ถกอาเซียนเริ่มแล้ว! ไทยย้ำไม่เคยลงนามหยุดยิง

ในห้อง 'ข่าวทั่วไป' ตั้งกระทู้โดย titawan, 4 กุมภาพันธ์ 2011.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    อัพเดตจากเว็ปกระปุก

    [​IMG]
    กองทัพไทยมีการลำเลียงกำลังพลและอาวุธเข้าไปในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา เพื่อเตรียมความพร้อมหากมีสถานการณ์ฉุกเฉิน ​



    เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
    ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ไทยโพสต์


    นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ลั่นไม่หวนคืนการเจรจาทวิภาคีกับไทย เตรียมส่ง ฮอร์ นัมฮง ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

    สำนัก ข่าว ดืม อัม ปึม (DAP) รายงานวานนี้ (9 กุมภาพันธ์) อ้างคำกล่าว สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ระหว่างการประชุมประจำปีกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า กัมพูชา ไม่สามารถกลับไปทำการเจรจาทวิภาคีกับไทยอีกต่อไป และต้องการบุคคลที่ 3 ให้เข้ามามีส่วนร่วมและไกล่เกลี่ยในเรื่องนี้

    ส่วนเรื่องที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จะจัดประชุมในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อพิพาทชายแดน ระหว่างไทยและกัมพูชา ทางกัมพูชาจะส่ง นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่ออธิบายถึงการรุกรานของไทยในพื้นที่ปราสาทพระวิหารให้กับ คณะมนตรีได้รับทราบ

    นอกจากนี้ สมเด็จฮุน เซน ยังกล่าวย้ำว่า ขณะนี้ไทยและกัมพูชา คือการทำสงคราม ไม่ใช่การปะทะกันด้วยอาวุธ กัมพูชาเห็นว่าประเทศไทยเป็นผู้บุกรุกและปล้นผืนแผ่นดิน ซึ่งกัมพูชาจะใช้นโยบายระยะยาวในการต่อกรกับไทย เช่นเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุเคยกระทำในการต่อต้านการรุกรานของ ไทย เกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 1954 จนถึงปี 1959 จึงได้ร้องต่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการรุกรานของไทย ซึ่ง นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และกองทัพไทยก็ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างประเทศ


    [​IMG]



    [9 กุมภาพันธ์] เอพีแฉ พบทหารกัมพูชากว่าร้อยนายในพระวิหาร

    สำนักข่าวเอพีแฉ ซ้ำ พบทหารกัมพูชาหลายร้อยนายอยู่ภายในพระวิหารและวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ และมีการเตรียมพร้อมในการทำสงครามกับฝ่ายไทย ตั้งบังเกอร์ เล็งประบอกปืนขนาด 81 มิลลิเมตร ไปยังประเทศไทย

    หลังจากที่เมื่อวานนี้ ฝ่ายไทยได้มีการทักท้วงไปยังยูเนสโกว่า กัมพูชามีการใช้สถานที่อันเป็นมรดกโลกเป็นบังเกอร์ ในการตั้งกองกำลังต่อสู้กับทหารไทย แต่ในขณะเดียวกัน สมเด็จฮุน เซน ผู้นำกัมพูชา ก็ออกมาปฏิเสธและโต้กลับว่า เป็นการทำสงคราม และจะเอา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย ขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ ในฐานเป็นผู้ก่อให้เกิดสงคราม ล่าสุด สำนักข่าวเอพีแฉตามสำนักข่าวรอย เตอร์ เผยพบทหารกัมพูชาหลายร้อยนายอยู่ภายในพระวิหารและวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ และมีการเตรียมพร้อมในการทำสงครามกับฝ่ายไทย ตั้งบังเกอร์ เล็งประบอกปืนขนาด 81 มิลลิเมตร ไปยังประเทศไทย

    โดยบรรยากาศรอบพระวิหาร มีการเสริมบังเกอร์ที่ทำจากถุงทรายอย่างแข็งแรง ทหารที่ตั้งกองกำลังอยู่โดยรอนนั้น แต่งกายในชุดพรางทหาร อยู่ในบังเกอร์ที่ถูกปกคลุมด้วยผ้าใบกันน้ำทางทหาร ซึ่งทหารรายหนึ่งขอสงวนชื่อและนามสกุล เปิดเผยว่า เมื่อหยุดการต่อสู้รบเราจะไป เพราะเราเป็นทหารประจำการที่อื่น ๆ หลายจุด และย้ายมาที่วัดเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา

    ทั้ง นี้ นักข่าวของเอพียังระบุอีกว่า เห็นอาวุธวางซ้อน ๆ กันเป็นจำนวนมาก ทั้งปืนใหญ่และหัวจรวดพิงกับกำแพงวัด, ท่อปืนขนาด 81 มิลลิเมตร อยู่ในตำแหน่งที่ชี้ไปทางประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในหุบเขาลึก จากชายแดนกัมพูชา และล่าสุดมีรายงานว่า ยูเนสโก ได้ระงับแผนการส่งทีมเข้าตรวจสอบสภาพข้อเท็จจริง ที่เขาพระวิหารเรียบร้อยแล้ว

    โดย ก่อนหน้านี้ กระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชา ออกแถลงการณ์ ลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2011 โต้คำให้สัมภาษณ์ ของ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ที่ถูกเผยแพร่ วานนี้ (8 กุมภาพันธ์) ว่า "ทหารกัมพูชาใช้ปราสาท พระวิหาร เป็นฐานอาวุธหนัก เพื่อถล่มฐานบัญชาการทางการทหารของไทย ที่ตั้งอยู่ในผืนแผ่นดินของไทย ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่า"

    โดยทางกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ ขอปฏิเสธอย่างหนักแน่น ต่อข้อกล่าวหาดังกล่าว และขอเน้นย้ำในประเด็น ดังต่อไปนี้

    กัมพูชาไม่เคยและจะไม่มีทหารที่ปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับการสักการะบูชา และการท่องเที่ยว ตลอด เวลาที่ผ่านมา มีเพียงเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมอาวุธเบาเพียงไม่กี่นาย เพื่อดูแลความปลอดภัย โดยรอบปราสาทพระวิหารเท่านั้น ข้อกล่าวหาของโฆษกกองทัพบกของไทย มีเป้าหมายเพียงเพื่อต้องการแก้ตัวให้กับประเทศไทย ต่อการโจมตีปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นมรดกโลก

    แต่ อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวรอยเตอร์ กลับเผยแพร่ภาพที่ค้านกับแถลงการณ์ของกัมพูชา โดยเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ รอยเตอร์ได้เผยแพร่ภาพทหารกัมพูชาอย่างน้อย 2 คน กำลังจัดเรียงกระสุนปืนกลหนักอยู่ในเขตปราสาทเขาพระวิหาร ขณะที่อีกภาพหนึ่งเป็นภาพทหารกัมพูชากลุ่มใหญ่ หลบพักอยู่ในปราสาทหลังหนึ่ง ในบริเวณที่เป็นปราสาทมรดกโลก

    จากนั้น ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ รอยเตอร์ได้เผยแพร่ภาพทหารกัมพูชา 2 คน กำลังแบกกระสุนปืนใหญ่ หรือจรวดที่บรรจุในกล่องเหล็ก ซึ่งอยู่ภายในปราสาทเขาพระวิหารเช่นกัน และยังมีภาพที่แสดงให้เห็นว่า ทหารกัมพูชาใช้ปราสาทดังกล่าวเป็นที่พักพิงถาวรอีกด้วย

    นอก จากนี้ รอยเตอร์ยังระบุด้วยว่า คำกล่าวอ้างของกัมพูชาที่ว่า ระเบิดจากฝั่งไทยได้ทำลายปราสาทเขาพระวิหารส่วนหนึ่งนั้น ไม่เป็นความจริง เพราะไม่มีภาพใดที่แสดงให้เห็นว่า ปราสาทเขาพระวิหารพังทลายตามที่กัมพูชาประกาศไปทั่วโลก มีแต่เพียงรอยกะเทาะของหินบางส่วนเท่านั้น

    ทั้งนี้ รอยเตอร์ยังรายงานด้วยว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC ปฏิเสธการเรียกร้องจากสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ขอให้จัดการประชุมด่วนของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ทั้ง 15 ชาติ ตามข้ออ้างว่า ถูกกองกำลังทหารไทยบุกรุก โดยที่ นางมาเรีย ลุยซา ริเบโร วิออตตี (Maria Luiza Ribeiro Viotti) เอกอัครราชทูตบราซิล ประจำสหประชาชาติ ในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ นี้ ได้แถลงว่า ปัญหานี้ควรที่จะแก้ไขกันในระดับภูมิภาค

    แต่ ในเวลาต่อมา อินเนอร์ ซิตี เพรสส์ เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ได้รายงานว่า หลังจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ยังไม่ได้จัดการประชุมเร่งด่วน ตามข้อเรียกร้องของกัมพูชานั้น แต่ได้มีผลสรุปออกมาแล้วว่า จะมีการจัดประชุมตามข้อเรียกร้อง ในวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ โดยให้นายมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ที่กำลังเป็นเจ้าภาพหมุนเวียนของอาเซียน และทำหน้าที่เป็นคนกลางไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา เข้าร่วมการประชุมด้วย

    ขณะที่ นายบัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวในระหว่างแถลงข่าวเมื่อวันอังคารว่า เขาได้หารือกับนายกรัฐมนตรีของไทยและกัมพูชา เกี่ยวกับข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว

    ด้าน กระแสข่าวลือที่ว่า พล.ต.ฮุนมาเน็ต รองผู้บัญชาการทหารบกของกัมพูชา ซึ่งเป็นบุตรชายของสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ถูกสะเก็ดระเบิดของทหารไทย จากการเปิดฉากปะทะกัน จนได้รับบาดเจ็บสาหัส จนเป็นเหตุให้บรรดาทหารกัมพูชาเกิดความเคียดแค้น ล่า สุด แหล่งข่าวทางทหารแจ้งว่า พล.ต.ฮุนมาเน็ต ได้รับสะเก็ดระเบิดปืนใหญ่ ขนาด 150 มิลลิเมตร ถูกช่วงบริเวณหัวเข่า บาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และยังบัญชาการรบที่เขาพระวิหารดังเดิม

    ทั้งนี้ พล.ต.ฮุนมาเน็ต จบจากโรงเรียนนายร้อยเวสต์ พ้อยต์ (The United States Military Academy (West Point) สหรัฐอเมริกา จบปริญญาโท และปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ มีพี่น้องร่วมสายเลือด 6 คน ชาย 3 คน หญิง 3 คน

    ขณะที่สภากาแฟชาวบ้าน ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา กล่าวว่า เป็นถึงลูกชายนายกรัฐมนตรี ไม่น่ามารบเองทั้ง ๆ ที่ สมเด็จฮุนเซน มีทหารใต้บังคับบัญชามากมาย ใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องส่งลูกชายมารบแนวหน้าอย่างนี้


    [9 กุมภาพันธ์] เกาะติดสถานการณ์ ไทยปะทะเขมร ชายแดน ไทย - กัมพูชา

    [​IMG] 17.56 น. นายกฯ เตรียมส่งภาพถ่ายให้บันคีมุนดู ระบุชัดกัมพูชาใช้เขาพระวิหารเป็นฐานอาวุธและซ่องสุมกองกำลัง ชี้ขัดต่อการเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม

    [​IMG] 17.47 น. เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารบก ตรวจเยี่ยมกำลังพลบ้านภูมิซรอล และบ้านโดนเอาว์ พร้อมกำชับการปฏิบัติหน้าที่ต้องไม่มีเจตนารุกราน

