ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    ในช่วงนี้ผมจะพยายามนำเสนอเรื่องมิลินทปัญหามาให้ได้อ่านกันนะครับ
    เพราะเป็นเรื่องของการใช้สติปัญญา เหตุและผล ในการโต้ตอบกันระหว่าง
    พระเจ้ามิลินท์ และ พระนาคเสน ที่ถ้าอ่านดูดีให้ดีจะเห็นว่าเป็นการตอบแบบวิทยาศาสตร์ คือมีการเกริ่นนำ การขักจูงเข้าสู่ประเด็น การอธิบายตัวปัญหาและสุดท้ายก็เป็นการสรุป ลองไปหามาอ่านดูสิครับหนังสือเล่มนี้จะให้แง่คิด
    ความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวของศาสนาได้อย่างที่อ่านกันแบบวางไม่ลงทีเดียว และที่สำคัญพี่ใหญ่แนะนำให้หามาอ่านซะด้วย ไม่ธรรมดาแน่ๆครับ




    ความเป็นมาของมิลินทปัญหา

    เนื่องจาก พระเจ้ามิลินท์ เป็นผู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก การตั้งปัญหาถาม ล้วนเป็นปัญหาที่ยากจะตอบได้ แต่ พระนาคเสน ท่านก็เฉลยปัญหาได้ทุกข้อ พร้อมทั้งยกอุปมาขึ้น โดยอาศัยธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัว เปรียบเทียบได้อย่างแจ่มแจ้ง ทางเราจึงเห็นว่าเรื่องนี้คงจะเป็นประโยชน์ และให้ความเพลิดเพลินแก่ท่านบ้าง จึงนำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้

    ความเบื้องต้น

    ในสมัยของ สมเด็จพุทธกัสสป มีพระราชาพระนามว่า พระเจ้าวิชิตาวี เสวยราชย์อยู่ใน สาคลนครราชธานี ได้ทรงสร้างมหาวิหารไว้ที่ริมแม่นํ้าคงคา ถวายพระเถระทั้งหลายที่ทรงคุณธรรม มีพระภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีลรูปหนึ่ง เรียกสามเณรรูปหนึ่งว่า "จงมานี่......สามเณร! จงหอบเอาหยากเยื่อไปเททิ้งเสีย" สามเณรรูปนั้นก็เฉยอยู่ เหมือนไม่ได้ยินถึงสามครั้ง จึงคิดว่าสามเณรรูปนี้หัวดื้อ แล้วเอาด้ามไม้กวาดตีสามเณรจนร้องไห้ด้วยความเจ็บปวด เมื่อสามเณรเอาหยากเยื่อไปทิ้งนั้น ได้ปราถนาว่า
    "ด้วยผลบุญที่เราหอบหยากเยื่อมาทิ้งนี้ หากเรายังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด เราจะเกิดในภพใดๆก็ตาม ขอให้เรามีเดชเหมือนกับดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงวันฉะนั้นเถิด"

    สามเณรตั้งใจดังนี้แล้ว ก็เดินไปอาบนํ้าที่แม่นํ้าคงคา ได้เห็นละลอกคลื่นในแม่นํ้านี้มากมาย ก็ยินดีปรีดาจะใคร่มีปัญญาเฉลียวฉลาดไม่รู้สุดรู้สิ้น ดุดลูกคลื่นในแม่นํ้านั้น จึงปราถนาขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 2 ว่า
    "ข้าพเจ้ายังไม่ถึงนิพพานตราบใด ไม่ว่าข้าพเจ้าจะไปเกิดในชาติใดๆ ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาไม่สิ้นสุด เหมือนกับลูกคลื่นในแม่นํ้าคงคานี้เถิด"

    ส่วนพระภิกษุผู้เป็นอาจารย์นั้น เมื่อลงไปที่ท่านํ้า ก็ได้ยินเสียงสามเณรตั้งความปราถนา จึงคิดว่า สามเณรนี้เป็นผู้ที่เราใช้ก็ยังปราถนาอย่างนี้ จึงตั้งความปราถนาว่า "ข้าพเจ้ายังไม่สำเร็จพระนิพพานตราบใด ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาที่สุดมิได้ เหมือนกับฝั่งแม่นํ้าคงคานี้ ให้เป็นผู้สามารถแก้ไขปัญหาทั้งปวง ที่สามเณรนี้ไต่ถามได้สิ้น"

    เมื่อบุคคลทั้งสองนั้น ท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในเทพยาดาและมนุษย์ ก็ล่วงมาถึง 1 พุทธันดร พระพุทธเจ้าของเราได้ทรงพยากรณ์ไว้ว่า "เมื่อเราปรินิพพานล่วงไปได้ 500 ปีแล้ว บุคคลทั้งสองนั้นจะเกิดขึ้น ธรรมวินัยอันใด อันเป็นของสุขุมที่เราได้แสดงไว้ ธรรมวินัยอันนั้น บุคคลทั้งสองนั้น จะแก้ไขให้หมดฟั่นเฟือน ด้วยการไต่ถามปัญหากัน ดังนี้"
    ต่อมาสามเณรนั้น ก็ได้มาเกิดเป็น พระเจ้ามิลินท์ ในสาคลนคร เป็นผู้ฉลาด มีความคิดดี มีถ้อยคำหาผู้ต่อสู้ได้ยาก ไม่มีใครเสมอเหมือนในทางสติปัญญา เที่ยวเบียดเบียนพระภิกษุสงฆ์ ด้วยการถามปัญหาตามลัทธิเดียรถีย์ จนพากันหนีไปสู่ป่าหิมพานต์ เมืองสาคลนครจึงเป็นเหมือนว่างจากสมณพราหมณ์อยู่ถึง 12 ปี
    ในคราวนั้นมีพระอรหันต์ 100 โกฏิ อาศัยอยู่ที่ถํ้า ในภูเขาหิมพานต์ ได้ทราบเรื่องดังกล่าว จึงได้พากันไปอ้อนวอน มหาเสนะเทพบุตร ณ เกตวิมาน ให้ไปเกิดในมนุษยโลกเป็นบุตรของพราหมณ์ผู้หนึ่ง โดยมีชื่อว่า นาคเสนกุมาร
    นาคเสนกุมาร บวชเป็นสามเณรที่ถํ้ารักขิต ท่ามกลางพระอรหันต์จำนวนมาก พระโรหณะ ผู้เป็นอุปัชฌาย์เห็นปัญญาอันแหลมคม ของสามเณรนาคเสนแล้ว จึงให้เรียนพระอภิธรรมก่อน สามเณรนาคเสนเรียนได้อย่างรวดเร็ว พระอรหันต์ทั้งหลายจึงประชุมกันให้สามเณรนาคเสนบวชเป็นภิกษุ โดยมีพระโรหณะเป็นพระอุปัชฌายะ
    วันรุ่งขึ้นพระนาคเสนออกบิณฑบาตกับพระอูปัชฌาย์ เดินตามหลังท่านและคิดในใจว่า "พระอุปัชฌาย์ของเราโง่เขลาจริง ที่ให้เราเรียนพระอภิธรรมก่อนพระพุทธพจน์อื่นๆ" พระโรหณะทราบความคิดพระนาคเสน จึงกล่าวว่า "นาคเสนคิดอย่างนั้นหาควรไม่" พระนาคเสนจึงได้รู้ว่า พระอุปัชฌาย์ของตนรู้วารจิต จึงคิดใหม่ว่า พระอุปัชฌาย์ของเรามีปัญญาดีแท้ จึงกล่าวขออภัยท่านในการคิดล่วงเกิน
    พระโรหณะกล่าวว่า "จะอภัยโทษล่วงเกินด้วยเหตุเพียงเท่านี้ หาสมควรไม่ นาคเสนต้องไปทำกิจพระศาสนาอย่างหนึ่งให้สำเร็จ เราจึงจะอภัยโทษให้ คือ มีพระราชานามว่า มิลินท์ ในสาคลราชธานี ทรงโปรถถามปัญหาต่างๆ ให้เธอไปทำพระราชาองค์นั้นให้เลื่อมใสนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว นั่นคือการอภัยโทษของเรา"
    พระนาคเสนตอบว่า "อย่าว่าแต่เพียงพระเจ้ามิลินท์องค์เดียวเลย แม้ร้อยแห่งพระเจ้ามิลินท์ ท่านก็สามารถให้เลื่อมใสได้"...........
    พุทธศาสนาสมัยพระเจ้ามิลินท์
    พระพุทธศาสนาเจริญเฟื่องฟูอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้ามิลินท์ หรือ พระเจ้าเมนันเดอร์ (Menander) ซึ่งเป็นกษัตริย์เชื้อสายกรีกที่ปกครองอินเดียอยู่ระยะหนึ่ง
    ก่อนหน้านี้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชยกทับเข้ารุกรานอินเดีย แคว้นที่ทรงตีได้แล้วโปรดให้แม่ทัพนายกองของพระองค์ปกครองดูแล โดยทิ้งกองทหารกรีกไว้บางส่วน ฝรั่งชาติกรีกเหล่านี้ได้ตั้งตนเป็นอนาจักรอิสระขึ้น เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สวรรคตแล้ว
    อาณาจักรที่มีกำลังมากคือ อาณาจักรซีเรีย และ อาณาจักรบากเตรีย ปัจจุบันคือ เตอรกี และ อัฟกานิสถาน ซีเรียเป็นสื่อเชื่อมอารยธรรมกรีกกับอินเดียเป็นเวลานานถึง 247 ปี จึงถูกโรมันตีแตก ส่วนบากเตรียเดิมก็อยู่ในอำนาจของซีเรีย มาสถาปนาเป็นรัฐอิสระได้เมื่อ พ.ศ.287 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช
    เหตุการทางประวัติศาสตร์ในแถบนี้ของโลกสับสนวุ่นวายด้วยการแย่งชิงอำนาจกันอยู่ประมาณร้อยปีเศษ จนกระทั่งถึง พ.ศ. 392 พระราชาเชื้อสายกรีกพระองค์หนึ่ง พระนามว่า เมนันเดอร์ หรือที่เรียกในคัมภีร์บาลีว่า พระเจ้ามิลินท์ ได้แผ่อำนาจลงมาถึงตอนเหนือของลุ่มแม่นํ้าคงคา เดิมทีมิได้ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้ทรงขัดขวางการขยายตัวของพระพุทธศาสนาด้วยซํ้าไป เนื่องจากทรงแตกฉานวิชาไตรเพท (ของพราหมณ์) และศาสนาปรัชญาต่างๆ รวมทั้งพุทธศาสนาด้วย จึงประกาศโต้วาทีกับนักบวชในลทธิศาสนาต่างๆในเรื่องศาสนาและปรัชญา ปรากฏว่าไม่มีใครสู้พระองค์ได้
    จนกระทั่งคณะสงฆ์เลือกพระเถระผู้สามารถรูปหนึ่งมายังเมืองสาคละ เพื่อสนทนาเรื่องศาสนาและปรัชญากับพระเจ้ามิลินท์ พระเถระผู้นั้นคือพระนาคเสน พระเจ้ามิลินท์ทรงทราบข่าวนั้นเสด็จไปสนทนาเป็นเชิงปุจฉาวิสัชนา อภิปรายกันขึ้นเป็นเวลาหลายวัน ผลปรากฏว่า พระเจ้ามิลินท์ยอมแพ้พระนาคเสน ข้อสนทนาระหว่างทั้งสองท่านนี้ ได้รวบรวมไว้เป็นคัมภีร์ เรียกว่า "มิลินทปัญหา"

    <BIG>หมายเหตุ:</BIG>
    ข้างต้นนี้คือความเป็นมาอย่างคร่าวๆ ของมิลินทปัญหา ที่ได้ย่อ/คัดลอก มาจากหนังสือ 2 เล่ม คือ:
    1. อธิบายมิลินทปัญหา โดย วศิน อินทสระ
    2. ธัมมวิโมกข์ฉบับรวมเล่ม มิลินทปัญหา โดย วัฒนไชย






    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" border=0><TBODY><TR><FONT face="Ms Sans Serif, Geneva, Helvetica, Arial" color=black size=3><CENTER>[COLOR=darkgold,direction=-35);] มิลินทปัญา วรรคที่ ๑ [/COLOR]</CENTER><CENTER>[COLOR=darkgold,direction=-35);]ปัญหาที่ ๑ ถามชื่อ [/COLOR]</CENTER>


    ครั้งนั้น พระเจ้ามิลินท์ได้เสด็จไปหาพระนาคเสนแล้ว ทรงปราศรัยพอให้เกิดความร่าเริงยินดีแล้วก็ประทับนั่ง ฝ่ายพระนาคเสนก็แสดงความชื่นชมยินดี ทำให้เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามิลินท์
    ลำดับนั้น พระองค์จึงตรัสถามปัญหาข้อแรกต่อพระนาคเสนขึ้นว่า
     
