ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ครัวเรือนเกษตรไทยในวิกฤติโควิด-19
    หลักฐานเชิงประจักษ์จากการสัมภาษณ์เกษตรกรทั่วประเทศ


    ab2020_11_resized.png
    บทความนี้ศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด-19 และวิธีการรับมือของครัวเรือนเกษตรไทย โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์กับตัวอย่างครัวเรือนเกษตร 720 ครัวเรือนทั่วประเทศ ซึ่งถูกสุ่มมาจากทะเบียนเกษตรกรเพื่อสะท้อนความหลากหลายของครัวเรือนเกษตรไทยตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความเปราะบางของครัวเรือนเกษตรที่แตกต่างกันต่อวิกฤติครั้งนี้ และสะท้อนนัยในการออกแบบนโยบายเยียวยา เพื่อลดผลกระทบต่อการพัฒนาของครัวเรือนในระยะยาว และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ภาคเกษตรไทยในระบบเศรษฐกิจหลังวิกฤติโควิด

    วิกฤติโควิด-19 ที่อยู่กับเรามากว่า 3 เดือนได้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทยอย่างชัดเจน เพราะการที่เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจของเรากระจุกตัวอยู่กับบางภาคส่วน เช่น ภาคการท่องเที่ยวและบริการ และพึ่งพิงการค้าระหว่างประเทศเป็นสัดส่วนสูง ทำให้นโยบายยับยั้งการระบาด ซึ่งส่งผลทำให้ต้องปิดพรมแดนระหว่างประเทศ ระหว่างจังหวัด และทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก มีต้นทุนทางเศรษฐกิจที่สูงมาก และได้ส่งผ่านผลกระทบไปไกลจากบริษัทใหญ่ต้นน้ำ ไปจนถึงผู้ผลิตและแรงงานตัวเล็กตัวน้อยที่ปลายน้ำอย่างถ้วนทั่ว

    วิกฤติโควิด-19 ยังได้ตอกย้ำถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำของระบบเศรษฐกิจของเรา ซึ่งประกอบด้วยหน่วยเศรษฐกิจรายย่อยเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น SME ผู้ใช้แรงงาน หรือเกษตรกร ซึ่งอาจมีสายป่านสั้น มีสถานการณ์การเงินที่ตึงตัวเป็นทุนเดิม และมีข้อจำกัดในการเข้าถึงเครื่องมือในการรับมือกับวิกฤติครั้งนี้ และที่สำคัญคือส่วนใหญ่อยู่นอกระบบ ไม่มีหลักประกันทางสังคม (social safety net) รองรับ และภาครัฐอาจไม่มีข้อมูลมากพอในการออกแบบนโยบายช่วยเหลือเยียวยาที่ตรงจุด และทั่วถึงนัก

    แต่เนื่องจากวิกฤติครั้งนี้มีรากฐานมาจากปัญหา externality ดังนั้นการควบคุมการระบาดจึงต้องอาศัยความร่วมมือของทุกคน หรือ collective action นั่นก็หมายถึงว่าปัญหาปากท้องของคนเพียงบางกลุ่ม ซึ่งอาจถูกบีบบังคับให้ต้องออกมาทำมาหากินที่เสี่ยงต่อการติดและแพร่เชื้อ ก็อาจส่งผลลุกลามทำให้สถานการณ์การระบาดยืดเยื้อไปได้

    โจทย์ใหญ่ทางนโยบายเศรษฐกิจก็คือ จะเยียวยาและบรรเทาผลกระทบอย่างไรให้ทั่วถึงทุก ๆ คนที่เดือดร้อน และให้เพียงพอที่จะประคับประคองทุกหน่วยเศรษฐกิจให้อยู่รอด ตลอดถึงสามารถฟื้นขึ้นได้อย่างรวดเร็วหลังวิกฤติ ดังนั้นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่จะสร้างความเข้าใจถึงผลกระทบอย่างรอบด้านของคนทุกกลุ่มของประเทศจึงเป็นสิ่งสำคัญมากในตอนนี้



    ภาพใหญ่ของความเปราะบางของครัวเรือนเกษตรไทยต่อวิกฤติโควิด-19


    ครัวเรือนเกษตรน่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้ผ่านปัญหาเชิงโครงสร้างข้างต้นของประเทศอย่างชัดเจน หลายคนอาจมีมายาคติว่าภาคเกษตรจะมีศักยภาพในการรองรับการจ้างแรงงานให้กับคนที่กลับไปภูมิลำเนาได้เหมือนสมัยวิกฤติต้มยำกุ้ง แต่ปัญหาภัยแล้งและปัญหาเชิงโครงสร้างต่าง ๆ ของภาคเกษตรไทยในปัจจุบัน (Attavanich et al. 2019) อาจทำให้เป็นไปได้ยากขึ้น

    ข้อมูลทะเบียนเกษตรกรปี 2562 ซึ่งครอบคลุมครัวเรือนเกษตรเกือบทั้งหมดกว่า 6.08 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ[1] แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางในหลายมิติของครัวเรือนเกษตรต่อวิกฤติครั้งนี้

    ในมิติแรก ครัวเรือนเกษตรกว่าครึ่งทั่วประเทศกำลังเพาะปลูก และ/หรือมีผลผลิตพร้อมขายในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ (รูปที่ 1a) และเนื่องด้วยครัวเรือนส่วนใหญ่มักทำเกษตรซึ่งเป็นต้นน้ำของห่วงโซ่อุปทานที่ส่งออกไปขายในเมืองใหญ่และต่างประเทศ มาตรการระงับการระบาด ซึ่งส่งผลให้ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ชะงักงัน และความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไป อาจส่งผลโดยตรงต่อรายได้เกษตรของครัวเรือน

    ในมิติที่สอง 76% ของครัวเรือนเกษตรไทยพึ่งพิงรายได้จากนอกภาคเกษตร และมีครัวเรือนถึง 62% ที่พึ่งพิงรายได้จากการรับจ้างทั่วไปนอกภาคเกษตร (รูปที่ 1b) ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการระงับการระบาด วิกฤติครั้งนี้จึงอาจส่งผลต่อรายได้ครัวเรือนส่วนใหญ่

    รูปที่ 1 สถานการณ์การทำเกษตรของครัวเรือนเกษตรไทยทั่วประเทศ

    abpic2020_011_01-1024x729.png
    ที่่มา Chantarat et al. (2020)

    และหากมองลึกลงไปถึงการจัดสรรแรงงานในครัวเรือน รูปที่ 2 แสดงให้เห็นว่าครัวเรือนเกษตรไทยมีแรงงานที่ทำงานนอกภาคเกษตรอยู่ถึง 9.58 ล้านคน ซึ่งมาจากครัวเรือนในภาคอีสานมากที่สุด (6.94 ล้านคน) โดยแรงงานส่วนใหญ่ทำงานรับจ้างทั่วไปนอกภาคเกษตรมากที่สุด (กว่า 80%) ซึ่งมีความเปราะบางต่อการโดนเลิกจ้างหรือลดเวลาทำงาน และในทุกพื้นที่มีสัดส่วนแรงงานในกลุ่มอายุ 46-60 ปีสูงที่สุดถึง 45% และมีแรงงานอายุน้อยกว่า 45 ปีอยู่ถึง 29%

    รูปที่ 2 แรงงานจากครัวเรือนเกษตรทั่วประเทศที่ทำงานนอกภาคเกษตร

    abpic2020_011_02-3-1024x531.png

    ที่่มา Chantarat et al. (2020)

    ในมิติที่สาม ครัวเรือนเกษตรมีภาระหนี้สินสูง จากข้อมูลสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปี 2561 ของชาวนาไทยทั่วประเทศ รูปที่ 3 แสดงให้เห็นว่า 50% ของครัวเรือนชาวนาไทยกว่า 4.5 ล้านครัวเรือนมีหนี้สิน (คิดเฉพาะแค่จาก ธ.ก.ส.) มากกว่า 200,000 บาท และ 20% มีมากกว่า 400,000 บาท และที่สำคัญก็คือ 54% ของครัวเรือนเหล่านี้ได้อยู่ในโครงการพักหนี้หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วด้วย โดยภาระหนี้สินสูงสุดในกลุ่มครัวเรือนชาวนาในภาคกลางและปริมณฑล ซึ่งมีสัดส่วนของการเข้าโครงการพักหนี้สูงที่สุดด้วย ภาวะทางการเงินที่ตึงตัวของครัวเรือนเกษตรจำนวนมากจึงน่าจะส่งผลโดยตรงต่อความเปราะบางต่อวิกฤติครั้งนี้

    รูปที่ 3 สถานะทางการเงินของครัวเรือนชาวนาไทยทั่วประเทศ

    abpic2020_011_03-3-1024x570.png
    ที่่มา Chantarat et al. (2020)



    เจาะลึกผลกระทบของวิกฤติโควิด-19 จากข้อมูลสำรวจรายครัวเรือน


    Chantarat et al. (2020) ได้ทำการสัมภาษณ์ครัวเรือนชาวนาตัวอย่างจำนวน 720 ครัวเรือนทั่วประเทศทางโทรศัพท์ถึงทัศนคติ การดำรงชีวิตประจำวัน และผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มตัวอย่างเดียวกันกับโครงการวิจัยเรื่องเศรษฐศาสตร์การเงินของครัวเรือนชาวนาไทย ที่ทีมวิจัยได้ไปทำการสำรวจภาคสนามถึงสถานะทางเศรษฐกิจและการเงินอย่างละเอียดมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563

    โดยทีมวิจัยได้สุ่มตัวอย่างครัวเรือนมาจากทะเบียนเกษตรกรที่ครอบคลุมครัวเรือนเกษตรเกือบทั้งหมดของประเทศ ด้วยวิธี two-staged stratified sampling เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับกลุ่มตัวอย่างที่นำมาศึกษา โดยเริ่มจากการสุ่มเลือก 48 ตำบลในพื้นที่ที่ปลูกข้าวหลักทั่วประเทศ (50% ของตำบลเป็นพื้นที่ชลประทาน) และสุ่ม 15 ครัวเรือนในแต่ละตำบล (3 ครัวเรือนจาก 5 กลุ่ม คือ (1) ลูกค้า ธ.ก.ส. และมีที่ดินเกิน 20 ไร่ (2) ลูกค้า ธ.ก.ส. และมีที่ดินน้อยกว่า 20 ไร่ (3) ลูกค้า ธ.ก.ส. และมีหนี้สินมากกว่า 500,000 บาท (4) ไม่ใช่ลูกค้า ธ.ก.ส. และมีที่ดินเกิน 20 ไร่ และ (5) ไม่ใช่ลูกค้า ธ.ก.ส. และมีที่ดินน้อยกว่า 20 ไร่)

