ขอเชิญท่านที่มีความจงรักภักดีและเทิดทูนในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย จงรักภักดี, 28 เมษายน 2009.

  1. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    แผ่นภาพพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0061.jpg
      0061.jpg
      ขนาดไฟล์:
      468.8 KB
      เปิดดู:
      469
  2. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระพิชัยสงคราม

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0062.jpg
      0062.jpg
      ขนาดไฟล์:
      380.9 KB
      เปิดดู:
      469
    • 0063.jpg
      0063.jpg
      ขนาดไฟล์:
      301.7 KB
      เปิดดู:
      60
    • 0064.jpg
      0064.jpg
      ขนาดไฟล์:
      340.4 KB
      เปิดดู:
      64
  3. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เครื่องพิชัยยุทธ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0065.jpg
      0065.jpg
      ขนาดไฟล์:
      401.8 KB
      เปิดดู:
      541
  4. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระแสงดาบคาบค่าย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0067.jpg
      0067.jpg
      ขนาดไฟล์:
      278.8 KB
      เปิดดู:
      860
  5. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนสมัยโบราณ : การทูตบรรณาการ

    ประเทศไทย หรือที่รู้จักกันในสมัยโบราณว่าสยาม และประเทศจีน เป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงมาช้านาน ชาวไทยและชาวจีนได้ไปมาหาสู่และติดต่อสัมพันธ์กันทั้งทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจและการเมืองมาตั้งแต่โบราณ แม้ว่าประเทศจีนเป็นประเทศที่ใหญ่กว่าและมีพลเมืองมากกว่าประเทศไทยก็ตาม แต่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองส่วนมากจะมีลักษณะที่เอื้อประโยชน์ต่อ กันฉันท์ญาติมิตร ตลอดระยะเวลาอันยาวนานของประวัติศาสตร์ ประเทศไทยกับประเทศจีนได้มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิด บางขณะอาจไปมาหาสู่กันบ่อยครั้ง ในบางคราวอาจห่างเหินไปบ้าง อันเนื่องมาจากปัญหาภายในของแต่ละประเทศและสถานการณ์ระหว่างประเทศ


    เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุงยึด อำนาจแผ่นดินใหญ่จีน และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นคอมมิวนิสต์ โดยสถาปนาประเทศเป็น “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ไทยมิได้รับรองรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน จนกระทั้งวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518 เมื่อ ฯพณฯ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้น เดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่ง และลงนามในแถลงการณ์ความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับโจรเอินไหล นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน นับตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ทวีความใกล้ชิดยิ่ง ขึ้น โดยมีการเดินทางไปมาหาสู่กันทั้งในระดับประชาชนทั่วไปและระดับผู้นำของทั้ง สองประเทศ อีกทั้งความสัมพันธ์ก็ขยายครอบคลุมไปทุก ๆ ด้าน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม

    ในการศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาชน จีน ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมา และแนวโน้มในอนาคต จำเป็นต้องเข้าใจความเป็นมาหรือประวัติภูมิหลังของความสัมพันธ์ไทยและจีนใน อดีตด้วย
    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนในอดีตก่อนการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการ ทูตอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2518 นั้น ได้พัฒนาเป็น 3 ระยะดังนี้ คือ

    1. ความสัมพันธ์ในสมัยโบราณ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างจีนราชวงศ์ต่างๆ กับไทย ตั้งแต่สมัยที่อาณาจักรโบราณตั้งเมืองหลวงอยู่ที่สุโขทัยใน พ.ศ. 1825 ต่อมาย้ายเมืองหลวงมาที่อยุธยา ธนบุรี และกรุงเทพฯ จนถึง พ.ศ. 2396 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งราชวงศ์จักรีที่กรุงเทพฯ

    2. ความสัมพันธ์สมัยใหม่ ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทยที่เผชิญกับจักรวรรดินิยมตะวันตกระหว่าง พ.ศ. 2400 – 2488 ซึ่งเป็นปีสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

    3. ความสัมพันธ์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2489 จนถึง พ.ศ. 2517 ก่อนการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2518


    1.ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนสมัยโบราณ : การทูตบรรณาการ

    ประเทศไทยและจีน แม้ว่าจะอยู่ไม่ไกลกัน แต่การติดต่อถึงการทางบกในสมัยโบราณค่อนข้างลำบาก เนื่องจากเส้นทางและภูมิประเทศค่อนข้างทุรกันดาร ดังนั้น การติดต่อระหว่างประเทศทั้งสองจึงมักใช้ทางทะเล ซึ่งนำไปสู่ “การค้าสำเภา” (Junk Trade) ระหว่างกัน เดิมจีนมีศูนย์กลางอำนาจที่ลุ่มแม่น้ำฮวงโฮ จีนสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (พ.ศ. 337 – 568) ได้ส่งทูตมาติดต่อกับชุมชนโบราณหลายชุมชนในเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งบริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีน แม่กลอง และเจ้าพระยา เช่น ตว้อหลอพอตี้ (ทวาราวดี) หลอหู (อาจหมายถึงละโว้หรืออู่ทอง) เสียน (อาจหมายถึงสุพรรณภูมิหรือสุโขทัย) การติดต่อระหว่างไทยกับจีนในสมัยโบราณนั้นมีมานานแล้ว แต่เท่าที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์สมัยโบราณอย่างเป็นทางการได้เริ่มขึ้นในสมัยสุโขทัยของไทย ซึ่งเป็นสมัยเดียวกันกับที่ราชวงศ์หยวนของเผ่ามองโกลในจีน การติดต่อระหว่างจีนกับไทยได้มีขึ้นโดยทางฝ่ายจีนเป็นผู้ริเริ่มก่อน พงศาวดารจีนราชวงศ์หยวนได้บันทึกไว้ว่า ประมาณปี พ.ศ. 1825 จักรพรรดิกุบไลข่านแห่งราชวงศ์หยวนได้ส่งทูตเข้ามาติดต่อกับอาณาจักร “เสียน” ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

    “ปีที่ 19 ในรัชกาลจื้อหยวน เดือนหก วันจีไฮ่ มีรับสั่งให้เหอจื่อจื้อซึ่งเป็นนายพล เป็นทูตไปยังประเทศสยาม (เสียน)” แต่ปรากฏว่าคณะทูตของจีนชุดนี้มาไม่ถึงสุโขทัย เพราะถูกพวกจามแห่งอาณาจักรจามปาจับตัวในระหว่างเดินทางและประหารชีวิตหมด”

    ต่อมา พ่อขุนรามคำแหงแห่งอาณาจักรสุโขทัยได้ส่งคณะทูตไปยังจีนครั้งแรก ใน พ.ศ. 1835 ดร. สืบแสง พรหมบุญ นักประวัติศาสตร์ ได้สันนิษฐานว่า การส่งทูตไปยังจีนครั้งนั้นมีเป้าหมายทางการเมือง เป็นการดำเนินวิเทโศบายทางการทูตของอาณาจักรสุโขทัยเพื่อป้องกันมิให้ จักรพรรดิกุบไลข่านสนับสนุนอาณาจักรสุพรรณภูมิ ทั้งนี้เพราะอาณาจักรสุพรรณภูมิได้เคยส่งเครื่องบรรณการไปยังจีน ใน พ.ศ. 1834 เพื่อขอความสนับสนุนทางการเมือง

    เอกสารทางฝ่ายจีนได้ระบุว่า อาณาจักรสุโขทัยได้ส่งคณะทูตพร้อมด้วยของพื้นเมืองถวายเป็นกำนัลแก่ จักรพรรดิราชวงศ์หยวนในจีน รวม 14 ครั้ง ระหว่าง พ.ศ. 1835 จนถึง พ.ศ. 1865 ส่วนจีนสมัยราชวงศ์หยวนได้ส่งทูตมายังสุโขทัย 4 ครั้ง แต่มาถึงสุโขทัยเพียง 3 ครั้ง โดยมีเป้าหมายที่จะแผ่อำนาจของจักรพรรดิกุบไลข่านและให้สุโขทัยอ่อนน้อม การส่งทูตติดต่อระหว่างจีนกับไทยในสมัยสุโขทัยนี้ได้ส่งผลให้การค้าระหว่าง อาณาจักรทั้งสองขยายตัว อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดความรู้ของจีนมายังไทย โดยช่างจีนได้เข้ามาทำเครื่องปั้นดินเผาจนเป็นที่รู้จักกันในนาม “เครื่องสังคโลก” ต่อมาเครื่องสังคโลกได้กลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัย

    ต่อมาสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง อยุธยาซึ่งอยู่ทางตอนใต้ภายใต้การนำของราชวงศ์อู่ทองของสุพรรณภูมิเข้มแข็ง ขึ้น และขึ้นมาเป็นใหญ่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนในแผ่นดินจีน ชาวจีนได้โค่นล้มราชวงศ์หยวนของเผ่ามองโกลและสถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พงศาวดารของจีนเรียกไทยว่า “เสียนหลอหู” และต่อมาย่อเป็น “เสียนโล้” ชื่อนี้ปรากฏในพงศาวดารราชวงศ์หมิงเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 1913 ว่า

    “ปีที่ 3 ในรัชกาลหงหวู่ เดือนที่ 8 มีรับสั่งให้ลู่จงจุ้นกับพวกอัญเชิญพระบรมราชโองการ (ประกาศการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิ) ไปยังประเทศสยาม” (เสียนโล้)

    พระบรมราชาธิราชที่ 1 กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ได้โปรดให้ส่งของพื้นเมืองพร้อมทั้งเชิญพระราชสาส์นไปถวายจักรพรรดิจีน ซึ่งพงศาวดารราชวงศ์หมิง เล่มที่ 374 ได้บันทึกไว้ว่า

    “ปีที่ 4 ในรัชกาลหงหวู่ เดือน 9 ซันเลียเจาพีเอี๋ย (สมเด็จเจ้าพระยา คงหมายถึงพระบรมราชาธิราชที่ 1) กษัตริย์ของประเทศสยามอัญเชิญพระราชสาส์น พร้อมด้วยลู่จงจุ้นและพวกมาถวายเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งประกอบด้วย ช้างบ้าน 6 เชือก เต่าหกขา และของพื้นเมืองอื่นๆ (จักรพรรดิ) ทรงมีพระบรมราชโองการให้ประทานแพรกิมและแพรดอกขาวอย่างดีแก่กษัตริย์ (สยาม)”

    หลังจากรัชกาลพระบรมราชธิราชที่ 1 แล้ว กรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีเพื่อค้าขายกับจีนประมาณ 130 ครั้ง ในระยะเวลาเกือบ 400 ปี ระหว่าง พ.ศ. 1914 ถึง พ.ศ. 2309 ส่วนจีนในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ได้ส่งทูตมายังกรุงศรีอยุธยาประมาณ 17 ครั้งด้วยกัน ในสมัยราชวงศ์หมิง จักรพรรดิหย่งเล่อได้ส่งกองเรือนำโดยนายพลเรือเจิ้งเหอ (นามเดิมหม่าซานเปา หรือที่คนไทยเรียก ซำเปากง) นักเดินเรือที่ยิ่งใหญ่ของจีน ให้เดินทางมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแวะที่กรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 1951 สัมพันธภาพระหว่างจีนกับไทยในสมัยอยุธยานี้ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น มีชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในกรุงศรีอยุธยามากขึ้น และรับราชการอยู่กับฝ่ายไทย ยิ่งไปกว่านั้น การค้าสำเภาระหว่างไทยกับจีนในสมัยอยุธยานี้ได้ทำให้กรุงศรีอยุธยามั่งคั่ง และกลายเป็นศูนย์กลางของการค้าระหว่างประเทศทางตะวันตกคือยุโรป กับประเทศทางตะวันออกคือจีนอีกด้วย

    เมื่ออยุธยาล่มสลายด้วยกำลังทหารของพม่าใน พ.ศ. 2310 ผู้นำไทยย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี และต่อมาที่กรุงรัตนโกสินทร์หรือกรุงเทพฯ ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเทศไทยและประเทศจีนก็ยังคงมีสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน ไทยยังคงส่งทูตเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปถวายแก่จักรพรรดิ จีนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อขอความสะดวกในการค้าสำเภา ในสมัยธนบุรีและตลอด 4 รัชกาลแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยได้ส่งทูตไปจีนรวม 56 ครั้ง จนถึง พ.ศ. 2396 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 รัชกาลแรก ไทยส่งคณะทูตไปจีนแทบทุกปี การติดต่อระหว่างประเทศไทยกับจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าสำเภา ได้สร้างความมั่งคั่งให้กับกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่างมาก ผลกำไรจากการค้าสำเภากับจีน ทำให้ไทยมีเงินทุนเพียงพอในการสร้างบ้านเมืองเพื่อทำสงครามต่อต้านการรุกราน ของพม่าและเพื่อการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนในสมัยโบราณนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นความสัมพันธ์ใน “ระบบบรรณาการ” (Tribute) หรือเจิงกุง (ไทยมักอ่านว่าจิ้มก้อง) อันเป็นประเพณีสัมพันธไมตรีของจีนกับประเทศอื่นๆ ในสมัยโบราณ ทั้งนี้เพราะจีนมีความเชื่อมานานตามอิทธิพลทางความคิดของลัทธิขงจื้อที่ว่า จีนเป็นอาณาจักรกลาง (จงกั๊ว หรือ Middle Kingdom) เป็นศูนย์กลางของอำนาจและอารยธรรมโลก เนื่องจากมีความเจริญมาช้านาน ดังนั้น จีนจึงมักมองดินแดนอื่นที่อยู่โดยรอบว่าด้อยกว่า และจะต้องยอมรับสวามิภักดิ์กับจีน โดยการส่งเครื่องบรรณาการแก่จักรพรรดิจีนตามกำหนด ส่วนจีนซึ่งเป็นประเทศที่ใหญ่กว่าและเจริญกว่า จะให้ความช่วยเหลือคุ้มครองประเทศเล็กๆ เหล่านี้ อีกทั้งยังให้ผลประโยชน์อื่นๆ ทั้งทางการเมืองโดยยอมรับฐานะกษัตริย์ และทางเศรษฐกิจโดยอนุญาตให้ค้าขายได้อย่างเสรี

    อย่างไรก็ดี ผู้นำของไทยมิได้ยอมรับตามคตินิยมของจีน ไทยมิได้หวาดกลัวว่าจีนจะคุกกคาม เนื่องจากจีนอยู่ห่างไกล และไม่เคยคุกคามความมั่นคงของไทยเลย ไทยส่งคณะทูตพร้อมด้วยพระราชสาส์นและของกำนัลหรือเครื่องบรรณาการ ก็เพื่อความสะดวกในการค้าขาย พระราชสาส์นของกษัตริย์ก็เป็นการแสดงสันถวไมตรี มิได้แสดงว่าอ่อนน้อมยอมเป็นเมืองขึ้น ส่วนเครื่องบรรณาการที่ส่งไปด้วย ก็เพื่อแสดงไมตรีจิต และเพื่อเป็นไปตามความต้องการของจีนตามประเพณีจีน

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายเกี่ยวกับสัมพันธไมตรีไทยกับจีน ในสมัยโบราณนี้ว่า

    “เหตุที่เมืองไทยจะเป็นไมตรีกับกรุงจีนนั้น เกิดแต่ด้วยเรื่องไปมาค้าขายถึงกันทางทะเล เมืองไทยมีสินค้าหลายอย่าง ซึ่งเป็นของต้องการในเมืองจีนแต่โบราณมาเหมือนกับทุกวันนี้ และเมืองจีนก็มีสินค้าหลายอย่างที่ไทยต้องการเหมือนกัน การไปมาค้าขายกับเมืองจีน ไทยได้ผลประโยชน์มาก แต่ประเพณีจีนในครั้งนั้น ถ้าเมืองต่างประเทศไปค้าขายต้องมีเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงจีน จึงจะปล่อยให้ค้าขายได้โดยสะดวก เพราะเหตุนี้จึงมีประเพณีที่ถวายบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงจีน ไม่แต่ประเทศไทยเรา ถึงประเทศอื่นก็อย่างเดียวกัน ความจริงบุคคลต่างชาติกัน จะมีชาติใดที่รักชอบกันยืดยาวมายิ่งกว่าไทยกับจีนนี้ไม่เห็นมี ด้วยไม่เคยเป็นศัตรูกัน เคยแต่ไปมาค้าขายแลกผลประโยชน์ต่อกันมาได้หลายร้อยปี ความรู้สึกทั้งสองปกติจึงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมาแต่โบราณจนตราบเท่าทุก วันนี้...”