  2. kratium

    kratium เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2007
    โพสต์:
    484
    ค่าพลัง:
    +3,670
    วันนี้ได้มีโอกาสใส่บาตรมื้อเพล พระปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานแนวสติปัฏฐานสี่ 800 รูป จากคณะพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่สวนเวฬุวัน พุทธมณฑล ขอน้อมบุญกุศลนี้ ให้พี่พันวฤทธิ์ ตลอดจนผู้บริจาคไต
    ขอให้พี่พันวฤทธิ์ และครอบครัว มีความสุข มีสุขภาพ สมบูรณ์ แข็งแรง และเป็นกำลังสำคัญ ให้กองทุนสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ ต่อไปค่ะ
     
  3. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    "พระ"ที่ถูกมองข้าม

    พระที่ถูกมองข้าม

    มีชนบทแห่งหนึ่งในประเทศจีน ตั้งอยู่เชิงเขา เป็นภูมิประเทศที่สงบ
    อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ ธัญญาหาร มีลำธารใสไหลผ่านหมู่บ้าน
    ต้นไม้ทุกต้นใบสดเขียวขจี ในทุ่งนาก็สะพรั่งด้วยต้นข้าวที่ชูรวงเป็นสีทอง ตัดกับท้องฟ้าสีคราม มองไปทางไหนก็ชื่นฉ่ำเจริญตา

    ชาวชนบทส่วนใหญ่มีอาชีพออกไปทำไร่ทำนา ผู้อยู่เรือนก็ปั่นฝ้ายทอผ้า ต่างมีความสุข มีฐานะมั่นคง เหนือขึ้นไปบนยอดเขามีกุฏิพระภิกษุจำศีลภาวนา เชิงเขามีกระท่อมน้อยหลังหนึ่ง เป็นที่อยู่ของสองแม่ลูก
    แม่นั้นแม้อายุจะย่างเข้าสู่วัยชรา แต่นางยังแข็งแรงพอที่จะรับจ้างเขา
    ทำงานเลี้ยงลูกได้ บุตรของนางเป็นเด็กรุ่นหนุ่มใหญ่ ไม่เอาการเอางาน ดื้อด้านไม่เชื่อฟังถ้อยคำมารดา ไม่สนใจความเหนื่อยยากของแม่ที่ตรากตรำ ทำงานหนัก เอาแต่เที่ยวเล่นสนุก ถึงกระนั้นนางก็รักเขาสุดสวาทขาดใจ คอยเอาอกเอาใจมิให้อนาทร

    วันหนึ่งเขาแลเห็นเพื่อนกราบพระพุทธรูป ก็นึกในใจว่าการที่เพื่อนเขามีฐานะดี คงเป็นเพราะหมั่นกราบไหว้พระ เย็นวันนั้นเขาจึงขึ้นไปบนเขา เข้าไปนมัสการขอพระพุทธรูปจากพระภิกษุที่พำนักอยู่บนยอดเขา เพื่อเอาไปไว้บูชาที่เรือน หวังจะได้มั่งคั่งเหมือนคนทั้งหลาย พระภิกษุได้ฟังก็กล่าวว่า "ฟังก่อน เหม็ง เจ้าจะแก้จนด้วยการกราบไหว้พระนั้น ไม่สำเร็จดอก ป่วยการเปล่า ในเมื่อที่เรือนของเจ้าก็มีพระอยู่แล้ว จงเคารพบูชาท่านเถิดเจ้าจะจำเริญ"

    เหม็งได้ฟังก็ฉงนอุทานว่า "ที่บ้านของกระไม่เคยมีพระสักองค์
    กระผมยากจนนักหนา จึงอยากได้ไปไว้บูชากับเขาบ้าง"
    rพระภิกษุยังคงยืนกรานว่า "กลับไปเถิดเหม็ง พระเฝ้ารออยู่ที่บ้านแล้ว
    กลับถึงบ้านคืนนี้ เมื่อเจ้าเคาะประตูท่านจะออกมาเปิดรับเจ้าอย่างรีบร้อน ผลีผลามเสียจนใส่รองเท้ากลับข้าง เสื้อที่สวมก็กลับด้านนอกอยู่ด้านใน"

    เหม็งได้ฟังดังนั้นก็สนเท่ห์ยิ่งนัก นมัสการพระภิกษุ
    รีบกลับฝ่าลมหนาวและละอองน้ำค้างมาตลอดทาง
    กว่าจะถึงบ้านก็เปียกโชกไปทั้งตัว ทันทีที่เขาเคาะประตูกระท่อม
    ผู้ที่เปิดประตูรับเขา ก็คือมารดาของเขานั่นเอง
    เหม็งสังเกตุเห็นนางสวมรองเท้ากลับข้าง เสื้อที่ใส่ก็กลับ
    พอเห็นลูกชาย นางก็เอ่ยขึ้นว่า "เหม็ง...ลูกหายไปไหนมา
    แม่เป็นห่วงกลัวลูกจะไปเป็นอันตราย แม่ตั้งตาคอยตั้งแต่หัวค่ำจนดึก
    อ้าว นั่น...ลูกเปียกปอนไปหมดทั้งตัว ไปเปลี่ยนเสื้อผ้าเสีย
    แล้วไปผิงไฟที่หน้าเตา เจ้าหิวไหม แม่จะไปเอาข้าวมาให้กิน"

    กระแสเสียงที่หลั่งออกมานั้นนุ่มนวลนัก เปี่ยมด้วยความรัก ความห่วงใย ความเมตตาปราณีที่บริสุทธิ์ใจ เขาหวลระลึกถึงคำพระภิกษุบนยอดเขา ก็ประจักษ์แจ่มแจ้งในบัดนั้นเองว่า พระที่อยู่ใกล้ตัวมาแต่อ้อนแต่ออก แต่เขาเองละเลยไม่เคยเอาใจใส่ แม่เท่านั้นที่จะเสียสละให้ลูกได้ทั้งชีวิตและเลือดเนื้อ มุ่งหวังแต่จะให้ลูกมีความสุขความเจริญ แม่เป็นผู้มีแต่ให้ ไม่หวังสิ่งตอบแทน ตัวเรานี่สิ มีแต่จะเอาท่าเดียว

    นับแต่นั้นมาเขาก็ใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆอันเงียบสงบร่มเย็น
    และบำเพ็ญตนอยู่ในโอวาท เทิดทูนเคารพบูชามารดาของเขา
    เหนือสิ่งอื่นใดๆในโลก.



    พระที่ถูกมองข้าม

    มีชนบทแห่งหนึ่งในประเทศจีน ตั้งอยู่เชิงเขา เป็นภูมิประเทศที่สงบ
    อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ ธัญญาหาร มีลำธารใสไหลผ่านหมู่บ้าน
    ต้นไม้ทุกต้นใบสดเขียวขจี ในทุ่งนาก็สะพรั่งด้วยต้นข้าวที่ชูรวงเป็นสีทอง
    ตัดกับท้องฟ้าสีคราม มองไปทางไหนก็ชื่นฉ่ำเจริญตา

    ชาวชนบทส่วนใหญ่มีอาชีพออกไปทำไร่ทำนา ผู้อยู่เรือนก็ปั่นฝ้ายทอผ้า
    ต่างมีความสุข มีฐานะมั่นคง เหนือขึ้นไปบนยอดเขามีกุฏิพระภิกษุจำศีลภาวนา
    เชิงเขามีกระท่อมน้อยหลังหนึ่ง เป็นที่อยู่ของสองแม่ลูก
    แม่นั้นแม้อายุจะย่างเข้าสู่วัยชรา แต่นางยังแข็งแรงพอที่จะรับจ้างเขา
    ทำงานเลี้ยงลูกได้ บุตรของนางเป็นเด็กรุ่นหนุ่มใหญ่ ไม่เอาการเอางาน
    ดื้อด้านไม่เชื่อฟังถ้อยคำมารดา ไม่สนใจความเหนื่อยยากของแม่ที่ตรากตรำ
    ทำงานหนัก เอาแต่เที่ยวเล่นสนุก ถึงกระนั้นนางก็รักเขาสุดสวาทขาดใจ
    คอยเอาอกเอาใจมิให้อนาทร

    วันหนึ่งเขาแลเห็นเพื่อนกราบพระพุทธรูป ก็นึกในใจว่าการที่เพื่อนเขามีฐานะดี
    คงเป็นเพราะหมั่นกราบไหว้พระ เย็นวันนั้นเขาจึงขึ้นไปบนเขา
    เข้าไปนมัสการขอพระพุทธรูปจากพระภิกษุที่พำนักอยู่บนยอดเขา
    เพื่อเอาไปไว้บูชาที่เรือน หวังจะได้มั่งคั่งเหมือนคนทั้งหลาย
    พระภิกษุได้ฟังก็กล่าวว่า "ฟังก่อน เหม็ง เจ้าจะแก้จนด้วยการกราบไหว้พระนั้น
    ไม่สำเร็จดอก ป่วยการเปล่า ในเมื่อที่เรือนของเจ้าก็มีพระอยู่แล้ว
    จงเคารพบูชาท่านเถิดเจ้าจะจำเริญ"

    เหม็งได้ฟังก็ฉงนอุทานว่า "ที่บ้านของกระไม่เคยมีพระสักองค์
    กระผมยากจนนักหนา จึงอยากได้ไปไว้บูชากับเขาบ้าง"
    rพระภิกษุยังคงยืนกรานว่า "กลับไปเถิดเหม็ง พระเฝ้ารออยู่ที่บ้านแล้ว
    กลับถึงบ้านคืนนี้ เมื่อเจ้าเคาะประตูท่านจะออกมาเปิดรับเจ้าอย่างรีบร้อน
    ผลีผลามเสียจนใส่รองเท้ากลับข้าง เสื้อที่สวมก็กลับด้านนอกอยู่ด้านใน"

    เหม็งได้ฟังดังนั้นก็สนเท่ห์ยิ่งนัก นมัสการพระภิกษุ
    รีบกลับฝ่าลมหนาวและละอองน้ำค้างมาตลอดทาง
    กว่าจะถึงบ้านก็เปียกโชกไปทั้งตัว ทันทีที่เขาเคาะประตูกระท่อม
    ผู้ที่เปิดประตูรับเขา ก็คือมารดาของเขานั่นเอง
    เหม็งสังเกตุเห็นนางสวมรองเท้ากลับข้าง เสื้อที่ใส่ก็กลับ
    พอเห็นลูกชาย นางก็เอ่ยขึ้นว่า "เหม็ง...ลูกหายไปไหนมา
    แม่เป็นห่วงกลัวลูกจะไปเป็นอันตราย แม่ตั้งตาคอยตั้งแต่หัวค่ำจนดึก
    อ้าว นั่น...ลูกเปียกปอนไปหมดทั้งตัว ไปเปลี่ยนเสื้อผ้าเสีย
    แล้วไปผิงไฟที่หน้าเตา เจ้าหิวไหม แม่จะไปเอาข้าวมาให้กิน"

    กระแสเสียงที่หลั่งออกมานั้นนุ่มนวลนัก เปี่ยมด้วยความรัก ความห่วงใย
    ความเมตตาปราณีที่บริสุทธิ์ใจ เขาหวลระลึกถึงคำพระภิกษุบนยอดเขา
    ก็ประจักษ์แจ่มแจ้งในบัดนั้นเองว่า พระที่อยู่ใกล้ตัวมาแต่อ้อนแต่ออก
    แต่เขาเองละเลยไม่เคยเอาใจใส่
    แม่เท่านั้นที่จะเสียสละให้ลูกได้ทั้งชีวิตและเลือดเนื้อ
    มุ่งหวังแต่จะให้ลูกมีความสุขความเจริญ แม่เป็นผู้มีแต่ให้ ไม่หวังสิ่งตอบแทน
    ตัวเรานี่สิ มีแต่จะเอาท่าเดียว

    นับแต่นั้นมาเขาก็ใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้านเล็กๆอันเงียบสงบร่มเย็น
    และบำเพ็ญตนอยู่ในโอวาท เทิดทูนเคารพบูชามารดาของเขา
    เหนือสิ่งอื่นใดๆในโลก.