    รูปที่ 4 แสดงการกระจายตัวของกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ ซึ่งได้ถูกนำมาศึกษาและปรับ sampling weights เพื่อให้เป็น national representative sample ของครัวเรือนชาวนาไทย

    รูปที่ 4 การกระจายตัวของครัวเรือนตัวอย่างทั่วประเทศ

    abpic2020_011_04-603x1024.png
    ที่่มา Chantarat et al. (2020)



    สถานะเศรษฐกิจการเงินของครัวเรือนเกษตรก่อนวิกฤติโควิด


    รูปที่ 5 สรุปสถานะรายได้-รายจ่าย หนี้สิน-ทรัพย์สิน (จากทุกแหล่งทั้งในระบบและนอกระบบ) การประกันภัยและหลักประกันทางสังคมของครัวเรือนตัวอย่างก่อนวิกฤติโควิด โดยพบว่า

    ระหว่างครัวเรือนเกษตรเองก็มีความเหลื่อมล้ำทางรายได้สูง โดยรวมครัวเรือนชาวนามีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีอยู่ที่ 60,276 บาท (รูป 5a) แต่ 27% ของครัวเรือนยังได้รายได้ต่อปีไม่ถึง 12,559 บาท (เส้นความยากจนที่คิดจาก $2.5 ต่อวัน) และเกือบ 10% ยังมีรายได้ติดลบ

    ครัวเรือนพึ่งพิงรายได้นอกจากการทำเกษตรเป็นสัดส่วนสูง โดยเฉลี่ยรายได้นอกเหนือจากการทำเกษตรคิดเป็น 80% ของรายได้ทั้งหมดของครัวเรือน โดย 60% ของครัวเรือนพึ่งพิงรายได้จากการรับจ้างนอกภาคเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งครัวเรือนที่เข้าไม่ถึงชลประทาน และครัวเรือนที่ขาดทุนจากการทำเกษตร และกว่า 40% พึ่งพิงเงินโอนจากญาติที่ทำงานต่างจังหวัด (รูป 5b) Chantarat et al. (Forthcoming) แสดงให้เห็นว่ารายได้นอกภาคเกษตรเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการเสริมสภาพคล่อง และคลายความตึงตัวทางการเงินของครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่ จากปัญหา mismatching ของรายจ่ายและรายได้เกษตรที่มักมีลักษณะเป็น seasonality

    สถานะทางการเงินของครัวเรือนเกษตรมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยเราพบว่าครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่มีหนี้สูง โดยหากรวมจากทุกแหล่ง ครัวเรือนชาวนาไทยมีหนี้สินเฉลี่ย 3.4 ก้อน และมีหนี้คงค้างเฉลี่ย 416,143 บาทต่อครัวเรือน ครัวเรือน 50% มีหนี้สินคงค้างเกิน 300,000 บาท และ 30% มีเกิน 600,000 บาท (รูป 5c) โดยมาจากสองแหล่งหลักคือ ธ.ก.ส. (60%) และสหกรณ์และกองทุนหมู่บ้าน (16%) และ 35% ของครัวเรือนมีหนี้นอกระบบ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจาก Chantarat et al. (Forthcoming))

    แต่ที่น่าสนใจคือลักษณะการออมของครัวเรือนเกษตรมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก โดยหากรวมการออมจากทุกแหล่ง รวมถึงสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง เช่น ทอง ครัวเรือนชาวนามีมูลค่าการออมเฉลี่ยทั้งสิ้น 111,389 บาท แต่ก็ยังคงมีความแตกต่างระหว่างครัวเรือน โดยในขณะที่ 25% มีมากกว่า 100,000 บาท แต่เราพบว่า 30% ก็มีไม่ถึง 10,000 บาท (รูป 5c)

    การออมที่แตกต่างกันทำให้สุขภาพทางการเงินมีความแตกต่างกันด้วย โดยรูป 5d แสดงการกระจายตัวของปริมาณหนี้สินต่อทรัพย์สิน และพบว่าในขณะที่ค่ากลางของหนี้สินต่อทรัพย์สินของครัวเรือนอยู่ที่ 6 เท่า แต่ 25% มากกว่า 25 เท่า และ 10% มีมากกว่า 100 เท่า

    ครัวเรือนส่วนใหญ่มีการทำประกันด้วยตนเองเป็นสัดส่วนสูง แต่มีหลักประกันทางสังคมที่จำกัด โดยรูป 5e แสดงให้เห็นว่าครัวเรือนให้ความสำคัญกับประกันภัยที่ตนเข้าถึงได้ โดย 90% สมทบในกองทุนฌาปนกิจอย่างสม่ำเสมอ และกว่า 75% ทำประกันชีวิต[2] เป็นต้น แต่นอกจากสวัสดิการภาครัฐและความช่วยเหลือทางการเกษตรแล้ว มีเพียง 20% ของครัวเรือนที่มีแรงงานอยู่ในระบบประกันสังคมแบบมีนายจ้างหรือได้รับสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งจะช่วยคุ้มครองเมื่อไม่สามารถทำงานได้ในสถานการณ์วิกฤติเช่นนี้

    รูปที่ 5 เศรษฐกิจการเงินของครัวเรือนเกษตรก่อนวิกฤติ

    abpic2020_011_05-1024x548.png

    ที่่มา Chantarat et al. (2020)

    รูปที่ 6 งานและภาคเศรษฐกิจที่แรงงานในครัวเรือนเกษตรทำงานอยู่

    abpic2020_011_06-1024x711.png

    ที่่มา Chantarat et al. (2020)



    ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด-19


    สถานะทางเศรษฐกิจและการเงินที่แตกต่างกันส่งผลทำให้ผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้แตกต่างกันระหว่างครัวเรือน โดยในภาพรวมครัวเรือนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับผลกระทบต่อรายได้นอกภาคเกษตรเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยรายได้ในภาคเกษตรซึ่งครัวเรือนในภาคใต้ให้ความสำคัญมากกว่าภาคอื่น ๆ[3]

    รูปที่ 7 วิกฤติโควิดกระทบครัวเรือนในด้านใดมากที่สุด

    abpic2020_011_07-1024x617.png

    ที่่มา Chantarat et al. (2020)

    โดยรวม 75% ของครัวเรือนมีแรงงานตกงานหรือถูกลดเวลาทำงาน โดยมีสัดส่วนสูงที่สุดในภาคเหนือและภาคใต้ (90%) ตามมาด้วยภาคอีสาน (75%) และต่ำสุดในภาคกลาง (70%) และโดยเฉลี่ย 1.5 คนต่อครัวเรือน โดย 60% ของครัวเรือนมีแรงงานตกงานมากกว่า 1 คน และ 9% ของครัวเรือนมีแรงงานตกงานย้ายมาจากต่างจังหวัด แรงงานที่ตกงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคบริการมากที่สุด (50%) ตามมาด้วยภาคเกษตรและก่อสร้าง (รูปที่ 8) โดยแรงงานในภาคใต้มาจากภาคบริการสูงที่สุด ส่วนภาคเหนือและอีสานมีแรงงานมาจากภาคก่อสร้างสูงกว่าภาคอื่น ๆ

    ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ณ ขณะนี้ครัวเรือนเกษตรมีแรงงานที่พร้อมทำงานจำนวนมาก (และกว่า 30% เป็นแรงงานอายุน้อยกว่า 45 ปี) โจทย์ที่สำคัญนอกเหนือจากการเยียวยาที่ทั่วถึงและเพียงพอแล้วก็คือ จะทำอย่างไรที่จะพลิกวิกฤติเป็นโอกาส และเปลี่ยนให้แรงงานเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและภาคเกษตรไทยในระบบเศรษฐกิจหลังโควิด

    รูปที่ 8 จำนวนแรงงานในครัวเรือนเกษตรที่ต้องตกงานหรือลดเวลาทำงาน

    abpic2020_011_08-1024x512.png

    ที่่มา Chantarat et al. (2020)

    วิกฤติโควิดส่งผลกระทบต่อรายได้จากการรับจ้างทั้งในและนอกภาคเกษตรของครัวเรือนมากที่สุด และกระทบกว่า 50% ของครัวเรือน โดยรูปที่ 9a แสดงให้เห็นว่าความรุนแรงของผลกระทบมีความแตกต่างกันค่อนข้างมากระหว่างครัวเรือน นอกจากนี้ 12% ของครัวเรือนมีรายได้จากเงินโอนลดลง ซึ่งส่วนใหญ่สืบเนื่องมาจากการมีญาติตกงานในต่างจังหวัด และในขณะที่ 23% ของครัวเรือนได้รายได้ลดลงจากการทำธุรกิจการค้า แต่ 2% ของครัวเรือนได้รับรายได้เพิ่มขึ้นถึงหรือเกินเท่าตัว เนื่องมาจากความต้องการสินค้าสูงขึ้นในชุมชน (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุปโภคและบริโภค) และการมีช่องทางขายสินค้าใหม่ โดยเฉพาะ e-commerce ซึ่งก็แสดงให้เห็นถึงโอกาสจากวิกฤติครั้งนี้ได้ดี

    นอกจากนี้ยังพบว่า 29% ของครัวเรือนมีรายได้เกษตรลดลง ซึ่งส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่ามีอุปสรรคในการขายสินค้าเกษตร เนื่องมาจากข้อจำกัดของระบบขนส่งซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการระงับการระบาด และการเปลี่ยนแปลงไปของช่องทางการขายสินค้าและพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมไปตลาดในชุมชนลดลงและเปลี่ยนไปซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ตมากขึ้น ดังนั้น การปรับตัวของเกษตรกรต่อความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ตลอดถึงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพและทั่วถึงจึงเป็นสิ่งจำเป็น

    ผลกระทบต่อรายจ่ายของครัวเรือนมีความหลากหลายค่อนข้างมาก โดยรูปที่ 9b แสดงให้เห็นว่า ครัวเรือน 39% มีรายจ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคมากขึ้น เนื่องมาจากสินค้ามีราคาสูงขึ้น 59% มีรายจ่ายในการเดินทางลดลงสืบเนื่องมาจากมาตรการภาครัฐ และ 56% มีรายจ่ายค่าน้ำค่าไฟเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีครัวเรือนกว่า 8% ที่ต้องรับภาระโอนเงินเพื่อช่วยญาติที่ตกงานในต่างจังหวัด ส่วนผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมีความหลากหลายมาก

    รูปที่ 9 ผลกระทบต่อรายได้และรายจ่ายครัวเรือน

    abpic2020_011_09-1024x692.png

    ที่่มา Chantarat et al. (2020)

    ครัวเรือนเกือบ 60% เริ่มมีปัญหาในการชำระหนี้จากวิกฤติโควิด รูปที่ 10 แสดงให้เห็นว่า โดยส่วนใหญ่จะเป็นการชำระหนี้สินเพื่อการเกษตรกับ ธ.ก.ส. ซึ่งมีกำหนดชำระภายในสิ้นไตรมาสแรก สินเชื่อส่วนบุคคลเป็นสินเชื่ออีกประเภทที่ครัวเรือนเกษตรกว่า 20% มีปัญหาในการชำระคืน ทั้งกับธนาคารพาณิชย์ สหกรณ์ กองทุนหมู่บ้าน และสถาบันนอกระบบต่าง ๆ

    รูปที่ 10 ผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือน

    abpic2020_011_10-1024x644.png

    ที่่มา Chantarat et al. (2020)

    วิกฤติครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อครัวเรือนเกษตรกรรายเล็กมากกว่ารายใหญ่ โดยรูปที่ 11 แจกแจงให้เห็นถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ ในแต่ละกลุ่มครัวเรือนซึ่งแบ่งตาม quintile ของขนาดที่ดินที่เป็นเจ้าของ (ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญของครัวเรือนเกษตร) จากรายเล็กสุด 10% ไปจนถึงรายใหญ่สุด 10% และพบว่าโดยรวมผลกระทบต่อรายได้นอกภาคเกษตรสำคัญกับเกษตรกรรายเล็กมากกว่า ต่างจากรายใหญ่ที่กังวลกับผลกระทบต่อรายได้ในภาคเกษตร และรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นมากกว่า

    รายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนรายเล็กลดลงมากกว่ารายใหญ่จากวิกฤติครั้งนี้ โดยครัวเรือนในกลุ่มเล็กสุด 10% แรกมีรายได้ลดลงถึง 80% และ 90% มีปัญหาในการชำระหนี้ เปรียบเทียบกับการลดลงของรายได้เพียง 20% ของกลุ่มรายใหญ่สุด 10% และมีเพียง 40% ที่มีปัญหาในการชำระหนี้ ส่วนผลกระทบต่อรายจ่ายดูจะกระทบหนักกับครัวเรือนชั้นกลางเป็นหลัก

    โดยความเหลื่อมล้ำของผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้ยังสามารถเห็นได้ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย มีภาระหนี้สินต่อทรัพย์สินมาก และอยู่นอกเขตชลประทานซึ่งไม่สามารถทำเกษตรได้ตลอดทั้งปี (Chantarat et. al 2020)

    รูปที่ 11 ความแตกต่างของผลกระทบทางเศรษฐกิจระหว่างครัวเรือน

    abpic2020_011_11-1024x883.png

    ที่่มา Chantarat et al. (2020)



    วิธีการรับมือกับวิกฤติครั้งนี้ของครัวเรือนเกษตร


    ครัวเรือนเกษตรกว่า 70% ใช้เงินออมและการขายสินทรัพย์ในการรับมือกับผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้ รูปที่ 12 ยังแสดงให้เห็นว่า 55% ได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ เช่น กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชนต่าง ๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญทั้งในการช่วยแก้ปัญหาสาธารณสุขและเศรษฐกิจ เช่น การสร้างงานในท้องถิ่น หรือสร้างการเรียนรู้ถึงโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ ๆ นอกจากนี้ ครัวเรือนเกษตรกว่า 20% ต้องกู้เงินโดยกู้มาจากธนาคารพาณิชย์ และญาติเป็นหลัก

    รูปที่ 12 วิธีการรับมือกับวิกฤติโควิดของครัวเรือนเกษตร

    abpic2020_011_12-1024x596.png

    ที่่มา Chantarat et al. (2020)

    ครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่ได้สมัครขอความช่วยเหลือจากภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการเยียวยาเกษตรกร และเราไม่ทิ้งกัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเดือดร้อนและความสามารถในการเข้าถึง digital platform ของครัวเรือนเกษตรในปัจจุบัน นอกจากนี้ครัวเรือนกว่า 20% ยังสมัครเข้าโครงการพักหนี้ โดยเฉพาะกับ ธ.ก.ส. และสินเชื่อเพื่อการเกษตรและสินเชื่อส่วนบุคคล

    รูปที่ 13 การสมัครขอความช่วยเหลือจากภาครัฐ

    abpic2020_011_13-1024x375.png

    ที่่มา Chantarat et al. (2020)

    ทั้งนี้ครัวเรือนรายเล็กมีข้อจำกัดในการรับมือกับวิกฤติครั้งนี้มากกว่ารายใหญ่ โดยรูปที่ 14a แสดงให้เห็นว่าครัวเรือนรายย่อยจะมีความสามารถในการใช้เงินออมและสินทรัพย์เป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่ารายใหญ่ แต่กลับต้องพึ่งพิงความช่วยเหลือจากผู้อื่น และพึ่งพิงเงินกู้นอกระบบในสัดส่วนที่สูงกว่ารายใหญ่อย่างชัดเจน แต่กลุ่มครัวเรือนรายเล็กกลับไม่ใช่กลุ่มใหญ่ที่สุดที่สมัครขอความส่วนเหลือจากภาครัฐ (รูปที่ 14b)

    รูปที่ 14 ความแตกต่างของวิธีการรับมือวิกฤติระหว่างครัวเรือน

    abpic2020_011_14-1024x438.png

    ที่่มา Chantarat et al. (2020)



    การคาดการณ์ถึงผลกระทบและความสามารถในการรับมือในอนาคต


    ในทางเศรษฐศาสตร์ การคาดการณ์หรือ expectation มักจะส่งผลต่อการตัดสินใจของครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญ ทีมวิจัยจึงได้ให้เกษตรกรคาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับครัวเรือนหากสถานการณ์การแพร่ระบาด และมาตรการที่ส่งผลทำให้เกิดการจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะต้องยืดเยื้อออกไปอีก 1,2 และ 3 เดือน โดยรูปที่ 15 พบว่า

    หากสถานการณ์การแพร่ระบาดและการจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องยืดเยื้อไปอีก 1 เดือน 40% ของครัวเรือนจะเริ่มมีปัญหารายได้ไม่พออยู่กิน และมีปัญหาในการชำระหนี้อย่างมีนัยสำคัญ และจะขยายวงกว้างไปสู่ครัวเรือนกว่า 80% หากสถานการณ์ยืดเยื้อต่อไปอีก 3 เดือน โดยในสถานการณ์ดังกล่าวก็จะส่งผลให้ครัวเรือนเกินครึ่งต้องกู้ยืม (ทั้งจากในระบบและนอกระบบ) เพื่อมาบรรเทาความเดือดร้อน

    รูปที่ 15 การคาดการณ์ถึงผลกระทบและความสามารถในการรับมือในอนาคต

    abpic2020_011_15-1024x635.png

    ที่่มา Chantarat et al. (2020)



    ข้อสรุปและนัยเชิงนโยบาย


    โดยสรุปงานวิจัยนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด-19 ซึ่งได้กระทบครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่อย่างถ้วนหน้า ผ่านทางการทำการเกษตรที่ต้องอาศัยระบบการขนส่งผลผลิต ที่เป็นต้นน้ำของห่วงโซ่อุปทานขนาดใหญ่ และที่ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค และผ่านทางการพึ่งพิงรายได้จากนอกภาคเกษตรซึ่งส่วนใหญ่อยู่นอกระบบ ประกอบกับสถานะทางการเงินที่ตึงตัวเป็นทุนเดิมจากภาระหนี้สูง และปัญหาสภาพคล่องจาก mismatching ของรายได้และรายจ่าย ทำให้มีข้อจำกัดในการรับมือกับวิกฤติครั้งนี้

    และที่สำคัญ งานวิจัยได้ชี้ให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำของผลกระทบของวิกฤติครั้งนี้ ซึ่งจะกระทบหนักกับครัวเรือนที่มีรายได้น้อย มีภาระหนี้สินต่อทรัพย์สินมาก อยู่นอกเขตชลประทานซึ่งไม่สามารถทำเกษตรได้ตลอดทั้งปี และมีทุนทางสังคมต่ำ ซึ่งก็เป็นกลุ่มที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงวิธีการรับมือกับวิกฤติมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ด้วย หากไม่ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาอย่างทันท่วงที ครัวเรือนอาจต้องใช้วิธีการรับมือที่เป็น last resort เช่น การก่อหนี้สิน หรือการต้องขายสินทรัพย์ ซึ่งอาจส่งผลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของครัวเรือนในระยะยาว

    แต่วิกฤติครั้งนี้ก็มาพร้อมโอกาส อันได้แก่ โอกาสที่จะมีแรงงานคุณภาพและอายุน้อยที่พร้อมทำงาน และน่าจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและภาคเกษตรไทย โอกาสที่มาจากข้อจำกัดที่บีบบังคับให้เกษตรกรได้เรียนรู้ และใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งสามารถนำมาเพิ่มผลิตภาพ และสร้างคุณค่าและการเข้าถึงตลาดให้กับผลผลิตทางการเกษตร[4] โอกาสที่ทำให้สถาบันในระดับท้องถิ่นต่าง ๆ ได้มีบทบาทมากขึ้น และโอกาสที่ทำให้ทุกคนหันมาพึ่งพิงและพยายามสร้างระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งจากข้างใน

    งานวิจัยนี้ได้สะท้อนถึงความสำคัญของความช่วยเหลือภาครัฐในระยะสั้นที่ทันการณ์ เพียงพอ และมุ่งเป้าไปสู่ครัวเรือนเกษตรรายเล็ก และครัวเรือนที่มีความเปราะบางสูง เพื่อประคับประคองครัวเรือนให้อยู่รอดได้ในระยะสั้น และลดผลกระทบต่อการพัฒนาในระยะยาว

    งานวิจัยยังสะท้อนความจำเป็นในการสร้างระบบหลักประกันทางสังคมให้ครัวเรือนเกษตร และแรงงานนอกระบบโดยรวม ตลอดถึงการสร้างสถาบันและวัฒนธรรมการออมให้กับครัวเรือนกลุ่มนี้ เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจในอนาคต ซึ่งจากการสัมภาษณ์ ครัวเรือนเกษตรต่างให้ความสนใจที่จะเข้าร่วม แต่คำถามที่น่าสนใจคือ เกษตรกรจะยินดีและสามารถสมทบต่อระบบได้มากน้อยแค่ไหน (ซึ่งมีความเป็นไปได้หากมองจากวัฒนธรรมการทำประกันภัยในระดับสูง)

    งานวิจัยยังชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับตัวของครัวเรือนเกษตรไทยทั้งในการผลิตและตลาด ให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤติโควิด แต่อาจจะเป็น new normal ต่อไปในอนาคต

    และท้ายที่สุด เราต้องหันกลับมาแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างในภาคเกษตร โดยเน้นไปที่การพัฒนาทรัพยากรน้ำ ดิน เทคโนโลยี ข้อมูล ระบบโลจิสติกส์ และการแก้หนี้สินครัวเรือนเกษตร เพื่อจะสามารถตักตวงโอกาสต่าง ๆ ข้างต้น และดึงแรงงานคุณภาพและอายุน้อยเข้ามาพัฒนาภาคเกษตรไทย



    เอกสารอ้างอิง


    Attavanich, W., S. Chantarat, J. Chenphuengpawn, P. Mahasuweerachai and K. Thampanishvong (2019). Farms, Farmers and Farming: A Perspective through Data and Behavioral Insights. PIER Discussion Paper No. 122.

