชาอุปสมบทก็สอนให้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ซึ่งเป็นส่วน
    หนึ่งของร่างกาย เป็นส่วนที่เห็นได้โดยง่าย เพราะเหตุนั้น กายนี้จึงเป็นทั้งเหตุและเป็นทั้งผล มรรคผล
    จะเกิดขึ้นก็ต้องเกิดขึ้นจากกายนี้แหละ กายนี้เป็นเหตุ กายนี้เป็นผล เอากายนี้แหละเป็นมรรคเครื่อง
    ดำเนินของจิต เหมือนกับแพทย์ทั้งหลายจะรักษาเยียวยาคนป่วยได้ ต้องเรียนร่างกายนี้ให้เข้าใจถึง
    กลไกทุกส่วน จึงจะสามารถรักษาคนไข้ได้ ไม่ว่าทั้งอดีตอนาคตและปัจจุบัน วงการแพทย์จะทิ้งร่าง
    กายไปไม่ได้ ถ้าวิชาแพทย์ทั้งการศึกษาระบบกลไกของร่างกายเสียแล้ว ก็เป็นอันศึกษาผิดวิชาการแพทย์
    ทางสรีรวิทยา นักปฏิบัติธรรมถ้าละทิ้งการพิจารณาร่างกายเสียแล้วจะเอาอะไรมาเป็นเครื่องดำเนิน
    มรรคปัญญา ร่างกายที่ประกอบขึ้นด้วยส่วนที่เป็นรูปและส่วนที่เป็นนาม ถ้าผู้ปฏิบัติไม่พิจารณาให้
    เห็นแจ้งด้วยปัญญาอันชอบแล้ว คำว่านิพพิทา วิราคะนั้น จะไปเบื่อหน่ายคลายกำหนัดอะไร นิโรธซึ่ง
    เป็นตัวปัญญาจะไปดับทุกข์ที่ไหน เพราะเราไม่เห็นทุกข์ที่เกิดของทุกข์ ที่ดับของทุกข์ไม่รู้ ไม่เห็น พระพุทธเจ้า
    จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ พระองค์ต้องพิจารณากายนี้เป็นเครื่องดำเนินมรรคปัญญา เพราะในอุทาน
    ธรรมบทว่า อเนกชาติสํสารํ เป็นต้นนั้น พระองค์ได้ประจักษ์อย่างแน่นอนว่า การเกิดนั้นเป็นทุกข์
    อยู่ร่ำไป พระองค์หักกงกรรมคืออวิชชาเสีย ความเกิดของพระองค์จึงไม่มีต่อไป กงกรรมคืออวิชชา
    มันอยู่ที่ไหน ถ้ามันไม่อยู่ในจิตของเรา จิตของเรามันอยู่ที่ไหน จิตมันก็คือหนึ่งในห้าของปัญจขันธ์อัน
    เป็นส่วนหนึ่งของนามนั่นเอง ผู้ปฏิบัติต้องใคร่ครวญพิจารณาอย่างนี้จึงจะได้ชื่อว่าดำเนินตามมรรคภาวนา
    ไม่มีอารมณ์อย่างอื่นนอกจากกายนี้ที่จะดำเนินมรรคภาวนาให้เกิดปัญญาขึ้นได้

    หลวงปู่มั่นนั้นเวลาแนะนำสั่งสอนศิษย์ท่านไม่ค่อยอธิบายธรรมะให้พิสดารมากนัก โดยท่านให้
    เหตุผลว่า ถ้าอธิบายไปมากผู้ปฏิบัติมักไปติดคำพูดกลายเป็นสัญญา ต้องปฏิบัติให้รู้ให้เกิดแก่จิตแก่ใจ
    ของตนเอง จึงจะรู้ได้ว่า คำว่าทุกข์นั้นเป็นอย่างไรคำว่าสุขนั้นเป็นอย่างไร คำว่าพุทธะ ธรรมะ สังฆะนั้นมีความหมายเป็นอย่างไร สมาธิอย่างหยาบเป็นอย่างไร สมาธิอย่างละเอียดเป็นอย่างไร ปัญญาที่
    เกิดจากปัญญาเป็นอย่างไร ปัญญาเกิดจากภาวนาเป็นอย่างไร เหล่านี้ผู้ปฏิบัติต้องทำให้เกิดให้มีขึ้น
    ในตนของตนจึงจะรู้ ถ้ามัวถือเอาแต่คำอธิบายของครูอาจารย์แล้วจิตก็จะติดอยู่ในสัญญาไม่ก้าวหน้า
    ในการภาวนา เพราะเหตุนั้นจึงไม่อธิบายให้พิศดารมากมาย แนะนำให้รู้ทางแล้วต้องทำเอง เมื่อเกิดความ
    ขัดข้องจึงมารับคำแนะนำอีกครั้งหนึ่ง การปฏิบัติเช่นนี้เป็นผลดีแก่ศิษย์ผู้มุ่งปฏิวัติเพื่ออรรถเพื่อธรรม
    อย่าง แท้จริง

    ดังนั้นการบำเพ็ญสมาธิภาวนาในพรรษานั้นจึงได้เร่งความเพียรอย่างสม่ำเสมอทำให้ได้รับความเยือก
    เย็นทางด้านจิตใจมากเป็นพิเศษ ทั้งนี้เพราะความเพียรเป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีหลวงปู่มั่นเป็นตัวอย่างใน
    การทำความเพียร โดยปกติองค์ท่านจะทำความเพียรประจำอิริยาบถ ไม่ว่าท่านจะอยู่ในอิริยาบถ
    ใด ๆ ต้องอยู่ด้วยภาวนาทั้งสิ้น เรื่องนี้ท่านย้ำเตือนเสมอไม่ให้ศิษย์ประมาทละความเพียร เราอยู่ร่วม
    กับท่านต้องเอาองค์ท่านเป็นตัวอย่าง ถึงแม้จะทำไม่ได้อย่างท่านแต่ก็เป็นศิษย์ที่มีครู มีแบบแผน มีแบบ
    อย่าง มีตัวอย่างเป็นทางดำเนิน
    ---------------------------------
     
  5. naruphol

    naruphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +1,075
    ***ยืนยันว่า เป็นพระอรหันต์


    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เล่าเรื่องราวตอนที่พาคณะศิษย์ไปกราบหลวงปุ่แหวน ที่วัดดอยแม่ปั๋ง ซึ่งขณะนั้น หลวงปู่แหวน ท่า่นชราภาพ เกินวัย ๙๐ แล้ว และท่านกำลังเป็นไข้หวัดอยุ่

    เรื่องราวมีดังนี้

    " หลวงปุ่เป็นไข้หวัด ไขัมันกินตัว หรือกินใจ ? "

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ กราบนมัสการถามเบาๆ ขนาดคนห่างออกไปสองเมตรไม่มีทางได้ยิน

    แต่หลวงปุ่แหวน ได้ยินชัดเจน ทั้งๆที่คนทั้งหลายยืนยันว่า หลวงปุ่แหวนหูตึง ประสาทหู ดับมานานแล้ว แต่ใจของท่านไม่ดับ จึงได้ยินด้วยใจ
    " กินแต่ตัว มันเป็นกรรม " หลวงปุ่แหวน ตอบเบาๆ เช่นกัน พอได้ยินสองคนเท่านั้น

    " หลวงปู่ทำกำไว้มาก หรือครับ ? " หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ถามเป็นนัย

    " กำไว้นิดหน่อย " หลวงปู่แหวนตอบเป็นนัยเช่นเดียวกัน ซึ่งมีความหมายว่า หลวงปู่แหวน มีเศษกรรมเหลืออยู่เล็กน้อย

    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เปิดเผยกับสานุศิษย์ ทั้งหลายในภายหลังว่า หลวงปุ่แหวน มุ่งเอาพุทธภูมิ คืออธิษฐานจิตปราถนาเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต

    แต่เมื่อครั้นหลวงปุ่ตื้อ นิพพานไปได้ ๑๔ วัน พระวิญญาณหลวงปุ่ตื้อ ก็มาเยี่ยมแล้วว่า " หลวงปุ่แหวนจะไปพุทธภูมิ ทำไม ให้เสียเวลา ไปนิพพานเถอะน่า "หลวงปุ่แหวน ก็เลยลาพุทธภูมิ และสำเร็จกิจพระศาสนา แล้วเป็นพระอรหันต์แล้ว ยังรอแต่จะถึงวาระทิ้งสังขาร จากโลกเข้าสู่ พระนิพพานเ่ท่านั้น
     
  6. naruphol

    naruphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +1,075
    ***บุพเพสันนิวาสอันเหลือเชื่อของหลวงปู่แหวน


    ...หลวงปู่ว้าวุ่นใจเป็นอย่างยิ่ง จิตที่เคยควบคุมบังคับให้สงบนิ่งได้ก็เกิดปรวนแปรไป ความคิดคำนึงคอยแต่จะโลดแล่นซัดส่ายไปหาหญิงงามอย่างเดียว ทำให้หลวงปู่แหวนเกิดความหวาดกลัวตัวเองเป็นอย่างยิ่ง ขืนอยู่ต่อไปอาจจะพ่ายแพ้ต่อกิเลสเมื่อไหร่ก็ได้

    ดังนั้น

    หลวงปู่แหวนจึงตัดสินใจเก็บบริขารทั้งหลายเดินทางกลับประเทศไทยอย่างฉับพลัน ทันที เมื่อข้ามแม่น้ำโขงสู่ผืนแผ่นดินมาตุภูมิแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นไปทางอำเภอศรี เชียงใหม่ ระหว่างเดินทางหนี "มาตุคาม" ซึ่งเป็นเนื้อคู่บุพเพสันนิวาสมาแต่ชาติปางก่อน จิตใจของหลวงปู่ยังโลดแล่นไปหาสาวงามเกือบตลอดเวลา เป็นความรู้สึกที่ฟุ้งซ่านที่รุนแรงร้ายกาจสุดพรรณนาทีเดียว
    หลวงปู่แหวนเดินทางมาถึงพระบาทเนินกุ่ม หินหมากเป้ง จึงหยุดยั้งอบรมตนอยู่ ณ ที่นี้ และก็เป็นวาสนาของหลวงปู่ที่ได้พบกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งท่านได้ปลีกตัวออกจากหมู่คณะมาบำเพ็ญภาวนาอยู่ในบริเวณนั้นพอดี
    หลวงปู่แหวนมีปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พบกับท่านอาจารย์ใหญ่