    [​IMG] [​IMG] [​IMG]


    ขอขอบพระคุณข้อมูลจากเว็บพุทธวงศ์
    http://www.phuttawong.net
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • candle.gif
      candle.gif
      ขนาดไฟล์:
      1.5 KB
      เปิดดู:
      1,163
  4. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    พระ"แสดงฤทธิ์"ทำให้ศาสนาเสื่อมเร็วขึ้น

    เย็นวันหนึ่งมีโยมขึ้นไปหาหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ที่ถ้ำผาปล่อง แล้วก็เอ่ยว่า
     
  5. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 ธันวาคม 2007
  6. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    เรียนพี่นายสติ และคุณโสระ
    วันนี้ เวลา 09.13น.ผมได้ฝากเงินจำนวน 700บาทเข้าบัญชี 3481232459 ทุนนิธิสงฆ์อาพาธ เพื่อร่วมทำบุญครับ โดยจำนวน 450บาทเป็นส่วนของเพื่อนผมและส่วนผม จำนวน 250บาทครับ(ชื่อเพื่อนผมจะpmไปครับ)
    ขอบคุณและโมทนาสาธุครับ
    nongnooo...
     
  7. onimaru_u

    onimaru_u เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    142
    ค่าพลัง:
    +854
    เมื่อวานผมได้โอนเงินช่วยทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธฯ
    จำนวน 500 บาท เมื่อวันที่ 25/12/2007 เวลา 17.58 น
    ขออนุโนทนาบุญกับทุกท่านครับและขอให้คุณพันวฤทธิ์กลับมามีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงในเร็ววันครับ
     
  8. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    [​IMG]
    ถาม เมื่อมีความโกรธเกิดขึ้นจะมีอุบายในการระงับความโกรธได้อย่างไร?<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    ตอบ ประการแรก อดทน อย่าให้ความโกรธมันใช้มือไปทุบคนโน้นคนนี้ อย่าให้ความโกรธใช้ปากไปด่าคนโน้นคนนี้ ใช้ความอดทนในเมื่อเรายังไม่มีอุบาย ทีนี้อุบายถ้าเราจะใช้ก็พิจารณาถึงอกเขาอกเรา โกรธแล้วเราไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียน ไม่ข่มเหง ไม่รังแก แม้ในใจมันโกรธอยู่แต่ไม่ทำสิ่งนั้นลงไป มันก็ไม่มีบาปมีกรรมอะไร ในเมื่อโกรธมันไปจนสุดฤทธิ์แล้วมันก็หมดไปเองเมื่อเรายังไม่มีอุบาย ถ้าเรามีอุบายพิจารณาว่าความโกรธมันเป็นทุกข์อย่างนี้ๆ เราไม่ควรโกรธเลยๆ เอาแค่นี้ก็ได้ แต่ประการสำคัญที่สุดโกรธแล้วต้องระวังอดกลั้นอย่าเผลอไปทำความผิดพลาดอย่างรุนแรงขึ้นมา เมื่อทำผิดพลาดลงไปแล้วมันจะเสียใจภายหลัง เช่นพ่อแม่โกรธลูกคว้าไม้เรียวมาเฆี่ยนมันอย่างไม่นับ จนหนังมันแตกเป็นริ้วเป็นรอยเลือดสาด ในขณะที่เราทำอยู่นั้นเราอาจจะคิดว่าเราได้ทำอะไรสมที่โกรธแล้ว แต่เมื่อโกรธมันหายไปแล้ว อะไรมันจะเกิดขึ้น ความเสียใจภายหลังเดี๋ยวก็นั่งร้องไห้กอดเขา “เราไม่น่าทำเลย”

    ถาม การอโหสิกรรม เมื่อเจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรมให้แล้ว ผู้นั้นยังจะต้องรับกรรมอีกหรือไม่?
    ตอบ อันนี้ต้องทำความเข้าใจ กรรมที่เราทำโดยมีคู่กรณี เช่น ชกต่อยตีกัน ทะเลาะเบาะแว้งกันในเมื่อทำลงไปแล้วต่างคนต่างเจ็บแค้นใจ มันผูกกรรมจองเวรกัน คือคอยที่จะล้างผลาญกัน แก้แค้นกันอยู่เสมอ ทีนี้ในเมื่อปรับความเข้าใจกันได้แล้ว ต่างคนต่างก็ยกโทษให้กัน อโหสิกรรมให้กัน การผูกพยาบาทอาฆาตจองเวรมันก็หมดไป เพราะเราไม่คิดที่จะทำร้ายกันต่อไปอีก แต่บาปกรรมที่ไปตีหัวเขานั้นมันอโหสิไม่ได้ เพราะมันเป็นกฎแห่งธรรมชาติ เราไปด่าเขามันก็เป็นบาป มันผิดศีลข้อมุสาวาท ตีเขาฆ่าเขามันก็เป็นฉายาแห่งปาณาติบาตถึงเขาไม่ตายก็ตาม ถ้าเขาตายก็เป็นปาณาติบาต แม้ว่าผู้ที่ถูกทำร้ายจะอโหสิกรรมให้คือไม่จองเวรกันต่อไป กรรมที่ผู้นั้นกระทำลงไปแล้วย่อมแก้ไม่ตก นี่ต้องเข้าใจกันอย่างนี้
    ทีนี้เราทำบุญอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร ถ้าเจ้ากรรมนายเวรเขาได้รับส่วนกุศลของเรา เขาได้เกิดดีถึงสุขพ้นจากที่ที่เขาอยู่ ซึ่งมันเป็นที่ทุกข์ทรมาน เขาดีอกดีใจเขานึกถึงบุญถึงคุณเราเขาก็อโหสิกรรมให้เราได้ แต่กรรมที่เราฆ่าเขานั้นมันก็ยังเป็นผลกรรมที่เราจะต้องสนองอยู่ เพราะฉะนั้น ผู้ใดต้องการตัดกรรมตัดเวรก็ต้องให้มีศีล ๕ ข้อ จึงจะตัดเวรตัดกรรมได้

    นี่เป็นส่วนหนึ่งของการ ถาม-ตอบปัญหาธรรม ของ หลวงพ่อพุธ ธานิโย
    ลองอ่านคำถาม - ตอบ อื่น ๆ ดูนะครับน่าสนใจมาก!!
    น้องโอ๊ต

    http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk723.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 ธันวาคม 2007
  9. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ถาม การสวดมนต์ บทไหนที่ดีที่สุด?
    ตอบ สวดมนต์นี่ดีทุกบท อย่าไปเชื่อว่าบทนั้นดี บทนี้ไม่ดี มนต์ต่างๆ นั่นมันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นการเล่านิยายเรื่องพระพุทธเจ้าที่ท่านทำงานของท่านมาเป็นบันทึกผลงานของพระพุทธเจ้า เช่นอย่าง มงคลสูตร ปรารภอะไรและทรงแสดงธรรมว่าอย่างไร กรณียเมตตสูตร ปรารภอะไร แสดงธรรมว่าอย่างไร มันเป็นบทบันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่นอย่าง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ก็เป็นบันทึกที่พระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนา เป็นกัณฑ์แรก โปรดใคร ที่เขาไปกำหนดหมายว่า สวดนั้นถึงจะดี สวดนี้ถึงจะดี อันนั้นเขาสอนกันมีแนวโน้มไปในทางไสยศาตร์ พวกไสยศาตร์นี่อย่าไปสนใจ ขืนเรียนไสยาศาตร์ไปกลายเป็นผีใหญ่หมด สวดมนต์ที่พระพุทธเจ้าเทศน์เอาไว้ เป็นการทรงจำคำสอนสวดมนต์ หลักก็คือสวดพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณเป็นการไหว้ครู คือไหว้พระพุทธเจ้าและคุณธรรมของพระพุทธเจ้า สาวก ของพระพุทธเจ้าผู้นำศาสนามา การสวดมนต์นี่ เช่นเราสมมติว่า สวด “อิติปิโส ภะคะวาอะระหัง สัมมาสัมพุทโธ” ทำสติให้มันรู้ชัดๆ มันก็เป็นภาวนาไปในตัว อะไรก็ตามที่เรารู้ เช่น ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจเป็นสื่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก ตาเห็นรูปมีสติ ถ้ามันเกิดรักเกิดชอบพิจารณา ถ้ามันเกลียดพิจารณาให้มีสติรู้อยู่ตลอดเวลา
    อย่าไปสนใจเรื่องของคนอื่น เรามั่นคงใน พระธรรม พระวินัย ในข้อวัตรปฏิบัติของเรา รักษาศีลวินัยให้ดี เอาใจใส่การปฏิบัติให้ดี เราไปอยู่ในสำนักไหน พักในสำนักไหน กิจวัตรของวัดนั้นเขามีอะไร ให้อนุโลมปฏิบัติตามเขา ถ้าเราไม่ชอบอย่าไปขวางเขา ถ้าไม่ชอบระเบียบวิธีการของวัดนี้ เราก็ไม่ต้องอยู่ ก็ต้องไปแสวงหาที่อื่น อย่าเอามติของเราไปขัดเขา ถ้าเรายังไม่พ้นนิสัยมุตก์หรือพ้นแล้ว ถ้าหากเราจะไปศึกษาปฏิบัติในสำนักไหน แม้ว่าเราอายุพรรษาพ้น ๕ แล้วต้องรู้จักพระธรรมวินัย อุบายวิธีแก้ไขปัญหาตัวเอง ถ้าหากว่ายังไม่เข้าใจสิ่งเหล่านี้ ๑๐๐ พรรษาก็ยังไม่พ้น ทีนี้เรายังแสวงหาครูบาอาจารย์เพื่อการปฏิบัติอยู่ ก็แสดงว่าเรายังไม่พ้นนิสัยมุตก์ เพราะเรายังไม่เข้าใจหลักการปฏิบัติ
     
  10. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ถาม การนั่งสมาธิรักษาโรคหัวใจได้หรือไม่?
    ตอบ ถ้าทำสมาธิได้จริงๆ ก็สามารถที่จะรักษาได้เป็นบางขณะหรือบางช่วง ถ้าโรคหัวใจไม่เป็นแรง ก็สามารถจะหายเพราะพลังของสมาธิได้ อันนี้ยืนยันเด็ดขาดไม่ได้ว่ามีสมาธิแล้วรักษาโรคหัวใจหาย
    โรคบางสิ่งบางอย่างอาจจะหายไปได้เพราะพลังสมาธิอันนี้หมายถึงว่าเป็นโรคที่ไม่เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมเก่า เช่นโรคปวดศรีษะบางอย่าง ทำสมาธิก็หายได้ โรคกระเพาะลำไส้ เมื่อทำสมาธิจิตสงบละเอียดแล้วสามารถเอาลมละเอียดไปรักษาภายในกระเพาะและลำไส้ก็หายได้ ถ้าหากว่านักสมาธิทำจิตกำหนดรู้หัวใจ สามารถแต่งน้ำเลี้ยงหัวใจได้โดยถูกต้อง ตามลักษณะความเป็นอยู่ของหัวใจก็อาจจะหายได้ แต่ถ้าหากเป็นโรคกรรมโรคเวร ทำอย่างไรก็ไม่หาย
    ถาม ผู้ที่ฝึกสมาธิแล้ว ใช้พลังสมาธิรักษาโรคให้หายได้อย่างไร? และวิธีที่รักษาโรคด้วยกำลังของสมาธินั้นทำอย่างไร?
    ตอบ อันนี้คนโบราณเขารักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยพลังของสมาธิ เช่น อย่างเด็กน้อยเป็นตาแดงก็ไปเป่า เขาสำรวมจิตท่องมนต์ของเขา อาศัยความเชื่อมั่นในมนต์นั้นแล้วก็เป่าลงไป เด็กเป็นโรคตาแดงหายได้ อันนี้ก็คือการรักษาโรคด้วยพลังจิต
    คนที่เป็นโรคภายในหรือกระดูกแตก กระดูกหักอะไรทำนองนี้ เสกเป่ามนต์ก็เป็นการรักษาโรคด้วยพลังจิต ผู้ที่ทำสมาธิจิตให้มีความสงบสว่าง ซึ่งอยู่ในระดับอุปจารสมาธิที่มั่นคง เมื่อทำสมาธิมีอุปจารที่มั่นคงแล้ว สามารถน้อมจิตไปดูโน่นดูนี่หรือน้อมจิตเพ่งเข้าไปในกายของคนไข้ ถ้าหากการน้อมสมาธิไม่ถอนทำสมาธิจิตสว่างลงไป ถ้าจิตสมาธิไม่ถอนเราน้อมเข้าไปดูในกายของคน คนหมายถึงคนไข้ ความสว่างของจิตจะวิ่งเข้าไปอยู่ในร่างกายของคนไข้ คนไข้เป็นโรคอะไรที่ไหน กระเพาะ ลำไส้ หัวใจ ปอดและตับ จะมองเห็นจุดที่มันเกิดเป็นโรค เช่น ปอดเป็นแผล ตับเป็นแผล อะไรทำนองนี้จะมองเห็น เมื่อมองเห็นแล้วเราจะช่วยรักษา เราจะทำอย่างไร ในเมื่อเพ่งมองเห็นแล้วน้อมจิตน้อมใจไปสู่จุดนั้น แผ่เมตตาให้คน คนนั้น อันนี้คือวิธีรักษาโรคด้วยพลังจิต
    สำหรับวิธีการนี้ไม่ต้องเอามือไปประสานกับใครก็ได้ ทีนี้การใช้พลังจิตซึ่งเกิดจากสมาธินี้ ไม่ใช่ว่าเราจะมานั่งเบ่งพลังจนเหงื่อแตก อาศัยสมาธิที่ทำกันอยู่ทุกๆวัน เขาจะสะสมพลังงานเอาไว้ ในเมื่อต้องการจะทำอะไร หรือมีเหตุอะไรจะเกิดขึ้น พลังงานอันนั้นจะแสดงตนออกมา เช่น อย่างบางทีเมื่อเราทำสมาธิอัปปนาสมาธิได้แทบทุกวันๆ เมื่อเราต้องการอยากจะให้กิ่งไม้มันหักอย่างดีก็ชี้มือแล้วก็บอกให้มันหักลงไปแล้วมันจะหัก ไม่ได้ไปกำหนดจิตเข้าสมาธิแล้วก็เพ่งไปหมายถึงสมาธิที่อบรมเป็นนิจ แล้วมันจะสะสมพลังงานไว้ที่จิต เวลาจะใช้สำรวมจิตนิดหน่อย ไม่ถึงกับเป็นสมาธิวูบวาบอะไร ลงไปเป็นสมาธิอ่อนๆ ซึ่งเรียกว่าขณิกสมาธิ แล้วก็ปากพูดไปพูดเบาๆ พอตัวเองได้ยิน บอกให้กิ่งไม้มันหักมันก็หัก บอกให้ต้นมะพร้าวมันโค่นล้มลง มันก็ล้ม บอกให้รถมันคว่ำ มันก็จะคว่ำ อันนี้วิธีการใช้พลังจิต
    ในตอนต้นๆถ้าหากผู้ใช้พลังจิต ใช้หนักๆ เข้ามันก็แพ้ตัวเอง ถ้าบำเพ็ญสมาธิให้จิตมันสงบสม่ำเสมอเวลาที่จะใช้พลังจิตเป็นแต่เพียงใช้คำพูดว่าฉันจะรักษาโรคภัยไข้เจ็บของคุณให้หาย แล้วก็อธิษฐานถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา ครูบาอาจารย์ จงส่งเสริมพลังจิตของข้าพเจ้าให้มีฤทธิ์ รักษาโรคภัยไข้เจ็บของคน คนนี้ให้หาย พอบ่อยๆแล้วคนไข้เขาจะเกิดเชื่อเพราะความแน่ใจของเราและความเชื่อของคนไข้ มันมาบวกกันเข้าเป็นพลัง ๒ สามารถที่จะช่วยให้โรคภัยไข้เจ็บหายได้
     