    ดร. สืบแสง พรหมบุญ นักประวัติศาสตร์ไทยที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและ จีนในสมัยโบราณ ได้กล่าวสรุปว่า แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองจะมีลักษณะคล้ายระบบบรรณาการก็ตาม แต่ “สัมพันธภาพนั้นเป็นเพียงในนามมากกว่า...จุดมุ่งหมายที่สำคัญของคณะทูตไทย นั้นดูจะเป็นด้านเศรษฐกิจ และบรรดาของกำนัลที่มอบให้จีนนั้น ก็ถือว่ามิได้มีความหมายอื่นใดมากไปกว่าของกำนัลตามมารยาท... ความจริงคณะทูตไทย นับจากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา เปรียบเหมือนขบวนเรือบรรทุกสินค้าจากไทยไปจีน และบรรทุกสินค้าจากจีนกลับมาไทยมากกว่า”

    ต่อมาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนใน “ระบบบรรณาการเพื่อการค้า” นี้ได้ลดความสำคัญและประโยชน์ลง ในตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ไทยได้ทำการค้ากับตะวันตกมากขึ้นหลังจากการทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ พ.ศ. 2398 ในขณะที่ผลกำไรจากการค้าสำเภาจีนได้ลดลงตามลำดับ ทั้งนี้เพราะความไม่ปลอดภัยในการเดินทาง เนื่องจากจักรพรรดิ์ราชวงศ์ชิงในระยะหลังอ่อนแอ อีกทั้งเผชิญกับปัญหาการต่อต้านจากภายในและการท้าทายคุกคามจากภายนอก ไทยได้ส่งคณะทูตไปจีนเป็นครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2396 และหลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงยุติการส่งคณะทูตและ การค้าบรรณาการกับจีน เพราะพระองศ์ท่านไม่ประสงค์จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่ประเทศที่ติดต่อ กับไทย อีกทั้งประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไทยได้รับไม่คุ้มกับการลงทุนเนื่องจากความไม่ ปลอดภัยในการเดินทาง อาจกล่าวได้ว่า พ.ศ. 2396 เป็นปีสุดท้ายของการส่งบรรณาการเพื่อการค้า นับเป็นการสิ้นสุดความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนในสมัยโบราณภายใต้ระบบ บรรณาการเพื่อการค้า
     
  6. fullmoonsun

    fullmoonsun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    735
    ค่าพลัง:
    +2,321
    anumothana ka
     
  7. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    เมื่อวันอาทิตย์ที่แล้วทางสายธาตุไปถ่ายรูปเรือสำเภาโบราณของประเทศต่างๆที่มาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาในสมัยโบราณ

    ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น สเปน ฮอลันดา อังกฤษ โปรตุเกส ฝรั่งเศส

    เป็นรูปวาดแขวนไว้ที่ศาลาการเปรียญโบราณวัดปราสาท จ.นนทบุรี

    ขอหารูปก่อนแล้วจะมาโพสให้ดูค่ะ
     
  8. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    ขออนุโมทนา กับภาพทุกภาพที่สร้างสรรค์ขึ้นมา
    เพื่อประกาศพระเกียรติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


    กราบขอบพระคุณ พระอาจารย์ พระมหาฤทธิชัย กัลยาโน
    ผู้สร้างสรรค์ผลงานภาพที่ทรงคณค่า แก่แผ่นดิน ที่อนุญาติให้เผยแพร่ผลงาน


    อนุโมทนา กับคุณพี่ทางสายธาตุ ที่นำมาเผยแพร่ ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2010
  9. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ความสัมพันธ์ของกรุงศรีอยุธยากับประเทศในทวีปยุโรป

    ความสัมพันธ์กับประเทศในทวีปยุโรป

    ชาวยุโรปหรือชาวตะวันตกได้เข้ามาติดต่อกกับกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 21 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือต้องการเครื่องเทศ พริกไทย และในขณะเดียวกันเพื่อต้องการเผยแพร่คริสต์ศาสนาด้วยโดยประเทศต่างๆ ที่เข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาได้แก่

    1. ประเทศโปรตุเกส เข้ามา พ.ศ.2054 ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
    2. ประเทศสเปนเข้ามาในพ.ศ.2141 ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    3. ประเทศฮอลันดาเข้ามา พ.ศ.2147 ในสมัยตอนปลายของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
    4. ประเทศอังกฤษ เข้ามาในพ.ศ.2155 สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
    5.ประเทศเดนมาร์ก เข้ามาในพ.ศ.2164 สมัยตอนปลายสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
    6. ประเทศฝรั่งเศสเข้ามาในพ.ศ.2205 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

    [​IMG]

    3.1 โปรตุเกส

    โปรตุเกสเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เดินทางเข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาในพ.ศ.2504 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ด้วยการส่งฑูตชื่อดอาร์เต้ เฟอร์นันเดส มาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาส่วนทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งทูตไปมะละกาและพระราชสาสน์ไปถวายกษัตริย์ของโปรตุเกส

    ต่อมาในพ.ศ.2059 ไทยกับโปรตุเกสได้ทำสนธิสัญญาสัมพันธไมตรี และการค้าต่อกัน โดยให้ชาวโปรตุเกสเข้ามาทำการค้าและเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในกรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองต่างๆของไทย เช่นมะริด ตะนาวศรี ปัตตานี และนครศรีธรรมราช เป็นต้น สำหรับสินค้าของโปรตุเกสที่ทางกรุงศรีอยุธยามีความสนใจมากเป็นพิเศษคือปืนไฟ กระสุนปืน และดินปืน และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สนพระทัยในอาวุธและยุทธวิธีของโปรตุเกสมากจนสามารถแต่งตำราพิชัยสงครามได้ ได้เชิญชาวโปรตุเกสเข้ามาเป็นทหารอาสาในไทยและช่วยไทยรบกับพม่าที่เมืองเชียงกราน จนกระทั่งในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้โปรด ฯ ให้ชาวโปรตุเกสสามารถตั้งบ้านเรือนอยู่ในกรุงศรีอยุธยาได้เรียกว่า "หมู่บ้านโปรตุเกส " ตลอดทั้งได้พระราชทานที่ดินเพื่อให้สร้างโบสถ์ในคริสต์ศาสนาด้วย

    ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกรุงศรีอยุธยากับโปรตุเกสเริ่มเสื่อมลงเมื่อตะวันตกชาติอื่นได้เข้ามายังดินแดนแถบนี้ เช่นฮอลันดา ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของโปรตุเกสและทางกรุงศรีอยุธยาก็ยินดีติดต่อการค้าด้วยจนกระทั่งหลังสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมอำนาจของโปรตุเกสก็ลดบทบาทสำคัญจนไม่มีความสำคัญในที่สุด

    [​IMG]

    3.2 ฮอลันดา

    ฮอลันดาปัจจุบันคือประเทศเนเธอร์แลนด์เข้ามาติดต่อกับอาณาจักรอยุธยาในสมัยตอนปลายรัชกาลของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งหลังโปรตุเกสประมาณเกือ บหนึ่งศตวรรษ การเข้ามาติดต่อของฮอลันดานั้นจะแตกต่างกับโปรตุเกสคือฮอลันดา นั้นสนใจเฉพาะด้านการค้าโดยไม่ได้สนใจในเรื่องการเผยแผ่คริสต์ศาสนาสำหรับสินค้าที่ชาวฮอลันดาต้องการจากอยุธยามากเช่น เครื่องเทศ พริกไทย หนังกวาง และช้าว ฯลฯ ตลอดสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้นไทยกับฮอลันดามีความผูกพันธ์กับเป็นอย่างดี