    การได้มาพักอบรมตนอยู่ใกล้กับท่านพระอาจารย์มั่นก่อนเข้าพรรษาปีนั้น ทำให้หลวงปู่แหวนระงับความฟุ้งซ่านลงได้ไม่น้อย แม้กระนั้นภาพของหญิงงามก็ยังปรากฏเป็นครั้งคราว ทำให้ดวงจิตหวั่นไหวอยู่เสมอ แต่เมื่อเร่งภาวนายิ่งขึ้นภาพนั้นก็สงบระงับไป หากพลั้งเผลอเมื่อใดภาพสาวงามก็จะผุดขึ้นมาอีก
    หลังจากเข้าพรรษาแล้ว หลวงปู่แหวนได้ตั้งใจปรารภความเพียรอย่างหนัก การเร่งความเพียรอย่างเต็มที่ทำให้จิตสงบอย่างรวดเร็ว ทรงตัวสู่ฐานสมาธิได้ง่าย ไม่วุ่นวายฟุ้งซ่านอีก คล้ายกับจิตมันยอมสยบราบคาบแล้ว และเกิดอุบายทางปัญญาพอสมควร

    แต่หลวงปู่หารู้ไม่ว่า ยิ่งเร่งความเพียรเอาจริงเอาจังหนักขึ้นเท่าใด กิเลสที่แสร้งสงบนิ่งก็เริ่มต่อต้านเอาจริงเอาจังมากขึ้นเท่านั้น คราวนี้แทนที่จะควบคุมจิตให้ดำเนินไปตามทางที่ต้องการ มันกลับเตลิดโลดแล่นไปหาสาวงามที่บ้านนาสอง ริมฝั่งแม่น้ำงึมอีก และครั้งนี้พลังของกิเลสดูจะรุนแรงยิ่งกว่าเดิม

    หลวงปู่แหวนพยายามหาอุบายธรรมต่างๆ มาปราบเจ้าตัวกิเลสที่ฟูขึ้นมา แต่ไม่สำเร็จ หลวงปู่เล่าว่า

    "ยิ่งเร่งความเพียร ดูเหมือนเอาเชื้อไปใส่ไฟ ยิ่งกำเริบหนักเข้าไปอีก เผลอไม่ได้เป็นต้องไปหาหญิงนั้นทันที บางครั้งมันหนีออกไปซึ่งๆ หน้า คือขณะที่คิดอุบายการพิจาณาอยู่นั้นเอง (จิต) มันก็วิ่งออกไปหาหญิงนั้นซึ่งๆ หน้ากันเลยทีเดียว" โอ... "มาตุคาม" นี้อันตรายนัก และหากเป็นบุพกรรมอันผูกพันร้อยรัดอยู่ด้วยบุพเพสันนิวาสเข้าไปอีก การเอาชนะเพื่อยุติกรรมยิ่งลำบากยากเข็ญเป็นที่สุด"

    หลวงปู่แหวน ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อพลังกิเลสกองนี้โดยเด็ดขาด อุบายการปฏิบัติธรรมทุกอย่างถูกนำมาใช้เพื่อต่อสู้กับกิเลสมารสุดชีวิต เช่น เว้นการนอนเสีย มีเฉพาะอิริยาบถนั่ง เดิน ยืน เท่านั้น หลวงปู่แหวนทรมานจิตมันอยู่หลายวันหลายคืน พร้อมกันนั้นก็พิจารณาดูว่าจิตยอมอยู่ใต้บังคับหรือไม่ มันคลายความรักต่อหญิงงามคนนั้นหรือไม่

    ทำถึงอย่างนี้แล้วกลับไม่ได้ผล เพราะเผลอเมื่อไหร่ จิตมันจะโลดทะยานไปหาหญิงนั้นอีก

    เอาใหม่...เมื่อจิตมันยังรัดรึงอยู่กับ "มาตุคาม" ไม่ยอมปล่อย ยอมคลาย หลวงปู่จึงตัดอิริยาบถนั่งกับนอนทิ้งไป เหลือยืนกับเดินจงกรม กระทำความเพียรเช่นนี้ทั้งวันทั้งคืน

    แต่จิตมันก็ยังแส่ส่ายไปหาหญิงงามไม่ยอมหยุด ยิ่งทรมานมันมากเท่าไหร่ ดูเหมือนว่ามันจะดื้อรั้นโต้ตอบมากเท่านั้น

    คราวนี้เปลี่ยนวิธีใหม่อีก... ไม่ฉันอาหารมันล่ะ เหลือแต่น้ำอย่างเดียว ถ้าจิตมันยังดื้อถือดี ยังทะยานเข้าหากองกิเลสไม่ยอมเลิกรา หลวงปู่ตั้งเจตนาว่า ตายเป็นตาย ให้มันรู้ไปว่าจิตได้พ่ายแพ้แก่อำนาจกิเลสอย่างราบคาบแล้ว
    หลวงปู่แหวนเพ่งพิจารณาหาอุบายกำราบจิตใหม่โดยการเพ่งเอาร่างกายของหญิงงาม นั้นยกขึ้นมาแล้วพิจารณากายคตาสติ แยกอาการ ๓๒ นั้นทีละส่วน โดยอนุโลม ปฏิโลมเทียบเข้าหากายของตน พิจารณาละเอียดให้เห็นตามความเป็นจริงว่า อวัยวะแต่ละส่วนของหญิงนั้นก็มีเหมือนกันทุกอย่าง จะผิดแผกแตกต่างกันก็ด้วยลักษณะแห่งเพศเท่านั้น

    หลวงปู่ทรงสมาธิแล้วพิจารณาอยู่เช่นนั้นกลับไปกลับมา ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญาพิจารณา กายคตาสติ ไปจนถึงหนังถ้าถลกหนังที่ห่อหุ้มเนื้อออกจนหมด ความจริงก็ปรากฏทันที นั่นคือเนื้อกายซึ่งปราศจากผิวหนังห่อหุ้มอยู่ย่อมีสภาพที่ไม่น่าดู หรือ ดูไม่ได้เอาเสียเลย เพราะเหลือแต่เนื้อแดง ๆ เยิ้มด้วยน้ำเหลือง มีเส้นเลือดผุดพราวไปทั่ว "ตัวรู้" ก็บอกว่าหากหญิงงามไม่มีหนังหุ้ม เหลือแต่เนื้อแดง ๆ ใครเล่าจะพิศวาสได้ลงคอ

    อ้อ... คนเรามา "หลง" อยู่ตรง "หนัง" นี่เอง

    ปัญญาเพ่งพินิจต่อไปอีกจนเห็นความเน่าเปื่อยแล้วก็สลายกาย เป็นกองเนื้อเน่า ๆ และกองกระดูกเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรตั้งอยู่ทรงสภาพเดิมไว้ได้อีก ไม่มีส่วนไหนจะคงอยู่ได้เลย

    ปัญญาเพ่งต่อไปถึง มูตร (ปัสสาวะ) และ กรีษ (อุจจาระ) ของหญิงงาม ปัญญาก็ตั้งคำถามอีกว่า ที่หญิงงาม น่ารัก น่าพิศวาสนั้น มูตรกับกรีษงามด้วยหรือเปล่า กินได้ไหม เอามาตระกองกอดได้ไหม "จิต" ตอบว่า "ไม่ได้"
    ปัญญาก็ตั้งคำถามอีกว่า เมื่อกินไม่ได้ เอามาตระกองกอดไม่ได้ แล้วอันไหนล่ะที่ว่างาม อันไหนที่ว่าดี

    จิตโดนปัญญาซักฟอกอย่างหนักเช่นนั้นก็ตอบไม่ได้ หาเหตุผลมาโต้แย้งไม่ได้ จิตมันก็อ่อนลงเพราะจนด้วยเหตุผลของปัญญา ก็ต้องยอมรับความเป็นจริง ยอมสารภาพผิดแต่โดยดี

    จิตซึ่งเคยโลดแล่นแส่ส่ายออกไปตามวิสัยความอยากของมันก็พลันถึงความสงบ ไม่กำเริบร้อนเร่าอีก

    หลวงปู่แหวนยังไม่วางใจจิตนัก ท่านจึงทดสอบโดยส่งจิตไปหาหญิงงามบ้านนาสอง ริมฝั่งแม่น้ำงึมหลายครั้ง แต่จิตก็ไม่ยอมโลดแล่นไปอีก จิตคงทรงอยู่ในความสงบเพราะได้เห็นความเป็นจริงของธรรมแล้ว

    การอดอาหาร และทำความเพียรอย่างยิ่งยวด เพื่อเอาชนะกิเลสมารของหลวงปู่แหวนครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ จิตของท่านรู้แจ้งเห็นจริงในภัยของมาตุคาม อย่างทะลุปรุโปร่งและสิ้นพยศตั้งแต่นั้น...ตลอดไป



    (ข้อมูลจากหนังสือ "อนุสรณ์หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ)
    คัดลอกบางส่วนจาก : มาตุคาม มหาภัยพรหมจรรย์
    นที ลานโพธิ : รวบรวม/เรียบเรียง
     
  7. naruphol

    naruphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +1,075
    ***รุกขเทพบนต้นไทรใหญ่


    หลวงปู่แหวนเล่าว่าในสมัยที่ท่านอาพาธอยู่ที่กุฏิโรงไฟนั้น บนต้นไทรใหญ่เหนือกุฏิ เป็นวิมานที่อยู่อาศัยของบรรดารุกขเทพ
    เมื่อหลวงปู่เข้าไปอยู่ในกุฏิหลังนั้น พวกรุกขเทพทั้งหลายต้องลงมาอยู่บนพื้นดิน ทำให้พวกเขาได้รับความลำบากกัน
    เมื่อหลวงปู่เห็นเช่นนั้น จึงได้บอกให้พวกเขาย้ายไปหาที่อยู่ใหม่ ในป่าลึกเข้าไปอีก พวกเขาก็ปฏิบัติตามโดยความเคารพ
    หลวงปู่เล่าว่า พวกเทพนั้นไม่ว่าจะเป็นเทพชั้นต่ำหรือชั้นสูง ความเคารพที่เขามีต่อพระนั้น เสมอกัน เขาจะไม่ยอมล่วงคารวธรรมเป็นอันขาด
    การเข้าการออกเวลามาเขาไป ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย ดูแล้วงามตาชื่นใจ
    ไม่เหมือนมนุษย์เรา ซึ่งแล้วแต่ความพอใจ อยากจะแสดงอย่างไรก็ทำไป ไม่คำนึงถึงความเหมาะสม ความควรไม่ควร
    การ แสดงออกของมนุษย์ไม่คำนึงว่าผู้อื่นจะได้รับความเสียหายอย่างไรหรือไม่ ขอให้ได้แสดง ออกตามความเห็น ตามความพอใจของตนนั้นแหละเป็นการดี
    บางครั้งการแสดงออกเช่นนั้นไม่ถูกกาลถูกเวลา แต่ก็แสดงออกมาจนได้ โดยไม่มีความ ละอายแก่ใจบ้างเลย
     
  8. naruphol

    naruphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +1,075
    ***พระธรรมเทศนาของ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

    เอา มรรคที่เกิดขึ้นจากกาย จากใจ น้อมเข้าหาตน น้อมเข้ามาในกาย น้อมเข้ามาในใจ ให้รู้แจ้งเห็นจริงในใจนี่แหละ อย่าไปยึดไปถือที่อื่น ให้แจ้งอยู่ในกายนี้ ให้แจ้งอยู่ในใจนี้ จะหลงจะเขวไปอย่างไรก็ตามพยายามดึงเข้ามาจุดนี้น้อมเข้ามาหากายนี้ น้อมเข้ามาหาใจนี้ เอาใจนี่แหละนำออก หลักมีเท่านี้แหละ...


