ข้อมูลเตรียมพรัอมรับมือสถานการณ์ภัยน้ำท่วม

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย tanakorn_ss, 7 ตุลาคม 2011.

  1. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    [​IMG]
     
  2. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    เภสัช มช. แนะวิธีใช้ยาในภาวะน้ำท่วม


    ปัญหาโรคภัยไข้ เจ็บเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่เกิดขึ้นในภาวะน้ำท่วม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความห่วงใยต่อผู้ประสบภัยที่อาจมีอาการเจ็บป่วย จึงมีข้อแนะนำในการใช้ยา เพื่อการดูแลตนเองเบื้องต้นอย่างถูกวิธี
    รองศาสตราจารย์ ภญ.วรรณดี แต้โสตถิกุล คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ กล่าวว่า “ปัญหาความเจ็บป่วย ที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วม อาจมีหลายโรค เช่น น้ำกัดเท้า ตาแดง ท้องร่วง รวมถึงโรคที่มียุงเป็นพาหะนำโรค ซึ่งการรักษาอาจไม่สะดวก ทั้งการซื้อยาด้วยตนเอง หรือการไปรับการรักษาในโรงพยาบาล จึงมีผู้บริจาคยาเพื่อผู้ประสบภัย ผู้ประสบอุทกภัยอาจไม่มีข้อมูลเพียงพอว่า มีวิธีใช้ที่ถูกต้องอย่างไร ควรซื้อยาอะไร ดังนั้น การใช้ยา การเลือกซื้อยา การแนะนำการใช้ยาต่อผู้ป่วย หรือความเข้าใจของอาสาสมัครช่วยน้ำท่วม จึงมีความจำเป็น เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและเกิดประสิทธิภาพในการรักษา ”
    รศ.ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับยาและการใช้ยาแต่ละประเภทไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้



    ยารักษาน้ำกัดเท้า

    ยากลุ่มนี้มีหลายประเภท เป็นครีม ขี้ผึ้ง หรือเป็นชนิดน้ำก็ได้ ขึ้นกับการนำตัวยาไปปรุงแต่งเป็นแบบใด ประเภทตัวยาได้แก่ ตัวยาดั้งเดิมเป็นกรดซาลิไซลิค และกรดเบนโซอิค ทั้งสองชนิดเป็นกรดอ่อน การใช้ในผู้เป็นแผล จะไม่เกิดอันตรายใดๆ จะช่วยแก้คันด้วย นิยมทำเป็นยาขี้ผึ้ง รูปแบบนี้จะช่วยทำให้ยาอยู่กับผิวได้นาน ไม่ละลายน้ำออกไป อีกทั้งมีราคาถูก ส่วนตัวยาอื่น ก็จะมีกลุ่มตัวยาที่พัฒนาขึ้นมา จะไม่ให้ระคายเคืองเวลาสัมผัสมากเท่ากรดอ่อน ซึ่งก็จะแตกต่างกันในแง่ระยะเวลาในการทา ตัวยารุ่นใหม่ มักพัฒนาให้มีการออกฤทธิ์นานขึ้นและแรงขึ้น มีการทาน้อยครั้งลง แต่กลุ่มยาทั้งหมดนี้ การใช้ควรใช้เป็นเวลาอย่างน้อย สาม ถึงสี่สัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจว่าหายขาดแล้ว อาจมีบางชนิดจะใช้แค่สองสัปดาห์ เพราะฤทธิ์ยาอยู่ได้นาน ส่วนใหญ่ยาใหม่ๆ ดังกล่าวมา ก็จะมีราคาแพงขึ้น เนื่องจากเป็นต้นตำรับในการค้นคว้าวิจัย


    ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุง

    มีหลายแบบที่พบในร้านยา เช่นเป็นชนิดน้ำ หรือโลชัน ชนิดแป้ง ชนิดครีม ชนิดสเปรย์ หรือเป็นผ้าเย็น หรือเป็นขดจุดไล่ยุง สรรพคุณใช้ไล่ยุง ซึ่งมีระยะเวลาของการออกฤทธิ์ขึ้นกับชนิดของสารที่ใช้ หากออกฤทธิ์นานหลายชั่วโมง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้บ่อย ข้อควรระวังในการใช้ เนื่องจากเป็นวัตถุอันตราย การใช้ควรใช้จำกัดบริเวณ เช่นทา เป็นที่ๆไป บริเวณแขน ขา เว้นระยะห่าง ไม่จำเป็นต้องทาทั้งตัว ส่วนใบหน้า ต้นคอ ก็ควรเว้นเพราะอาจทำให้ระคายได้


    ยาบรรเทาอาการคัน

    เช่น ยาหม่อง ซึ่งประกอบด้วย น้ำมันระกำ การบูร น้ำมันยูคาลิบตัส และน้ำมันเปปเปอร์มิ้นท์ เป็นยาที่ช่วยให้สารระคายที่เข้าสู่ผิว กระจาย มีเลือดมาเลี้ยง เพราะความร้อนของตัวยา แล้วสารระคาย จะถูกขบวนการภายในร่างกายนำไปทำลาย และลดอาการไม่สบายไป ดังนั้น ระดับความร้อนแรง ของยาจะแตกต่างกัน หากไม่ร้อนมาก ก็มักจะนำมาใช้ดม หรือทาขมับ วิธีใช้ทาแก้อาการคัน หรือระคายเคือง โดยทาบางๆ เฉพาะที่เป็นตามต้องการ แต่หากมีอาการบวม ไม่ควรใช้ในระยะแรก เพราะจะทำให้บวมมากขึ้น หากบวมควรใช้ผ้าเย็นหรือผ้าห่อน้ำแข็งประคบก่อน



    ยาแก้คัน

    มีหลายประเภท อาจเป็น คาลาไมน์ เป็นยาชนิดน้ำ หรือเป็นครีมกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งจะลดอาการอักเสบหรือแพ้ของผิวหนัง

    ยาแก้แพ้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งแบ่งเป็นระดับความแรงเป็น ระดับเบื้องต้น ปานกลางและสูงสุด ยาแก้แพ้กลุ่มนี้ใช้ได้ดี โดยเฉพาะกรณีอาการผิวหนังอักเสบ วิธีใช้ยาจึงต้องเลือกตามความรุนแรงของอาการทางผิวหนัง และขึ้นกับตำแหน่งที่จะทา หากผิวหนังบริเวณใบหน้า เราควรใช้ตัวยาที่อ่อนก่อน อย่างไรก็ดีในทุกกรณี เราต้องเริ่มต้นด้วยตัวยาที่อ่อนก่อน เว้นแต่บางกรณีเช่นเรื้อนกวาง จึงจะเลือกใช้ตัวยาที่แรง วิธีใช้ ควรทาบางๆ เช้าเย็น มีบางประเภท ใช้เพียงวันละครั้ง มีข้อระวังคือการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ทางผิวหนัง อาจทำให้เกิดผิวหนังบางได้ และหากเป็นเชื้อรา ใช้ยานี้ทา อาจทำให้โรคติดเชื้อราหายช้าและเป็นลุกลามมากขึ้น


    ยาบรรเทาอาการปวดศรีษะ

    เช่น พาราเซตามอล สำหรับผู้ใหญ่ใช้ยาเม็ด ขนาด 500 มก. ส่วนเด็กใช้ตามน้ำหนักตัว ยานี้เหมาะสำหรับกรณีไม่เป็นโรคตับ หากเป็นโรคตับ อาจเปลี่ยนเป็นยาชนิดอื่นแทน สรรพคุณ แก้ปวดและลดไข้ แต่ไม่ได้ใช้แก้อักเสบอย่างเช่นการแก้อาการบวม แดง หรือร้อน ยาเม็ดพาราเซตามอลไม่ควรรับประทานมากเกินแปดเม็ดต่อวัน หรือนานเกิน สามถึงห้าวัน หากมีอาการอื่นแทรกควรพบแพทย์



    ยาบรรเทาอาการปวดข้อ

    ปวดกล้ามเนื้อ อาจใช้ยาหม่องทานวดแก้ปวดเมื่อย แต่หากจำเป็นต้องใช้ยา อาจใช้ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่งมีคุณสมบัติบรรเทาปวด ลดการอักเสบและลดไข้ แต่ข้อควรระวังคือ ยากลุ่มนี้ควรรับประทานหลังอาหารทันที และดื่มน้ำมากๆ หากเป็นโรคไต ไม่ควรรับประทาน



    ยาแก้ท้องร่วง

    ควรสังเกตว่าท้องร่วงนั้นติดเชื้อหรือไม่ ลักษณะอุจจาระเป็นอย่างไร เป็นน้ำหรือถ่ายเหลวเพื่อพิจารณาการใช้ยาได้ถูกต้อง หากถ่ายเหลวบ่อย ในระยะแรกควรใช้ผงเกลือแร่ขององค์การเภสัชกรรม ละลายน้ำดื่มช้าๆทีละน้อย ไม่ควรดื่มทีเดียวจนหมด มิฉะนั้นอาจทำให้ถ่ายเหลวมากขึ้น เนื่องจากความเค็มที่เข้าร่างกายทีเดียวมากๆจะดูดน้ำในลำไส้ ทำให้เกิดอาการดังกล่าว สรรพคุณจะช่วยให้ร่างกายได้รับเกลือแร่ที่สูญเสียไป การใช้มากน้อยขึ้นกับอาการท้องเสีย อาจใช้วันละ สอง ถึงสามครั้ง ข้อระวังสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตและโรคหัวใจ อาจพิจารณาโดยแพทย์ นอกจากนั้นการให้ยาเพื่อหยุดถ่าย อาจต้องใช้ตามความจำเป็น เพื่อไม่ให้ลำไส้หยุดทำงานโดยไม่จำเป็น ยาที่อาจใช้กรณีอาหารเป็นพิษ คือพวกยาเม็ดถ่าน จะช่วยดูดซับสารพิษได้ กรณีที่ไม่ได้ติดเชื้อไม่ควรใช้ยาฆ่าเชื้อโดยไม่จำเป็น


    ยาใส่แผล

    การทำความสะอาดแผล ก่อนอื่นต้องล้างแผลให้สะอาด อาจใช้น้ำสบู่เหลว หรือน้ำธรรมดา เพื่อขจัดสิ่งสกปรก ใช้แอลกอฮอล์เช็ดรอบแผล ก่อนทายาฆ่าเชื้อ หากแผลเปิดหากแผลปิดหรือถลอกเพียงเล็กน้อย อาจทาครีมกรณีป้องกันไม่ให้ผิวหนังระคายเคือง กรณีการทายาฆ่าเชื้อ อาจใช้ยากลุ่มไอโอดีน หรือเบตาดีน หรือหากต้องการป้องกันการติดเชื้ออาจใช้ยาครีมประเภทที่ผสมยาฆ่าเชื้อ โดยทาแผลเช้า เย็น หากล้างแผลบ่อยหรือลงน้ำก็ต้องทาซ้ำ



    กลุ่มยาที่กล่าวมา เป็นกลุ่มยาแผนปัจจุบัน ซึ่งในบางกลุ่ม จะมีตัวยาที่ต้องควบคุมในการใช้ เช่น กลุ่มที่มีสเตียรอยด์ หรือกลุ่มยาแก้อักเสบ กลุ่มยาปฏิชีวนะ ดังนั้น การซื้อยา ควรศึกษาให้ดี และปรึกษาเภสัชกร ก่อน ส่วนการเก็บรักษายาระหว่างน้ำท่วม มีข้อแนะนำว่าควรเก็บยาให้พ้นน้ำ ไม่ให้ชื้น หลังใช้ควรปิดให้สนิท และทำตามข้อคำแนะนำจากฉลากยา

    นอกจากนี้ยังมีกลุ่มยาแผนโบราณที่จะเป็น ยาเสริมได้ เช่น ยาดม ยาหอม ยาบำรุงหัวใจ กลุ่มนี้เป็นยาเสริม ทำให้จิตใจดี ชื่นใจ ลดอาการวิงเวียน หรือผะอืดผะอม วิธีใช้ยาหอมชนิดผง อาจนำผงยาละลายน้ำอุ่น เพื่อเสริมให้น้ำมันหอมระเหย ส่งกลิ่นหอมซึ่งจะดูดซึมได้ การรับประทาน อาจใช้มะนาวหั่นซีกเล็ก จิ้มผงยาและเกลืออมแก้อาการคลื่นเหียน อาเจียนหรือไม่สบาย การรับประทานอาจใช้ครั้งละประมาณ หนึ่งช้อนกาแฟ เช้าเย็น



    สำหรับสมุนไพรที่รักษาอาการเท้าเปื่อย ก็จะมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มแบบโบราณ ของหมอพื้นบ้าน และกลุ่มสมุนไพรสาธารณสุขมูลฐาน