    [​IMG] 17.41 น. กระทรวงต่างประเทศเตรียมส่งอัษฎา ชัยนาม ในฐานะ JBC ฝ่ายไทย ไปประชุมทำความเข้าใจกับประเทศสมาชิกยูเนสโก 27 ประเทศ

    [​IMG] 17.36 น. เฉลิมชี้ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา เกิดจาก 4 ประเด็น จี้นายกฯ เร่งเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหา

    [​IMG] 17.24 น. สถานการณ์ชายแดนบ้านหาดเล็ก จ.ตราด สงบ แต่ประชาชนผ่านเข้า - ออกด่านน้อยลง ส่วนเด็กกัมพูชาไม่กล้าข้ามฝั่งมาเรียน หวั่นปิดพรมแดน

    [​IMG] 17.07 น. ทหารไทยที่ชายแดนสระแก้วเจรจากัมพูชาป้องกันการเข้าใจผิด หลังมีผู้ไม่หวังดีปล่อยข่าวลือตลอดเวลา ย้ำความสัมพันธ์ที่ชายแดนสระแก้วยังแนบแน่น

    [​IMG] 16.18 น. กองทัพบกปูนบำเหน็จให้ ส.อ.ธนากร ที่เสียชีวิตจากเหตุปะทะกัมพูชา เป็นพันตรี

    [​IMG] 14.46 น. หมู่บ้านภูมิซรอลยังเงียบเหงา ชาวบ้านยังไม่สามารถกลับเข้าพื้นที่ได้ ขณะที่ทหารช่างได้เริ่มซ่อมแซมบ้านเรือนที่เสียหายแล้ว

    [​IMG] 14.05 น. ชาวบ้านแนวชายแดนกันทรลักษ์ เขียนป้ายประท้วงพันธมิตร ที่จะเดินทางมา ชี้แค่นี้ก็ลำบากแล้ว ให้ไปร้องกับรัฐบาล ถ้าจะนำสิ่งของให้ส่งตัวแทนมา

    [​IMG] 13.43 น. ปณิธานเผยทหารตามแนวชายแดน ยังคงมีการผลัดเปลี่ยนกำลังตลอด เพื่อดูแลสถานการณ์

    [​IMG] 13.16 น. ธานียืนยันไทยร่วมประชุม UNSC 14 ก.พ. ไม่นำปัญหาไทย-กัมพูชาเข้าสู่เวทีสากล

    [​IMG] 13.06 น. พ่อค้าแม่ค้าชาวกัมพูชาในช่องจอมเริ่มทยอยเปิดร้านแล้วกว่า 30% คาดอีก 1-2 วัน จะกลับมาคึกคักเหมือนเดิม หากไม่เกิดเหตุรุนแรงอีก

    [​IMG] 12.59 น. รมว.คลัง กำชับเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรอย่าปิดด่านการค้าแนวชายแดน หลังเกิดเหตุปะทะกัมพูชา

    [​IMG] 12.58 น. ธานีเผยกษิตแจง UNSC เหตุปะทะกัมพูชา วันที่ 14 ก.พ. ยันถกฮอร์นัมฮงตลอด ค้านยูเนสโกลงพื้นที่

    [​IMG] 12.50 น. ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ หอการค้าไทย ระบุเหตุปะทะกัมพูชา-ไทย กระทบการค้าชายแดนไม่มาก หากไม่ปิดด่าน แต่การเมืองไม่สงบจะกระทบการท่องเที่ยว

    [​IMG] 12.30 น. โสภณ ซารัมย์ ยันยังให้ความช่วยเหลือโครงการก่อสร้างถนนในกัมพูชา แม้จะเกิดข้อพิพาท
     
  2. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    บินโฉบภูมิซรอล F16ออกโรง ทอ.ปัดขู่กัมพูชา

    บินโฉบภูมิซรอล F16ออกโรง ทอ.ปัดขู่กัมพูชา


    [​IMG] เอฟ 16 บินโฉบเหนือบ้านภูมิซรอล อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ใกล้ปราสาทพระวิหาร ทอ.แจง แค่บินลาดตระเวน-ฝึกคอบร้าโกลด์ ยันไม่ได้บินข้ามน่านฟ้าหรือโชว์ตัว หวังขู่กัมพูชา...

    เมื่อเวลา 13.30 น. ได้มีผู้พบเห็นและบันทึกภาพเครื่องบินเอฟ 16 ของกองทัพอากาศจำนวน 2 ลำ บินลาดตระเวนอยู่เหนือน่านฟ้า บริเวณบ้านภูมิซรอล อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โดยมีการบินลาดตระเวนอยู่ประมาณ 30 นาที ก่อนที่เครื่องบินเอฟ 16 ทั้ง 2 ลำจะหายไป

    พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง เสนาธิการทหารอากาศ กล่าวชี้แจงว่า ขณะนี้กองทัพอากาศมี 2 ภารกิจ คือ ภารกิจที่ 1 คือ การฝึกคอบร้าโกลด์ ครั้งที่ 30 ซึ่งมีการฝึกตั้งแต่วันที่ 7-18 ก.พ.นี้ โดยมีพื้นที่การฝึกตั้งแต่ทางใต้ ของ จ.นครราชสีมา แต่ขณะนี้พยายามขยับการฝึกขึ้นมาในพื้นที่ตอนเหนือ คือ อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา ภารกิจที่ 2 คือ ภารกิจลาดตระเวนพื้นที่ตามปกติ โดยจะใช้เครื่องบินเอฟ 5 และเอฟ 16 บินลาดตระเวน ซึ่งปฏิบัติเพื่อฝึกความพร้อมของนักบิน และให้นักบินเกิดความคุ้นเคยในพื้นที่

    ส่วนเครื่องบิน ที่บินเหนือพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชานั้น ไม่ยืนยันว่า เป็นเครื่องบินจากภารกิจไหน แต่ยืนยันว่า เป็นภารกิจตามปกติของกองทัพอากาศ ไม่ได้มีเจตนาบินตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด

    ด้าน พล.อ.ต.มณฑล สัชฌุกร โฆษกกองทัพอากาศ กล่าวเพิ่มเติมว่า การบินลาดตระเวนของเครื่องเอฟ 16 บริเวณชายแดนนั้น เป็นการบินลาดตระเวนรักษาเขตตามปกติของกองทัพอากาศ ไม่เกี่ยวกับการบินเพื่อโจมตี หรือบินเพื่อแสดงกำลังทางอากาศเพื่อข่มขู่ หรือบินเพื่อยั่วยุแต่อย่างใด เพราะปกติที่ผ่านมาก่อนที่จะมีปัญหาบริเวณแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ทางกองทัพอากาศ จะบินลาดตระเวนตามแนวชายแดนทุกพื้นที่ ไม่เฉพาะพื้นที่ที่มีปัญหา แต่บริเวณชายแดนทางภาคเหนือ และภาคใต้ เราก็มีการบินลาดตระเวนเช่นเดียวกัน ซึ่งการบินลาดตระเวนดังกล่าว เป็นการฝึกนักบินให้มีความชำนาญในการบินในพื้นที่ โดยการบินจะไม่มีการล่วงล้ำเข้าไปในพื้นที่ประเทศเพื่อนบ้าน

    ขณะที่ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาว่า ขณะนี้สถานการณ์ยังมีความสงบอยู่ ไม่มีเหตุการณ์อะไร ซึ่งจากที่ได้รับฟังจากผู้ว่าราชการจังหวัด และกองทัพภาคที่ 2 คาดว่า หากสถานการณ์ดีขึ้นในช่วง 1-2 วันนี้ ในวันศุกร์ที่ 11 ก.พ.นี้ ก็น่าจะสามารถทยอยนำประชาชนกลับเข้าสู่พื้นที่ได้

    อย่างไรก็ตาม กำลังทหารที่อยู่ในพื้นที่ ขณะนี้ยังคงมีการตรึงกำลังตามแนวชายแดนตามปกติ และแม้จะมีการปะทะระหว่างไทยกับกัมพูชามาหลายครั้ง แต่ยืนยันว่า ทหารในพื้นที่ยังมีขวัญกำลังใจที่ดี พร้อมปฏิบัติหน้าที่ตลอดเวลา และโดยปกติในส่วนแนวหน้าเราได้มีการพูดคุยเจรจากันตลอด ส่วนกระแสข่าวว่า ทหารไทยมีการเสริมเพิ่มกำลังนั้น ขอเรียนว่า ขณะนี้เรามีการเตรียมความพร้อม และมีการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนกำลังในแนวหน้าบางส่วน เพื่อให้เกิดความสดชื่นพร้อมปฏิบัติงาน


    ไทยรัฐออนไลน์


    • โดย ทีมข่าวการเมือง
    • 10 กุมภาพันธ์ 2554, 17:00 น.
    [​IMG]

    บินโฉบภูมิซรอล F16ออกโรง ทอ.ปัดขู่กัมพูชา - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
     
  3. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    กำนัน ต.เสาธงชัย จ่อฟ้องกัมพูชา 3 พันล้านบาทเหตุยิงไทย

    [​IMG]


    [​IMG]




    สื่ออ้าง ฮุน เซน ยกเลิกข้อตกลงหยุดยิงถาวรกับไทย (ไอเอ็นเอ็น)


    กำนัน ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ เตรียมฟ้องรัฐบาลกัมพูชา 3,000 ล้านบาท ค่าชีวิตคนไทยและค่าเสียหายของทรัพย์สิน-บ้านเรือน ด้านสื่อต่างประเทศ รายงาน ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ได้แจ้งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยกเลิกข้อตกลงหยุดยิงถาวร

    นาย วีระยุทธ ดวงแก้ว กำนัน ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า จากเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างทหารไทยกับทหารกัมพูชาครั้งนี้ ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา กว่า 25,000 คน ต้องพากันทิ้งบ้านเรือน อพยพหนีภัยสงครามในสภาพบ้านแตกสาแหรกขาด ซึ่งเรื่องนี้ สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชาจะต้องรับผิดชอบ ในฐานะผู้นำของรัฐบาลกัมพูชาที่เป็นฝ่ายเริ่มก่อสงครามในครั้งนี้

    ดัง นั้น ตนจะได้หารือเรื่องนี้กับผู้นำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน รวมทั้งส่วนราชการทุกส่วนที่เกี่ยวข้องใน จ.ศรีสะเกษ เพื่อเตรียมฟ้องร้องค่าเสียหายจากรัฐบาลกัมพูชา เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3,000 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าชีวิต ค่าเสียหายของทรัพย์สิน บ้านเรือน ค่าขาดโอกาสในการทำมาหากิน และเพื่อเป็นค่าทำขวัญของประชาชนชาวไทยตามแนวชายแดนไทย - กัมพูชา ด้านเขาพระวิหาร ที่ได้รับความเดือดร้อนจากกระสุนปืนใหญ่ และจรวดบีเอ็ม 21 ของฝ่ายกัมพูชา ในการรบกันครั้งนี้

    ทาง ด้านสื่อต่างประเทศรายงานว่าสมเด็จ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้ติดต่อไปยัง นายฮอร์ นัม ฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของกัมพูชา ให้ยุติการเจรจาลงนามข้อตกลงหยุดยิงถาวร ระหว่างไทยกับกัมพูชา ในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ที่ กรุงจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยให้เหตุผลว่า เป็นเพราะไทยได้ขอให้ อินโดนีเซีย ส่งผู้สังเกตการณ์ มาอยู่ที่ชายแดนเขมร เพื่อพิจารณารายละเอียดของข้อพิพาทดังกล่าว