    ถ้าออก จากกายใจแล้ว เขวไปแล้ว หลงไปแล้ว น้อมเข้ามาสู่กายสู่ใจแล้วก็ได้หลักใจดี ธรรมะก็คือการรักษากาย รักษาใจ น้อมเข้ามาหากาย น้อมเข้ามาหาใจนี่แหละ...
    ศีล ตั้งอยู่ในกายนี้แหละ ตั้งอยู่ในวาจานี้แหละ และตั้งอยู่ในใจนี่แหละ ให้น้อมเข้ามา จึงรู้และตั้งหลักได้ ถ้าออกไปจากนี้มักหลงไป...


    เอา อยู่ในกายในใจนี้ น้อมเข้ามาสู่อันนี้ นำหลงนำลืมออกไปเสีย เอาให้เป็นปัจจุบัน เอาจิตเอาใจนี้ละ วางถอดถอนออก ทางกายก็น้อมเข้ามาให้รู้แจ้งทางกาย น้อมเข้ามาหาใจของตนนี้ให้แจ่มแจ้ง ถ้าไปยึดถือเอาอย่างอื่น ก็เป็นเพียงสัญญา ความจำ น้อมเข้ามารู้แจ้งในใจของตนนี้ รู้แจ้งในกายของตนนี้ นอกจากนี้เป็นแต่เพียงอาการของธรรม...


    ยกขึ้น สู่จิต น้อมเข้ามาหาจิตหาใจนี้ ความโลภ ความหลง ความโกรธ กิเลส ตัณหา ก็เกิดขึ้นที่นี่แหละ ต้องน้อมเข้ามาสู่จุดนี้ ถ้าน้อมเข้าหาจุดอื่นเป็นแผนที่ปริยัติธรรม รู้กายรู้ใจแจ่มแจ้งแล้ว นอกนั้นเป็นแต่อาการ บางทีไปจับไปยึดสิ่งนั้นสิ่งนี้ก็ทำให้ลืมไป...


    ทำให้ แจ้งอยู่ในกาย แจ้งอยู่ในใจ มีสติสัมปชัญญะ สติสัมโพชฌงค์ สัมมาสติ ก็อันเดียวกันนี่แหละให้พิจารณาอยู่อย่างนี้ อาศัยความเพียร ความมั่น...


    คำว่า สติ รู้ในปัจจุบัน สัมปชัญญะ ก็รู้ในปัจจุบัน รู้ในตน รู้ในใจเรานี้แหละ รู้ในปัจจุบัน รู้ละความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ กิเลส ตัณหา เหล่านี้ละออกให้หมด ละออกจากใจ ละอยู่ตรงนี้แหละ สติ ถ้าได้กำลังใจแล้วก็สว่าง...


    ตั้งจิตตั้งใจกำหนดเบื้องต้น คือ การกำหนดจิตหรือกำหนดศีล ทำให้กายก็บริสุทธิ์ วาจาก็บริสุทธิ์ กำหนดนำความผิดออกจากกายจากใจของตน...


    เมื่อกายวาจาใจบริสุทธิ์ สมาธิก็บังเกิดขึ้น รู้แจ่มแจ้งไปหาจิตหาใจ กายนี้ก็รู้แจ้ง รู้แจ้งในกายในใจของตนนี้...


    สติปัฎ ฐานสี่ สติมีเพียงตัวเดียว นอกนั้นท่านจัดไปตามอาการ แต่ทั้งสี่มารวมอยู่จุดเดียว คือ เมื่อสติกำหนดรู้กายแล้ว นอกนั้น คือ เวทนา จิต ธรรม ก็รู้ไปด้วยกันเพราะมีอาการเป็นอย่างเดียวกัน...


    อาการ ทั้ง ๕ คือ อนิจจัง ทั้ง ๕ ทุกขัง ทั้ง ๕ อนัตตา ทั้ง ๕ เป็นสิ่งไม่ยั่งยืน เราเกิดมาอาศัยเขาชั่วอายุหนึ่ง อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ อนัตตาทั้ง ๕ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันก็สิ้นไปเสื่อมไป เราอาศัยเขาอยู่เพียงอายุหนึ่งเท่านั้น เมื่อรูปขันธ์แตกสลายมันก็หมดเรื่องกัน...


    การ ประพฤติปฏิบัติในปัจจุบันสมมติกันให้ได้ชั้นนั้นบ้างชั้นนี้บ้าง อันนั้นมันเป็นสมมติ แต่ธรรม เช่น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นสิ่งไม่เที่ยง ก็เป็นอยู่อย่างนั้น อนิจจังทั้ง ๕ ก็เป็นอยู่อย่างนั้น รูปัง อนิจจัง, เวทนา อนิจจา, สัญญา อนิจจา, สังขารา อนิจจา, วิญญาณัง อนิจจัง ก็เป็นอยู่อย่างนั้น เรามาอาศัยเขา สัญญาเราก็ไหลไปตามเวลา ดิน น้ำ ลม ไฟ สลายจากกันแล้วก็ยุติลง...


    ส่วน จิตเป็นผู้รู้ เมื่อละสมมติวางสมมติได้แล้ว ก็เย็นต่อไป กลายเป็นวิมุติความหลุดพ้นไป เพราะสมมติทั้งหลายวางได้แล้วก็เป็นวิมุตติ แต่ถ้าเอาเข้าจริง ๆ แล้วมักจะหลง ถ้าเราตั้งใจเอาจริง ๆ พวกกิเลสก็เอาจริง ๆ กับเราเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ต้องอาศัยความหมั่น ความเพียร ไม่ท้อถอย ถ้าละพวกกิเลสตัณหาได้แล้วก็เย็นสงบสบาย...
    ถ้าจิตปรุงแต่งเป็นอดีต-อนาคตไป เราก็ต้องเพ่งพิจารณา เพราะอดีตก็เป็นธรรมเมา อนาคตก็เป็นธรรมเมา จิตที่รู้ปัจจุบัน เป็นธรรมโม...


    อาการ ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจังให้ยืนอยู่ในปัจจุบันธรรม อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา ธรรมโม คือ เห็นอยู่ รู้อยู่ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ในปัจจุบัน ไม่ได้เป็นอดีต-อนาคต ดับทั้งอดีต-อนาคต แล้วเป็นปัจจุบัน คือ ธรรมโม...


    ให้จิต รู้อยู่ส่วนกลาง คือ สิ่งที่ล่วงไปแล้วเป็นอดีต ยังมาไม่ถึงเป็นอนาคต ไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง ส่วนทั้งสองอย่างนั้นให้เพ่งพินิจ คือเราอยู่ปัจจุบันธรรมจึงจะถูก เพราะปัจจุบันเป็นธรรมโม นอกจากนั้น อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา


    รู้ ปัจจุบันละปัจจุบันเป็นธรรมโม ถ้าไปยึดถืออดีต-อนาคตเท่ากับไปเก็บไปถือของปลอม ธรรมเหล่านี้เป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตนละเฉพาะตน วางเฉพาะตน หมุนเข้าหากายหาใจนี่แหละ ถ้ามัวเอาอดีต-อนาคตจะกลายเป็นแผนที่ไป...
    แผนที่ ปริยัติธรรมจำมาได้มากจึงไปยึดไปถืออย่างนั้นบ้าง สิ่งนี้บ้างทั้งอดีต-อนาคต ทำให้ยิ่งห่างจากการรู้กายรู้ใจของเรา ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็กลายเป็นเชื้อของกิเลสที่อยู่ในแผนที่ใบลานแต่ไม่เดือดร้อน ถ้าหากมาอยู่ในใจจะทำให้เดือดร้อน เพราะฉนั้นถ้าเกิดขึ้นในใจ ให้เอาใจละ เอาใจวาง เอาใจออก เอาใจถอน ปัจจุบันเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่จำปริยัติได้มาก พูดได้คล่อง เวลาเอาจริง ๆ ก็ไม่รู้จะจับอันไหนเป็นหลัก ปัจจุบันธรรมต้องรู้แจ้งเห็นแจ้งในกายใจของตน ต้องละวางถอดถอนในปัจจุบัน จึงจะใช้ได้...


    ความ โลภ ความโกรธ เกิดขึ้นในใจ น้อมเข้ามาแล้วละให้หมด ราคะ, กิเลส, ตัณหา, หากเกิดขึ้นมาต้องละเสีย เรื่องของสังขารก็ปรุงแต่งแล้วเกิดขึ้นดับลง เกิดขึ้นดับลง เอารู้เฉพาะปัจจุบัน อดีต-อนาคตวางไปเสีย อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม อันนี้ถือให้มั่น ๆ...
    ความปฏิบัติเพ่งความเพียร เร่งเข้า ๆ ก็ทำให้ค่อยแจ่มแจ้งไปเอง ถ้าจิตเป็นอดีต-อนาคต ต้องวางเสีย เอาเฉพาะปัจจุบัน...