    สมุนไพรของหมอพื้นบ้าน

    ก็อาจปรับใช้ตามสมุนไพรที่มีในท้องถิ่น ซึ่งมีหลายตำรับ เช่น ที่อำเภอเวียงแก่น จ.เชียงราย ก็จะใช้ไม้ห้าเนื้อ หรือ ไทยกลาง เรียก กระจับนก (Euodnymus sp.) ใช้เปลือกลำต้น ทุบทาแช่น้ำแก้แผล หอ (น้ำกัดเท้า) ใช้ราก ฝนใส่ฝีหรือตุ่ม ล้างแผล อีกตำรับหนึ่งคือตัวอย่างที่อำเภอเชียงดาว จ. เชียงใหม่ ก็ใช้ใบแฮ้งตายหยาก หัวกลิ้งกลางดง และเหง้าไพล ต้มล้าง หรือแช่ หลายคนจะใช้ผลมะเกลือ ตำทาพอกตามซอกนิ้วเท้า หากตะขาบต่อย อาจใช้ว่านตะขาบ ตำผสมเหล้า 40 ดีกรี แล้วพอกแผล



    ส่วนสมุนไพรเพื่อการสาธารณสุขมูลฐาน

    ก็ จะมีหลายชนิด เช่น ชุมเห็ดเทศใช้ใบ หรือราก ทองพันชั่งใช้ราก ตำผสมเหล้าทา กระเทียม สำหรับตำหรือคั้นน้ำทา ระยะเวลาการใช้ ควรใช้วันละสามครั้ง เมื่อหายแล้วทาต่อประมาณอีกหนึ่งถึงสองสัปดาห์ หลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นเวลานาน เนื่องจากเท้าจะเปื่อย หรือชุ่มชื้น ทำให้เกิดการติดโรคเชื้อราได้ หลังจากสัมผัสน้ำแล้วจึงควรล้างให้สะอาด ก่อนจะเช็ดให้แห้ง ทั้งนี้การรักษาไม่ยากเพียงแต่ใช้เวลานานโดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานและผู้สง อายุ เพราะเลือดลมเดินไม่ค่อยสะดวก อาจจะต้องดูแลเป็นพิเศษมากขึ้น



    การ ใช้ยาอย่างถูกวิธีจะช่วยให้การรักษาได้ผลดี สำหรับผู้ป่วยที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่อง เช่น ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ควรได้รับการดูแลเป็นกรณีพิเศษ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายจากการขาดยา อาจให้ญาติช่วยดูแล และแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ทราบ และควรเตรียมยา ชื่อยาที่ใช้ให้พร้อมก่อนเคลื่อนย้ายอกจากนี้ อาหารเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการส่งเสริมสุขภาพ



    นอกจากนี้ อาหารเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการส่งเสริมสุขภาพ ช่วยเติมพลังงานให้กับร่างกาย รวมทั้งกลุ่มอาหารอ่อน ข้าวบด ต้มธัญพืชแล้วบด ยังช่วยคลายเครียด ช่วยให้นอนหลับ และช่วยฟื้นฟูร่างกายในช่วงน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี.

    ที่มา:
    http://www.prcmu.cmu.ac.th/scoop_detail.php?sco_sub_id=290
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2011
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ปลายฝนต้นหนาว รักษาตัว “ไข้หัวลม” อาการไข้ที่มาช่วงเปลี่ยนฤดู

    [​IMG]


    ปลายฝนต้นหนาว รักษาตัว “ไข้หัวลม” อาการไข้ที่มาช่วงเปลี่ยนฤดู




    [​IMG]


    <o></o>
    สภาพอากาศ ช่วงนี้ เริ่มแปรปรวน เนื่องจาก เข้าสู่ช่วงปลายฝนต้นหนาวไปจนถึงพฤศจิกายนธันวาคม ส่งผลต่อสุขภาพถือเป็นช่วงที่ต้องระวังรักษาสุขภาพกัน โดยเฉพาะ “ไข้หัวลม”

    <o></o>
    “ไข้หัวลม” ก็คือไข้เปลี่ยนฤดูนั่นเองจะร้อนเป็นฝนฝนเป็นหนาวหรือหนาวเป็นร้อนเรียกเหมือนกันหมดสรุปว่ามีอยู่๓ หัว (ลม) อาการโดยทั่วไปจะเริ่มต้นด้วยระวิงระไวไอจามและอาจมีอาการมีคัดจมูก น้ำมูกร่วมด้วยก็ได้ครั่นเนื้อครั่นตัวเพลียเหนื่อยวัดไข้แล้วมักจะไม่เกิน๓๘.๕ องศาเซลเซียสเกิดจากการเปลี่ยนอากาศ

    ช่วงระยะเวลานี้จากปลายฤดูฝนไปเป็นต้นหน้าหนาวตามหลักแพทย์แผนไทยกล่าวว่า ร่างกายมีไอความร้อนค้างอยู่ตอนหน้าฝนพออากาศเย็นลงอย่างรวดเร็วปรับตัวไม่ทันเกิดภาวะธาตุไฟพิการก็เลยป่วยได้ในคนที่มีภูมิต้านทานดีก็จะไม่มีอาการใดๆแต่ในคนที่ภูมิต้านทานไม่ค่อยดีช่วงนี้ถือว่าเป็นจุดอ่อนจะป่วยง่ายมากคนโบราณเลยมีวิธีป้องกันก่อนที่จะป่วยล้มหมอนนอนเสื่อกันเสียก่อนโดยเริ่มจากอาหารการกินง่ายๆก่อนจะไปถึงยา


    อาหารการกินที่ควรหลีกเลี่ยงคือ อาหารเย็นไม่ว่าจะเป็นอาหารเย็นทางกายภาพเช่นน้ำแข็งหวานเย็นไอศกรีมผลไม้แตงโมแอบเปิ้ลหรือผลไม้ที่อยู่นอกฤดูกาล


    สรุปแล้วหนาวนี้มาชักชวนกันใช้อาหารเป็นยากันก่อนเกิดโรคส่งเสริมป้องกันรักษาสุขภาพ ด้วยพืชสมุนไพรพื้นบ้านที่มีสรรพรักษาความอบอุ่นภายในร่างกายกัน อาทิ ดอกแค ขิง ข่า ตะไคร้ กระเพรา โหราพา มะนาว เป็นต้น


    <o></o>


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1731297/[/MUSIC]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2011
  4. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ชี้รัฐบาลต้องกล้าตัดสินใจใช้ 'โมเดลน้ำดันน้ำ' ป้องกัน กทม.


    [​IMG]


    ความหวั่นวิตกของชาว กทม.พุ่งสูงขึ้นอีกเป็นเท่าตัว หลังจากล่าสุดสวนอุตสาหกรรมบางกะดี จ.ปทุมธานี ทานแรงน้ำไม่ไหว แนวต้านพังทลายถูกกระแสน้ำเข้าท่วมทั้งหมดเป็นแห่งล่าสุด ขณะที่รัฐบาลโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 มาตรา 31 กรณีภัยพิบัติร้ายแรง เพื่อสู้กับภัยพิบัติครั้งนี้

    อย่างไรก็ตาม ยังมีความหวังรำไรเมื่อมีผู้ที่ทำงานภาคประชาชน มีประสบการณ์ ความรู้ นำเสนอแนวความคิดป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ โดยใช้หลักการ "น้ำดันน้ำ" ของนายอภิชาติ สุทธิศีลธรรม เผยแพร่เป็นคลิปวิดีโอบนเว็บไซต์ยูทูบ ตามที่ไทยรัฐออนไลน์ ได้นำเสนอไปแล้ว ซึ่งก็มีเสียงตอบรับในโลกออนไลน์อย่างล้นหลาม หวังกันว่ารัฐบาลจะทำตาม
    [​IMG]
    ล่า สุด นายอภิชาติ ได้ร่วมกับนายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ออกคลิปวิดีโออีกชุด นำเสนอแผนปฏิบัติการไปยังรัฐบาล โดยนายศศิน ระบุว่าทฤษฎีเบี่ยงน้ำของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่ใช้อยู่ส่วนตัวคิดว่าเอาไม่อยู่แน่ วันนี้จำเป็นต้องตัดสินใจ เพราะหากคันกั้นน้ำในแนวรังสิต-นครนายกฯ เกิดน้ำล้นข้ามคัน หรือรับน้ำที่ลงมาไม่ไหว โอกาสที่น้ำจะท่วมพื้นที่ กทม.ชั้นใน ก็มีสูง และถ้าท่วมแล้วเราจะไม่มีศูนย์บัญชาการ จะไม่มีที่แห้ง จะไม่มีโรงพยาบาลสำหรับช่วยเหลือผู้คนที่เดือดร้อน แต่หากยังป้องกันไว้ได้จะเป็นผลดีกับประเทศชาติ และสถานการณ์โดยรวมมากกว่า
    [​IMG]
    นาย ศศิน ยกตัวอย่างว่า วันนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปล่อยให้น้ำไหลเข้าโดยใช้หลักการ "น้ำดันน้ำ" ทำเขื่อน 2 ชั้น ปล่อยให้น้ำไหลเข้ามาอยู่ระหว่างแนวเขื่อนที่ 1 กับ 2 ใช้แรงดันน้ำดันกันเอง ซึ่งได้ผลเขื่อนไม่พัง สามารถรักษาพื้นที่ส่วนใหญ่ไว้ได้ ดังนั้นจึงคิดว่าทฤษฎีนี้ใช้กับกรุงเทพฯได้ โดยนำเสนอแผนปฏิบัติการ ดังนี้

    ทำ 'ถนนศรีสมาน-สายไหม' ให้เป็นป้อมปราการ "น้ำดันน้ำ"
    [​IMG]
    วันนี้ เรามีแนวคันกั้นน้ำที่ยังไม่แตก หรือมีน้ำไหลล้นข้ามมา อยู่ที่บริเวณหลัก 6 ดังนั้น เสนอให้ทำแนวคันกั้นน้ำเสริมที่ถนนศรีสมานต่อยาวไปถึงถนนสายไหม เป็นคันกั้นหรือเขื่อนชั้นที่ 2 จากนั้นปล่อยน้ำเข้ามาในพื้นที่ รักษาระดับน้ำไว้ ให้แรงดันน้ำดันกันเอง ซึ่งเชื่อว่าวิศวกรที่มีอยู่มีความสามารถที่จะทำได้ ดอนเมืองมีความแข็งแรง ก็ให้ปล่อยน้ำเข้ามา แล้วย้ายศูนย์บัญชาการ ศปภ. ไปอยู่ที่ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ หรือที่อื่น
    [​IMG]
    นอก จากนี้ ให้เตรียมแผนสำรอง โดยใช้แนวถนนแจ้งวัฒนะ 35 กิโลเมตร เป็นปราการด่านสุดท้ายในการรักษา กทม.ชั้นในไว้ให้ได้ ให้ถนนแจ้งวัฒนะ เป็นเขื่อนที่ 3 หากปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นมาก ก็ปล่อยน้ำเข้ามา รักษาระดับน้ำไว้เช่นเดียวกัน เชื่อว่าจะสามารถป้องกัน กทม.ไว้ได้
    [​IMG]
    [​IMG]
    "ปาก เกร็ด หลักสี่ บางเขน ลาดพร้าว คันนายาว ต้องหาวิธีทำให้คนที่อยู่ด้านเหนือรู้ว่า เราจะดูแลเขา แล้วปล่อยน้ำเข้ามา และรักษาระดับน้ำไว้ ไม่เช่นนั้นเราจะท่วมกันทั้งหมด" นายศศิน กล่าว
    [​IMG]
    วันนี้ต้องกล้าตัดสินใจ

    ด้าน นายอภิชาติ อธิบายเพิ่มเติมว่า จะให้แนวเขื่อนชั้นแรก คือ บริเวณหลักหก สู้กับน้ำระดับ 3.50 เมตร ไปนานๆ ไม่ได้แน่ เพราะไม่ใช่เขื่อนถาวร หรือคันคอนกรีตทั้งหมด บางส่วนที่เป็นจุดอ่อนจะถูกน้ำซัดกัดเซาะ จนพังทลายในที่สุด
    [​IMG]
    ดัง นั้น ต้องทยอยปล่อยน้ำเข้ามา ให้ประชาชนที่อยู่ระหว่างแนวเขื่อนที่ 1 กับเขื่อนที่ 2 มีเวลาในการอพยพ พื้นที่ใกล้แนวเขื่อนอาจจะถูกน้ำท่วมสูง 1.50-1.60 เมตร แต่แนวถัดออกมาจะท่วมแค่ 50-60 เซนติเมตร หากเขื่อนที่ 2 มีความสูง 1.50 เมตร จะมีความแข็งแรงพอรับน้ำได้ประมาณ 60% แต่เมื่อเราปล่อยน้ำเข้ามาจนได้ระดับ 1.50 เมตร ในที่สุดแรงดันน้ำจะน้อยลง จะมีน้ำรั่วซึมเข้ามาหลังแนวคันที่ 2 น้อยมาก ที่สำคัญคือ เขื่อนจะไม่พัง ปัญหาที่เกิดขึ้นไล่มาตั้งแต่ จ.นครสวรรค์ จนถึงสวนอุตสาหกรรมบางกะดี เป็นอย่างเดียวกันคือ ต้องการให้พื้นที่ข้างในแห้ง ต่อให้ทำแนวไว้ถึง 3 ชั้น ก็พังทั้ง 3 ชั้น
    [​IMG]
    สิ่ง สำคัญคือ วิธีปล่อยน้ำเข้ามา หากมีประตูระบายน้ำก็เปิดให้น้ำเข้ามาเลย ถ้าไม่มีอย่าไปเจาะกำแพงเป็นช่อง เพราะจะพังทั้งหมด ให้ใช้วิธีกาลักน้ำ ซึ่งส่วนนี้ ทางเทคนิค ทำได้แน่นอน ให้รีบตัดสินใจก่อนที่คันจะพัง หากกลัวว่าปริมาณน้ำจะไหลบ่าลงมาเพิ่มขึ้น ก็ให้เสริมแนวเขื่อนทั้ง 2 ชั้นขึ้นไปอีก แล้วปล่อยระดับน้ำให้เข้ามาท่วมขังระหว่างแนวเพิ่มเป็น 1.80 เมตร ก็จะทำให้แนวแรกสามารถรับน้ำได้เพิ่ม ถ้าจะให้ดีหากน้ำมาเกิน 4 เมตร ควรจะทำเขื่อนเพิ่มเป็น 3 ชั้น ที่แนวถนนแจ้งวัฒนะ ปล่อยน้ำเข้ามาอีกประมาณ 1.20 เมตร เพื่อสร้างแรงดันน้ำเพิ่ม ก็จะสามารถรับมือน้ำได้