  11. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ถาม อยากให้หลวงพ่อเล่าวิธีการรักษาวัณโรคด้วยการปฏิบัติ?
    ตอบ การปฏิบัตินี่แม้ว่าเราจะมีความตั้งใจจะรักษาโรค หรือไม่รักษาโรคก็ตาม แต่เมื่อมีการปฏิบัติจิต มีสมาธิ มีสติปัญญา มีความสงบสว่าง รู้ตื่น เบิกบาน มันก็กลายเป็นยารักษาโรคจิต ทำให้จิตมีความเป็นปกติ ไม่หวั่นไหวต่อความเจ็บไข้ได้ป่วย แล้วก็ทำให้จิตมีพลังงานด้วยอำนาจ แห่งความสว่างไสวของจิตถ้าจิตดวงนี้วิ่งเข้ามาอยู่ภายในกายมาสว่างไสว อยู่ในท่ามกลางของกายสามารถที่จะแผ่กระแสแห่งความสว่างไสวไปทั่วหมดทั้งกาย ความเป็นโรคภัยไข้เจ็บ หรือความติดขัดในประสาทส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นท่อทางเดินของลมและโลหิตพลังจิตอันนี้จะไปช่วยหมุนให้กระแสความหมุนเวียนของโลหิตและลมเดินได้คล่องตัวเพราะว่าลม ละเอียดสามารถที่จะปรุงกายให้เบา ลมละเอียดสามารถที่จะปรุงโลหิตให้เดินไปอย่างคล่องตัวโดยไม่มีอุปสรรคอันใดติดขัด
    ถ้าผู้ที่เป็นโรคภัยไข้เจ็บบางอย่างเช่น อย่างวัณโรค เป็นต้น เมื่อทำได้บ่อยๆ จิตสงบสว่างบ่อยๆ แม้ว่าจิตจะยังไม่วิ่งเข้ามาสว่างรู้อยู่ภายในตัวก็ตาม พลังของจิตนั้นจะช่วยบรรเทาอาการของโรคให้เบาลงหรือหายขาด ถ้าหากว่าผู้ที่สามารถที่จะจิตให้สงบนิ่ง สว่างสามารถส่งกระแสจิตเข้าไปตรวจโรคในร่างกายคนได้ ในเมื่อรู้แล้วจะช่วยเขารักษา ก็แผ่เมตตาเพ่งไปที่จุดที่เรามองเห็น แล้วก็แผ่เมตตาให้ ทำบ่อยๆหลายๆครั้งแล้วไข้อาจจะหายไป
    สำหรับของหลวงพ่อเอง เข้าใจว่าผู้ถามอยากจะรู้ความเป็นมาของหลวงพ่อมากกว่า ของหลวงพ่อนี่จะว่าตั้งใจทำสมาธิเพื่อรักษาโรคก็ถูก หรือไม่ตั้งใจก็ถูก เพราะในขณะปฏิบัติอยู่นั้นก็อยากให้โรคหาย
    อยู่มาวันหนึ่งมีความคิดเกิดขึ้นว่า ก่อนที่เราจะตายควรจะได้รู้ว่าความตายคืออะไร วันนั้นก็ตั้งใจนั่งสมาธิตั้งแต่ ๓ ทุ่ม จนกระทั่งถึงตี ๓ ในช่วงที่นั่งสมาธิอยู่นั้นจิตสงบเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่ไม่สงบ แล้วก็มีความเดือดร้อนทนทุกขเวทนา แต่ก็อดทนเอาเพราะอยากรู้อยากเห็น ทนไปได้ถึงตี ๓ จาก ๓ ทุ่มทนไปได้ถึงตี ๓ พอถึงตี ๓ แล้วเวทนาความเมื่อย ทั้งเมื่อยทั้งหิวตามประสาของคนไข้ ทีนี้จิตมันก็คิดขึ้นมาว่าวันนี้ไม่สำเร็จเราควรจะพักผ่อน พอคิดว่าเราจะพักผ่อน พอตั้งใจจะหยุดนั่งสมาธิเท่านั้น เจ้าจิตภายในมันก็บอกว่า “คนทั้งหลายเขานอนตายกันทั้งโลก ท่านจะมานั่งตาย มันจะตายได้อย่างไร?” พอความรู้มันเกิดขึ้นมาอย่างนี้ ก็เลยมานึกเสริมเอาว่า ถ้างั้นก็นอนตายซิ แล้วก็นอนลงทั้งๆ ยังขัดสมาธิอยู่ พอนอนลงไปแล้วมันก็ทอดอาลัยตายอยาก กำหนดรู้แต่ลมหายใจเพียงอย่างเดียว พอปรากฏว่าลมหายใจมันค่อยละเอียดๆๆเข้า ความสว่างของจิตก็บังเกิดขึ้น ในตอนแรกๆ มันก็มีความสว่างแผ่ซ่านไปรอบตัว เมื่อหนักๆเข้ามันก็รวมจุดอยู่ที่กลางตัวระหว่างราวนมทั้งสองข้าง ตรงที่เรานึกว่ามีหัวใจ ภายหลังความสว่างอันเป็นดวงนั้น มันก็วิ่งขึ้นวิ่งลงตามระยะจังหวะของการหายใจ ในที่สุดเวลาของการหายใจออก ดวงอันนั้นมันก็วิ่งออกมาตามลมหายใจ แล้วก็ลอยขึ้นไปเบื้องบนแล้วก็ลอยย้อนกลับไปกลับมาๆอยู่ ในที่สุดมันก็ตัดขาดจากกายแล้วก็ลอยไปแต่ดวงสว่างอันเดียวเท่านั้น ในขณะนั้น ร่างกายตนหายไปหมด คล้ายๆกับจิตดวงนี้ไปลอยเด่นอยู่ในท่ามกลางแห่งความว่าง โลกคือผืนแผ่นดินก็หายไปหมด ทุกสิ่งทุกอย่างหายไปหมด ยังเหลือแต่อากาศคือความว่าง
    พอจิตดวงนี้มันเกิดรวมมาสู่วิญญาณคือตัวรู้แล้วมันก็รวมพลังขึ้นมาเกิดความสว่างใหญ่โตมโหฬารแล้วโลกก็ปรากฏขึ้น ผืนแผ่นดินก็ปรากฏขึ้นในช่วงนั้น คล้ายๆกับว่าความสว่างแห่งดวงจิตนั้นมันแผ่คลุมโลกไปทั้งหมด มันสามารถที่จะมองเห็นต้นไม้ ภูเขาเลากาเห็นบ้านเห็นเมือง เห็นผู้เห็นคน เห็นจนกระทั่ง ภูติผีปีศาจ เทวดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ ทะลุปรุโปร่งหมดแล้ว ในขณะที่มองเห็นอยู่นั้น จิตมันก็อยู่เฉยๆ มันไม่บอกว่าอะไรเป็นอะไร แล้วภายหลังมันก็ละทิ้งการรู้การเห็นอย่างนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างหายไป ยังเหลือแต่แผ่นดิน แล้วก็ปรากฏว่าร่างกายมานอนอยู่ภายใต้ความสว่าง
    เมื่อเป็นเช่นนั้นร่างกายมันก็ขึ้นอืด ตอนแรกมองเห็นสบงจีวรห่มคลุมอยู่ ในระยะที่ ๒ ร่างกายเปลือยเปล่า ไม่มีอะไรปกปิด ในระยะที่ ๓ ปรากฏว่าขึ้นอืด ระยะที่ ๔ มีน้ำเหลืองไหล ระยะที่ ๕ กระดูกผุพังสลายตัวไปหมด ระยะที่ ๖ มองเห็นแต่โครงกระดูก ระยะที่ ๗ โครงกระดูกก็ทรุดฮวบลงไปแหลกละเอียด แล้วก็หายสาบสูญไปในผืนแผ่นดิน อีกสักพักหนึ่งก็โผล่ขึ้นมาเป็นผงแล้วก็เกาะกันเป็นก้อน เป็นท่อนเล็ก ท่อนน้อย แล้วก็ประสานตัวเป็นชิ้นกระดูกโดยสมบูรณ์ แล้วก็มาสร้างเป็นโครงสร้างขึ้นมา ศรีษะกระโดดมา กระดูกคอ กระดูกสันหลังกระโดดต่อกันตามตำแหน่งของตัวเอง กระดูกส่วนอื่นๆ ก็กระโดดเข้ามาประจำตำแหน่งของตัวเองกลายเป็นโครงสร้างเป็นโครงกระดูกอีกตามเดิมแล้วเนื้อหนังก็ค่อยงอกขึ้นมาจนสมบูรณ์เต็มที่แล้วก็สลายตัวเน่าเปื่อยผุพังต่อไปอีกกลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้นไม่ทราบว่ามันเป็นกันอยู่กี่ครั้ง กี่หน
    บางครั้งก็มองเห็นเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ ปรากฏขึ้น เสร็จแล้วจิตมันก็ได้แต่มองดูอยู่เฉยๆ คล้ายๆ กับว่ามันไม่ร้อนใจอะไร มันเฉยๆอยู่ สักแต่ว่ารู้อยู่เห็นอยู่มีอยู่เป็นอยู่ แต่วาระสุดท้ายเมื่อมันจะรู้สึกตัวตื่นขึ้นมา หลังจากที่มันมาประสานกันเป็นรูปร่างสมบูรณ์แล้ว เจ้าตัวจิตวิญญาณที่ลอยอยู่นั่นมันไหวตัวนิดหนึ่ง แล้วก็ทรุดฮวบลงมาปะทะกับหน้าอกแผ่วๆ หลังจากนั้นความสว่างของดวงจิตนั้นมันก็หายไป ร่างกายก็ค่อยรู้สึกตัวขึ้นมาทีละน้อยๆ เวลามันรู้สึกตัวขึ้นมานั้น มันก็มีอาการคล้ายๆกับว่ามีอะไรวิ่งซู่ซ่าไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วค่อยรู้สึกตัวขึ้น จนกระทั่งรู้สึกว่าความรู้สึกมันเป็นปกติ
    ทีนี้มากำหนดดูตอนนี้ร่างกายปรากฏขึ้นมาแล้ว ความตั้งใจที่จะกำหนดอะไรมันเกิดขึ้นมา พอมันรู้สึกตัวอย่างเต็มที่เจ้าจิตนี่มันก็เทศน์ให้กับตัวเองฟังฉอดๆ “นี่หรือคือการตาย” คำตอบก็บอกว่า “ใช่แล้ว” ตายแล้วมันต้องเน่าเปื่อยผุพังสลายตัวไป มันเกิดเน่าเปื่อยแล้วก็เป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก เมื่อมันสลายตัวไปก็เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ ไหนเล่าสัตว์บุคคลตัวตนเราเขามีที่ไหน มันก็บอกให้รู้อย่างนี้ พอมันจบกลอนเทศน์ของมันแล้ว จิตก็มานิ่งว่างอยู่เฉยๆ ความคิดมันเกิดสงสัยขึ้นมาว่า เราตายจริงหรือเปล่า แล้วก็ยก ๒ มือขึ้นมาคลำดูหน้าอก “อ้อ ยังไม่ตาย” แล้วก็ลืมตาดูนาฬิกา ๒ โมงเช้า พอลืมตาขึ้นมาดูก็มองเห็นโยมอุปัฎฐากมาทำอะไรก๊อกแก๊กๆอยู่ที่นั่น พอเขาเห็นลุกออกมาจากที่นอน เขาก็ทักว่า “เข้าใจว่าไปซะแล้ว!” “กำลังจะไปปลุกอยู่เหมือนกัน ถ้า ๒ โมงไม่ตื่นละก้อ ทนไม่ไหวแน่ ต้องไปดึงขาแน่! “ ทีนี้หลังจากนั้น ความเจ็บป่วยก็ค่อยเบาขึ้นๆ แล้วก็สบายเรื่อยๆมา เลือดที่ออกอยู่มันก็หยุดไป แล้วก็หายไปจนกระทั่งบัดนี้ โรคอันนี้ไม่เคยกำเริบอีกซักที จะว่าสมาธิรักษาวัณโรคก็ถูก หรือวัณโรครักษาสมาธิก็ถูก
     