    ขณะ ที่ พล.อ.เตีย บัญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา เปิดเผยถึงท่าทีของกัมพูชา ต่อการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ที่อินโดนีเซีย วันนี้ (22 กุมภาพันธ์) โดยกล่าวถึงข่าวที่ออกมา ระบุว่า สมเด็จฮุน เซน สั่งยกเลิกแผนให้ไทยลงนามหยุดยิงถาวร ในที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนว่า ข่าว ดังกล่าวไม่น่าเป็นความจริง เนื่องจากเป้าหมายอันดับหนึ่งและจุดยืนเดิมของกัมพูชา คือ ไม่เคยต้องการให้เกิดสงคราม หรือเกิดการปะทะขึ้น ดังนั้น การลงนามหยุดยิงถาวร จึงเป็นเรื่องที่จะสามารถระงับกรณีดังกล่าวได้ ส่วนข่าวที่เกิดขึ้นนั้นตนเชื่อว่าอาจเป็นการปล่อยข่าวสร้างสถานการณ์ เพื่อจุดประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด

    อย่างไรก็ตาม สำหรับการประชุม รัฐมนตรีอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย พล.อ.เตีย บัญ กล่าวว่า เป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่กัมพูชาต้องการให้มีนานาชาติมาร่วมรับทราบ หรือให้หลักประกันกับกรณีดังกล่าวว่า จะไม่เกิดการปะทะ หรือ เกิดภาวะสงครามขึ้น ระหว่างไทยและกัมพูชาอีก ซึ่งหากเกิดการปะทะแล้ว ต่างฝ่ายต่างก็พูดกันไปมาในเรื่องของการเปิดฉากยิงก่อน ซึ่งไม่ได้ข้อยุติ และไม่เกิดผลดีอะไร ดังนั้นส่วนตัวแล้วจึงไม่ขัดข้องและยินดีอย่างยิ่ง หากผลการประชุมดังกล่าว จะมีการส่งผู้แทนเข้ามาสังเกตการณ์แนวชายแดน

    ทางด้าน เว็บไซต์ ฟิฟทีนมูฟ อ้างข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่ (กัมพูเจีย ทมัย) รายงานวานนี้ (21) ระบุ เจ้า หน้าที่รัฐบาลระดับสูงได้เปิดเผยอย่างลับ ๆ กับกัมพูชาใหม่ว่า กัมพูชา ได้ว่าจ้างนักกฎหมายต่างชาติ 3 ราย เพื่อเตรียมอรรถคดีกับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ICJ ขอให้ตีความคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ค.ศ. 1962 ซึ่งตัดสินยกความเป็นเจ้าของประสาทพระวิหารให้กับกัมพูชา โดยนักกฎหมาย ทั้ง 3 คน มาจากฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย

    อีกด้าน มีรายงานว่า ประเทศไทย ได้ส่งทหารเพิ่มเข้าไปยังพื้นที่พระวิหารอีก 3,000 นาย จากเดิมที่ได้มีการเสริมกำลังเข้ามา 15,000 นาย ระหว่างการต่อสู้ 4 - 7 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา รายงานนี้ เกิดขึ้นหลังมีรายงานเกี่ยวกับการลงนามหยุดยิงถาวร ระหว่าง ผู้บัญชาการทหารไทยและกัมพูชา เมื่อวันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์

    ขณะเดียวกัน ก็มีรายงานอีกเข้ามาว่า ผู้ บัญชาการฝ่ายไทย ได้ห้ามฝ่ายกัมพูชา ไม่ให้ซ่อมแซมวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ หลังจากได้รับความเสียหายร้ายแรงจากกระสุนปืนใหญ่ของไทย ระหว่างการต่อสู้วันที่ 4 - 7 กุมภาพันธ์ หลังจากที่ ฝ่ายกัมพูชา ปฏิเสธที่จะอนุญาตให้ประเทศไทย กลับเข้ามาประจำการทหารไทยที่วัดแก้วฯ อีกครั้ง

    นอกจากนี้ มีรายงานอีกว่า ครัสเตอร์บอมบ์ ที่ถูกทหารไทยยิงเข้าไปยังปราสาทพระวิหารระหว่างการต่อสู้ ได้เกิดระเบิดขึ้นเป็นระยะ ๆ แต่ไม่ทำให้ ทหารกัมพูชา ได้รับบาดเจ็บ





    [​IMG]



    [21 กุมภาพันธ์] ทหารบกนำผู้ช่วยทูตทหาร 14 ประเทศ ลงพื้นที่ภูมิซรอล
    วันนี้ (21 กุมภาพันธ์ ) พล.ท.ศิริชัย ดิษฐกุล รองเสนาธิการทหารบก นำคณะผู้ช่วยทูตทหารประจำประเทศไทย จำนวน 14 ประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ลาว บรูไน เวียดนาม พม่า มาเลเซีย จีน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย เดินทางลงพื้นที่หมู่บ้านภูมิซรอล ผามออีแดง และพื้นที่ทับซ้อน ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เพื่อติดตามสถานการณ์และรับทราบข้อมูลจากเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างทหารไทยกับ กัมพูชา ก่อนที่จะนำคณะไปเยี่ยมคณะครูและนักเรียน โรงเรียนภูมิซรอลวิทยา ที่ถูกระเบิดของฝ่ายกัมพูชาจนพังเสียหาย และบ้านเรือนที่เสียหายจากแรงระเบิดในพื้นที่อีกด้วย รวมถึงชี้แจง สถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ไทยได้ยึดหลักสันติวิธีในการแก้ไขปัญหามาโดยตลอด และทหารไทยไม่เคยยิงใส่กัมพูชาก่อน ดังที่กัมพูชากล่าวอ้าง โดยไทยมีเพียงตอบโต้กับกัมพูชา เฉพาะพื้นที่ทางทหารเท่านั้น

    ขณะที่ นาย Chheang Vannarith ผู้อำนวยการบริหารของสถาบันความร่วมมือกัมพูชาและสันติภาพ ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ซินหัว ในวันเสาร์ ที่ 19 กุมภาพันธ์ผ่านมาว่า ข้อพิพาทระหว่างกัมพูชากับไทย จะเป็นบททดสอบครั้งแรกของชาติอาเซียน ซึ่งถ้าหากอาเซียนไม่มีมติใด ๆ หรือมาตรการเกี่ยวกับข้อพิพาทนี้ อาเซียนจะไร้ค่า โดยกล่าวว่า จะเป็นเรื่องยากที่อาเซียนจะบรรลุข้อตกลงการรักษาความปลอดภัยของชุมชนภายใน ปี 2015 หากอาเซียนไม่สามารถเป็นสื่อกลางในการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างกัมพูชากับไทย โดยยังกล่าวอีกว่า ตอนนี้เรารอดูผลการประชุมที่จะมาถึง มันอาจจะเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับอาเซียน ถ้ามันตัดสินใจที่จะสร้างกลไกที่มีประสิทธิภาพของการระงับข้อพิพาทสำหรับ สมาชิก

    ด้าน Sok Touch รองอธิบดีสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของกัมพูชา กล่าวว่า การหารือถึงการแก้ไขข้อพิพาทระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาในครั้งนี้ เชื่อว่าอาจไม่ประสบความสำเร็จ เพราะปัจจุบันไทยเพิ่มกองกำลังทหารขึ้นเพื่อกดดันกัมพูชา เพื่อกลับไปที่ตารางการเจรจาทวิภาคี โดยยังกล่าวอีกว่า รัฐบาลไทยปัญหาการปะทะระหว่างไทยกับกัมพูชา จะสามารถเบิกงบประมาณ จากเงินกองทุนแห่งชาติของตนได้อย่างง่ายดาย และถูกต้องตามกฎหมาย และยังกล่าวเสริมทิ้งท้ายอีกว่า เหตุผลอีกประการหนึ่ง คือ นายกฯ ไทยให้ปัญหาพิพาทกับกัมพูชาเป็นข้ออ้างที่จะเลื่อนการเลือกตั้งในประเทศไทย

    ส่วนเว็บไซต์พนมเปญโพสต์ ได้รายงานว่า นายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ได้นำคณะผู้แทนของกัมพูชาเดินทางไปอินโดนีเซีย เมื่อวานนี้ (20 กุมภาพันธ์) เพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ นี้ เวลา14.00 น.

    พร้อมกันนี้ นายฮอร์ นัมฮง ยังได้กล่าวก่อนเดินทางไปยังกรุงจาการ์ตา เพื่อเข้าร่วมประชุมอาเซียน ว่า รู้สึกยินดีที่ไทยเห็นด้วยกับการขอให้อาเซียน ส่งคณะผู้สังเกตการณ์ ไปตรวจสอบการหยุดยิงของทั้ง 2 ชาติ ว่าใครทำผิดสัญญา เป็นผู้ก่อสงคราม

    ทั้งนี้ นายฮอร์ ยังได้อ้างถึงคำพูดของ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย มีแผนที่จะขอให้อาเซียน ส่งผู้แทนไปฝังตัวอยู่ตามชายแดน เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการปะทะกันทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 20 กุมภาพันธ์ผ่านมา นอกจากนี้ นายฮอร์ ยังกล่าวอีกว่า จะพยายามร้องขอในระหว่างการประชุมอาเซียน ให้ไทยลงนามในสัญญาหยุดยิงถาวร โดยมีอาเซียนและอินโดนีเซีย เป็นพยาน รวมถึงให้ส่งผู้สังเกตการณ์ลงพื้นที่ด้วย

    ทาง ด้าน นายมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะประธานหมุนเวียนของประชาคมอาเซียน ซึ่งจะมีการประชุมใหญ่ ที่กรุงจาการ์ตา ในวันพรุ่งนี้ (22 กุมภาพันธ์) ยอมรับว่า ในการหารือครั้งนี้ เรื่องใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด เป็นเรื่องของความพยายามในการแก้ไขปัญหาพิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งมีการปะทะกันเมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต ถึง 10 ราย







    [​IMG]


    [20 กุมภาพันธ์] ทหารสรุปหยุดยิง มาเน็ต-มทภ.2 ตกลงร่วม

    เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิด เผยถึงกรณีปัญหาไทย-กัมพูชาว่า ตนได้มีโอกาสสนทนาผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ซึ่งได้มีการพูดคุยกันทางโทรศัพท์ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะดูเหมือนว่าผู้ใหญ่ทางยูเนสโกเข้าใจข้อเท็จจริง สถานการณ์ดีทีเดียว จะมีการมอบหมายผู้แทนพิเศษ ซึ่งเป็นอดีตผู้อำนวยการยูเนสโกชาวญี่ปุ่น ที่จะเดินทางมาที่กรุงเทพฯ และกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา แต่จะไม่ไปยุ่งกับพื้นที่ซึ่งมีความละเอียดอ่อนอยู่ เพื่อมารับฟังข้อมูลจากทั้ง 2 ฝ่าย แต่ตนได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้อำนวยการแล้ว สำหรับผู้เชี่ยวชาญที่มาทางยูเนสโกจะขอให้มีการส่งเป็นหนังสือ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของขอบเขตหน้าที่ ของตัวแทนพิเศษมาให้ตนดูก่อน และถ้ายืนยันกลับไป คงเป็นสัปดาห์หน้าจะเดินทางมาได้

