ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,796
    ค่าพลัง:
    +97,150
    กัมพูชา อ้างเป็นเจ้าของเกาะกูด จะไปเจรจา เพื่อให้ ขเมรมาเคลมไปหรือ รัฐบาลนี้ก็แปลกเนอะ ชอบพาประเทศไปพบความเสี่ยง ถ้าพวกเขาบืนยันจะทำให้ได้ ให้มาเซ็นสัญญากับประเทศ ว่า ถ้าทำแล้วเกิดผลเสีย ทรัพย์สินทั้งหมดของพวกเขาทั้งหมดต้องตกเป็นของประเทศ ดูว่าจะยังยืนยันจะทำอีกหรือเปล่า จะมีกี่แสนล้าน ก็ยินยอมยกให้ประเทศไทยหมด รวมถึงทรัพย์สินในต่างประเทศด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,796
    ค่าพลัง:
    +97,150
    คนที่ไปทำ mou 44 ฉลาดกว่ากัมพูชาจริงหรือ ที่กัมพูชาแสดงท่าทีแบบนี้ มั่นใจมาก ใช่เขาดูถูกคนที่ไปทำ mou 44 ว่า ฉลาดหรือโง่



    Screenshot_25671216_215811.jpg
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,796
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ประเทศที่บริหารไม่ดีขนาดนี้ ถ้าคนที่เชื่อมั่น mou 44 ว่าไม่มีเป็นไปตามคนคัดค้าน เชื่อว่าตัวเองฉลาด หรือจริงๆ ก็รู้ตัวว่า เป็นไปตามที่กัมพูชาคิดแต่เพื่อผลประโยชน์ตนเองเลยไม่สนใจ แต่ถ้าผลเป็นไปตาม กัมพูชา คิด ต้องพิจารณา ความฉลาดของตัวเองได้แล้ว และควรทำสัญญาชดใช้ความเสียหายให้ประเทศ ว่ายินดียกทรัพย์สินทั้งหมดให้ประเทศ แม้แต่ทรัพย์สินต่างประเทศ รวมถึงทรัพย์สินที่วงศ์ตระกูล จะได้มาในอนาคตให้ประเทศ



    Screenshot_25671216_220103.jpg
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,796
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ตอนนี้เป็นรัฐบาล ก็เปลี่ยนเป็นฝ่ายค้านได้ ขึ้นอยู่พฤติกรรม น่าอายน่ะ ปล่อยให้คนบริหารแย่ ๆ ออกมา เกทับได้ขนาดนี้ คนทำ mou 44 เก่งจริงหรือเปล่า



    Screenshot_25671216_220627.jpg
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,796
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เกาะกูดยังไงก็เป็นของไทยอยู่แล้ว ถ้าไม่ใช่เพราะรัฐบาลไปยกมาเป็นประเด็น ก็ไม่มีเรื่องอะไรหรอก แต่พอไปยกเรื่องนี้ขึ้นมา ก็เลยกลายเป็นปัญหา
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,796
    ค่าพลัง:
    +97,150


    Screenshot_25671218_053244.jpg
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,796
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Dec 18, 2024 ไม่ผิดคาด ! กนง.แจงมติคงดอกเบี้ยนโยบาย 2.25% มุ่งรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ การเงิน บนความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น คาดจีดีพีปี 67 โต 2.7% หั่นคาดการณ์เงินเฟ้อปี 67 ที่ 0.4% จาก 0.5%

    นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กนง. วันนี้ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.25% ต่อปี

    ทั้งนี้ ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ เห็นว่าความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าปรับสูงขึ้น จึงจะติดตามพัฒนาการของแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินและพิจารณานโยบายการเงินให้เหมาะสมต่อไป

    กนง.มองว่าเศรษฐกิจไทยเผชิญความท้าทายจากการแข่งขันจากภายนอกที่รุนแรงขึ้น และความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะแนวนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก แต่ยังสามารถขยายตัวได้ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ โดยภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวปรับดีขึ้น ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังฟื้นตัวได้ช้า โดยเฉพาะกลุ่มที่ถูกกดดันจากความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง

    "คณะกรรมการฯ เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน ยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกับศักยภาพ เงินเฟ้อที่โน้มเข้าสู่กรอบเป้าหมาย และการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในระยะยาว รวมทั้งรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงินในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่ปรับสูงขึ้น" เลขานุการ กนง.ระบุ

    โดยคณะกรรมการฯ ประเมินว่า ในปี 67 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวที่ 2.7% ส่วนในปี 68 คาดขยายตัว 2.9% ซึ่งเท่ากับประมาณการเดิมเมื่อเดือนต.ค.67 โดยได้รับแรงสนับสนุนต่อเนื่องจากการท่องเที่ยว และการบริโภคภาคเอกชน รวมทั้งการส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์ และหมวดเครื่องจักร ที่มีแนวโน้มดีขึ้นตามวัฏจักรสินค้าเทคโนโลยี

    อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจมีความแตกต่างกันในแต่ละภาคส่วน โดยภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวปรับดีขึ้น แต่ SMEs และภาคอุตสาหกรรมบางกลุ่ม ยังถูกกดดันจากความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง กลุ่มยานยนต์มีพัฒนาการแย่ลง จากทั้งปัจจัยด้านราคาและอุปสงค์ ส่งผลให้การฟื้นตัวของรายได้ครัวเรือนยังไม่ทั่วถึง

    "มองไปข้างหน้า แนวนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก มีความไม่แน่นอนสูง จึงต้องติดตามพัฒนาการของปัจจัยดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลต่อแนวโน้มการส่งออกสินค้า และการลงทุนของไทยในระยะต่อไป" นายสักกะภพ ระบุ

    กนง.ปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 67 มาอยู่ที่ 0.4% จากเดิมคาด 0.5% ส่วนปี 68 คาดไว้ที่ 1.1% จากเดิม 1.2% โดยอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงานมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจและการส่งผ่านต้นทุนในหมวดอาหาร โดยคาดว่าปี 67 จะอยู่ที่ 0.6% และในปี 68 จะอยู่ที่ 1.0% ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย

    ด้านสินเชื่อชะลอลงในช่วงที่ผ่านมา จากความต้องการลงทุนในบางสาขาธุรกิจลดลง การชำระคืนหนี้ที่กู้ยืมไปในช่วงวิกฤตโควิด-19 และความเสี่ยงด้านเครดิตที่อยู่ในระดับสูง อาทิ สินเชื่อของภาคท่องเที่ยวและบริการ ขยายตัวชะลอลงจากการชำระคืนหนี้และรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่สินเชื่อของธุรกิจ SMEs โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่การแข่งขันรุนแรงขึ้น หดตัวตามความเสี่ยงด้านเครดิตที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งคณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามแนวโน้มการขยายตัวของสินเชื่อ และนัยต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และผลของมาตรการ "คุณสู้ เราช่วย" ของภาครัฐ ที่จะช่วยบรรเทาภาระหนี้ให้กับกลุ่มเปราะบางอย่างตรงจุด

    ด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐ ปรับอ่อนค่าลงจากการประชุมครั้งก่อน ตามการปรับคาดการณ์แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของไทย ปรับลดลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

    Website: https://btimes.biz
    Facebook: https://web.facebook.com/btimesch3
    YouTube: https://www.youtube.com/@BTimes_ch3
    TikTok : https://www.tiktok.com/@btimes_ch3

    #ดอกเบี้ย #กนง. #ดอกเบี้ยนโยบาย #แบงก์ชาติ #เศรษฐกิจ #เงินเฟ้อ #การเงิน #BTimes

    https://www.facebook.com/share/p/1oeGpankXD6NX1AU/
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,796
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ดอกเบี้ยไทยสวนโลก กนง. คงอัตราเท่าเดิม คนละทิศกับ “เฟด” ที่ลดดอกเบี้ย สะท้อนเศรษฐกิจในระยะข้างหน้าได้แบบใด
    .
    มีรายงานในหลายสำนักวิจัยที่ประเมินว่าทิศทางดอกเบี้ยโลกในปี 2568 มีแนวโน้มว่าธนาคารกลางในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของโลกจะลดดอกเบี้ย เนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวลงจากหลายปัจจัย โดยเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปชะลอตัว ยังคงสนับสนุนมุมมองดอกเบี้ยขาลงในปี 2568 ขณะที่เศรษฐกิจจีนฟื้นตัวอย่างเปราะบาง