    นายอภิ ชาติ กล่าวว่า ในทางรัฐศาสตร์ คนที่จะทำตามแผนปฏิบัติการนี้ได้ คือ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ต้องประกาศว่า จะปล่อยให้น้ำท่วมแนว ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ไม่ต้องจ่ายภาษีโรงเรือน 3 ปี ได้รับการชดเชยความเสียหายตามความเป็นจริง พวกที่อยู่ในพื้นที่ชั้นในที่ปลอดภัย จะต้องตอบแทน โดยจ่ายภาษีเพิ่มขึ้น ไม่ใช่เอางบประมาณที่ไปกู้มาลงไปช่วย เพราะงบประมาณเวลาเก็บกลับคืนคนที่ถูกน้ำท่วม, คนที่ไม่ถูกน้ำท่วม คนได้ประโยชน์, คนเสียประโยชน์ จะถูกเก็บเท่ากัน ซึ่งไม่ยุติธรรม
    [​IMG]
    "ขอ ให้โมเดลนี้เตือนใจ คุณอย่าไปเอาชนะน้ำ ผมยอมแพ้น้ำ แต่ยอมแพ้ครึ่งเดียวเรายอมให้พื้นที่ถูกน้ำท่วม 20% ความเสียหายเหลือแค่ 2-5% เท่านั้น กับความเสียหายอีก 80% ถ้าถูกท่วมทั้งหมด เป็นล้านล้านบาท ไม่ใช่แค่แสนล้าน หมื่นล้าน ภาพลักษณ์ของประเทศที่ไร้ซึ่งระบบแก้ปัญหา ป้องกันปัญหาอีกกี่ล้านล้าน ไม่สามารถจะใช้เงินซื้อได้"
    [​IMG]
    หลังจากแนวคิดหลักการ "น้ำดันน้ำ" ถูกเผยแพร่ออกไป ล่าสุด ได้มีการทำจดหมายเปิดผนึกออนไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์ www.petitiononline.com ส่งรัฐบาล และกรุงเทพมหานคร สนับสนุน "โมเดลน้ำดันน้ำ" แก้วิกฤติน้ำท่วมใหญ่ 2554 ตามลิงก์ สนับสนุน "โมเดลน้ำดันน้ำ" แก้วิกฤติน้ำท&ระบุว่า

    สืบ เนื่องจากการที่ นายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และนายอภิชาติ สุทธิศีลธรรม ซึ่งทั้งสองท่านเป็นนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์นั้น ได้ร่วมกันจัดทำคลิปวิดีโอเผยแพร่ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ 2554 โดยได้มีการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา ชี้ชวนให้เห็นถึงแนวทางในการปฏิบัติตัว เตรียมตัวของประชาชนต่อสถานการณ์ดังกล่าว อีกทั้งยังได้มีการนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯชั้นใน โดยการเสนอโมเดลการจัดการน้ำ "โมเดลน้ำดันน้ำ" ที่ใช้ปฏิบัติการมาแล้วและประสบความสำเร็จที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต

    ภาย ใต้โมเดลดังกล่าวนี้ ต้องการการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ต้องการการตัดสินใจที่เด็ดขาดของผู้นำทั้งนายกรัฐมนตรีและผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร ต้องการกระบวนการแก้ไขปัญหาที่เข้าใจถึงธรรมชาติของน้ำมากกว่าการเอาชนะ คะคาน และต้องการเสียงสนับสนุนจากทุกภาคส่วนภาคประชาชนที่จะต้องร่วมกันฝ่าวิกฤติ ครั้งนี้ด้วยกัน 

ดังนั้นจึงขอสนับสนุน "โมเดลน้ำดันน้ำ" ที่นายศศิน และนายอภิชาติ ได้นำเสนอไว้ [ame="http://www.youtube.com/watch?v=bmI5WnecYdA&sns=fb"]แนวทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพชั้นใน - YouTube[/ame] เพื่อให้รัฐบาล และกรุงเทพมหานครนำแนวทางโมเดลดังกล่าวไปดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน และเชื่อมโยงบูรณาการนักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ ภาคประชาสังคม ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขฝ่าวิกฤติครั้งนี้ .


    ที่มา:ชี้รัฐบาลต้องกล้าตัดสินใจใช้ 'โมเดลน้ำดันน้ำ' ป้องกัน กทม. - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
     
  5. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ขี้ผึ้งรักษาโรคผิวหนัง แก้มือเท้าเปื่อย

    รับมือน้ำท่วม


    ช่วงนี้ประเทศไทยเผชิญกับภาวะน้ำท่วมขังเกือบทั่วทั้งประเทศ ประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ประสบภัยและต้องเผชิญกับโรคเท้าเปื่อย น้ำกัดเท้า เป็นแผล ฮ่องกงฟุต สารพัดปัญหาโรคผิวหนัง ฉะนั้นอย่ารอช้ามาช่วยกันปรุงยาขี้ผึ้งรักษาโรคผิวหนังจากภาวะน้ำท่วมเก็บ ไว้ใช้กันดีกว่า

    สมุนไพรที่นำมารักษาโรคเชื้อราตามผิวหนังมีหลายตัว ใช้ทั้งแบบตำรับหรือแบบเดี่ยวก็ได้ เช่น ข่าแก่ เสลดพังพอน พญายอ กระเทียม ชุมเห็ดเทศ ทองพันชั่ง เปลือกมังคุด เปลือกทับทิม โดยนำเอาตัวยาสมุนไพรตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัวก็ได้ สับ โขลก แล้วนำไปแช่เหล้าขาว ทิ้งไว้ 15 วัน ให้กรองเอาน้ำยาออกมาใช้ทารักษาโรคผิวหนังได้ หรือนำมาทำเป็นขี้ผึ้ง

    ขี้ ผึ้งสมุนไพร เลือกเอาสมุนไพรที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นหรือสมุนไพรดังที่กล่าวมา นำมาหุงหรือเคี่ยวเอาน้ำมัน โดยเลือกใช้น้ำมันงาหรือน้ำมันมะพร้าว ตั้งไฟให้กระทะร้อนแล้วเอาไพลกับขมิ้นลงทอดก่อนจนเหลือง แล้วจึงเอากานพลูและอบเชยบุบพอแหลกใส่ลงไปทอดต่อจนยาสมุนไพรกรอบ จึงยกลงกรองเอาแต่น้ำมันพักไว้ เตรียมเป็นส่วนที่ 1 สำหรับส่วนที่ 2 ให้เตรียมเมนทอล การบูร พิมเสน ในอัตราส่วนเท่ากัน แล้วเอาสารสกัดสมุนไพรที่แช่เหล้าไว้ข้างต้นใช้ 2 ส่วน ผสมลงไปแล้วคนให้เข้ากัน พักไว้

    ส่วนที่ 3 คือวาสลินและพาราฟิน ซึ่งจะช่วยให้ยาแข็งตัว หรือจะใช้เทียนไขที่มีตามบ้านก็ได้ ใช้วิธีละลายแบบหม้อนึ่ง 2 ชั้น คือหม้อใบแรกใส่น้ำต้มให้เดือด หม้อใบที่ 2 ตั้งในหม้อต้มน้ำ แล้วเอายาที่เตรียมไว้ใส่ลงไปคนจนละลายแล้วจึงนำส่วนผสมส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 เทลงไป ยกลงไปแล้วคนให้เข้ากัน เตรียมบรรจุลงภาชนะที่เตรียมไว้ ถ้าต้องการขี้ผึ้งที่นุ่มก็ใส่ตัวยาส่วนที่ 3 น้อยลง ปรับความแข็งของขี้ผึ้งตามต้องการ สูตรต่อมาเป็นยาตำรับของอาจารย์มนาวุธ ผุดผาด หมอแพทย์ไทยชั้นครู เรียกว่า ขี้ผึ้งโรคผิวหนัง สรรพคุณ รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน หิด น้ำกัดเท้า แผลสด แผลเปื่อย ทาหัวริดสีดวงทวาร ตัวยาประกอบด้วยไพลแห้ง 40 กรัม สีเสียดเทศ ขมิ้นอ้อยจุนสี น้ำหนักยาอย่างละ 40 กรัม รากหนอนตายหยาก เมล็ดลำโพงอย่างละ 300 กรัม ใบสำมะงา ใบเตยหอม เปลือกต้นเลี่ยนอย่างละ 70 กรัม การบูร ยาฉุน อย่างละ 15 กรัม กำมะถันเหลือง 30 กรัม น้ำกะทิ 15 กิโลกรัม

    วิธีทำ นำกะทิตั้งไฟปานกลาง ตัวยาทั้งหมดคัดเลือกเอาฝุ่นและสิ่งสกปรกออก ตัวยาที่เป็นเนื้อไม้ให้สับเป็นชิ้นเล็กๆ ส่วนกำมะถัน จุนสี การบูร เตรียมไว้ต่างหาก สำหรับใส่ทีหลัง แล้วนำตัวยาลงกระทะทีละตัว คือ ยาฉุน ไพลแห้ง ขมิ้นอ้อย เมล็ดลำโพง รากหนอนตายหยาก เปลือกต้นเลี่ยนลงไป และใบเตยหอมสดเพื่อจะได้สีเขียวธรรมชาติ เมื่อกวนจะให้กลิ่นหอมเหมือนกาละแมร์ เคี่ยวด้วยไฟปานกลางประมาณ 6-8 ชั่วโมง เคี่ยวไปเรื่อยๆ กระทั่งเกิดขี้โล้ เห็นแต่น้ำมัน เมื่อเริ่มเป็นน้ำมันก็ใส่สีเสียดเทศลงไป ตามด้วยกำมะถัน ตำจุนสีให้เป็นผงละเอียด แล้วค่อยเติมลงไป กรองเอาแต่น้ำมัน แล้วโรยการบูรที่เตรียมไว้ลงไปคนให้เข้ากัน จะได้น้ำมันสีเขียว จากนั้นก็ทำเป็นขี้ผึ้ง โดยเอาวาสลีนหรือพาราฟิน หรือเทียนไขหลอมให้ละลายแล้วเติมตัวยาลงไป ก็จะได้ขี้ผึ้งเก็บไว้ใช้ประโยชน์
    ตัวยาต่างๆ ในตำรับนี้ มีสรรพคุณดังนี้ ไพล แก้เคล็ดขัดยอก ข้อเท้าแพลง แก้โรคผิวหนัง แก้ฝี ทาเคลือบแผล ป้องกันการติดเชื้อ ดูดหนองสมานแผล แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เป็นยาชาเฉพาะที่ สีเสียดเทศ ทาสมานแผล ห้ามเลือดกำเดา ใส่แผลริดสีดวง แผลเน่าเปื่อย ขมิ้นอ้อย แก้ฟกช้ำบวม อักเสบ จุนสี กัดล้างหัวแผล กัดหัวหูด คุดทะราด รากหนอนตายหยาก แก้โรคผิวหนัง ประดงผื่นคัน น้ำเหลืองเสีย ต้มเป็นยาฉุนรมหัวริดสีดวงให้ฝ่อ เมล็ดลำโพง น้ำมันจากเมล็ด รสเมาเบื่อ ปรุงยาใส่แผล แก้กลากเกลื้อน หิดเหา

    ใบสำมะงา ต้มน้ำอาบ แก้โรคผิวหนัง ประดง ผื่นคัน เปลือกต้นเลี่ยน แก้โรคผิวหนัง แก้โรคเรื้อน แก้พิษบาดแผล การบูร แก้ปวดตามเส้น เกลื่อนฝี แก้เคล็ดขัดยอกบวม แก้กระตุก แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นประสาท แก้รอยผิวหนังแตก แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย เป็นยาชาเฉพาะที่ แก้โรคผิวหนังเรื้อรัง ขับน้ำเหลือง บำรุงหัวใจ