    Chantarat, S., A. Lamsam, N. Adultananusak, L. Ratanavararak, C. Rittinon and B. Sa-ngimnet (2020). Distributional Impacts of Covid-19 Pandemic on Agricultural Households. PIER Discussion Paper.

    Chantarat, S., A. Lamsam, N. Adultananusak, C. Chawanote, L. Ratanavararak, C. Rittinon and B. Sa-ngimnet (Forthcoming). Financial Lives of Thai Agricultural Households. PIER Discussion Paper.

    [1] ประกอบไปด้วยครัวเรือนชาวนากว่า 74% ครัวเรือนชาวไร่ 18% ครัวเรือนชาวสวนปาล์ม 6% ครัวเรือนชาวสวนยางพารา 17% ครัวเรือนชาวสวนผลไม้ 9% และครัวเรือนที่ทำเกษตรมูลค่าสูง เช่น ผัก ไม้ดอกไม้ประดับและอื่น ๆ อีก 6% ทั้งนี้ ไม่รวมครัวเรือนปศุสัตว์และประมงที่ทางทีมวิจัยไม่มีข้อมูล
    [2] ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเงื่อนไขของการกู้เงิน
    [3] อาจจะเนื่องมาจากที่ภาคใต้กำลังมีผลผลิตข้าวนาปีออกมาพร้อมขายในช่วงไตรมาสแรกเป็นจำนวนมาก
    [4] จากการสัมภาษณ์ พบว่า กว่า 87% ของครัวเรือนเกษตรเข้าถึง internet และมี smartphone

    ข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความนี้เป็นความเห็นของผู้เขียน ซึ่งไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความเห็นของสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์

    TOPICS: DEVELOPMENT |
    TAGS: COVID-19 | THAI AGRICULTURE

    https://www.pier.or.th/?abridged=ครัวเรือนเกษตรไทยในวิก&fbclid=IwAR0xVU_Qcwg9OUTIQs5sowU4JRUNYkRtWTIOE7T69jJzeLxt0EOLeVGKuho
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    รัฐบาลญี่ปุ่นเรียกร้องให้ประชาชนดำเนินมาตรการกรณีไวรัสโคโรนากันต่อไป แม้ว่ามีการยกเลิกภาวะฉุกเฉินในหลายสิบจังหวัดไปแล้วก็ตาม

    ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ยกเลิกภาวะฉุกเฉินใน 39 จังหวัดไปแล้วเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม แต่ว่ายังคงใช้อยู่ต่อไปในแปดจังหวัดซึ่งรวมถึงกรุงโตเกียวและจังหวัดโอซากา

    อย่างไรก็ตาม เห็นได้ว่ามีผู้คนจำนวนมากขึ้นที่พากันออกนอกบ้านแม้ในแปดจังหวัดที่ว่านี้ในวันศุกร์ที่ 15 เมื่อเทียบกับวันก่อนหน้า

    นายนิชิมูระ ยาซูโตชิ รัฐมนตรีด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจกล่าวเมื่อวันเสาร์ที่ 16 ว่า เขาวิตกกังวลว่าดูเหมือนว่าประชาชนเริ่มคลายการระวังตัวกันนิด ๆ

    นอกจากนี้ เขายังได้เตือนถึงความเป็นไปได้ที่ว่าอาจเกิดการติดเชื้อระลอกที่สองขึ้น เช่นที่ได้เกิดขึ้นที่เกาหลีใต้และเยอรมนี

    รัฐบาลกำลังจับตามองความเป็นไปที่ว่าอาจเกิดการระบาดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ขณะที่วางแผนพิจารณายกเลิกภาวะฉุกเฉินในแปดจังหวัดในวันพฤหัสบดีที่ 21

    นอกจากนี้ รัฐบาลยังมุ่งจะขอให้ประชาชนในพื้นที่ที่เหลือยังคงรักษาระยะห่างทางกายภาพและดำเนินมาตรการอื่น ๆ ต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบาร์ ไนต์คลับ สถานจัดแสดงดนตรีสด ร้านคาราโอเกะ และสปอร์ตยิม

    ติดตามรายละเอียดของข่าวอื่น ๆ ได้ที่นี่
    https://www3.nhk.or.jp/nhkworld/th/news/

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อิเกียบางนาประกาศปิดวันนี้เนื่องจากคนรอเข้าห้างเป็นจำนวนมาก และไม่สามารถทำ Social distancing ได้จึงปิดเพื่อหามาตรการ ก่อนเปิดต่อไป

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    บริษัทบริการส่งอาหารแห่งหนึ่งในกรุงโตเกียวกำลังนำอาหารและเครื่องดื่มไปส่งให้ฟรีแก่เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่กำลังให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วยไวรัสโคโรนาและที่ดำเนินการตรวจประเภทต่าง ๆ

    บริษัทแห่งนี้กำลังร่วมมือกับบริษัทกว่า 60 แห่ง จัดส่งข้าวและของจำพวกอาหารอื่น ๆ ไปให้โรงพยาบาล 23 แห่งมานับตั้งแต่สิ้นเดือนที่แล้ว

    เจ้าหน้าที่ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเขตชินางาวาหยิบน้ำผลไม้และอาหารเบา ๆ ที่มีการจัดส่งเข้ามา

    เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลคนหนึ่งบอกว่า อาหารและเครื่องดื่มเหล่านี้ทำให้พวกเขารู้สึกตื้นตันใจ

    บริษัทแห่งนี้บอกว่า ตนได้ยินมาจากสถานพยาบาลแห่งต่าง ๆ ว่า ร้านอาหารบางแห่งปฏิเสธไม่ไปส่งอาหารตามโรงพยาบาลที่กำลังให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยไวรัสโคโรนา และก็ได้ยินมาด้วยว่าในบางครั้งไม่มีอาหารเหลือมาถึงเจ้าหน้าที่หลังเสิร์ฟให้ผู้ป่วย

    ในที่อื่นในกรุงโตเกียวก็กำลังมีการดำเนินความพยายามอย่างอื่นในการให้ความสนับสนุนแก่เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์

    บริษัทวางแผนจัดกิจกรรมแห่งหนึ่งกำลังระดมเงินทุนจากฝูงชนเพื่อนำไปใช้ในการให้บริการรถแท็กซี่แก่เจ้าหน้าที่ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในเขตโอตะซึ่งกำลังดำเนินการตรวจที่ใช้เทคนิค PCR

    บริษัทแท็กซี่แห่งหนึ่งในท้องถิ่นได้กันรถแท็กซี่จำนวน 10 คันไว้ใช้รับส่งพยาบาล 20 คนที่โรงพยาบาลแห่งนี้

    พยาบาลคนหนึ่งบอกว่า บริการนี้ช่วยทำให้ปลอดความเครียดยามต้องกลับบ้านบนรถไฟในชั่วโมงเร่งด่วนหลังเสร็จสิ้นการงานในวันที่วุ่นวาย

    นอกจากนี้ บริการนี้ยังมุ่งช่วยเหลือบริษัทแท็กซี่แห่งนี้ซึ่งโดนผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

    ติดตามรายละเอียดของข่าวอื่น ๆ ได้ที่นี่
    https://www3.nhk.or.jp/nhkworld/th/news/

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นางโคอิเกะ ยูริโกะ ผู้ว่าการกรุงโตเกียว ได้ประกาศกฎระเบียบสำหรับการผ่อนคลายข้อเรียกร้องในการหยุดธุรกิจต่าง ๆ หลังจากมีการยกเลิกภาวะฉุกเฉินในกรุงโตเกียว

    เธอกล่าวว่าเธอจะผ่อนคลายข้อจำกัดต่าง ๆ เมื่อตัวเลขของ 3 เป้าหมายบรรลุผลสำเร็จ โดยเมื่อพิจารณาจากค่าเฉลี่ยรายสัปดาห์นั้น จำนวนของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่รายใหม่ใน 1 วันต้องน้อยกว่า 20 คน, อัตราของกรณีที่ติดตามเสาะหาไม่ได้ต้องต่ำกว่าร้อยละ 50 และจำนวนของผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อสัปดาห์ ต้องน้อยกว่าสัปดาห์ก่อนหน้า

    นางโคอิเกะกล่าวว่า “ถ้าตัวชี้วัด 3 ข้อนี้ลดลงต่ำกว่าเป้าหมาย เราจะดำเนินการประเมินอย่างครอบคลุม โดยนำตัวชี้วัดอื่น ตลอดจนความเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณาร่วมด้วย เราจะผ่อนคลายคำขอที่ให้อยู่กับบ้านและการหยุดกิจการต่าง ๆ”

    นอกจากนี้ เธอยังกล่าวด้วยว่าการผ่อนคลายข้อจำกัดเหล่านี้จะดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน หลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นยกเลิกภาวะฉุกเฉิน