    ความ โลภ ความโกรธ ความหลง มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เราต้องพิจารณาค้นเข้าหาใจว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทั้งนี้ก็เพราะจิตมักจะเก็บอดีต-อนาคตมาไว้ ทำให้แส่ส่ายไปตามอาการ ให้เอาเฉพาะปัจจุบันเป็นธรรมโม แล้วน้อมเข้ามาให้ได้ กำลังทางด้านจิตใจ ละวางอดีต-อนาคต อันเป็นส่วนธรรมเมา แล้วเพ่งพินิจเฉพาะธรรมโม...
    รักษา กายให้บริสุทธิ์ รักษาวาจาให้บริสุทธิ์ รักษาใจให้บริสุทธิ์ น้อมเข้าหาใจ ให้รู้แจ้งใจนี้ กายก็ให้รู้แจ้ง ให้รู้แจ้งกายใจ จนละได้ วางได้ เพ่งจนเป็นร่างกระดูก ทำได้อย่างนี้ก็พอสมควร เอาให้มันรู้แจ้งเฉพาะกายใจนี้ ไม่ต้องเอามาก ถ้าเอามากก็มักไปยึดเป็นอดีต-อนาคตไปเสีย ข้อนี้สำคัญเกิดขึ้นแล้วก็ดับ เกิดขึ้นแล้วก็ดับตัวสัญญา...
    ตั้ง หลักไว้ อดีต-อนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม ระลึกไว้เสมอว่า ดับ ละ วาง ในปัจจุบัน จึงเป็นธรรมโม เมื่อจิตอยู่ในปัจจุบันธรรม แต่ถ้าหากอดีต-อนาคตเกิดขึ้นแล้วก็ต้องดับลงไป...


    ต้อง หมั่นต้องพยายามเข้าหาจุดของจริง อดีต-อนาคต-ปัจจุบัน สามอย่างนี้แหละเป็นทางเดินของจิต ความโลภ ความโกรธ ความหลง ราคะ กิเลส ตัณหา ก็เกิดขึ้นในใจนี้แหละ แสดงออกจากใจนี้ ให้น้อมเข้ามา ๆ ถึงอย่างนั้นกิเลสทั้งหลายก็ยังทำลายคุณความดีได้เหมือนกัน แต่ถ้ามีสติความชั่วเหล่านั้นก็ดับไป...
     
  9. naruphol

    naruphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +1,075
    เหตุใด !! "หลวงปู่แหวน ท่านจึงเอาแบงค์ 500 มามวนสูบบุหรี" เล่าโดยหลวงปู่วัดบ้านตาด (หลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด )




    [​IMG]





    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    พระอริยเจ้า แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่




    หลวงปู่วัดบ้านตาด จ.อุดรธานี
    เล่าเรื่องหลวงปู่แหวน ท่านเอาแบงค์ 500 มาพันเป็นมวนบุหรีสูบดังนี้
    (คัดจากหนังสือชาติสุดท้าย "พระธรรมวิสุทธิมงคล" "เพรชน้ำหนึ่งในวงกรรมฐาน" )
    มีเรื่องราวดังต่อไปนี้


    ลูกศิษย์ : นึกถึงท่านหลวงตาฯ เทศน์ถึงเรื่องของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ที่กล่าวถึงท่านสูบบุหรี่ ที่ว่าเอาแบงค์ 500 มาพันแล้วสูบ

    หลวงตา (มหาบัว): นั่น ละเห็นไหม..คือท่านวางตามหลักธรรมชาติไม่ให้สมมุติเข้าไปเกี่ยวข้องกับจิต ว่าเป็นโทษเป็นคุณอะไรเลย..ท่านทำเป็นกรณีพิเศษให้โลกทั้งหลายได้เห็น ท่านเอาธนบัตรใบละห้าร้อย อยู่ๆ ท่านก็นำมามวนบุหรี่ เสร็จแล้วท่านก็จุดไฟสูบเฉย ไม่สนใจกับใครนะ นั่นใครจะไปว่าท่านเป็นอาบัติไม่ได้นะ......
    คือนี้เป็นกิริยาสมมุติ ท่านใช้ให้สมมุติทั้งหลายได้เห็น ถ้าท่านไม่ทำท่านก็ไม่เห็น คือวิมุติจิตนั้นหมดแล้ว เรื่องสมมุติที่จะเข้าไปอาจเอื้อมถึงไม่มีเลย คำว่าสมมุติโดยกระการทั้งปวง เช่นโทษคุณเหล่านี้เป็นสมมุติทั้งหมด อันนั้นเลยหมดแล้ว เช่นอย่างสูบบุหรี่ ท่านสูบบุหรี่ด้วยธนบัตรใบละห้าร้อย ท่านก็สูบเฉยท่านไม่มีอะไรนะ พวกดูข้างหลังเป็นบ้าตาจ้อเลยหละ (เสียดาย) ท่านเฉย ท่านไม่สนใจ คือทำให้ดู..
    แต่ก่อนใครจะรักษาพระธรรมวินัยเคร่ง ครัดยิ่งกว่าท่านบทเวลาท่านออก ที่ออกหาหลักธรรมวินัย ที่เป็นสมุตินี้ทั้งหมดอยู่ข้างบน แล้วก็มาเกี่ยวข้องกับสมมุตินี้ เอาธรบัตรใบละห้าร้อยมาสูบบุหรี่เฉย....

    นี่ใครจะมาว่าท่านเป็นอาบัติ ไม่ได้นะ คือธรรมชาติของท่านเลยทุกอย่างแล้ว คือเหนือสมมุติแล้ว ท่านรักษาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ในระหว่างขันธ์ที่มีชีวิตอยู่เท่านั้นแหละ เวลาท่านจะแสดงออกมาในกรณีพิเศษท่านก็เอาใบธรบัตรใบละห้าร้อยมามวนแล้วก็สูบ เฉยสบายเลย อย่างงั้นแล้วเห็นไหมละ คืออันนั้นเลยทุกอย่างแล้วขึ้นชื่อว่าสมมุติ ไม่มีสมมุติใดแม้เม็ดหินเม็ดทรายจะไปแทรกจิตที่บริสุทธิ์เต็มที่ของท่านแล้ว นั้นได้เลย ทีนี้โลกไม่เห็นท่านจึงนำมาแสดงให้เห็นกัน...

    --- ปัญหานี้ถ้าไม่ถามไม่ได้ ---


    หลวงตา (มหาบัว): ได้ยินไม่ใช่เหรอหลวงตาฯ (บัว) ก็เคยไปหาท่าน ซัดกันเต็มเหนี่ยว

    ลูกศิษย์ : พ่อ แม่ครูจารย์เล่าให้ฟังอยู่ครับ ว่าเข้าไป ให้คนอื่นออกหมด แล้วอยู่สองต่อสองกับท่าน พ่อแม่ครูจารย์ว่าถ้าคนไม่เป็นเรื่องนี้จะถามไม่ได้คำถามนี้ ถามแล้วจะตอบไม่ได้ด้วย
    (คือการสนทนาสองต่อสองระหว่างหลวงปู่แหวน กับหลวงตามหาบัว ท่านสนทนากันในเรื่องวันที่บรรลุธรรม)

    หลวงตาฯ : ท่านให้พระเณรออกไปเลยนะ ท่านก็พูดว่าจะพูดกับท่านมหาฯ ถามสองประโยค ประโยคสำคัญๆ ไม่ถามมากนะ ถ้ารู้แล้ว
    เรากับท่าน ก็เป็นที่รู้กันในเรื่องฟัดกับกิเลส แล้วก็เป็นที่ลงกันระหว่างเรากับองค์หลวงปู่แหวน
     
  10. naruphol

    naruphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +1,075
    ***อย่าหลงไหลไสยศาสตร์

    สามเณรแหวน มีความสนใจใคร่รู้ในศาสตร์ลึกลับมหัศจรรย์ ในพระศาสนา ตามที่ พระอาจารย์สิงห์แนะนำ พระอาจารย์สิงห์ ก็เล็งเห็นนิสัยใจคออันบริสุทธิ์ ของสามเณรอยุ่แล้วว่า มีความเหมาะสมที่ควรจะได้ัรับวิชาพิเศษนี้ จึงได้ถ่ายทอดประสิทธิประสาท ให้จบสิ้นตำราเลย ทีเดียว

    แต่ได้กำชับว่า

    " วิชาไสยเวทวิทยาคมนี้เป็นเพียงโลกียวิชา เท่านั้น ไม่ใช่วิชาประเสริญ ให้เรียนรู้ไว้ด้วยใจ มั่น เพียงเพื่อเอาไว้สงเคราะห์ชาวบ้านเท่านั้นนะ แต่เมื่อสามเณรออกธุดงค์กรรมฐานเมื่อไร ขอให้ปล่อยวางวิชาไสยเวทนี้เสีย อย่ายึดมั่นถือมั่น อย่าติดใจหลงใหลว่าเป็นวิชาประเสริฐ เพราะเป็นเพียงโลกียวิชาเท่านั้น เป็นวิชาที่ขัดขวางโลกุตรธรรม ขัดขวาง มรรค ผล นิพพาน

    สามเณรแหวน รับคำสอนของพระอาจารย์สิงห์ ทุกประการ

    พระอาจารย์สิงห์ กล่าวต่อไปว่า " ธรรมดา พระเณรที่บำเพ็ญเพียรด้านกรรมฐาน จนบรรลุ ธรรมแก่กล้า ได้ฌาณสมาบัติ ได้วิโมกข็ ได้อภิญญาจิต ข้อใดข้อหนึ่งแล้ว ถ้าคิดจะสงเคราะห์ ชาวช้านเมื่อไร ไม่จำเป็นต้องใช้เวทมนตร์คาถาเลย เพียงแต่นึกอธิษฐานจิตขอบารมี พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ให้ช่วยขจัดปัดเป่าปัญหานั้นๆ ก็จะสำเร็จประโยชน์ในพริบตา เป็นที่ น่าอัศจรรรย์

    ด้วยเหตุนี้เอง สามเณรแหวน จึงเป็นผู้รอบรู้ทางไสยเวทวิทยาคม อีกแขนงหนึ่ง ควบคู่ไปกับ การเรียนบาลีธรรมตั้งแต่เยาว์วัย เมื่อมีญาติโยมมาขอรดน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ จากพระอาจาร์ สิงห์ ที่วัด พระอาจารย์มักจะให้สามเณรแหวน ทำหน้าที่รดน้ำมนต์แทนท่าน อยู่เสมอ เป็นการ ทดสอบวิชาความสามารถของลูกศิษย์ไปด้วย
     
  11. naruphol

    naruphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +1,075
    ***ตัณหาเป็นเชือกผูกคอ ปอผูกศอก โซ่ล่ามขา

    ธรรมโอวาทของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ
    วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่