  12. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    ถาม เมื่อตอนที่เรียน เคยกล่าวล่วงเกินพระอริยสงฆ์องค์หนึ่งท่านมรณภาพไปแล้วด้วยความคะนองปาก ปัจจุบันเวลานั่งสมาธิจะขออโหสิกรรมจากท่านทุกครั้ง ไม่ทราบว่าจะมีบาปกรรมถึงขนาดไม่มีโอกาสมองเห็นธรรมหรือไม่?
    ตอบ อันนี้ไม่เป็นอุปสรรคขนาดนั้น วิธีการขอขมาโทษ ขอขมาโทษลับหลังก็ได้ ต่อหน้าก็ได้ บางทีถ้าเราสำนึกถึงโทษ เมื่อท่านมรณภาพไปแล้วก็เขียนชื่อท่านแล้วก็ขอขมาโทษท่าน ถ้ามีรูปท่านก็ขอขมาต่อรูปท่าน ก็ถือว่าเป็นการหมดบาปหมดกรรม ถ้าท่านเป็นอริยสงฆ์จริงๆ ท่านก็ไม่ผูกกรรมทำเวรกับใคร
     
  13. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    <TABLE class=tborder id=post885321 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid"><!-- status icon and date -->[​IMG] วันนี้, 10:56 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #1 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>อธิมุตโต<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_885321", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 11:05 AM
    วันที่สมัคร: Aug 2006
    สถานที่: วัฏฏะสังสารวัฏ
    ข้อความ: 1,544 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 4,175 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 8,874 ครั้ง ใน 1,380 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 1056 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_885321 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->[​IMG] “หลวงปูสุภา” ปลุกเสกตุ๊กตาน้องปลอดภัยแจกรณรงค์ลดอุบัติเหตุภูเก็ตปีใหม่
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message --><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>“หลวงปูสุภา” ปลุกเสกตุ๊กตาน้องปลอดภัยแจกรณรงค์ลดอุบัติเหตุภูเก็ตปีใหม่</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>25 ธันวาคม 2550 16:37 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ศูนย์ข่าวภูเก็ต - จังหวัดภูเก็ตรณรงค์ลดอุบัติเหตุปีใหม่ นำตุ๊กตา “น้องปลอดภัย” ให้หลวงปู่สุภาพระเกจิชื่อดังอายุกว่าร้อยปี ปลุกเสกเพื่อความเป็นสิริมงคลก่อนแจกให้ผู้โชคดีร่วมปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

    นายตรี อัครเดชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวภายหลังนำตุ๊กตา “น้องปลอดภัย” รูปสัตว์ต่างกว่า 2 พันตัว ที่จังหวัดภูเก็ต และหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตจัดทำขึ้น เพื่อใช้เป็นสื่อรณรงค์ให้ประชาชนลดอุบัติเหตุในการเดินทางช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551 ถวายหลวงปู่สุภา กันตสีโล พระภิกษุที่เคารพนับถือของชาวภูเก็ต อายุ 114 ปี ได้ทำพิธีปลุกเสก เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคล ว่า สำหรับจังหวัดภูเก็ตนั้นตั้งเป้าที่จะรณรงค์ลดอุบัติเหตุในพื้นที่ให้ได้ 15% และมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุไม่เกิน 3% ทางจังหวัดจึงใช้กลยุทธ์ต่างๆ ในการรณรงค์ลดอุบัติเหตุในพื้นที่ ซึ่งปีนี้จะใช้ตุ๊กตาน้องปลอดภัยเป็นสื่อในการรณรงค์ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวร่วมกันลดอุบัติเหตุในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด

    โดยตุ๊กตาน้องปลอดภัยที่นำมาร่วมรณรงค์ลดอุบัติเหตุนั้น ทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปให้ หลวงปูสุภา กันตะสีโล พระเกจิชื่อดังอายุ 114 ปี ทำพิธีปลุกเสกก่อนเพื่อเป็นสิริมงคลกับผู้ที่ได้รับตุ๊กตาดังกล่าว และเชื่อว่า ตุ๊กตานี้ใครก็ยากที่จะได้ไปครอบครอง

    สำหรับตุ๊กตาน้องปลอดภัยนั้นจะแจกให้แก่ประชาชนผู้ใช้รถยนต์ ซึ่งเดินทางเข้ามาในจังหวัดภูเก็ตในช่วงการรณรงค์ลดอุบัติเหตุทางท้องถนนของจังหวัดภูเก็ตช่วงเทศกาลปีใหม่ 2551 และเป็นผู้ที่ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด

    โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดภูเก็ต จะเริ่มนำมาแจกจ่าย ณ จุดตรวจท่าฉัตรไชย อำเภอถลาง ในวันที่ 26 ธันวาคมนี้ เพื่อเป็นสิ่งกระตุ้นเตือนให้ประชาชนที่ได้รับได้มีสติเตือนใจในการสัญจรทางท้องถนนโดยปลอดภัย นอกจากนั้น จะแจกตามจุดตรวจต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตด้วย</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <!-- / message --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    [​IMG]

    กราบระลึกถึง หลวงพ่อพุธ ฐานิโย พ่อแม่ครูอาจารย์ที่เคยเมตตาอบรมสั่งสอนให้หลักธรรมนำชีวิต
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]นามเดิม พุธ อินทรหา กำเนิด 8 ก.พ. 2464 สถานที่เกิด อ.หนองโดน จ.นครราชสีมา อุปสมบท อุปสมบท ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร เมื่อพ.ศ. 2485 โดยมี พระปัญญาพิศาลเถระ (หนู) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมณศักดิ์ พระราชสังวรญาณ[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]หลวงพ่อกำพร้าบิดา มารดา ตั้งแต่อายุ 4 ขวบ ดังนั้น หลวงพ่อจึงอยู่ในความอุปการะของญาติที่ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ต่อมาเมื่ออายุ 15 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดอินทร์สุวรรณ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ภายหลังบรรพชา เป็นสามเณรแล้ว หลวงพ่อได้มีโอกาสเดินทางไปยังวัดบูรพา จ.อุบลราชธานี ณ วัดแห่งนี้เอง หลวงพ่อได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ของท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และเริ่มรับการฝึกอบรมด้าน ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จากท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นครั้งแรก ต่อมาในปีพ.ศ.2483 ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้พาหลวงพ่อไปฝากตัวเป็นศิษย์ ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ ณ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งหลวงพ่อได้จำพรรษาเรื่อยมาจนอายุครบบวช จึงได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ วัดแห่งนี้ หลวงพ่อได้ปฏิบัติศาสนกิจช่วยงานพระศาสนาตลอดมา กระทั่งในปีพ.ศ. 2513 หลวงพ่อจึงดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา ตลอดเวลาที่ผ่านมา หลวงพ่อมิเคยหยุดบำเพ็ญประโยชน์ต่อพระศาสนา และสังคม ท่านยังคงรับเป็นองค์บรรยายธรรม และอบรมสมาธิภาวนาให้แก่ศาสนิกชนอย่างสม่ำเสมอ ท่านเป็นผู้สร้างคุณประโยชน์ แก่พระศาสนา และประชาชนอย่างสูง เป็นผู้ยินดีเอาใจใส่ในการอบรมสั่งสอนธรรมแก่ พระภิกษุ สามเณ ตลอดถึงสาธุชน ผู้มาถึงสำนักด้วยความเมตตา เป็นผู้ชี้นำในธรรมปฏิบัติ ทั้งเป็นผู้ปฏิบัติสำรวมตนในพระธรรมวินัย ซึ่งเป็นแบบอย่างอันดี แก่ศิษยานุศิษย์มาโดยตลอด ควรแก่การเครารพเทิดทูนยิ่ง[/FONT]

    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]ธรรมโอวาท[/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]๑. ผู้ที่จะปฏิบัติธรรม เพื่อให้ได้สมาธิที่ถูกต้อง เป็น "สัมมาสมาธิ" ให้ได้ปัญญาเป็น "สัมมาทิฏฐิ" ต้องอาศัยศีลเป็นมูลฐาน ศีลที่เรา รักษาบริสุทธิ์ บริบูรณ์ดีแล้วนั้นแหละ จะประคับประคองจิตใจ ให้มีความสงบลงสู่ความเป็นสมาธิอย่างถูกต้อง เมื่อสมาธิอาศัย อำนาจแห่งศีลเป็นเครื่องอบรม "ปัญญา" คือ ความรู้ที่เกิดขึ้นมา ย่อมเป็น "สัมมาทิฏฐิ" [/FONT]
    [FONT=MS Sans Serif, Tahoma, sans-serif]๒.ขอให้ถือคติว่า สมาธิหรือการปฏิบัติธรรมอันใด ถ้าหากมันเป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ เป็นไปเพื่อการพอกพูนกิเลส เป็นไปเพื่ออิทธิฤทธิ์ พึงเข้าใจเถิดว่า มันเป็นมิจฉาสมาธิ จึงออกนอกหลักพระพุทธศาสนา[/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 ธันวาคม 2007
  15. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    ผมก็รู้สึกยินดีในศรัทธาอันแรงกล้าของน้องเอเป็นอย่างยิ่งต่อพระบวรพุทธ
    ศานา จริงๆน้องเอกับพี่ก็คงไม่มีเวรกรรมต่อกันหรอก แต่ก็ต้องอโหสิกรรมในสิ่งที่อาจจะเผลอไผลกระทำหรือคิดไปโดยไม่รู้ตัวหรือตั้งใจ ก็ขออโหสิกรรมซึ่งกันและกันนะ เรื่องสถานที่ที่จะไปอยู่ปฏิบัติธรรม ก็คงอย่างที่ได้เคยพูดกันไว้เมื่อวันอาทิตย์ ลองไปศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมดูนะจะได้เป็นประโยชน์ต่อ
    ชิวิตของเราเองต้องขอบอกอีกทีว่ายินดีและโมทนาในสิ่งที่น้องได้คิดและกระทำขอให้การบวชครั้งนี้จงเป็นพละปัจจัยให้น้องได้ดวงตาเห็นธรรม มีความสงบในดวงจิตดวงใจและถ้าว่างพี่ก็จะไปร่วมงานบวชน้องเอด้วยนะครับ