    ในสมัยรัชกาลของสมเด็จพระเอกาทศรถได้ส่งราชฑูตไปฮอลันดาเพื่อเจรจาด้านการค้าและดูแลศึกษาความเจริญของฮอลันดา ในพ.ศ.2150 และได้เข้าเฝ้ากษัตริย์แห่งฮอลันดาครั้งตอนขากลับทางกษัตริย์ฮอลันดาได้ฝากปืนใหญ่และอาวุธอื่นๆ มาถวายแด่สมเด็จพระเอกาทศรถด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฮอลันดาเป็นไปด้วยดี จะกระทั่งในพ.ศ.2176 ฮอลันดาได้ตั้งสถานีการค้าขึ้นในกรุงศรีอยุธยาในระยะแรกการค้าระหว่างไทยกับฮอลันดาเป็นไปด้วยดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางไทยให้สิทธิพิเศษแก่พ่อค้าฮอลันดาในการผูกขาดการค้าหนังสัตว์จากไทย

    ต่อมาในสมัยพระเจ้าปราสาททองความผูกพันธ์ที่มีต่อกันเริ่มมีปัญหาเนื่องจากฮอลันดาไม่ช่วยไทยปราบกบฏ และทำให้พระเจ้าปราสาททองต้องเข้มงวดกับฮอลันดามากขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะให้ไทยค้าขายอย่างอิสระแต่ฮอลันดาพยายามจะผูกขาดการค้ากระทั่งฮอลันดาต้องใช้กำลังกองทัพเรือมาบีบบังคับไทยเกี่ยวกับการค้าความบาดหมางใจกันระหว่างไทยกับฮอลันดามีขึ้นอย่างรุนแรงในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทางฮอลันดาได้ส่งเรือรบมาปิดอ่าวไทย และเรียกร้องสิทธิพิเศษต่างๆ จากไทยมากมาย เช่นฮอลันดามีสิทธิในการค้าขายที่นครศรีธรรมราช ถลาง และหัวเมืองอื่นๆ รวมทั้งสิทธิพิเศษในการพิจารณาพิพากษาคดึคือ ชาวฮอลันดากระทำผิดไม่ต้องขึ้นศาลไทย เป็นต้น จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับฮอลันดาทำให้ไทยต้องสูญเสียผลประโยชน์ต่างๆ เป็นจำนวนมากแต่ก็ทำให้เราสามารถรักษาความเป็นเอกราชไว้ได้

    ต่อมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรมฮอลันดาเกิดมีปัญหากับอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องการค้า จนทำให้ทั้งสองประเทศได้มีการรบพุ่งกันขึ้นทางเรือ ผลปรากฏว่าฝ่ายอังกฤษเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และได้เลิกติดต่อค้าขายกับอยุธยาแต่อิทธิพลของฮอลันดาเริ่มเสื่อมลงในตอนกลางสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะทางกรุงศรีอยุธยาได้ติดต่อกับอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อเป็นการคานอำนาจฮอลันดา จนกระทั่งสมัยพระเพทราชาได้ขับไล่ฝรั่งเศสออกไปและมีการติดต่อค้าขายและมีความสัมพันธ์กับอยุธยาจนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่าใน พ.ศ.2112

    [​IMG]

    3.3 อังกฤษ

    อังกฤษเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาโดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการค้าและสินค้าที่อังกฤษนำเข้ามาขายในกรุงศรีอยุธยาและหัวเมือง คือผ้าชนิดต่าง ๆ โดยในพ.ศ.2155 ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมทางอังกฤษได้ส่งทูตเข้ามาและทางอยุธยาให้การต้อนรับอย่างดีพร้อมกับให้ตั้งสถานีการค้าและบ้านเรือนในกรุงศรีอยุธยาได้แต่การค้าของอังกฤษตลอดระยะเวลานั้นไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรจึงถอนตัวออกจากกรุงศรีอยุธยา ประกอบกับในระยะหลัง ๆมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงถึงกับมีการสู้รบกันที่เมืองมะริดทำให้ความสัมพันธ์ไมตรีที่ดีกับอังกฤษต้องสิ้นสุดลงในพ.ศ.2230

    3.4 ฝรั่งเศส

    สำหรับชาวฝรั่งเศสที่เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาชุดแรกคือกลุ่มของสังฆราชเบริต ชื่อเเดอลาบ๊อตลัมแปต์กับบาดหลวงอีก 2 องค์ โดยมีความประสงค์สำคัญของคณะนี้ คือต้องการที่จะใช้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่คริสต์ศาสนา และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ได้รับการต้อนรับพระนารายณ์อย่างดี จนกระทั่งในพ.ศ.2233 ฝรั่งเศสได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าในกรุงศรีอยุธยา และเพื่อต้องการเป็นมิตรกับฝรั่งเศสสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงทรงส่งฑูตไปฝรั่งเศสในปีพ.ศ.2223แ ต่ไปไม่ถึงเพราะเรืออับปางเสียก่อน อีกสามปีต่อมาสมเด็จพระนารายณ์ได้ส่งฑูตไปอีกคือ ขุนพิชัยวาทิตและขุนพิชิตไมตรี ซึ่งได้รับการต้อนรับจากฝรั่งเศสเป็นอย่างดี เมื่อเดินทางกลับทางฝรั่งเศสได้ส่งเชอวาเลีย เดอโชมองต์ เป็นฑูตมาเป็นการต้อนรับจากฝรั่งเศสเป็นอย่างดี เมื่อเดินทางกลับทางฝรั่งเศสได้ส่งเชอวาเลีย เดอโชมองต์ เป็นฑูตมาเป็นการตอบแทนและเป็นการส่งเสริมให้ศาสนาคริสต์แพร่หลายมากขึ้นถึงกับเข้าเฝ้าและทูตให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเปลี่ยนศาสนา

    ในพ.ศ.2228 ฝรั่งเศสได้ส่งคณะฑูตมายังกรุงศรีอยุธยาอีก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงให้การต้อนรับอย่างดีโดยให้ออกญาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน ) เป็นผู้แสดงบทบาทสำคัญในการที่จะให้ฝรั่งเศสเผยแพร่ศาสนาคริสต์และขยายการค้าซึ่งเป็นที่พอใจของฝรั่งเศสเป็นอย่างยิ่ง แต่การที่ทูลให้สมเด็จพระนารรายณ์มหาราชเปลี่ยนศาสนานั้นไม่เป็นผลสำเร็จ

    ต่อมาในพ.ศ.2229 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ส่งฑูตไทยซึ่งมีออกพระวิสุทธสุนทร(โกษาปาน) เป็นหัวหน้าคณะฑูตไทยไปฝรั่งเศสพร้อมกับการกลับไปของคณะฑูตเดอโชมองต์ได้พำนักอยู่ในฝรั่งเศสนาน 8 เดือน และได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ที่พระราชวังแวร์ซายส์ตลอดทั้งได้ศึกษาถึงความเจริญในด้านต่างๆ ของฝรั่งเศสและเมื่อคณะฑูตไทยกับฝรั่งเศสได้ส่งทหารจำนวนถึง 636 คนพร้อมฑูตที่มีเดอลาบูแบร์เป็นหัวหน้าคณะและในการมาครั้งนี้จะเห็นว่าฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีอำนาจในกรุงศรีอยุธยาด้วยการสนับสนุนของออกญาวิไชเยนทร์

    ใน พ.ศ.2231 ฑูตฝรั่งเศสได้เดินทางกลับโดยมีขุนนางผู้น้อยกลุ่มหนึ่งของไทยเดนิทางไปด้วย แต่กองทหารฝรั่งเศสยังอยู่ในไทยบริเวณเมืองบางกอก และเมืองมะริด ซึ่งพฤติกรรมดังกล่างของทหารฝรั่งเศสและออกญาวิไชเยนทร์เป็นสิ่งที่ขุนนางไทยไม่พอใจจึงได้ต่อต้านฝรั่งเศสและกำจัดออกญาวิไชเยนทร์

    ในการติดต่อกับฝรั่งเศสทำให้ไทยเราได้นำความเจริญในด้านต่างๆ เข้ามาหลายด้านเช่น

    ด้านวิทยาศาสตร์
    ได้เรียนรู้การแพทย์สมัยใหม่และสร้างหอดูดาวที่พระราชวังจันทรเกษมพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

    ด้านการทหาร
    มีการสร้างป้อมแบบตะวันตก

    ด้านการศึกษา
    ตั้งโรงเรียนที่กรุงศรีอยุธยาของบาทหลวง และได้ส่งนักเรียนไปไทยเไปเรียนที่ฝรั่งเศส