    ยาฉุน ทาภายนอก แก้โรคผิวหนัง
    ทาป้องกันปลิงและทากเกาะฆ่าแมลง กำมะถันเหลือง ขับลมในกระดูก ฆ่าแม่พยาธิทั้งภายในภายนอก แก้โรคผิวหนังพุพอง น้ำเหลืองเสีย ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าแม่พยาธิทั้งภายในและภายนอก ใช้หุงน้ำมันทาแก้หิด ขับลมในกระดูก น้ำมันมะพร้าว บำรุงกระดูกและเส้น

    สูตร ต่อไปเป็นน้ำมันโบราณในคัมภีร์โอสถพระนารายณ์ ชื่อว่า น้ำมันมหาจักร
    สรรพคุณ ใช้หยอดหูแก้ลมวิงเวียน แก้ริดสีดวง แก้เปื่อยคัน ทาแก้ปวดเมื่อย ใส่บาดแผลที่มีอาการปวดบวมเป็นหนอง ตัวยาประกอบด้วย มะกรูดสด 30 ลูก เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน อย่างละ 7.5 กรัม ดีปลี 15 กรัม การบูร 30 กรัม น้ำมันงา 15 กิโลกรัม

    วิธีทำ นำน้ำมันงาตั้งไฟให้ร้อน สมุนไพรตัวอื่นๆ ให้คัดแยกทำความสะอาดเอาฝุ่นและตัวยาที่เสียทิ้ง สำหรับมะกรูดล้างให้สะอาดแล้วผ่าครึ่ง เมื่อกระทะร้อนเอามะกรูดลงก่อน จากนั้นก็ทะยายเติมยาตัวอื่นๆ ลงไป ยกเว้นการบูร เมื่อเคี่ยวทิ้งไว้ด้วยไฟปานกลางนาน 3-4 ชั่วโมงก็ยกลง กรองเอาน้ำมันแล้วเติมการบูร จะทำเป็นขี้ผึ้งก็หลอมพาราฟินหรือวาสลีน หรือเทียนไขแล้วเติมน้ำมันยาลงไป เทบรรจุใส่ภาชนะเก็บไว้ใช้

    ตัวยาต่างๆ ในตำรับนี้ มะกรูดสดแก้คัน มีน้ำมันหอมระเหย ส่วนเทียนทั้ง 5 คือ เทียนดำ เทียนแดง เทียนขาว เทียนข้าวเปลือก เทียนตาตั๊กแตน มีน้ำมันหอมระเหยช่วยฆ่าเชื้อและกระจายลม แก้ลมขับผายลม ปลายมือปลายเท้าเย็น ดีปลี แก้ปวดกล้ามเนื้อ แก้อักเสบ เพียงเท่านี้ท่านก็ได้น้ำมันสมุนไพรเก็บไว้ใช้รับมือโรคผิวหนัง ต่างๆ ได้แล้ว.



    ฟ้าทะลายโจร โดยตำรับยาไทย มีขนาด และวิธีการใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อการรักษา 4 วิธี คือ

    • ยาชง ใช้ใบ 5-7 ใบ จะเป็นใบสดหรือแห้งก็ได้ แต่ใบสดจะมีสรรพคุณดีกว่า เติมน้ำเดือดลงไปจนเกือบเต็มแก้ว ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงหรือพอให้ยาอุ่นแล้วรินน้ำกิน ครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร
    • ยาต้ม ใช้ฟ้าทะลายโจรทั้งต้นและใบจำนวน 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 3-4 แก้ว ให้เดือดนาน 10-15 นาที ถ้าต้มให้เดือดไม่นานพอ ยาจะมีกลิ่นเหม็นเขียว กินยาก ควรกินยาในขณะที่น้ำยาอุ่น กินครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร สามารถกลบรสขมได้ด้วยการกินของรสเปรี้ยว เค็มตาม
    • ยาเม็ด นำมาทำเป็นยาเม็ดได้ด้วยการเด็ดใบสดมาล้างให้ สะอาด ตากแดด 1-2 วัน จนใบแห้งกรอบสีเขียวเข้ม บดเป็นผงให้ละเอียด ปั้นกับน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมเป็นเม็ดขนาดเท่าเม็ดถั่วเหลือง แล้วผึ่งลมให้แห้ง เพราะถ้าปั้นกินขณะที่ยังเปียกอยู่จะขมมาก กินครั้งละ 5-10 เม็ด วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร
    • ยาแคปซูล ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากเนื่องจากสะดวก ด้วยการเอาผงยาที่ได้เหมือนยาเม็ดมาปั้นเล็กๆ ใส่แคปซูลเพื่อช่วยกันรสขมของยา แคปซูลที่ใช้ ให้ใช้ขนาดเบอร์ ๐ หรือประมาณ 400-500 มิลลิกรัมของผงแห้ง กินครั้งละ 2-4 แคปซูล วันละ 3-4 ครั้งก่อนอาหาร
    การใช้ฟ้าทะลายโจรที่ให้ผลดีและออกฤทธิ์ได้เร็วที่สุดในการแก้ไข้หวัดคือถ้า เริ่มรู้สึกว่าครั่นเนื้อครั่นตัวทำท่าว่าจะเป็นไข้ ให้รีบรับประทานทันที


    ฟ้าทะลายโจรนอกจากจะมีสรรพคุณในการลดไข้ แก้หวัดแล้ว ยังเป็นสมุนไพรที่สามารถรักษาอาการท้องเสียโดยไม่ทำให้หยุดถ่ายทันทีได้ วิธีใช้คือเมื่อเริ่มมีอาการให้รีบผสมผงเกลือแร่ดื่มทันทีไม่ควรรับประทานยา แก้ท้องเสียหรือยาปฏิชีวนะ แล้วใช้ฟ้าทะลายโจรขนาด 2 กรัมต่อวันแบ่งให้ 2 ครั้ง เป็นเวลา 2 วัน ฟ้าทะลายโจรจะทำให้การขับถ่ายเป็นปกติและมีประสิทธิภาพในการรักษาดีกว่าการ ใช้ยาปฏิชีวนะ ยกเว้น ในรายที่ติดเชื้ออหิวาตกโรค ควรนำส่งโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลโดยด่วน




    [​IMG]
    ขิง สมุนไพรในครัว ก็นำมาใช้แก้หวัดได้ เราสามารถทำน้ำขิง พิชิตหวัด และแก้ไอ ตามตำรายาพื้น บ้านไทย ได้ไม่ยากนัก ด้วยการใช้ขิงแก่สดล้างสะอาดทุบให้พอบุบ โดยไม่ต้องขูดเปลือกทิ้ง ประมาณ 1 ถ้วย น้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ และน้ำสะอาด 3 ลิตร ต้มให้เดือดแล้วลดไฟลง เคี่ยวด้วยไฟอ่อนไปเรื่อยๆ จนน้ำขิงกลายเป็นสีเหลือง เติมน้ำตาลหรือน้ำผึ้งตามใจชอบ เพียงเท่านี้เราก็จะได้เครื่องดื่มที่มีสรรพคุณต้านหวัดได้



    กระเทียม สมุนไพร สารพัดประโยชน์ คู่ครัวไทยอีกหนึ่งตัว เพียงรับประทานกระเทียมสดเป็นประจำสามารถป้องกันหวัดและลดระยะเวลาการเป็น หวัดได้ ในฤดูกาลที่มีการระบาดของหวัดควรรับประทานกระเทียมในรูปแบบต่างๆเป็นประจำ กระเทียมช่วยทำให้การหายใจโล่งขึ้นอีกด้วย


    ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ยังแนะนำวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคหวัดอย่างง่ายๆ ด้วยการทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย ใช้ผ้าปิดปากเวลาไอจาม ล้างมือให้สะอาด ใช้ช้อนกลาง รวมทั้ง พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานเครื่องเทศที่มีรสเผ็ดร้อน สมุนไพรที่มีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย อย่าง ตระไคร้ กระเพรา บัวบก พลูคาว หรือ หอมแดง หอมใหญ่ ผักชีฝรั่ง ใบหม่อน และใบฝรั่ง ที่อุดมด้วยสาร Queritin รวมทั้งผัก ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงๆ อย่าง มะขามป้อม มะนาว ส้ม ผลยอ หรือ ผลไม้ที่มีสีแดง เป็นสมุนไพรที่ควรจะนำมารับประทานเป็นประจำในช่วงนี้ และ ดื่มน้ำอุ่นมากๆ นอกจากนี้การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการได้รับแสงแดดบ้างจะช่วยเพิ่มวิตามินดี ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทาน และภูมิคุ้มกันดีขึ้น


    ยาเม็ดสมุนไพร
    นอกจากนี้ยังมีการใช้สมุนไพรทาภายนอก หากถูกแมลงสัตว์กัดต่อย มีอาการปวดบวมแดงร้อนบริเวณถูกกัดต่อย ควรรีบทำความสะอาด และใช้สำลีหรือผ้าก๊อซชุบน้ำสมุนไพรที่มีความเป็นกรด เช่น น้ำมะนาว น้ำส้ม มะขามเปียกโปะไว้ หรือ นำส่วนที่ถูกกัดจุ่มไว้จนกว่าจะหายปวด ซึ่งพิษของสัตว์มีพิษทุกชนิดเป็นสารพวกโปรตีนจึงถูกทำลายได้ด้วยสารที่มี ฤทธิ์เป็นกรด ซึ่งในสมัยก่อนนิยมใช้เขาสัตว์ ขนเม่น เปลือกหอย หรืออะไรที่มีแคลเซียมฝนกับน้ำมะนาว ทาบ่อยๆ หรือใช้ มะขามเปียกผสมปูนแดงเล็กน้อย ทาแปะไว้ ซึ่งหลังถูกกัดต่อยควรรีบทำทันทีก่อนที่พิษจะก่อให้เกิดการอักเสบมากขึ้น หรืออาจใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบตำพอก เช่น ใบเสลดพังพอนทั้งตัวเมียและตัวผู้ ใบตำลึง ใบรางจืด ตำหรือปั่นให้ละเอียดผสมน้ำเล็กน้อยพอกไว้ หรือ สามารถใช้ใบรางจืดประมาณ 7-10 ใบต้มน้ำกิน แต่ถ้ามีอาการมากควรใช้การตำหรือปั่นใส่น้ำซาวข้าวกินด้วย เพื่อลดความรุนแรง

    สมุนไพรจำพวก ตะไคร้หอม ใบกระเพรา ใบเสลดพังพอนตัวผู้หรือตัวเมีย ตำ คั้นน้ำ หรือ นำไปตากในที่ร่มแล้วบดเป็นผง นำมาทาตัวเพื่อป้องกันยุงกัดได้ ยุง เป็นสัตว์พาหะที่มักจะมาพร้อมกับน้ำท่วมขัง หากยุงกัดเป็นตุ่ม บวม แดง ให้ใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบทาบริเวณที่เป็น ที่นิยมคือ ปูนแดง ซึ่งได้จากปูนขาวผสมกับขมิ้น หรืออาจใช้ผงขมิ้นละลายน้ำ ขมิ้นเป็นสีย้อมอาจทำให้เลอะเปรอะเปื้อนเสื้อผ้าได้ เพียงเท่านี้เราก็สามารถใช้ภูมิปัญญาไทยดูแลรักษาสุขภาพของตนเองและคนในครอบ ครัวเบื้องต้นได้


    ข้อมูลจาก:http://www.samunpri.com/?p=3452
    <cite>www.thaipost.net/tabloid/161011/46622</cite>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2011
  6. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    1. รูปตัดพื้นที่ กทม.

    - ระดับถนนวงแหวนรอบนอก +2.40 m (น่าจะทั้งตะวันตก และ ตะวันออก)
    - ระดับคันกั้นน้ำริมเจ้าพระยา +2.50 m (10/10/54 ระดับน้ำประมาณ +2.00 m)
    - ระดับคันกั้นน้ำพระราชดำริ ไม่มีข้อมูล (ด้านขวาน่าจะมีวงแหวนตะวันออกอีกแนวนึง)
    [​IMG]


    2. ผังแนวป้องกันของ กทม.

    - ดูภาพขนาดใหญ่ที่นี่ http://dds.bangkok.go.th/News_dds/information/BKK_Flood.pdf
    [​IMG]


    3. ผังแนวคันกั้นน้ำพระราชดำริ-คันกั้นเจ้าพระยา

    [​IMG]


    4. ผังแนวถนนวงแหวนรอบนอก และ คันกั้นน้ำพระราชดำริ-คันกั้นเจ้าพระยา


    - พื้นที่ในวงแหวนรอบนอกแต่อยู่เหนือแนวคันกั้นน้ำ น่าจะกันได้เฉพาะน้ำผิวดิน แต่จะกันน้ำเจ้าพระยาล้นตลิ่งไม่ได้

    [​IMG]


    5. ผังเส้นทางน้ำ กทม.