    ตัณหาทั้งสามมัน ปกครองสัตว์ทั้งโลก ความพอใจก็ดี ความไม่พอใจก็ดี จัดเป็นตัณหา กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาทั้งสาม เป็นไตรวัฏฏ์อยู่นี่ มันหมุนอยู่นี่

    กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เปรียบเหมือนธารแม่น้ำน้อยใหญ่นับไม่ถ้วน ไหลมาสู่ทะเลอันไม่มีฝั่ง ไม่มีที่เต็มฉันใดก็ดี ความพอใจก็ดี ความไม่พอใจก็ดี ก็เพราะกามตัณหานี้เอง

    กามตัณหาเปรียบ เหมือนเชือกผูกคอ ภวตัณหาเปรียบเหมือนปอผูกศอก วิภวตัณหาเปรียบเหมือนโซ่ผูกขา จะเอาอาวุธมีมีดหรือขวาน มาตัดมันเท่าไรมันก็ไม่ขาด ยกเว้นแต่ผู้มีปัญญาบารมี

    มนุษย์ผู้อาชาไนยเป็นผู้องอาจกล้าหาญ ต่อสู้สงครามกามกิเลส ความพอใจความไม่พอใจก็ดี ความพอใจ ความไม่พอใจนี้แหละตัดมันไม่ขาด

    เวลาทำความเพียร บางครั้ง ดูเหมือนกับสบายเย็นใจเย็นกาย แต่พอเร่งความเพียรเข้า มันกลับเป็นไปอีกอย่างหนึ่ง มันไม่ใช่ง่าย พวกกามกิเลสนี้

    มนุษย์ผู้อาชาไนย ผู้องอาจแกล้วกล้า สามารถจะต่อสู้กามกิเลสนี้ อันเป็นข้าศึกในสงครามการต่อสู้ต้องระวังอินทรีย์ ตามันก็เป็นเหตุอันหนึ่ง หูก็เป็นเหตุอันหนึ่ง จมูกก็เป็นเหตุอันหนึ่ง กาย ใจ เป็นเหตุอันหนึ่ง ธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ


    กายนี้เป็นมรรค เป็นที่ตั้งของมรรค กายสมบัติ อันนี้ท่านยกขึ้นเป็นมรรค นะ เป็น พุทโธ โม เป็น พระเจ้า อาศัยบิดามารดาเกิดก็เพราะ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

    กามตัณหานี้มันไม่พอ ตัณหา ๓ นี้ก็เกิดขึ้นจากกายจากใจเรานี้แหละ ได้ลูกได้หลานมามันก็พอใจ ชังก็เพราะกาม เกิดก็เพราะกาม ทุกข์ก็เพราะกาม ตายก็เพราะกาม สุขก็เพราะกาม นี้กามตัณหา


    ท่านจึงเปรียบว่า กามตัณหาเหมือนเชือกผูกคอ ภวตัณหา เหมือนปอผูกศอก วิภวตัณหาเหมือนโซ่ผูกขา เพราะความรัก ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันไหลมาแต่ตัณหาทั้งสามนี้แหละ


    การจองล้างจองผลาญฆ่าฟันกันก็เพราะกามนี้แหละ ความพอใจก็เพราะกาม ความไม่พอใจก็เพราะกามนี้แหละ

    อนิจจังทั้ง ๕ ก็ชี้เข้ามาในนี้แหละ ทุกขังทั้ง ๕ ก็ดี อนัตตาทั้ง ๕ ก็ดี ก็ชี้เข้ามาในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์

    อนัตตา ความไม่มีตัวตน ไม่มีตน ถ้าเข้าไปยึดถือ มันก็เป็นทุกข์ สภาพเหล่านี้มีอยู่เป็นอยู่อย่างนี้

    แม้แต่พ่อแม่จะไป แต่งให้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ก็แต่งไม่ได้ แต่ถ้าเป็น ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อันนี้เราแต่งเอาเองได้ แต่งไม่ให้มันโลภ แต่ไม่ให้หลง แต่งไม่ให้มันโกรธ ไม่ให้มัน โลภ โกรธ หลง อันเป็นรากเหง้าแห่งกิเลสทั้งหลาย เพราะตัณหานี้แหละเป็นต้นเหตุ


    ทำให้เป็นอโลภะ อโทสะ อโมหะ ให้มันหมดโลภ หมดโกรธ หมดหลงแล้ว มันก็สบาย ถ้าโลภก็ยังละไม่ได้ โกรธก็ยังละไม่ได้ มันเกิดขึ้นก็เป็นการทำลายตนเอง เพราะไม่รู้จักพอ


    โลภะ โทสะ โมหะ เป็นรากเหง้าของกิเลสพันห้าตัณหาร้อยแปด เราเกิดก็เพราะกามตายก็เพราะกาม ทุกข์ก็เพราะกาม ความพอใจก็เพราะกาม ความไม่พอใจก็เพราะกาม ความรักความชังที่เกิดขึ้นก็เพราะกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้แหละ


    จะไปเอาที่ไหนพระ ธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ท่านชี้ลงสู่กายสู่ใจนี้แหละ อันเป็นสมบัติของเจ้าพ่อ เจ้าแม่ อันเป็นฐานที่ตั้งแห่งศีล เป็นที่ตั้งแห่งธรรม นี่แหละสมบัติอันนี้ ความโลภ ความโกรธ ความหลง มันเกิดขึ้นภายในนี้แหละ ไม่ได้เกิดที่อื่น


    ภาวนาพุทโธก็ดี ธัมโมก็ดี สังโฆก็ดี ระวังอย่าให้เป็นธรรมเมา ต้องกำหนดลงสู่กายสู่ใจของเรานี้แหละ อย่าไปกำหนดที่อื่น


    มันต้องค้นเข้ามา หาภายในนี้แหละต้นเหตุนี้ ตา มันก็เป็นเหตุอันหนึ่ง หู มันก็เป็นเหตุอันหนึ่ง จมูก ลิ้น มันก็เป็นเหตุอันหนึ่ง กาย ใจ มันก็เป็นเหตุอันหนึ่ง อกุศลธรรม มันเกิดขึ้นมันเกิดในเหตุเหล่านี้


    ศีล ๕ ก็ดี ศีล ๘ ก็ดี ก็รวมเข้ามาในนี้แหละ ถ้านอกไปจากนี้เป็นความหลง เป็นธรรมเมาไป


    จำไว้ให้แม่น พระธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ชี้ไปในกายนี้ ชี้ไปในใจนี้ ต้องเอาสมบัติของเจ้าพ่อ เจ้าแม่นี้เป็นที่ตั้ง เป็นฐานนของศีล ของทาน ของภาวนา เอาสมบัติอันนี้เป็นที่ตั้งของปัญญา เพื่อทำลายอกุศลธรรม คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง


    มีผู้ถามว่า วินี วินัย ศีลปฏิบัติอย่างไร วินัยปฏิบัติอย่างไรบอกเขาไปว่า ปฏิบัติน้อมเข้ามาสู่กายสู่ใจนี้ ต้องรู้เหตุ สำรวมระวังเหตุ ตาเป็นเหตุ ตาเห็นรูป ถ้าไม่รู้เท่าทันมัน ความยินดีก็เกิดขึ้น ความยินร้ายก็เกิดขึ้น ความโลภก็เกิดขึ้น เพราะเหตุนั้นเราต้องรู้เหตุ สำรวมระวังเหตุให้น้อมเข้มาสู่กาย เอากายเป็นมรรค เอากายเป็นผล ค้นลงในสกลกายของเรานี้ วินี วินัย ก็คือ การนำความชั่วความผิดออกจาก กาย วาจา ใจ นี้แหละ นี้แหละเป็นวินัย


    ต้องทำให้มาก ให้มีสติ เข้าหาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ปฏิบัติให้รู้จักที่เกิดของธรรม รู้จักที่ดับของธรรม ถ้าบริกรรมพุทโธ ก็เอาพุทโธไป ถ้าพูดมากฟังมากทำน้อยก็ไม่ได้ผล


    แต่ถ้าฟังแต่น้อย เอาความหมั่น ความเพียร ให้มาก ภาวนาให้มาก น้อมเข้ามาสู่กายสู่ใจของตน อุปาทานทั้ง ๕ อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ อนัตตาทั้ง ๕ วางขันธ์ ๕ ธาตุ ๔ ได้แล้ว อุปาทานทั้ง ๕ อนิจจังทั้ง ๕ ทุกขังทั้ง ๕ รวมลงในธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ นี้แหละ

    ขันธ์แยกออกเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ พิจารณาอันนี้ให้มันรู้ ให้มันละมันวาง


    ภาวนา พุทโธ นี้แหละ เห็นว่ามันน้อยๆ อย่างนี้ไปดูถูกไม่ได้ ความหมั่นความเพียร นี้แหละ เป็นประโยชน์อย่างมาก

    ถ้าฟังมากๆ ได้เฉพาะคำพูด แต่ทำเพียงเล็กน้อย แล้วก็แล้วไป มัวแต่เจ็บแข้ง เจ็บขา เจ็บหลัง เจ็บเอว อยู่อย่างนี้มันไม่ได้ความอะไร

    มันเจ็บที่ไหนก็ กำหนดเข้าที่นั่น ความเจ็บความปวด ธรรมทั้งหลายไหลมาจากเหตุ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่แหละเป็นเหตุมันไหลมาจากนี้แหละ มีที่เดียวนี้แหละ คือ รักษา ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้แข็งแรง


    ความรักเกิดขึ้นก็นำออกเสีย ความชังเกิดขึ้นก็นำออกเสีย ความโลภ ความโกรธ ความหลง เกิดขึ้นทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็นำออกเสีย


    นี้ท่านยกขึ้นเป็นศีล ท่านยกขึ้นเป็นวินัย จะเป็นศีล ๕ ศีล ๘ อันใดก็ตาม ศีล ๕ นี้ก็อันนี้ประจำตน คือ ขา ๒ แขน ๒ หัว ๑


    ขันธ์ ๕ นี้แหละรักษาให้มันคุ้ม รักษา ตา นี้สำคัญ ตา เห็น รูป รูปที่พอใจก็ดี ไม่พอใจก็ดี ถ้าเราหลงลาย มันก็มักเกิดความชั่ว


    ศีล ๕ ศีล ๘ ศีลมากมายเหมือนของภิกษุก็ต้องรักษาตานี้แหละ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นต้นเหตุมันไหลเข้ามา