    ขอโมทนาในกุศลครั้งนี้ด้วย สาธุ สาธุ สาธุ



    "ตัณหา" ต้นเหตุแห่ง"ทุกข์"ในโลกทั้งปวง



    สมุทยอริยสัจจ
    สมุทยอริยสัจจ เรียกกันสั้น ๆ ว่า สมุทยสัจจ หรือเรียกอย่างยาวเต็มที่ว่า ทุกขสมุทยอริยสัจจ
    คำว่า สมุทัย แปลว่า ต้นเหตุ หรือ ที่เกิด ดังนั้น ทุกขสมุทัย จึงแปลว่า ต้นเหตุให้เกิดทุกข์.....
    และ อันว่าต้นเหตุให้เกิดทุกข์นั้นคือ "ตัณหา" องค์ธรรมได้แก่ "โลภเจตสิก" ดวงเดียวเท่านั้น

    โลภเจตสิก หรือ ตัณหา เป็นความอยากได้ เป็นความปรารถนา ซึ่งมักจะ ไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ เมื่อมีความอยากได้ มีความปรารถนาเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องมี ปริเยสนทุกข์ คือ เป็นทุกข์ในการแสวงหาเพื่อให้ได้มาตามความปรารถนานั้น ๆ ถ้าหาไม่ได้ ก็มี ยัมปิจฉัง น ลภติ ความไม่สมหวังดังที่ปรารถนา ครั้นได้มาแล้ว ก็มีอารักขทุกข คือเป็นทุกข์ในการระวังรักษา เมื่อรักษาไม่ดี แตกหักสูญหายไป ก็มี ปิเยหิวิปปโยโค ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก รวมความว่า ได้ก็ทุกข์ ไม่ได้ก็ ทุกข์
    ต่อเมื่อใดตัดต้นตอต้นเหตุ คือความปรารถนาลงเสียได้แล้ว ทุกข์ที่จะพึงเกิด ก็จะไม่มีเลย

    ตัณหา ถ้าจะจำแนกว่ามี ๓ ก็ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
    กามตัณหา ได้แก่ ความยินดี ชอบใจ พอใจ และความปรารถนาในอารมณ์ ทั้ง ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส การสัมผัสถูกต้อง และความนึกคิด ความปรารถนา เช่นนี้ได้แก่ โลภเจตสิกที่ประกอบกับจิต ทั้ง ๘ ดวง
    ภวตัณหา ได้แก่ ความชอบใจติดใจในกามภพ คือ การได้เกิดเป็นมนุษย์และ เทวดา ๑, พึงพอใจในรูปภพ คือ การได้เกิดเป็นรูปพรหม ๑, พึงพอใจในอรูปภพ คือ การได้เกิดเป็นอรูปพรหม ๑, พึงพอใจในฌานสมบัติ คือ การได้รูปฌาน อรูป ฌาน ๑ และความพึงพอใจในกามคุณอารมณ์ที่ประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิ โดยยึดถือ ว่าไม่สูญหายไปไหน เป็นอย่างใดก็เป็นอยู่อย่างนั้น ๑ ความปรารถนาเช่นนี้ ได้แก่ โลภที่สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ ๔ ดวง
    วิภวตัณหา ได้แก่ ความติดใจชอบใจในอุจเฉททิฏฐิ คือติดใจว่าสัตว์ทั้งหลาย ตายไปแล้วก็สูญ กรรมและผลของกรรมก็สูญตามไปด้วยเหมือนกัน เช่นนี้ ได้แก่ โลภที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ๔ ดวง
    ตัณหา ถ้าจำแนกว่ามี ๖ ก็ได้แก่ ความยินดีชอบใจในอารมณ์ทั้ง ๖ ซึ่งมีชื่อ ว่า รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา และ
    ธัมมตัณหาถ้าจำแนกโดยพิสดาร ก็ได้ตัณหาถึง ๑๐๘

    ความปรารถนาทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะสูงหรือต่ำ มากหรือน้อยก็ตาม ถ้า ความปรารถนานั้น ๆ ย่อมเป็นเหตุให้มีภพมีชาติต่อไปอีกแล้วก็เป็นตัณหาทั้งสิ้น แต่ถ้าไม่ได้มุ่งหมายอย่างนั้น ก็ไม่เป็นตัณหา เช่น พระอรหันต์ผู้พ้นแล้วจากกิเลส ตัณหาทั้งปวง แต่ก็ยังปรารถนาให้สัตว์ทั้งหลายเป็นเช่นท่าน จึงเที่ยวสัญจรไปโปรด สัตว์ ดังนี้ไม่เป็นตัณหา
    ตัณหา คือ โลภะ อันเป็นตัวสมุทัยนี้ เป็นธรรมที่ควรละควรประหารโดยแท้ การละการประหารได้ชั่วคราวนั้นเรียกว่า ตทังคปหาน เป็นการพ้นชั่วคราวเท่านั้น การพ้นชั่วคราวเช่นนี้เรียกว่า ตทังควิมุตติ การประหารการพ้นชั่วคราวนี้ เพียงแต่ รักษาสีล ก็ละได้ ก็พ้นได้การละการประหารได้ด้วยการข่มไว้ อันเป็นการละการประหารด้วยอำนาจ สมาธิ คือ ฌานนั้น เป็นการข่มไว้ได้นานจนกว่าฌานจะเสื่อม การประหารชนิดนี้ เรียกว่า วิกขัมภนปหาน การพ้นชนิดนี้เรียกว่า วิกขัมภนวิมุตติ
    การละการประหารด้วยปัญญา คือ มัคคญาณ เป็นการประหารได้อย่าง เด็ดขาดแน่นอน กิเลสที่ถูกประหารแล้ว ละเว้นเช่นนี้เป็นไม่มีวันที่จะเกิดขึ้นมาอีก ได้เลย การประหารเช่นนี้เรียกว่า สมุจเฉทปหาน การพ้นเช่นนี้เรียกว่า สมุจเฉท วิมุตติ
    การประหาร การพ้นนั้น จัดได้ถึง ๕ ประการซึ่งเรียกว่า ปหาน ๕ วิมุตติ ๕ ดังนี้

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY>
    <TR><TD vAlign=top width=209>
    ปหาน ๕
    </TD><TD vAlign=top width=209>
    วิมุตติ ๕
    </TD><TD vAlign=top width=209>
    ได้แก่
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=209>ตทังคปหาน
    </TD><TD vAlign=top width=209>(สีล) ตทังควิมุตติ
    </TD><TD vAlign=top width=209>พ้นชั่วคราว
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=209>วิกขัมภนปหาน
    </TD><TD vAlign=top width=209>(สมาธิ) วิขัมภนวิมุตติ
    </TD><TD vAlign=top width=209>พ้นด้วยการข่มไว้
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=209>สมุจเฉทปหาน
    </TD><TD vAlign=top width=209>(มัคค) สมุจเฉทวิมุตติ
    </TD><TD vAlign=top width=209>พ้นเด็ดขาด
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=209>ปฏิปัสสัทธิปหาน
    </TD><TD vAlign=top width=209>(ผล) ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ
    </TD><TD vAlign=top width=209>พ้นสนิท
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=209>นิสสรณปหาน
    </TD><TD vAlign=top width=209>(นิพพาน) นิสสรณวิมุตติ
    </TD><TD vAlign=top width=209>พ้นเลย
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>

    ในสัจจที่ ๒ นี้แสดงว่า ตัณหา คือ โลภะเป็นตัวสมุทัย เป็นธรรมที่ควรละ ควรประหาร ส่วนโทสะ โมหะ อันเป็นมูลเหตุให้เกิดอกุสลจิตเหมือนกันนั้น กลับจัดเป็นสัจจที่ ๑ คือเป็นทุกขอริยสัจจ อันเป็นธรรมที่ควรรู้เท่านั้นเอง ดังนั้นก็ หมายความว่า โทสะ นี้ ไม่ต้องละไม่ต้องประหารกระนั้นหรือ ข้อนี้มีอธิบายว่าโลภะ คือความชอบใจ ติดใจ อยากได้นี้ เป็นรากฐานแห่งโทสะเป็นบ่อเกิด ของโทสะ เช่นเกิดชอบใจอยากได้สิ่งใดก็ตาม เมื่อไม่ได้ดังใจชอบก็เสียใจ น้อยใจ คือเกิดโทสะขึ้น หรือติดใจชอบใจในสิ่งใดอยู่ สิ่งนั้นกลับมีอันเป็นให้พลัดพรากจาก สูญไป ก็เสียดาย เสียใจ กลุ้มใจ เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้นถ้าไม่มีโลภะซึ่งเป็นต้นเหตุ แล้ว โทสะอันเป็นปลายเหตุก็ย่อมไม่มีเป็นธรรมดา
    ส่วนโมหะ นั้นย่อมต้องเกิดพร้อมกับโลภะหรือโทสะ โดยมี โลภะ หรือโทสะ เป็นตัวนำ โมหะเป็นตัวสนับสนุน เมื่อไม่มีโลภะตัวนำแล้ว โมหะตัวสนับสนุน ก็มีไม่ได้ เพราะไม่มีสิ่งที่จะสนับสนุน
    สำหรับโมหะที่เกิดพร้อมกับวิจิกิจฉา และโมหะที่เกิดพร้อมกับอุทธัจจะนั้น เมื่อประหารโลภะได้ ก็ย่อมแจ้งในอริยสัจจทั้ง ๔ เมื่อแจ้งในอริยสัจจแล้ว ย่อมหมด ความสงสัยหมดความฟุ้งซ่าน เมื่อไม่มีความสงสัย ไม่มีความฟุ้งซ่าน ก็คือไม่มีโมหะดังนั้น การประหารโลภะอันเป็นตัวสมุทัยได้แล้ว ก็เป็นอันไม่มีโทสะ และ โมหะ หมดโทสะหมดโมหะไปด้วยในตัว ไม่ต้องตั้งหน้าตั้งตาทำการประหารโทสะ โมหะ เป็นพิเศษเป็นการใหญ่เหมือนโลภะแต่อย่างใดเลย

    ความโลภนี้ ในปรมัตถทีปนีฎีกาได้จำแนกออกไปเป็น ๑๐ ประการ คือ

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY>
    <TR><TD vAlign=top width=175>๑. ตัณหา
    </TD><TD vAlign=top width=198>ความต้องการ
    </TD><TD vAlign=top width=107>๒. ราคะ
    </TD><TD vAlign=top width=162>ความกำหนัด
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=175>๓. กามะ
    </TD><TD vAlign=top width=198>ความใคร่
    </TD><TD vAlign=top width=107>๔. นันทิ
    </TD><TD vAlign=top width=162>ความเพลิดเพลิน
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=175>๕. อภิชฌา
    </TD><TD vAlign=top width=198>ความเพ่งเล็ง
    </TD><TD vAlign=top width=107>๖. ชเนตติ
    </TD><TD vAlign=top width=162>ความก่อให้เกิดกิเลส
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=175>๗. โปโนพภวิก
    </TD><TD vAlign=top width=198>ความทำให้เกิดในภพใหม่
    </TD><TD vAlign=top width=107>๘. อิจฉา
    </TD><TD vAlign=top width=162>ความปรารถนา
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width=175>๙. อาสา
    </TD><TD vAlign=top width=198>ความหวัง
    </TD><TD vAlign=top width=107>๑๐.สังโยชน
    </TD><TD vAlign=top width=162>ความเกี่ยวข้อง ผูกพัน ผูกมัด
    </TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>


    <BIG>
    </BIG>
    [​IMG]<SMALL><SMALL>
    </SMALL>
    </SMALL>​
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=30></TD></TR></TBODY></TABLE>

    ที่มา http://www.phuttawong.net
     
  16. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    กราบขอบพระคุณและโมทนาบุญกุศลกับทุกๆท่านได้บริจาคเพื่อร่วม
    ร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธด้วยกันนะครับ
    กราบเรียนเชิญทุกๆท่านนะครับถ้ามีเวลาว่างช่วงปลายเดือนมกราคม พ.ศ.2551ไปร่วมกันทำบุญด้วยมือและใจของท่านเองนะครับ


    "นิโรธสัญญา" สุดยอดปรมัตถธรรมของ"หลวงพ่อดาบส สุมโน"