    [​IMG]


    6. ระยะเวลาการไหลของน้ำ และ การคาดการณ์ปริมาณ

    [​IMG]

    ที่มา:http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=2743.msg21812#msg21812
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2011
  7. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    โดย คุณตัน ภาสกรนที

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]


    ใครใช้ Smart Phone โหลดโปรแกรม Current Elevation วัดระดับน้ำนี้มาใส่เครื่องไว้ครับ ที่อยู่ของเราตอนนี้สูงจากระดับน้ำทะเลเท่าไหร่

    App นี้ จะทำให้รู้ว่าจุดที่คุณอยู่ถ้าโดนน้ำท่วมจะมีความสูงของน้ำเท่าไหร่ คำนวนง่ายๆ ระยะความสูงที่ปลอดภัยในบ้านเราคือ 8 เมตร ให้นำตัวเลขความสูงจากระดับน้ำทะเลของที่ได้มาจากที่คุณอยู่ บวกไปอีก 1.5-2.0 เมตร แล้วนำ 8 มาลบ (ระยะปลอดภัย )
    จะได้เป็นปริมาณน้ำที่คุณอาจจะต้องเจอเมื่อเกิดน้ำท่วม เตรียมรับมือและป้องกันให้ดีที่สุดนะครับ

    ตัวอย่างในรูปนี้ ก็ 3.5+1.5 = 5.0
    เอา 8 มาลบ 8.0-5.0 = ถ้าแถวนี้น้ำมาก็มีสิทธิที่น้ำจะสูงถึง 3 เมตรครับ

    โหลด Current Elevation ฟรี ได้ที่

    App Store - Current Elevation
     
  8. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร ร่วมกับบริษัท AMR Asia เปิดเว็บไซต์ให้ประชาชนทั่วไปตรวจสอบระดับน้ำในคลอง และระดับน้ำบนถนนสายต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร แบบสดๆ ทันสถานการณ์ โดย “ระดับน้ำในคลอง” ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ ระบบตรวจวัดระดับน้ำในคลองหลัก 'ระดับน้ำบนถนน' ตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์ ระบบตรวจวัดน้ำท่วมบนถนน

    [​IMG]
    [​IMG]

    ที่มา:http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=2743.msg21812#msg21812
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2011
  9. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]
    [​IMG]



    แถลงการณ์ฉบับที่ 2 โดยศูนย์ข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย - Thaiflood.com

    แถลงการณ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ชาวกรุงเทพเตรียมรับมือสถานการณ์ในอีก 24 ชั่วโมง (ช่วยบอกต่อให้ได้มากที่สุด)

    1. ผู้ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้อื่น ให้เร่งทำภารกิจแรกคือ ดูแลครอบครัวให้ปลอดภัย ท่านจะมีแรงกายแรงใจไปช่วยคนได้อีกมาก

    2. ขอให้ทุกภาคส่วนลดภารกิจการแจกถุงยังชีพตามบ้าน เพิ่มภารกิจการสนับสนุนศูนย์พักพิงให้มีศักยภาพ รีบพาคนออกมาให้เร็ว

    3. เตรียมพลังงานสำรอง เช่น แบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือชาร์จให้เต็ม ไฟฉายฉุกเฉิน ไฟแช็คจุดไฟ สำรองน้ำมันในถังที่ปลอดภัย

    4. เร่งสำรองน้ำสะอาดในภาชนะเท่าที่หาได้ เลี่ยงการบริโภคน้ำที่สงสัยว่าจะปนเปื้อนสารเคมี จนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม

    5. ขอให้รัฐบาลประกาศแผนการอพยพที่มีข้อมูลละเอียดชัดเจน ต้องร่วมบูรณาการกับภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่เสี่ยงทุกแห่ง


    =============================================

    วิธีทำน้ำให้สะอาด

    1.การกลั่น คือกระบวนการต้มของเหลวให้กลายเป็นไอ และไอควบแน่นให้เป็นของเหลว จะทำให้ได้ของเหลวหรือน้ำที่สะอาดบริสุทธิ์ที่สุด

    [​IMG]

    2.การก รอง เป็นวิธีที่แยกสารที่ไม่ละลายน้ำออกจากน้ำ โดยผ่านกระดาษกรองหรือวัสดุที่ใช้กรอง เช่น กรวด หิน ดิน ทราย ถ่าน ฯลฯ ในปัจจุบันได้มีการประดิษฐ์เครื่องกรองที่ใช้วัสดุต่าง ๆ กัน เครื่องกรองบางชนิดใช้ไส้กรองซึ่งทำด้วยเซรามิค สารช่วยดูดซับสี เพื่อทำให้น้ำมีความสะอาดมากขึ้น แต่การกรองไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้


    [​IMG]


    3.การ ต้ม เป็นวิธีทำน้ำให้สะอาดที่สะดวกและประหยัด ทำได้ด้วยการนำน้ำใส่กาต้มน้ำหรือภาชนะอื่นที่ทนไฟ แล้วนำน้ำไปผ่านความร้อนด้วยการต้มให้เดือด น้ำที่ต้มแล้วเหมาะแก่การดื่มเพราะผ่านการฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อนแล้ว

    [​IMG]


    4.การ ตกตะกอน เป็นวิธีการทำน้ำให้สะอาด โดยการใช้สารส้มแกว่งในน้ำจะทำให้สิ่งที่เจือปนอยู่ในน้ำตกตะกอนสามารถนำไป ใช้อาบและซักผ้า แต่ไม่เหมาะที่จะนำมาดื่ม เพราะยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรค


    <table style="table-layout: fixed;" border="0" width="100%"><tbody><tr><td colspan="2" class="smalltext" align="center" width="100%">
    </td></tr><tr><td colspan="2" class="smalltext" width="100%">
    </td></tr></tbody></table>ที่มา:http://www.prommapanyo.com/smf/index.php?topic=2743.msg21812#msg21812
     
  10. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สำหรับท่านที่คิดว่ายังพอมีเวลาและยังไม่แน่ใจว่าโมเดลนี้เกี่ยวกับอะไร ขอเชิญท่านดูรายละเอียดด้านล่างได้นะครับแต่ส่วนตัวผมมั่นใจว่าวิธินี้ได้ผลค่อนข้างแน่นอนทีเดียวครับ

     
  11. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ใช้ทางธรรมช่วย! พระสงฆ์พิจิตรเทศนาฟื้นฟูจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม

    [​IMG]




    [​IMG]



    [​IMG]






    กราบมหาอนุโมทนาสาธุการพระคุณเจ้า และชนชาวไทยค่ะ


    ไม่ลืมเตรียมจัดหาเมล็ดพันธุ์พืช ปลูกผักสวนครัว
    รั่ว/กระถาง/อ่าง/กะละมัง/แขวนลอย
    ไว้กินอยู่ ตามหลักพอเพียงกันนะคะ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2011
  12. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน สายด่วน

    <table class="MsoNormalTable" style="width:92.0%;mso-cellspacing:0cm;mso-padding-alt:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="92%"> <tbody><tr style="mso-yfti-irow:0;mso-yfti-firstrow:yes"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักนายกรัฐมนตรี
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    1111
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:1"> <td style="width:52.0%;background:#FFFFE6;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย)
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FFFFE6;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    1784
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:2"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> บริการแพทย์ฉุกเฉิน และนำส่งโรงพยาบาล ฟรี
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    1669
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:3"> <td style="width:52.0%;background:#FFFFE6;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FFFFE6;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    1146
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:4"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> ตำรวจทางหลวงสอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    1193
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:5"> <td style="width:52.0%;background:#FFFFE6;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> การรถไฟแห่งประเทศไทย
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FFFFE6;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    1690
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:6"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สายด่วน กฟภ.
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    1129
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:7"> <td style="width:52.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> ท่าอากาศยานไทย
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    02-535-1111
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:8"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> ขอความช่วยเหลือ-พื้นที่น้ำท่วมกับไทยพีบีเอส
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    02-790-2111 หรือ sms มาที่ 4268822
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:9"> <td style="width:52.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-2243-6956
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:10"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลพบุรี
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-3641-4480-1 , 0-3641-1936
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:11"> <td style="width:52.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิษณุโลก
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-5523-0537-8 , 0-5523-0394
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:12"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พระนครศรีอยุธยา
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-3533-5798 , 0-3533-5803
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:13"> <td style="width:52.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.พระนครศรีอยุธยา
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    035 – 241-612
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:14"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ตาก
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-5551-5975
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:15"> <td style="width:52.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สิงห์บุรี
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-3652-0041
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:16"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อ่างทอง
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-3564-0022
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:17"> <td style="width:52.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครสวรรค์
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-5625-6015
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:18"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นนทบุรี
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-2591-2471
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:19"> <td style="width:52.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ปทุมธานี
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-2581-7119-21
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:20"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.พิจิตร
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-5661-5932
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:21"> <td style="width:52.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครนายก
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-3738-6209 , 0-3738-6484
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:22"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุพรรณบุรี
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-3553-6066-71
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:23"> <td style="width:52.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สระบุรี
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-3621-2238
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:24"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.สุโขทัย
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-5561-2415
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:25"> <td style="width:52.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดอุทัยธานี
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-5652-4461
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:26"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุตรดิตถ์
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-5544-4132
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:27"> <td style="width:52.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำปาง
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-5426-5072-4
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:28"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เชียงใหม่
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-5321-2626
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:29"> <td style="width:52.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ลำพูน
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-5356-2963
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:30"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุบลราชธานี
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-4531-2692 , 0-4531-3003
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:31"> <td style="width:52.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.เลย
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-4286-1579 , 0-4296-1581
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:32"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.ชัยนาท
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    0-5641-2083
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:33"> <td style="width:52.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> ผู้เดือดร้อนจากน้ำท่วม กทม ปริมณฑลและภาคกลาง ติดต่อ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 1
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    02-281-5443
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:34"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> ศูนย์อุทกวิทยาที่1จังหวัดเชียงใหม่
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    053-248925, 053-262683
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:35"> <td style="width:52.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบิน 41 จ.เชียงใหม่ พร้อมช่วยเหลือประชาชน
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    053-202609
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:36"> <td style="width:52.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> ศูนย์เฉพาะกิจป้องกันสัตว์อันตราย สวนสัตว์เชียงใหม่ แจ้งจับ
    </td> <td style="width:48.0%;background:white;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    053-222-479 ( 24 ชั่วโมง )
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:37;mso-yfti-lastrow:yes"> <td style="width:52.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="52%"> สนง.ชลประทานจังหวัดสมุทรสาคร
    </td> <td style="width:48.0%;background:#FBFFFF;padding:4.5pt 4.5pt 4.5pt 4.5pt" width="48%">
    034-881175, 034-839037 ต่อ 11
    </td> </tr> </tbody></table> ​