    <กนง. ไม่ลดดอกเบี้ย สวนทางประเทศอื่น>
    แต่ถึงอย่างนั้น เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมาในการประชุมนัดส่งท้ายปี ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ถือว่าไม่หักปากกาเซียน เพราะ กนง. ได้มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.25 ต่อปี แม้ว่าแนวโน้มธนาคารกลางทั่วโลก จะมีแนวโน้มลดดอกเบี้ย เพื่อพยุงเงินเฟ้อ เศรษฐกิจที่ซึมมาตั้งแต่โดนพิษโควิด–19
    .
    สาเหตุที่ กนง. คงดอกเบี้ยนั้น ก็เนื่องมาจาก การที่ กนง. เห็นว่าแม้เศรษฐกิจไทยจะเผชิญกับความท้าทายจากการแข่งขันจากภายนอกที่รุนแรงขึ้น และความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะแนวนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลัก แต่ยังสามารถขยายตัวได้ใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้
    .
    ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมยังฟื้นตัวได้ช้าจากบางกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างเช่น อิเล็กทรอนิกส์ และยานยนต์ที่ประสบปัญหาความสามารถในการแข่งขันที่ลดลง เงินเฟ้อที่โน้มเข้าสู่กรอบเป้าหมาย และการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน
    .
    ดังนั้น กนง. จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยคงคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจไว้ที่ 2.7% และ 2.9% ในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ และหั่นคาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปเหลือ 0.4% ในปี 2567 และ 1.1% ในปี 2568 ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐาน คาดว่าจะอยู่ที่ 0.6% และ 1.0%
    .
    แต่หากมองไปในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจไทยยังเผชิญกับความไม่แน่นอนที่ปรับสูงขึ้นจากหลายปัจจัย เช่น ทิศทางนโยบายการค้าโลก ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ และผลกระทบจากคุณภาพหนี้ ต่อภาวะการเงินและเศรษฐกิจโดยรวม โดยความเสี่ยงในปี 2568 มีมากขึ้นจากความไม่แน่นอน ซึ่งนั่นจะมีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะเติบโตต่ำกว่า 2.9%
    .
    คุณสักกะภพ พันธ์ยานุกูล เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กล่าวว่า ปัจจุบัน กนง. คงจุดยืนนโยบายการเงินที่เป็นกลาง (neutral stance) เพื่อรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงิน(Policy space) เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้าที่ปรับสูงขึ้น โดยปัจจุบันโมเมนตัมเศรษฐกิจยังไปได้โดยเฉพาะไตรมาสนี้ และไตรมาส 1/2568 ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจไตรมาส 3/2567 ที่ปรับดีขึ้น และตัวเลขการส่งออกที่เติบโตเกินคาด แต่หากแนวโน้มเศรษฐกิจมีปัญหาอย่างชัดเจน ก็พร้อมพิจารณาลดดอกเบี้ย
    .
    ด้านความเสี่ยงในระบบการเงิน ยังมีประเด็นให้ต้องกังวล เนื่องจากความเสี่ยงไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม โดยระยะยาวมองว่าความเสี่ยงหนี้ครัวเรือนจะลดลง จากปัจจุบันที่มีการชะลอตัว ด้านความเสี่ยงระยะสั้นจากสินเชื่อที่ตึงตัว การออกมาตรการแก้หนี้ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในช่วงที่ผ่านมา และมาตรการล่าสุด ‘คุณสู้ เราช่วย’ ประกอบกับการลดอัตราดอกเบี้ยของ กนง. ในเดือน ต.ค. ช่วยแบ่งเบาความเสี่ยงดังกล่าว