    "ท่าน ค่อนข้างที่จะเห็นตรงกับที่เราได้เสนอไป ว่าปัญหาการทำแผนบริหารจัดการพื้นที่ตรงบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร เป็นสิ่งที่ยังไม่พึงกระทำ ตราบที่ปัญหาในเรื่องของเขตแดนยังไม่มีข้อยุติ ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการตามเอ็มโอยู และตามกระบวนการของเจบีซีต่อไป และท่านก็มีความห่วงใยภาพทหารไปอยู่ในตัวปราสาท ซึ่งจะเป็นการขัดกับหลักการ ตรงนี้อย่างไรผมก็ได้ให้ความมั่นใจว่าทุกฝ่ายจะหาทางออกโดยสันติวิธี และขณะเดียวกันขอให้รับฟังสิ่งที่เราเสนอมาโดยตลอด ซึ่งไม่ใช่ด้วยเจตนาอะไร แต่ว่าด้วยเจตนาให้พื้นที่ตรงนั้นมีความสงบสุข และสุดท้ายประชาชนทั้งสองฝั่งและชาวโลกจะต้องมีโอกาสได้ชื่นชมตัวปราสาทใน ฐานะที่เป็นมรดกโลก ซึ่งทางยูเนสโกมีความชัดเจนที่ไม่ต้องการให้ปัญหานี้สะสมไปจนถึงเดือน มิถุนายน ซึ่งจะเป็นอันตราย" นายกรัฐมนตรี กล่าว

    ส่วน ที่กลุ่มผู้ชุมนุมระบุว่า ไม่ต้อนรับผู้เชี่ยวชาญพิเศษจากยูเนสโกและจะขัดขวางนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เราควรเป็นผู้ให้ข้อมูลกับเขาที่รัฐบาลดำเนินการมาโดยตลอด และที่บอกว่าทำไมเราไม่ถอนตัว ก็เพื่อให้เขามีความเข้าใจในสถานการณ์ที่แท้จริงที่มันเกิดขึ้น เพราะว่าถ้าเราไม่พูดกับเขา ก็จะฟังแค่ฟังกัมพูชา มันก็ไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรเลยกับฝั่งประเทศไทย ส่วนการเจรจายุติการหยุดยิงของแม่ทัพภาคที่ 2 กับผู้บัญชาการฝั่งกัมพูชานั้น เป็นเรื่องของการปฏิบัติในพื้นที่ เหมือนเวลาที่มีเหตุการณ์กระทบกระทั่งปะทะกัน ผู้บังคับบัญชาทั้ง 2 ฝ่ายก็ต้องพยายามพูดคุยหาทางตกลงให้ได้ เพราะไม่ได้เป็นนโยบายของฝ่ายใดที่ต้องการให้เกิดปัญหาขึ้น แต่ว่าเราไม่เคยยิงก่อนอยู่แล้ว เรื่องข้อตกลงอื่น ๆ ยังไม่มีความชัดเจนอะไรทั้งสิ้น อยู่ที่หลาย ๆ ฝ่ายจะมาพูดคุยกันว่า อยากให้ทั้ง 2 ประเทศมาพูดคุยกันเท่านั้นเอง

    นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ส่วนการดำเนินการก็ขอให้เป็นไปทางที่สหประชาชาติต้องการจะเห็น คือ ไม่มีการปะทะกัน สำหรับเราไม่ได้ยิงก่อน เราไม่ได้มีปัญหาอยู่แล้ว แต่การที่เวลาที่ใครรุกรานเข้ามา แน่นอนเรามีสิทธิที่จะปกป้องอธิปไตยนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เราพยายามให้ดีที่สุด เป็นสิ่งหนึ่งที่อยากจะบอกไปยังพี่น้องประชาชนว่า เวลาที่เกิดเหตุแบบนี้ ก็อาจจะมีอารมณ์อะไรกันได้ แต่ว่าสุดท้ายเราต้องพยายามให้กระบวนการแก้ไขปัญหา เป็นเรื่องของสันติวิธี เพราะคนที่เดือดร้อนที่สุดคือคนที่อยู่บริเวณชายแดน

    ขณะเดียวกัน พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ เสนาธิการทหารบก, พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ 2, พล.อ.นิพัทธ ทองเล็ก อดีตเจ้ากรมชายแดนทหาร ได้ประชุมร่วมกับ พล.ท.ฮุน มาเน็ต รอง ผบ.ทบ.และ ผบ.หน่วยทหารองครักษ์ บุตรชายสมเด็จฮุนเซน นายกัฐมนตรีกัมพูชา, พล.ท.เจีย มอน ผบ.ภูมิภาคทหารที่ 4 ของกัมพูชา ที่บริเวณจุดผ่านแดนถาวรไทย-กัมพูชา ช่องสะงำ ต.ไพรพัฒนา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ประเด็นที่หารือคาดว่าจะเป็นการหาแนวทางร่วมกันในการหยุดยิง

    ทั้งนี้ มีรายงานว่าการนัดหารือครั้งนี้ มีขึ้นเนื่องจากมติของยูเอ็นเอชซี ต้องการให้ไทยกับกัมพูชาหยุดยิงถาวร แต่ระหว่างการรอการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน ที่จะมีขึ้นในวันที่ 22 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งจะมีการหารือเรื่องดังกล่าว ปรากฏว่ามีการโจมตีฐานทหารไทยถึง 2 ครั้ง บริเวณภูมะเขือ พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ส่งผลให้ ส.ท.รัชพล ยศปัญญา ทหารสังกัดกองพันจู่โจม หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ได้รับบาดเจ็บสาหัส โดยที่ใช้อาวุธประจำฐานตอบโต้ให้กัมพูชาล่าถอยกลับไป แต่ไม่สามารถใช้ปืนใหญ่ในการตอบโต้ได้ เนื่องจากมีคำสั่งไม่ให้เกิดปัญหาปะทะใหญ่ขึ้นมาอีก

    และเพื่อลดความกดดันของทหารฝ่ายไทยที่ต้องตั้งรับ จึงต้องเจรจาพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้นำทหารในพื้นที่ ให้ควบคุมการปฏิบัติทหารของตนเอง ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังย้ำที่จะปฏิบัติตามข้อหารือก่อนหน้านี้ และลงนามในข้อตกลง 8 ข้อ เช่น ห้ามเคลื่อนย้ายกำลังทหาร ห้ามเพิ่มกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ ไม่วางกำลังเผชิญหน้ากันต้องอยู่ห่างกันประมาณ 500-600 เมตร ห้ามสร้างสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ในพื้นที่ เช่น สร้างถนน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายกัมพูชาย้ำว่าจะพยายามควบคุมระดับปฏิบัติในพื้นที่

    แหล่งข่าวที่ได้ร่วมคณะเดินทางครั้งนี้เปิดเผยว่า ใช้เวลาหารือเกือบ 2 ชั่วโมง ถือเป็นการหารือปกติ เพราะในพื้นที่มีการพูดคุยตลอดเวลา โดยเฉพาะแม่ทัพภาคที่ 2 ได้พูดคุยระดับพื้นที่ แต่หาข้อยุติไม่ได้ สองประเทศจึงส่งสัญญาณให้ทหารผู้ใหญ่ได้คุยกัน คือ พล.อ.ดาว์พงษ์ กับ พล.ท.ฮุน มาเน็ต เรียกได้ว่าเป็นการหารือหยุดสถานการณ์ชั่วคราว ซึ่ง การผลการพูดคุยครั้งนี้ไม่ได้เป็นข้อยุติหรือผูกพันไปถึงการประชุมรัฐมตรี ต่างประเทศอาเซียน เรื่องหลักที่พูดคุยวันนี้คือมาตรการในการป้องกัน และแนวทางไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด ถึงขั้นใช้อาวุธหรือปะทะกันของทหารสองฝ่ายได้ข้อตกลงร่วมกัน 8 ข้อ

    "ในกรณีที่จะเกิดปัญหา เบื้องต้นทหารสองฝ่ายจะพูดคุยกันผ่านวิทยุสื่อสารไอคอม โดยเอาระดับทหารผู้ใหญ่มาพูดกัน แต่ไม่ต้องพูดถึงสถานการณ์ที่ผ่านมา พูดถึงสถานกรณ์ในอนาคตว่าจะแก้ไขอย่างไร การหารือครั้งนี้ไม่ใช่พูดว่าหยุดปะทะกันอย่างดียว แต่เมื่อมีเหตุการณ์ต้องว่ากันไป แต่ถ้าอยู่แบบไม่ต้องรบต้องทำอย่างไรต่อไป เป็นการหารือแบบหยุดยิงชั่วคราว" นายทหารผู้นี้ระบุ


    [​IMG]


    [19 กุมภาพันธ์] อาเซียนแนะไทยเขมร ควรลงนามหยุดยิงถาวร
    ประธานอาเซียน เผยที่ญี่ปุ่นว่า ไทย และ กัมพูชา ควรแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี ทั้ง 2 ประเทศ ควรปรับกำลังออก ควรให้สองประเทศลงนามหยุดยิงถาวร หาทางประนีประนอม 2 ทางเลือกระหว่างพหุพาคีกับทวิภาคี

    สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานคำแถลงระหว่างการเดินทางเยือนญี่ปุ่น ของรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย นายมาร์ตี นาตาเลกาวา ที่ระบุว่ากัมพูชาและประเทศไทย จะต้องร่วมกันย้ำความมุ่งมั่น ที่จะไม่ใช้กำลังระหว่างการปะทะบนพรมแดน ที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างการพูดที่สโมสรผู้สื่อข่าวแห่งชาติของญี่ปุ่น


    โดย นายมาร์ตี กล่าวว่า ประเทศไทยและกัมพูชาจะต้องปรับกำลัง หรือย้ำความมุ่งมั่นที่ทั้งสองฝ่ายได้ย้ำว่า ไม่ต้องการใช้กำลังทหารในการแก้ปัญหาระหว่างกัน หากพิจารณาธรรมชาติของทั้ง 2 ประเทศ วันนี้ รู้สึกว่าความรับผิดชอบนี้จะต้องกระทำร่วมกัน มากกว่าจะแยกกันทำ

    ทั้งนี้ นายมาร์ตี เยือนพนมเปญและกรุงเทพฯ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา พร้อมเสนอเข้าไกล่เกลี่ยความขัดแย้ง ซึ่งรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำงานจะต้องหาว่าทำอย่างไร ที่จะประนีประนอมความคิดที่ต่างกันสุดขั้วเพื่อแก้ไขปัญหา ด้านหนึ่งต้องการให้มีกรอบการทำงานแบบพหุภาคี ซึ่งมีบุคคลที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้อง และอีกด้านต้องการเจรจาแบบทวิภาคี

    นอกจากนี้ นายมาร์ตี ยังกล่าวอีกว่า ผ่านพ้นวันเวลาที่อาเซียน เคยกวาดสิ่งต่าง ๆ ไว้ใต้พรม ไม่แก้ปัญหาที่อยู่ข้างหน้า ในช่วงเวลานี้เราต้องการที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาที่อยู่ข้างหน้า เพื่อนำมาซึ่งสันติและความกลมเกลียว เมื่อใดก็ตามที่มีความแตกแยกระหว่างรัฐอาเซียน อย่างที่เรากำลังทำระหว่างกัมพูชาและประเทศไทย

    [​IMG]