    <table class="MsoNormalTable" style="width:92.0%;mso-cellspacing:0cm;mso-padding-alt:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="92%"> <tbody><tr style="mso-yfti-irow:0;mso-yfti-firstrow:yes"> <td style="width:3.0%;background:white;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt" width="3%">
    »
    </td> <td style="width:97.0%;background:white;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt" width="97%"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.น่าน โทร. 054-741061 [​IMG]
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:1"> <td style="width:3.0%;background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt" width="3%">
    »
    </td> <td style="width:97.0%;background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt" width="97%"> ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกองทัพไทยที่ ต.แงง อ.ปัว จ.น่าน โทร. 054-792433 [​IMG]
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:2"> <td style="width:3.0%;background:white;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt" width="3%">
    »
    </td> <td style="width:97.0%;background:white;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt" width="97%"> ศูนย์อํานวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม ปี 2554 จ.น่าน ณ ศาลากลางจังหวัด โทร. 054-710-232 [​IMG]
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:3"> <td style="width:3.0%;background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt" width="3%">
    »
    </td> <td style="width:97.0%;background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt" width="97%"> สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) 1784 รับแจ้งเหตุน้ำท่วม 24 ชั่วโมง
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:4"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> สายด่วน กรมชลประทาน โทร 1460 หรือ 02 669 2560 (24 ชั่วโมงช่วงวิกฤติ)
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:5"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> ผู้ประสบภัยทางภาคใต้ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ กองทัพภาคที่ 4 โทร 075 -383405,075-383253
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:6"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> แจ้งขอความช่วยเหลือและปัญหาน้ำท่วม ได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยไทยพีบีเอส โทร. 02-791-1113 หรือ 02-791-1385-7
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:7"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม โรงเรียนเทศบาล1 ตลาดเก่า จ.กระบี่ โทร 0-7566-3183
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:8"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> เทศบาลนครนครศรีธรรมราช 199, 075-348-118, 075-342-880-3 ตลอด 24 ชม.
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:9"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> สายด่วน กรมทางหลวง 1586 ตลอด 24 ชั่วโมง
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:10"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> ศูนย์ปลอดภัยคมนาคม 1356
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:11"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท 1146
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:12"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> การรถไฟแห่งประเทศไทย 1690
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:13"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 1490
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:14"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> ตำรวจทางหลวง โทร. 1193 สอบถามเส้นทางน้ำท่วม ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:15"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร 1669 กู้ชีพฟรี 24 ชั่วโมง
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:16"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย นครศรีธรรมราช โทร. 075 358 440-4 รับเรื่องตลอด 24 ชั่วโมง
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:17"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> รพ. เทศบาลนครนครศรีฯ หากต้องการความช่วยเหลือ สามารถโทรติดต่อได้ที่ 075 356 438 หรือ 075 356 014 ตลอด 24 ชั่วโมง
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:18"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> ม.วลัยลักษณ์ ตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม บริเวณอาคารกิจกรรมนักศึกษา โทร. 0 7567 4013 ต่อ 4013
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:19"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> มูลนิธิประชาร่วมใจ นครศรีฯ พร้อมกู้ภัย โทร. 075 345 599
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:20"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> มูลนิธิมหากุศลใต้เต็กเซี่ยงตึ๊ง ต้องการความช่วยเหลือ โทรแจ้ง 075 343 602 ความถี่ 168.775MHz. ความถี่ 245 MHz. ช่อง 35 ตลอด 24 ชั่วโมง
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:21"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> ท่าอากาศยานไทย 02 535 1111
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:22"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> บางกอกแอร์เวย์ส (Bangkok Airways) 1771
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:23"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> นกแอร์ (Nok Air) 1318, 02900 9955
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:24"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> นกแอร์ นครศรีธรรมราช 075 369 325
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:25"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> นกแอร์ สุราษฎร์ธานี 077 441 275-6
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:26"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> แอร์เอเชีย 02 515 9999
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:27"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 075-763-337 หรือ 1129 ตลอด 24 ชั่วโมง
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:28"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครศรีธรรมราช 0 7535 6044
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:29"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอท่าศาลา 0 7552 1180
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:30"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอสิชล 0 7577-1666, 0 7577 1592
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:31"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุราษฎร์ธานี 0 7727-2132
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:32"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเกาะสมุย 0 7742 0995
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:33"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช 0 7534 0250
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:34"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือ จ.สุราษฏร์ธานี "สภาองค์กรชุมชนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย สุราษฏร์ธานี" ผู้ประสานงาน นายศุภวัฒน์ กล่อมวิเศษ โทร. 082-814-9381 , นายประวีณ จุลภักดี โทร. 081-397-7442
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:35"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย จ. ชุมพร โทร. 077- 502-257 หรือ 077-503-230 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:36"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> ศูนย์อำนวยการป้องกันสาธารณภัย จ.พัทลุง โทร.074-620-300 และ 074-611-652 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:37"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ. สุราษฎร์ธานี โทร 077-275-550-1 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:38"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ. กระบี่ โทร 075-612- 639 หรือ 075-612-649 หรือ 075-612-735 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:39"> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="background:whitesmoke;padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> กรมสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง
    </td> </tr> <tr style="mso-yfti-irow:40;mso-yfti-lastrow:yes"> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt">
    »
    </td> <td style="padding:3.75pt 3.75pt 3.75pt 3.75pt"> คปภ. นครศรีธรรมราช - ศูนย์รับแจ้งเหตุผู้ประสบภัยน้ำท่วม ด้านการประกันภัย โทร. 075-347322, 081-1748941




    ในสถานการณ์และในยามที่ประสบทุกข์ ไม่ควรไปซ้ำเติมทุกข์ให้กัน ทะเลาะกันไปทะเลาะกันมา โทษกันไปโทษกันมาคงไม่มีประโยชน์อะไร
    เพราะมันให้ผลแล้ว ตั้งคำถามและหาคำตอบดูด้วยตนเอง ให้ร่วมกันฝ่าฝันวิกฤติไปด้วยดีแล้วค่อยว่ากัน ควรให้กำลังใจ ไม่แบ่งพรรค แบ่งพวกแบ่งฝ่าย แบ่งสาย แบ่งชนชนชั้น ลูกพี่ก็ต้องช่วยลูกน้อง ลูกน้องก็ช่วยลูกพี่ นายจ้างก็ต้องเห็นใจลูกจ้าง ลูกจ้างก็ต้องเห็นใจนายจ้าง ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เราอยู่ในโลกนี้คนเดียวไม่ได้ วันนี้เราช่วยเขา วันหน้าเขาอาจจะช่วยหรือไม่ช่วย ไม่เป็นไร เราไม่คาดหวัง เราช่วยเขาแล้วก็ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลที่บริสุทธิ์และยิ่งใหญ่ แล้วทำให้ใจมันดีขึ้น มีพลังกำลังใจดีขึ้น และมีความสุขนั่นแหล่ะบุญที่เกิดในขณะปัจจุบันทันตาเห็น เงินทองถ้ายังพอมีชีัวิตมีลมหายใจ ก็ยังพอหาได้ เติบโตกันมาได้ถึงขนาดก็ไ่ม่ใช่ใครคนใดคนหนึ่ง ถึงจะอยู่รอดไปด้วยกันได้ เพราะสุดท้ายถ้ามันจะพังจริงๆมันก็พังกันหมดแล้วจะเหลืออะไร มีอะไรที่พอช่วยได้ ก็ช่วยกันตามกำลังความสามารถของตน ในยามสถานการณ์แบบนี้สิ่งที่พอจะเห็นได้คือความรักใคร่ สามัคคี การมีน้ำใจซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือช่วยแก้ปัญหา ซึ่งก็เป็นบทพิสุจน์ภาวะของตัวเอง และภาวะของผู้นำด้วยในแต่ละฝ่ายเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อความปลอดภัยในชีวิต

    ขอเป็นกำลังใจใ้ห้กับทุกท่าน ทุกหน่วยงาน ทุกฝ่าย ให้ผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยดีนะครับ

    (ฝากช่วยประชาสัมพันธ์กระทู้นี้ด้วยนะครับ)
    </td> </tr> </tbody></table> ​

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2011
  13. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    "น้ำ" เป็นมิตรกับ "น้ำ"

    [​IMG]

    วันนี้ ได้สื่อสารกับพี่สาว ซึ่งอยู่ในสถานการณ์น้ำมาระยะหนึ่ง ความว่า น้ำล้อมรอบบ้านเริ่มส่งกลิ่น พี่สาวได้ใช้น้ำหมักชีวภาพเทรดน้ำท่วมขัง เพื่อรักษาสภาพน้ำ (โชคดีที่ได้มีไว้ใช้ประโยชน์จำนวนหนึ่งกันมานานแล้ว)


    ขออนุญาตนำเสนอการทำน้ำชีวภาพค่ะ แต่หากท่านใดต้องการเร่งด่วน ลองติดต่อไปที่โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒายั่งยืน กฟผ. หรือรับฟรีได้ที่เขื่อนสิริกิติ์ค่ะ


    [​IMG]




    การทำ EM จากเศษผักผลไม้ <o></o>


    EM ย่อมาจาก Effective Microorganisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่ง Dr.Teruo Higa ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวนมหาวิทยาลัยริวคิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ได้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2526
    <o></o>

    อีเอ็ม หรือน้ำจุลินทรีย์ มีลักษณะเป็นของเหลว สีน้ำตาลดำ มีกลิ่นอมเปรี้ยวอมหวาน ค่า พีเอช อยู่ที่ประมาณ 3.5 ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่มีชีวิตจำนวนมากกว่า 80 ชนิด จึงไม่สามารถใช้ร่วมกับสารเคมี หรือยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อต่างๆ ได้ <o></o><o></o>

    อีเอ็ม ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น คน สัตว์ พืช และแมลงที่เป็นประโยชน์ แต่ช่วยปรับสภาพความสมดุลของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ถ้านำไปใช้ในการล้างตลาด จะช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น ลดจำนวนสัตว์และแมลงพาหะนำโรค ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก อีเอ็ม จะทำงานในที่มืดได้ดี ดังนั้น การล้างตลาด ควรกระทำในช่วงเวลาเย็น เพื่อให้การกำจัดสิ่งสกปรกทั้งหลายเป็นไปอย่างเต็มประสิทธิภาพ <o></o>

    ลักษณะเฉพาะของ อีเอ็ม คือ เป็นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ ดังนั้น เวลาจะใช้ อีเอ็ม ต้องคิดอยู่เสมอว่า อีเอ็ม เป็นสิ่งมีชีวิต ต้องการที่อยู่ที่เหมาะสมในอุณหภูมิปกติ ไม่ร้อนเกินไป หรือเย็นเกินไป ต้องการอาหารจากธรรมชาติ เช่น น้ำตาล รำข้าว โปรตีน และสารประกอบอื่น ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เราจึงสามารถขยายหรือผลิต อีเอ็ม ได้เองจากพืชผักผลไม้และผลผลิตจากธรรมชาติ โดยนำไปหมักตามกรรมวิธีที่ถูกต้อง <o></o>

    การผลิต อีเอ็ม เพื่อใช้ในกิจกรรมตลาดสด หรือกิจกรรมอื่นใดก็ตาม ก่อนอื่นต้องผลิต หัวเชื้อจุลินทรีย ในปริมาณตามที่ต้องการ แล้วจึงนำหัวเชื้อที่ได้ไปขยายเป็น อีเอ็ม อีกทีหนึ่ง
    <o></o>

    ขั้นตอนการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์
    เริ่มจากการนำผักผลไม้มาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปใส่ภาชนะปิดฝาให้มิดชิด ขั้นตอนต่อมาให้นำผักผลไม้ไปผสมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ในอัตราส่วน 3 กิโลกรัม ต่อน้ำตาล 1 กิโลกรัม จากนั้นคลุกเคล้าให้เข้ากัน เมื่อดูว่าส่วนผสมต่างๆ เข้ากันดีแล้ว ให้ปิดฝาทิ้งไว้ แล้วควรหมั่นกวนทุก ๆ 5-7 วัน เพื่อให้เศษผักสัมผัสกับอากาศ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการย่อยสลายได้ดีขึ้น โดยหมักทิ้งไว้ 1-2 เดือน เมื่อครบกำหนดจะสังเกตเห็นมีน้ำออกมาผสมอยู่ ซึ่งน้ำที่ได้จากการหมักนี้ก็คือน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์นั่นเอง ส่วนการเก็บรักษานั้นให้นำน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่ได้ รินเก็บใส่ไว้ในขวดปิดฝาให้สนิท พร้อมที่จะเอาไปใช้ประโยชน์หรือนำไปใช้หมักทำน้ำจุลินทรีย์ (EM) ต่อไป<o></o>
    <o></o>


    ขั้นตอนการทำน้ำจุลินทรีย์ (EM)
    วิธีการจะคล้าย ๆ กับการทำน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ต่างกันตรงที่ ระยะเวลาในการหมักจะสั้นกว่าเท่านั้นเอง
    <o></o>
    ก่อนอื่นเราต้องเตรียมอุปกรณ์การทำ ดังนี้



    <o>>[​IMG]</o>


    1. ถังพลาสติกมีฝาปิด
    2. ถุงปุ๋ย
    3. กากน้ำตาล (โมลาท) หรือน้ำตาลทรายแดง
    4. หัวเชื้อจุลินทรีย์
    5. เศษผักผลไม้ เศษอาหาร



    [​IMG]



    1. ถังพลาสติกมีฝาปิด
    <o>
    <o>[​IMG]</o>
    <o>
    2. ถุงปุ๋ย </o>
    <o>
    <o>[​IMG]</o></o></o>​
    <o>

    </o>
    3. กากน้ำตาล (โมลาท) หรือน้ำตาลทรายแดง
    <o>
    </o>

    <o>[​IMG]</o>​



    4. หัวเชื้อจุลินทรีย์


    [​IMG]

    5. เศษผักผลไม้ เศษอาหาร

    <o>
    </o>

    เมื่อเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมแล้ว ก็มาสู่ขั้นตอนการหมัก
    <o></o>
    ขั้นตอนแรกใส่น้ำลงไปในถัง จำนวน 8 ลิตร ถ้าหากใช้น้ำประปา ควรใส่ถังเปิดฝาทิ้งไว้ 2 วัน เพื่อให้คลอรีนระเหยไปเสียก่อน
    <o></o>
    ขั้นตอนที่ 2 นำกากน้ำตาล 250 ซีซี. หรือน้ำตาลทรายแดง 300 กรัม (ประมาณ 3 ขีด) เทใส่ลงไป คนให้ละลาย

    ขั้นตอนที่ 3 นำน้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ 250 ซีซี. ผสมลงไป คนให้เข้ากัน

    ขั้นตอนที่ 4 เมื่อคนส่วนผสมต่าง ๆ เข้ากันดีแล้ว ให้นำเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงไปในถุงปุ๋ย แล้วนำถุงปุ๋ยนั้นใส่ลงในถังหมักดังกล่าว กดให้น้ำท่วมถุง หรือหาวัตถุที่มีน้ำหนักวางทับลงไปอีกทีหนึ่ง จากนั้นก็ปิดฝาให้สนิท