    ทั้งนี้ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม รัฐบาลญี่ปุ่นได้ยกเลิกภาวะฉุกเฉินให้แก่ 39 จังหวัดจากทั้งหมด 47 จังหวัดทั่วประเทศ โดยระบุว่าจะพิจารณายกเลิกภาวะฉุกเฉินในอีก 8 จังหวัดที่เหลือ ซึ่งรวมถึงกรุงโตเกียวและจังหวัดโอซากา ในสัปดาห์หน้า

    ติดตามรายละเอียดของข่าวอื่น ๆ ได้ที่นี่
    https://www3.nhk.or.jp/nhkworld/th/news/

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    มณฑลจี๋หลิน ยกระดับการป้องกันควบคุมโรคระบาด
    #โควิด19 #จี๋หลิน #ปิดเมือง

    เมื่อเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากเกิดการระบาดแบบกลุ่มก้อนเกิดขึ้น เมืองซูหลานและเมืองจี๋หลินของมณฑลจี๋หลิน ทางภาคตะวันออกเฉียงของจีน ได้ยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคระบาดให้สูงขึ้น

    เมืองซูหลาน ได้ปิดทุกชุมชนในเมืองเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาด ยานพาหนะต่าง ๆ ทั้งรถแท็กซี่ รถประจำทาง รถขนส่งผู้โดยสาร ฯลฯ ต่างหยุดให้บริการ ร้านขายยาได้หยุดการจำหน่ายยาลดไข้ ยาต้านไวรัสและยาปฏิชีวนะแล้ว รัฐบาลของมณฑลจี๋หลินกำหนดให้ระงับการให้บริการของคลินิกของบุคคล และแผนกผู้ป่วยนอกทุกแห่งในพื้นที่ ผู้ป่วยที่มีไข้สูงทุกรายจะต้องไปรักษาที่แผนกรักษาผู้มีอาการไข้ทั้งหมด

    ซุน ชุนหลัน รองนายกรัฐมนตรีของจีน ได้เดินทางจากมณฑลเฮยหลงเจียง ไปยังมณฑลจี๋หลินอย่างเร่งด่วน เพื่อตรวจตราและให้คำชี้แนะในการป้องกันควบคุมโรคระบาด
    กดไลก์และติดตามด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ผู้เลี้ยงปศุสัตว์ในซินเจียงเพิ่มรายได้จากการเลี้ยงอูฐ
    เขตพื้นที่อัลไต ในเขตซินเจียงของจีน มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของอูฐ ปีหลังๆ นี้ พื้นที่แห่งนี้ได้พัฒนาการเลี้ยงอูฐและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากอูฐ ซึ่งช่วยสร้างรายได้ให้แก่ผู้เลี้ยงปศุสัตว์กว่า 10,000 คน

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โรงเรียนอนุบาลกลายเป็นร้านปิ้งย่าง
    #โควิด19 #โรงเรียนอนุบาล #ร้านปิ้งย่าง

    เนื่องจากการระบาดของโควิด19 ทำให้โรงเรียนอนุบาลของจีน ต้องอยุดภาคเรียนเป็นเวลาหลายเดือน แม้ว่าในพื้นที่ส่วนใหญ่ โรงเรียนชั้นประถมและชั้นมัธยมได้เปิดเรียนหรือกำลังจะเปิดเรียนอีก แต่สำหรับโรงเรียนอนุบาล ยังคงต้องรออีกช่วงระยะหนึ่ง ดังนั้น โรงเรียนอนุบาลของเอกชนต่างๆ จึงต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ไม่มีรายได้มาหลายเดือนแล้ว โรงเรียนอนุบาลในท้องที่ต่างๆ จึงพากันหาทางแก้ปัญหาเงินทุนด้วยตนเอง
    เมื่อเร็วๆ นี้ โรงเรียนอนุบาลในเมืองจิหนาน มณฑลซานตง และในเมืองเป่าติ้ง มณฑลเหอเป่ย บางแห่งได้เปิดร้านอาหารปิ้งย่างในโรงเรียนเป็นชั่วคราว เพื่อสร้างรายได้เพิ่มขึ้นและออกเงินเดือนให้กับครู โรงเรียนอนุบาลมีพื้นที่มากพอสมควร มีใบอนุญาติการบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม ดังนั้นจึงมีเงื่อนไขพร้อมสำหรับการเปิดร้านอาหาร
    พวกพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กๆ เมื่อทราบแล้ว ก็พากันไปรับประทานอาหาร และบอกว่า ทั้งรับประทานอาหารอร่อยได้ และยังมีสวนสนุกให้เด็กเล่นกันด้วย ดีมาก
    ผู้บริหารของโรงเรียนบอกว่า ทางโรงเรียนไม่อยากให้ครูลาออก หากการเปิดร้านปิ้งย่างสามารถสร้างผลกำไร ก็จะแบ่งปันให้กับครูทั้งหมด หากขาดทุน ทางโรงเรียนก็รับรองว่า จะออกเงินขั้นพื้นฐานเป็นจำนวนคนละ 1500 หยวนต่อเดือน อยากให้บรรดาครูกับทางโรงเรียนร่วมกันผ่านพ้นจากช่วงที่ยากลำบาก การเปิดร้านปิ้งย่างจึงถือเป็นการแก้ปัญหาการมีงานทำของครูด้วย
    โชคดีที่อาหารปิ้งย่างของโรงเรียนอนุบาลขายดีมาก ไม่ว่าปัญหาอะไร ก็ย่อมจะหาวิธีแก้ไขได้อย่างแน่นอนค่ะ
    ขอให้การระบาดของโควิด19สิ้นสุดลงเร็วๆ ทุกสิ่งทุกอย่างจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ววันค่ะ
    กดไลก์และติดตามด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปฏิบัติการ ควานหาผู้ป่วยโควิด ‘ไม่แสดงอาการ’
    .
    ไชน่าซินหัวนิวส์เผยแพร่ภาพชาวเมืองอู่ฮั่น 11 ล้านคน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ กำลังทยอยเข้าทดสอบกรดนิวคลิอิก เพื่อตรวจหาโรคติดเชื้อจากไวรัสโควิด-19
    .
    ชาวอู่ฮั่นทยอยเข้ารับการตรวจอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ภายใต้มาตรการของอู่ฮั่นตรวจประชาชนทุกคนที่ไม่เคยเข้ารับการตรวจโรคเลย
    .
    ภารกิจนี้เรียกว่า ปฏิบัติการ ‘ต่อสู้ 10 วัน ตรวจโควิดชาวอู่ฮั่น 11 ล้านคน’ ปูพรมตรวจโควิดทั่วเมือง ควานหาผู้ป่วยไร้อาการที่เรียกว่า ‘พาหะเงียบ’ ป้องกันการระบาดระลอกใหม่ที่อาจเกิดขึ้น
    .
    อ่านเพิ่มเติม: ผ่านไปแล้ว 3 ล้านคน กับภารกิจ 10 วัน ตรวจโควิดชาวอู่ฮั่น 11 ล้านคน
    .
    ขอบคุณภาพจาก Facebook Fan Page: China Xinhua News
    .

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นายกนิวซีแลนด์ และคู่ชีวิต อดเข้าร้านกาแฟ เพราะที่นั่งเต็มแล้ว

    ไม่มีใครได้รับการยกเว้นจากมาตรการควบคุมไวรัสโคโรนาฯ แม้แต่นายกรัฐมนตรี

    เมื่อเช้าวันที่ 16 พ.ค. จาซินดา อาร์เดน นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ และคนรัก คลาร์ค เกฟอร์ด ต้องหันหลังออกมาจากร้าน Olive cafe ในเวลลิงตัน เพราะในร้านมีลูกค้าเต็มจำนวนที่จำกัดไว้ภายใต้กฎระเบียบทางสังคมระดับ 2

    ทวิตเตอร์ของผู้อยู่ในเหตุการณ์ ที่โพสต์ว่า "โอพระเจ้า จาซินดา อาร์เดน เพิ่งเข้ามาในร้าน Olive และถูกปฏิเสธเพราะในร้านมีคนครบจำนวนแล้ว"

    คลาร์ค เกฟอร์ด กล่าวยอมรับในทวิตเตอร์ตอบกลับ ว่า “ผมต้องรับผิดชอบ ผมไม่ได้จองที่ไว้ก่อน”

    คลาร์ค ยังกล่าวชื่นชม ร้านกาแฟ Olive ที่ได้แจ้งต่อมาเมื่อมีที่นั่งในร้านแล้ว และเช่นกันทางเจ้าของร้านกาแฟ ได้กล่าวถึงนายกรัฐมนตรีว่า "เธอมาทานบรันช์ (อาหารเช้าควบกลางวัน) เธอน่ารักกับพนักงานทุกคน และได้รับการปฏิบัติเหมือนลูกค้าทั่วไป"

    ข่าวจาก - https://www.nzherald.co.nz/nz/news/article.cfm?c_id=1&objectid=12332448