    ขณะเดียวกัน วันนี้ (19 กุมภาพันธ์) พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ 2 เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการพักครึ่งการหารือกับฝ่ายทหารกัมพูชา ในเรื่องของการเจรจาการหยุดยิง โดย พล.ท.ธวัชชัย กล่าวเพียงสั้น ๆ ว่าอยู่ระหว่างการพักรับประทานอาหารกับฝ่ายทหารกัมพูชา ซึ่งบรรยากาศในโต๊ะอาหาร หลังการเจรจาครึ่งแรกก็ผ่านไปได้ด้วยดี แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าผลสรุปสุดท้ายจะออกมาเป็นอย่างไร แต่ส่วนตัวก็เห็นว่าไม่น่าจะปัญหาอะไรเช่นกัน

    อย่างไรก็ตาม จากการติดต่อ พล.ท.ธวัชชัย นั้น พบว่าสัญญาณโทรศัพท์เป็นสัญญาณที่อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าขณะนี้ พล.ท.ธวัชชัย น่าอยู่ในฝั่งประเทศกัมพูชา โดยคาดว่าคู่เจรจากับ พล.ท.ธวัชชัย คือ พล.ท.สไล ดึก ผู้บัญชาการกองพลสนับสนุนที่ 3 กัมพูชา

    [18 กุมภาพันธ์] กัมพูชายันจุดยืนไม่เปลี่ยน 4 ข้อ หยุดยิงกับไทย


    กัมพูชา ยืนยันจุดยืนไม่เปลี่ยนแปลง 4 ข้อหยุดยิงกับไทย แม้จะไม่ได้รับความเห็นด้วยจากไทย ขณะที่ประเทศไทย สนอง 3 กลไก หยุดยิงถาวรจากกัมพูชา แต่ไม่รับการเข้าควบคุมการหยุดยิงจากอาเซียน ชี้แค่เจรจาก็เพียงพอ

    สำนักข่าวด่วนกัมพูชา (CEN) รายงานวันนี้ (18 กุมภาพันธ์) อ้าง นายกอย เกือง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ยืนยันจุดยืนว่า กัมพูชาจะไม่เปลี่ยนแปลง 4 ข้อเสนอ โดย สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่เตรียมเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน อย่างไม่เป็นทางการ ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์นี้ ที่ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อให้เกิดการหยุดยิงถาวรกับประเทศไทย ถึงแม้ไทยจะปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว

    โดย 4 ข้อ สำหรับการหยุดยิง จากสมเด็จฮุน เซน ประกอบด้วย

    1. กัมพูชาและไทยเห็นพ้องยุติการสู้รบอย่างถาวร จะไม่มีการขัดกันด้วยอาวุธกันอีกต่อไป

    2. ห้ามเคลื่อนย้ายกองกำลัง ให้ทั้ง 2 ฝ่าย คงกองกำลังในจุดเดิม เพื่อรอการแสวงหาข้อยุติเกี่ยวกับการวัดและปักปันเขตแดน

    3. กัมพูชาและไทย จะส่งเสริมให้ผู้บัญชาการกองทัพของ 2 ประเทศ เปิดการเจรจาปรับปรุงความร่วมมือ เพื่อทำให้สถานการณ์กลับไปยังสภาพก่อนวันที่ 15 กรกฎาคม 2551

    4. กัมพูชาจะขอให้ประเทศอาเซียน ช่วยควบคุมการหยุดยิง เพื่อรับประกันว่า ข้อตกลงหยุดยิง จะถูกปฏิบัติใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

    นายกอย เกือง ยังได้กล่าวหาว่า กัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มยิงก่อน ซึ่งหากไทยคิดว่า กัมพูชาเป็นผู้ก่อกวนและเป็นเหยื่อของการโจมตีจากกัมพูชาแล้ว ประเทศไทยก็ไม่ต้องกลัวการที่จะมีผู้สังเกตการณ์จากต่างประเทศ เข้ามาในพื้นที่ และในความเป็นจริง ที่ประเทศไทยปฏิเสธผู้สังเกตการณ์จากประเทศในกลุ่มอาเซียน นั้น ก็เพราะกลัวการถูกเปิดเผยตัวตนที่แท้จริง

    ขณะที่สำนักข่าวต่างประเทศ รายงาน อ้างคำกล่าวนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่อข้อเสนอ 4 กลไกหยุดยิงถาวร จาก สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา โดยระบุว่า ประเทศไทยไม่ใช่ต้นเหตุของปัญหา แต่คือ ประเทศกัมพูชา และประเทศไทยก็มีความยินดี สำหรับการเจรจาอย่างสันติ โดยขณะนี้ ทั้ง 2 ฝ่าย ต่างมีความประสงค์เดียวกัน คือ "หยุดยิงและเจรจา"

    ซึ่งทั้งนี้ นายชวนนท์ กล่าวแสดงการตอบรับข้อเสนอ 3 ข้อ แต่การสังเกตการณ์ หรือ เข้าควบคุมจากอาเซียนนั้น คิดว่าไม่จำเป็น และกลไกทวิภาคี ก็เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาขัดแย้งได้

    ทางด้านซู วิลเลียมส์ โฆษกหญิงองค์การยูเนสโก กล่าวว่า ทางยูเนสโกจะยังไม่ส่งผู้แทนเยือนปราสาทพระวิหารในช่วงเวลานี้ ตามคำร้องของสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูา เพื่อสำรวจความเสียหายจากการปะทะกันกับประเทศไทย เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา แต่จะส่งไปหากการสถานการณ์ความตึงเครียด ระหว่างไทยกับกัมพูชา สิ้นสุดลงแล้ว และการเดินทางเยือนใด ๆ ของยูเนสโก จะต้องได้รับความร่วมมือ หรือยินยอมอย่างเต็มที่จากทั้งสองประเทศ

    ก่อนหน้านี้ ประเทศไทย เคยกล่าวว่า การเดินทางเยือนปราสาทพระวิหารของยูเนสโก อาจจะเป็นการเพิ่มความตึงเครียดตามแนวชายแดนขึ้นได้

    [​IMG]
    [​IMG]
    [16 กุมภาพันธ์] ฮุนเซน ขอไทยลงนามหยุดยิงถาวร 22 ก.พ.นี้


    กัมพูชาเดินหน้าสร้างภาพ ขออาเซียนเป็นสักขีพยาน บีบไทยลงนามสัญญาหยุดยิงถาวร ในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน วันที่ 22 กุมภาพันธ์นี้ ที่กรุงจากาตาร์

    สำนักข่าวซินหัวของทางการจีน รายงานในวันนี้ (17 กุมภาพันธ์) ว่า สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา กล่าวระหว่างการแถลงข่าวที่ ทำเนียบรัฐบาลกัมพูชา ว่า กัมพูชา จะขอให้ไทยลงนามในข้อตกลงหยุดยิงถาวร ระหว่างการประชุมอาเซียน ที่ กรุงจากาตาร์ วันที่ 22 กุมภาพันธ์นี้ โดยให้รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศกลุ่มอาเซียน หรือ ประธานอาเซียน ร่วมเป็นสักขีพยาน

    ทั้งนี้ สมเด็จฮุน เซน ยังกล่าวสำทับอีกว่า หากนายมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะ ประธานหมุนเวียนอาเซียน ร่วมลงนามในสัญญาดังกล่าวด้วย

    ทางด้าน นายสม รังสี ผู้นำฝ่ายค้านของกัมพูชา ส่งจดหมายลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ ถึง สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา เกี่ยวกับ ปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนกับประเทศไทย โดยสนับสนุนให้รัฐบาลกัมพูชา ยื่นเรื่องต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติโดยเร็ว เพื่อจัดประชุมด่วน เพื่อจะนำไปสู่การสิ้นสุดเหตุปะทะกันระหว่างไทยและกัมพูชา

    นอกจากนี้ ในจดหมายยังกล่าวชื่นชมรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ที่ไม่ใช้วิธีการเจรจาทวิภาคี เพื่อหยุดข้อพิพาทระหว่างกัน แต่ติงว่าอาเซียนไม่สามารถช่วยให้ทั้ง 2 ประเทศ แก้ไขปัญหาได้ เพราะอาเซียน ไม่ได้มีจุดยืนที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ และไม่สนับสนุนให้กัมพูชา ตกเป็นเหยื่อของการรุกรานและการบุกรุกจากไทย ก่อนทิ้งท้ายว่า ตนพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือรัฐบาลกัมพูชา เพื่อต่อต้านการรุกรานจากประเทศไทย

    ขณะที่สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานถึงกรณีที่ คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ (UNSC) มีมติให้ ประชาคมอาเซียน เข้ามาทำหน้าที่จัดการประชุมทวิภาคี ในการแก้ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ตรงพื้นที่ทับซ้อนเขาพระวิหาร ซึ่ง ล่าสุด ได้มีการปะทะกันอยู่ประปราย ในช่วงเช้าตรู่วันอังคารที่ผ่านมา จนถึงวันนี้ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว นายฮอร์ นัม ฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า ในการเข้าร่วมประชุมอาเซียน ที่กรุงจากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซียนั้น จะร้องขอให้มีการส่งคณะสังเกตการณ์ เข้าตรวจสอบพื้นที่ความเสียหาย และเพื่อตรวจสอบการหยุดยิง ตามสัญญาที่ให้ไว้กะบ UNSC ของทั้ง 2 ฝ่าย และรอดูว่า ไทยจะยอมให้คณะผู้สังเกตการณ์เข้าพื้นที่หรือไม่

    อย่าง ไรก็ตาม นายฮอร์ นัม ฮง ยัง ยืนยันด้วยว่า การปะทะกันทั้งหมดนั้น ฝ่ายไทยเป็นผู้เริ่มต้น รวมถึงครั้งล่าสุด เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ไทยก็เป็นฝ่ายเปิดฉากยิงก่อนด้วย

    สำหรับแนวชายแดนไทย-กัมพูชา นั้นตึงเครียดมาตั้งแต่ปี 2008 เมื่อมีการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร เป็นมรดกโลก และมีการปะทะกันมาแล้วหลายครั้ง แต่ในวันวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ เป็นครั้งรุนแรงที่สุด จนมีการร้องให้ องค์การสหประชาชาติ ยื่นมือเข้ามาช่วยแก้ปัญหา ​




    [​IMG]


    [16 กุมภาพันธ์] เขมรแถลงการณ์ ปัดยิงไทยก่อน
    กัมพูชา ออกแถลงการณ์โต้ นายกฯไทย ปัดเริ่มยิงไทยก่อน และไม่ได้ใช้ปราสาทพระวิหารเป็นฐานการโจมตี

    เว็บไซต์ ฟิฟทีนมูฟ เผยแพร่แถลงการณ์ จากหน่วยสื่อและตอบโต้เร็ว สำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2011 เพื่อปฏิเสธข้อกล่าวหาของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไทย และนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ที่ถูกเผยแพร่ขึ้น ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ว่า กัมพูชา เริ่มการปะทะใกล้ปราสาทพระวิหารและปราสาทถูกใช้เป็นฐานการโจมตี

    โดยแถลงการณ์ ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว พร้อมระบุว่า เป็นข้อกล่าวหาที่ขัดกับหลักเหตุผลและสามัญสำนึก ยิ่งกว่านั้น กัมพูชาก็เป็นประเทศที่ขาดหนทาง ที่จะทำการท้าทายประเทศไทยในทางทหาร ประชากรกัมพูชา น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของประเทศไทยขนาดจีดีพีประมาณหนึ่งในยี่สิบของจีดีพีไทย จำนวนกำลังทหารของกัมพูชาประมาณหนึ่งในแปดของประเทศไทย และประเทศไทยติดอาวุธทันสมัยเป็นอย่างดี รวมถึงกำลังทหารอากาศและทหารเรือ ซึ่งประเทศไทย ได้ข่มขู่อย่างเปิดเผยว่า จะใช้กับกัมพูชา