    ในกรณีที่เราจะหมักเศษอาหารหรือเศษผักผลไม้เพิ่มเติมลงไปในนั้น ก็สามารถนำไปใส่ลงในถุงปุ๋ยได้เช่นกัน แต่ถ้าหากน้ำจุลินทรีย์มีปริมาณไม่พอที่จะท่วมเศษอาหารในถุงปุ๋ยได้ ก็ให้เติมน้ำเปล่าและกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดงลงไป ในอัตราส่วน น้ำเปล่า 8 ลิตร ต่อกากน้ำตาล 250 ซีซี. หรือน้ำตาลทรายแดง 300 กรัม ผสมลงไป เมื่อผสมส่วนต่าง ๆ จนครบแล้ว ให้หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน เราก็สามารถนำน้ำจุลินทรีย์ธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้
    <o></o>
    ประโยชน์ของน้ำจุลินทรีย์
    น้ำจุลินทรีย์ที่ได้นั้นจะมีกลิ่นหอมปราศจากกลิ่นเหม็น น้ำจุลินทรีย์หรือขยะหอมที่ได้นั้นออกจะดูสีสรรไม่สวย แต่เมื่อพูดถึงประโยชน์ในการใช้งานแล้ว มีมากมายหลายประการด้วยกัน เช่น ถ้าที่ไหนส้วมเต็ม หรือท่อระบายน้ำอุดตัน เพียงแค่เทน้ำจุลินทรีย์ธรรมชาติลงไป จุลินทรีย์นั้นจะไปช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ที่ตกค้าง และจะทำให้ส้วมไม่เต็มเร็ว ท่อระบายน้ำก็ไม่อุดตัน ประโยชน์ข้อต่อมา สามารถใช้ดับกลิ่นเหม็นต่าง ๆ ได้อย่างดีทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นเหม็นของห้องส้วม กองขยะ หรือท่อระบายน้ำ


    โดยนำน้ำจุลินทรีย์ 1 ส่วน ผสมน้ำ 10 ส่วนราดลงไปบริเวณที่มีกลิ่น หรือผสมจุลินทรีย์ลงไปในถังบรรจุน้ำ ใช้ฉีดล้างตลาด ช่วยดับกลิ่นและกำจัดแมลงวัน แมลงสาบได้ผลดี นอกจากนี้ ถ้านำน้ำจุลินทรีย์ 1 ส่วน ผสมน้ำ 500 ส่วน นำไปฉีดหรือรดที่ใบหรือโคนต้นไม้ สัปดาห์ละ 3 - 4 ครั้ง จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืช และยังช่วยลดการก่อกวนของแมลงได้อีกทางหนึ่งด้วย <o></o>

    <o></o>
    สำหรับเศษขยะที่เหลือจากการหมัก สามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพดี เพราะเมื่อนำมาผสมกับดินในอัตราส่วน 1:1 จุลินทรีย์ที่แทรกตัวอยู่ในเศษขยะ จะช่วยเร่งการย่อยสลายสารอินทรีย์ ให้กลายเป็นปุ๋ยได้ในเวลาอันรวดเร็ว นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชดูดซับธาตุอาหารต่างๆ ทำให้พืชมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว<o></o>
    <o></o>
    อนุโมทนาที่มาข้อมูล การทำ EM จากเศษผักผลไม้ <o></o>

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2011
  14. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,706
    ค่าพลัง:
    +51,936
    *** คำเตือน...ด้วยความปรารถนาดี ไม่หวังผลตอบแทน ****

    ระวัง...แม่น้ำเจ้าพระยา
    แรงดัน ก้อนน้ำเหนือ ลงใต้
    จะชนกับ แรงดันน้ำจากทะเล ขึ้นเหนือ

    เสมือน แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นท่อ
    ออกแรงดัน เข้าที่ปลายท่อ ๒ ข้าง
    ตรงกลางท่อ จะปริ แตก ฉีก ขาด ระเบิด ได้ง่าย
    จะอันตรายมาก

    คนอยู่ใกล้ ท่อน้ำเจ้าพระยา
    ให้รีบเก็บกระเป๋าออกห่างท่อ....ด่วน

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
    วันอาทิตย์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๔
     
  15. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ดูแลจิต รักษากาย ผ่อนคลายเครียด

    ท่ามกลางภาวะสถานการณ์ประสบภัยนี้ บางท่านทำหน้าที่ บางท่านต้องอยู่ในฐานะดูแลคนอื่น หากจะได้มีโอกาสผ่อนคลายพากัน ฝึกสติระลึกรู้ ควบคุมอารมณ์ในความรู้สึกตน และคนรอบข้าง กับท่าฝึกสติง่ายๆ ด้วยวิธีเจริญสติในอิริยาบทนั่ง ในบ้าน หรือในศูนย์พักพิงด้วยกันนะคะ




    วิธีเจริญสติในอิริยาบถนั่ง



    เมื่อเรามีเวลาว่างจะเดินจงกรมสลับกับการนั่งสร้างจังหวะก็ได้




    การฝึกสติแบบนี้ ทีแรกต้องนั่งอย่างนี้ นั่งพับเพียบก็ได้


    นั่งเหยียดขาก็ได้ นั่งเก้าอี้ห้อยขาก็ได้



    เอามือวางไว้ที่ขาทั้งสองข้าง...คว่ำไว้

    พลิกมือขวาตะแคงขึ้น...ทำช้าๆ...ให้รู้สึก

    ยกมือขวาขึ้นครึ่งตัว...ให้รู้สึก...มันหยุดก็ให้รู้สึก

    เอามือขวามาที่สะดือ...ให้รู้สึก

    พลิกมือซ้ายตะแคงขึ้น...ให้รู้สึก

    ยกมือซ้ายขึ้นครึ่งตัว...ให้มีความรู้สึก

    เอามือซ้ายมาที่สะดือ...ให้รู้สึก

    เลื่อนมือขวาขึ้นที่หน้าอก...ให้รู้สึก

    เอามือขวาออกตรงข้าง...ให้รู้สึก

    ลดมือขวาลงที่ขาขวาตะแคงไว้...ให้รู้สึก

    คว่ำมือขวาลงที่ขาขวา...ให้มีความรู้สึกตัว

    เลื่อนมือซ้ายขึ้นที่หน้าอก...ให้มีความรู้สึก

    เอามือซ้ายออกมาตรงข้าง...ให้มีความรู้สึก

    ลดมือซ้ายออกที่ขาซ้ายตะแคงไว้...ให้มีความรู้สึก

    คว่ำมือซ้ายลงที่ขาซ้าย...ให้รู้สึก

    ทำต่อไปเรื่อยๆ...ให้รู้สึก
    <O:p</O:p




    [​IMG]






    [​IMG]






    [​IMG]






    [​IMG]






    [​IMG]






    [​IMG]






    [​IMG]






    [​IMG]






    [​IMG]






    [​IMG]







    [​IMG]






    [​IMG]






    [​IMG]






    [​IMG]






    [​IMG]





    เมื่อมีสติ ระลึกรู้แล้ว รู้รักดำรงอยู่แล้ว จะมีใจเพื่อแผ่รู้รักผู้อื่นรอบข้างได้เลยค่ะ

    อย่างไรก็ ช่วงนี้ "น้ำ" เขาดุดัน ไม่ลืมแผ่เมตตาให้ "กำลังน้ำ" เขาเกิดความโอนอ่อน ผ่อนคลายกันด้วยนะคะ - ขออย่าได้เกิดจิตตำหนิ ติเตียนความเป็นธรรมชาติของเขากันเลยนะคะ เราเองก็ยังมีธรรมชาติของเราเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2011
  16. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    เนื่องจากปัจจุบันนี้ข้าพเจ้าได้เดินทางกลับบ้านต่างจังหวัดแล้วเพราะที่ตนพักอยู่นั้นน้ำได้ท่วมไปแล้วประมาณ 1-2 เมตร ซึ่งพิจารณาแล้วว่าถ้าพักต่อคงต้องมีความลำบากแน่นอนและการให้ความช่วยเหลืออาจไม่ทั่วถึง ก่อนออกจากซอยที่พักความสูงของน้ำประมาณครึ่งเข่า แต่พอออกมาได้ไม่นาน น้ำเริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆไม่มีทีท่าจะลด

    ก่อนกลับบ้านประมาณ 2 วันตนได้ฝันว่าตัวเองนั้นได้ไปอยู่บ้านแล้ว แล้วก็ได้สนทนากับพ่อว่า "พ่อครับน้ำท่วมกรุงเทพหมดแล้ว อยู่ไม่ได้แล้วครับพ่อ"
    ก็ไม่คิดว่าจะได้กลับบ้านแต่พอดีที่ทำงานก็ประกาศหยุด จะไปเป็นจิตอาสาก็กะไรอยู่เพราะใจบอกให้กลับบ้านอย่างเดียวนะ ก็เลยต้องกลับ อย่าถือสาเลยนะครับคิดว่าเป็นนิทานหรือเรื่องเล่าๆสนุกๆให้ฟังกันแล้วกัน

    ขอฝากถึงทุกท่านนะครับ ถ้าเป็นไปได้ขอให้ออกจากพื้นที่ที่เสี่ยงภัยไปก่อน แต่ถ้าออกไม่ได้ก็ให้เตรียมแผนรองรับ เกินร้อย 100 เปอร์เซ็นต์ใช้เวลาประมาณ 15-30 วัน หากออกจากกรุงเทพก็ให้ออกมาก่อนชั่วคราวแล้วค่อยกลับไปใหม่

    ฝากถึงองค์กร หน่วยงานราชากร เอกชน ที่เกี่ยวข้องจะตัดสินใจทำอะไรก็รีบทำเลยนะครับ ความปลอดภัยชีวิตของคนสำคัญกว่า ทุกคนก็รักชีวิตของตนเอง อย่าได้ห่วงธุรกิจ กิจการส่วนตัวเองเลย หยุดได้ก็หยุดไปก่อน ท่านไม่เป็นไร แต่ลูกน้อง ลูกจ้างของท่าน เดือดร้อน จะเหมาะสมใหม ในสถานการณ์แบบนี้


    สถานการน้ำมันเยอะมากๆ มันพยายามจะไหลจากที่สูงสู่ที่ต่ำ ตามธรรมชาติของมัน มันใหลไปตามทิศทางของมันที่มันควรจะไหล แต่ที่ร่องระบายให้มันใหลนั้นไม่พอกับปริมาณที่มันมามันเยอะมากๆ แล้วเราก็ไปขวางทางน้ำที่มันไหล แทนที่มันจะไหลตามร่อง คลองระบาย ของมันก็ทะลุทะลวงไปทุกที่ที่เราคาดไม่ถึง เช่น ท่อระบาย ดิน ท้องทุ่ง ซึ่งเกินความควบคุมใด้ เราอย่าไปโทษใครเลย ในสถานการณ์แบบนี้ ไม่ควรนำมาเป็นประเด็นการเมืองเดี่ยวศึกน้ำยังไม่ทันไร เกรงว่าจะกลายเป็นศึกเลือดชะโลมดินต่อไป ให้เข้าใจกัน ร่วมมือกัน ร่วมกันให้กำลังใจกัน จะเป็นทางที่ดีที่สุด อย่าไปเพ่งโทษผู้อื่น คนที่เพ่งโทษผู้อื่น ในสถานการณ์แบบนี้แล้วออกสื่อสังคมควรช่วยกันพิจารณาว่าเหมาะสมใหม ควรหาทางแก้ไขข้อบกพร่องจากประสบการณ์ ระดมความคิดช่วยกันว่าจะทำอย่างไร น่าจะเหมาะสม

    ยังไงส่วนรวมและความปลอดภัยในชีวิตนั้นสำคัญที่สุดนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ตุลาคม 2011
  17. ศรศิลป์

    ศรศิลป์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,232
    ค่าพลัง:
    +3,200
    รุ่นพี่แจ้งเตือนมาว่า คืนนี้น้ำมวลใหญ่จะทะลักเข้ากรุงเทพฯ พี่เขาเตือนให้ผมรีบออกมา ไปต่างจังหวัดภายในคืนนี้ เขากลัวว่าน้ำท่วมแล้วจะออกไปลำบาก
     
  18. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747


    สาธุ ขอโมทนาบุญทั้งหมดทั้งมวล



    [​IMG]
     
  19. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    ช่วงกลับไปพักที่บ้านต่างจังหวัด ธรรมจัดสรร ให้ได้มีโอกาสได้ไปร่วมบุญกฐินพระราชทานทอดถวายวัด บ้านไพรพัฒนา ต.ไพรพัฒนา
    อ.ภูิสิงห์ จ.ศรีสะเกษ
    ซึ่งเป็นวัดของหลวงปู่สรวงพระเกจิดัง ก็เลยถือโอกาสถ่ายรูปบรรยากาศในงานพิธีมาให้ได้โมทนาครับ