    ธรรมทั้งหลายไหล มาจากเหตุ กำหนดเข้าๆ รู้เท่าทันเหตุ เหตุดับมันก็ถึงความสุข เพราะวางอุปาทานเหตุ จึงดับไป อวิชชา ความมืดไม่รู้แจ้งมันก็ดับไป เวลาพูดดูเป็นของง่ายแต่เวลาทำยาก


    อย่าไปยึดเอาสิ่ง นั้นสิ่งนี้ ฟังแต่น้อย แต่ต้องทำให้มาก อาศัยความพากความเพียร ทำการงานด้วยกายของเรา ทุกสิ่งทุกอย่าง ทำให้เป็นอริยมรรค อย่าให้เป็นกิเลส ถ้าเป็นกิเลสเป็นทุกข์
     
  12. naruphol

    naruphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +1,075
    ***เจตนาคือตัวกรรม


    คนเราบางคนเกิดมาแล้วชอบทำแต่ความชั่ว ทั้งนี้ก็เพราะกรรม เจตนากรรมบุญ เจตนากรรมบาป สองอย่างนี้แหละตัวเจตนา เจตนาเป็นตัวกรรม กรรมบาป กรรมบุญเจตนารักษาศีล คือ การสำรวมระวัง รักษากาย รักษาวาจารักษาใจ
    อาศัยความอดทน อดด้วยกาย อดทนด้วยวาจา อดทนด้วยใจ ตีติกขา ความอดทน คือความอดกลั้นต่อบาปอกุศล


    มันสำคัญอยู่ที่ กาย วาจา ใจ อกุศลเจตนากรรมบาป ความตั้งใจของเราสำคัญ อดีตอนาคตไม่ข้องเกี่ยวตัดออกหมด


    อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา เอาในปัจจุบัน รู้ในปัจจุบัน ละในปัจจุบัน วางในปัจจุบัน ตั้งเจตนาให้จริงกาย จริงวาจา จริงใจ กาย วาจา ใจ เขาเป็นปกติอยู่แล้ว


    ใจก็ไม่ไปที่ไหน คงตั้งอยู่เป็นปกติ ต้องเอาปัญญาตัดอกุศลเจตนาออกจากใจ อย่าให้มันหมักอยู่ในใจ ประเดี๋ยวจะเดือดร้อน

    ตั้งเจตนาให้แน่วแน่ว่า เราจะทำจิตทำใจของเราให้เบิกบาน ให้บรรลุมรรคผลนิพพาน สัจจะ ความจริงกาย จริงวาจา จริงใจ ขันติปารมี อดกลั้น ด้วยกายด้วยวาจา ขันติอุปาปปารมีอดกลั้นด้วยวาจา ขันติปรมัตถปารมี อดกลั้นด้วยใจ ตีติกขา ความอดกลั้นเป็นบารมีธรรมอย่างเอก



    ตัดอดีตอนาคต มุ่งเฉพาะปัจจุบันธรรม อดีตอนาคตมันมาแต่ดึกดำบรรพ์ ทั้งส่วนดีส่วนร้ายเนื่องมาจากตัณหาทั้งสาม คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ความพอใจหรือไม่พอใจ ก็ตัณหานี้


    ละออกจากจิตจากใจเสียก็สบาย รูป เสียง กลิ่น รส กามารมณ์ทั้ง ๕ ปล่อยให้เขาผ่านไปผ่านมา ดีเขาก็ไม่ว่าไม่ดีเขาก็ไม่ว่า มันสำคัญอยู่ที่เจตนาตัวกรรมบุญ เจตนาตัวกรรมบาป เข้าไปครองจิตแล้วทำให้คิดไปปรุงแต่งไป เป็นรักเป็นชัง เป็นโกรธ เป็นเกลียด ให้ละวางตัวนี้ อย่าเอาเข้ามาหมักไว้ในใจ


    ละอยู่ที่ใจ วางอยู่ที่ใจ ไม่ใช่ที่อื่น เอาใจนี้ละ เอาใจนี้วางจึงใช้ได้ ไม่ใช่ไปจำเอาคำพูดในคัมภีร์มาพูดใช้ไม่ได้ มันต้องน้อมเข้ามาหากายหาใจของเรานี้ กำหนดการละ กำหนดการวางลงใน กาย วาจา ใจ ของเรานี้ รวมลงในไตรทวารนี้ ไม่ใช่ที่อื่น


    อดีตอนาคตที่ใจนำมาก็ละเสีย หู ตา ก็อยู่เป็นปกติ อินทรีย์ ๕ เขาก็ตั้งอยู่ปกติอย่างนั้น รูป เสียง กลิ่น รส กามารมณ์อันนั้นต่างหาก ปล่อยให้เขาผ่านไปผ่านมาอย่าเอามา หมักไว้ในใจ


    ใจของเราให้ตั้งอยู่โดยปกติ เวลาจะทำจิตทำใจของเราต้องวางหมด อย่าให้มีสิ่งไม่ดีมีอยู่ในใจจะเดือดร้อน ต้องนำออกให้หมด ทำใจให้ว่างให้มีความพอ อดีตอนาคตไม่ต้องเกี่ยวข้องทั้งหมด


    อย่าปล่อยให้ใจไปเกาะเกี่ยวข้องแวะส่วนที่เป็นอดีตและ อนาคต เป็นเครื่องบั่นทอนปัจจุบันธรรม ให้รู้เฉพาะปัจจุบัน ละปัจจุบัน ให้รู้มรรค รู้ผล.

    " มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
    ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
    ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

    มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
    ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "
     
  13. naruphol

    naruphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +1,075
    ***การสละออกจากใจ - ธรรมโอวาท 9 หลวงปู่อริยสงฆ์

    จาโค ปฏินิสสัคโค สละคืนถอนออกจากใจนี้เสีย

    คนเรามันรักสุข เกลียดทุกข์นี่ หนักก็หนักอยู่ตรงนี้แหละ ไม่รับความจริง

    เราเกิดมา นินทา สรรเสริญก็ดี อย่าไปรับเอามาหมักไว้ใจ ปล่อยผ่านไปเสีย

    ความรัก ความชัง ความโลภ ความหลง เกิดขึ้น เพราะกิเลสมันเสวนากันอยู่

    กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาทั้งหลาย ก็ไหลมาจากเหตุ ให้ละเสียให้หมด ให้ตั้งอยู่ในศีล ตั้งอยู่ในทาน ตั้งอยู่ในการบำเพ็ญกุศล ละบาปทางกาย ทางวาจา ทางใจ บาปอันใดยังอยู่ละเสียให้หมด กายทุจริต วาจาทุจริต ใจทุจริต นำออกให้หมด แล้วรักษากายสุจริต วาจาสุจริต ใจสุจริตไว้ เมื่อนำทุจริตออกหมดแล้วจะเหลือแต่สุจริตธรรม ตั้งอยู่ในศีล กายก็เป็นศีล วาจาก็เป็นศีล ใจก็เป็นศีล เป็นธรรม เป็นมรรค เป็นผล ตั้งขึ้นในจิตในใจ ละวางทุจริตธรรม สุจริตธรรมตั้งอยู่แล้ว จิตก็เบาสบาย

    อดีตที่ล่วงไปแล้ว ยังหอบเอามาหมักไว้ในใจก็เดือดร้อน ต้องเอาศีลนั่นแหละนำออกให้หมด

    ธรรมปฏิบัติ เรื่องต้องน้อมเข้ามาสู่ใจ

    ให้รักษาพระไตรสรณคมน์ให้แน่นหนา รักษาพระไตรสรคมน์ให้ตลอดชีวิต รักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ อย่าลืมตัว เอาใจนี้แหละเป็นผู้รู้ ให้พิจารณากาย ใจนี้ให้รู้แจ้ง
     
  14. naruphol

    naruphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +1,075
    ***พระหลวงปู่แหวน จากอาจารย์เทพนม



    ราว 2 สัปดาห์ก่อนที่กรรมการชมรมรักษ์พระบรมธาตุจะเดินทางไปยังจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจัดงานผ้าป่าบูรณะเจดีย์วัดสวนดอก และ งานนิทรรศการพระบรมธาตุครั้งที่ 3 ณ วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ พวกเราได้ไปพบอาจารย์เทพนมที่บ้าน และ อาจารย์ได้กรุณาเล่าเรื่องเหตุอัศจรรย์เกี่ยวกับพระเครื่องของหลวงปู่แหวน และหลวงปู่ทวดให้ฟัง ดิฉันเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง จึงขอนำเรื่องเหล่านี้มาถ่ายทอดให้กับท่านทั้งหลายได้อ่านกันนะคะ

    ราว 20 ปีก่อนเมื่อ อ.เทพนม ยังอาศัยอยู่ที่บ้านย่านดินแดง บ้านที่อยู่ติดกับบ้านอาจารย์เปิดเป็นร้านของชำ วันหนึ่งเกิดเหตุการณ์โจรปล้นบ้านขายของชำ และ จ่อยิงที่หน้าอกของเจ้าของร้าน น้องชายเจ้าของร้านรีบอุ้มร่างพี่ชาย วิ่งตรงมาที่บ้านอาจารย์ และ ร้องเรียกว่า “คุณหมอ คุณหมอ ช่วยด้วยพี่ผมถูกยิง” อาจารย์รีบเปิดบ้าน นำร่างเจ้าของร้านของชำเข้ามาในบ้าน และ รีบเปิดเสื้อเพื่อดูแผลที่ถูกยิง ซึ่งเข้าใจว่าสาหัสมาก เพราะเป็นการจ่อยิง และ คราบเขม่าปืนเกาะเต็มเสื้อของเขา แต่เมื่อเปิดเสื้อออกดูก็พบว่า ไม่มีรอยเลือด หรือ บาดแผล มีแต่หัวกระสุนที่บี้ติดหน้าอกของเขา และ รอบบริเวณนั้น มีรอยเขียวช้ำขึ้นอยู่โดยรอบ เมื่อนำไปเอ็กซ์เรย์ ก็พบว่าบาดเจ็บเพียงแค่ กระดูกซี่โครงหักเท่านั้น อ.เทพนมประหลาดใจอย่างมาก เพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์เดียวที่เห็นว่าชายคนนี้สวมอยู่ก็คือ พระเครื่องของหลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ รุ่นที่หลวงปู่เป็นผู้ทำพิธีพุทธาภิเษกเอง นอกจากนี้ อ.เทพนมยังพบกับเหตุการณ์เช่นเดียวกันนี้ กับเหล่าทหารและตำรวจตระเวนชายแดน ที่ถูกยิงแต่ไม่เข้า หัวกระสุนบี้ติดอก เพราะใส่พระเครื่องของหลวงปู่แหวน นับสิบๆคนทีเดียว