    ในเรื่องของการปะทะตามแนวชายแดน รัฐบาลไทย ก็พยายามจะเก็บความเห็นของประชาคมนานาชาติไว้ในที่มืด นายกรัฐมนตรีไทยได้พยายามที่จะกีดกันผู้สังเกตการณ์ที่เป็นกลาง และพยายามแม้กระทั่งจะกีดกันตัวแทนของยูเนสโก ที่จะเข้าไปยังปราสาทพระวิหาร เพื่อตรวจสอบความเสียหายที่เกิดจากทหารไทย ด้วยเหตุนี้รัฐบาลไทยหาหนทางปิดประตูเพื่อซุกซ่อนอดีตของตนและการรุกรานที่ กำลังดำเนินอยู่

    อย่างไรก็ดี กัมพูชาก็รู้สึกประทับใจในความพยายามของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่จะป้องกันการต่อสู้รอบใหม่ และขอสนับสนุนให้อาเซียนเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย


    [​IMG]

    [​IMG]


    [14 กุมภาพันธ์] โรงเรียนภูมิซรอลเปิดเรียนวันแรก นักเรียนมา 50%


    เปิดเรียนวันแรก หลังทหารไทยปะทะเขมร นักเรียน ครู ร.ร.บ้านภูมิซรอล ช่วยกันทำความสะอาด ผอ.สพฐ.ศรีสะเกษ เขต 4 ระบุ วันแรกมีนักเรียนแค่ 50% พรุ่งนี้เต็ม 100% แน่นอน ด้านผู้ว่าฯสระแก้ว เผย แนวตะเข็บชายแดน ไร้วี่แววเหตุปะทะ

    วันนี้เป็นวันแรกที่โรงเรียนบ้านภูมิซรอล ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เปิดเรียน ปรากฏว่า คณะครู นักเรียน เจ้าหน้าที่ ต่างช่วยกันเก็บกวาด ทำความสะอาด บริเวณโรงเรียน เนื่องจากว่ามีเศษใบไม้ตกเกลื่อนเป็นจำนวนมาก ขณะที่โรงเรียนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นการเปิดเรียนในวันนี้เป็นวันแรกเช่นกัน

    โดยนายวรรณะ บุญสุข ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ศรีสะเกษ เขต 4 กล่าวว่า จากการที่ตนได้ตรวจเยี่ยมทุกโรงเรียนแล้ว ปรากฏว่า ในวันแรกนี้คาดว่าจะมีนักเรียน มาเรียนประมาณ 50% คาดว่านักเรียนยังคงหวาดผวากับเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างทหารไทยกับทหาร กัมพูชา ที่บริเวณเขาพระวิหาร ซึ่งคาดว่า พรุ่งนี้จะมีนักเรียน มาเรียนเต็ม 100% อย่างแน่นอน

    ด้าน นายศานิตย์ นาคสุขศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว เปิดเผย สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า สถานการณ์ตามแนวชายแดนล่าสุด ที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชาถึง 165 กิโลเมตร นั้น ยังคงปกติ ไร้วี่แววว่าจะมีการปะทะกันในพื้นที่ เนื่องจากด่านสำคัญอย่างปอยเปต และโรงเกลือ อรัญประเทศนั้น เป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ ทางกัมพูชาคงไม่กล้าทำอะไร ที่เป็นการทุบหม้อข้าวตัวเองแน่ และการไปมาหาสู่ของคนกัมพูชา และคนไทยก็ยังข้ามแดนเป็นปกติ มีจำนวนประมาณ 1 หมื่นคนต่อวันเช่นเดิม ไม่ได้ลดน้อยลงเหมือนที่เป็นข่าวเลย ส่วนการที่ สมเด็จฮุนเซน จะเดินทางเปิดถนนในพื้นที่ใกล้กับด่านนั้น ก็ห่างออกไปประมาณ 20 กิโลเมตร จากฝั่งไทย และการที่ทหารองครักษ์มาด้วยนั้น ก็เป็นธรรมดาของกองกำลัง ที่มาคุ้มกันผู้นำของเขา ไม่ใช่การเสริมกำลัง เพื่อประชิดชายแดนแต่อย่างใด

    อย่าง ไรก็ตาม ผู้ว่าฯ สระแก้ว กล่าวอีกว่า ในวันที่ 15 ก.พ. ที่จะมีการทำพิธีเปิดถนนในฝั่งกัมพูชานั้น จะไม่มีการปิดด่านตรงข้ามปอยเปตแน่ ยังคงมีการเปิดด่านตามปกติ


    [​IMG]

    [13 กุมภาพันธ์] ตื่น! เสียงปืนกลางดึก ชาวบ้านอพยพกลับ

    ชาว บ้านชายแดนไทย-กัมพูชาทยอยกลับบ้านแล้ว แต่กลับเกิดเสียงปืนดังขึ้นเมื่อคืนที่ผ่านมา จนต้องอพยพมายังที่ว่าการอำเภออีกครั้ง ผู้ว่าฯ ศรีสะเกษเผยแค่เสียงดังจากฝั่งกัมพูชา ไม่มีเหตุการณ์ปะทะ ด้านชวนนท์เผยประชุม JBC ส่อเค้าล่ม หลังกัมพูชาอ้างบรรยากาศไม่ชัดเจนพอที่จะเข้าร่วมประชุม

    สำนักข่าวเบอร์นามา ของประเทศมาเลเซีย รายงานว่า ชาวบ้านซึ่งอพยพมาจากแนวชายแดนของ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อช่วงเกิดการปะทะระหว่างทหารไทยกับกัมพูชา เมื่อวันที่ 4-7 ก.พ. ที่ผ่านมา ได้เดินทางกลับเข้าหมู่บ้านเดิมของตนเองเรียบร้อยแล้วตั้งแต่วานนี้ (12 กุมภาพันธ์) โดยมีกองกำลังจากกองทัพภาคที่ 2 เข้าดูแลในพื้นที่อย่างเข้มงวด

    แต่ อย่างไรก็ตาม กลับมีรายงานว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา เวลาประมาณ 22.00 น. ได้เกิดเสียงปืนดังขึ้น ที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ทำให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้กับพื้นที่ดังกล่าว อาทิ หมู่บ้านคลองทราย หมู่บ้านหนองอุดม หมู่บ้านโดนเอาว์ ต้องอพยพกันออกมาอยู่บริเวณที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์อีกครั้ง หลังจากเมื่อวานนี้ทางจังหวัดได้อนุญาตให้กลับเข้าพื้นที่ได้ ซึ่งประชาชนหลายคนยังหวาดระแวงกับสถานการณ์ดังกล่าว

    โดยนายชวน หวนคนึง ประชาชนที่อาศัยอยู่ภายในหมู่บ้านคลองด่าน เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 22.00 น. ของเมื่อคืนที่ผ่านมา ตนได้ยินเสียงปืนนัดแรกดังขึ้นและดังตามมาอีกกว่า 10 นัด จึงทำให้รู้สึกหวาดกลัวกับเหตุการณ์ดังกล่าว จนกระทั่งเวลาประมาณ 01.00 น. ตนและชาวบ้านคนอื่น ๆ ในหมู่บ้านหลายสิบคน ได้อพยพกันออกมายังที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์ เนื่องจากไม่มั่นใจในสถานการณ์ และยืนยันว่าจะอยู่ที่อำเภอจนกว่าจะมีความมั่นใจ ทั้งนี้เมื่อคืนที่ผ่านมา ภายในที่ว่าการอำเภอ ก็มีประชาชนบางส่วนที่ไม่มั่นใจในสถานการณ์ เดินทางมาอาศัยบริเวณดังกล่าวเป็นจำนวนหนึ่ง


    [​IMG]


    ด้านนายสม ศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยถึง เหตุการณ์เสียงปืนดังขึ้นใกล้หมู่บ้านภูมิซรอล เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา ว่า เหตุการณ์ดังกล่าวมีจริง เป็นเสียงดังคล้ายปืนใหญ่ และจากการตรวจสอบกับแม่ทัพภาคที่ 2 ก็พบว่า เหตุดังกล่าวไม่มีการยิงปะทะ เป็นการเกิดเสียงดังขึ้นในฝั่งประเทศกัมพูชา และทางการทหารไทย ก็ไม่ได้ตอบโต้กลับใด ๆ และ ยอมรับว่า เหตุที่เกิดขึ้นชาวบ้านก็หวาดผวา พากันอพยพกลับเข้ายังศูนย์อพยพกว่า 30 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่ ได้ทำการชี้แจงและยืนยันว่า ไม่มีการปะทะกันแน่นอน ชาวบ้านก็วางใจยอมกลับเข้าสู่พื้นที่

    ทั้งนี้ ตนได้สร้างความเชื่อมั่นกับชาวบ้าน ทั้งการนอนพักค้างคืนกับชาวบ้าน และให้ชุดอาสาสมัคร แนะวิธีการแจ้งเตือนและการดูแลตนเอง ขณะเกิดเหตุการปะทะ รวมทั้ง สังเกตเหตุการณ์ว่า ควรอพยพเมื่อใด และในวันนี้ แม่ทัพภาคที่ 2 จะนำกำลังทหารเข้ามาประจำจุดเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวบ้านได้

    ขณะที่ความคืบหน้ากรณีจะมีการจัดประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา หรือ เจบีซี ที่มีกำหนดจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ ส่อเค้าล่มเสียแล้ว โดยนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้เปิดเผยว่า มี สัญญาณจากทางกัมพูชาจะไม่เข้ารว่มประชุมดังกล่าว โดยอ้างว่าบรรยากาศยังไม่ชัดเจนดีพอที่จะตัดสินใจเข้าร่วม หรือไม่เข้าร่วม แต่ในส่วนประเทศไทยเอง ยืนยันว่าจะจัดการประชุมดังกล่าวขึ้น ซึ่งต้องดูสถานการณ์หลังวันที่ 14 กุมภาพันธ์อีกครั้ง



    [​IMG]
    ทหารไทย ปะทะ ทหารเขมร

    [12 กุมภาพันธ์] กัมพูชา ฟ้อง UNDP ไทยทำเขาพระวิหารเสียหาย

    ซก อาน ร่อนจดหมาย ถึง UNDP ฟ้องไทย ทำพระวิหารเสียหาย ใช้ "คลัสเตอร์ บอมบ์" แขวะไทยล็อบบี้นานาชาติไม่สำเร็จ ด้านชาวกันทรลักษ์เตรียมทยอยกลับบ้านแล้ว

    นายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ส่งหนังสือร้องเรียน ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2011 ต่อสำนักงาน โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ในกรุงพนมเปญ ระบุ ทหารไทยได้ยิงปืนใหญ่ และทหารล้อมรอบตัวปราสาทพระวิหาร ส่งผลให้ตัวปราสาทเสียหายอย่างรุนแรง พร้อมสนับสนุนคำกล่าวของ สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ว่า "เป็นสงครามที่แท้จริง" ในขณะที่ไทยยังคงเพิ่มกำลังทหารเข้ามาประจำการ ตามแนวชายแดน แม้จะไม่มีการปะทะกันมา ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ ซึ่งอาจจะทำให้การปะทะกันครั้งใหม่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

    นอก จากนี้ ในหนังสือร้องเรียน ยังกล่าวโยนความผิดในการใช้อาวุธต้องห้าม อย่าง "คลัสเตอร์ บอมบ์" หรือ ระเบิดพวง ที่มีการทำสนธิสัญญาห้ามใช้ทั่วโลกว่า ถูกยิงมาจากฝ่ายไทยอีกด้วย

