ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าโดยละเอียด

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย phuang, 21 กันยายน 2005.

  1. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <TABLE width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    "ลักษณะแห่งธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน"




    พระธรรมคือ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น เมื่อกล่าวโดยลักษณะท่านจัดออกเป็น ๔ ลักษณะ คือ

    ๑. สวากขาตธรรม เป้นพระธรรมอันพระบรมศาสดาทรงแสดงไว้ดีแล้วทั้งที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต (เป็นกลาง ๆ ไม่มีไม่ชั่วไม่ใช่กุศลไม่ใช่อกุศล) เป็นพระธรรมอันมีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลางที่สุด สมบูรณ์ด้วยอรรถะและพยัญชนะ

    ๒. สัลเลขธรรม เป็นพระธรรมที่ทำน้าที่ขัดเกลาจิต หรือบาปอกุศลให้ออกไปจากจิต ตามคุณสมบัติแห่งองค์ธรรมนั้น เช่น ปัญญาขจัดความโง่เขลา เมตตาขจัดความพยาบาทความโกรธ เป็นต้น

    ๓. นิยยานิกธรรม เป็นธรรมที่นำสัตว์ผู้ปฏิบัติ ให้ออกจากอำนาจของกิเลส ทุกข์ และสังสารวัฎ นำออกจากเวรภัยในปัจจุบัน

    ๔. สันติธรรม เป็นพระธรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุขในชั้นนั้น ๆ ตามสมควรแก่ธรรมที่บุคคลได้เข้าถึงและปฏิบัติตาม จนถึงสันติสุขอย่างยอดเยี่ยมคือนิพพาน ดังที่ทรงแสดงไว้ว่า

    นตฺถิ สนติ ปรํ สุขํ (สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี)

    อย่างไรก็ตาม พระธรรมทั้งมวลที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้นทรงแสดงว่าเป็นธรรมที่มีอยู่เป็นอยู่อย่างนั้น คือจะเป็นกุศล อกุศลและอัพยากฤต และแม้แต่มรรคผลนิพพาน เป็นธรรมฐิติ ธรรมนิยามคือพระพุทธเจ้าจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม พระธรรมคงมีสภาพเป็นอย่างนั้น พระองค์ได้ทรงค้นพบธรรมเหล่านี้ นำมาเปิดเผยชี้แจงแสดงแก่โลกตามความเป็นจริงแห่งธรรมเหล่านั้น หน้าที่ ของพระองค์ในฐานะผู้ค้นพบคือทรงแสดงธรรมเหล่านั้นให้ฟัง อันเป็นการชี้บอกทางที่ควรเดินและควรเว้นให้เท่านั้น ส่วนการประพฤติปฏิบัติเป็นหน้าที่ของผู้ฟัง จะต้องลงมือทำด้วยตนเอง อำนาจในการดลบันดาล การสร้างโลก เป็นต้น จึงไม่มีในพระพุทธศาสนา

    อันที่จริงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้น ทำให้พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู คือ ทรงรู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง แต่ในการสอนนั้นทรงมีหลักการสอนดังกล่าวแล้วคือ ทรงมุ่งไปที่คนนั้น ๆ จะได้รับประโยชน์สามารถเกื้อกูลและอำนวยความสุขให้แก่ผู้ฟัง ธรรมที่พระองค์นำมาสอนจึงมีน้อย อุปมาเหมือนใบไม้ในป่ากับใบไม้ในฝ่ามือ คือที่ทรงรู้นั้นมากเหมือนใบไม้ในป่า แต่ที่ทรงนำมาสั่งสอนนั้นเหมือนใบไม้ในกำมือเท่านั้น


    "หลักธรรม ๓ เรื่องที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมาก"
    พระพุทธเจ้าได้เทศนาสั่งสอนประชาชนหลังจากตรัสรู้แล้วเป็นเวลาถึง ๔๕ ปี พระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์จึงมีมากมายรวมเรียกว่า พระไตรปิฎก มีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ อันประกอบด้วย พระวินัยปิฎก (๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) พระสูตร หรือ พระสุตตันตปิฎก(๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) พระอภิธรรมปิฎก (๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์) เป็นหนังสือภาษาบาหลีจำนวน ๔๕ เล่ม และแปลเป็นภาษาไทยออกมาได้ ๘๐ เล่มขนาดใหญ่

    หลักธรรม ๓ เรื่องที่มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวันมากคือ

    ๑. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร หรือปฐมเทศนา ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงโปรดพระปัญจวัคคีย์ (มี ๕ องค์ คือ อัญญาโกณฑัญญะ, วัปปะ, ภัททิยะ, มหานานะ,อัสสชิ) เป็นครั้งแรกจนทำให้ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม อันแสดงว่าการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอาจ อาจมีผู้สามารถรู้ตามได้ ในสูตรนี้พระองค์ทรงแสดงอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ ๑ เหตุให้เกิดทุกข์ ๑ การดับทุกข์ ๑ และทางที่จะดำเนินไปสู่ความดับทุกข์ ๑ ซึ่งทางที่จะดำเนินไปสู่ความดับทุกข์นี้ เรียกกันว่า มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง
    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป หรือพระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม พระพุทธเจ้าทรงแสดงที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี แคว้นกาสี ในวันขึ้น ๑๕ คำ เดือน ๘ หลักจากวันซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้สองเดือน


    ๒. อนัตตลักขณสูตร ในสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงให้เห็นความไม่เที่ยงของสิ่งต่าง ๆ คือ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมตลอดไปได้ทั้งเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตนจริง ๆ เลย เป็นการสมมุติขึ้นมาเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นเราจึงไม่สามารถบังคับให้มันอยู่ในอำนาจของเราได้
    อนัตตลักณสูตร เป็นพระสูตรที่แสดงลักษณะแห่งเบญจขันธ์ว่าเป็นอนัตตา พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ ภายหลังจากแสดงปฐมเทศนาแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ได้สำเร็จพระอรหัตด้วยได้ฟังอนัตตลักขณสูตรนี้


    ๓. กาลมสูตร พระสูตรนี้ได้แสดงให้เห็นความเป็นนักเสรีประชาธิปไตยของพระพุทธเจ้า เพราะพระองค์ทรงสอนให้คนใช้ความคิดด้วยเหตุผลโดยรอบคอบเสียก่อนแล้วจึงค่อยเชื่อ พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าจงอย่าได้เชื่อโดยการอ้างตำรา หรือเพราะครูอาจารย์สอนไว้อย่างนั้น หรือเพราะคำพูดนั้นตรงกับความเห็นของเรา หรือเพราะผู้นั้นเป็นบุคคลที่ควรเชื่อ หรือโดยการคาดคะเนหรือ นึกเดาเอาหรือโดยการใช้เหตุผลตามหลักตรรกศาสตร์ พระองค์ทรงสอนว่าการกระทำใด ๆ ถ้าจะไม่ก่อให้เกิดความทุกข์ในภายหลัง นักปราชญ์ไม่ติเตียน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นแล้ว พึงทำเถิดแต่ถ้าตรงกันข้ามกันก็อย่าทำเลย
    กาลามสูตร เป็นสูตรหนึ่งในคัมภีร์ติกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระพุทธเจ้าตรัสสอนชนชาวกาลามะแห่งเกสปุตตนิคมในแคว้นโกศล ไม่ให้เชื่อถืองมงายไร้เหตุผล ตามหลัก ๑๐ ข้อ คือ อย่าปลงใจเชื่อเพราะ
    ๑. ด้วยการฟังตามกันมา
    ๒. ด้วยการถือสืบ ๆ กันมา
    ๓. ด้วยการเล่าลือ
    ๔.ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
    ๕. ด้วยตรรก
    ๖. ด้วยการอนุมาน
    ๗. ด้วยการคิดตรึกตรองตามแนวเหตุผล
    ๘. ด้วยเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีของตน
    ๙. ด้วยเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าเชื่อ
    ๑๐. ด้วยเพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา


    ต่อเมื่อใด พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมเหล่านั้นเป้นอกุศลเป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือปฏิบัติตามนั้น

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2005
  2. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    หมวดที่ ๗ พุทธอิทธานุภาพ

    <TABLE width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    "ทรงปาฏิหาริย์ ๓ คำรบปรากฏแก่พระพุทธบิดา"
    ในกาลที่พระพุทธเจ้าทรงเสด็จพระนครบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรกภายหลังจากตรัสรู้พระองค์ทรงสำแดงปาฏิหาริย์เป็นมหัศจรรย์ ซึ่งพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาทรงประนมหัตถ์ถวายนมัสการ แล้วกราบทูลว่าเป็นปาฏิหาริย์ที่มหัศจรรย์ได้ปรากฏแก่พระองค์ ในครั้งนี้นับเป็นคำรบสามแล้ว อันมีความดังต่อไปนี้

    ปาฏิหาริย์คำรบแรก เมื่อพระสิทธัตถะกุมารทรงประสูติได้ ๑ วัน ครั้งนั้นมีดาบสองค์หนี่งมีนามว่า กาฬเทวิล แต่มหาชนเรียกว่า อสิตะเป็นกุลุปกาจารย์ (อาจารย์ประจำตระกูล) ของพระเจ้าสุทโธทนะ ได้ทราบข่าวจากเทพยดาว่า พระเจ้าสุทโธทนะ ได้พระเจ้าสุทโธทนะ ได้พระราชโอสร จึงได้เดินทางไปยังกบิลพัสดุ์นคร เข้าเฝ้าพระเจ้าสุทโธทนะถวายพระพรถามข่าวถึงการประสูติของพระราชโอรส
    พระเจ้าสุทโธทนะทรงปีติปราโมทย์ รับสั่งให้เชิญพระโอรสมาถวายเพื่อนนมัสการท่านอสิตดาบส แต่พระบาททั้งสองของพระโอรสกลับขึ้น ปรากฏบนเศียรเกล้าของอสิตดาบส เป็นอัศจรรย์ พระดาบสเห็นดังนั้นก็สะดุ้งตกใจ ครั้นพิจารณาดูลักษณะของพระกุมารก็ทราบชัดด้วยปัญญาญานมีน้ำใจเบิกบาน ยิ้มแย้มแจ่มใส หัวเราะออกมาด้วยความปีติโสมนัส ประณมหัตถ์ถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาทของพระกุมาร และแล้วอสิตดาบสกลับได้คิด เกิดโทมนัสจิตร้องไห้เสียใจในวาสนาอาภัพของตน
    พระเจ้าสุทโธทนะได้ทอดพระเนตรเห็นอาการของท่านอาจารย์พิกลก็แปลกพระทัย เดิมก็ทรงปีติเลื่อมใสในการอภิวาทของท่านอสิตดาบสว่าอภินิหารของพระปิโยรสนั้นยิ่งใหญ่ประดุจดังท้าวมหาพรหมจึงทำให้ท่านอาจารย์มีจิตนิยมชื่นชมอัญชลี ครั้นเห็นท่านอสิตดาบสคลายความยินดีเป็นโสกาอาดูร ก็ประหลาดพระทัยเกิดสงสัย รับสั่งถามถึงเหตุแห่งการร้องไห้ และการหัวเราะเฉพาะหน้า
    อสิตดาบสก็ถวายพระพรพรรณนา ถึงมูลเหตุว่า เพราะอาตมาพิจารณาเห็นเห็นมหัศจรรย์ พระกุมารนี้มีพระลักษณะพระโพธิสัตว์เจ้าบริบูรณ์จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าโดยแท้ และจะเปิดโลกนี้ให้กระจ่างสว่างไสวด้วยกระแสแห่งพระธรรมเทศนาเป็นคุณที่น่าโสมนัสปรีดายิ่งนัก แต่เมื่ออาตมานึกถึงอายุสังขารของอาตมาซึ่งชราเช่นนี้แล้วคงจะอยู่ไปไม่ทันเวลาของพระกุมาร ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระบรมครูสั่งสอน จึงได้วิปฏิสารโศกเศร้า เสียใจที่มีอายุไม่ทันได้สดับรับพระธรรมเทศนา อาตมาจึงได้ร้องไห้
    ครั้วอสิตดาบสถวายพระพรแล้ว ก็ทูลลากลับไปบ้านน้องสาวนำข่าอันนี้ไปบอกนาลกมาณพผู้หลานชาย และกำชับให้พยายามออกบวชตามพระกุมารในกาลเมื่อหน้าโน้นเถิด


    ปาฏิหาริย์คำรบสอง ต่อมาวันหนึ่ง เป็นวันพระราชพิธีวัปปมงคล (พิธีมงคลแรกนาขวัญ) พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จไปทรงแรกนาขวัญในงานราชพิธีนั้นก็โปรดเกล้าให้เชิญพระกุมารไปในงานพระราชพิธีนั้นด้วยครั้นเสด็จไปถึงภูมิสถานที่แรกนาขวัญ ก็โปรดให้จัดร่มไม้หว้าซึ่งหนาแน่นด้วยกิ่งใบ อันอยู่ใกล้สถานที่นั้นเป็นที่ประทับของพระกุมารโดยแวดวงด้วยม่านอันงามวิจิตร ครั้นถึงเวลาพระเจ้าสุทโธทนะทรงไถแรกนาขวัญ บรรดาพระพี่เลี้ยงนางนมที่เฝ้าถวายบำรุงพระกุมารพากันหลีกออกมาดูพิธีนั้นเสียหมด คงปล่อยให้พระกุมารประทับ ณ ภายใต้ร่มไม้หว้าแต่พระองค์เดียว
    เมื่อพระกุมารเสด็จอยู่พระองค์เดียว ได้ความสงัดเป็นสุขก็ทรงนั่งขัดสมาธิเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน ยังปฐมฌานให้บังเกิดในเวลานั้นเป็นเวลาบ่าย เงาแห่งต้นไม้ทั้งหลายย่อมชายไปตามแสงตะวันทั้งสิ้น แต่เงาไม้หว้านั้นทรงรูปปรากฏเป็นปริมณฑลตรงอยู่ดุจเวลาตะวันเที่ยงเป็นมหัศจรรย์
    ครั้งนางนมพี่เลี้ยทังหลายกลับมาเห็นปาฏิหาริย์ดังนั้นก็พลันพิศวงจึงรีบไปกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะ พระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงสดับก็รีบเสด็จมาโดยเร็ว ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหารย์เป็นมหัศจรรย์เช่นนั้น ก็ทรงยกพระหัตถ์ถวายอภิวันทนาการออกพระโอษฐ์ดำรัสว่าเมื่อวันเชิญมาให้ถวายนมัสการพระกาฬเทวิลดาบสก็ทรงทำปาฏิหาริย์ขึ้นไปยืนชฎาพระดาบส อาตมะก็ประณตครั้งหนึ่งแล้วและครั้นนี้อาตมะก็ถวายอัญชลีเป็นวาระที่สอง ตรัสแล้วก็ให้เชิญพระกุมารเสด็จคืนเข้าพระนคร ด้วยความเบิกบานพระทัย


    ปาฏิหาริย์คำรบสาม เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จยังนครกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรกภายหลังจากตรัสรู้ตามคำทูลเชิญของพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาครั้นพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จถึงกบิลพัสดุ์นครบรรดาพระประยูรญาติที่มาสโมสรต้อนรับอยู่หน้า มีพระเจ้าสุทโธทนะพระพุทธบิดาเป็นประธานต่างแสดงออกซึ่งความเบิกบานตามควรแก่วิสัยแล้วทูลเชิญให้เสด็จขึ้นประทับยังพระนิโครธารามพระมหาวิหารพระบรมศาสดาก็เสด็จขึ้นประทับบนพระบวรพุทธาอาสน์ บรรดาพระสงฆ์ ๒ หมื่นต่างก็ขึ้นนั่งบนอาสนะ อันมโหฬาร ดูงามตระการปรากฏสมพระเกียรติศากยบุตรพุทธชิโนรสบรรดามี
    ครั้นนั้นบรรดาพระประยูรญาติทั้งหลายมีมานะทิฏฐิอันกล้า นึกละอายใจใม่อาจน้อมประนมหัตถ์ถวายนมัสการพระบรมศาสดาได้ด้วยดำริว่า "พระสิทธัตถะมีอายุยังอ่อน ไม่ควรแก่ชุลีกรนมัสการ จึงจัดให้พระประยูรญาติราชกุมารที่พระชนมายุยังน้อย คราวน้องคราวบุตรหลานออกไปนั่งอยู่ข้างหน้าเพื่อจะได้ถวายบังคมพระบรมศาสดา ซึ่งเห็นว่าควรแก่วิสัย ส่วนพระประยูรญาติผู้ใหญ่พากันประทับนั่งอยู่เบื้องหลังเหล่าพระราชกุมารไม่ประนมหัตถ์ ไม่นมัสการ หรือคาระแต่ประการใด ด้วยมานะ จิตคิดในใจว่าตนแก่กว่า ไม่ควรจะวันทาพระสิทธัตถะ"
    เมื่อพระบรมศาสดาประสบเหตุ ทรงพระประสงค์จะให้เกิดสลดจิตคิดสังเวชแก่พระประยูรญาติที่มีมานะจิตคิดมมังการ จึงทรงสำแดงปาฏิหารย์เหาะขึ้นลอยอยู่ในอากาศ ให้ปรากฏประหนึ่งว่าละอองธุลีพระบาทได้หล่นลงตรงเศียรเกล้าแห่งพระประยูรญาติทั้งหลายด้วยพุทธานุภาพเป็นอัศจรรย์


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "แสดงอิทธานุภาพสยบคณาจารย์ใหญ่นักบวชชฏิล"


    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงส่งพระสาวกชุดแรกจำนวน ๖๐ องค์ออกเผยแผ่ พระพุทธศาสนา อันมีพระปัญจวัคคีย์ ๕ องค์ พระยสะ และภิกษุอดีตสายบุตรเศรษฐีชาวเมืองพาราณสีทั้งสี่รวมเป็น ๕ องค์ พร้อมด้วยภิกษุอดีตสหายของพระยสะ ซึ่งเป็นชาวชนบทอีก ๕๐ องค์แล้วพระบรมศาสดาได้เสด็จถึงไร่ฝ้ายระหว่างทางจากป่าอิสิปตนมฤคทายวันมายังตำบลอุรุเวลา ทรงแสดงธรรมโปรดมาณพ ๓๐ คนในราชตระกูลแห่งราชวงค์โกศลซึ่งเรียกว่า "ภัททวัคคีย์" ได้ดวงตาเห็นธรรมทรงประทานอุปสมบทให้เป็นภิกษุ แล้วทรวสั่งสอนให้บรรลุอริยผลเบื้องสูงทรงส่งไปประกาศพระศาสนาเช่นเดียวกับพระสาวก ๖๐ องค์แรกพระอริยสงฆ์คณะนี้ได้กราบทูลลาเดินทางไปยังเมืองปาวา
    จากนั้นพระบรมศาดาทรงเสด็จตรงไปยังตำบลอุรุเวลา อันตั้งอยู่ในเขตเมืองราชคฤห์ ราชคฤห์มหานครนั้นเป็นครหลวงแห่งแคว้นมคธเป็นเมืองที่คับคั่งด้วยผู้คน เจริญวิทยาความรู้ตลอดจนการค้าขายเป็นที่รวมอยู่แห่งคณาจารย์เจ้าลัทธิมากมาย