    .
    “ระยะยาว เราเห็นการชะลอตัวของหนี้ครัวเรือน ดังนั้นความเสี่ยงระยะยาวของเสถียรภาพระบบการเงิน ไม่ได้เป็นประเด็น และลดลง แต่ระยะสั้น จากสินเชื่อตึงตัว ภาวะการเงินต่างๆ ก็มีมาตรการเข้ามาช่วย และผลจากการลดดอกเบี้ยครั้งก่อน ซึ่งช่วยครัวเรือนที่มีภาระหนี้สูง” นายสักกะภพ ระบุ
    .
    <ธนาคารกลางสหรัฐลดดอกเบี้ยตามคาด 0.25% แต่ปีหน้าหั่นน้อยลง>
    ด้านธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% ตามความคาดหมายของนักวิเคราะห์ ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของเฟด (FOMC) ครั้งสุดท้ายของปีเมื่อวันที่ 18 ธ.ค.2567 ด้วยมติ 11 ต่อ 1 เสียง
    .
    อย่างไรก็ตาม “เจอโรม พาวเวล” ประธานเฟดได้ส่งสัญญาณถึงทิศทางดอกเบี้ยในปี 2568 ว่าเฟดจะชะลอการลดดอกเบี้ยในปีหน้าออกไป โดยการปรับลดดอกเบี้ยในอนาคตจะขึ้นอยู่กับความคืบหน้าในการลดอัตราเงินเฟ้อที่สูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้กำหนดนโยบายเริ่มตระหนักถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ภายใต้รัฐบาลว่าที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่กำลังจะเข้ามาบริหารในปีหน้า
    .
    ในการประชุมยังมีการเปิดเผยรายงานคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยสหรัฐในอนาคต (Dot Plot) ที่ออกมาในทุกไตรมาส โดยในครั้งนี้กรรมการเสียงส่วนใหญ่ 10 เสียง ของเฟดคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ย ณ สิ้นปี 2568 จะอยู่ที่ระดับ 3.75–4.0% หรือหมายความว่า เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยในปีหน้าลงเพียงแค่ 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% เท่านั้น
    .
    ทิศทางล่าสุดนี้นับว่าลดลงมากเมื่อเทียบกับรายงาน Dot Plot ที่ออกในเดือน ก.ย. ซึ่งครั้งนั้นกรรมการเฟดให้คะแนนเท่ากันฝั่งละ 6 เสียง ระหว่างการลดดอกเบี้ย 3 ครั้งกับ 4 ครั้งในปีหน้า
    .
    นอกจากนี้ เฟดยังส่งสัญญาณปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปี 2569 และลดอัตราดอกเบี้ย 1 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในปี 2570
    .
    ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่เฟดได้ปรับเพิ่มตัวเลขอัตราดอกเบี้ยที่เป็นกลางในระยะยาวสู่ระดับ 3.0% จากเดิมที่ระบุไว้ในเดือน ก.ย. ที่ระดับ 2.9%
    .
    <“กิตติรัตน์” ว่าที่ประธานบอร์ดแบงก์ชาติย้ำจุดยืน ต้องลดดอกเบี้ย>
    หลังจากที่หายหน้าหายตาไปจากหน้าสื่อสักพัก คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง ว่าที่ประธานกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ได้ออกมากล่าวถึงกรณี กนง. มีมติเอกฉันท์ “คงดอกเบี้ย” นโยบายรอบล่าสุด (18 ธ.ค.) ว่าโดยส่วนตัวผมเคารพการตัดสินใจของที่ประชุม กนง.ทั้ง 7 ราย เพราะเป็นคนที่มีเหตุและมีผล แต่อย่างไรก็ตาม “จุดยืน” ของผมยังเหมือนเดิมว่าควร “ลดดอกเบี้ยนโยบาย” ให้เร็วและแรง คือหนทางป้องกันความหายนะ
    .