    ด้านสถาปัตยกรรม
    มีการสร้างพระราชวังแบบไทยผสมฝรั่งเศสที่ลพบุรี

    ความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในระยะหลังไม่ค่อยราบรื่น และมีการสู้รบกันขึ้นระหว่างคนไทยกับทหารฝรั่งเศสและเป็นระยะเวลาที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคตในพ.ศ.2231 สมเด็จพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ และขับไล่ทหารฝรั่งเศสได้สำเร็จทำให้ความสัมพันธ์ไมตรีของทั้งสองประเทศเสื่อมลงเป็นลำดับ

    ป.ล. ในบทความไม่ได้พูดถึงประเทศสเปนไว้ แต่มีรูปวาดของเรือสเปนขอนำมาแสดงไว้ด้วยนะคะ อีกทั้งที่วัดปราสาทไม่มีรูปเรือสำเภาฝรั่งเศสและเดนมาร์ค จึงไม่มีรูปเรือของทั้งสองประเทศมาแสดงค่ะ

    [​IMG]

    อ้างอิง ความสัมพนธ์ระหว่างประเทศสมัยอยุธยา | ThaiGoodView.com
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2010
  10. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ความสัมพันธ์กับประเทศสเปนในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    สเปน

    อาณานิคมของสเปนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือฟิลิปปินส์ เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ และศูนย์เชื่อมการค้าระหว่างเม็กซิโกกับจีน แม้สเปนจะมีศูนย์กลางการค้าที่ฟิลิปปินส์ แต่การค้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ราบรื่นนัก สเปนมีปัญหาขัดแย้งกับจีนเรื่องผลประโยชน์จนทำสงครามกัน เช่นใน พ.ศ. ๒๑๓๓-๒๑๔๓ เรื่องฟิลิปปินส์ และฟอร์โมซา

    การพ่ายแพ้อังกฤษในยุทธนาวีอามาดา (spanish Amada) พ.ศ. ๒๑๓๑ ทำให้อังกฤษมีอำนาจทางทะเลแทนที่สเปน ต่อมา พ.ศ. ๒๑๘๖ กองทัพสเปนพ่ายแพ้ฝรั่งเศสในสงครามสามสิบปี ( พ.ศ. ๒๑๖๑ -๒๑๙๑ )

    เหตุการณ์ดังกล่าวนำความอ่อนอำนาจมาให้สเปน เมื่อสเปนมาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยา เป็นช่วงสเปนมีปัญหาเหล่านี้ จึงทำให้ความสัมพันธ์ไม่ราบรื่น เพราะถูกชาติตะวันตกด้วยกันกีดกัน เกิดปัญหาขัดแย้งกันเองจนมีผลกระทบมาถึงกรุงศรีอยุธยาด้วย

    ความสัมพันธ์กับสเปนเกี่ยวข้องกับปัญหากัมพูชาด้วย เริ่มด้วยสเปนติดต่อกับกัมพูชาก่อน เพราะต้องการให้เป็นแหล่งที่สองในการเผยแพร่คริสต์ศาสนา เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปตีกัมพูชาใน พ.ศ. ๒๑๓๖ ที่เมืองละแวก กองทัพกรุงศรีอยุธยาได้กวาดต้อนชาวกัมพูชามาไว้ที่กรุงศรีอยุธยาด้วย ในการนี้มีชาวสเปนรวมอยู่ด้วยชาวสเปนได้ฆ่านายเรือไทยแล้วพาเรือแล่นหนีไปเมืองมะนิลา นี่คือความสัมพันธ์กันเป็นครั้งแรก แต่ความสัมพันธ์เป็นทางการเริ่มสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พ.ศ. ๒๑๔๑ สเปนส่งทูตและเครื่องราชบรรณาการไม่เป็นที่ต้องพระทัย

    ต่อมา พ.ศ. ๒๑๖๗ โปรตุเกสวิวาทกับฮอลันดา โปรตุเกสยึดเรือฮอลันดาในน่านน้ำเจ้าพระยา สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงบังคับให้โปรตุเกสคืนหรือแก่ฮอลันดาทำให้โปรตุเกส ซึ่งขณะนั้นรวมประเทศกับสเปน ประกาศสงครามต่อกรุงศรีอยุธยา สงครามมิได้เกิดขึ้นแต่ทำให้ความสัมพันธ์กรุงศรีอยุธยากับสเปนเสื่อมลง ขาดการติดต่อไปประมาณ ๖๐ ปี สเปนจึงกลับเข้ามาอีกครั้งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาสมัยสมเด็จพระเพทราชา มีการเซ็นสัญญาทางไมตรีและการพาณิชย์เมื่อ พ.ศ. ๒๒๖๑

    ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้นความสัมพันธ์กับประเทศสเปนไม่ค่อยก้าวหน้าเพราะสเปนค่อนข้างจะฝักใฝ่ต่อเขมรจนเกินไป
     
  11. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา

    วันนี้โทรทัศน์ถ่ายทอดพิธีบูชาเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จ.ปัตตานี

    เมื่อดูจากประวัติขององค์เจ้าแม่แล้ว ก็พบว่าร่วมสมัยอยุธยา โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ

    พี่ชายของเจ้าแม่เป็นทหารของราชวงศ์หมิง ชื่อหลินเต้าเฉียน ซึ่งถูกข้อหาว่าจะก่อกบฏกับพระเจ้าเจียจิ้ง ท่านหลินเต้าเฉียนจึงหนีมาอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย

    ส่วนเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว นามเดิมท่านชื่อ หลินจินเหลียน ได้มาตามหาพี่ชายที่รัฐปัตตานี เมื่อพบได้อยู่ช่วยพี่ชายปราบกบฏจนราบคาบแล้ว จึงขอให้พี่ชายตามนางกลับไปเยี่ยมมารดาที่เมืองจีน แต่ท่านหลินเต้าเฉียนปฎิเสธ เจ้าแม่จึงน้อยใจผูกคอตายใต้ต้นมะม่วงหิมพานต์ พี่ชายของเจ้าแม่เสียใจมากและได้ทำพิธีฝังศพเจ้าแม่ที่ฮวงซุ้ยหมู่บ้านกรือเซะนั่นเอง

    ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าเสินจง เป็นปีที่ 2 ของการครอง ราชย์ ก็คือปี พ.ศ. 2117 ซึ่งยังอยู่ภายใต้การบริหารราชการแผ่นดินของอัครมหาเสนาบดีจาง ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินกรุงจีนแทนพระจักรพรรดิผู้ทรงพระเยาว์ในขณะนั้น

    ภายหลังพี่ชายของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวได้อภิเษกกับรายาบีรุ พระธิดาองค์ที่สองของสุลต่านปัตตนีในปี พ.ศ. 2127 (ปีที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ) ท่านหลินเต้าเฉียนจึงรับเข้านับถืออิสลามตั้งแต่นั้น
    ภายหลังรายาบีรุพระชายาของท่านหลินเต้าเฉียนได้ขึ้นเป็นครองรัฐปัตตานีในปี พ.ศ. 2159 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

    ดูเหมือนช่วงสมัยที่เกี่ยวข้องกับรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีเรื่องราวรอบๆบ้านเมืองที่น่าสนใจอยู่มากมาย

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2010
  12. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    หลายท่านรวมทั้งตัวข้าพเจ้าเองด้วยคงจะยังไม่ทราบความเป็นมาของศาล

    ยุติธรรมศาลหนึ่ง ที่ท่านผู้รู้ท่านหนึ่งได้กรุณาหยิบยกเรื่องศาลไคฟง (ซึ่งเรา

    เกือบจะทุกคนจะต้องรู้จักกันดีแน่) มาอธิบายประกอบเพื่อให้ได้มีความเข้าใจ

    ผมขออนุญาตคัดลอกข้อความบางตอนมาเผยแพร่เพื่อเป็นความรู้ในฐานะ

    ประชาชนคนไทยมิได้มีเจตนาหรือจุดมุ่งหมายอื่นใดทั้งสิ้น ศาลยุติธรรมที่จะ


    กล่าวถึงนี้ก็คือ " ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง"

    และท่านผู้รู้ท่านนั้นก็คือ ท่านอรรถพล ใหญ่สว่าง รองอัยการสูงสุด ครับ

    .................................................