    ต่อมาในยุคสงคราม เพื่อนนายแพทย์ชาวอเมริกันของอ.เทพนมซึ่งจะต้องมาปฎิบัติภารกิจในประเทศแถบ ภูมิภาคนี้ ได้ติดต่อถามอ.เทพนมว่า ประเทศไทยมีเครื่องรางของขลังใดบ้าง ที่จะสามารถช่วยให้เขารอดปลอดภัยได้ อ.เทพนมจึงแนะนำให้เขาบูชาพระเครื่องของหลวงปู่แหวนไป ปรากฎว่า เมื่อหมออเมริกันท่านนี้เข้าสู่สนามรบ ห่ากระสุนปืนอาก้าจากข้าศึกไม่โดนร่างหมอท่านนี้แม้แต่นัดเดียว เพราะกระสุนจะกระเด้งไปทางอื่นหมด ต่อมาทางกองทัพจึงขอให้หมอท่านนี้ขึ้นไปอยู่บนรถถัง และ แล่นนำขบวน ก็ปรากฎว่า ระเบิดอาร์พีจี จากข้าศึก กลับกระเด้งอ้อมรถถังคันนี้ไปหมดเช่นกัน หมออเมริกันท่านนี้จึงเกิดทั้งความอัศจรรย์ใจและความศรัทธา พระสงฆ์ไทย ที่ชื่อว่า หลวงปู่แหวนสุจิณโณ อย่างยิ่ง จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ที่ท่านได้ช่วยชีวิตตัวเขา และ เพื่อนร่วมสนามรบของเขาไว้ได้เป็นอันมาก


    ที่มา ชมรมรักษ์พระบรมธาตุแห่งประเทศไทย
     
  15. naruphol

    naruphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +1,075
    ***ตา หู จมูก เป็นเหตุ


    ภาวนา กำหนดใจ ถ้ากำหนดใจได้แล้ว มันจึงรู้พุทโธ เป็นมรรคของใจ ถ้าภาวนากำหนดจิตยังไม่ได้ มันก็แพ้กิเลส กิเลสมันอยู่ก่อน

    ต้อง มีสติรักษาใจจึงจะดี ถ้าไม่มีสติก็จะไปเกาะเกี่ยวอันนั้นอันนี้ทั่วไป พาให้หลงไป เวลาหลงไป เช่นหลงอะไรก็ให้ยกอันนั้น ขึ้นสู่การพิจารณา ตัวอย่างกาย ให้เพ่งแยกส่วนของกายออก แต่ละส่วนเต็มไปด้วยของไม่สะอาดไหลเข้าไหลออกตลอดอยู่ทุกขณะ การที่พิจารณาแยกแยะจนเห็นเป็นของไม่งามไม่ใช่ของง่าย ในเมื่อจิตยังแส่ส่ายหาอารมณ์อยู่

    ต้อง อาศัยความพากเพียรอดทน เมื่อจิตมีกำลังมันจึงสงบ ถ้ามัวเกียจคร้านอยู่ จิตมันก็ไม่เป็นไป ตัวขี้เกียจขี้คร้านนี้แหละเป็นตัวทำให้เสีย เป็นตัวกิเลส เวลานั่งประเดี๋ยวหนาว ประเดี๋ยวหาว พวกนี้เป็นกิเลสทั้งนั้นแหละ ถ้าพร้อมด้วยการกระทำจึงจะได้กำลัง ถ้าไม่พร้อมมันก็ไม่มีกำลัง

    ร่าย กายของเรานั้นที่เราเห็นว่างาม ก็เพราะมีของไม่สะอาดเต็มท้องเต็มไส้อยู่ ถ้าในท้องในไส้ไม่มีอะไรเลยลองดูซิมันจะงามไหม ถ้าของในท้องในไส้ไหลออกหมดมันก็เหี่ยวแห้งเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกเท่านั้น

    ถ้าพูดกับความจริงแล้ว ทั้งร่างกายเต็มไปด้วยของเสียทั้งหมด ถึงอย่างนั้นก็ยังหลงไปว่าเป็นของสวยงาม

    แต่ ใจมันไม่ว่าเต็มไปด้วยของไม่สะอาดหนา เราต้องภาวนาพิจารณากลับไปกลับมา ทบไปทวนมาอยู่นั้นแหละเราไปหลงของไม่งาม จับอันนั้นต่ออันนี้เลยเห็นว่างาม จนติดจนหลง

    การ ภาวนาถ้านอนภาวนา มันกลายเป็นภาวนอนไปเสีย การฉันอาหารถ้าฉันมากเกินไป เวลาภาวนาก็นั่งหลับไปเสีย มันหลายเรื่องหลายราว ถ้าอะไรมันมากไปจิตมันไม่สงบห้ามมันไม่ฟังอาหารมันทับ

    พวกเรานอนกันอยู่ในท้องของมารดาตั้ง ๙ เดือน ๑๐ เดือน จึงจะออกมาพ้นร้องไห้อุแว้ๆ ได้ ถ้าดีใจก็หัวเราะเสียใจก็ร้องไห้....

    กาม นี้เราเคยติดมาแล้วนับอเนกอนันต์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์เร่งความเพียรจนรู้แจ้งเห็นจริง กามตัวเดียวที่ทำให้สัตว์ตาย กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เอาเข้ากลายเป็นกามตันหน้า ภวตันตา วิภวตันใจ

    เมื่อ กามเหล่านี้เข้าไปอุดไปตัน หน้า ตา ใจ แล้วก็เกิดความหลง ความรัก ความชัง ความพอใจ ก็เพราะกาม ความไม่พอใจก็เพราะกาม มันเกิดขึ้นกับใจ

    ตา เป็นเหตุ หู เป็นเหตุ จมูก เป็นเหตุ เป็นเหตุแห่งความรักความชัง

    ตา เป็นเหตุ เมื่อได้เห็นรูปสวย รูปงาม รูปอัปลักษณ์น่าเกลียดน่าชัง หู เป็นเหตุ ได้ยินเสียงการประโคมขับร้องอันไพเราะ หรือเสียงน่ารำคาญ จมูกและใจก็เหมือนกัน ถ้าดีเป็นน่ารัก มันก็ติดเป็นหลง ถ้าตรงกันข้าม มันก็เกลียดก็ชัง จึงว่ามันเป็นเหตุ

    การ ฆ่ากันก็เพราะกาม รักกันก็เพราะกาม ทั่วอากาศ ทั่วพื้นน้ำและบนบกเต็มไปด้วยกาม กามตันหน้า ภวตันหู วิภวตันใจ ถ้าจะขยายออกไป มันก็ไม่มีที่สิ้นสุดหรอกกาม เพราะความพอใจและไม่พอใจก็เกิดจากกามทั้งสิ้น

    พิจารณาให้ดีๆ เป็นอย่างไรมันจึงหลงไป จนกลายเป็นบ๋อยรับใช้ไป
     
  16. naruphol

    naruphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +1,075
    ***แผ่เมตตาไม่มีประมาณ


    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ท่านสอนให้ศิษย์ทุกคนได้หัดแผ่เมตตา คือส่งความปราถนาดีแก่คน สัตว์ ศัตรูหมู่มาร โดยแผ่ไปให้ทั่วจักรวาล ยิ่งแผ่มาก ก็ยิ่งทำให้ในสบาย รักชีวิตและทรัพย์สิน คนอื่นเหมือนกับของตนเอง สังคมก็จะมีความสุขสงบอย่างถ้วนทั่ว

    หลวงปู่แนะวิธีแผ่เมตตาให้บังเกิดผล โดยให้ทำตนและจิตใจเหมือนมารดาที่เลี้ยงลูก ให้ความรัก ความเอ็นดูสงสาร มุ่งหวังจะให้ลูกสุขกายสบายใจ มีอาชีพการงาน มีวิชาเลี้ยงตนเอง ได้ ความรักที่แม่ให้กับลูกเป็นความรักที่บริสุทธิ์ไม่มีพิษภัย และไม่ต้องการผลตอบแทนจากลูก มีแต่ให้อย่างเดียว

    ถ้าเราแผ่เมตตาเหมือนกับพระอาทิตย์ส่องแสง เมตตานั้นจะมีพลังสูงยิ่ง เพราะธรรมชาติของ พระอาทิตย์ขณะที่ส่องแสงไม่ได้เลือกชุมชน สรรพสัตว์ยากดีมีจน อยู่ที่สูงหรือที่ต่ำ จะใกล้หรือไกล ก็ได้รับความร้อนเท่ากัน
    เมตตาธรรมก็เ่ช่นกัน ขอให้แผ่ไปให้แก่ชนทุกชั้นทุกระดับ ใครจะรับได้มากน้อย สุดแต่ วาสนาบารมีของผู้นั้น

    ผู้เขียน(รศ. ดร.ปฐม นิคมานนท์) เพิ่งประจักษ์ในความวิเศษ ของพระพุทธศาสนาเมื่อปี ๒๕๒๖ นี้เอง ก่อนหน้านั้นมัวไปลุ่มหลวศึกษาวิทยายุทธจากฝรั่งชาติตะวันตกอยู่นาน และเพิ่งมารับสัมผัสบารมีธรรมของหลวงปู่แหวน ในปี พ.ศ.๒๕๓๓ เมื่อครั้งติดตามหลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม ไปกราบหลวงพ่อเปลี่่ยน ปญฺญาปทีโป ทีวัดอรัญญวิเวก อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

    หลวงปู่แหวน ท่่านเคยอยู่ที่วัดป่าบ้านปง(วัดอรัญญวิเวก ในปัจจุบัน) นานถึง ๑๑ ปี ก่อนจะ ย้ายไปพำนักที่ดอยแม่ปั๋ง และหลวงพ่อเปลี่ยน ก็ได้ตามไปอุปัฎฐากหลวงปู่ เสมอมา จนกระทั่ง วาระสุดท้ายในชีวิตของท่าน