    นิโรธสัญญา
    (หลวงพ่อดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต เชียงราย)
    นิโรธ แปลว่า ดับความทุกข์ ความชั่ว บาป ดับรูปกาย นามซึ่งมีในกายดับจากวัตถุธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า นิพพาน ดับหรือว่างจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลก นรก สวรรค์ พรหม ไม่เหลือการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งเป็นสาเหตุของความทุกข์ยากลำบากอีกต่อไป
    สัญญา แปลว่า ความจดจำ หมายจำเอาไว้หรือจำได้ นิโรธสัญญา จึงแปลว่า ความจำได้หมายรู้ในการดับความทุกข์ยากลำบากทั้งปวง ดับธาตุทั้งหมด ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้เหลือแต่ความว่างเปล่า การปฏิบัตินิโรธสัญญานี้เป็นทางลัด รวดเร็ว ทำง่ายมาก เป็นการปฎิบัติได้ผลรวดเร็วไม่ยากนัก เพียรเฝ้าทำจิตให้ว่างจากสิ่งที่เป็นของหนักคือ ร่างกายเราเขาหรือขันธ์ ๕ ขจัดสิ่งวุ่นวายวิตกกังวลเรื่องต่างๆออกจากจิตเท่านั้น
    ทางปฎิบัตินิโรธสัญญา ก็เริ่มด้วยตัดจิตให้มีเมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั่ว ๓ โลก นรกโลก เทวโลก รักษาศีล ๕ ให้ครบถ้วน การเฝ้ากำจัดความคิดที่ไม่ดีไร้สาระออกจากจิตก็เป็นสมาธิอย่างหนึ่ง การเฝ้าพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างในโลกในที่สุดก็แตกสูญสลายกลายเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นอากาศ แยกกระจายจากอณูเป็นอะตอมเล็กๆละเอียด เป็นธาตุว่างคือวิปัสสนาญาณ ผู้มีศีลเจริญสมาธิภาวนานิดเดียวตั้งจิตทำเพื่อจิตเข้าสู่ความสุขอย่างยิ่งคือ พระนิพพาน ก็เข้าถึงเมืองแก้วพระนิพพานได้ง่าย พระนิพพานนั้นไม่ใช่ไกลเกินเอื้อมออกไป อยู่ในจิตในใจเรานี่เอง เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน ทั้งที่ขันธ์ ๕ กายยังไม่แตกสลาย ถ้าร่างกายตายจิตสะอาดหมดความยึดติดในขันธ์ ๕ จิตก็จะเคลื่อนเข้าเสวยความสุขยอดเยี่ยมแดนทิพยนิพพาน เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน
    นิโรธสัญญา คือการเพียรพยายามทำจิตให้ว่างจากสิ่งที่เป็นของสมมุติทั้งปวงในโลก รวมถึงชีวิต คนและสัตว์ ทรัพย์สิ่งของเป็นของสมมุติเป็นของชั่วคราวทั้งสิ้นเป็นของปลอม พระนิพพานธาตุ พุทธิธาตุ ภูตะธาตุ อสังขธาตุ ทั้งหมดนี้เป็นของจริง เป็นธาตุอะตอมไม่ตายไม่สูญสลายเหมือนธาตุของโลก ถึงตาจะมองไม่เห็นแต่มีอยู่จริง เป็นธาตุบริสุทธิ์มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ไม่มีใครสร้าง เปรียบธาตุนิพพานอมตะนี้ก็เหมือนเมืองหรือฝั่งข้างโน้นที่เราจะข้ามไป จิตเป็นนามธรรม อาศัยอยู่ในกายในขันธ์ ๕ ที่เป็นของสมมุติชั่วคราว จิตเป็นธาตุบริสุทธิ์ โดยธรรมจากในจิตนั้น มีธรรมกายหรือพุทธิกาย หรือนามกายทิพย์ นิพพานกายอยู่ มีตา หู จมูก ลิ้น กายทิพย์ จิตทิพย์ ไม่ต้องทำขึ้น มีอยู่แล้ว ไม่ตายเป็นอมตะ ในกายทิพย์นิพพานไม่มีประสาท ไม่มีอวัยวะภายใน โปร่งใสเบา เย็นสบายเป็นจิตรู้ฉลาดสะอาดบริสุทธิ์ อิสระจากกฏทั้งปวงอยู่เหนือกฏของกรรมหรือกฏของธรรมชาติ หรือเรียกอีกอย่างว่า จิตของพระอรหันต์ จิตของพระขีณาสพ ผู้หมดกิเลสอวิชชาตัณหาอุปาทานบาปทั้งปวง
    รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ดีร้ายทั้ง ๖ นี้ เป็นผู้มาทีหลัง เป็นของผ่านไปมา เป็นของสมมุติ เป็นของปลอม ไม่ใช่ของจริง เป็นของร้อนเป็นของหนัก ถ้าจิตเราไปคิดเอาเป็นจริงก็ทำให้เกิดความไม่สบายใจ ผิดหวังเป็นทุกข์ใจมิได้หยุดหย่อน รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ทั้งหลายเป็นของสกปรกของชั่วคราวเป็นฝ่ายดำ เป็นสิ่งที่เราจะต้องรู้เท่าทัน และกำจัดออกจากจิตทันที คือให้ว่างเปล่าจากของที่เป็นทุกข์เป็นโทษ จิตจะอยู่ว่างเปล่าเฉยๆ ไม่ชินก็นึกถึงพระคุณความดีขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า นึกถึงฝั่งแดนทิพยนิพพานเป็นสุขเลิศล้ำ นึกถึงร่างกายสมมุตินี้ตายโดนเผาทิ้งแน่นอน แบบนี้จิตจะว่างจากของหนัก ว่างจากความเครียด ความฟุ้งซ่าน ความวุ่นวายหรือปลอดภัยจากอันตรายได้ เพราะจิตว่างสะอาด ปราศจาก โลภ โกรธ หลง เพราะมีแต่พระรัตนตรัย พระนิพพานเต็มเปี่ยมอยู่ในจิต แถมอีกนิดมีเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้ง ๓ โลก ต้องการให้ทุกผู้ทุกคนพ้นทุกข์ได้เหมือนเรา
    วิธีปฏิบัตินิโรธสัญญา หรือ ทำจิตให้ว่างจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน บาปกรรม มี ๓ อย่าง
    <DIR>๑) โน้มใจเข้าหาความว่าง ด้วยการนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระมหาเมตตา มีพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ นำสัตว์ชี้ทางเข้าสู่พระนิพพาน เริ่มระลึกถึงความว่างเปล่าไม่มีอะไร ทั้งโลกอากาศว่างเปล่า ธาตุว่างอยู่รอบตัวเราเอิบอาบไปทั่ว เป็นธาตุอะตอม โอบอุ้มทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นธาตุเบา ธาตุเย็น ธาตุสงบ ธาตุพอเพียง ธาตุแท้
    ๒) ทำจิตว่างด้วยสลัดขจัดทิ้งความคิดไม่ดีไร้สาระออกจากจิต หรือปล่อยวางอารมณ์ดีชั่วทั้งปวงออกจากจิตให้มีเพียงแต่คำว่ารู้ แต่ไม่นำเอามาคิดปรุงแต่งเป็นตัวเราตัวเขา เป็นแต่เพียงธาตุของโลก จิตเป็นธาตุเบาไม่เอาไปปนกับธาตุหนักๆของโลก กายก็เป็นธาตุของโลกไม่ใช่ของจิต แต่จิตก็เพียงให้รู้ว่าจิตมาอาศัยอยู่ในกายบ้านสมมุติชั่วคราว ไม่เอามาปนกับจิต จิตส่วนจิต กายส่วนกาย ไม่ใช่อันเดียวกัน มีกายแล้วจิตก็ทำเป็นว่าไม่มี เพราะไม่ช้ากายก็ตายสูญสลาย ไม่มีกายอีก เป็นของว่างๆ เพียรคิดสลัดกาย อารมณ์ทั้งหลายออกจากจิต จิตจะสว่างสะอาดจากกิเลสเฝ้าผูกพันยึดมั่นกายเรากายเขา แต่ก็ยังคงทำหน้าที่การงาน สังคมครบถ้วน จิตใจสะอาดผ่องใส ร่างกายก็ไม่มีโรคหรือโรคน้อย จิตก็จะแปรสภาพจากหนักเป็นเบา โปร่งสบาย จิตหยาบก็จะกลายเป็นจิตละเอียดสะอาดผ่องใส ไม่มีความวุ่นวายจิตสงบนิ่งมีปัญญาดี
    ๓) วิธีทำจิตให้สะอาดว่างจากกิเลสแบบให้สังเกตหรือจับดูอารมณ์ตามความเป็นจริง แต่มิใช่ให้จับแบบยึดมั่นถือมั่น คือจิตมันชอบคิดเรื่องต่างๆอยู่เสมอ มันคิดอะไรก็เอาเรื่องนั้นแหละมาพิจารณาดูให้ลึกและไกลออกไป ให้เห็นความไม่คงที่ จะเป็นไปในทางที่ดีหรือไม่ดีก็เท่ากันไม่มีอะไรเป็นจริงเป็นจัง เป็นแก่นสารย่อมถึงความแปรผันดับสูญเสมอกัน

    </DIR>เงาในกระจกหรือเงาในน้ำมิใช่ของจริงฉันใด สรรพสังขาราทั้งหมดก็ไม่ใช่ของจริงฉันนั้น หรือจะมองชีวิตทั้งหมดนี้เหมือนความฝันก็ได้ เพราะจุดจบของชีวิตคือความตาย ความตายของชีวิตร่างกายของคนนี่แหละ คือการตื่นจากความฝัน คือจิตออกจากร่างไปหาที่อยู่ใหม่ ที่อยู่ใหม่ของเราท่านเที่ยงแท้แน่นอนไม่ยอมแปรผันอีกต่อไปคือ แดนอมตะทิพยนิพพาน
    เมื่อมาพิจารณารู้ความจริงของชีวิตร่างกายทุกผู้ทุกนามแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ มีก็เท่ากับไม่มี คือว่างเปล่านั่นเอง เพราะสูญสลายไม่ช้าก็เร็ว
    เมื่อกำหนดจิตเห็นทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเป็นของว่างเปล่า จิตก็จะเข้าถึงความว่าง ธาตุว่างจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เมื่อพิจารณาทบทวนถึงความไม่มีในร่างกายเรากายเขา ขันธ์ ๕ เรา ขันธ์ ๕ เขา มันมีแล้วก็เหมือนกับไม่มี เพราะแปรปรวนไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่จริง เป็นของปลอมของสมมุติ หาตัวตนตัวเราตัวเขาไม่ได้ เพราะทุกอย่างมีแต่เดินทางหาความทรุดโทรม ผุพังสลายตายกันในที่สุด จิตก็จะหลุดจากกิเลสคือว่างจากความทุกข์ยาก จิตจะเป็นอิสระเสรีไม่ยึดเกาะในสิ่งของจอมปลอมอีกต่อไป ถึงแม้จิตจะยังอาศัยอยู่ในกาย แต่จิตไม่หลงรักว่าเป็นอันเดียวกับจิต อย่าเอาจิตไปนึกว่ามันมี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ปล่อยไปเพียงแต่ผ่านมาผ่านไปเท่านั้น ถ้าทรงอารมณ์อยู่จิตไม่สนใจขันธ์ ๕ ของใครวางเฉยไม่ทุกข์ร้อน ทำงานทุกอย่างตามหน้าที่ อารมณ์เฉยเป็นเอกัคตารมณ์ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีสำหรับเรา เราไม่มีสำหรับกาย จิตจะสะอาดเบิกบานผ่องใสพ้นจากความยึดมั่นในของปลอมของทุกข์ของร้อนพระท่านเรียกว่า จิตของพระอรหันต์
    วิธีทำจิตให้ว่างจากกายเรากายเขาแบบนี้ เป็นวิธีลัดแบบง่าย มีแต่พรหมวิหาร ๔ ไม่ยึดถืออารมณ์ใดๆมาไว้ในจิตมีความจำได้หมายรู้ก็เหมือนไม่มีความจำ เพราะความจำอยู่ได้ไม่นานไม่ช้าก็ลืม ประสาทสมองลืมง่าย ความคิดความจำ ความฟุ้งซ่าน วิตกกังวลเป็นเรื่องของกายให้สลัดทิ้ง ให้จิตเต็มไปด้วยพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จิตจะเบาบริสุทธิ์สะอาด จิตอันนี้เราจะตามรอยพระพุทธบาทเมื่อกายพังแตกสลาย
    ผู้เพียรทำจิตให้ว่างจากร่างกาย หรืออารมณ์ต่างๆแบบนี้เป็นแบบของพระอริยเจ้า เป็นสมาธิเป็นวิปัสนาญาณอยู่ด้วยกัน ทำได้ทุกเวลา ทุกอิริยาบถ นั่ง นอน ยืน เดิน ทำได้ทั้งที่อยู่คนเดียวและอยู่แบบหมู่คณะ เป็นทางหลุดพ้นทุกข์ได้อย่างแน่นอน เป็นทางลัดตรงไปสู่จุดหมายปลายทางคือ พระนิพพาน
    นิพพานธาตุ คือ นิโรธธาตุ อันเดียวกัน มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แม้ในจิตเราท่านที่อยู่ในร่างกายที่สกปรกนี้ ทำจิตให้เข้าถึงพระนิพพานได้ทันทีทั้งๆที่ยังไม่ตาย นิพพานไม่ใช่มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก แต่อยู่เหนือโลกทั้งสิ้น มีอยู่ทั่วไปถ้าจิตจิตดับทุกข์ดับขันธ์ ๕ ว่างจากกิเลสจะรู้สภาวะพระนิพพานทันที
    นิโรธสัญญา คือทำจิตให้ว่างไม่มีอารมณ์ใดๆทั้งปวงคือเฉยๆ จิตจะสะอาดปล่อยวางจากทุกสิ่งทุกอย่างทั้งโลก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จิตจะเข้าสู่ภาวะ ที่เป็นจิตพุทธะดั้งเดิม จิตประภัสสร