    ด้านสำนักข่าว ดืม อัม ปึม ของกัมพูชา รายงานอ้างคำกล่าวของนายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา เมื่อช่วงเย็นวานนี้ (11 กุมภาพันธ์) ก่อนเดินทางไปมหานครนิวยอร์ก เพื่อร่วมประชุมร่วมกับนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย , รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะประธานหมุนเวียนสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน รวมถึงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่จัดขึ้นในวันจันทร์ (14 กุมภาพันธ์) ที่จะถึงนี้ ในกรณีข้อพิพาทชายแดนกับไทยจนเกิดการปะทะกันขึ้น

    โดย นายฮอร์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวก่อนออกเดินทางว่า ประเทศไทยประสบความล้มเหลวในการล็อบบี้ประชาคมระหว่างประเทศ และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพราะพวกเขารับรู้ถึงความชั่วร้ายของประเทศไทย ในการบุกรุกดินแดนของกัมพูชา แถมใช้ระเบิดพวง จนส่งผลกระทบต่อประชาชน ในพื้นที่ชายแดน และสร้างความเสียหายต่อปราสาทพระวิหารที่เป็นมรดกโลก

    ขณะที่สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า เจ้าหน้าที่ขององค์การสหประชาชาติ หวังว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย นายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา และ นางมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย จะเข้าร่วมประชุม กับคณะมนตรีความมั่นคงของยูเอ็น ในวันที่ 14 ก.พ. นี้

    โดยโฆษกของคณะผู้แทนจากบราซิล ซึ่งเข้าดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ในเดือนนี้ เปิดเผยว่า การหารือในวันจันทร์นี้จะกระทำเป็นการลับ

    ทั้งนี้ข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา ในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 10 ราย ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และเป็นเหตุให้ สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประชุมเป็นการเร่งด่วน และส่งกองกำลังรักษาสันติภาพ เข้ามายังพื้นที่ แต่ไทยไม่ยอมรับ และยืนยันจะเจรจาแค่ 2 ประเทศเท่านั้น

    ขณะ ที่บรรยากาศทั่วไปบริเวณที่ว่าการ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ขณะนี้ประชาชนส่วนใหญ่ได้จัดเตรียมข้าวของ เพื่อเดินทางกลับเข้าพื้นที่ของตนเอง หลังจากวันนี้ ทางจังหวัด ได้อนุญาตให้ประชาชนทุกหมู่บ้านเดินทางกลับเข้าพื้นที่ได้ เนื่องจากบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ไม่มีการปะทะกันมาเป็นเวลาหลายวันแล้ว โดยทางจังหวัดได้จัดรถรับส่งประชาชนเป็นจำนวนมาก ส่วนครอบครัวใดที่นำรถส่วนตัวมา ก็สามารถเดินทางกลับเข้าพื้นที่ได้เลย

    ทั้งนี้ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ศรีสะเกษ ได้จ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ที่ประกาศเป็นพื้นที่ภัยสงคราม ครัวเรือนละ 1,200 บาท ซึ่งมีประชาชนจำนวนมากมาลงชื่อแจ้งความจำนง พร้อมกันนั้น บริเวณหอประชุมของทางอำเภอ คณะนางสาวไทยได้ร่วมกันตักอาหาร เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนที่มาต่อแถวกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกตื่นเต้น ดีใจ อย่างไรก็ตามทาง นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการ จ.ศรีสะเกษ ได้เดินทางมาพูดคุยและดูแลความเรียบร้อยบริเวณดังกล่าวด้วยตัวเอง



    [​IMG]


    [11 กุมภาพันธ์] กัมพูชาเผยมีอาวุธพอที่จะสู้สงครามกับไทย

    รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมกัมพูชา โว มีอาวุธพอที่จะสู้กับไทย ขณะเตรียมส่งทูตหารือ เล็งรับความช่วยเหลือเรื่องแผนที่จากฝรั่งเศส

    สำนัก ข่าว ดืม อัม ปึม รายงานเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ อ้างคำกล่าว พลเอกเตีย บัญ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ระบุ กัมพูชามีอาวุธเพียงพอสำหรับยิงกับผู้รุกรานชาวไทย และทหารไทย ก็กลัวถูกจับเป็น จากกำลังทหารกัมพูชา ถ้าเกิดการปะทะขึ้น และการปะทะกันเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมากัมพูชา สามารถจับทหารไทย 5 นาย เป็นเชลย หลังจากนั้น เชลยศึกทุกคนถูกปล่อยตัวแต่มีคนหนึ่งถูกปล่อย โดยมีทูตและกระทรวงกลาโหมไทย เป็นสักขีพยาน

    ด้านสำนักข่าว วอยซ์ ออฟ อเมริกา/แขมร์ รายงาน นายกอย เกือง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา กล่าวเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ว่ากัมพูชา ได้มอบหมายให้ เอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำกรุงปารีส ยื่นเรื่องไปยัง กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส เพื่อขอหารือเกี่ยวกับแผนที่ หลังจากฝรั่งเศสเสนอตัวช่วยคลี่คลายข้อพิพาทชายแดน ระหว่างไทยและกัมพูชา โดยการยินดีที่จะมอบเอกสาร หรือจัดทำสำเนาเอกสารใด ๆ ก็ตาม หากมีประเทศใด ร้องขอคำปรึกษาจากฝรั่งเศส

    นอกจากนี้ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ยังกล่าวว่า แผนที่ดังกล่าว ที่จัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศส "ได้รับการยอมรับในระดับสากล" และประเทศไทยก็จ้องที่จะฮุบแผ่นดินของกัมพูชา

    [11 กุมภาพันธ์] เกาะติดสถานการณ์ ไทยปะทะเขมร ชายแดน ไทย - กัมพูชา

    [​IMG] 13.49 น. ทหารเรือวางกำลังป้องกันแนวชายแดนจันทบุรี-ตราด เพือความไม่ประมาท แม้สถานการณ์ความรุนแรงไทย-กัมพูชาจะเงียบลงแล้ว

    [​IMG] 12.47 น. นายมาการิม วิบิโซโน่ ผอ.บริหารมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) ชี้ การปะทะกันระหว่างไทยกับกัมพูชา เป็นจุดอ่อนของการเชื่อมเครือข่ายประชาคมอาเซียน

    [​IMG] 12.24 น. ด่านอรัญประเทศเริ่มตึงเครียด หลังทหารเขมรฝั่งปอยเปต เสริมรถถังและระดมพลพร้อมรบ 100 % รอเพียงคำสั่งฮุน เซน เปรียบทหารไทยเป็นโจร

    [​IMG] 10.46 น. ผู้อพยพชาวไทยที่พักอาศัยในศูนย์ผู้อพยพเดินทางกลับบ้านแล้วบางส่วน หลังการปะทะกันระหว่างไทย - กัมพูชาสงบลง แต่ทหารทั้ง 2 ฝ่าย ยังคงตรึงกำลังกันตามปกติ

    [​IMG] 10.42 น. ผบ.ทบ.ชี้สถานการณ์ชายแดนไม่มีความรุนแรงเพิ่ม ประชาชนทยอยกลับบ้านได้ ขณะที่กัมพูชาเพิ่มกำลังเป็นเพียงมาตรการชายแดนปกติ เพราะไทยก็สั่งเพิ่มกำลังเช่นกัน

    [​IMG] 10.31 น. สถานีโทรทัศน์วอยซ์ ออฟ อเมริกา เผยยอดตัวเลขการค้าบริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา วิกฤติหนัก หลังเกิดเหตุการณ์ปะทะระหว่าง 2 ประเทศ

    [​IMG] 09.57 น. นายกฯ อภิสิทธิ์ วีดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ วอนคนชายแดนกัมพูชาฟังข่าวจากทางการ ป้องกันข่าวลือทำให้สับสน

    [​IMG] 08.34 น. ผู้ว่าฯ ศรีสะเกษ เตรียมหารือแม่ทัพภาค 2 ประเมินสถานการณ์ให้ชาวบ้านกลับเข้าพื้นที่ได้หรือไม่ หลังสถานการณ์ยังเงียบสงบ

    [​IMG] 07.17 น. รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมกัมพูชา โวมีอาวุธพอที่จะสู้กับไทย ขณะเตรียม ส่งทูตหารือ เล็งรับความช่วยเหลือเรื่องแผนที่จากฝรั่งเศส


    [​IMG]
    กองทัพไทยมีการลำเลียงกำลังพลและอาวุธเข้าไปในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา เพื่อเตรียมความพร้อมหากมีสถานการณ์ฉุกเฉิน


    [10 กุมภาพันธ์]ไทยปะทะเขมร ฮุน เซน ลั่นไม่หวนคืนเจรจาทวิภาคีกับไทย

    นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ลั่นไม่หวนคืนการเจรจาทวิภาคีกับไทย เตรียมส่ง ฮอร์ นัมฮง ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

    สำนัก ข่าว ดืม อัม ปึม (DAP) รายงานวานนี้ (9 กุมภาพันธ์) อ้างคำกล่าว สมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ระหว่างการประชุมประจำปีกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า กัมพูชา ไม่สามารถกลับไปทำการเจรจาทวิภาคีกับไทยอีกต่อไป และต้องการบุคคลที่ 3 ให้เข้ามามีส่วนร่วมและไกล่เกลี่ยในเรื่องนี้

    ส่วนเรื่องที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จะจัดประชุมในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับข้อพิพาทชายแดน ระหว่างไทยและกัมพูชา ทางกัมพูชาจะส่ง นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่ออธิบายถึงการรุกรานของไทยในพื้นที่ปราสาทพระวิหารให้กับ คณะมนตรีได้รับทราบ

    นอกจากนี้ สมเด็จฮุน เซน ยังกล่าวย้ำว่า ขณะนี้ไทยและกัมพูชาคือการทำสงคราม ไม่ใช่การปะทะกันด้วยอาวุธ กัมพูชาเห็นว่าประเทศไทยเป็นผู้บุกรุกและปล้นผืนแผ่นดิน ซึ่งกัมพูชาจะใช้นโยบายระยะยาวในการต่อกรกับไทย เช่นเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระนโรดมสีหนุเคยกระทำในการต่อต้านการรุกรานของ ไทย เกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร เมื่อปี 1954 จนถึงปี 1959 จึงได้ร้องต่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการรุกรานของไทย ซึ่ง นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และกองทัพไทยก็ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างประเทศ

    ขณะที่ ประเทศฝรั่งเศส เสนอตัวช่วยคลี่คลายข้อพิพาทชายแดนระหว่างไทยและกัมพูชา ด้วยการมอบแผนที่ ซึ่ง ฝรั่งเศสทำขึ้นช่วงต้นของศตวรรษก่อน เมื่อครั้งที่ยังปกครองอินโดจีน โดย เบอร์นาร์ด วาเลโร โฆษกกระทรวงการต่างประเทศบอกกับผู้สื่อข่าวว่า ปารีสมีความยินดีที่จะมอบเอกสาร หรือ จัดทำสำเนาเอกสารใด ๆ ก็ตาม หากมีประเทศใดร้องขอคำปรึกษาจากฝรั่งเศส ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ได้จัดทำแผนที่ สำหรับเตรียมการทำสนธิสัญญาสยาม -ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ซึ่งปักปันเขตแดนเหนือพื้นที่พิพาทระหว่างสองประเทศ