    ในบรรดาคณาจารย์ใหญ่ ๆ นั้นท่านอุรุเวลกัสสปเป็นคณาจารย์ใหญ่ผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครราชคฤห์เป็นอันมาก ท่านอุรุเวลกัสสปเป็นนักบวชจำพวกชฏิล ท่านมีพี่น้องด้วยกัน ๓ คน ออกบวชจากตระกูลกัสสปโคตท่านอุรุเวบเป็นพี่ชายใหญ่มีชฏิล ๕๐๐ เป็นบริวาร ตั้งอาศรมสถานที่พนาสณฑ์ ตำบลอุรุเวลา ต้นแม่น้ำเนรัญชราตำบลหนึ่ง จึงได้นามว่าอุรุเวลกัสสป
    ส่วนน้องคนกลางมีชฏิลบริวาร ๓๐๐ ตั้งอาศรมสถานอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ถัดเข้าไปอีกตำบลหนึ่ง จึงได้นามว่า นทีกัสสป ส่วนน้องคนเล้กมีชฏิลบริวาร ๒๐๐ ตั้งอาศรมสถานอยู่ที่คุ้งใต้แห่งแม่น้ำเนรัญชรานั้นต่อไปอีกตำบลหนึ่ง ซึ่งมีนามว่า ตำบลคยาสีสะ จึงได้นามว่า คยากัสสป ชฏิลคณะนี้ทั้งหมดมีลัทธิหนักในการบูชาเพลิง
    จากนั้นพระบรมศาสดาเสด็จไปถึงอาศรมสถานของท่านอุรุเวลกัสสป ในเวลาเย็น ทรงรับสั่งขอพักแรมด้วยสัก ๑ ราตรี อุรุเวลกัสสปรังเกียจ ทำอิดเอื้อนไม่พอใจให้พัก เพราะเห็นพระศาสดาเป็นนักบวชต่างลัทธิของตน พูดบ่ายเบี่ยงว่า ไม่มีที่ให้พัก ครั้นพระบรมศาสดาตรัสขอพักที่โรงไฟ ซึ่งเป็นสถานที่บูชาเพลิงของชฏิลด้วยเป็นที่ว่าง ไม่มีชฏิลอยู่อาศัย ทั้งเป็นที่อยู่ของนาคราชดุร้ายด้วย อุรุเวลกัสสปได้ทูลว่า พระองค์อย่างพอใจพักที่โรงไฟเลย ด้วยเป็นที่อยู่ของพระยานาคมีพิษร้ายแรง ทั้งดุร้ายที่สุด จะเป็นอันตรายถึงชีวิต เมื่อ พระบรมศาสดารับสั่งยืนยันว่า นาคราชนั้นจะไม่เบียดเบียนพระองค์เลยท่านอุรุเวลกัสสปจึงได้อนุญาตให้เข้าไปพักแรก
    ลำดับนั้น พระบรมศาสดาเสด็จเข้าไปในโรงไฟประทับนั้งดำรงพระสติต่อพระกัมมัฏฐานภาวนา ฝ่ายพญานาคเห็นพระบรมศาสดาเสด็จเข้ามาประทับในที่นั้นก็มีจิตคิดขึ้งเคียดจึงพ่นพิษตลบไป ในลำดับนั้น พระบรมศาสดาก็ทรงพระดำริว่า ควรที่ตถาคตจะแสดงอิทธานุภาพให้เป็นควันไปสัมผัสมังสฉวี และเอ็นอัฐิแห่งพญานาคนี้ระงับเดชพญานาคให้เหือดหาย แล้วก็ทรงสำแดงอิทธาสังขารดังพระดำรินั้น พญานาคมิอาจจะอดกลั้น ซึ่งความพิโรธได้ ก็บังหวนควันพ่นพิษเป็นเพลิงพลุ่งโพลงขึ้น พระบรมศาสดาก็สำแดงเตโชกสิณสมาบัติบันดาลเปลวเพลิงรุ่งโรจน์โชตนาการ และพลิงทั้งสองฝ่ายก็บังเกิดขึ้นแสดงแดงสว่างดุจเผาฟลาญซึ่งโรงไฟน้นให้เป็นเถ้าธุลี ส่วนชฎิลทั้งหลายก็แวดล้อมโรงไฟนั้น ต่างเจรจากันว่า พระสมณะนี้มีสิริรูปงามยิ่งนักเสียดายที่เธอมาวอดวายเสียด้วยพิษแห่งพญานาคในที่นี้
    ครั้นล่วงสมัยราตรีรุ่งเช้า พระบรมศาสดาก็กำจัดฤทธิ์เดชพญานาคให้อันตรธานหาย บันดาลให้นาคนั้นขดกายลงในบาตร แล้วทรงสำแดงแก่อุรุเวลกัสสป ตรัสบอกว่า พญานาคนี้สิ้นฤทธิ์เดชแล้ว อุรุเวลกัสสปเห็นดังนั้นก็ดำริว่า พระสมณะนี้มีอานุภาพมาก ระงับเสียซึ่งฤทธิ์พญานาคให้อันตรธานพ่ายแพ้ไปได้ ถึงดังนั้นไซร้ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา อุรุเวลกัสสปมีจิตเลื่อมใสในอิทธิปาฏิหาริย์จึงกล่าวว่า ข้าแต่สมณะ นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าอยู่ ณ อาศรมของข้าพเจ้าเถิดข้าพเจ้าจะถวายภัตตาหารให้ฉันทุกวันเป็นนิตย์
    พระบรมศาสดาก็เสด็จประทับยังพนาสณฑ์ตำบลหนึ่งใกล้อาศรมแห่งอุรุเวลกัสสปชฏิลนั้น ครั้นสมัยราตรีเป็นลำดับ ท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ก็ลงมาสู่สำนักพระบรมโลกนาถ ถวายอภิวาทและยืนอยู่ใน ๔ ทิศ มีทิพยรังสีสว่างดุจกองเพลิงก่อไว้ทั้ง ๔ ทิศ ครั้งเวลาเช้าอุรุเวลกัสสปจึงเข้าไปสู่สำนักพระบรมศาสดาทูลว่า นิมนต์พระสมณะไปฉันภัตตาหารเถิด ข้าพเจ้าตกแต่งไว้ถวายเสร็จแล้ว แต่เมื่อคืนนี้เห็นรัศมีสว่างไปทั่วพนัสมณฑลสถาน บุคคลผู้ใดมาสู่สำนักพระองค์จึงปรากฏรุ่งเรืองในทิศทั้ง ๔ พระบรมศาสดาจึงตรัสบอกว่า " ดูกรกัสสป นั้นคือท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ลงมาสู่สำนักตถาคตเพื่อฟังธรรม" อุรุเวลกัสสปได้สดับดังนั้นก็ดำริว่า พระมหาสมณองค์นี้มีอานุภาพมาก ท้าวจาตุมหาราชยังลงมาสู่สำนัก ถึงกระนั้นก็ยังไม่ได้เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา
    ครั้นรัตติกาลสมัย ท้าวสหัสสนัยน์ก็ลวมาสู่สำนักพระบรมศาสดาถวายนมัสการแล้วยืนอยู่ที่อันควรข้าหนึ่ง เปล่งรัศมีสว่างดุจกองอัคคีใหญ่ไพโรจน์ยิ่งกว่าราตรีก่อน ครั้นเพลารุ่งเช้ากัสสปชฏิลทูลอาราธนาให้ฉันภัตตาหารแล้วทูลถามว่า เมื่อคืนนี้มีผู้ใดมาสู่สำนักพระองค์ จึงมีรัศมีสว่างยิ่งกว่าราตรี ก่อน พระบรมศาสดตรัสบอกว่า " ดูกรกัสสปเมื่อคืนนี้ท้าวโกสีย์สักเทวราชลงมาสู่สำนักตถาคต เพื่อจะฟังธรรม"ชลิฏได้สดับดังนั้นก็ดำริเห็นเป็นอัศจรรย์ดุจนัยก่อน
    ครั้นเข้าสมัยอีกราตรีหนึ่งถัดมา ท้ายสหัมบดีพรหมก็ลงมาสู่สำนักพระบรมศาสดา เปล่งรัศมีสว่างยิ่งขึ้นไปกว่าสองราตรีก่อน ครั้นรุ่งเช้าอุรุเวลกัสสปก็ไปทูลอาราธนา ฉันภัตตาหารแล้วทูลถามอีกพระบรมศาสดาตรัสบอกว่า "เมื่อคืนนี้ท้าวสหัมบดีพรหมลงมาสู่สำนักตถาคต" กัสสปดาบวก็ดำริดุจนัยก่อน
    ในวันรุ่งขึ้นชนชาวอังครัฐทั้งหลายจะนำเอาขาทนียโภชนียาหารเป็นอันมากมาถวายแด่อุรุเวลชฏิล อุรุเวลชฏิล จึงดำริแต่ในราตรีว่ารุ่งขึ้นมหาชนจะนำเอาอเนกนานาหารมาสู่สำนักอาตมา หากพระสมณะรูปนี้สำแดงอิทธิปาฏิหาริย์ลาภสักการะก็จะบังเกิดแก่เธอเป็นอันมากอาตมาจักเสื่อมสูญจากสรรพสักการบูชา ทำไฉน ณ วันพรุ่งนี้อย่าให้เธอมาสู่ที่นี้ได้
    พระบรมศาสดาทรงทราบความดำริของชฏิลด้วยเจโตปริยญาณ(ญาณหยั่งรู้ใจผู้อื่น) ครั้นเพลารุ่งเช้าก็เสด็จออกไปสู่อุตตรกุรุทวีปทรงปิณฑบาตรได้ภัตตาหารแล้วก็เสด็จมากระทำภัตตกิจยังฝั่งอโนดาต แล้ทรงยับยั้งอยู่ ณ ทิวาวิหารในที่นั้น ต่อมาเพลาสายัณหสมัยจึงเสด็จมาสู่วณสณฑ์สำนัก ครั้นรุ่งขึ้นกัสสปชฏิลไปทูลอาราธนาเสวยภัตตาหารและทูลถามว่า "วานนี้พระองค์ไปแสวงหาอาหารในที่ใด ไฉนไม่ไปสู่สำนักข้าพเจ้า ข้าพเจ้าระลึกถึงพระองค์อยู่" จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสบอกว่าระน้ำจิตของชฎิลที่วิตกนั้นให้แจ้งทุกประการ อุรุเวลกัสสปได้สดับก็ตกใจดำริว่า พระมหาสมณะนี้มีอำนาจมากแท้ เธอล่วงรู้จิตอาตมาถึงดังนั้น แต่ก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์ดังอาตมา
    ในกาลนั้น ผ้าบังสุกุลจีวรบังเกิดแก่พระบรมศาสดา พระองค์เสด็จไปซักผ้าบังสุกุลซึ่งห่อศพนางปุณณาทาสี ที่ทอดทิ้งอยู่ในป่าช้าผีดิบเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นกษัตริย์เสด็จจากขัตติยราชสกุลอันสูงด้วยเกียรติศักดิ์ ทรงตรัสรู้เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ ลดพระองค์ลงมาซักผ้าห่อศพนางปุณณทาสีที่ทอดทิ้งอยู่ในป่าช้า เพื่อทรงใช้เป็นผ้าจีวรทรงเช่นนี้ เป็นยะที่สุดวิสัยของเทวดาและมนุษย์ซึ่งอยู่ในสถานะเช่นนั้นจะทำได้ มหาปฐพีใหญ่ก็กัมปนาทหวั่นไหวเป็นมหัศจรรย์ถึง ๓ ครั้ง ตลอดระยะทางที่พระบรมศาสดาทรงพระดำริว่าตถาคตจะซักผ้าบังสุกุล ณ ที่ใด?
    ขณะนั้น ท้าวสหัสสนัยน์อมรืนทราธิราชทรงทราบในพุทธปริวิตจึงเสด็จลงมาขุดสระโบกขรณีด้วยพระหัตถ์ในพื้นศิลา สำเร็จด้วยเทวฤทธิ์ให้เต็มไปด้วยอุทกวารี แล้วกราบทูลให้ซักผ้าบังสุกุลในที่นั้น ขณะที่ทรงซักก็ทรงพระดำริว่า จะทรงขยำในที่ใดดี ท้าวโกสีย์ก็นำเอาแผ่นศิลาใหญ่เข้าไปถวาย ทรงขยำด้วยพระหัสถ์จนหายกลิ่นอสุภ แล้วก็ทรงพระดำริว่าจะห้อยผ้าบังสุกุลจีวรในที่ใดดี ลำดับนั้นรุขเทพยดาซึ่งสิงสถิตอยู่ ณ ไม้กุ่มบก ก็น้อมกิ่งไม้ลงมาถวายให้ทรงห้อยตากจีวรครั้นทรงห้อยตากแล้วก็ทรงพระจินตนาว่า จะแผ่พับผ้าในที่ใด ท้าย สหัสสนัยน์ก็ยกแผ่นศิลาอันใหญ่มาทูลถวายให้แผ่ผ้ามหาบังสกุลนั้น
    เพลารุ่งเช้าอุรุเวลกัสสปไปเผ้าพระบรมศาสดา เห็นสระและแผ่นศิลาทั้งสอง ซึ่งมิได้ปรกกฏมีในนั้นมาก่อน และกิ่งไม้กุ่มน้อมลงมาเช่นนั้น จึงทูลถาม พระบรมศาสดาตรัสบอกความทั้งปวงให้ทราบ เมื่อกัสสปได้ฟังก็สะดุ้งตกใจดำริว่า พระสมณะองค์นี้มีเดชานุภาพมากยิ่งนักแม้ท้าวมัฆวานยังลงมากระทำไวยาวัจกิจถาวย แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนอาตมา
    ครั้นวันรุ่งขึ้นในวันถัดเป็นลำดับ กัสสปชฏิลไปทูลนิมต์ฉันภัตตาหาร จึงตรัสว่า "ท่านจงไปก่อนเถิด ตถาคตจะตามไปภายหลัง" เมื่อส่งชฏิลไปแล้ว จึงเสด็จเหาะไปนำเอาผลหว้าใหญ่ประจำทวีปในป่าหิมพานต์มา แล้วก็เสด็จมาถึงโรงไฟก่อนหน้าชฎิลจะมาถึง ครั้นชฏิลทูลถามว่า พระองค์มาทางใดจึงถึงก่อน พระศาสดาจึงตรัสประพฤติเหตุแล้วตรัสว่า " ดูกรกัสสป ผลหว้าประจำทวีปนี้มีวรรณสัณฐานสุคันธรเอมโอช ถ้าท่านปรารถนาจะบริโภคก็เชิญตามปรารถนา"
    ในวันต่อมาได้ทรงทำปาฏิหาริย์เช่นนั้นอีก ๔ ครั้ง คือ ทรงส่งอุรุเวลกัสสปมาก่อนแล้ว เสด็จเหาะไปเก็บผลมะม่วงครั้งหนึ่งเก็บผลขามป้อมครั้งหนึ่ง เก็บผลส้มในป่าหิมพานต์ครั้งหนึ่งเสด็จขึ้นไปดาวดึงสเทวโลกนำเอาผลไม่ปาริฉัตรตกครั้งหนึ่ง เสด็จมาถึงก่อน คอยท่าอุรุเวลกัสสปอยู่ที่โรงไฟ ให้ชฏิลเห็นเป็นอัศจรรย์ใจทุกครั้ง

    วันหนึ่งชฏิลทั้งหลายปรารถนาจะก่อไฟมิอาจผ่าฟืนออกได้จึงดำริว่า ที่เป็นดังนี้เพราะฤทธิ์พระสมณะทำโดยแท้ พระบรมศาสดาจึงตรัสถามครั้นทราบความแล้วก็ตรัสว่า ท่านจงผ่าฟืนออกได้จึงดำริว่า ที่เป็นดังนี้เพราะฤทธิ์พระสมณะทำโดยแท้ พระบรมศาสดาจึงตรัสถามครั้นทราบความแล้วก็ตรัสว่า ท่านจงผ่าฟืนตามปรารถนาเถิดในทันใดนั้น ชฏิลก็ผ่าฟืนออกตามประสงค์
    วันหนึ่งชฏิลทั้ง ๕๐๐ ปรารถนาจะบูชาเพลิง ก่อเพลิงไม่ติดจึงคิดปริวิตกเหมือนหนหลัง พระพุทธเจ้าตรัสถามทราบความแล้วก็ทรงอนุญาตให้ก่อเพลิงได้ เพลิงก็ติดขึ้นทั้ง ๕๐๐ กองพร้อมกันในขณะเดียวชฏิลทั้งหลายบูชาเพลิงสำเร็จแล้ว จะดับเพลิง เพิงก็ไม่ดับจึงดำริดุจหนก่อน พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ดับเพลิงเพลิงก็ดับพร้อมกัน ทั้ง ๕๐๐ กอง
    วันหนึ่งในเวลาหนาว ชฏิลทั้งหลายลงอาบน้ำดำผุดขึ้นลงในแม่น้ำเนรัญชรา พระพุทธเจ้าทรงดำริว่า เมื่อชฏิลขึ้นจากน้ำจะหนาวมากจึงทรงนิรมิตเชิงกราน ๕๐๐ อันมีเพลิงติดไว้ทั้งสิ้น ครั้นชฏิลทั้งหลายขึ้นจากน้ำหนาวจัดก็ชวนกันเข้าผิงไฟที่เชิงกราน แล้วก็คิดสันนิษฐานว่าพระมหาสมณะคงจะนิรมิตไว้ให้เป็นแน่ น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก
    วันหนึ่ง มหาเมฆตั้งขึ้นมิใช่ฤดูกาล บันดาลให้ฝนตกลงมาเป็นอันมาก กระแสน้ำเป็นห้วงใหญ่ท่วมไปในที่ทั้งปวงโดยรอบบริเวณนั้นฝ่ายอุรุเวลกัสสปนั้นคิดว่า พระมหาสมณะนี้น้ำจะท่วมเธอหรือไม่ท่วมประการใด จึงลงเรือพร้อมกับชฏิลทั้งหลายรีบพายไปดูโดยด่วน ถึงสถานที่ซึ่งพระบรมศาสดาทรงสถิตก็เห็นน้ำสูงขึ้นเป็นกำแพงอยู่โดยรอบแลเห็นพระบรมศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในพื้นภูมิภาคปราศจากน้ำ จึงส่งเสียงร้องเรียก พระพุทธเข้าขานรับว่า "กัสสป ตถาคตอยู่ที่นี้" แล้วก็เสด็จเหาะขึ้นไปบนอากาศเลื่อนลอยลงสู่เรือของกัสสปชฏิล กัสสปชฏิก็ดำริว่า พระมหาสมณะนี้มีฤทธิ์เป็นอันมาก แต่ถึงมีอานุภาพมากอย่างนั้นก็ยังไม่เป็นพระอรหันต์เหมืออาตมา
    แท้จริง ตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จจากป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในวันแรมค้ำหนึ่ง เดือนกัตติกมาส (เดือน ๑๒) มาประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาจนตราบเท่าถึงวันเพ็ญเดือน ๒ เป็นเวลาสองเดือน ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ทรมานอุรุเวลาจนตราบเท่าถึงวันเพ็ญเดือน ๒ เป็นเวลาสองเดือน ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ทรมานอุรุเวลกัสสปโดยอเนกประการ แต่อุรุเวลกัสสปก็ยังมีสันดานกระด้าง ถือตนว่าเป็นพระอรหันต์อยู่อย่างนั้น ด้วยทิฐิอันกล้ายิ่งนัก จึงทรงพระดำริว่า ตถาคตจะยังให้ชฎิลสลดจิตคิดสังเวชตนเอง
    พระบรมศาสดาจึงมีพระวาจาตรัสแก่อุรุเวลกัสสปว่า "กัสสปตัวท่านมิได้เป็นพระอรหันต์ ทั้งทางปฏิบัติของท่านก็ยังห่างไกลมิใช่ทางมรรคผลอันใด ไฉนเล่าท่านจึงถือตนว่าเป็นพระอรหันต์ เท็จต่อตนเองทั้ง ๆ ที่ท่านก็รู้ตัวดีว่า ตัวยังมิได้บรรลุโมกขธรรมอันใดยังทำตนลวงคนอื่นว่าเป็นพระอรหันต์อยู่อีกพ กัสสป! ถึงเวลาอันควรแล้วที่ท่านจะสารภาพ แก่ตัวของท่านเองว่า ท่านยังมิได้เป็นพระอรหันต์ ทั้งยังมิได้ปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นพระอรหันต์ด้วย กัสสป! แล้วท่านจะได้เป็นพระอรหันต์ในกาลไม่นาน"
    เมื่ออุระเวลกัสสปได้สดับพระโอวาทก็รู้สึกตัวละอายแกใจซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทแล้วกราบทูลว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอพรรพชาอุปสมบทในสำนักพระองค์ ขอถึงพระองค์ และพระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง"
    พระบรมศาสดาจึงตรัสว่า "กัสสป ! ตัวท่านเป็นอาจารย์ยิ่งใหญ่เป็นประธานแก่หมู่ชฏิล ๕๐๐ ท่านจงชี้แจงให้ชฏิลบริวารยินยอมพร้อมกันก่อน แล้วตถาคตจึงจะยอมให้บรรพชาอุปสมบท"
    อุรุเวลกัสสปก็กราบถวายบังคมลามายังอาศรมและบอกกับชฏิลผู้เป็นศิษย์ ศิษย์ก็ยินยอมพร้อมกันจะบรรพชาในสำนักพระบรมศาสดาทั้งสิ้น แล้วชฏิลทั้งหลายก็พร้อมใจกันลอยเครื่องบริขารและเครื่องตกแต่งผม ชฎา สาแหรก คาน เครื่องบูชาเพลิง ทั้งน้ำเต้า หนังเสือ ไม้สามง่ามลงในแม่น้ำทั้งสิ้น แล้วก็พากันมาเฝ้าพระบรมศาสดา ถวายอภิวาทแทบพระยุคลบาท ทูลขอบรรพชาอุปสมบท พระบรมศาสดาก็ทรงพระกรุณาโปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาเสมอกัน
    ครั้นนั้น ท่านนทุกัสสปผู้เป็นน้องกลาง เห็นเครื่องบริขารทั้งปวงลอยน้ำมาก็ดำริว่า ชรอยอันตรายจะมีแก่ดาบสทั้ง ๓๐๐ อันเป็นศิษย์มาสู่สำนักของท่านอุรุเวลกัสสป ถามเหตุนั้น ครั้นทราบความแล้วก็เลื่อมใส ชวนกันลอยเครื่องดาบสบริขารลงในแม่น้ำนั้น แล้วพากันเข้าถวายอัญชลีทูลขอบรรพชา พระบรมศาสดาก็โปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาด้วยกันทั้งสิ้น
    ฝ่ายคยากัสสปผู้เป็นน้องคนสุดท้อง เห็นเครื่องบริขารของพี่ชายลอยน้ำลงมาก็จำได้ จึงส่งศิษย์ไปสืบความ เมื่อรู้เหตุแล้วก็พาดาบสทั้ง ๒๐๐ อันเป็นศิษย์ไปสู่สำนักของอุรุเวลกัสสป ไปถามความทราบกระจ่างแล้วเลื่อมใส ชวนกันลอยเครื่องบริขารลงในกระแสชลแล้วเข้าทูลขอบรรพชาต่อพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาก็โปรดประทานอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา

    พระพุทธเจ้าทรงเสด็จดำเนินพาภิกษุสงฆ์ ๑,๐๐๐ นั้นไปสู่ตำบลคยาสีสะ ตรัสพระธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตร อันเป็นพระสูตรแสดง อายตนะภายใน อายตนะภายนอกวิญญาณ สัมผัส เวทนาเป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟคือ ราคะ โทสะ โมหะ เพื่ออนุโลมตามอัธยาศัยของปุราณชฏิลที่นิยมบูชาไฟเป็นวัตร โปรดภิกษุทั้ง ๑,๐๐๐ นั้นให้บรรลุพระอรหัตด้วยกันทั้งสิ้น
     
  4. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "ยมกปาฏิหาริย์อัศจรรย์ไฟคู่น้ำ"
    เมื่อครั้งที่พระปิณโฑละภารทวาชะทำปาฏิหาริย์สำแดงฤทธิ์ ให้เศรษฐีในพระนครราชคฤห์ผู้หนึ่งได้ประจักษ์ว่า มีพระอรหันต์บังเกิดขึ้นในโลกแล้ว ครั้นพระพุทธเจ้าทรงทราบความแล้ว พระบรมศาสดาทรงตำหนิและ ครั้นพระพุทธเจ้าทรงทราบความแล้ว พระบรมศาสดาทรงตำหนิและมีบัญญัติห้ามมิให้พระสาวกทำปาฏิหาริย์อีกต่อไป

    ครั้นพวกเดียรพีย์ได้ทราบข่าวพากันดีใจว่าเป็นโอกาสของเราแล้วจึงให้สาวกของตนออกประกาศว่า เราจะทำปาฏิหาริย์กะพระสมณโคดมเมื่อพระเจ้าพิมพิสารได้ทรงสดับข่าวนั้นแล้ว ร้อนพระทัยด้วยความเป็นห่วง รีบเสด็จไปเฝ้าพระบรมศาสดาที่พระวิหาร ทูลถามว่า

    "พระองค์ทรงบัญญัติ ห้ามพระสาวกทำปาฏิหาริย์เป็นความจริงหรือพระเจ้าค่ะ"
    "เป็นความจริง มหาบพิตร" พระบรมศาสดาทรงรับสั่ง
    "ถ้าพวกเดียรถีย์จะทำปาฏหาริย์แล้วพระองค์จะทำอย่างไร"
    "ถ้าพวกเดียรถีย์ทำ ตถาคตก็จะทำด้วย"
    "ก็พระองค์ทรงบัญญัติห้ามแล้วมิใช่หรือ"
    "ถูกแล้ว มหาบพิตร ตถาคตห้ามพระสาวกต่างหาก หาได้ห้ามอาตมาไม่ เหมือนเจ้าของสวนผลไม้ห้ามเก็บผลไม้ ความจริงก็หาได้ห้ามเจ้าของสวนเก็บมิใช่หรือ มหาบพิตร"
    พระเจ้าพิมพิสารทูลถามต่อไปว่า "พระองค์จะทำที่ไหนและจะทำเมื่อใด"
    "ถวายพระพร อาตมาจะทำที่เมืองสาวัตถี ในวันเพ็ญเดือน ๘ นับแต่นี้ไปอีก ๔ เดือน"


    ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จอยู่ที่พระนครราชคฤห์พอสมควรแก่อัธยาศัยแล้ว ก็เสด็จดำเนินไปยังพระนครสาวัตถี พวกเดียรถีย์พากันกลั่นแกล้งโจษจันว่าพระสมณโคดมหนีไปแล้ว เราจะไม่ลดละจะติดตามไปทำปาฏิหาริย์ด้วย
    ครั้นย่างเข้าเดือน ๘ ใกล้เวลาทำปาฏิหาริย์ พวกเดียรถีย์ได้จัดสร้างมณฑปใหญ่ประดิษฐ์ด้วยไม้ตะเคียนงามวิจิตร ประกาศให้มหาชนทราบว่าตนจะทำปาฏิหาริย์ที่นี้


    ครั้นนั้นพระเจ้าปัสเสนทิโกศลเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา รับจะทำมณฑปถวายเพื่อทำปาฏิหาริย์ พระบรมศาสดาไม่ทรงรับตรัสว่า อาตมาจะไม่ใช้มณฑปทำปาฏิหาริย์ แต่จะอาศัยร่มไม้มะม่วงทำปาฏิหาริย์
    ครั้นพวกเดียรถีย์ทราบว่า พระบรมศาสดาจะทรงทำปาฏิหาริย์ที่ร่มไม้มะม่วง จึงจ่ายทรัพย์จ้างให้คนทำลายต้นมะม่วงในที่สาธารณะทั้งในและนอกเมืองให้หมดเพื่อมิให้โอกาสแก่พระพุทธเจ้าทรงทำปาฏิหาริย์


    ครั้นถึงวันเพ็ญแห่งอาสาฬมาส คือเช้าแห่งวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘ พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จเข้าไปภายในพระนคร สาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ประจวบกับราชบุรุษผู้รักษาสวนหลวงคนหนึ่งเชื่อคัณฑะ เห็นมะม่วงทะวายมีมดแดงทำรังหุ้มอยู่กำลังสุก จึ้งได้สอยมะม่วงผลนั้นลงมา เมื่อทำความสะอาดดีแล้วก็จัดใส่ภาชนะนำไปจากสวนเพื่อถวายพระราชา พอดีเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกลก็มีความเลื่อมใส พลางดำริ มะม่วงผลนี้หากเราจะเอาไปถวายพระราชาก็คงจะได้รับพระราชทานรางวัลไม่เกิน ๑๕ กหาปนะ แต่ถ้าเราจะน้อมถวายพระพุทธเจ้าแล้ว จะเป็นมหากุศลอำนวยอานิสงส์ผลให้ประโยชน์สุขแก่เราสิ้นการลนาน เมื่อนายคัณฑะดำริเช่นนี้แล้ว ก็น้อยมะม่วงสุกผลนั้นเข้าไปถวายพระพุทธเจ้า
    ครั้นพระบรมศาสดาทรงรับผลมะม่วงของนายคัณฑะแล้วประสงค์จะประทับนั่ง ณ ที่ตรงนั้น พระอานนท์เถระเจ้าอาสนะถวายประทับตามพุทธประสงค์ ครั้นประทับนั่งแล้ว ทรงหยิบผลมะม่วงในบาตรส่งให้พระอานนท์ทำปานะ พระอานนท์ก็จัดทำปานะมะม่วง คือน้ำผลมะม่วงคั้นถวายตามพระประสงค์ ครั้นพระบรมศาสดาเสวยแล้วก็ทรงส่งเมล็ดมะม่วงให้นายคัณฑะว่า "คัณฑะ! เธอจงคุ้ยดินร่วนขึ้นทำเป็นหลุม ปลูกมะม่วงเมล็ดนี้ ณ ที่นี้เถิด " นายคัณฑะก็จัดปลูกมะม่วงเมล็ดนี้ ณ ที่นั้น
    พระพุทธเจ้าทรงล้างพระหัตถ์เหนือพื้นดินบนเมล็ดมะม่วงนั้นในทันใดนั้นก็พลันบังเกิดความอัศจรรย์ขึ้น เมล็ดมะม่วงนั้นในทันใดนั้นก็พลันบังเกิดความอัศจรรย์ขึ้น เมล็ดมะม่วงนั้นในทันใดนั้นก็พลันบังเกิดความอัศจรรย์ขึ้น เมล็ดมะม่วงนั้นเกิดงอกออกต้นขึ้นทันที และในช่วงขณะที่นายคัณฑะพร้อมด้วยพระสาวกทั้งหลายมองดูอยู่ด้วยความพิศวง ต้นมะม่วงต้นน้อย ๆ นั้นก็เติบโตใหญ่ขึ้น ๆ ออกกิ่งใหญ่ ๆ ถึง ๕ กิ่งยื่นยาวออกไปถึง ๕๐ ศอก ทั้งล้วนตกดอกออกผล มีทั้งผลดิบผลสุก แลอร่ามไปทั้งต้น ร่วงหล่นเกลื่อนพื้นพสุธา
    นายทัณฑะมีปีติเลื่อมใส ได้ประสบอัศจรรย์เฉพาะหน้าก็เก็บผลมะม่วงสุกที่หล่นมาถวายพระสงฆ์ทั้งหลายที่ติดตามมาให้ฉันจนอิ่มหนำสำราญทั่วกัน


    เมื่อพระบรมศาสดาทรงได้ไม้คัณฑามพฤกษ์อันสมบูรณ์ด้วยกิ่งใบสูงใหญ่งามด้วยปริมณฑล สมดังพระประสงค์เช่นนั้น ก็ทรงตั้งพระทัยจะทรงทำปาฏิหาริย์สืบไป ครั้นเวลาบ่ายแห่งวันเพ็ญอาสาฬมาสพระบรมศาสดาเสด็จออกจากพระคันธกุฏีประทับยืนอยู่ที่มุข ท่ามกลางพุทธบริษัทซึ่งมาสโมสรกันเนืองแน่น โดยใคร่จะชมปาฏิหาริย์ จึงทรงนิมิตจงกรมแก้วอันกว้างใหญ่เหนือยอดไม้คัณฑามพฤกษ์ไพศาล งามตระการวิจิตควรแก่ความเป็นพุทธอาสน์ที่ประทับสำหรับแสดงปากิหาริย์พระบรมศาสดาทรงเสด็จลีลาศขึ้นประทับนั้งยังจงกรมแก้วมโหฬารทรงกระทำปาฏิหาริย์ให้บังเกิด
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง และท่อๆไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน เป็นคู่ ๑
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง และท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า เป็นคู่ ๑
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตร (ตา) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรข้างขวา เป็นคู่ ๑
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระกรรณ (หู,ใบหู) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระกรรณข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งอกจากกรรณข้างซ้ายสายน้ำพุ่งออกจากพระกรรณข้างขวา เป็นคู่ ๑
    ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิก (จมูก) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่อพระนาสิกข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากช่องนาสิกข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องนาสิกข้างขวา เป็นคู่ ๑
    ท่อไฟพุ่งออกจากจงอยพระอังสา (บ่า,ไหล่) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากจงอยพระอังสาข้างขวา เป็นคู่ ๑
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์ (มือ) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์ข้าวขวา เป็นคู่ ๑
    ท่อไฟพุ่งออกจากประปรัศว์ (ข้าง,สีข้าง) เบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องซ้ายสายน้ำพุ่งออกจากพระปรัศว์เบื้องขวา เป็นคู่ ๑
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาท (เท้า) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทข้างซ้าย และท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทข้างขวา เป็นคู่ ๑
    ท่อไฟพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ (นิ้วมือ) ข้างขวา สายน้ำพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างซ้าย ท่อไฟพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากนิ้วพระหัตถ์ข้างขวา เป็นคู่ ๑
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมา (ขน) เส้นหนึ่ง สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่ง เป็นคู่ ๆ สลับกันทั่วทั้งพระกาย เมื่อท่อไฟพุ่งออกมาแล้วก็สำแดงเป็นสีสันต่าง ๆสลับกันรวม ๖ สี คือ สีเขียว สีเหลือ สีแดง สีขาว หงสบาท (สีแดงปนเหลือง,สีแดงเรื่อหรือสีแสด) และประภัสสร (สีเลื่อมพราย เหมือนแสงอาทิตย์แรกขึ้น)


    เมื่อสีออกจากแสงไฟซึ่งพุ่งออกมากระทบสายน้ำ ก็ทำสายน้ำให้มีสีต่าง ๆ ไปตามสีไฟ สลับกันไปมางานน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ทั้งท่อไฟสายน้ำที่พุ่งออกก็พุ่งออกไปไกล ทำให้ท้องฟ้าอากาศสว่างไสวมหาชนทั้งหลายมองเห็นทั่วทุกทิศ เป็นที่จำเริญจิตแก่ผู้ได้เห็นทั่วโลกธาตุ ต่อจากนั้นพระบรมศาสดาก็ทรงนิรมิตพระพุทธเจ้าขึ้นอีกพระองค์หนึ่ง มี พระรูปพระโฉม เช่นเดียวกันประองค์ทุกประการและโปรดให้พระพุทธนิรมิตพระองค์นั้นแสดงพระอาการสลับกันไปกับพระองค์โดยตลอด คือ
    เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จจงกรมพระพุทธนิรมิตก็เสด็จประทับยืนเมื่อพระพุทธนิรมิตเสด็จจงกรม พระบรมศาสดาก็ประทับยืนเป็นคู่ ๑
    เมื่อพระบรมศาสดาประทับนั่ง พระพุทธนิรมิตก็สำเร็จสีหไสยา (นอนตะแคงข้างขวา) เมื่อพระพุทธนิรมิตเสร็จประทับนั่งพระบรมศาสดาก็สำเร็จสีหไสยา เป็นคู่ ๑
    เมื่อพระบรมศาสดาทรงตั้งปัญหาถาม พระพุทธนิรมิตก็ตรัสแก้เมื่อพระพุทธนิรมิตตั้งปัญหาถาม พระบรมศาสดาก็ตรัสแก้ เป็นคู่ ๑
    รวมพระอาการที่ทรงแสดงก็ดี อาการที่ทรงถามและทรงและทรงแก้ก็ดีได้ปรากฏแก่มหาชนที่มาประชุมกันอยู่ได้เห็นและได้ยินกันทั่วถึง เป็นเจริญใจเจริญความเลื่อมใสศรัทธาปสาทะเป็นยิ่งนัก
    ในที่สุดแห่งยมกปาติหาริย์ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่พุทธบริษัท เพราะได้เห็นและได้ฟังธรรมเทศนาเป็นอเนก

     
  5. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "รัตนสูตรปราบภัย ๓ ประการ ณ เมืองไพศาลี อาณาจักรวัชชี"

    ในสมัยพุทธกาล เมืองไพศาลี หรือเวสาลี นครหลวงแห่งอาณาจักรวัชชี มีการปกครองระบอบสามัคคีธรรม (คล้ายกับลักษณะสาธารณรัฐในปัจจุบัน) เป็นเมืองที่มั่งคั่งอุดมสมบูรณ์มีประชาชนอยู่หนาแน่นมีกำแพง ๓ ชั้น ซึ่งเรียกว่า "ตรีบูร" แต่ละชั้นห่างกันประมาณ ๔ กิโลเมตร มีปราสาทอุทยาน สระโบกขรณีเป็นจำนวนมาก ทางตอนเหนือของเมืองไพศาลีมีป่าใหญ่เป็นพืดขึ้นไปทางเหนือจนจดทิวเขาหิมาลัย เรียกว่าป่ามหาวันมีผู้สร้างกุฏาคารศาลา (เรือนยอด) ถวายไว้เป็นที่ประทับพระพุทธเจ้า

    ต่อมาเมืองไพศาลีเกิดข้าวยากหมากแพงฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าแห่งเหี่ยวตาย เกิดทุพภิกขภัยใหญ่และมีโรคระบาดพวกคนยากคนจนอดอยากล้มตายลงเป็นจำนวนมาก ซากศพถูกนำไปทิ้งไว้นอกเมืองก็ส่งกลิ่นเหม็นตลบไปทพวกอมนุษย์ก็พากันเข้าเมืองคนยิ่งล้มตายกันมากขึ้น เกิดอหิวาตกโรคตามมา

    เมื่อเกิดภัย ๓ ประการคือ ทุพภิกขภัย (ข้าวยากหมากแพง)อมนุษยภัย (ภัยจากพวกอมนุษย์) และพยาธิภัย (ภัยที่เกิดจากโรคระบาด)ขึ้นในเมืองไพศาลีอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน กษัตริย์ลิจฉวีซึ่งมีจำนวนถึง ๗,๗๐๗ องค์ จึงให้ประชาชนประชุมพร้อมกันในสัณฐาคาร (ห้องประชุมใหญ่) เพื่อร่วมกันพิจารณาสอดส่องความประพฤติของบรรดากษัตริย์ทั้งหลายว่า ได้ทำความผิดอันใดไว้จึงทำให้เกิดภัยต่าง ๆ ดังกล่าว