    .....**ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจว่าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคืออะไร และมีหน้าที่อย่างไร

    ต้องขอเท้าความก่อนว่าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นเกิดจากข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญปี 2540 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ต้องการให้การเมืองมีความโปร่งใส และคนที่จุดประกายเรื่องนี้ขึ้นมาก็คือ ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ซึ่งท่านเป็นคนหนึ่งที่ร่วมร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โดยรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอยู่ในศาลฎีกา เพื่อทำหน้าที่พิจารณาคดีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดของนักการเมือง และต่อมาเมื่อมีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ปี 40 เราก็เรียกหน่วยงานนี้ว่าศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยมี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 เป็นตัวกำหนดวิธีการในการพิจารณาคดี

    โดยผู้ที่เป็นคณะกรรมการยกร่างกฎหมายฉบับนี้นั้นล้วนแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น ประธานคณะกรรมการยกร่างฯคือ ท่านจเร อำนวยวัฒนา ซึ่งขณะนั้นเป็นรองประธานศาลฎีกา ตัวผมก็อยู่ในคณะกรรมการชุดนี้ด้วย โดยเป็นตัวแทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด แล้วก็มีผู้พิพากษาอีกหลายท่านมาช่วยกัน หนึ่งในนั้นก็คือประธานวุฒิสภาคนปัจจุบัน ท่านประสพสุข บุญเดช อีกคนเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ท่านจรัญ ภักดีธนากุล ฝ่ายศาลก็มี ดร.ที่จบเนติฯอยู่หลายคน บางคนก็จบจากต่างประเทศ มีผู้แทนจากคณาจารย์ คือ ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์คนปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีตัวแทนจากสภาทนายความ ตัวแทนจากกรมตำรวจ ก็มาร่วมกันร่าง

    **วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กับคดีอาญาทั่วไป เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

    ถ้าเป็นคดีอาญาทั่วไปจะเริ่มที่ศาลชั้นต้น ถ้าศาลตัดสินแล้วไม่พอใจก็อุทธรณ์ไปที่ศาลอุทธรณ์ ไม่พอใจอีกก็ยื่นต่อไปศาลฎีกา และในการฟ้องคดีอาญาปกติคนที่ฟ้องได้มี 2 คน คือ 1.ผู้เสียหายจะฟ้องเองก็ได้ พอฟ้องเสร็จศาลก็จะไต่สวน ถ้าคดีมีมูลจึงพิจารณา พอพิจารณาถ้าศาลสั่งประทับฟ้องแล้วจึงออกหมายเรียกจำเลยมาให้การในชั้นศาล และ 2.ยื่นฟ้องโดยอัยการ อัยการต้องเอาตัวจำเลยไปศาล อาจจะฝากขังอยู่หรือพาตัวไปก็แล้วแต่ จะต้องมีตัวจำเลยไปศาลในขณะฟ้อง คดีอาญาทั่วไปนั้นเมื่อฟ้องไปแล้วก็จะใช้ระบบกล่าวหา ซึ่งจะมีฝ่ายโจทย์ ฝ่ายจำเลย มีทนายและพนักงานอัยการเข้าไปเกี่ยวข้อง และทุกคนก็ต่างเอาพยานเข้าสืบ โดยฝ่ายโจทย์จะเป็นฝ่ายนำสืบก่อน คือศาลไม่ได้เอาพยานเข้าสืบเอง แต่ศาลจะมีหน้าที่พิจารณาคดีและตัดสิน

    แต่วิธีการในการพิจารณาคดีของศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้น คณะกรรมการยกร่างทุกคนมีความเห็นว่าเราควรศึกษาจากศาลในต่างประเทศก่อน ไปดูมาหลายประเทศก็ยังไม่เหมาะกับประเทศไทย พอมาดูฝรั่งเศสนี่ตรงเป๊ะเลย การดำเนินคดีอาญานักการเมืองเขาจะตั้งศาลพิเศษขึ้นมาศาลหนึ่งเรียกว่าศาลอาญาชั้นสูง สำหรับพวกทรยศต่อชาติ ศาลนี้จะดำเนินคดีกับประธานาธิบดี และมีศาลอาญาระดับรัฐซึ่งมีหน้าที่ดำเนินคดีนักการเมืองตั้งแต่ระดับนายกฯไปจนถึงรัฐมนตรี ส่วนการพิจารณาใช้ระบบไต่สวน เราไปดูแล้ว รูปแบบนี้ดี เราก็เอาของฝรั่งเศสมาเป็นต้นแบบ

    จากนั้นเราก็ตั้งเป็นศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งอยู่ในศาลยุติธรรม แต่ตั้งเป็นแผนกต่างหาก และให้ผู้พิพากษาศาลฎีกาเป็นผู้ดำเนินการ มีหน้าที่พิจารณาดำเนินคดีกับนักการเมืองตั้งแต่ระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี จนถึงนักการเมืองระดับท้องถิ่น แต่ถามว่าในกรณีนี้จะให้มีผู้พิพากษาอยู่ประจำตายตัวทุกคดีหรือเปล่า ไม่ใช่ แต่จะให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเลือกองค์คณะผู้พิพากษา 9 ท่าน ในการพิจารณาคดีในแต่ละเรื่อง ฟ้องเรื่องไหนก็คณะหนึ่ง บางทีองค์คณะก็ซ้ำกันไปซ้ำกันมา แล้วแต่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาจะแต่งตั้ง

    เบื้องต้นก็ได้ข้อสรุปแล้วว่าจะใช้ศาลเดียว ใช้ผู้พิพากษา
    ศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณาคดี ส่วนหน่วยงานที่จะทำหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานก่อนที่จะส่งไปให้อัยการพิจารณาสั่งฟ้องก็จะไม่ใช่พนักงานสอบสวนเหมือนกับคดีอาญาทั่วไป แต่จะใช้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นผู้สอบสวน ซึ่งระบบการทำงานของ ป.ป.ช.ก็เป็นระบบไต่สวนเหมือนกัน โดยมีการตั้งอนุกรรมการขึ้นมาพิจารณาในแต่ละกรณี เมื่อ ป.ป.ช.ไต่สวนแล้ว รวบรวมพยานหลักฐานส่งไปให้อัยการสูงสุดให้พิจารณาว่าจะสั่งฟ้องหรือไม่

    ถ้าเห็นด้วยกับคณะกรรมการ ป.ป.ช.ว่ามีมูล อัยการสูงสุดก็ส่งฟ้องต่อ แต่ถ้าเห็นว่าพยานหลักฐานยังไม่พอจะสั่งสอบสวนเพิ่มเติมเหมือนสำนวนการสอบสวนได้ไหม? สั่งไม่ได้ครับ ได้แต่ชี้ข้อไม่สมบูรณ์ เพื่อให้สำนักงานอัยการสูงสุดกับ ป.ป.ช.ตั้งคณะทำงานร่วมมาพิจารณา ซึ่งสมัยก่อนเราจะตั้งกรรมการร่วม 3 คน ถ้าพิจารณาเสร็จแล้วได้ข้อสรุปก็ส่งให้อัยการสูงสุดฟ้อง แต่ถ้าพิจารณาเสร็จแล้วไม่ได้ข้อสรุป คือพูดง่ายๆว่าอัยการมองว่าไม่สมบูรณ์ แต่ ป.ป.ช.มองว่าสมบูรณ์แล้ว อัยการก็ไม่ฟ้องให้ คือไม่ใช่สั่งไม่ฟ้องนะครับ แต่ไม่ฟ้องให้ เมื่ออัยการไม่ส่งฟ้อง ป.ป.ช.ก็ไปฟ้องเอง หรือจะจ้างทนายฟ้องก็ได้ ซึ่งการฟ้องในคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะไม่เหมือนคดีทั่วไป ฟ้องแล้วต้องเอาสำนวนไต่สวนส่งไปที่ศาลทั้งหมดเพราะเขาถือว่าสำนวนไต่สวนเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง

    **เมื่อยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว ศาลทำยังไงต่อ

    เมื่อเรื่องมาถึงศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ประธานศาลฎีกาก็จะเรียกประชุมใหญ่เพื่อเลือกองค์คณะผู้พิพากษา 9 ท่าน ขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้ และถ้าศาลรับฟ้องเรียบร้อยแล้วก็จะส่งหมายเรียกไปยังผู้ถูกกล่าวหา เนื่องจากฟ้องคดีลักษณะนี้ไม่มีตัวจำเลย นี่คือลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งของคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทำไมถึงไม่มีจำเลย ผมในฐานะคณะกรรมการร่างกฎหมายฉบับนี้มีความเห็นว่า 1.คนจะเป็นนักการเมืองได้มันต้องมีอิทธิพล อิทธิพลทั้งในทางดีและในทางไม่ดี 2.นักการเมืองทำงานเป็นเทอม จะพ้นจากตำแหน่งเมื่อไรก็ได้ ถ้าการดำเนินคดีล่าช้า นักการเมืองคนอื่นๆ ก็มองว่าทุจริตแล้วไม่เห็นถูกลงโทษเขาก็กล้าที่จะทุจริต มันก็กลายเป็นเยี่ยงอย่างที่ไม่ดี 3.นักการเมืองจะมีเครือข่ายกว้างขวาง ซึ่งในการพิจารณาแต่ละชั้น เช่น คณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือชั้นอัยการสูงสุด นักการเมืองก็จะรู้ความเคลื่อนไหวตลอด ถ้ารู้ว่าจะฟ้อง จะอยู่ให้ฟ้องไหมครับ ก็หนีไปเลย แล้วพอหนีปุ๊บ กฎหมายไทยมีข้อจำกัดเรื่องอายุความ เช่นได้รับโทษสูงสุดแต่หนีไป 20 ปีก็หลุดคดีแล้วเพราะขาดอายุความ ทีนี้ถ้าทำผิดแล้วถูกจับได้ก็หนีไปอยู่แถวตะเข็บชายแดน รอจนหมดอายุความ มันก็ไม่ถูก ผมว่ากรรมต้องติดจรวด ไม่ใช่ใช้กันชาติหน้า ในกรณีนี้ผมจึงเห็นว่าในเบื้องต้นต้องฟ้องโดยไม่มีตัว คือไม่ระบุตัวจำเลย ทีนี้พอฟ้องโดยไม่มีจำเลยเราก็กำหนดอีกอย่างหนึ่งว่าในการดำเนินคดีอาญานักการเมือง นั้นประเด็นสำคัญอย่างหนึ่งคือสามารถพิจารณาคดีลับหลังได้ ซึ่งผมมองว่าไม่จำเป็นที่ผู้ถูกกล่าวหาต้องมาศาล ถ้าส่งหมายศาลไปแล้วผู้ถูกกล่าวหาไม่มา ศาลก็พิจารณาได้เลย

    ประเด็นหลักๆ ของการพิจารณาก็คือ การนำระบบไต่สวนมาใช้ ซึ่งระบบไต่สวนนั้นศาลท่านจะเป็นคนค้นหาความจริง ส่วนพนักงานอัยการกับทนายเป็นแค่ผู้ช่วยเท่านั้น บางคนบอกว่าแล้วจะหาความจริงได้อย่างไร ง่ายนิดเดียวครับ ถ้าท่านดูการพิจารณาของศาลไคฟง เปาบุ้นจิ้นท่านใช้ระบบไต่สวน ขึ้นบัลลังก์ปุ๊บท่านก็สอบถามจำเลย สอบถามพยาน ถ้าท่านค้นหาความจริงในบัลลังก์ไม่ได้ท่านก็จะเรียกจั่นเจาให้ไปสืบเสาะหาความจริง ซึ่งระบบไต่สวนจะดีต่อฝ่ายผู้ถูกกล่าวหานะ เพราะถ้าศาลค้นหาความจริงไม่ได้ศาลก็ต้องยกฟ้อง ซึ่งไม่ใช่ยกฟ้องเพราะสงสัยว่าอาจจะไม่ได้กระทำผิด แต่ยกฟ้องเพราะหาหลักฐานมามัดเขาไม่ได้....


    ๐๐๐ ขอขอบคุณ ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ www.manager.co.th 28 ก.พ.53
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2010
  13. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ออกจากโรงพยาบาลศิริราช กลับพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
    เมื่อค่ำวันที่ 27 ก.พ. 53 โดยทรงจูง"คุณทองแดง"ติดตามด้วยท่ามกลางความปลื้มปีติของพสกนิกรที่เฝ้าฯรับ เสด็จ เนืองแน่น "


    เป็นข่าวที่ประชาชนทั้งประเทศตั้งตารอคอย นับเป็นวันมหาประชาปิติอีกวันหนึ่ง
    เพื่อให้สอดคล้องต้องกัน ขอเสนอบทความตอนหนึ่ง ที่เขียนโดย คุณ "ชาลี "




    <!-- post-cate -->



    [​IMG]

    "ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี
    ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด
    การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย
    จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี
    หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี
    ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง
    และควบคุมคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ
    ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้

    พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ใน
    ในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่ง ชาติ ครั้งที่ ๖
    ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
    วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๒

    [​IMG]



    [​IMG]

    ตั้งแต่จำความได้...ฉันได้เห็น ได้ยินเรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทุกๆ วัน
    ...คำ เรียกพระองค์ท่านที่คนไทยใช้กัน แม้จะมีอยู่หลายคำ ไม่ว่า จะเป็นคำว่า
    “พระเจ้าอยู่หัว” “พระมหากษัตริย์” “พระเจ้าแผ่นดิน” “ในหลวง” หรือ “พ่อหลวง”
    เราต่างเข้าใจตรงกันว่า หมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นั่นเอง

    พระราชกรณียกิจที่ในหลวงทรงเหน็ดเหนื่อยพระวรกายทุกวัน วันแล้ววันเล่า ซึ่งทั้งฉัน
    และคนไทยทั้งหลายได้มีโอกาสเห็นผ่านสื่อต่าง ๆ ล้วนเป็นภาพที่พระองค์ทรงงานหนัก...
    ตลอดการครองราชย์

    พระราชดำรัสที่พระองค์ทรงมอบให้แก่ปวงชนชาวไทย ในวาระต่าง ๆ ก็ล้วนเป็นคำสอน
    คำแนะนำ เป็นข้อคิดที่เป็นประโยชน์ต่อคนไทย ทั้งยังเป็นสิ่งพระองค์ได้ทรงปฏิบัติให้เห็นเป็นแบบอย่าง
    เวลาที่พระองค์เสด็จไปยังที่ต่างๆ ก็จะมีเหล่าพสกนิกรแห่แหนกันมาเฝ้ารับเสด็จ อย่างเนืองแน่น

    ภาพทรงจำของเช้ามืด วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ "วันฉลองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี"
    เป็นวันที่ฉัน น้องสาว และแม่ พากันออกจากบ้านตั้งแต่ตีสี่ เพื่อไปร่วมเฝ้าถวายพระพร
    และชื่นชมพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    เป็นภาพที่ยังคงตราตรึงอยู่ในหัวใจของเราแม่ลูกไม่เสื่อมคลาย


    [​IMG]


    ในวันนั้น...คนไทยต่างมุ่งหน้าไปยังหน้าพระนั่งอนันตสมาคม
    พสกนิกรชาวไทยพร้อมใจกันไปร่วมถวายพระพรพระองค์ท่าน
    เมื่อพระองค์เสด็จฯ ออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม
    ก็เป็นช่วงเวลาแห่งความปลื้มปิติของคนไทยทั้งประเทศ
    แม้จะมีหลายคนไม่มีโอกาสไปชื่นชม ยังสถานที่จริง
    แต่คนไทย ต่างมีโอกาสได้ดูภาพข่าวทางโทรทัศน์ ได้เห็น ได้ปลาบปลื้มใจไปพร้อมๆ กัน

    ถ้อยคำของคนไทยที่เปล่งเสียงว่า “ทรงพระเจริญ” นั้นกึกก้องยาวนาน
    เป็นเสียงที่เปล่งออกมาจากใจของคนไทย ธงไทยน้อย ๆ ที่โบกสะบัด
    เป็นการแสดงความชื่นชมในพระบารมีของพระองค์
    น้ำตาแห่งความปลื้มปิติของคนไทยทั้งหลาย ต่างหลั่งไหลออกมาโดยมิได้เสแสร้ง