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ฝนที่ตกทางโน้น หนาวถึงคนทางนี้เด็กสาวไต้หวันฝ่า #โควิด ตามหาอดีตพี่เลี้ยงชาวอินโดนีเซีย
    .
    สวี่จื่อหัน นักเรียนชาวไต้หวันเป็นห่วงอดีตพี่เลี้ยงชาวอินโดนีเซีย ที่เคยดูแลตนเมื่อ 15 ปีก่อน เพราะเธอรู้ว่าอินโดนีเซียกำลังเผชิญการระบาดของไวรัสโควิดอย่างหนัก
    .
    อดีตพี่เลี้ยงที่ชื่อ ดาวี เคยดูแลสวี่จื่อหัน ตอนที่เธอเรียนชั้นอนุบาล และเมื่อครบสัญญาทำงาน ดาวีเดินทางกลับประเทศอินโดนีเซีย โดยไม่มีโอกาสบอกลาเด็กน้อย ได้แต่ฝากตุ๊กตาหมีมอบให้กับเด็กน้อย พร้อมข้อความว่า "รักนะ" ทั้งคู่ไม่ได้พบกันอีกเลย เด็กน้อยเติบโตขึ้นจนเรียนชั้นมัธยม แต่ยังนึกถึงพี่เลี้ยงที่เธอเคยผูกพัน เหมือนแม่คนที่สอง
    .
    ในช่วงที่โควิด-19 ระบาด สวีจื่อหันฝันถึงดาวี และเกิดความคิดถึงห่วงใย แต่เธอไม่รู้ว่าตามหา อดีตพี่เลี้ยงอย่างไร
    .
    เธอขอความช่วยเหลือจาก เลี่ยวหยุนจาง วิทยากรที่เคยบรรยายที่โรงเรียน โดยการส่งข้อความทาง FB เลี่ยวหยุนจางได้ใช้ช่องทางต่างๆกระจายข่าวสาร....แต่การตามหาคนคนหนึ่งพลัดพรากไปนาน 15 ปี ไม่มีช่องทางติดต่อใดๆ มีข้อมูลเพียงชื่อและนามสกุล และยังอยู่กันคนละประเทศ แทบจะเป็นเรื่องเป็นไปไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ทุกคนต่างคิดถึงแต่เอาตัวรอดจากไวรัสมรณะ ไม่มีเวลาจะคิดถึงเรื่องอื่น
    Tony ผู้จัดรายการภาคภาษาอินโดนีเซียของสถานีวิทยุแห่งไต้หวัน RTI ยื่นมือเข้าช่วยประกาศตามหา ุ....ในที่สุดเครือข่ายไต้หวันและอินโดนีเซีย ประสบความสำเร็จหาตัว ดาวี พบ นักเรียนสาวไต้หวันได้พบกับอดีตพี่เลี้ยงอีกครั้ง
    .
    ทั้งคู่วีดีโอ คอนเฟอเรนซ์ในวันแม่สากล สวี่จื่อหันได้นำเอาตุ๊กตาหมีที่ ดาวี มอบให้เมื่อ 15 ปีที่แล้วมาให้ดูด้วย เด็กสาวทักทายอดีตพี่เลี้ยงด้วยคำว่า "Aku cinta kamu หรือ "รักนะ" ภาษาอินโดนีเซียคำเดียวที่เธอจำได้ตั้งแต่เด็ก ทั้งคู่พูดไปร้องไห้ไป เพราะจากกันนานถึง 15 ปี ไม่คาดคิดจะได้พบหน้ากันอีก
    .
    เรื่องนี้ประทับใจประชาชน 2 ประเทศ เป็นความสำเร็จของสถานีวิทยุอาร์ทีไอ ร่วมกับสื่ออื่นๆ และองค์กรสวัสดิการสังคมของไต้หวัน และอินโดนีเซีย
    .
    โควิดคือวิกฤต แต่ #โควิดก็คือของขวัญ สานความผูกพันข้ามเวลาอีกครั้ง ไวรัสไร้พรมแดน ไมตรีของผู้คนก็่ไร้พรมแดนเช่นกัน

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    PSX_20200517_204949.jpg

    (May 17) Buffett เทขายหุ้น Goldman Sachs ย้ำเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้น : ความเคลื่อนไหวครั้งล่าสุดของนักลงทุนอาวุโสคนดังตอกย้ำว่า “วิกฤตไวรัส” ครั้งนี้ ร้ายแรงกว่าวิกฤตเศรษฐกิจโลกเมื่อปี 2008 โดยข้อมูลจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ (SEC) ระบุว่าตลอดไตรมาสแรกปีนี้ Berkshire Hathaway บริษัทถือหุ้นยักษ์ใหญ่ภายใต้การบริหารของ Warren Buffett ได้เทขายหุ้น Goldman Sachs วาณิชธนกิจชื่อดัง มากถึง 10 ล้านหุ้น ส่งผลให้สัดส่วนหุ้นที่ถือครองอยู่เหลือเพียง 0.6% ลดลงจาก 2.9 ของสิ้นปี 2019

    นอกจากนี้ Berkshire Hathaway ยังขายหุ้น JPMorgan Case วาณิชธนกิจรายใหญ่อีกแห่งออกไปบางส่วน และขายทิ้งหุ้นในบริษัทที่เหลืออยู่ในบริษัทประกัน Travelers และโรงกลั่นน้ำมัน Phillips 66 เพราะล้วนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดอย่างหนัก

    เช่นเดียวกับการขายทิ้งหุ้น 4 สายการบินใหญ่ของสหรัฐฯ คือ Delta Airlines, American Airlines, Southwest Airlines และ United Airlines ปิดฉากการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไปเมื่อไปต้นเดือนจนกลายเป็นข่าวดัง

    Berkshire Hathaway ทุ่มเงินถึง 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 160,000 ล้านบาท) ซื้อหุ้น Goldman Sachs ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2008 ที่ทำให้ Lehman Brothers วาณิชธนกิจอีกแห่งต้องปิดฉากลง

    หลังเศรษฐกิจโลกฟื้นในปีถัดมา Goldman Sachs ก็ทำเงินให้ Berkshire Hathaway ถึงปีละ 500 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 500 ล้านบาท) จนปี 2013 Berkshire Hathaway ซื้อหุ้นเพิ่มอีก และกลายเป็นผู้หุ้นรายใหญ่สุดของ Goldman Sachs มานับจากนั้น

    วิกฤตการระบาดครั้งนี้ยังส่งผลโดยตรงต่อ Berkshire Hathaway เองด้วย โดยทำให้ตั้งแต่เริ่มปี 2019 มาหุ้น Berkshire Hathaway ร่วงลงมามากถึง 25%/ft

    โดย siwarotemarketeer

    Source: marketeeronline
    https://marketeeronline.co/archives/164801
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    FB_IMG_1589723709208.jpg

    (May 17) คอลัมน์ Big Data Analysis: 'โควิด-19'ฉุดศก.โลกไตรมาสแรกติดลบ : ผลพวงจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 เริ่มแสดงผลให้เป็นที่ประจักษ์ไปทั่วโลก ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (จีดีพี) ในไตรมาส 1 ของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่พร้อมใจ ติดลบ เริ่มจากจีนจีดีพีหดตัวลง 6.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นครั้งแรกที่จีดีพีไตรมาสแรกของจีนหดตัวลง นับตั้งแต่มีการบันทึกจีดีพีรายไตรมาสเมื่อปี 2535 ส่วนสหรัฐ จีดีพี หดตัว 4.8% แย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะหดตัว 3.5%

    ขณะที่ อังกฤษ จีดีพีหดตัว 2% ในไตรมาส 1 ปี 2563 เมื่อเทียบรายไตรมาส แต่ดีกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดไว้ว่า เศรษฐกิจจะหดตัว 2.5% ส่วนประเทศในเอเชีย อย่างไต้หวัน เศรษฐกิจชะลอตัวลงมากที่สุดในรอบ 4 ปี โดยจีดีพี ไตรมาส 1 ขยายตัวแค่ 1.54% ลดลงจากในไตรมาสที่ 4 ปี 2562 ที่ขยายตัว 3.31%

    ส่วนเศรษฐกิจในยุโรป คณะกรรมาธิการยุโรป(อีซี)คาดการณ์ว่าจีดีพีในประเทศสมาชิกอียูทั้งหมดจะติดลบกันถ้วนหน้า มากน้อยแตกต่างกันไป เพราะกิจกรรม ทางเศรษฐกิจหยุดชะงักเพราะมาตรการ ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก

    Source: กรุงเทพธุรกิจ
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students

    PSX_20200517_205814.jpg

    (May 17) บรรยากาศห้างเปิดวันแรกประชาชนต่อแถวสแกนคิวอาร์โค้ดกันคึกคัก :ห้างสรรพสินค้าคึกคักเปิดให้บริการวันแรกประชาชนจำนวนมากเข้ามาใช้บริการ ด้านสยามพิวรรธน์คาดช่วง 3 เดือนแรกลูกค้าเข้ามาใช้บริการ 50%

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการกลับมาเปิดให้บริการศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า วันแรกหลังจากที่ปิดให้บริการชั่วคราวไปเกือบ 2 เดือน ตั้งแต่ช่วงเช้าพบว่าส่วนใหญ่ลูกค้ายังเข้ามาใช้บริการในแต่ละห้างค่อนข้างน้อย และค่อยเริ่มทยอยเดินทางเข้ามาเพิ่มมากขึ้นในช่วงบ่าย แต่ในภาพรวมยังไม่หนาแน่นและคึกคักเท่ากับสถานการณ์ปกติก่อนเกิดวิดฤตไวรัสโควิด-19 ทั้งๆที่ในการกลับมาเปิดบริการครั้งนี้เป็นวันอาทิตย์ที่ส่วนใหญ่ลูกค้าโดยเฉพาะกลุ่มครอบครัวจะแห่กันมาใช้บริการอย่างหนาแน่น

    โดย “ศูนย์การค้าสยามพารากอน” ช่วงเวลา 10.00 น. ลูกค้าจะทยอยเข้ามาใช้บริการในโซนซูเปอร์มาร์เก็ต ชั้นจี ซึ่งเป็นโซนที่เริ่มเปิดให้บริการก่อน โดยปฏิบัติตามขั้นตอนมาตรการความปลอดภัย ตั้งแต่ลงทะเบียนเข้า-ออก ผ่านแพลตฟอร์ม ไทยชนะ ตามมาตรการของศบค.และมาตรการต่างๆ เช่น สวมใส่หน้ากาก ตรวจวัดอุณหภูมิ พ่นฆ่าเชื้อ ต่างๆ จากนั้นในเวลา 11.00 น. ที่เริ่มเปิดให้บริการโซนศูนย์การค้าเริ่มมีลูกค้าทยอยหลั่งไหลกันเข้ามาต่อคิวลงทะเบียนเข้าใช้บริการเพิ่มมากขึ้น

    ขณะที่ “ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิล์ด” ตั้งแต่ช่วงเช้ามีลูกค้าหลายร้อยคนเดินทางมาเข้ามาต่อแถวลงทะเบียนผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ดก่อนเวลา 10.00 น.ที่ศูนย์การค้าจะเปิดให้บริการ และหลังจากที่เริ่มเปิดบริการก็ทยอยกันเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ให้ความสนใจเข้าไปใช้บริการร้านสินค้ากลุ่มอุปกรณ์ไอที จำหน่ายโทรศัพท์มือถือมากที่สุด อาทิ ร้านไอสตูดิโอ ที่มีการเข้าแถวรอคิวตรวจวัดอุณหภูมิ เข้าไปชมสินค้าจำนวนมาก

    นางชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด กล่าวว่า ช่วง 3 เดือนแรกนี้ คาดว่าคาดว่าลูกค้าเข้ามาใช้บริการแค่ 50% และยอดขายกลับเข้ามาเพียง 30-40% เท่านั้น เนื่องจากลูกค้ายังไม่กลับมาทั้งหมด จากความกังวลไวรัส เลี่ยงการแออัดเข้าไปอยู่ในสถานที่คนเยอะ และมาตรการเว้นระยะห่าง 5 ตร.ม.ต่อ 1 คน จนต้องปรับพื้นที่การบริการ นั่งรับประทานอาหารในร้านใหม่ทำให้ลูกค้า



    นายณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาด บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา หรือซีพีเอ็น กล่าวว่า หลังจากนี้บริษัทยังลดค่าเช่า 10-50% ตามความเหมาะสมของแต่ละร้านค้าต่อไปอีกประมาณ 3-6 เดือน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้าภายในศูนย์ฯจนกว่ากลับมาแข็งแรงได้อีกครั้ง เพราะคาดว่าในช่วงแรกยังมีลูกค้ากลับเข้ามาใช้บริการ 25-40% ขณะเดียวกันยังเตรียมจัดโปรโมชั่นโดยจำกัดจำนวนคนและจำกัดเวลาเข้าซื้อเพื่อระบายสต็อกสินค้า สนับสนุนการจำหน่ายสินค้าท้องถิ่น เปิดพื้นที่ขายสินค้าฟรี อาทิ ตลาดเกษตรกร เอสเอ็มอี ตลาดคนว่างงาน เพื่อสร้างเงินสะพัดให้กลับมาหมุนเวียนในชุมชน ช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยเดินหน้าต่อไปอย่างแข็งแกร่ง

    Source: เดลินิวส์ออนไลน์ https://www.dailynews.co.th/economic/774958

    เพิ่มเติม
    - “อิเกียบางนา” คนแห่เข้าแน่นห้าง ต้องประกาศปิดสโตร์ชั่วคราว https://www.prachachat.net/social-media-viral/news-465357

    - บรรยากาศเปิดห้าง 'เครือMBK' หลังรัฐบาลผ่อนปรนระยะที่ 2
    https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/880916
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เหลืออะไรให้ทำอีก
    หลังผู้ติดเชื้อเหลือ 0
    บทเรียนจากไต้หวัน - ฮ่องกง
    .
    .
    สิ่งที่คนไทยโล่งใจที่สุดขณะนี้ ก็คือตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด – 19 รายใหม่ทั่วประเทศ เหลือ 0 คน เมื่อวันที่ 13 พ.ค. และเหลือ 1 คน ในวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา และเป็นตัวเลข 0 คนอีกครั้งเมื่อวันที่ 16 พ.ค.
    .
    ขณะเดียวกัน ตัวเลขผู้ที่รักษาอยู่ในโรงพยาบาล ก็ยังอยู่ในหลัก 100 คนเศษ จำนวนผู้ที่เฝ้าระวังอาการก็น้อยลง และจำนวนผู้ป่วยหนักไม่เพิ่ม ผู้เสียชีวิตไม่เพิ่ม ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเราผ่านพ้นช่วงวิกฤตที่สุดของการรระบาดไปแล้ว
    .
    ชีวิตคนทั่วประเทศ เริ่มกลับเข้าสู่ความปกติ ออฟฟิศเริ่มเปิดทำงาน ไม่เว้นแม้แต่สถานที่ราชการ ระบบขนส่งมวลชนเริ่มหนาแน่น รถราบนท้องถนนในเมืองใหญ่ เต็มท้องถนน ห้างสรรพสินค้า ตลาด ร้านอาหาร สถานที่สาธารณะ เริ่มมีคนหนาตามากขึ้น
    .
    แน่นอน นี่เป็นภาวะปกติ หลังจากอยู่ในสภาพกึ่งล็อกดาวน์มานาน 2 เดือน ระบบเศรษฐกิจ ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องกลับมาเดินหน้าต่อ ช่วงเวลา “หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” ค่อยๆ หายไป ด้วยความมั่นใจของคนในชาติว่า น่าจะไม่กลับมาอีกแล้ว
    .
    คำถามก็คือ หลังจากผ่านช่วงเวลาผู้ติดเชื้อ 0 คน มาตรการทางสาธารณสุข และการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงจากการระบาดรอบใหม่ จะไปยังไงต่อ ควรแข็ง ควรตึง มากน้อยขนาดไหน และไทม์ไลน์หลังจากนี้ ควรเป็นอย่างไร
    .
    ลองดูตัวอย่างจากหลายประเทศ ที่เคยผ่านหลัก 0 มาก่อน... เริ่มต้นที่ไต้หวัน ดินแดนซึ่งได้รับการยกย่องว่าจัดการโควิด – 19 ได้ดีที่สุดในวิกฤตรอบนี้
    .
    ไต้หวัน มีผู้ติดเชื้อ 0 คน เป็นวันแรก นับตั้งแต่วันที่ 14 เม.ย. ซึ่งก่อนหน้านั้น ไต้หวันเองมีผู้ติดเชื้อน้อยอยู่แล้ว ในหลัก 10 ไล่ไปจนถึงหลักหน่วย จากการปิดประเทศที่รวดเร็ว การสอบสวนเส้นทางการระบาดโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ จนทำให้มีผู้ติดเชื้อทั่วเกาะไต้หวัน ราว 400 คนเท่านั้น
    .
    แม้จะมี “คลัสเตอร์” ใหม่หลังจากนั้น จากเรือรบลำหนึ่งที่กลับมาเทียบท่าทางตอนไต้ของไต้หวัน หลังกลับจากปฏิบัติภารกิจในหมู่เกาะแปซิฟิค ที่ทำให้มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นรวดเดียว 28 คน ช่วงปลายเดือน เม.ย. แต่การติดตามตัว “ผู้สัมผัสใกล้ชิด” ด้วยการเช็คสัญญาณมือถือ ก็ติดตามได้ครบทั้งหมดในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง
    .
    จนถึงตอนนี้ เป็นเวลากว่า 31 วันแล้วที่ไต้หวันไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศ และเกิน 6 วัน แล้ว ที่ไม่มีผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ
    .
    แล้วไต้หวัน “ผ่อนปรน” การล็อกดาวน์อย่างไรบ้าง.. สิ่งที่ต้องรู้คือไต้หวัน ไม่มีการล็อกดาวน์ตั้งแต่แรก ชีวิตในเมืองใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นไทเป ไถจง เกาสง ต่างก็ใช้ชีวิตกันตามปกติ ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ตลาด แม้แต่โรงเรียนก็ยังคงเปิด “ผับ” หลายแห่งก็ยังเปิด เพียงแต่ต้องมีการวัดไข้ เว้นระยะห่าง ในผับ และหลายแห่งไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้า
    .
    มีเพียงการออกกฎให้ประชาชนต้องเว้นระยะห่าง 1.5 เมตรขณะอยู่ในที่ร่ม และ 1 เมตร เมื่ออยู่ในที่กลางแจ้ง รวมถึงสั่งให้งดจัดงานอีเวนท์ที่รวมตัวคนหมู่มากเท่านั้น สำหรับสถานที่ปิด ห้ามมีการรวมตัวผู้คนเกิน 100 คน สถานที่กลางแจ้ง ห้ามรวมตัวผู้คนเกิน 150 คน
    .
    การแข่งขันเบสบอล เพิ่งเริ่มชิมลางเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เกือบ 1 เดือนหลังจากมีผู้ติดเชื้อเหลือ 0 คน โดยสำนักงานควบคุมโรคไต้หวัน อนุญาตให้แฟนกีฬาเข้าชมได้มากถึง 1,000 คน ในสนามกีฬา ความจุ 1.1 หมื่นคน แต่ต้องมีการวัดไข้โดยละเอียด สวมหน้ากากตลอดเวลา เว้นระยะห่าง ห้ามจำหน่ายอาหาร – เครื่องดื่มอย่างเคร่งครัด
    .
    ส่วนจำนวนเทสต์นั้น ณ ขณะนี้ ไต้หวันเทสต์ไปทั้งหมดราว 6 หมื่นคน โดยมีผู้ติดเชื้อทั่วประเทศเพียง 440 คน นั่นแปลว่ามีผู้ติดเชื้อเพียง 0.7% เท่านั้น ทำให้ไต้หวันปฏิเสธการเทสต์เป็น “วงกว้าง” กว่านี้ เพราะเห็นว่าเสียเวลา และตื่นตระหนกโดยใช่เรื่อง
    .
    อีกที่หนึ่งที่น่าสนใจคือฮ่องกง พื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อเป็น 0 ราย วันแรก ในวันที่ 20 เม.ย. หลังจากที่ก่อนหน้านั้น มีการติดเชื้อเป็นวงกว้างในอพาร์ทเมนท์ แต่ฮ่องกงก็เอาอยู่ ยอดรวมผู้ติดเชื้อทั่วเกาะฮ่องกง ณ ขณะนี้ มีเพียง 1,050 ราย เสียชีวิต 4 ราย
    .
    หลังจากผู้ติดเชื้อเหลือ 0 ผ่านไป 3 สัปดาห์ ฮ่องกงก็เริ่มผ่อนปรนมาตรการเดิมที่ให้ไว้เมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค. ด้วยการอนุญาตให้เปิดธุรกิจ 11 อย่าง ที่สั่งแบนไปก่อนหน้านี้ และขยายจำนวนการรวมตัวในที่สาธารณะ จากเดิมห้ามรวมตัวกันเกิน 4 คน เพิ่มเป็นห้ามรวมตัวเกิน 8 คน เมื่อวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา
    .
    ขณะเดียวกัน ก็จะเป็นไม่กี่ชาติที่ประกาศ “เปิดโรงเรียน” เริ่มจากระดับมัธยมปลาย ที่จะเปิดเรียนในวันที่ 27 พ.ค. เป็นต้นไป ตามด้วยมัธยมต้น ประถม และอนุบาลที่จะเริ่มเปิดเทอมในช่วงต้นเดือน มิ.ย.
    .
    อย่างไรก็ตาม วันที่ 13 พ.ค. ที่ผ่านมา ฮ่องกง กลับพบการติดเชื้อภายในประเทศอีกครั้ง จากหญิงวัย 66 ปี และสามี กับหลานสาววัย 5 ขวบ ที่อยู่ในอพาร์ทเมนท์เดียวกัน ซึ่งไม่มีอาการใดๆ ก่อนหน้านี้ และไม่ได้เดินทางไปต่างประเทศ ทำให้รัฐบาลฮ่องกง ต้องขยายการตรวจออกไปในทุกสถานที่ที่เกี่ยวกับหญิงคนดังกล่าว
    .
    ไม่ว่าจะเป็น 2 บล็อกรอบตึกที่อยู่อาศัย ตลาดที่มีประวัติการเดินทางไปก่อนหน้านี้ ศูนย์เด็กเล็ก ที่เด็กคนดังกล่าวเรียน รวมไปถึงครอบครัวแม่ขอเด็ก รวมๆ แล้วจำกัดวงได้ 860 คน
    .
    อย่างไรก็ตาม แคร์รี่ แลม ผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ยืนยันว่าการพบผู้ป่วยลักษณะนี้ ถือเป็นเรื่องปกติ ตราบใดที่ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน และแผนการเปิดธุรกิจ แผนการเปิดโรงเรียน ยังคงเดินหน้าต่อ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ซ้ำยังเป็นเรื่องดีเสียอีก ที่เจอผู้ป่วยในเวลานี้ เพราะจะสามารถทำให้ “เทสต์” อย่างมีทิศทางได้มากขึ้น
    .
    เดวิด ฮุย เฉิง ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ยืนยันว่า การติดเชื้อรายล่าสุดต่างจากในเกาหลี เพราะแต่ละคนไมได้มีประวัติไปในสถานที่ที่แพร่เชื้อ และไม่ได้พบปะผู้คนเป็นวงกว้างในสถานที่ปิด แต่ก็ทำให้ฮ่องกงประมาทไม่ได้\
    .
    เขาแนะนำให้รัฐบาลเพิ่มจำนวนการเทสต์จากวันละ 3,000 คน เป็นวันละ 7,500 คน ซึ่งจะทำให้เจอผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการมากขึ้น
    .
    เศรษฐกิจฮ่องกงที่พึ่งพาภาคบริการและการท่องเที่ยวกำลังซบเซาอย่างหนัก แม้รัฐบาลจะทั้งแจกคูปองให้คนฮ่องกงใช้เงินฟรีๆ หรือจ่ายเงินเยียวยาภาคธุรกิจร้านอาหาร - โรงแรม นโยบายหลายอย่างจึง “ถอยหลัง” กลับไปไม่ได้อีกแล้ว
    .
    รัฐบาลฮ่องกง ยืนยันว่าจะตรวจมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงการระบาดในกลุ่มคนที่ป่วยไม่แสดงอาการ และเมื่อพร้อมจะขยายวงออกไปจากจุดที่เจอผู้ป่วยรายใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ จาก 2 บล็อกรอบที่อยู่อาศัย ก็อาจเพิ่มเป็น 4 บล็อก
    .
    การตรวจอย่างหนัก และจำกัดวง - ปิด เฉพาะสถานที่ข้างเคียง จะทำให้ภาคธุรกิจในฮ่องกง สามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพราะปีนี้ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจฮ่องกงในไตรมาสแรก จะติดลบ 8.9% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นไตรมาสที่แย่ที่สุด นับตั้งแต่มีการบันทึกมา และแย่กว่าช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งด้วยซ้ำ
    .
    เพราะฉะนั้น ฮ่องกงจึงยอมรับความเสี่ยงด้วยการยอมเปิดเมือง เปิดกิจการ และไปเน้นหนักที่การเทสต์แบบมียุทธศาสตร์ แทนที่จะเปิดๆ ปิดๆ เมืองต่อไป