    หลวงพ่อเปลี่ยน เล่าให้ฟังว่า " <span style=\'color:red\'>ทุกคืน หลวงปู่แหวน ท่านจะแผ่เมคตาไปทั่วจักรวาล แต่แปลก ที่ประเทศรัสเซีย กับประเทศบริวารรับกระแสเมตตาของท่านได้บ้างเล็กน้อย ส่วนเวียตนามไม่ ยอมรับเลย สะท้อนกลับคืนหมด ประเทศเขาจึงวุ่นวายตลอด มาภายหลังก็เริ่มรัรบได้มากขึ้น และหลวงปู่ บอกให้หลวงพ่อเปลี่ยน ช่วยแผ่เมตตาให้ประเทศเวียตนามมากๆ ให้ทำทุกคืน
    หลวงพ่อเปลี่ยน ท่านว่า " พลังจิตของหลวงปู่เปรียบได้กับแสงพระอาทิตย์ ของอาตมา เป็นแค่แสงหิ่งห้อย เปรียบกันไม่ได้ แต่อาตมาก็ทำตามที่หลวงปู่บอกทุกคืน ตอนนี้เขาิเริ่มดีขึ้น และจะดีขึ้นเรื่อยๆ ..."
    หลวงพ่อปรารภว่า ท่านอยากเอาหนังสือธรรมะไปแจก โดยเฉพาะแจกให้ " พวกตัวใหญๆ" ซึ่งท่านรู้ว่าควรจะแจกให้ใคร และที่ใด เป็นการช่วยเหลืออีกทางหนึ่ง

    จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ผู้เขียนจึงได้มีส่วนร่วม ด้วยการไปหาผู้แปลและจัดพิมพ์หนังสือ "เมตตาธรรมค้ำจุนโลก" ซึ่งเป็นคำเทศน์ของหลวงพ่อ ออกมาเป็นภาษาเวียตนาม ตามความ ประสงค์ของท่าน

    ณ จุดนั้นเป็นต้นมา ผู้เขียนและครอบครัว จึงได้เริ่มสัมผัสกระแสเมตตา และได้รับรู้เรื่องราว เกี่ยวกับบารมีธรรม ของหลวงปู่แหวนมาโดยลำดับ นับเป็นบุญและเป็นมงคลยิ่งแก่ชีวิต ตลอดมา
     
  17. naruphol

    naruphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    149
    ค่าพลัง:
    +1,075
    ***ปัจจุบันธรรมเป็นธรรมโม ; หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ แสดงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ.2523


    ความ คิดทั้งที่เป็นอดีตอนาคต เมื่อเราคิดขึ้นมาพร้อมกันมันก็ดับ ท่านเจ้าคุณอุบาลี ฯ ท่านกล่าวว่า อดีตและอนาคตมันก็อันเดียวกันนั่นแหละ ความตัวเดียวนี้แหละ อดีตและอนาคตก็อันนี้แหละ ปัจจุบันก็อันนี้แหละ แต่ปัจจุบันนี้เป็นธรรมโม อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา

    ของสังขารทั้งหลาย มันปรุง มันแต่ง มันเกิดมันดับ อยู่นี้มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อยู่นี้แหละสมควรจำต้นมันไว้ ต้นเหตุอดีต อนาคต เป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม จำไว้ให้แม่นน้อมเข้ามาสู่กายสู่ใจของตน น้อมเข้ามาในกาย ให้รู้แจ้งเห็นแจ้ง จนเห็นเป็นโครงกระดูก ธรรมทั้งหลายก็ต้องรู้แจ้งกายรู้แจ้งภายในใจนี้ จึงเป็นผู้รู้

    ถ้าว่าตามหลักปริยัติธรรมแล้วมันมากมาย แต่ก็เอาของเก่านี้แหละ กลับไปกลับมา เล่นของเก่าอยู่นี้แหละกลับไปกลับมา ไม่มีที่สิ้นสุด ต้องเอาให้เห็นแจ้งรู้รอบสังขาร เมื่อรู้รอบสังขารทั้งหลายแล้วจึงดับต้นเหตุมันได้ รู้เท่าสังขาร สังขารทั้งหลายดับไปหมด ใจมันจึงสงบลงไปรู้ธรรมเป็นนะก็ว่าเป็นธรรมก็ได้ เป็นนะโมก็ว่า

    อตีตา ธรรมเมา อนาคตา ธรรมเมา ปัจจุบัน เป็นธรรมโม ตั้งหลักอย่างนี้ไว้เสียก่อน ถ้าเพลิดเพลินหลงไปให้ยกขึ้นพิจารณา อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม มันหลงของเก่านี้แหละ ทำเข้าไปให้จิตมีกำลังถ้าจิตยังไม่มีกำลัง ดูประหนึ่งว่าการทำนี้มันลำบาก บุคคลผู้ปกครองคนหมู่มาก ซึ่งแต่ละคนก็มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น ละความชั่ว เอาไปๆ เวลามันหลง ต้องจำที่ต้นเหตุคือ ตัวสังขาร

    มันมักจะไปเป็นอตีตธรรมเมา อนาคตธรรมเมา ปัจจุบันธรรมโม ตั้งอยู่ไม่ไป ไม่มา ไม่ออกไม่เข้า อันนี้เป็นของจริง ไม่ออก ไม่เข้า ไม่เสียหาย นี้คือ ใจมันตั้งมั่น มันไม่ไปที่ไหน ถ้าทำให้ได้ของจริง มันต้องอยู่ในนั่นแหละ รู้แจ้ง เห็นแจ้ง ส่วนมากคนทั้งหลายมักจะได้มากในด้านความจำ แต่ถ้าเอาเข้าจริงๆ หลบเข้าไปตรงนั้นที หลบเข้าไปตรงนี้ทีหลงลายเลย การกระทำเป็นสิ่งสำคัญ ทำเข้าๆ เมื่อได้กำลังแล้วมันเกิดเอง ปัจจุบันเป็นธรรมโม อดีตอนาคตเป็นธรรมเมา จำหลักอันนี้ไว้ให้ดี สังขารมันตั้งอยู่ตรงนี้แหละ

    ว่าไปก็ไม่มีที่สิ้นสุด ประเดี่ยวเอาอย่างนั้นประเดี๋ยวเอาอย่างนี้ เอาเข้าๆ ไม่มีที่สิ้นสุด ก็เลยลืมหลักไปเสีย ให้ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันนี้แหละ เร่งเข้าความเพียร ไม่หลับไม่นอน บางมีก็หลงไปบ้างเหมือนกัน หลวงปู่มั่น ท่านว่าไม่ต้องเอามาก เอาเพียงเล็กน้อยก็พอแล้ว

    สติสัมปชัญญะก็ดี สัมมาสติก็ดี ก็อันเดียวกันนั้นแหละเพราะคิดดีก็ดี คิดชั่วก็ดี เกิดขึ้นแล้วมันก็ดับ มันอันเดียวนั้นแหละ มันหมุนไปหมุนมาอยู่นั่นแหละ เอาสตินำออกเสียจากความชั่ว อันเป็นส่วนดีก็รักษาไว้ อันเป็นเหตุส่วนทุกข์ให้ละเว้นเสีย สติสัมปชัญญะก็ดี สัมมาสติก็ดี ก็อันเดียวกันนั้นแหละ มีกำหนดรู้ ที่เกิดของธรรม ที่ดับของธรรม รู้อยู่ที่เดียวนี้แหละ ละอยู่ที่เดียวนี้แหละ วางอยู่ที่เดียวนี้แหละ

    การปรารภความเพียรก็เอาสตินี้แหละ เวลาเกิดความคับขัน ก็ให้น้อมเข้ามา ปฏิบัติอยู่ให้เพียรเพ่งอยู่จนหายสงสัย เพ่งจนหายสงสัย อันนี้สำคัญมาก เพ่งเข้ามาสู่จิตสู่ใจ อย่าไปเพ่งออกภายนอก เพ่งจนหายสงสัยจนไม่มีเกิดไม่มีดับ พราหมณาจารย์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เพียรเพ่งอยู่มันดับไปเอง แม้เกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไปเอง แต่อย่าเข้าไปยึดถือในอะไรๆ สิ่งที่มันปรุงขึ้นแต่งขึ้นมักจับมันไม่ทัน

    จิต ของผู้มีความเพียร เพ่งอยู่ จนหายสงสัย อย่าไปเพ่งออกภายนอก ให้เพ่งเข้าสู่ภายใน เมื่อมีสติมั่นเพ่งอยู่อย่างนี้ สิ่งทั้งปวงเมื่อเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป ให้เพ่งจับอยู่เฉพาะในปัจจุบัน อย่างไปเพ่งอดีต อนาคต อดีตเป็นธรรมเมา อนาคตเป็นธรรมเมา

    พราหมณาจารย์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่เพ่งอยู่ภายใน ต้องเพ่งเข้าสู่ภายในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นมันก็ดับไปเอง อย่าเข้าไปยึดถือสำคัญมั่นหมาย ว่าเป็นสิ่งนั่นว่าเป็นสิ่งนี้ เพ่งอยู่จนหายสงสัย ถ้าหายสงสัยมันก็ได้บรรลุมรรคผลนิพพานเท่านั้นแหละ การเพ่งอย่าให้มันออกไปข้างนอก ให้เพ่งเข้ามาทางใจ ให้เข้าสู่ใจ ให้เข้าสู่ ฐีติ ภูตัง ให้ตั้งอยู่ในธรรม อันไม่ไป ไม่มา ไม่เข้า ไม่ออก เร่งความเพียรไม่หยุดหย่อน ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป พระอริยเจ้าไม่ว่าสมัยใด ท่านเปลี่ยนอริยาบถทั้ง 4 ยืน เดิน นั่ง นอน มีความเพียรทุกอริยาบถไม่ทอดทิ้ง ขันติบารมี อดทนด้วยกาย อดทนด้วยวาจา อดทนด้วยใจ ท่านไม่ยอมละความเพียร

    “อตีตาธรรมเมา อนาคตธรรมเมา ปัจจุบันเป็นธรรมโม จำเอาไว้ให้แม่น
    ไม่ต้องพูดมาก พูดมากไม่ใช่ธรรมะ มันเป็นธรรมเมา”


    ขอขอบพระคุณและโมทนาบุญอย่างสูงสำหรับข้อมูลจาก :
    • หลวงปู่แหวน สุจิณโณ. ธรรมโอวาท : พระนาค อัตถวโร วัดสัมพันธ์วงศ์ กรุงเทพฯ เรียบเรียง, 2545. หน้า 19-22.
     
  18. แอมแนท

    แอมแนท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +102
    สาธุๆๆ สุดยอดมากเลยครับ
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,084
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,044
    [​IMG]
    . .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LpVanBoon.jpg
      LpVanBoon.jpg
      ขนาดไฟล์:
      56.4 KB
      เปิดดู:
      3,311
    • LpVanword.jpg
      LpVanword.jpg
      ขนาดไฟล์:
      48.5 KB
      เปิดดู:
      1,336

แชร์หน้านี้

Loading...