    นิโรธสัญญา ทำจิตให้ว่างจากพันธะใดๆในโลก จะทำวิชชาให้สำเร็จด้วยฤทธิ์ก็ย่อมได้ เพราะจิตสงบทรงตัว แต่ท่านที่เจริญความว่างทางจิตแบบนี้ ท่านไม่ต้องการอิทธิฤทธิ์ใดๆ ความรู้พิเศษใดๆอีก ทั้งสิ้น เพราะจิตท่านอิ่มด้วยความสุข สงบ สบาย สว่างสดใส ไม่ต้องการอะไรอีกต่อไป เป็นความสุขยอดเยี่ยม ไม่สามารถบรรยายเป็นตัวหนังสือได้

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=text1 vAlign=top align=left height=20>"หลวงพ่อดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต เชียงราย" <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25> </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ขอบพระคุณจ้อมูลจากเว็บพุทธวงศ์</TD></TR><TR><TD class=text1> : ที่มา http://www.phuttawong.net</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 มกราคม 2008
  18. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    พระอนุตรโลกุตราจารย์แห่งวงศ์กรรมฐาน

    พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    พระอาจารย์เสาร์ ฉายา กนตสีโล เกิด ณ วันจันทร์ แรม ๔ ค่ำ เดือนยี่ ปีระกา ตรงกับ วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๔๐๒ ที่บ้านข่าโคม ตำบลหนองขอน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

    เนื่องจากท่าน เป็นพระวิปัสสนากรรมฐาน รุ่นแรกๆ แต่ครั้งอดีต ก่อนที่จะ มีการบันทึกจดจำ ประวัติของท่าน ได้โดยละเอียด ถี่ถ้วน จึงทำให้ทราบ แต่เพียงชีวประวัติย่อ เท่านั้น

    ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรมและปฏิปทา
    ภายหลังที่หลวงปู่เสาร์ ท่านได้สละเพศ ฆราวาสแล้ว ท่านอุปสมบท ที่วัดใต้ จังหวัด อุบลราชธานี ภายหลังต่อมา ได้ญัตติ เป็นพระธรรมยุต ที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม ปัจจุบัน) มีพระครูทา โชติปาโล เป็นพระอุปัชณายะ เจ้าอธิการสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    ท่านเป็นผู้มีอัธยาศัย น้อมไป ในสมาธิวิปัสสนา และพอใจ แนะนำสั่งสอนผู้อื่น ในทางนั้นด้วย เป็นผู้ใฝ่ใจ ในธุดงควัตร หนักแน่น ในพระธรรมวินัย ชอบวิเวก ไม่ติดถิ่นที่อยู่ และท่านได้รับ ความสงบใจ ในการปฏิบัติเป็นอย่าง
    หลวงปู่เสาร์ กนตสีโล เจริญธรรมโดยลำดับ แห่งองค์ภาวนา ต่อมาท่านมีความคิดว่า การที่ท่านปฏิบัติภาวนา อยู่นี้ ก็ได้ผล เป็นที่น่าพอใจ แต่ทางที่ดี ควรออกไปอยู่ป่าดง หาสถานที่สงบ จากผู้คน จิตใจ คงจะสงบกว่านี้ เป็นแน่แท้ ดังนั้น ท่านได้ออกธุดงค์ มุ่งสู่ป่าทันที ในวันรุ่งขึ้น ความปรารถนาของท่าน ก็เพื่อภาวนา และพิจารณาสมาธิธรรม ถ้าแม้เป็นจริง ดังคำตั้งใจแล้ว เมื่อกลับเข้าสู่วัด ท่านจะนำความรู้ ที่เกิดจากจิตใจ เหล่านั้น มาเผยแผ่ ยังผู้ที่หวัง ซึ่งความพ้นทุกข์ ต่อไป
    ภายหลังจาก หลวงปู่เสาร์ กนตสีโล ไปอยู่ป่าดง ฝึกฝนจิตใจ เจริญ ศีล สมาธิ ปัญญา จำพรรษา ในท่ามกลาง สิงสาราสัตว์ ในหุบเขา ถ้ำลึก เป็นเวลาอันสมควร ท่านจึงได้ ออกมาเปิดสำนัก ปฏิบัติธรรม ในวัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ในสมัยก่อนนั้น มีพระสงฆ์ฆราวาส ที่สนใจ กันอย่างจริงจัง ไม่มากนัก ถึงกระนั้น ท่านก็ไม่ได้ ลดละความพยายาม ท่านก็ได้ตั้งอกตั้งใจ ในการสอนอบรม ผู้สนใจ ในธรรม ให้เกิดความรู้แจ้ง แก่ผู้ปฏิบัติ เพื่อเป็นหลักยืนยัน ว่าการเจริญศีล สมาธิปัญญานี้ เป็นความสงบ และสามารถทำตน ให้หลุดพ้นได้จริง
    ดังคำพระธรรมเทศนา โดยพระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต แสดงที่ วัดถ้ำกลองเพล เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๓๒ "เรื่องปฏิปทา ของพระกรรมฐาน" ตอนหนึ่งว่า "..หลวงปู่เสาร์ เป็นบูรพาจารย์ ของพระกรรมฐาน ทั้งหลาย ในภาคอีสาน แต่ก่อนพระกรรมฐาน ไม่ได้มีมากมาย เหมือนอย่าง สมัยปัจจุบันนี้ เพราะว่าไม่มีใคร ไปศึกษา และนำไปประพฤติปฏิบัติ ไม่มีใคร หอบเอาความรู้ จากพระไตรปิฏก มาสอนคน โดยมากสมัยก่อน เทศน์ ไปตามหนังสือ อ่านให้โยมฟัง พออ่านเสร็จ โยมก็สาธุ นึกว่าได้บุญแล้ว และก็พากันกลับบ้าน บางวันเทศน์ เรื่องพระโพธิสัตว์ใช้ชาติ เช่น สัญชัย ท้าวก่ำกาดำ เรื่องมโฆสก ฯลฯ ไม่ให้เอาธรรมะ มาสอนใจ ของตัวเราเอง เพราะฉะนั้น หลวงปู่ ครูอาจารย์ ทั้งหลายนี้ ท่านเอาแต่ ประพฤติปฏิบัติ รู้ธรรมแจ้งมาสอนเรา.. "
    หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล ท่านมีลูกศิษย์ที่สำคัญและมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งยุคสมัยก็คือ "ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต"
    ปัจฉิมวัย ท่านพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ท่านมรณภาพ ที่วัดอำมาตย์ เมืองจำปาศักดิ์ คณะศิษย์นำสรีระท่าน มาถวาย เพลิงที่วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.อุบลราชธานี

    ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เป็นพระอาจารย์ ทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ของภาคอีสาน รุ่นเก่าแก่ ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ควรแก่การกราบไหว้บูชา อย่างสูงยิ่ง ปฏิปทาของท่าน เด็ดเดี่ยว เยือกเย็น มั่นคง น่าเคารพ เลื่อมใส ยิ่งนัก ชีวประวัติของท่าน ก็งดงามยิ่ง ไม่มีความด่างพร้อย ตลอดเวลา ที่ทรงดำรงเพศบรรพชิต จวบจนวาระสุดท้าย ของชีวิต ก็ยิ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจ ในความเด็ดเดี่ยว เคร่งครัด ของการทรงศีล ครองธรรม ตามพระธรรมวินัย ของบูรพาจารย์ ผู้เป็นทั้งพ่อแม่ และครูอาจารย์ ของพระภิกษุสามเณร จริยาวัตร ของท่านสมบูรณ์ บริสุทธิ์ผุดผ่อง สง่าผ่าเผย จิตใจเปี่ยมล้นเมตตา เป็นที่ยึดเหนี่ยวหัวจิต หัวใจ ของปวงชน ลูกศิษย์ ลูกหา ทั้งหลาย ตลอดทั้งสอง ฝั่งลุ่มแม่น้ำโขง วาจาของท่านนั้น ว่ากันว่า มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ปรกติท่านพูดน้อยมาก แต่ไม่ว่า จะกล่าวคำใดออกไป มักจะเป็นจริง ตามนั้นเสมอ ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้มอบกาย ถวายชีวิตนี้ ปฏิบัติกิจพระศาสนา ฝากฝังจิตใจ ไว้ในบวรพระพุทธศาสนา ท่านเจริญเดินตามทาง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ทุกประการ มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นำคณะศรัทธาทั้งหลาย ให้ได้เจริญศีล สมาธิ ปัญญา ให้ได้รู้จักแยกแยะซึ่ง บาป บุญ คุณ โทษ ทั้งหลายทั้งปวง
    "กล่าวได้ว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร เป็นพระอาจารย์ ทางด้านวิปัสสนาธุระ รุ่นแรก ที่บุกเบิกชักนำ หมู่คณะ ออกเดินธุดงค์ ด้วยเท้าเปล่า ไปตามป่า ตามภูเขา ทางภาคอีสาน หลีกลี้หนีความพลุกพล่าน วุ่นวาย เที่ยวแสวงหา ที่วิเวก เพื่อบำเพ็ญเพียร ปฏิบัติธรรม โดยท่านถือปฏิบัติ จนเป็นนิสัย คือ ภายหลังจาก ออกพรรษา ท่านจะพากัน ออกเดินทาง ตามหลังกันเป็นแถว บ่าข้างหนึ่ง สะพายบาตร บ่าข้างหนึ่ง สะพายย่าม แลแบกกลด มือถือกระบอกน้ำ ครองผ้าจีวรสีกรัก (ย้อมด้วยแก่นขนุน) แต่ละย่างก้าว อยู่ในอาการสำรวม เป็นที่น่าแปลกตา แปลกใจ และน่าทึ่งอยู่ไม่น้อย สำหรับผู้คน ในสมัยนั้น ที่พึ่งจะได้ประสบ พบเห็น หมู่คณะพระธุดงค์แบบอย่างนี้ "
    ปฏิปทาและวัตรปฏิบัติ ของท่านนั้น ได้ก่อให้เกิดสานุศิษย์ มากมาย ที่ดำเนินรอยตามท่าน เพื่อสืบทอด ธุดงควัตร มาจนกระทั่งบัดนี้
    ที่มา..เวปธรรมะไทย

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=text1 vAlign=top align=left height=20>ขอบพระคุณจ้อมูลจากเว็บพุทธวงศ์</TD></TR><TR><TD class=text1>: ที่มา http://www.phuttawong.net</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. nathaphat

    nathaphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +750
    เมื่อวานโอนปัจจัยไปร่วมทำบุญ 200 บาท ครับ (ณฐภัทร และครอบครัว)
    26/12/07 17.09 TMB T002B157 SCHQ SUBBR.ADM
    2647 FUND TFER

    อนุโมทนากับทุกๆท่านด้วยนะครับ
     
  20. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    ความหวังที่เป็นจริง กับ รูปถ่ายนิโรธสมาบัติ ที่"เก่งกว่าเหรียญ"??!!??


    เมื่อปีพ.ศ. 2507 หลวงพ่อกัสสปมุนีได้เดินทางไปยังชมพูทวีปหรือประเทศอินเดีย และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นนานถึง 5 เดือน ตลอดเวลาที่ท่านเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ท่านจะห่มดองหรือห่มลดไหล่ตลอด ในขณะที่พระเถระองค์อื่น ๆ จะห่มคลุมตามพระวินัยบัญญัติว่า เมื่อภิกษุออกนอกบริเวณวัด ต้องห่มคลุมให้เป็นปริมณฑลคือข้างบนจีวรต้องติดคอ ด้านล่างต้องคลุมครึ่งแข้งจึงถูกต้อง แต่การที่หลวงพ่อห่มดองตลอดรายการนั้น ท่านให้เหตุผลว่าชมพูทวีปเป็นดินแดนแห่งพระพุทธองค์ ทุกหนแห่งล้วนแต่เป็นแผ่นดินของพระองค์ที่ทรงจาริกไปแสดงธรรม จึงถือว่าเป็น
     

แชร์หน้านี้

Loading...