    ที่มา:
    �������-��иҹ����Ѱ��ù٭�繻�иҹ�ѭ�ԭ��Ҿ�С�Թ����Ҫ�ҹ�ʹ�����Ѵ���ᴹ��-���٪�

    วันที่ 30 ตุลาคม 2554 ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดฯ ทรงมีหมายสั่งที่32029ลงวันที่27กันยายน2554 ทรงพระราชทานผ้ากฐินให้นายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ เป็นประธานอัญเชิญผ้ากฐินพระราชทานทอดถวาย ณ วัดบ้านไพรพัฒนา ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งมีสังขารหลวงปู่สรวงที่ไม่เน่าเปื่อยร่วม 10 ปี พระเกจิย์อาจารย์ เป็นที่เคารพสักการะ กราบไหว้ขอพรคน 2 แผ่นดินไทย กัมพูชา ประชาชนโดยทั่วไป เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้นับถือพระพุทธศาสนา จึงนำผ้ากฐินพระราชทานทอดถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ที่จำพรรษากาลถ้วนไตรมาส

    อนึ่งในการทอดกฐินในครั้งนี้ทางศิษยานุศิษย์หลวงปู่สรวง ยังได้นำถุงยังชีพ ข้าวสารอาหารแห้ง เครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในการดำรงชีพ โดยนายชัช ชลวร ประธานศาลรัฐธรรมนูญ มอบผ่านนายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อนำไปช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบปัญหาอุทกภัยน้ำท่วมในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน200ชุด และมอบถุงยังชีพแก่ สถานนีวิทยุโทรทัศน์พระพุทธศาสนา ดีดีทีวี (DDTV)จำนวน300 ชุด เงิน จำนวน 75,000 บาท นำไปช่วยวัดที่ประสบปัญหาด้านอุทกภัยน้ำท่วม การทอดกฐินพระราชทานในครั้งนี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุ ยเดช ให้พระองค์ทรงมีพระชนมายุที่ยิ่งยืนนาน มีพระเกษมสำราญ ทรงเป็นมิ่งขวัญของพสกนิการชาวตลอดไป



    ภาพอัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    [​IMG]

    [​IMG]



    ภาพสังขารหลวงปู่สรวงที่ไม่เน่าเปื่อยร่วม 10 ปี พระเกจิย์อาจารย์ เป็นที่เคารพสักการะ กราบไหว้ขอพรคน 2 แผ่นดินไทย กัมพูชา ประชาชนโดยทั่วไป เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้นับถือพระพุทธศาสนา

    [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]





    ภาพพระอุโบสถของวัด

    [​IMG]




    ภาพพระมณฑปปราสาทหลวงปู่สรวงซึ่งอยู่ในช่วงดำเนินการก่อสร้างมีคามงดงามมากๆ
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ก็ขอเชิญนะครับ หากท่านใดพอจะสะดวกหรือมีเวลาก็อาจจะได้พาครอบครัวไปนมัสการกราบไว้สักการะสังขารของหลวงปู่เพื่อน้อมระลึกถึงเป็นอนุสสติในธรรมะอันประสริฐอันงดงามของท่านนะครับ



    คำทำนายหลวงปู่สรวง(เทวดาเล่นดิน)
    ทายไว้ก่อน2542:
    http://palungjit.org/threads/%E0%B8%84%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B9%8D%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%86%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.66751/page-3

    <hr style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" size="1">
    [​IMG]
    ต่อ ไปนี้ พ.ศ. 2555 คนเก่งอยู่ในเมืองไทย อยู่ที่ไหนก็ตามแต่ มุมไหนก็แล้วแต่ พ่อ - แม่ - ญาติพี่น้อง ไม่ต้องสู้ จะตายหมด น้ำทะเลตีข้างล่างได้ครึ่งโลกแล้ว ไม่ใช่ครึ่งประเทศนะ ครึ่งโลกแล้ว มาบอกให้หยุดนะ ไม่ต้องอยากชนะกันให้ออกไป อย่ามีเวร อย่ามีกรรม

    ครั้งที่สองบอกอีก เป็นภาษาเขมรว่า ให้ออกก่อน

    "พวกที่ทำลายศาสนา พระมหากษัตริย์ ให้ออกไปก่อน นางนาคเป่าน้ำน้ำทะเลเต็มไปหมด"

    ให้มันไปแต่พวกนี้ ประมาณสองชั่วโมงกว่าๆ กลับเข้ามาก็ตีท่วมภูเขา มีทั้งดินมีทั้งโคลน

    "พวกทำไม่ดีตายหมด" แกว่า...เทวดาตัดสินเอง เจ้ากรรมนายเวรตัดสินเอง หลวงพ่อไม่กลัว(ลป.สรวง) แล้วก็ไม่หนีด้วย หลวงพ่อนี่ในตัวสังขละ ท่านสร้างมาหลายวัดเหมือนกัน ไปอยู่ที่นั่นเขาเอาระเบิดเข้าไป สามปีมอบตัวกันหมด ที่ถนนดินแดงหลวงพ่อก็ไป

    ถาม - ที่ หลวงปู่สรวง พูดหมายความว่ายังไง ?

    ตอบ - แปลว่า ไม่ต้องกลัว 2555 นางนาคเป่าน้ำ ท่วมทั้งน้ำทั้งดิน ตายวอดวาย คนที่ไม่ดีตายหมด คนดีไม่ตาย

    "คนดีมันเป็น ไม่ตายจะรอด"

    ท่านบอกให้คอยดู แต่มาเป่านี่มันปี 2547 - 2550 ไม่ใช่สึนามินะ นางนาคสิเป่า ปี 55 แถวเราน้ำไม่มี เขาว่านางนาคเอาขึ้นข้างบน สามวันสามคืนก็เป็นลูกเห็บ ลูกที่หนึ่ง ลูกที่สอง ถูกใครตายระเนระนาด อย่าให้ถึงขนาดนั้น "คนดีไม่ตาย"

    แกว่างั้นนะ ถ้าคนมีศีลห้าไม่ถูก ก็เรา ไม่ได้กบฎพระเจ้าอยู่หัว คนที่กบฎ คนที่อยากชนะ ผืนแผ่นดินนี้ตายแน่ จะยึดแผ่นดินเป็นหลักแค่นั้นแหละ ปีนี้นาคไม่ขึ้นที่หนองคาย นาคไม่ขึ้น


    ช่วงภัยน้ำท่วมนี้ท่านที่สะดวกไม่ติดภาระอะไร และมีความพร้อม ถ้าเป็นไปได้ หาโอกาสไปเที่ยวต่างจังหวัดเ่ช่นไปไหว้พระ ปฏิบัติธรรม หรือไปเที่ยวต่างจังหวัดสักพักก็ดีนะครับ ช่วงปลายเดือนหรือคิดว่าสถานการณ์ดีแล้ว
    แล้วค่อยกลับมา ส่วนท่านที่ไม่สะดวกอะไรหลายๆอย่าง ก็ให้พิจารณาการเตรียมการรับมือหรือทางสุดท้ายจริงๆให้อพยพไปศูนย์ ในความรู้สึกส่วนตัวน้ำเยอะจริงๆ ครับ สิ่งที่เห็นตามความรู้สึกส่วนตน นั้นเป็นการตั้งใจในการแกัป้องกันเพื่อรักษาศูนย์กลางให้ได้มากที่สุดซึ่งก็เป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ ขอโมทนาและเป็นกำลังใจให้ทุกหน่วยงานที่ทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถนะครับ

    และศึกน้ำนี้มาแล้วเขาก็ไปมันก็จบมัน เป็นธรรมชาติของเขา แต่เรื่องปัญหาของความขัดแย้งทางความคิด การไม่สามัคคีกันนี้จะกลายเป็นศึกใหม่ขึ้นตามมาอีก




    ขอขมาพระรัตนตรัย



    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 จบ)

    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง

    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต้ อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ

    หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก้อดี ด้วยกายก็ดี วาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ด้วยเจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี
    ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วยเทอญ .


    [​IMG] [​IMG][​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2011
  20. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    การทำน้ำใช้เอง

    [​IMG]


    จาก ภาวะอุทกภัยที่ประสบกันในหลายพื้นที่ขณะนี้ น้ำสำหรับดื่มก็ขาดไม่ได้ และน้ำสำหรับใช้ก็จำเป็นเช่นกันค่ะ หากเกิดวิกฤติไม่มีน้ำประปาใช้ ก็คงต้องงัดกลวิธีที่เคยร่ำเรียนกันมาสมัยเป็นนักเรียนมาใช้กันแล้วล่ะค่ะ วันนี้เซ็นทรัลเฟซบุ๊คขอแนะนำวิธีผลิตน้ำสะอาดด้วยตัวเองให้กับเพื่อนๆ ได้นำไปใช้กัน โดยมีขั้นตอน ดังนี้ค่ะ
    1. เตรียมน้ำใส่ถัง A
    2. แกว่งสารส้มในถัง
    3. ทิ้งให้ตกตะกอน ประมาณ 30 นาที
    4. ถ่ายน้ำใส่ลงถัง B ที่เตรียมไว้
    5. ฆ่าเชื้อโรค โดยใส่น้ำยาฆ่าเชื้อคลอรีนชนิดน้ำ 2% (1 หยด : น้ำ 1 ลิตร)
    6. น้ำใสปิ๊งปรากฎ พร้อมใช้

    *ขอ ขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การทำน้ำใช้ด้วยตนเองในสภาวะน้ำท่วม | Faculty of Engineering




    กลั่นน้ำดื่มเอง

    อุปกรณ์: กะละมัง โถหรือแก้วน้ำ (ความสูงต่ำกว่าขอบกะละมังเล็กน

    ้อย) ถุงดำ/แผ่นพลาสติกสะอาด ก้อนหิน (วัสดุที่มีความหนักพอประมาณ)

    1.ตักน้ำที่ท่วมอยู่ใส่กะละมัง

    2.วางแก้วหรือภาชนะที่จะรองรับน้ำไว้ตรงกลาง

    3.ใช้ถุงดำหรือแผ่นพลาสติกปิดปากะละมังให้แน่น

    4.วางก้อนหินเพื่อถ่วงน้ำหนัก ตรงกลางถุงดำ เหนือแก้วน้ำ

    5.วางไว้กลางแดด ปล่อยให้เกิดการระเหยควบแน่น กลั่นน้ำตามธรรมชาติ




    หลักทางวิทยาศาสตร์


    หลัก การกลั่นน้ำของเครื่องกลั่นน้ำแสงอาทิตย์จะคล้ายกับการกลั่นตัวของหยด น้ำตกลงมาเป็นฝน คือ ทำให้น้ำกร่อยหรือน้ำทะเล (รวมถึงน้ำที่ท่วมขัง) ผ่านเข้าไปในภาชนะสีดำ และปิดไว้ด้วยวัสดุใสที่พอเหมาะให้แสงอาทิตย์ส่องผ่านลงไปได้ เมื...่อแสงอาทิตย์ส่องผ่านไปยังภาชนะสีดำซึ่งดูดกลืนความร้อนได้ดี น้ำในภาชนะจะระเหยกลายเป็นไอ ลอยขั้นไปกระทบกับด้านบนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่า จึงมีการควบแน่นของไอน้ำกลายเป็นหยดน้ำเกาะกับพื้นผิวด้านบนม แล้วหยดน้ำเหล่านั้นจะค่อยๆไหลลงสู่ที่รองรับซึ่งอยู่

    ด้านล่างที่เตรียมไว้

    อัตราของการกลั่นขึ้นอยู่กับ

    ก.พลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่องลงมา

    ข.ประสิทธิภาพของตัวดูดกลืนแสงอาทิตย์

    ค.สภาพ การถ่ายเทของอากาศ เนื่องจากขณะที่ไอน้ำควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำมีการคายความร้อนออกมาด้วย ดังนั้นเมื่อมีลมพัดมา จะช่วยถ่ายเทความร้อนออกไปได้ ทำให้การกลั่นมีประสิทธิภาพสูง



    กรองน้ำสำหรับใช้ หากเกิดวิกฤติไม่มีน้ำประปาใช้ มีขั้นตอน ดังนี้ค่ะ
    1. เตรียมน้ำใส่ถัง A
    2. แกว่งสารส้มในถัง
    3. ทิ้งให้ตกตะกอน ประมาณ 30 นาที
    4. ถ่ายน้ำใส่ลงถัง B ที่เตรียมไว้
    5. ฆ่าเชื้อโรค โดยใส่น้ำยาฆ่าเชื้อคลอรีนชนิดน้ำ 2% (1 หยด : น้ำ 1 ลิตร)
    6. น้ำใสปิ๊ง พร้อมใช้

    *ขอ ขอบคุณข้อมูลจาก กลุ่มอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การทำน้ำใช้ด้วยตนเองในสภาวะน้ำท่วม | Faculty of Engineering


    ดูง่ายๆ ขั้นตอนกรองน้ำใช้
    น้ำสะอาดด้วยตัวเอง | Facebook



    สารฆ่าเชื้อโรคคลอรีนชนิดน้ำ 2% (หยดทิพย์) สามารถซื้อได้ที่กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข โทร. 02-5904000 หรือสามารถใช้ด่างทับทิมทดแทน
    มารู้จัก หยดทิพย์ (คลอรีนน้ำ) ชื่อที่มาพร้อมกับน้ำท่วม - ****ของฝาก****
     

แชร์หน้านี้

Loading...