    ซึ่งเคยพูดเรื่องนี้มาตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2566 ซึ่งความเชื่อไม่เคยเปลี่ยนแปลงหลังจากได้ถูกเสนอชื่อให้ไปทำหน้าที่คณะกรรมการ ธปท. แต่ทั้งนี้จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เห็นการลดดอกเบี้ยเร็วและก็ยังไม่ได้ลดแรง
    .
    “ผมมองว่าการคงดอกเบี้ยรอบล่าสุดของ กนง. คณะกรรมการมองเห็นว่าสถานการณ์โดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ และเครื่องมือที่มีอยู่ต้องเก็บไว้ใช้ในอนาคต ซึ่งสเตตเมนต์ที่ออกมาถูกเขียนด้วยภาษานักเศรษฐศาสตร์ แต่คำอธิบายที่ปรากฎเพียง 1 หน้า ผมมองว่าเป็นเนื้อหาที่สั้นไป
    .
    และถ้าเกิดพูดด้วยภาษาชาวบ้าน ‘ขอให้เห็นใจเถอะ’ เราเคยมียาอยู่ 8 เม็ด เพื่อที่จะรักษาปัญหาโรคที่เราเป็นอยู่ และเผอิญเรากินยาไปแล้ว 1 เม็ด ทำให้เหลือยา 7 เม็ด จะรีบกินตอนนี้ก็จะเหลือยา 6 เม็ด ซึ่งทาง กนง. (คณะแพทย์) เขาก็เลือกไม่กินยาโดยเก็บไว้ก่อน แต่ถ้าเห็นใจกินยาไปอีกเม็ด เราก็ยังเหลือยาอีกตั้ง 6 เม็ด ซึ่งเป็นเรื่องที่จริงๆ ก็ทำได้ ถ้าเกิดเหลือยาอยู่สัก 2 เม็ด และเลือกไม่กิน ผมก็พอจะเข้าใจเยอะกว่านี้ได้”
    .
    แต่อย่างไรก็ตาม อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คาดว่าจะลดลงแต่ละครั้ง 0.25% เป็นส่วนเดียวของกลไกนโยบายการเงิน สิ่งที่สนใจมากกว่านั้นคือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่างหาก โดยสินเชื่อส่วนบุคคลจ่ายดอกเบี้ยอยู่ 30% ต่อปี และ 24% ต่อปี และบัตรเครดิต 16% ต่อปี และเวลาผิดนัดชำระ (คนที่จ่ายไม่ไหว) กลับไปเพิ่มภาระดอกเบี้ย
    .
    หรือว่าส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยเงินฝากกับดอกเบี้ยเงินกู้ทำไมถึงสูงมากขนาดนั้น ควรจะแคบลงมาได้หรือไม่ ทั้งที่จริงๆ แล้ว ธนาคารสามารถมีกำไรได้ดีขึ้นแม้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะลดลง หากการทำเช่นนั้นทำให้ความเสี่ยงของหนี้เสียน้อยลง การตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญก็น้อยลง และเคยถูกตั้งสำรองไว้แล้วก็สามารถรับกลับมาเป็นรายได้ เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ควรจะมาพูดคุยกัน
    .
    <ความเสี่ยงยังต้องตั้งรับ>
    ไม่ว่าการปรับลดดอกเบี้ยของเฟด แต่ชะลอลดในปีหน้า หรือ กนง. จะยังคงดอกเบี้ยไว้ สะท้อนมุมมองที่ไปในทิศทางเดียวกันนั่นก็คือเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ามีความไม่แน่นอน และมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องตั้งรับ
    .
    ในทางวิชาการ เศรษฐศาสตร์ หรือหลักการใดๆ ก็ตาม อาจมองว่าเศรษฐกิจค่อยๆ ฟื้นและดีขึ้น แต่ในแง่ความรู้สึก และเงินจริงในกระเป๋าอาจไม่ได้รู้สึกว่าดีขึ้นสักเท่าไหร่ นอกจากรอให้นโยบาย และมาตรการต่างๆ ได้ทำหน้าที่แล้ว ประชาชนก็คงต้องเซพเงิน เซพตัวเองกันด้วยในยุคที่เศรษฐกิจยังลุ่มๆ ดอนๆ แบบนี้...
    .
    อ่านเพิ่มเติม คลิก https://bit.ly/41J0l0q
    .
    Website: https://btimes.biz
    Facebook: https://web.facebook.com/btimesch3
    YouTube: https://www.youtube.com/@BTimes_ch3
    TikTok : https://www.tiktok.com/@btimes_ch3
    .
    #ดอกเบี้ย #แบงก์ชาติ #กนง #ธนาคารกลาง #แบงก์ชาติสหรัฐ #เศรษฐกิจไทย #เงินเฟ้อ #ลงทุน #BTimes

    https://www.facebook.com/share/p/TiVGVKGTtWijHqum/
     

แชร์หน้านี้

Loading...