    #COVID19 #โควิด19

    อ้างอิงจาก

    https://focustaiwan.tw/society/202004280019

    https://www.taiwannews.com.tw/en/news/3927524

    https://www.taiwannews.com.tw/en/news/3908444

    https://www.scmp.com/news/hong-kong.../coronavirus-eight-relatives-locally-infected

    https://www.bangkokpost.com/business/1917428/hong-kong-restaurants-back-in-busy-mode

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    พบทูตจีนประจำอิสราเอลเสียชีวิตที่บ้านพักของเขาในกรุงเทลอาวีฟ

    ตำรวจท้องถิ่นไม่ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการเสียชีวิตของนายตู้ เหว่ย ทูตจีนประจำอิสราเอล วัย 57 ปี แต่สถานีโทรทัศน์อิสราเอล กลับรายงานว่า เขาเสียชีวิตตามธรรมชาติ

    ก่อนหน้านี้ นายตู้ ดำรงตำแหน่งทูตจีนประจำประเทศยูเครน มาร่วม 3 ปี หลังจากนั้นก็ถูกส่งตัวมาเป็นทูตประจำอิสราเอล

    โฆษกกระทรวงต่างประเทศอิสราเอล กล่าวว่า นายตู้ เหว่ย เอกอัครราชทูตจีนประจำอิสราเอล เสียชีวิตที่บ้านพักทางตอนเหนือของกรุงเทลอาวีฟ ในช่วงเช้าวันนี้ (17 พฤษภาคม ) ตามรายงานของสื่อท้องถิ่น

    เจ้าหน้าที่ตำรวจอิสราเอล ไม่ได้เปิดเผยถึงสาเหตุการเสียชีวิต แต่ในเบื้องต้นไม่พบสิ่งผิดปกติแต่อย่างใด

    สถานีโทรทัศน์ Channel 12 TV ของอิสราเอล รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวทางการแพทย์ที่ไม่เปิดเผยชื่อว่า ผลบ่งชี้ในเบื้องต้น พบว่านายตู้เสียชีวิตขณะนอนหลับจากสาเหตุตามธรรมชาติ

    นายตู้ เคยเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศของจีนมา 31 ปี เขาสมรสแล้วและมีบุตรหนึ่งคน

    ข้อความที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของสถานทูตจีนฯ หลังจากที่เขาได้รับการแต่งตั้ง นายตู้ได้กล่าวชื่นชมความสัมพันธ์ระหว่างจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก กับอิสราเอล

    การเสียชีวิตของเขา เกิดขึ้นหลังจากที่ สามก่อนหน้านี้ เขาได้กล่าวโจมตีรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐที่กล่าวหาว่าจีนในการแพร่ระบาดโควิด-19

    ตามรายงานจาก เยรูซาเล็มโพสต์ เผยว่า เจ้าหน้าที่การทูตผู้นี้ของจีน กล่าวว่า สหรัฐจะต้องรับผิดชอบในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับประเทศตนเอง

    สถานการณ์ที่เกิดขึ้นปัจจุบัน เพราะว่าสหรัฐ เป็นแหล่งแพร่เชื้อ ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากจีน แต่อย่างใด

    แต่เป็นเพราะว่าความล่าช้าในการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสดังกล่าวของนักการเมืองของสหรัฐนั่นเอง

    #เพจเก็บตกตะวันออกกลาง

    https://www.scmp.com/news/china/pol...mbassador-israel-found-dead-his-tel-aviv-home

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    #มอร์มูฟเป็นข่าว เราคงต้องอยู่ร่วมกัน!!?? ล่าสุด สำนักข่าว BBC รายงานโดยกล่าวอ้างถ้อยแถลงของ ดร.ไมค์ ไรอัน ผู้อำนวยการฝ่ายภาวะฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งระบุว่า โรค COVID-19 อาจจะแพร่ระบาดอีกนานและจะไม่หายไปไหน เหมือนเชื้อ HIV ที่ยังคงมีอยู่ แม้ว่าจะถึงวันที่มีการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนาออกมา แต่การควบคุมเชื้อไวรัสยังคงต้องอาศัยความพยายามที่ยากลำบากอย่างมาก "ไม่เชื่อว่าจะมีใครประเมินได้แน่ชัดว่า เมื่อไหร่โรค COVID-19 จะหมดไป และถึงเวลาแล้วที่ทุกประเทศต้องหันมาพิจารณาในกรณีที่ว่า COVID-19 จะกลายเป็น 'โรคติดเชื้อประจำถิ่น' เหมือนโรคหัดและโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ ที่เกิดขึ้น และจะไม่ได้หมดไปเพียงแค่มีวัคซีนป้องกัน".
    ---------------------------------------------------
    อ่านต่อ : https://www.thairath.co.th/news/foreign/1843749

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อินโดนีเซียเริ่มเก็บ 'ภาษีดิจิทัล' จากบริษัทต่างประเทศ 10% เริ่มกรกฎาคมนี้

    กระทรวงการคลังของอินโดนีเซียแถลงว่า นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมเป็นต้นไป รัฐบาลจะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 10% กับผลิตภัณฑ์ดิจิทัลทุกประเภทของบริษัทด้านเทคโนโลยีที่ไม่ได้จดทะเบียนในอินโดนีเซีย โดยจะหมายรวมถึงบริการ สตรีมมิง แอปพลิเคชั่น และเกมออนไลน์ เช่นเน็ตฟลิกซ์แ ละสปอทิฟาย ซึ่งเป็นบริษัท 2 ที่มีส่วนแบ่งด้านการตลาดมูลค่ามหาศาลในประเทศ อย่างไรก็ตามการแถลงดังกล่าวไม่ได้ระบุข้อตกลงที่เป็นเกณฑ์ของการจัดเก็บภาษีดิจิทัลอย่างละเอียด

    https://www.tcijthai.com/news/2020/5/asean/10350

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    การปะทุของภูเขาไฟ#Sakurajima ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2020 เวลา 18:54 น. ตามเวลา JST พร้อมกลุ่มเถ้า 1,000 เมตร


     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,858
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan
    #NewsAlert
    พายุไซโคลน '#Amphan' มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้นใน #SuperCyclone ในช่วงเย็นวันจันทร์และตี # # เบงกอลและชายฝั่ง # บังคลาเทศเป็นพายุไซโคลนที่รุนแรงมากด้วยความเร็วลมสูงถึง 185 กม. ต่อชั่วโมงในวันพุธ # หมวด 4

    #NewsAlert
    Cyclonic storm '#Amphan' is likely to intensify into #SuperCyclone by Monday evening and hit West #Bengal and #Bangladesh coasts as very severe cyclone with wind speed up to 185 km per hour on Wednesday #Category4
    10002835456_n.jpg?_nc_cat=108&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=meQulpKAyT8AX8eKXlc&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.jpg

    57902665728_n.jpg?_nc_cat=106&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=6JQ28w6pgUIAX_TGQ-N&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.jpg

    67854299136_n.jpg?_nc_cat=111&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=3poZA7SxT-0AX9ROkGP&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.jpg

    57788246016_n.jpg?_nc_cat=102&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=rdU23q_f_2YAX-apfP6&_nc_ht=scontent.fbkk7-2.jpg

    79304427520_n.jpg?_nc_cat=103&_nc_sid=8bfeb9&_nc_ohc=fCpNLGIC76IAX-PSbfk&_nc_ht=scontent.fbkk7-3.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...