    เมื่อไม่เห็นว่ากษัตริย์ทั้งหลายทำความผิดมีโทษอันใดจึงหาทางระงับภัย ๓ ประการนั้น โดยเห็นร่วมกันว่าควรกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่ที่พระนครราชคฤห์ นครหลวงของอาณาจักรมคธ จึงได้ส่งเจ้าลิจฉวี ๒ องค์ เป็นฑูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้าพิมพิศาร ณ พระนครราชคฤห์ กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ และกราบทูลของอนุญาตินิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จนครไพศาลี พระเจ้าพิมพิสารได้ตรัสให้เจ้าลิฉวีไปกราบทูลนิมนต์ด้วยพระองค์เอง

    เจ้าลิจฉวีทั้งสองจึงได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้วจึงทูลขอเวลาตกแต่งหนทางตั้งแต่เมื่องราชคฤห์ ไปจนถึงฝั่งแม่น้ำคงคาเป็นระยะทางประมาณ ๘๐ กิโลเมตร และโปรดให้สร้างวิหารไว้สำหรับพักตามระยะทางอีก ๕ หลัง พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้กั้นเศวตฉัตร (ร่มขาว) ถวายพระพุทธเจ้า ๒ คันและกั้นถวายภิกษุสงฆ์ที่ติดตามอีก ๕๐๐ รูป รูปละ ๑ คัน พระองค์ได้ตามเสด็จไปพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ทรงถวายเครื่องสักการบูชา ของหอมและทรงบำเพ็ญกุศลถวายทานตลอดทางไปจนถึงฝั่งขวาของแม่น้ำคงคาง และทรงส่งข่าวสารไปยังเมืองไพศาลีให้ทราบว่า บัดนี้พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงฝั่งแม่น้ำคงคาแล้ว

    พระเจ้าพิมพิสารโปรดให้จัดเรือ ๒ ลำ ตรึงขนานเข้าด้วยกันให้สร้างมณฑปขึ้นบนเรือขนาน แล้วกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นประทับพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป พระเจ้าพิมพิสารทรงพระดำเนินลงไปในน้ำลึกจนถึงพระศอ (คอ) แล้วทรงกราบทูลพระพุทธเจ้าว่าพรองค์จะรอคอยอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี้จนกว่าพระบลรมศาสดาจะเสด็จกลับ

    ทางเมืองไพศาลี ซึ่งตั้งอยู่ห่างฝั่งซ้ายของแม่น้ำคงคาขึ้นไปทางเหนือประมาณ ๔๐ กิโลเมตร เมื่อทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ก็เตรียมปราบทางให้ราบเรียบตั้งแต่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำคงคาไปจนถึงเมืองไพศาลี และสร้างวิหารประจำไว้จำนวน ๓ หลัง เตรียมทำการบูชาเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสารที่ทรงทำมาแล้ว เรือขนานนำพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป มาในแม่น้ำคงคาเป็นระยะทาง ๑๖ กิโลเมตร ก็ถึงเขตเมืองไพศาลี บรรดากษัตริย์ลิจฉวีก็พากันลุยนำลงรับเสด็จพระพุทธเจ้าในแม่น้ำคงคาถึกถึงพระศอเช่นกัน

    ครั้นเรือขนาบเทียบถึงฝั่ง พอพระพุทธเจ้าทรงยกพระบาทแรกย่างเหยียบฝั่งแม่น้ำคงคา กลุ่มเมฆมหึมาซึ่งแผ่กระจายตั้งเค้ามืดมิดก็บันดาลให้ฝตตกลงมาห่าใหญ่ น้ำฝนไหลนองท่วมพื้นดินระดับน้ำสูงถึงเข่าบ้างถึงสะเอวบ้าง ถึงคอบ้าง พัดพาเอาซากศพลอยลงแม่น้ำคงคาไปหมด ทำให้ภาคพื้นดินบริสุทธิ์สะอาดโดยทั่วไป

    บรรดากษัตริย์สิจฉวีทั้งหลายก็นำเสด็จพระบรมศาสดาและภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูปเข้าพัก ณ วิหารที่สร้างไว้ แล้วถวายทานมากมายเป็น ๒ เท่าของพระเจ้าพิมพิสาร ให้กางเศวตฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้า ๔ คันกั้นถวายพระภิกษุสงฆ์รูปละ ๒ คัน น้ำเสด็จพระพุทธดำเนินเป็นเวลา ๓ วัน ก็ถึงพระนครไพศาลี ขณะนั้นพระอินทร์ได้เสด็จพร้อมด้วยเหล่าทวยเทพมาชุมนุมอยู่ด้วย ทำให้พวกอมนุษย์ กรงกลัวอำนาจพากันหลบหนีไป

    พระพุทธเจ้าเสด็จถึงประตูเมืองไพศาลีในเวลาเย็น ได้ตรัสให้พระอานนท์เรียน "รัตนสูตร" เพื่อเดินจาริกทำพระปริตไปในระหว่างกำแพง ๓ ชั้น (ตรีบูร) ในเมืองไพศาลีกับบรรดากุมารลิจฉวีแล้วตรัส "รัตนสูตร" ขึ้นในกาลครั้งนั้น ที่เรียกพระสูตรนี่ว่า "รัตนะ" เพราะหมายถึง พระรัตนตรัย คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ

    เมื่อพระอานนท์เรียนรัตนสูตรจากพระพุทธเจ้าแล้ว ก็เอาบาตรของพระพุทธเจ้าใส่น้ำถือไปยืนที่ประตูเมือง พลางรำลึกถึงพระพุทธคุณตั่งแต่ทรงตั้งความปรถนาที่จะได้บรรลุพระโพธิญาณ จนถึงทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตรและโลกุตรธรรม ๙ (คือมรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ๑ ) แล้วเข้าไปภายในพระนคร เดินทำพระปริตไปในระหว่างกำแพงเมือง ๓ ชั้น ทำให้พวกอมนุษย์ที่ยังหลวงเหลืออยู่บ้างพากันหนีออกจากเมืองไปหมด พวกชาวเมืองจึงออกจากบ้านของตนถือดอกไม้และของหอม พากันตามบูชาพระอานนท์แห่ล้อมท่านมา พระอานนท์เดินทำพระปริตไปทั้งคืน

    ประชาชนชาวเมืองไพศาลีได้พร้อมใจกันตกแต่งสัณฐาคาร กลางพระนคร ด้วยของหอมและผูกเพดานประดับด้วยรัตนชาติ จัดตั้งอาสนะสำหรับพระพุทธเจ้า แล้วเชิญเสด็จพระบรมศาสดามาประทับในสัณฐาคาร พระภิกษุสงฆ์และกษัตริย์ลิจฉวี ตลอดจนประชาชนชาวเมืองไพศาลี ได้พากันมานั่งล้อมพระพุทธเจ้า พระอินทร์พร้อมเทพบริวารก็มาเฝ้าด้วย ครั้งพระอานนท์ทำพระปริตอารักขาทั่วพระนครแล้วก็กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระบรมศาสดาจึงตรัสรัตนสูตรอีกครั้ง หนึ่งรวม ๑๔ คาถา แล้วพระอินทร์ได้ผูกคาถา (ฉันท์) ต่ออีก ๓ คาถา

    พระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ที่เมืองไพศาลี และตรัสเทศนารัตนสูตรทุกวันรวม ๗ วัน เมื่อทรงเห็นว่าภัยทุกอย่างสงบเรียบร้อยแล้วจึงตรัสลากษัตริย์ลิจฉวีและชาววัชชีทั้งหลายเสด็จกลับราชคฤห์ครั้งนี้ มีประชาชนมาบูชาสักการะถวายแก่พระองค์เป็นการยิ่งใหญ่ เรียกว่า "คังโคโรหณสมาคม" คือการชุมนุมใหญ่ในโอกาสที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงแม่น้ำคงคา
     
  6. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "ทรงเปิดโลกเสด็จลีลาลงจากดาวดึงส์สวรรค์"

    เมื่อพรบรมศาสดาเสด็จขึ้นไปประทับพรรษานดาวดึงส์สวรรค์ ชั้นที่ ๒ แสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดาได้บรรลุอริยมรรคผลสมดั่งพระกมลที่ทรงพระอุตสาหะ และในครานั้นพระรรมเทศนาของพระบรมศาสดาได้ยังประโยชน์เป็นอเนกอนันต์แก่บรรดาทวยเทพทั่วทุกทิศที่เข้าเฝ้าสถิตแห่แหนเป็นจำนวนมาก ครั้นใกล้ครบเวลาสามเดือนครั้นเวลาจวนใกล้จะออกพรรษาเข้าแล้ว ชาวประชามหาชนกทั้งหลายที่ตั้งตาคอยจะเผ้าพระบรมศาสดา สุดที่จะทนทานการรอคอย จึงพากันเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า

    เนื่องจาก เมื่อครั้นการเสด็จสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระบรมศาสดาในเวลาเสร็จการแสดงยมกปกาฏิหาริย์โดยฉับพลัน ซึ่งมหาชนทั่วทุกทิศกำลังใส่ใจแลดูอยู่ด้วยความเลื่อมใส จึงเป็นเหมือนเดือนตกหรือตะวันตกหายวับลับไปจากโลกเป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก เพราะฉะนั้นชนทั้งหลายจึงพากันคร่ำครวญว่า พระศาสดาผู้เลิศในโลกเสด็จไปแห่งหนใดกันหนอ พวกเราจึงไม่เห็นพระองค์ ชนเหล่านั้นได้พากันเข้าไป ถามพระมหาโมคคัลลานะเถระว่า พระศาสดาเสด็จไปที่ไหนเสียเล่าพระคุณเจ้าพระมหาโมคคัลลานะแม้จะรู้ดีอยู่ แต่เพื่อถวายความเคารพแก่พระอนุรุทธะ จึงได้บอกแก่ชนเหล่านั้นไปว่า พวกท่านจงไปถามพระอนุรุทธะเถระดูเถิด คนเหล่านั้นจึงพากันไปถามพระอนุรุทธะเถระ ๆ ตอบว่า พระศาสดาเสด็จขึ้นไปจำพรรษาในสรวงสวรรค์ดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา

    เมื่อไรจักเสด็จมาเล่า พระคุณเจ้า ? สามเดือนอุบาสก พระเถระกรุณาบอก และจะเสด็จมาวันมหาปวารณาด้วย

    คนเหล่านั้นปรึกษากันว่า พวกเราจักรอเฝ้าพระบรมศาสดาอยู่ที่นี่แหละ หากไม่ได้เห็นพระบรมศาสดาแล้วก็จักไม่ไป แล้วจัดแจงทำที่พักอยู่ในที่นั้นเอง ท่านจุลละอนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้มีกำลังทรัพย์มากไดกรุณาให้ความอนุเคราะห์แก่คนเหล่านั้นพอสมควร แม้พระมหาโมคคัลลานะก็ได้กรุณา แสดงธรรมให้กำลังใจ เจริญความเลื่อมใสแก้ความข้องใจของมหาชนที่ติดตามมาเพื่อชมปาฏิหาริย์ในภายหลังอีก

    ครั้นเวลาเนิ่นนานมาถึงปานนี้ มหาชนจึงเจ้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะเรียนถามว่า พระพุทธเจ้าจะเสด็จลงจากสวรรค์เมื่อใด และจะเสด็จลงที่ไหน เมื่อข้าพเจ้าทั้งหลายจะได้พากันไปเฝ้าพระองค์ ณ ที่นั้นพระมหาโคคัลลานะเถระตอบว่า จะต้องขึ้นไปเฝ้าทูลถามพระบรมศาสดาดูก่อน ได้ความอย่างไรจากพระองค์แล้วจึงจะแจ้งให้ทราบ แล้วพระเถระก็สำแดงอานุภาพแห่งสมาบัติขึ้นไปสู่ดาวดึงส์เทวภพ สำแดงกายให้ปรากฏแก่มหาชนในขณะขึ้นไปเฝ้าพระบรมศาสดาด้วยฤทธิ์แห่งอภิญญา

    ครั้นพระเถระเจ้าเข้าไปเฝ้าพระบรมศาสดาแล้วก็กราบทูลตามเรื่องที่มหาชนมีความประสงค์
    พระบรมศาสดารับสั่งว่า โคคัลลานะ บัดนี้ สารีบุตรพี่ชายเธออยู่ ณ ที่ได
    พระมหาโมคคัลลานะก็กราบทูลว่า เวลานี้สารีบุตรเถระเจ้าจำพรรษาอยู่ที่เมืองสังกัสสนคร พระเจ้าข้า
    ถ้าเช่นนั้น ตถาคตก็จะลงที่ประตูเมืองสังกะสะนครในวันมหาปวรณา โมคคัลลานะจงแจ้งให้มหาชนทราบตามนี้ ผู้ใดประสงค์จะเห็นตถาคต ก็จงพากันไปยังที่นั้นเถิด
    พระมหาโมคคัลลานะรับพระพุทธบัญชาแล้ว ก็ลงมาแจ้งข้อความนั้นแกมหาชนทั้งหลายผู้ต้องการทราบเรื่องนี้อยู่

    ฝ่ายมหาชนทั้งหลายที่ตั้งใจคอยเฝ่าพระบรมศาสดเสด็จลงจากดาวดึงส์สวรรค์ เมื่อได้ทราบข่าวจากพระมหาโมคคัลลานะเถระเจ้าก็ดีใจพร้อมกับออกเดินทางไปยังเมืองสังกัสสนครร่วมประชุมกันอย่างคับคั่งตลอดพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายอันมีประสารีบุตรเถระ อัครสาวกเบื้องขวาเป็นประธาน มาประชุมต้อนรับพระบรมศาสดา อยู่ ณ ที่นั้นอย่างพร้อมเพรียง

    ครั้นถึงวันปรุณมีแห่งอัสสยุชมาส เพ็ญเดือน ๑๑ พระพุทธเจ้าทรงปวารณาพระวัสสาแล้ว ทรงรับสั่งแก่ท้าวสักกเทวราชว่า ตถาคตจะลงไปสู่มนุษยโลกในวันนี้ เมื่อท้าวโกสีย์ทราบพุทธประสงค์แล้วจึงทรงนิรมิตบันไดทิพย์ ๓ บันได สำหรับพระพุทธดำเนินเสด็จลงสู่มนุษยโลกบันไดแก้วอยู่กลาง บันไดทองอยู่ข้างขวา บันไดเงินอยู่ข้างซ้าย เชิงบันไดทั้ง ๓ นั้นประดิษฐานอยู่ภาคพื้นปฐพีที่ใกล้ประตูเมืองสังกัสสนครศีรษะบันไดเบื้องบนจนยอดภูเขาสิเนรุ บันไดแก้วนั้นเป็นที่พระพุทธเจ้าเสด็จลง บันใดทองเป็นที่เทพยดาทั้งหลายตามส่งเสด็จ บันไดเงินเป็นที่พรหมทั่งหลายตามส่งเสด็จ ขณะนั้นเทพยดาและพรหมทั้งหลาย ได้มาประพร้อมกันบูชาพระบรมศาสดาเต็มทั่วจักวาล

    เมื่อได้เวลาเสด็จ พระพุทธเจ้าก็เสด็จมาประทับยืนที่ฐานศีรษะบันได ในท่ามกลางเทพพรหมบริษัทซึ่งแวดล้อมเป็นบริวาร จึงได้ทรงทำ "โลกวิวรรณปาฏิหาริย์" เปิดโลก โดยพระอาการทอดพระเนตรไปในทิศต่าง ๆ รวมทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง รวมเป็น ๑๐ ทิศด้วยกันและด้วยพุทธานุภาพ ในทันใดนั้นทุกทิศทกทางจะแลโล่งตลอดหมดไม่มีอันใดกีดบัง เทวดาในสวรรค์จะมองเห็นมนุษย์ เห็นยมโลก เห็นนรกและมนุษย์ก็มองเห็นเทวดาเห็นสัตว์นรก แม้สัตว์นรกก็มองเห็นมนุษย์ตลอดเทวดาในสวรรค์ ไม่มีสิ่งใดปิดบัง พระพุทธเจ้าทรงสำแดปาฏิหาริย์เปิดโลก พร้อมกับเปล่งฉัพพัณณรังษี พระรัศมี ๖ ประการเป็นมหาอัศจรรย์

    ครั้นนั้น เทพยดาในหมื่นจักรวาลได้มาประชุมกันในจักรวาลนี้เพื่อชื่นชมพระบารมีพระบรมศาสดาทรงทำปาฏิหาริย์ พร้อมกันทำสักการบูชาสมโภชพระพุทธเจ้าด้วยทิพย์บุปผามาลัยเป็นอเนกประการ

    พระบรมศาสดาได้เยื้องย่างลีลาเสด็จลงจากดาวดึงส์ โดยบันไดแก้วมณีมัย ท่ามกลางเทพยดาในหมื่นจักวารมีท้าวสักกะเป็นต้น โดยบนไดทองสุวรรณมัยในเบื้องขวา ท้าวสหัมบดีพรหมกับหมู่พรหมเป็นอันมากลงโดยบันไดเงินหิรัญญมัยในเบื้องซ้าย ปัญจสิขรคนธรรมพ์เทพบุตรทรงพิณมีสีดังผลมะตูมสุก ดีดขับร้องด้วยมธุรเสียงอันไพเราะมาใบเบื้องหน้าพระบรมศาสดา ท้าวสันตุสิตเทวราชกับท้ายสุยามเทวราชทรงทิพย์จามรถวายพระบรมศาสดาทั้ง ๒ ข้าง ท้าวมหาพรหมปชาบดี

    ทรงทิพย์เศวตฉัตรกั้นถวายพระบรมศาสดา ท้าวโกสีย์อมรินทราธิราชประคองบาตรเสลมัยของพระบรมศาสดา เสด็จเป็นมัคคุเทศก์นำพระบรมศาสดาลงมา ในท่ามกลางทวยเทพยดาแลพรหมทั้หลายพากันแวดล้อมแห่ห้อมเป็นบริวาร

    เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลีลาลงจากดาวดึงส์สวรรค์ โดยบันไดแก้ลงมาถึงเชิงบันได มหาชนทั้งหลายได้เห็นพระรูปโฉมของพระบรมศาสดา ได้เห็นการเสด็จลีลาลงจากสวรรค์ในท่ามกลางเทพยดาและพรหมเป็นอันมาก ครั้นนั้นงามจับอกจับใจอย่างที่ไม่เคยคิดเคยเห็นมาแต่ก่อน ก็พากันลิงโลดแซ่ซ้องสาธุการเสียงสนั่นหวั่นไหว แม้แต่พระสารีบุตรพุทธสาวกยังได้กล่าวคาถาสรรเสริญด้วยความยินดีความว่าข้าพระองค์ไม่เคยได้เห็น ไม่เคยได้ยินมาก่อนเลยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งงามด้วยสิริโสภาคยิ่งกว่าเทพเจ้าทั้งมวล มีพระสุรเสียงอันไพเราะอย่างนี้ เสด็จลงมาจากสวรรค์

    ขณะนั้น พระบรมศาสดาซึ่งมีพระทัยมากด้วยพระมหากรุณาจึงได้แสดงธรรมโปรดพุทธบริษัท ผู้กำลังมีความโสมนัสพึงตาพึงใจชมในพระรูปพระโฉม อยู่ในท่ามกลางเทพเจ้าและหมู่พรหมที่พร้อมกันถวายสักการบูชา ด้วยทิพยบุปผานาวรามิสให้เกิดกุศลจิตสัมประยุตด้วยปรีชาญาณ หยั่งรู้ในเทศนาบรรหารตามควรแก่อุปนิสัย เมื่อจบเทศนานัยธรรมานุสรธ์ ต่างก็ได้บรรลุอริยมรคอริยผล ตั้งแต่เบื้องต้นจนถึงเบื้องปลาย ตามอริยอุปนิสัยได้สั่งสมมา
     