    [10 กุมภาพันธ์] เกาะติดสถานการณ์ ไทยปะทะเขมร ชายแดน ไทย - กัมพูชา

    [​IMG] 18.00 น. รัฐบาลออกแถลงการณ์ 4 ข้อย้ำไทยปกป้องอธิปไตย ไม่ยิงกัมพุชาก่อน ต้องรีบฟื้นฟูประชาชน

    [​IMG] 17.54 น. กระทรวงต่างประเทศเชื่อปมไทย-กัมพูชา จบในทวิภาคีเท่านั้น เมินตั้งคนกลางไกล่เกลี่ย

    [​IMG] 17.38 น. สื่อนอกรายงานนายกฯ อภิสิทธิ์โต้สงครามน้ำลายกับสมเด็จฮุน เซน ชี้แค่ปะทะกันประปราย ไม่ใช่สงคราม ปัดไมตรีฝรั่งเศสที่ยื่นมือช่วยเคลียร์ปัญหากัมพูชา ยัน 2 ประเทศคุยกันได้ ขณะที่เว็บไซต์อาเซียน อ้างเร่งช่วย 2 ชาติหาสันติ นัดให้คุยกันที่ยูเอ็น 14 ก.พ. นี้

    [​IMG] 17.18 น. ปภ.เผยยอดผู้อพยพ 3 จังหวัด ทะลัก 3 หมื่นกว่าคน กำชับ กำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน สระแก้ว-บุรีรัมย์ จัดชุดรปภ.หมู่บ้านเฝ้าระวังสถานการณ์

    [​IMG] 16.50 น. เทพไทชี้ฮุนเซนเจ้าเล่ห์เหมือนสุนัขลอบกัด ขณะที่ประชาคมกัมพูชาเตรียมขอพบนายกฯ อภิสิทธิ์

    [​IMG] 16.06 น. กมธ.กิจการชายแดนไทยเสนอ 2 ประเทศยุติสู้รบ พร้อมถอนกำลังทหาร และเร่งเจรจาทวิภาคี ตาม MOU 43 เพื่อแก้ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา

    [​IMG] 15.33 น. ธานีชี้ยูเนสโกยังไม่ควรไปเขาพระวิหาร เหตุสถานการณ์ล่อแหลม

    [​IMG] 15.23 น. ชาวบ้านเสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ออกจากศูนย์อพยพ กลับไปอยู่บ้านของตนเอง แม้ทางการยังไม่อนุญาต ลั่นห่วงบ้าน

    [​IMG] 15.13 น. บรรหารติงกษิตยิ่งพูดยิ่งสร้างปัญหา บอกทุกฝ่ายควรเงียบ ให้รัฐบาลเจรจา บอกเห็นใจนายกฯ เจอแต่เรื่องปวดหัว

    [​IMG] 14.19 น. นายกฯ เมินฝรั่งเศสเป็นตัวกลางแก้ไขปัญหา ย้ำ 2 ประเทศคุยกันเองได้

    [​IMG] 13.17 น. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา พระราชทานถุงยังชีพ 1,000 ถุง แก่ราษฎร ใน อ.กันทรลักษ์

    [​IMG] 12.24 น. รองผู้ว่าฯศรีสะเกษ เผยคืบหน้าซ่อมแซมบ้านประชาชนที่ถูกระเบิด จากการสู้รบแล้วเสร็จบ้างแล้ว ประเมินอีกครั้งให้กลับบ้าน

    [​IMG] 11.56 น. พันธมิตรซัดฮุนเซนสร้างเรื่องให้เกิดสงคราม หวังมหาอำนาจเข้ามาแทรกแซง กลัวเข้าสู่ทวิภาคี

    [​IMG] 11.37 น. คุณ หญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เยี่ยมประชาชนที่ศูนย์อพยพภัยสงคราม พร้อมมอบสิ่งของให้ชาวบ้าน ชี้ประสานจังหวัดซ่อมแซมบ้าน หลังเหตุสงบ

    [​IMG] 11.14 น. ผู้ อำนวยการโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 2 จ.บุรีรัมย์ นำคณะครูและนักเรียน ซักซ้อมแผนอพยพ เพื่อเตรียมรับมือหากเกิดเหตุปะทะแนวชายแดนไทย - กัมพูชา

    [​IMG] 11.12 น. ชาวกัมพูชาผ่านเข้า - ออก ด่านช่องจอมบางตา ขณะที่ตลาดโอเสม็ดยังคงปิดเงียบ ส่วนสถานการณ์ชายแดน บริเวณ อ.พนมดงรักยังเป็นปกติ

    [​IMG] 11.02 น. สุวิทย์ คุณกิตติ รวบรวมข้อมูลไทย-กัมพูชา ปมปราสาทพระวิหารแจงคณะกรรมการมรดกโลก ระบุหากคณะกรรมการฯ จะลงพื้นที่ต้องได้รับความยินยอมจากไทยด้วย

    [​IMG] 10.10 น. สุเทพปัดข้อเสนอฝรั่งเศสเป็นตัวกลาง เชื่อคุยกันเองได้ ชี้กษิตเล่นบทกร้าวบ้าง เหมาะสมแล้ว

    [​IMG] 07.50 น. ฝรั่งเศสเสนอตัวคลี่คลายข้อพิพาทไทย-กัมพูชา เล็งมอบแผนที่ชี้ชัดเขตแดน ขณะที่กัมพูชาตรวจพบคลัสเตอร์ บอมบ์ ในพื้นที่แนวชายแดน ปณิธาน ปัดถูกยิงมาจากไทย

    [​IMG] 07.33 น. นายกรัฐมนตรีกัมพูชาลั่นไม่หวนคืนการเจรจาทวิภาคีกับไทย เตรียมส่ง ฮอร์ นัมฮง ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ



    [​IMG]



    [9 กุมภาพันธ์] ลือ! ลูกชายสมเด็จฮุน เซน ได้รับบาดเจ็บสาหัส

    ทั้งนี้ รอยเตอร์ยังรายงานด้วยว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC ปฏิเสธการเรียกร้องจากสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ขอให้จัดการประชุมด่วนของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ทั้ง 15 ชาติ ตามข้ออ้างว่า ถูกกองกำลังทหารไทยบุกรุก โดยที่ นางมาเรีย ลุยซา ริเบโร วิออตตี (Maria Luiza Ribeiro Viotti) เอกอัครราชทูตบราซิล ประจำสหประชาชาติ ในฐานะประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ นี้ ได้แถลงว่า ปัญหานี้ควรที่จะแก้ไขกันในระดับภูมิภาค

    แต่ ในเวลาต่อมา อินเนอร์ ซิตี เพรสส์ เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ได้รายงานว่า หลังจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ยังไม่ได้จัดการประชุมเร่งด่วน ตามข้อเรียกร้องของกัมพูชานั้น แต่ได้มีผลสรุปออกมาแล้วว่า จะมีการจัดประชุมตามข้อเรียกร้อง ในวันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ โดยให้นายมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย ที่กำลังเป็นเจ้าภาพหมุนเวียนของอาเซียน และทำหน้าที่เป็นคนกลางไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชา เข้าร่วมการประชุมด้วย

    ขณะที่ นายบัน คี-มุน เลขาธิการสหประชาชาติ ได้กล่าวในระหว่างแถลงข่าวเมื่อวันอังคารว่า เขาได้หารือกับนายกรัฐมนตรีของไทยและกัมพูชา เกี่ยวกับข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว

    ด้าน กระแสข่าวลือที่ว่า พล.ต.ฮุนมาเน็ต รองผู้บัญชาการทหารบกของกัมพูชา ซึ่งเป็นบุตรชายของสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ถูกสะเก็ดระเบิดของทหารไทย จากการเปิดฉากปะทะกัน จนได้รับบาดเจ็บสาหัส จนเป็นเหตุให้บรรดาทหารกัมพูชาเกิดความเคียดแค้น ล่า สุด แหล่งข่าวทางทหารแจ้งว่า พล.ต.ฮุนมาเน็ต ได้รับสะเก็ดระเบิดปืนใหญ่ ขนาด 150 มิลลิเมตร ถูกช่วงบริเวณหัวเข่า บาดเจ็บเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และยังบัญชาการรบที่เขาพระวิหารดังเดิม

    ทั้งนี้ พล.ต.ฮุนมาเน็ต จบจากโรงเรียนนายร้อยเวสต์ พ้อยต์ (The United States Military Academy (West Point) สหรัฐอเมริกา จบปริญญาโท และปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ มีพี่น้องร่วมสายเลือด 6 คน ชาย 3 คน หญิง 3 คน

    ขณะที่สภากาแฟชาวบ้าน ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา กล่าวว่า เป็นถึงลูกชายนายกรัฐมนตรี ไม่น่ามารบเองทั้ง ๆ ที่ สมเด็จฮุนเซน มีทหารใต้บังคับบัญชามากมาย ใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องส่งลูกชายมารบแนวหน้าอย่างนี้

    http://hilight.kapook.com/view/55887
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2011
  4. titawan

    titawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2008
    โพสต์:
    2,290
    ค่าพลัง:
    +5,139
    [​IMG]

    นายกษิต ภิรมย์


    ถกอาเซียนเริ่มแล้ว! ไทยย้ำไม่เคยลงนามหยุดยิง (ไอเอ็นเอ็น)


    การประชุม รมต.อาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เริ่มขึ้นแล้ว โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของไทย ย้ำไม่เคยลงนามในสัญญาหยุดยิงถาวรกับเขมร

    การประชุมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เริ่มขึ้นแล้วเมื่อเวลา 14.00 น. วันนี้ (22 กุมภาพันธ์) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศสมาชิก 6 ประเทศ คือ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว สิงคโปร์ และ ไทย สำหรับประเทศมาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และพม่า ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุม

    นอก จากนี้ยังมี นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ในฐานะเลขาธิการอาเซียน ได้เข้าร่วมประชุมด้วย นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้หารือกับ นายมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ในฐานะประธานอาเซียน เมื่อวานนี้ (21 กุมภาพันธ์) ถึงแนวทางและรูปแบบการประชุมอย่างไม่เป็นทางการ โดยกล่าวว่า การลงนามหยุดยิงกับกัมพูชา ยังไม่เกิดขึ้น ต้องรอกระบวนการเจรจาในรูปแบบต่าง ๆ ก่อน และคงไม่มีการหารือในที่ประชุม แต่จะเน้นย้ำเจตนารมณ์ทางการเมือง

    และวันนี้ได้หารือนอกรอบกับรัฐมนตรีต่างประเทศบรูไน ลาว สิงคโปร์ เพื่อชี้แจงถึงพัฒนาการที่เกิดขึ้น รวมทั้งข้อเท็จจริงในประเด็นปัญหา โดยไทย มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาด้วยการเจรจาและสันติวิธี ซึ่งทุกประเทศต่างเห็นพ้องให้ไทยและกัมพูชา แก้ไขปัญหาแบบสันติวิธีผ่านการเจรจา โดยมีอาเซียนเข้ามาสนับสนุน

    โฆษกกระทรวง การต่างประเทศ กล่าวอีกว่า นอกเหนือจากประเด็นปัญหาไทย-กัมพูชา แล้ว ที่ประชุมยังมีการหารือถึงประเด็นปัญหาต่าง ๆ ในภูมิภาค ทั้งนี้คาดว่า ผลการประชุมจะออกมาในลักษณะแถลงการณ์ของประธานอาเซียน ซึ่งสาระจะเป็นอย่างไร ต้องรอการประชุมเสร็จสิ้นก่อน


    [​IMG]

    http://hilight.kapook.com/view/56428
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2011
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...