    ทุกครั้งที่พระองค์ฯ ทรงพระประชวร หัวใจของคนไทย ก็จะมีแต่ความวิตกกังวล
    ด้วยความห่วงใยในพระองค์ และเมื่อพระองค์ทรงหายจากอาการพระประชวร
    ชาวไทยต่างก็ดีใจอย่าง ที่สุด

    สิ่งที่ฉันกล่าวมา ไม่ใช่ความรู้สึกที่มีต่อพระมหากษัตริย์ไทยแต่เพียงฉันคนเดียว
    เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นพระมหากษัตริย์ของคนไทยทั้งชาติ
    คำว่า “เรารักในหลวง” แม้เป็นถ้อยคำ สั้น เรียบง่าย ที่คนไทยต่างพร้อมใจกันกล่าว
    นั้นเป็นถ้อยคำที่คนไทยทุกคนพูดและรู้สึก มากกว่าคำที่เปล่งออกมา

    ด้วยคนไทยมิใช่เพียงแค่รัก มิใช่แค่เพียงห่วงใย มิใช่แค่เพียงปลาบปลื้มใจ
    แต่ในคำว่า “เรารักในหลวง” นั้น ได้ซุกซ่อนหัวใจแห่งความจงรักภักดี
    ที่คนไทยมีต่อพระมหากษัตริย์ของตนไว้อย่างเปี่ยมล้น

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นร่มพระบารมีของคนไทยของแผ่นดินไทย
    ด้วยทรงเป็นดั่งสายน้ำอันเย็นฉ่ำที่คอยดับร้อน ดับพิษภัยที่เกิดขึ้นในแผ่นดิน ......................................
    ......................................




    ๐๐๐ คัดลอกจาก


    อย่าให้ใครหลอกใช้ความจงรักภักดีของเรา...ทรยศแผ่นดินเกิด chaleejang blog


    ขอขอบพระคุณ


     
  14. KENZO

    KENZO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    257
    ค่าพลัง:
    +1,146
    ขอพระองค์ ทรงพระเจริญ
     
  15. โมเย

    โมเย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +3,210
    ภาพ ในทีวีที่เห็นวันนั้น ในหลวงท่านทรงนั่งที่่รถเข็น

    มีคุณทองแดงใส่เสื้อกล้ามสีฟ้า เดิน ข้างหน้ารถเข็น ของพระองค์

    ปลาบปลิ้มใจมาก เมื่อเห็นพระพักตร์ ของพระองค์แจ่มใส

    ขอพระองค์ทรงพระเจิญ

    ด้วยพระบารมี ของพระองค์ที่แผ่ไพศาล

    คุ้มครองผืนแผ่นดินไทยให้ร่มเย็น ตลอดไป
     
  16. จงรักภักดี

    จงรักภักดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,229
    ค่าพลัง:
    +2,466
    [​IMG]



    เย ธัมมา เหตุปปะภะวา

    เตสัง เหตุง ตถาคะโต
    เตสัญจะ โย นิโรโธ จะ
    เอวัง วาที มหาสมโณ



    สิ่งเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
    พระตถาคต (พระพุทธเจ้า) ได้ตรัสเหตุของสิ่งเหล่านั้น
    รวมทั้งความดับของสิ่งเหล่านั้นด้วย
    พระมหาสมณะได้ตรัสไว้อย่างนี้







    ขอขอบคุณแหล่งที่มา ดูจิต...ด้วยความรู้สึกตัว
     
  17. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    พระดวงแก้วดวงใจของแผ่นดิน ขอจงทรงพระเจริญ
     
  18. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    อ่านประวัติเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จึงได้ทราบว่าในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น นครรัฐปัตตานีปกครองด้วย รายา ติดต่อกันถึง 4 พระองค์

    รายาฮิเยา ครองราชย์ พ.ศ 2127 - 2159 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถ

    รายาบิรุ ครองราชย์ พ.ศ. 2159 - 2167 ทรงสร้างปืนใหญ่พญาตานี ที่ตั้งอยู่หน้ากระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน

    รายาอูงู ครองราชย์ พ.ศ. 2167 - 2176

    รายากูนิง ครองราชย์ พ.ศ. 2176 - 2194 รายาพระองค์นี้เคยเดินทางมากรุงศรีอยุธยาในสมัยพระเจ้าปราสาททอง และได้ทรงนำการทำบุหงารำไปมาเผยแพร่ด้วย ทรงงามและเก่งมาก

    เมื่อรายากูนิงสิ้นพระชนม์อันเกิดมาจากสงครามที่รัฐกลันตันมาบุกปัตตานี เป็นอันสิ้นสุดพระราชวงศ์ศรีวังสาของรัฐปัตตานี

    เอาเรื่องย่อละคร รายากูนิง มาฝากค่ะ เป็นบทประพันธ์ของทมยันตี ที่อ้างอิงจากประวัติศาสตร์จริงในยุคสมัยนั้น
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=plewtaamlom&month=19-06-2008&group=25&gblog=7
     
  19. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434
    4 รายา นครแห่งสันติ



    [​IMG]

    ภาพสี่รายาแห่งปัตตานี รายาฮิเยา รายาบีรู รายาอุงงู รายากูนิง


    [​IMG][​IMG][​IMG]
    เรื่องราวของสี่รายาเเห่งปัตตานีได้นำมาสร้างเป็นเรื่องราวของหนังเรื่องหนึ่ง



    นครแห่งสันติ หมายถึงเมือง ปัตตานีดารัสสลาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2012 2057 โดยสุลต่านอิสมาเอลชาฮ์หรือพญาอินทิราทรงเคยปกครองเมืองลังกาสุกะและนับถือพุทธศาสนามาก่อนแล้วเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามจากนั้นจึงย้ายเมืองจากเมืองลังกาสุกะเดิมมาตั้งที่ใหม่บริเวณสันทราย ตันหยงลุโละ ตำบลบานา หมู่บ้านกรือแซะ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น ปัตตานีดารัสสลาม ในจังหวัดปัตตานีปัจจุบัน

    [​IMG]
    แผนที่ตำเเหน่งของรัฐลังกาสุกะหรือปัตตานีดารัสสาลาม
    ที่มาภาพ : http://www.rockmekong.org/media-cov/News2002/queens.htm

    ปัตตานีดารัสสลาม มีกษัตริย์ปกครองเมืองรวมถึงเก้าพระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์โกตามหลิฆัยแห่งเมืองลังกาสุกะเดิม มีกษัตริย์ที่เป็นผู้ชาย 5 องค์ เรี่ยกว่า สุลต่าน และเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งคือกษัตริย์องค์ลำดับที่ 6 9 เป็นผู้หญิง เรี่ยกว่า รายา ซึ่งเป็นที่น่าทึ่งในความสามารถของกษัตริย์ที่เป็นผู้หญิงในการปกครองเมือง ซึ่งตลอดระยะเวลาที่รายาทั้งสี่ปกครองเมือง มีเหตุการณ์ต่างๆมากหมายที่เป็นความสามารถในการดูแลปกครองบ้านเมืองตลอดจนเรื่องราวแห่งความรักระหว่างกษัตริย์รายากูหนิงกับยังดีเปอรตูวันมูดอโอรส แห่งเมืองยะโฮร์ ที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก


    ลำดับกษัตริย์ครองเมืองที่เป็นรายา ได้แก่

    รายาฮียา พ.ศ. 2127 2159

    รายาบีรู พ.ศ. 2159 2166

    รายาอูงู พ.ศ. 2166 2178


    ทั้งสามองค์เป็นธิดาของสุลต่านบาร์ฮาดูร์ชาฮ์ กษัตริย์เมืองปัตตานีลำดับที่ 5 (พ.ศ.2216 2127)


    รายากูหนิง พ.ศ. 2178 2229

    พระนางเป็นรายาและกษัตริย์องค์สุดท้ายของปัตตานีดารัสสลามพระนางเป็นธิดาในรายาอูงูกับสุลต่านรัฐปาหัง

    4
     
  20. ทางสายธาตุ

    ทางสายธาตุ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    2,925
    ค่าพลัง:
    +6,434

แชร์หน้านี้

Loading...