  7. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    หมวดที่ ๘ หลังพุทธปรินิพพาน
    "พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพาน"
    เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน ณ ปัจฉิมยามแห่งราตรีวิสาขปรุณมีเพ็ญเดือน ๖ ขณะมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา กาลนั้น บรรดาพุทธบริษัททั้งหลายทั้งปวงที่ประชุมอยู่ในอุทยานสาลวันนั้นต่างก็เศร้าโศกร้ำไรรำพันปริเทวนาการ คร่ำครวญถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่น่าสลดใจยิ่งนัก พระอานนท์มหาเถระเจ้าได้แสดงธรรมีกถาปลุกปลอบบรรเทาจิตบริษัทให้เสื่อมสร่างจากความเศร้าโศกตามควรแก่วิสัยและควรแก่เวลา

    ครั้นสว่างแล้ว พระอนุรุทธัมหาเถระเจ้าก็มีเถระบัญชาให้พระอานนท์รีบเข้าไปในเมืองกุสินารา แจ้งข่าวปรินิพพานของพระพุทธเจ้าแก่มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย เมื่อมัลลกษัตริย์ได้สดับข่าวปรินิพพานกำสรดโศกด้วยอาลัยในพระบรมศาสดาเป็นกำลัง จึงดำรัสสั่งให้ประกาศข่าวปรินิพพานแก่ชาวเมืองให้ทั่วนครกุสินารา แล้วนำเครื่องสักการบูชานานสุคนธชาติพร้อมด้วยผ้าขาว ๕๐๐ พับ เสด็จไปยังอุทยานสาลวันทำการสัการบูชาพระสรีระพระบรมศาสดาด้วยบุปผามาลัยสุคันธชาติเป็นอเนกประการ

    มวลหมู่มหาชนเป็นอันมากแม้จะอยู่ในที่ไกล เมื่อได้ทราบข่าวปรินิพพานของพระบรมศาสดาต่างก็ถืออนานาสุคนธชาติมาสักการบูชามากมายสุดจะคณาเวลาค้ำก็ตามชวาลาสว่างไสวทั่วทั้งสาลวันประชาชนต่างพากันมาไม่ขาดสายตลอดเวลา ๖ วันไม่มีหยุด พากันรีบรุดมาทำการสักการบูชาด้วยความเลื่อมใสถวายความเคารพอันสูงในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ครั้นวันที่ ๗ ได้อัญเชิญพระพุทธสรีระศพขึ้นประดิษฐานบนเตียบมาลาอาสน์ ซึ่งตกแต่งด้วยอาภรณ์อันวิจิตร แล้วเคลื่อนขบวนอัญเชิญไปโดยทางทิศอุดร เข้าไปภายในพระนครกุสารา ประชาชนพากันสโมสรเข้าขบวนแห่ตามพระพุทธสรีระศพสุดประมาณ เสียงดุริยางค์ดนตรีแซ่ประสานกับเสียงมหาชนดังสนั่นลั่นโกลาหลเป็นอัศจรรย์ ทั้งดอกไม้ทิพย์มณฑารพ ดอกไม้อันเป็นของทิพย์ในสรวงสวรรค์ตกโปรยปรายละลิ่วลงจากฟากฟ้า ดาดาษทั่วเมืองกุสินาราร่วงหล่นลงมาสักการบูชาพระบรมศาสดา ขบวนมหาชนอัญเชิญพระพุทธสรีระศพได้ผ่านไปในวิ๔ทางท่ามกลางพระนครกุสินารา ประชาชนทุกถ้วนหน้าพากันสักการบูชาทั่วทุกสถาน ตลอดทางที่พระพุทธสรีระศพแห่ผ่านไปตามลำดับ

    ครั้นเมื่อขบวนอัญเชิญผ่านมาถึงหน้าบ้านของนางมัลลิกา ผู้เป็นภรรยาของท่านพันธุละเสนาบดีซึ่งล่วงลับไปแล้ว นางมัลลิกาได้ขอร้องแสดงความประสงค์จะบูชาด้วยอาภรณ์มหาลดาปสาธน์อันสูงค่ามหาศาล มหาชนผู้อัญเชิญพระพุทธสรีระศพก็วางเตียงมาลาอาสน์ลง นางมัลลิกาถวายอภิวาทเชิญเครื่องมหาลดาปสาธน์มาสวมพระพุทธสรีระศพเป็นเครื่องบูชา ขณะนั้นพระพุทธสรีระศพก็งามโอภาสเป็นที่เจริญตาเจริญใจแล้วมหาชนก็อัญเชิญพระพุทธสรีระศพเคลื่อนจากที่นั้นออกจากประตูเมืองทางทิศบูรพา ไปสู่กุฎพันธเจดีย์

    ครั้นถึงยังจิตกาธานอันสำเร็จด้วยไม้จันทน์หอมงามวิจิตร ก็จัดการห่อพระพุทธสรีระศพด้วยทุกุลพัสตร์ภูษา ๕๐๐ ชั้น แล้วก็อัญเชิญลงประดิษฐานในหีบทองซึ่งประดิษฐบนจิตกาธานทำการสักการบูชาแล้วกษัตริย์มัลลราชทั้ง ๘ องค์ผู้เป็นประธานกษัตริย์ทั้งปวงก็นำเอาเพลิดจุดเพื่อถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระศพพรสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่พระเพลิงก็ไม่ติดตามประสงค์แม้จะพยายามจุดเท่าใดก็ไม่บรรลุผลมัลลกษัตริย์มีความสงสัยจึงได้เรียนถามพระอนุรุทธะมหาเถระเจ้าว่า

    "ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะ ด้วยเหตุใดเพลิงจึงไม่ติดโพลงขึ้น"
    พระอนุรุทธะมหาเถระกล่าวตอบว่า "เทวดาต้องการให้คอยท่านพระมหากัสสะเถระ หากยังมาไม่ถึงตราบใด ไฟจะไม่ติดตราบนั้นขณะนี้พระมหากัสสะเถระกำลังเดินทางมาใกล้จะถึงอยู่แล้ว


    เวลานั้นพระมหากัสสปะเถระเจ้าพาภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ เดินทางจากเมืองปาวามายังเมืองกุสินาราครั้นถึงยังพระจิตกาธานที่ประดิษฐานพระพุทธสรีระศพพระบรมศาสดาแล้ว ก็ทำจีวรเฉวียงบ่า ประคองอัญชลี กระทำประทักษิณเวียนพระจิตกาธานสามรอบแล้ว เข้าสู่ทิศเบื้องพระยุคคลบาท น้อมถวายอภิวาทและตั้งอธิฐานจิต

    ครั้นพระมหากัสสปะเถระเจ้ากับพระสงฆ์บริวาร ๕๐๐ และมหาชนทั้งหลาย กราบนมัสการพระบรมยุคลบาทโดยควรแล้ว ขณะนั้นเสียงโศกาปริเทวนาการของมวลเทพดาและมนุษย์ ซึ่งได้หยุดสร่างสะอื้นแล้วแต่ต้นวัน ก็ได้พลันดังสนั่นขึ้นอีกเสมอด้วยวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน

    ขณะนั้น เตโชธาตุก็บันดาลติดพระจิตกาธานขึ้นเองด้วยอานุภาพเทพยดา เพลิงได้ลุกพวยพุ่งโชตนาเผาพระพุทธสรีระศพ พร้อมคู่ผ้า ๕๐๐ ชั้นและเครื่องอาภรณ์มหาลดาปสาธน์ กับหีบทองและจิตกาธานจนหมดสิ้น ยั้งมีสิ่งซึ่งเพลิงมิได้เผาให้ย่อยยับไปด้วยอนุภาพพุทธอธิฐานดังนี้ ผ้าห่อหุ้มพระสรีระชั้นใน ๑ ผืน ผ้าห่อนหุ้มพระพุทธสรีระภายนอก ๑ ผืน ทั้งสองนี้แตกฉานการะจัดกระจาย ส่วนพระเขี้ยวแก้วทั้ง ๔ พระรากขวัญ (ไหปลาร้า) ทั้ง ๒ และพระอุณหิสปัฎ (กระบังหน้า) ๑ พระบรมธาตุทั้ง ๗ นี้ยังปกติดีมิได้แตกกระจัดกระจาย


    "พระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุิ"
    พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าถูกตวงด้วยทนานทอง ถวายแก่กษัตริย์ ทั้ง ๘ พระนคร คือ

    ๑. พระเจ้าอชาตศัตตุราช ผู้ครองนครราชคฤห์ แคว้นมคธ
    ๒. พระเจ้าลิจฉวี ผู้ครองนครพระนครไพศาลี แคว้นวัชชี
    ๓.พระเจ้ามหานาม ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
    ๔.พระเจ้าฐลิยราช ผู้ครองนครอัลลกัปปนคร
    ๕.พระเจ้าโกลิยราช ผู้ครองนครนครรามคาม แคว้นโกลิยะ
    ๖.พระเจ้ามัลลราช ผู้ครองเมืองปาวานคร แคว้นมัลละ
    ๗.มหาพราหมณ์ ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปกนคร
    ๘.กษัตริย์มัลลราช ผู้ครองนครกุสินารา แคว้นมัลละ


    พระบรมสารีริกธาตุซึ่งตวงด้วยทะนานทองทั้งหมด ๑๘ ทะนาทด้วยกันโดยแบ่งให้กษัตริย์ ทั้ง ๘ พระนคร ได้พระนครละ ๒ ทะนานเท่า ๆ กันบรรดากษัตริย์ทั้งหลาย เมื่อได้รับส่วนแบ่งบรมสารีรืกธาตุแล้ว ต่างองค์ต่างกันจัดขบวนอันมโหฬาร อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ไปยังพระนครของตนด้วยเกียรติยศอันสูง แล้วให้ก่อพระสถูปเจดีย์ ขึ้นบรรจะพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นที่สักการบูชาของมหาชน จึงปรากกว่ามีพระสูปเจดีที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ดังนี้

    ๑. พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองราชคฤห์
    ๒.พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองไพศาลี
    ๓.พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองบิลพันดุ์
    ๔.พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองอัลลกัปปนคร
    ๕. พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองรามนคร
    ๖. พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองเวฏฐาทีปนคร
    ๗. พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองปาวานคร
    ๘.พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองกุสินารานคร


    นอกจากนั้นกษัตริย์แห่งเมองโมรีนครซึ่งเดินทางมาถึงภายหลังได้ประชุมแบ่งปันพระสารีริรธาตุกันหมดสิ้นแล้ว ได้อัญเชิญ พระอังคาร (ถ่านเถ้าที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ) ไปสักการบูชาที่พระสถูปเจดีย์ ในพระนครของตน คือ

    ๙. พระอังคารเจดีย์ ที่เมืองโมรีนนคร

    ส่วนพระทนานทองที่ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุซึ่งโทณพราหมร์เป็นผู้สร้างนั้นได้ถูกบรรจุไว้ในเมืองต่าง ๆ ดังนี้

    ๑. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา กับพระรากขวัญเบื้องขวาขึ้นไป ประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามณีเจดีย์สถาน ณ ดาวดึงสเทวโลก
    ๒. พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำกว่าเดิมไปประดิษฐาน ณ เมืองกาลิราฐแต่บัดนี้ไปสถิตอยู่ในลักกาทวีป
    ๓. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ไปประดิษฐานอยู่ ณ เมืองคันธารราฐ
    ๔. พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำซ้าย ไปประดิษฐานอยู่ในนาคพิภพ
    ๕. พระรากขวัญเบื้องซ้ายกับพรุอุณหิสปัฏ ขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ ณ พรหมโลก


    ส่วนพระทนต์ (ฟัน) ทั้ง ๓๖ และพระเกศา (ผม) พระโลมา(ขน) กับพระนขา (เล็บ) ทั้ง ๒๐ นั้นเทพยดาอัญเชิญไปองค์ละองค์สู่จักรวาลต่าง ๆ

    ส่วนพระบริขารพุทธบริโภคทั้งหลายนั้นได้กล่าวถึงไปแล้วในหัวข้อ
    [​IMG] "เจดีย์และสถูปสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า"


     
  8. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "สังคายนา ๕ ครั้ง"

    การสังคายนา หมายถึง การประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวด หมู่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า วางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน การสังคายนาพระพุทธศาสนา ครั้ง ที่ ๑ ถึง ครั้งที่ ๕ มีความเป็นมาดังนี้

    สถานการณ์พระพุทธศาสนาบางอย่าง มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ก่อนพุทธปรินิพพาน ซึ่งตอนปลายพุทธสมัยมีเหตุการณ์ที่น่าสนใจหลายประการเช่น
    พระมหาเถรผู้ใหญ่อย่าง พระสารีบุตรเถระ พระโมคคัลลานะเถระ เป็นต้น ได้นิพพานไปก่อนการปรินิพพานของพระพุทธเจ้าทำให้โฉมหน้าพระพุทธศาสนาเปลี่ยนแปลงไป เพราะตามหลักฐานในจาตุมสูตร พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระอัครสาวกทั้งสองว่า อยู่ในฐานะที่จะบริหารคณะสงฆ์เสมอด้วยประองค์ หากพระอัครสาวกทั้งสองไม่นิพพานไปก่อนระบบการปกครองอาจจะเป็นแบบของศาสนาคริสต์ก็ได้
    เมื่อพระอัครสาวกทั้นสองนิพพานไปแล้วพระมหาเถระรูปอื่นไม่รับยกบ่องในฐานะดังกล่าว รูปการปกครองพระพุทธศาสนาจึงต้องให้พระสงฆ์ยึดถือพระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงบัญญัติแสดงแล้ว เป็นศาสดาแทนพระองค์อย่างที่เป็นอยู่

    ฝ่ายคฤหัสถ์ที่มีบทบาทสำคัญในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา เช่น พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าสุทโธทนะได้สวรรคตและนิพพานไปก่อนไม่นานนัก ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนางอุตราอุบาสิกาเป็นต้น ก็ได้สิ้นชีวิตไปก่อนพระพุทธเจ้าทำให้ผู้อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาขาดไปหลายท่าน

    พระพุทธศาสนาได้เผยแพร่ออกไปไกลมาก ทำให้การติดต่อสอบทามความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัยไม่สะดวกเท่าที่ควร ทั้งคนที่เข้ามาบวชก็มีเจตนาแตกต่างกัน ทำให้เรื่องเสื่อมเสียบางอย่างเกิดขึ้นและมีคนบางพวกที่ต้องการเป็นพระ แต่ไม่ยินดีที่จะปฏิบัติตามพระธรรมวินัย คนเหลานั้นได้แสดงความคิดเห็นของตนออกมาในโอกาส ต่าง ๆ แต่ความแตกแยกอย่างรุนแรงคงไม่เกิดขึ้นหรือถึงแม้จะเกิดขึ้นก็สามารถระงับลงไปได้ ทั้งนี้มิได้หมายความว่า คนพวกนี้จะหมดไปก็หาไม่ เป็นเพียงสงบอยู่ชั่วคราวเท่านั้นเอง

    พระเถระทั้งหลายในสมัยพุทธกาลและหลังพุทธกาล มีความรับผิดชอบต่อพระพุทธศาสนาสูง ได้พยายามรักษาป้องกันพระธรรมวินัยไว้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่นพระจุนทเถระ ปรารภการนิรวาณของท่านมหาวีระจนสาวกแตกแยกกันเป็นสองฝ่าย ได้เสนอให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัยจนพระสารีบุตรเถระ ได้รับพุทธานุมัติให้จัดทำ แต่ทำไม่สำเร็จเพราะท่านนิพพานเสียก่อน

    หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง ๗ วัน คนที่ต้องการเป็นพระในพระพุทธศาสนา แต่ไม่ยินดีที่จะปฏิบัติตามพระธรรมวินัยก็แสดงตัวออกมา จนเป็นเหตุนำไปสู่สังคายนาครั้งที่ ๑



    <HR SIZE=1>
    การสังคายยานาครั้งที่ ๑

    หลังพุทธปรินิพาน ๓ เดือน
    ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาเวภารบรรพต
    เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ




    การสังคายนาครั้งที่ ๑ ปรารภเรื่องสุภัททภิกษุผู้บวชเมื่อแก่ได้กล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัย และปรารถที่จะทำให้พระธรรมรุ่งเรืองอยู่สืบไปพระอรหันต์ ๕๐๐ รูปมีพระมหากัสสปะเป็นประธานและเป็นผู้ถามพระอุบาลีเป็นผู้วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนา พระธรรมประชุมสังคายนาที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภูเขาภารบรรพต เมืองราชคฤห์แคว้นมคธ เมื่อหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน โดยพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๗ เดือนจึงเสร็จ

    เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานผ่านไปได้ ๗ วัน พระมหากัสสปะเถระพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป ได้ทราบจากปริพาชกท่านหนึ่งว่า พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานได้ ๗ วันแล้ว ขณะที่ท่านและภิกษุสงฆ์ทั้งหลายเดินทางจากเมืองปาวาใกล้มาถึงนครกุสินารา ภิกษุทั้งหลายเมื่อได้ทราบข่าวต่างก็แสดงตัวออกมาแตกต่างกันคือ

    ท่านที่เป็นพระอริยบุคคล มีสติอดกลั้นด้วยคิดว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง คนจะได้สิ่งที่เที่ยงจากสังขารทั้งหลายแต่ที่ได้ ฝ่ายท่านที่ยังมีราคะ โทสะ โมหะ อยู่ได้แสดงความเศร้าโศกเพราะปิยวิปโยคอย่างหนักว่า

    "พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเร็วนัก พระสุคตเสด็จปรินิพพานเร็วนัก จักษุแห่งโลกหายไปจากโลกเร็วนัก"

    ในขณะที่พระอริยบุคคลทั้งหลายได้แสดงความจริงแห่งสังขารเพื่อให้ภิกษุเหล่าวนั้นยอมรับตามพระพุทธดำรัสความว่า
    "ท่านทั้งหลายอย่าเศร้าโศกร่ำไรไปเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ก่อนแล้วมิใช่หรือว่า ความเป็นต่าง ๆ ความเว้น ความเป็นอย่างอื่นจากสัตว์และสังขารที่รักที่ชอบใจทั้งปวง ย่อมไม่อาจจะหาสิ่งที่เที่ยงจากสังขารทั่งหลาย สิ่งใดเกิดมาแล้มีแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว ต้องมีความแตกสลายไปเป็นธรรมดา การที่เราจะปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าสลายเลย ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้"

    เวลานั้นมีภิกษุรูปหนึ่งบวชเมื่อแก่ ชื่อสภัททะ มีจิตดื้อด้านด้วยสันดานพาลชน เป็นอลัชชีมืดมนย่อหย่อนในพระธรรมวินัยกลับกล่าวขึ้นว่า

    "พวกเราพ้นจากมหาสมณะนั้นด้วยดีแล้ว เพราะเมื่อก่อนท่านได้เบียดเบียนเรา ด้วยการตักเตือนว่า นี่ควร นี่ไม่ควร สำหรับพวกเธอทั้งหลาย บัดนี้พวกเราสบายแล้ว พวกเราต้องการทำสิ่งใดก็ทำสิ่งน้นไม่ต้องการทำสิ่งใดก็ไม่ทำสิ่งนั้น"

    คำพูดของสุภัททภิกษุถือว่าเป็นการกล่าวจ้วงจาบขาดความเคารพต่อพระธรรมวินัย ทั้ง ๆ ที่ตนเองเป็นพุทธสาวก เสมือนผู้แสดงตนเป้นขบถต่อพระพุทธศาสนา แต่เนื่องจากเป็นเวลาที่ใกล้ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ พระมหากัสสปะจึงไม่ได้กล่าวอะไรในขณะนั้น

    หลังจากถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว พระมหากัสสปะเถระจึงนำเรื่องนี้เข้าที่ประชุมสงฆ์ พร้อมกับเสนอให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัยโดยให้เหตุผลว่าถ้าปล่อยนานไป "สิ่งที่ไม่ใช่ธรรมไม่ใช่วินัยจักเจริญ สิ่งที่เป็นธรรมเป็นวินัยจะเสื่อมถอย พวกอธรรมวาที อวินัยวาทีได้พวกแล้วจักเจริญ ฝ่ายธรรมวาทีวินัยวาทีจะเสื่อมถอย"

    นอกจากนี้พระมหากัสสปะเถระยังมีเหตุผลส่วนตัวท่าน ที่จะต้องพิทักษ์ศาสนธรรมอันเป็นตัวแทนของพระศาสดาไว้ คือท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่า มีธรรมเครื่องอยู่เสมอด้วยพระองค์ และทรงเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิของพระองค์กับท่าน อันเปรียบเหมือนพระเจ้าจักพรรดิทรงเปลื้องเกราะมอบให้แก่เชฏฐโอรส เพื่อเป็นเครื่องหมายว่าพระราชโอรสจะเป็นผู้รับผิดชอบราชการแผ่นดินต่อไป หลังจากพระองค์สวรรคตไปแล้วฐานะที่ทรงยกย่องพระมหากัสสปะเถระทั้ง ๒ นี้ไม่เคยยกย่องพระสาวกรูปอื่นเลย

    ในที่สุดมติที่ประชุมของเถระทั้งหลายในคราวนั้น กำหนดให้มีการสังคายนาพระธรรมวินัย โดยใช้การสงฆ์ (สงฆ์ผู้กระทำ) ๕๐๐ รูปเป็นพระอรหันต์ล้วน ๆ เพื่อประกอบกันเป็นสังคีติกาจารย์ และกำหนดให้ทำสังคายนาที่สัตตบรรณคูหา ข้างเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์เมื่อพระมหากัสสปะเถระเลือกพระอรหันต์ทั้งหลายอยู่นั้น เลือกไปได้ครบ ๔๙๙ รูป ก็เกิดปัญหาคือสังคายนาครั้งนี้จะขาดพระอานนท์เถระไม่ได้ เพราะท่านทรงจะพระธรรมวินัยได้ทั้งหมด แต่ถ้จะเลือกท่านเข้าร่วมด้วยผิดมติที่ประชุมเพราะท่านยังเป็นพระโสดาบันอยู่ ในที่สุดประชุมจึงเสนอให้พระมหากัสสปะเถระเลือกพระอานนท์เถระเข้าไปด้วยโดยให้เหตุผลว่า

    แม้พระอานนท์เถระจะเป็นพระเสขบุคคล (พระอริยบุคคลที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล เป็นผู้ยังต้องศึกษา) แต่ท่านไม่ลำเอียงด้วยอคติ ๔ ประการ

    พระอานนท์เถระ เป็นเหมือนคลังพระสัทธรรม (ธรรมที่ดีธรรมที่แท้) เพราะได้สดับจากพระพุทธเจ้ามากว่าพระเถระทั้งหลายเป็นอันมาก

    พระมหากัสปะเถระจึงเลือกพระอานนท์เถระเข้าร่วมในการสังคายนาและประกาศด้วยญัติทุตยกรรมวาจาให้พระสงฆ์ทั้งปวงยอมรับมติ ๓ ประการคือ

    ๑. ยอมรับให้พระเถระจำนวน ๕๐๐รูป ที่คัดเลือกตามมติสงฆ์เป็นพระสังคีติกาจารย์ มีหน้าที่ในการสังคายนาพระธรรมวินัย
    ๒. ใช้สัตบรรพต ข้างเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ เป็นที่ทำสังคายนา
    ๓. ห้ามพระอื่นนอกจากพระสังคีติกาจารย์ เข้าจำพรรษาในกรุงราชคฤห์ เพื่อสะดวกแกการบิณฑบาต และป้องกันผู้ไม่หวังดีทำอันตรายต่อการสังคายา

    เมื่อพระสงฆ์ทั้งปวงลงมติยอมรับเป็นเอกฉันท์แล้วพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายก็เดินทางเข้ากรุงราชคฤห์ ขอพระบรมราชูปถัมภ์ จากพระเจ้าอชาตศัตรู เรื่องการซ่อมวิหาร ๑๘ ตำบล สร้างสถานที่ทำสังคายนา ซึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูทรงรับภาระเกี่ยวกับด้านราชอาณาจักรทุกประการ พระอานนท์เถระได้บำเพ็ญเพียรจนบรรลุอรหัตก่อนการทำสังคายนา จึงเป็นอันว่าการทำสังคายนาในคราวนั้นทำโดยพระอรหันต์ล้วนทั้ง ๕๐๐ องค์ โดยเริ่มลงมือทำหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพานแล้วได้ ๓ เดือน พระมหากัสสปะทำหน้าที่ปุจฉาพระวินัยและพระธรรม พระอุบาลีเถระกับพระอานนท์เถระทำหน้าที่วิสัชชนาพระวินัยและพระธรรมตามลำดับ โดยที่ประชุมกำหนดให้สังคายนาพระวินัยก่อน เพราะถือว่าพระวินัยเป็นรากแก้วของพระพุทธศาสนาเมื่อพระวินัยยังดำรงอยู่ พระพุทธศาสนาย่อมชื่อว่าดำรงอยู่

    ในชั้นแรก พระมหากัสสปะเถระ พระอุบาลีเถระ พระอานนท์เถระได้ประกาศสวดสมติตน เพื่อทำหน้าที่ปุจฉาและวิสัชชานาพระวินัยและพระธรรม ตามหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมายจากสงฆ์ ต่อแต่นันพระมหากัสสปะเถระจะสอบถมพระวินัยแต่ละข้อในส่วนที่เกี่ยวกับ สัตถุนิทาน บุคคล บัญญัติ อนุบัญญัติ อาบัติ อนาบัติ เป็นต้นแห่งสิกขาบทแต่ละสิกขาบท เมื่อพระอุบาลีตอมไปตามลำดับแล้ว พระสงฆ์ที่ประชุมกันจะสวดพระวินัยข้อนั้น ๆ พร้อมกัน เมื่อตรงกันไม่ผิดพลาดแล้วสงฆ์รับว่าถูกต้อง จึงถาข้ออื่นต่อไป ทำกันโดยนัยนี้จนจบพระวินัยปิฎกแบ่งเป็นหมวดใหญ่ได้ ๕ หมวด คือทิกกรรม ปาจิตตีย์ มหาวรรคจุลวรรค และบริวาร (ปัจจุบันพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือขนาดใหญ่ถึง ๘ เล่ม เรียกว่า เป็นหัวใจพระวินัยว่า อา.ปา.ม.จุ.ป.)

    ในด้านพระสูตรนั้นท่านเริ่มสังคายนาจากพระสูตรขนาดยาวก่อน คือ พรหมชาลสูตร สามัญญผลสูตร เป็นต้น สิ่งที่พระมหากัสสปะเถระ ถามคือ นิทาน บุคคล เนื้อหาแห่งพระสูตรนั้นเมื่อพระอานนท์เถระตอบแล้ว พระสงฆ์ทั้งปวงก็สาธยายพระสูตรนั้น ๆ พร้อมกันจนจบพระสูตรทั้งหมด โยแบ่งออกเป็น ๕ นิกาย การสังคายนาครั้งนี้ใช้เวลา ถึง ๗ เดือนจึงสำเร็จ

    หลังจากเสร็จการสังคายนาแล้ว พระอานนท์เถระได้แจ้งให้สงฆ์ทราบว่า ก่อนจะปรินิพาพาน พระพุทธเจ้ารับสั่งไว้ว่า

    "เมื่อเราล่วงไปสงฆ์ยังอยู่ จะพึงถอนสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ เสียบ้างก็ได้"
    แต่พระอานนท์เถระไม่ได้กราบทูลว่า สิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ นั้นคือสิกขาบทอะไรบ้าง กังสงฆ์ไม่อาจหาข้อยุติได้ว่า สิกขาบทเช่นไรชื่อว่าเล็กน้อย พระมหากัสสปะเถระจึงเสนอเป็นญัตติในที่ประชุมว่าด้วยญัตติทตุยกรรมวาจาความว่า
    - สิกขาบททั้งหลายบางอย่างก็เกี่ยวกับชาวบ้าน ชาวบ้านย่อมทราบว่า อะไรควรหรือไม่ควร สำหรับสมณศากยบุตรทั้งหลาย
    - หากจะถอนสิกขาบทบางข้อ ชาวบ้านจะตำหนิว่าพวกเราศึกษาและปฏิบัติตามสิกขาบททั้งหลาย ในขณะที่พระศาสดายังดำรงพระชนม์อยู่เท่านั้น พอพระศาสนานิพพานก็ไม่ใส่ใจที่จะปฏิบัติ
    - ขอให้สงฆ์ทั้งปวงอย่าเพิกถอนสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ และอย่าได้บัญญัติสิ่งที่พระพุทธมิได้ทรง บัญญัติไว้ สมาทานศึกษาตามสิกขาที่ทรงบัญญัติไว้เท่านั้น
     
  9. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <HR SIZE=1>


    การสังคายนาครั้งที่ ๒

    เมื่อพุทธศักราช ๑๐๐
    ณ วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี


    การสังคายนาครั้งที่ ๒ ปรารถพวกภิกษุวัชชีบุตรกแสดงวัตถุ ๑๐ ประการนอกธรรมนอกวินัย พระยศกากัณฑกบุตรเป็นผู้ชักชวน ได้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้วิสัชนา ได้พระอรหันต์ ๗๐๐ รูป พระเรวตะเป็นผู้ถาม พระสัพพกามีเป็นผู้สิสัชนาประชุมทำที่วาลิการาม เมืองเวสาลี เมื่อุทธศักราช ๑๐๐ โดยพระกาลาโศกราชเป็นศาสนูปภัมภก์ สิ้นเวลา ๘ เดือนจึงเสร็จ

    หลังจากพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานผ่านไปได้ ๑๐๐ ปี พระภิกษุที่จำพรรษาในเมืองเวสาลี ได้ประพฤติผิดวินัย ๑๐ ประการเรียกว่าวัตถุ ๑๐ ประการคือ
    ๑. ภิกษุจะเก็บเกลือไว้ในเขนง (ภาชนะที่ทำด้วยเขาสัตว์) แล้วนำไปฉันปนกับอาหารได้
    ๒. ภิกษุจะฉันอาหารหลังจากตะวันบ่ายผ่านไปเพียง ๒ องคุลี
    ๓. ภิกษุฉันภัตตาหารในวัดเสร็จแล้ว ห้ามภัตแล้วเข้าไปสู่บ้านจะฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนและไม่ได้ทำวันัยกรรมตามพระวินัยได้
    ๔. ในอาวาสเดียวมีสีมาใหญ่ ภิกษุจะแยกกันทำอุโบสถได้
    ๕. ในเวลาทำอุโบสถ แม้ว่าพระจะเข้าประชุมยังไม่พร้อมกันจะทำอุโบสถไปก่อนได้ โดยให้ผู้มาทีหลังขออนุมัติเอาเองได้
    ๖. การประพฤติปฏิบัติตามพระอุปัชฌายะอาจารย์ ไม่ว่าจะผิดหรือถูกพระวินัยก็ตาม ย่อมเป็นการกระทำที่สมควรเสมอ
    ๗. นมส้มที่แปรมาจากนมสดแต่ยังไม่กลายเป็นทธิ(นมเปรี้ยว)ภิกษุฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ห้ามภัตแล้ว จะฉันนมนั้นทั้งที่ยังไม่ได้ทำวินัยกรรม หรือทำให้เดนตามพระวินัยก็ได้
    ๘. สุราที่ทำใหม่ ๆ ยังมีสีแดง เหมือนสีเท้านกพิราบ ยังไม่เป็นสุราเต็มที่ ภิกษุจะฉันก็ได้
    ๙. ผ้าปูนั่งคือนิสีทนะอันไม่มีชาย ภิกษุจะบริโภค ใช้สอยก็ได้
    ๑๐. ภิกษุรับและยินดีในทองเงินที่เขาถวายหาเป็นอาบัติไม่

    ต่อมาพระเถระอรหันต์ รูปหนึ่งชื่อพระยสกากัณฑกบุตร จากเมืองโกสัมพีได้ไปที่เมืองเวสาลี ได้พบเห็นพระภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองเวสาลี นำถาดทองสำริดเต็มด้วยน้ำ นำมาวางไว้ที่โรงอุโบสถ แล้วประกาศเชิญชวนให้ชาวบ้านบริจาคเงินใส่ลงในถาดนั้น โดยบอกว่าพระมีความต้องการด้วยเงินทอง แม้พระยสเถระจะห้ามปรามไม่ให้มีการถวายเงินทองในทำนองนั้น พระภิกษุวัชชีบุตรก็ไม่เชื่อฟังชาวบ้านเองก็คงถวายตามที่เคยปฏิบัติมา พระเถระจึงตำหนิทั้งพระวัชชีบุตรและชาวบ้าน ที่ถวายเงินทองและรับเงินทองในลักษณะนั้นเมื่อพระภิกษุวัชชีบุตรได้รับเงินแล้ว นำมาแจกกันตามลำดับพรรษานำส่วนของพระยสการัณฑบุตรมาถวายท่าน พระเถระไม่ยอมรับและตำหนิอีก

    ภิกษุวัชชีบุตรไม่พอในที่พระเถระไม่ยอมรับตำหนิ จึงประชุมกันฉวยโอกาสลงปฏสาราณียกรรม คือการลงโทษให้ไปขอขมาคฤหัสถ์โดยกล่าวว่าพระเถระรุกรานชาวบ้าน ซึ่งพระเถระก็ยิยยอมไปขอขมาโดยนำภิกษุอนุฑูตไปเป็นพยานด้วย เมื่อไปถึงสำนักของอุบาสก พระเถระได้ชี้แจงพระวินัยให้ฟัง และบอกให้ชาวบ้านเหล่านั้นทราบว่า การกระทำของพระภิกษุวัชชีบุตรเป็นความผิด โดยยกเอาพระพุทธภาษิตที่พระพุทธเจ้าทรงไว้ความว่า

    "พระจันทร์และพระอาทิตย์ไม่ได้ร้อนแรงและรุ่งเรืองด้วยรัศมีเพราะโทษมลทิน ๔ ประการ คือ หมอก ควัน ธุลี และอสุรินทราหู กำบังฉันใด ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะไม่มีตบะรุ่งเรืองด้วยศีล เพราะโทษมลทิน ๔ ประการปิดบังไว้ คือ ดื่มสุราเมรัย เสพเมถุนธรรม ยินดีรับเงินและทองอันเป็นเหมือนภิกษุนั้นยินดีบริโภคซึ่งกามคุณ และภิกษุเลี้ยงชีพในทางมิชอบด้วย เวชชกรรม กุลทูสกะ (ประจบเอาใจคฤหัสถ์ด้วยอาการอันผิดวินัย) อเนสนา (การหาลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรภิกษุ) และวิญญัติ (ขอสิ่งของต่อคฤหัสถ์ผู้ที่ไม่ญาติ ผู้ไม่ใช่คนปวารณา) พร้อมด้วยกล่าวอวดอตตริมนุษย์ธรรม อันไม่มีจริง"

    เมื่อพระยสกากัณฑกบุตรชี้แจง ให้อุบาสกอุบาสิกาเข้าใจแล้ว คนเหล่านั้นเกิดความเลื่อมใสพระเถระ อาราธนาให้ท่านอยู่จำพรรษา ณ วาลการาม โดยพวกเขาจะอุปฐากบำรุงและได้อาศัยท่านบำเพ็ญกุศลต่อไป ฝ่ายภิกษุที่เป็นอนุฑูตไปกับพระเถระ ได้กลับมาแจ้งเรื่องทั้งปวงให้ภิกษุวัชชีบุตรทราบ ภิกษุวัชชีบุตรจะใช้พวกมากบีบบังคับพระเถระด้วยการลงอุปเขปนียกรรม (ตัดสิทธิแห่งภิกษุชั่วคราว) แก่ท่านได้พากันยกพวกไปล้อมกุฏิของพระเถระ แต่พระเถระทราบล่วงหน้าเสียก่อนจึงได้หลบออกไปจากที่นั้น

    พระยาสกากัณฑกบุตรพิจารณาเห็นว่า เรื่องนี้หากปล่อยไว้เนิ่นนานไป พระธรรมวินัยจะเสื่อมถอยลง พวกอธรรมวาทีอวินัยวาทีได้พวกแล้วจักเจริญขึ้น จึงได้ไปเมองปาฐา เมืองอวันตี และทักขิณาบถแจ้งให้พระที่อยู่ในเมืองนั้น ๆ ทราบ เพื่อจะได้ร่วมกันแก้ไข และได้ไปเรียนให้พระสาณสัมภูตวาสี ซึ่งพำนักอยู่ ณ อโหคังคบบรรพตทราบและขอการวินิจฉัยจากพระเถระ พระสาณสัมภูตวาสีมีความเห็นเช่นเดียวกับพระยาสกากัณฑกบุตรทุกประการ

    ในที่สุดพระเถระอรหันต์จากเมืองปาฐา ๖๐ รูป จากแคว้นอวัตีและทักขิณาบถ ๘๐ รูป ได้ประชุมร่วมกับพระสาณสัมภูตวาสีและพระยสกากัณฑกบุตร ณ อโหคังคบพรรพต มติของที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าเรื่องนี้จะต้องมีการชำระกันให้เรียบร้อย โดยตกลงให้ไปอาราธนาพระเรวตเถระ ซึ่งเป้นพระอรหันต์ที่เป็นพหูสูตร ชำนาญในพระวินัยทรงธรรมวินัยมาติกาฉลาดเฉียบแหลม มีความละอายบาปรังเกียจบาปใคร่ต่อสิขาและเป็นนักปราชญ์ ให้เป็นประธานในการวินิจฉัยตัดสินเรื่องวัตถุ ทั้ง ๑๐ ประการนี้

    พระสาณสัมภูตวาสีได้นำเรื่องวัตถุ ๑๐ ประการ เรียนถวายให้พระเรวตเถระทราบ และขอให้ท่านวินิจฉันทีละข้อ ปรากฏว่าทุกข้อที่ภิกษุวัชชีบุตรกระทำนั้น เป็นความผิดทางวินัยทั้งหมด จึงตกลงร่วมกันที่จะชำระเรื่องนี้ และจัดการสังคายนาพระธรรมวินัยทั้งหมด จึงตกลงร่วมกันที่จะชำระเรื่องนี้ และจัดการสังคายนาพระธรรมวินัยตามที่พระสังคีติกาจารย์ได้กระทำมาแล้วในคราวสังคายนา

    ในที่สุดที่ประชุมของพระอรหันต์ทั้งหลายได้ตกลงกันว่า อธิกรณ์ (เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ) เกิดขึ้นในที่ใด ควรไปจัดการระงับในที่นั้นโดยพระเรวตเถระได้ประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ขอให้สงฆ์ระงับอธิกรณ์ด้วยอพุพาหิกา คือ การยกอธิกรณ์ไปชำระในที่เกิดอธิกรณ์ สงฆได้คัดเลือกพระเถระ ๘ รูปคือ
    - พระสัพพากามีเถระ พระสาฬหเถระ พระขุชชโสภิตเถระ พระวาสภคามีเถระทำหน้าที่แทนฝ่ายปราจีนคือพวกวัชชีบุตร ทำหน้าที่ในการวินิจฉัยอธิกรณ์
    - พระเรวตเถระ พระสาณสัมภูตวาสี พระยสกากัณฑกบุตร เถระพระสุมนเถระเป็นตัวแทนฝ่ายเมืองปาฐา ทำหน้าที่เป็นตัวแทนฝ่ายเมืองปาฐา ทำน้าที่เป็นตัวแทนฝ่ายสงฆ์ธรรมวาที มีหน้าที่ในการเสนออธิกรณ์ต่อสงฆ์

    สงฆ์ได้มอบหมายการสวดปาติโมกข์ การจัดแจงเสนาเสนะให้เป็นหน้าที่ของพระอชิตะ ซึ่งพรรษาได้ ๑๐ พรรษา และตกลงเลือกเอาวาลิการามหรือวาลุการาม เมืองเวสาลี อันเป้นที่เกิดเรื่องวัตถุ ๑๐ ประการ เป็นศิษย์ของพระอนุรุทธเถระ อีก ๖ รูป เป้นศิษย์ของพระอานนท์เถระซึ่งเป็นสังคีติกาจารย์สำคัญในราวปฐมสังคายนา

    เมื่อพระเจ้ากาลาโศกราชรับสั่งให้พระสงฆ์ทัเง ๒ ฝ่ายประชุมร่วมกัน และขอให้แต่ละฝ่ายแถลงเหตุผลให้ทราบ ทรงโปรดในเหตุผลของฝ่ายพระอรหันต์ทั้งหลาย จึงปวารณาพระองค์ที่จะให้การอุปถัมภ์ฝ่ายอาณาจักรทุกประการ และโปรดให้ชำระมลทินพระศาสนา พร้อมด้วยการทำทุติยสังคายนา (การร้อยกรองพระธรรมวินัยครั้งที่ ๒) ที่วาลุการาม เมืองเวสาลี พระอรหันต์เข้าร่วม ๗๐๐ รูปโดยมีการทำตามลำดับดังนี้

    ๑. พระเถระที่ได้กำหนดหน้าที่กันฝ่ายละ ๔ รูปนั้น พระเรวตเถระเอาวัตถุ ๑๐ ประการขึ้นมาถามทีละข้อ พระสัพพากามีเถระได้ตอบไปตามลำดัสว่า

    ๑.๑ การเก็บเกลือไว้ในแขนง โดยตั้งใจว่าจะใส่ลงในอาหารที่จืดฉันเป้นอาบัติปาจิตตีย์ (จัดไว้ในจำพวกอาบัติเบา พ้นได้ด้วยการแสดง) เพราะการสะสมอาหารตามโภชนสิกขาบท
    ๑.๒ การฉันโภชนะในเวลาวิกาลเมื่อตะวันบ่ายคล้อยไปแล้ว ถึง ๒ องคุลี ผิดต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันโภชนะในยามวิกาล
    ๑.๓ ภิกษุฉันอาหารเสร็จแล้วคิดว่าจักฉันอาหารเข้าไปในบ้านแล้วฉันโภชนะที่เป็นอนติริตตะ (อาหารซึ่งไม่เป็นเดน ที่ว่าเป็นเดนมี ๒ คือ เป็นเดนภิกษุไข้ ๑ เป็นของที่ภิกษุทำให้เป็นเดน ๑) ผิดเป็นอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารที่ไม่เป็นเดนภิกษุไข้ และไม่ได้ทำวินัยกรรมก่อน
    ๑.๔ สงฆ์ทำสังฆกรรมด้วยคิดว่าให้พวกมาทีหลังอนุมัติทั่งที่ยังประชุมไม่พร้อมหน้ากัน ผิดหลักที่ทรงบัญญัติไว้ในจัมเปยขันธกะ ใครทำต้องอาบัติทุกกฏ
    ๑.๕ อาวาสแห่งเดียวมีสีมาเดียวเท่านั้น ภิกษุจะแยกกันทำอุโบสถสังฆกรรมไม่ได้ ผิดหลักที่สรงบัญญัติไว้ในอุปโบสถขันธกะ ใครขืนทำต้องอาบัติทุกกฏ
    ๑.๖ การประพฤติปฏิบัติด้วยความเข้าใจว่าอุปัชฌาย์อาจจารย์ของเราเคยประพฤติมาอย่างนี้ ไม่ถูกต้องนัก เพราะท่านเหล่านั้นอาจจะประพฤติผิดหรือถูก ก็ได้ ต้องยึดหลักพระวินัยจึงจะสมควร
    ๑.๗ นมส้มที่ละความเป็นนมสดไปแล้ว แต่ยังไม่กลายเป็นทธิภิกษุฉันภัตตาหารส้มห้ามภัตรแล้ว จะดื่มนมนั้นอันไม่เป็นเดนภิกษุไข้หรือยังไม่ทำวินัยกรรมไม่ควรต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะฉันอาหารที่เป็นอนติริตตะ
    ๑.๘ การดื่มสุราอย่างอ่อนที่มีสีเหมือนเท้านกพิราบ ซึ่งยังไม่ถึงความเป็นน้ำเมาไม่ควร เป็นปาจิตตีย์ เพราะดื่มสุราและเมรัย
    ๑.๙ ผ้านิสีทนะที่ไม่มีชายภิกษุจะใช้ไม่ควร ต้องอาบัติปาจิตตีย์ซึงต้องตัดเสียจึงแสดงอาบัติตก
    ๑.๑๐ การรับเงินทองหรือยินดีทองเงินที่เขาเก็ไว้เพื่อตนไม่ควรต้องอาบัตินิสสัคคียะ ปาจิตติยะ เพราะรับทองและเงินซึ่งจะต้องสละจึงแสดงอาบัติตก
    ทุกข้อที่พระสัพพกามีวิสัชชนา ฝ่ายพระเรวตเถระได้เสนอให้สงฆ์ทราบทุกข้อและขอมติจากสงฆ์เพื่อให้ยอมรับว่า
    "วัตถุเหล่านี้ผิดธรรม ผิดวินัย เป็นการหลีกเลี่ยงต่อคำสอนของพระพุทธเจ้า" และได้ขอให้สงฆ์ลงมติทุกครั้นที่พระสัพพากมีเถระตอบ มติของสงฆ์จึงเห็นว่าวัตถุ ๑๐ ประการนี้ ผิดธรรม ผิดวินัย โดยเสียงเอกฉันท์

    ๒. จากนั้นพระเถระทั้งหลายจึงเริ่มสังคายนาพระธรรมวินัยตามแบบที่พระมหากัสสปเถระ เป็นต้น ได้กระทำในคราวปฐมสังคายนากระทำสังคายนาคราวนี้ใช้เวลา ๘ เดือนจึงสำเร็จ
     
  10. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <HR SIZE=1>


    การสังคายนาครั้งที่ ๓

    เมื่อพุทธศักราช ๒๓๔
    ณ อโศการมา เมืองปาฏลีบุตร


    การสังคายนาครั้งที่ ๓ ปรารภเดียรถีย์มากมายปลอมบวชในพระศาสนาเพราะมีลากสักการะเกิดขึ้นมาก พระอรหันต์ ๑,๐๐๐ รูปมีพระโมทคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นประธาน ประชุมทำที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน ประชุมทำที่อโศกหรือศรีธรรมาโศกราช เป็นศาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๙ เดือนจึงเสร็จ

    ในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราชได้มีเดียรถีย์ปลอมเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เพราะเห็นว่าพระพุทธศาสนา มีลาภสักการะมากจนพระสงฆ์เกิดรังเกียจกันเพราะไม่รู้ว่าใครเป็นใคร ในที่สุดไม่ทำอุโปสถสังฆกรรมร่วมกันถึง ๗ ปี ต่อมาความทราบถึงพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้รังสั่งให้อำมาตย์คนหนึ่งไปอาราธนาให้พระร่วมสังฆกรรมกัน เมื่อพระเหล่านั้นไม่ยินยอม อำมาตร์ถือว่าขัดพระบรมราชโองการจึงตัดคอพระมรณภาพไปหลายองค์ พระติสสเถระซึ่งเป็นพระอนุชาของพระเจ้าอโศกเห็นเช่นนั้นจึงไปนั่งขวางไว้ อำมาตย์ไม่กล้าฆ่าพระราชอนุชา จึงกลับไปกราบทูลให้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงทราบทุกประการ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงตกประทัยมากกลัวว่าบาปกรรมจะมาถึงพระองค์ด้วย แม้ว่าอำมาตย์จะทำไปโดยพลการก็ตาม จึงไปเรียนถามพระเถระทั้งหลายปรากฏว่าท่านเหล่านั้นตอบไม่ตรงกัน ในที่สุดได้รับคำแนะนำจากพระเถระให้ไปอาราธนาพระโมคคัลลี บุตรติสสเถระ ให้มาวินิจฉัยให้ และจะได้ช่วยชำระเรื่องเสื่อมเสียที่เกิดขึ้น

    พระโมคคัลลีบุตรดิสสเถระนี้ ท่านเล่าว่าเป็นผู้ที่พระอรหันต์ในคราวทุติยสังคายนา ขอให้จุติจากพรหมโลกมาชำระพระศาสนาในคราวนี้โดยตรง โดยมอบหมายให้พระเถระ ๒ รูปคือ พระสิคควเถระและพระจันทวิชชีเถระ รับหน้าที่ในการนำติสสมหาพรหม ซึ่งจะมาปฏิสนธิในครรถ์ของนางโมคคัลลีพราหมณ์ ให้ออกบวช อบรมให้การศึกษาจนแตกฉานในพระธรรมวินัยโดยถือเป็นทัณฑกรรมสำหรับท่านทั้ง ๒ ฐานขาดการประชุม ในคราวที่พระสงฆ์ทำทุติยสังคายนา พระเถระทั้งสองได้ทำหน้าที่ของท่านตามมติสงฆ์ทำทุติยสังคายนา พระเถระทั้งสองได้ทำหน้าที่ของท่านตามมติสงฆ์ โดยพระสิคควะเถระนำติสสกุมารออกบวชเป็นสามเณร ให้ศึกษาข้อธรรมเบื้องต้น พระจันทวัชชีเถระให้อุปสมบทเป็นภิกษุ ให้ศึกษาธรรมเบื้องสูงขึ้นไป เดียรถีย์ปลอมเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา เมื่อพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่เป็นเรื่องใหญ่มาก ไม่อาจจัดการได้ด้วยลำพังอำนาจสงฆ์ ต้องอาศัยพระราชอำนาจจึงทำได้ พระเถระเมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนั้นจึงคิดว่า

    "บัดนี้อธิกรณ์เกิดขึ้นแล้ว ไม่นานนักอธิกรณ์นี้จักหยาบช้ากล้าแข็งขึ้น ถ้าเราอยู่ในท่ามกลางเดียรถีย์ เหล่านี้จักไม่อาจระงับอธิกรณ์ได้ " จึงมอบหมายการบริหารสงฆ์ให้พระมหินทเถระ ซึ่งเป็นลัทธิวิหารริกของท่าน และเป็นราชโอรสของพระเจ้าอโศกมหาราช ท่านเองได้หลีกไปพักอยู่ที่อโธคังบรรพต ตอนเหนือของแม่น้ำคงคา

    พระเจ้าอโศกมหาราชส่งอำมาตย์ พระธรรมกถึก ๔-๘ ท่านพร้อมด้วยบริวารไปเรียนให้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระมาตามพระบรมราชโองการ ๒ คราว แต่พระเถระไม่ยอมรับอาราธนา เพราะท่านเหล่านั้นพูดไม่ถูกเรื่อง จึงต้องเพิ่มจำนวนพระธรรมกถึก อำมาตย์ ๑๖ คน พร้อมด้วยบริวารให้ไปอาราธนาว่า

    "ข้าแต่พระคุณเจ้า ศาสนากำลังเสื่อมโทรม ขอพระคุณเจ้าเป็นสหายของพวกข้าพเจ้า เพื่อเชิดชูพระพุทธศาสนาเถิด"

    เมื่อพระเถระได้สดับพระราชสาสน์นั้นคิดว่า

    "เรามาบวชด้วยตั้งใจว่า จักเชิดชูพระศาสนามาตังแต่ต้นแล้วเวลาของเรามาถึงแล้ว"

    พระเถระได้มาด้วยแพล่องมาตามลำน้ำคงคา พระเจ้าอโศกมหาราชเสด็จลงต้อนรับด้วยความเลื่อมใส แต่ยังข้องใจในคุณสมบัติของพระเถระ หลังจากได้ทดสอบแล้วจึงเกิดความมั่นพระทัยในคุณสมบัติของพระเถระ หลังจากได้ทดสอบแล้วจึงเกิดความมั่นพระทัยในคุณสมบัติของพระเถระ จึงได้เรียนถามข้อที่ทรงข้องพระทัย เรื่องอำมาตย์ฆ่าพระเถระมรณภาพไปหลายรูป พระเถระได้ถวายวิสัชนาให้หายข้องพระทัยความว่า เมื่อพระองค์ไม่มีพระประสงค์จะให้อำมาตย์ฆ่าภิกษุ บาปจึงไม่มีแก่พระองค์ และให้พระราชามั่นพระทัยด้วยพระพุทธภาษิตว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจ "

    นอกจากนั้น พระเถระยังได้ยกภาษิตของดาบสในติตติรชาดกความว่า
    "ถ้าท่านไม่มีความคิดไซร้ บาปก็ไม่มี แท้จริงกรรมย่อมถูกต้องบุคคลผู้คิดอยู่เท่านั้น หากถูกต้องบุคคลผู้ไม่คิดไม่"

    หลังจากพระเจ้าอโศกมหาราชทรงสบายพระทัย เพราะได้ฟังคำวินิจฉัยพระเถระแล้ว พระเถระได้ถวายพระพรให้ทราบเรื่องสถานการณ์ของพระพุทธศาสนาในกรุงปาฏิลีบุตร พร้อมกับให้พระราชาเรียนสัจธรรมทางพระพุทธศาสนา จนสามารถแยกได้ว่าอะไรเป็นคำสอนของพระพุทธศาสนา อะไรไม่ใช่ พระเจ้าอโศกมหาราชได้เรียกภิกษุทั้งหลายมาสอบถามด้วยพระองค์เองว่า
    "ก็วาที สมมาสมพุทโธ พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีปกติตรัสว่าอย่างไร"
    ท่านรูปใดตอบว่า วิภชชวาที มีปรกติตรัสจำแนก ถือว่าเป็นพระที่แม่จริง ท่านที่ตอบเป็นอย่างอื่น ถือว่าเป็นเดียรถีย์ปลอมบวช รับสั่งให้แจกผ้าขาวแก่คนเหล่านั้น ให้สึกออกไปจำนวนมาก

    เมื่อได้มีการชำระสังฆมณฑลให้บริสุทธิ์แล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชจึงได้อาราธนาให้พระสงฆ์ทำอุโบสถสังฆกรรมกันตามปรกติโดยพระองค์ทำการอารักขาพระสงฆ์ทั้งปวงก็พร้อมเพรียงกันทำอุโบสถตั้งแต่นั้นมา พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระได้เลือกพระจำนวน ๑,๐๐๐ รูปเฉพาะท่านที่ทรงพระปริยัติ (เล่าเรียนพระธรรมวินัย) แตกฉานในปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานมี ๔ คือ ๑. แตกฉานในอรรถ ๒. แตกฉานในธรรม ๓.แตกฉานในนิรุกติคือ ภาษา ๔. แตกฉานในปฏิภาณ) และชำนาญในวิชชา ๓ ประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ ๓ ขึ้นที่อโศการามเมืองปาฏลีบุตร ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช ประเด็นสำคัญในตติสังคายนาคือ

    ๑. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน มีสังคีติกาจารย์เข้าร่วม ๑,๐๐๐ รูป ทำที่อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภ์ เริ่มทำปีพุทธศักราช ๒๓๔

    ๒. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้ยกเอาวาทะของนิกายต่าง ๆ ที่เผยแพร่กันในสมัยนั้นขึ้นวิพากย์เกือบ ๓๐๐ ข้อ ถือว่าเป็นความเห็นผิดจากพระพุทธศาสนา เป็นเหตุให้เกิดคัมภีร์ "กถาวัตถุ ในพระอภิธรรมปิฎก" ขึ้นทำให้คัมภีร์ในอภิธรรมปิฏกสมบูรณ์ในคราวนี้เอง

    ๓.รูปแบบการสังคายนาอย่างอื่นทำตามแบบที่พระสังคีติกาจารย์ในคราวปฐมสังคายนาท่านกระทำโดยใช้เวลานานถึง ๙ เดือน จึงสำเร็จ

    ๔.พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระพิจารณาเห็นว่า กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป จึงได้จัดส่งพระเถระพร้อมด้วยบริวารไปเผยแผ่พระศาสนา ในส่วนต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ๙ สาย (มีความโดยละเอียดในหัวข้อ "กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป")
     
  11. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    <HR SIZE=1>


    การสังคายนาครั้งที่ ๔

    เมื่อพุทธศักราช ๒๓๖
    ณ ถูปาราม เมืองอนุราชบุรี ลังกาทวีป


    สำหรับการสังคายนาครั้งที่ ๔ และครั้งที่ ๕ นั้น กระทำกันขึ้นนอกชมพูทวีป คือกระทำที่ลังกาทวีป และไม่เป็นที่รับรองทั่วไป

    การสังคายนาครั้งที่ ๔ ปรารภจะให้พระศาสนาประดิษฐานมั่นคงในลังกาทวีป พระสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ รูปมีพระมหินทเถระเป็นประธานและเป็นผู้ถาม พระอริฏฐะเป็นผู้วิสัชนา ประชุมทำที่ถูปาราม เมืองอนุราชบุรีลังกาทวีป เมื่อพุทธศักราช ๒๓๖ โดยพระเจ้าเทวนัมปิยติสสะเป็นสาสนูปถัมภก์ สิ้นเวลา ๑๐ เดือนจึงเสร็จ

    พระพุทธศาสนาได้เริ่มแผ่เข้าสู่ลังกาทวีป เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๖ - ๒๘๗ โดยการนำของพระมหินทเถระ ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชและพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระส่งไปเป็นธรรมทูต ประจำลังกาทวีป พระเถระได้ไปถึงในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ผู้เป็นอทิฏฐสหายกับพระเจ้าอโศกมหาราช พระมนินทเถระได้มาถึงลังกาทวีปเมื่อพระชนมายุ ๓๒ พรรษา และนิพพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ พรรษาที่เจติบรรพตซึ่งตรงกับปีที่ ๘ แห่งรัชสมัยพระเจ้าอุตติยะ ผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ

    พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงประกาศพระองค์ เป็นพุทธศสนูปถัมภก ทรงโปรดให้อุปสมบทบุคคลสำคัญ ๆ หลายท่าน และก่อสร้างวิหาร เจดีย์มากมาย โปรดให้อริฎฐมหาอำมาตย์ไปทูลพระเจ้าอโศกมหาราชขอภิกษุณีสงฆ์ เพื่อมาอุปสมบทแก่สตรีชาวลังกา ตลอดจนทูลขอกิ่งพระศรีมหาโพธิ์เพื่อสักการะบูชาด้วย พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสนับสนุนพระราชธิดาคือ พระนางสังฆมิตตาเถรีพร้อมด้วยบริวารเพื่อไปเป็นปวัตตินีบวชกุลธิดาชาวลังกา และให้อัญเชิญกิ่งพระศรีมหาโพธิ์มาประทาน น้องสะใภ้ของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงพระนามว่า "อนุลาเทวี" ออกอุปสมบทเป็นนางภิกษุณีพร้อมด้วยบริวารเป็นครั้งปฐมในลังกาทวีป ส่วนกิ่งมหาโพธิ์ทรงโปรดให้ปลูกขึ้นในมหาอุทยาน "มหาเมฆวัน" ซึ่งสืบเชื้อสายปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน

    ต่อมาเมื่อการศึกษาพระธรรมวินัยแพร่หลายในหมู่สงฆ์ชาวลังกาแล้วพระมหินทเถระก็ได้ทูลขอให้พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะทรงเป็นราชูนปถัมภ์ชุมนุมสงฆ์ ในลังกาจัดทำสังคายนาขึ้น ณ ถูปาราม เมืองอนุราชบุรี

    มีพระสงฆ์ ๖๘,๐๐๐ รูป ทำอยู่ ๑๐ เดือนจึงสำเร็จ นับแต่นั้นมา พระพุทธศาสนาแบบเถรวาท (หีนยาน) เจริญรุ่งเรื่องขึ้นโดยลำดับ มีคันถรจนาจารย์ (อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์) แต่งคัมภีร์อรรถกถาฏีกาอธิบาย

    พระไตรปิฎกเป็นภาษาลังกา เพื่อศึกษาแพร่หลาย เป็นหลักฐานยิ่งกว่าในชมพูทวีป ซึ่งนับวันนิกายเถรวาทจะหมดรัศมีลงไปเรื่อย ๆ









    <HR SIZE=1>
    การสังคายนาครั้งที่ ๕

    เมื่อพุทธศักราช ๔๕๐
    ณ อาโลกเลณสถาน ในมลยชนบท ลังกาทวีป




    การสังคายนาครั้งที่ ๕ ปรารภพระสงฆ์แตกกันเป็น ๒ พวกคือ พวกมหาวิหารกับพวกอภัยคีรีวิหาร และคำนึงว่าสืบไปภายหน้า กุลบุตรจะถอยปัญญา ควรจารึกพระธรรมวินัยลงในใบลาน ณ อาโลกเลณสถานในมลยชนบท ในลังกาทวีป เมื่อพุทธศักราช ๔๕๐ โดยพระเจ้าวัฎฎคามณีอภัยเป็นศาสนูปถัมภก์ ถึงแม้ว่าจะเป็นครั้งแรกที่เกิดความแตกแยกขึ้นในคณะสงฆ์ลังกาทวีปในด้านทิฏฐิ แต่ทางวินัยต่างฝ่ายต่างก็พร้อมกันรักษาดีอยู่อย่างน่าสรรเสริญ
     
  12. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป"
    ในคราวสังคายนาพระพุทธศาสนา ครั้งที่ ๓ ดังได้กล่าวถึงมาแล้วข้างต้น พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระผู้เป็นประธานทรงเล็งเห็นการณ์ไกลอย่างยิ่ง โดยพิจารณาว่า กาลต่อไปพระพุทธศาสนาจะไปตั้งมั่นนอกชมพูทวีป จึงจัดส่งพระเถระพร้อมด้วยบริวารให้ไปเผยแฟ่พุทธศาสนา ในส่วนต่าง ๆ ของทวีปเอเชีย ๙ สาย คือ

    ๑. พระมหินทเถระ พร้อมด้วยพระอิฏฏิยเถระ พระอุตติยเถระพระสัมพลเถระ พระภัททสาลเถระ และสุมนสามเณรไปเผยแผ่พระศาสนาที่เกาะลังกา ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ

    ๒.พระมัชฌันติกเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่แคว้นคันธาระและกาศมีระ ทรมานพวกนาคให้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา

    ๓. พระมหาเทวะ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ แคว้นมหิสสกมณฑล ได้แก่ แถบตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำโคธาวารี อันเป้นแคว้นไมซอร์ในปัจจุบัน

    ๔. พระรักขิตเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ วนวาสีประเทศ ได้แก่ แว่นแคว้นกนราเหนือ ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอินเดียก่อให้เกิดวัดขึ้นถึง ๕๐๐ วัด ในดินแดนส่วนนี้

    ๕.พระโยนกธรรมรักขิต ซึ่งเป็นเถระอรหันต์ชนชาติกรีก ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ อปันตกชนบท เชื่อกันว่า ได้แก่ ดินแดนชายทะเลอันเป็นเมืองบอมเบย์ในปัจจุบัน

    ๖. พระมหารักขิตเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ โยนกประเทศคือดินแดนที่อยู่ในการยึดครองของผรั่งชาติ กรีก ในทวีปเอเชียตอนกลาง เหนืออิหร่าน ขึ้นไปจนถึงเตอรกีสถาน

    ๗. พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ อีก ๔ รูปคือ พระกัสสปโคตะ พระมูลกเทวะ พระทุนทภิสสร และพระเทวะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ดินแดนแถบภูเขาหิมาลัย

    ๘. พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ ดินแดนที่เรียกว่า สุวรรณถูมิ เชื่อกันว่าได้แก่ดินแดนที่เป็นจังหวัดนครปฐมในปัจจุบัน

    ๙. พระมหาธรรมรักขิต ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่แว้นมหาราษฎร์ คือดินแดนแถบตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากเมืองบอมเบย์ในปัจจุบัน

    การไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาของธรรมทูตทุกสาย เป็นการไปอย่างคณะสงฆ์ ซึ่งสามารถให้การอุปสมบทแก่กุลบุตรผู้มีศรัทธาได้ มีหลักฐานซึ่งค้นพบที่จังหวัดนครปฐมระบุว่า พระโสณเถระกับพระอุตตรเถระมาประดิษฐานพระพุทธศาสนาในดินแดนส่วนนี้

    พระพุทธศาสนาได้เจริญถึงขั้นสูงสุด โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ในโลกที่นับถือพระพุทธศาสนา และเผยแผ่พระพุทธศานาออกนอกชมพูทวีปสู่ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียแต่แล้วในกาลต่อมา พระพุทธศาสนาในดินแดนอินเดียค่อย ๆ เสื่อมแล้วได้มาสูญไปเกือบสิ้นเชิง เป็นเวลานานกว่า ๗๐๐ ปีที่พระพุทธศาสนาสูญไปจากประเทศนี้ จวบจนกระทั่งเมื่อประมาณ ๖๐ ปีที่ผ่านมามีการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในอินเดียมากขึ้น มีชาวพุทธเพิ่มมากขึ้นมีการประมาณกันว่า ในปัจจุบันมีผู้นับถือพระพุทธศาสนา ในประเทศอินเดีย ๓๐-๔๐ ล้านคน จากจำนวนประชากรอินเดียประมาณเกือบพันล้านคน

    ภัียอันตรายที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อมของพระพุทธศาสนา ในอินเดียนั้น มีอยู่ ๒ ประเภทใหญ่ คือ ๑. ภัยภายใน ๒. ภัยภายนอก

    ภัยภายใน เกิดจากพุทธบริษัท ๔ (ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา) โดยตรง พอจะจำแนกเป็น ๓ ประการคือ
    ๑. การเสื่อมทางศีลธรรมและการเสื่อมจากการบรรลุมรรคผลของชาวพุทธ
    ๒. ความแตกแยกทางนิกายและความขัดแย้งทางนิกาย
    ๓. ลัทธิมหายานและลัทธิตันตรยานเกิดขึ้น ทำให้เกิดพระสัทธรรมปฏิรูปต่าง ๆ ขึ้นในพระพุทธศาสนา


    ภัยภายนอก การที่พระพุทธศาสนาต้องเสื่อมไปจากอินเดียนั้นหาได้เกิดจากภัยภายในอย่างเดัยวไม่ ภัยภายนอกก็จัดว่าเป็นอันตรายมากเช่นกันที่ทำให้พระพุทธศาสนาต้องเสื่อมไปจากดินแดนพุทธภูมิภัยภายนอกนั้นพอจะจำแนกได้ ๖ ประการคือ
    ๑. การปองร้ายของพวกพราหมณ์
    ๒.การฟื้นตัวใหม่ของพวกพราหมณ์
    ๓.การถูกศาสนาพราหมณ์กลืน
    ๔.การขาดราชูปถัมภ์
    ๕. การทำลายล้างของกษัตริย์ภายนอกพระพุทธศาสนา
    ๖. การทำลายล้างของพวกมุสลิม





    "พุทธศาสนา ๒ นิกาย ใหญ่ มหายาน กับ หีนยาน"
    หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วประมาณ ๑๐๐ ปี พระพุทธศาสนาก็เริ่มมีเค้าแตกแยกในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระธรรมวินัย จนมาถึงสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชก็แตกแยกกันออกเป็นนิกายใหญ่ ๆ ๒ นิกาย คือมหายาน กับหีนยาน

    มหายาน เป็นนิกายของภิกษุฝ่ายเหนือของอินเดีย บาทีเรียก "อุตรนิกาย" (นิกายฝ่ายเหนือ) บ้าง "อาจารยวาท" บ้าง ซึ่งมีจุดมุ่งสอนให้ระงับดับกิเลส ทั้งยังได้แก้ไขคำสอนในพระพุทธศาสนา ให้ผันแปรไปตามลำดับ พวกนี้เรียกลัทธิของตนว่า "มหายาน" ซึ่งแปลว่า "ยานใหญ่" อาจพาประชาชนให้ข้ามวัฏสงสาร คือ ความทุกข์จาการเวียนว่ายตายเกิดได้คราวละมาก ๆ นิกายนี้ได้เข้าไปเจริญรุ่งเรื่องอยู่ในประเทศทิเบต จีน มองโกเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม

    หีนยาน เป็นนิกายของภิกษุฝ่ายใต้ของอินเดีย บางทีเรียก "ทักษิณนิกาย" (นิกายฝ่ายใต้) คือ "เถรวาท" ซี่งมุ่งสอนให้พระสงฆ์ปฏิบัติเพื่อดับกิเลสของตนเองก่อน และห้ามเปลี่ยนแลงแก้ไขพระธรรมวินัยอย่างเด็ดขาด คำว่า "หีนยาน" เป็นคำที่ฝ่ายมหายานตั้งให้ แปลว่า "ยานเล็ก" ส่วนภิกษุฝ่ายใต้เรียกตัวเองว่า "เถรวาท"หมายถึง ผู้ปฏิบัติตามพุทธบัญญัติอย่างเที่ยงตรง นิกายนี้มีผู้นับถือมากในประเทศศรีลังกา พม่า ลาว ไทย และกัมพูชา

    สำหรับพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ ๓ แห่งราชวงศ์โมริยะ ครองราชสมบัติ ณ พระนครปาฏลีบุตร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๖๐ เมื่อครองราชย์ได้ ๘ พรรษา ทรงยกทัพไปปราบแคว้นกลิงคะที่เป็นชนชาติเข้มแข็งลงได้ ทำให้อาณาจักรของพระองค์กว้างใหญ่ที่สุดในประวัติชาติอินเดีย พระเจ้าอโศกมหาราชนับเป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดพระองค์หนึ่งของชมพูทวีป

    แต่ในการสงครามครั้งนั้น มีผู้คนล้มตายและประสบภัยพิบัติมากมาย ทำให้พระองค์ทรงสลดพระทัย ครั้นได้ทรงสดับคำสอนในพระพุทธศาสนา ทรงเลื่อมใส ได้ทรงเลิการสงครามหันมาทำนุบำรุงพระศาสนาและความรุ่งเรืองในทางสงบของประเทศ ทรงสร้างมหาวิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่งทรงอุปถัมภ์การสังคายนา คือการประชุมตรวจชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้าวางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวการสังคายนาครั้งที่ ๓ มีขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๔ สิ้นเวลา ๙ เดือน จึงเสร็จ นอกจากนั้นยังอุปถัมภ์การส่งศาสนทูตออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในนานาประเทศพระเจ้าอโศกมหาราชนับเป็นพุทธศาสนูปถัมภกที่สำคัญยิ่ง
     
  13. hellobkk

    hellobkk Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กันยายน 2005
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +46
    ละเอียดดี อ่านได้เรื่อยๆ เพราะชอบ ธรรมะ ของพระพุทธเจ้า จึงไม่แปลกที่ความชอบนี้ ทำให้ผมอ่านบรรทัดแรก โดยไม่ข้ามบรรทัด จนถึงบรรทัดสุดท้าย ถ้ามีอีกก็จะอ่านอีก อ่านด้วยความคิด วิเคราะห์ ไม่ได้อ่านด้วยเพราะความ วิจิตรพิศดาร
     
  14. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "วันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา"

    วันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา มีดังนี้

    [​IMG]

    ๑. วันวิสาขบูชา ซึ่งถือว่าเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระพุทธเจ้า ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค้ำ (วันเพ็ญ) เดือน ๖ ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนไปทำพิธีในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๗

    [​IMG]
    ๒.วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก ซึ่งเรียกว่า "ปฐมเทศนา" ตรงกับ วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘




    [​IMG]
    ๓. วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถ้าหากปีใดมีเดือน ๘ สองครั้งก็เข้าพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง


    [​IMG]
    ๔. วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ หลังจาก ออกพรรษาแล้ว รุ่งขึ้นวันแรม ๑ ค่ำมักนิยมบำเพ็ญกุศลเรียกว่า "ตักบาตรเทโว" คือ ตักบาตรเนื่องในวันที่พระพุทธเจ่าเสด็จลงจากเทวโลกหลังจากที่เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาอยู่พรรษาหนึ่งแล้ว

    [​IMG]
    ๕. วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค้ำเดือน ๓ แต่ถ้าหากปีใดมีเดือน ๘ สองครั้ง ก็เลื่อนไปทำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ วันนี้ ถือว่าเป็นวัน "จาตุรงคสันนิบาต" คือมีเหตุการณ์ที่เกิดในวันนี้ ๔ อย่างคือ
    ก. วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือน ๓
    ข. เป็นวันที่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์ มาประชุมกันที่เวฬุวนาราม เมืองราชคฤห์ แคว้นนคธ
    ค. พระอรหันต์เหล่านั้นล้วนได้รับ " เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือพระพุทธเจ้าทรงบวชให้เองทั้งสิ้น
    ง. พระอรหันต์เหล่านั้นมาประชุมพร้อมกันเองโดยมิได้นัดหมาย


    พระพุทธเจ้าจึงทรงถือเหตุนี้ประทาน "โอวาทปาติโมกข์" ซึ่งเท่ากับเป็นการวาง "ธรรมนูญสวฆ์" ขึ้น
    คล้าย ๆ กับรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นแม่บทของกฎหมายทั้งหลายฉะนั้น โอวาทปาติโมกข์นี้เปรียบเสมือนหัวใจพระพุทธศาสนา มี ๓ ข้อ คือ
    ๑. งดเว้นจากาการทำชั่วทั้งปวง
    ๒. สร้างสมความดีให้บริสุทธิ์
    ๓. ชำระจิตตนให้บริสุทธิ์


    นอกจากนั้น ในวันเพ็ญ เดือน ๓ นี้ ยังมีเหตุการณ์ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขาร ว่าจะปรินิพพานในอีก ๓ เดือนข้างหน้า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2005
  15. phuang

    phuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2005
    โพสต์:
    4,033
    ค่าพลัง:
    +10,043
    "เทศกาลวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา"

    เทศกาลสำคัญที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา โดยตรงคือ

    การทอดกฐิน มีกำหนดระยะเวลา ๑ เดือน ระหว่างวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ การทอดกฐินนี้คนไทยนิยมทำกันมาก ถือว่าได้อานิสงฆ์แรงเพราะทำในระยะเวลาจำกัด และมักทำเป็นพิธีรีตองมโหฬารทีเดียว บางแห่งมีการแห่แหนประดับตกแต่งองค์กฐินพร้อมทั้งไทยธรรมที่เป็นของบริวาร ซึ่งจัดทำกันอย่างประณีตบรรจงบาทีก็มีฉลององค์กฐินก่อนที่จะแห่ไปวัด การแห่แหนนั้นมีทั้งทางบกทางน้ำ สมัยนี้ยังมีการแห่ผ้ากฐินไปทางอากาศ (เครื่องบิน) อีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่จะนำผ้ากฐินไปทอด จะสะดวกทางใดก็ไปทางนั้น

    [​IMG] รายละเอียดการทอดกฐิน


    นอกจากนั้น ก็มีเทศกาลที่ไม่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาโดยตรง แต่พุทธศาสนิกชนก็ได้บำเพ็ญกุศลกันตามแบบพระพุทธศาสนาเทศกาลเหล่านี้ ได้แก่


    ๑.วันตรุษ ตรงกับวันสิ้นเดือน ๔ เป็นพิธีแสดงความยินดีที่ได้มีชีวิตผ่านพ้นมาด้วยดีในรอบปีหนึ่ง ๆ เรียกว่าการ "ส่งปีเก่า"

    ๒. วันสงกรานต์ ตรงกับวันที่ ๑๓-๑๔-๑๕ เมษายน ของทุกปี วันที่ ๑๓ เป็นวันที่พระอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศีเมษ เรียกว่า วันสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา และวันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศกถือว่าเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่

    ๓. วันสารท ตรงกับวันสิ้นเดือน ๑๐ นับว่าเป็นวันนักขัตฤกษ์ที่คนไทยเรานิยมทำกันมาก เพราะถือว่าเป็นสมัยที่จะได้ทำบุญในเมื่อวันเดือนได้ล่วงมาถึงรอบปี อันแสดงถึงความไม่ประมาทของชีวิตเพราะปลายปีทำพิธีตรุษ ต้นปีทำพิธีสงกรานต์ ดังนั้นกลางปีจึงทำพิธีสารท


    ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข
    และ http://dhammathai.org/indexthai.php
     
  16. chansinghvasin

    chansinghvasin Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +82
    อนุโมทนา ในธรรม ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นขอให้มีแก่เธอ ........สาธุ
     
  17. ฟ้าเช้า

    ฟ้าเช้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2005
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +1,643
    ข้อมูลแจ่มมากเลยค่า เก็บเอาไว้ทำรายงานได้เลย
    อนุโมทนากับพี่น้ำผึ้ง
     
  18. Tanakorn

    Tanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +1,537
    อนุโมทนาสาธุด้วยครับ

    [b-wai]
     
  19. Stop_to_be _in_Nippana

    Stop_to_be _in_Nippana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +244
    ขออนุโมทนาบุญครับ ได้ความรู้ด้านพระพุทธศาสนามากเลยคับจากเวปนี้และเวปอื่นๆ ดีใจมากเลยยย(deejai) [b-hi] (b-smile)
     
  20. sravnane

    sravnane เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    695
    ค่าพลัง:
    +17,914
    เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้าและประวัติพุทธศาสนา ถวายพุทธบูชาฯ

    [b-wai]
    ขอร่วมโมทนาบุญกับทุกๆท่านเป็นอย่างสูง ขอธรรมทาน ถวายเป็นพุทธบูชาฯนี้ จงมีผลอันยิ่งใหญ่ แก่ดวงจิตทุกดวงเต็มตามความประสงค์ของผู้ให้เถิด ขอบารมีพระฯทุกพระองค์คุ้มครองรักษาจิตของทุกท่านให้มีดวงตาเห็นธรรม ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานตามความปรารถนาโดยสวัสดีเทอญ
    :cool:
    ปล.ในหมวดพุทธสรีระ เรื่องมหาปุริสลักขณะและอนุพยัชนะ มีกรรมอันเป็นกุศลที่พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญไว้จึงได้ลักษณะดังกล่าวเมื่อทรงบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า หากใครมีช่วยลงให้ด้วยนะครับ น่าสนใจมากสำหรับพุทธภูมิ ขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...