กายละเอียดต่างต่าง ในพระไตรปิฏก

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย หลับอยู่, 31 พฤษภาคม 2015.

  1. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER>ราชสูตรที่ ๑</CENTER>


    </PRE>

    [๔๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในดิถีที่ ๘ ของปักษ์ เทวดาผู้เป็น


    </PRE>บริวารของท้าวจาตุมหาราชย่อมเที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา เกื้อกูลแก่บิดา เกื้อกูลแก่สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐานอุโบสถ ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มากแลหรือ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในดิถีที่ ๑๔ ของปักษ์ พวกโอรสของท้าวจาตุมหาราชย่อมเที่ยวตรวจดูโลกนี้ว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา ... ทำบุญ มีอยู่มากแลหรือ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำนั้น ท้าวจาตุมหาราชย่อมเที่ยวตรวจดูโลกนี้ด้วยตนเองทีเดียวว่า ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา เกื้อกูลแก่บิดาเกื้อกูลแก่สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐานอุโบสถ ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มากแลหรือ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา ... ปฏิบัติ ทำบุญมีอยู่น้อย ท้าวจาตุมหาราชย่อมบอกถึงเหตุที่กล่าวมานั้น แก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ซึ่งมาประชุมกันอยู่ ณสุธรรมาสภาว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา... ปฏิบัติ ทำบุญ มีน้อย

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ย่อมพากันเสียใจว่า
    ดูกรผู้เจริญทั้งหลาย กายทิพย์จักเสื่อมหาย อสูรกายจักเต็มบริบูรณ์ ดังนี้


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา ... ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มาก ท้าวจาตุมหาราชย่อมบอกถึงเหตุที่กล่าวมานั้น แก่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ซึ่งมาประชุมกัน ณ สุธรรมาสภาว่า ดูกรท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์ มนุษย์ที่เกื้อกูลแก่มารดา เกื้อกูลแก่บิดา เกื้อกูลแก่สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ อ่อนน้อมต่อผู้หลักผู้ใหญ่ในสกุล อธิษฐานอุโบสถ ปฏิบัติ ทำบุญ มีอยู่มากแล เพราะเหตุนั้น พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ย่อมพากันดีใจว่า

    ดูกรผู้เจริญทั้งหลาย กายทิพย์จักเต็มบริบูรณ์ อสูรกายจักเสื่อมสูญ ฯ<CENTER></CENTER>


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ธรรมะ6.jpg
      ธรรมะ6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      3.6 KB
      เปิดดู:
      133
    • 01-1.jpg
      01-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.1 KB
      เปิดดู:
      130
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 มิถุนายน 2015
  2. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <TABLE style="WIDTH: 65%" cellSpacing=0 cellPadding=0><TBODY jQuery1432734361796="7"><TR><TD style="WIDTH: 33%">วิญฺญาณํ อนิทสฺสนํ
    เอตฺถ ทีฆญฺจ รสฺสญฺจ
    อตฺถ นามญฺจ รูปญฺจ
    วิญฺญาณสฺส นิโรเธน

    </TD><TD style="WIDTH: 33%">อนนฺตํ สพฺพโต ปภํ
    อนุ ํ ถูลํ สุภาสุภํ
    อเสสํ อุปรุชฺฌติ
    เอตฺเถตํ อุปรุชฺฌติ."



    </TD></TR><TR><TD colSpan=4>"ธรรมชาติที่พึงรู้แจ้ง มองด้วยตาไม่เห็น ไม่มีที่สุด สว่างแจ้งทั่วทั้งหมด

    อาโปธาตุ ปฐวีธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้,

    อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้,

    นามและรูปดับไปหมดไม่เหลือในธรรมชาตินี้, เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้." (ม.มู.12/554/596)


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 มิถุนายน 2015
  3. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต</BIG> <CENTER class=D>ปัญจมวรรค สังฆาฏิสูตร</CENTER></CENTER>


    <CENTER>อรรถกถาสังฆาฏิสูตร </CENTER>ในสังฆาฏิสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า สงฺฆาฏิกณฺเณ ได้แก่ ที่ชายจีวร. บทว่า คเหตฺวา ความว่า เกาะ. บทว่า อนุพนฺโธ อสฺส ความว่า พึงติดตามไป.



    มีพุทธาธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นเสมือนใช้มือของตนเกาะชายสุคตมหาจีวร ที่เราตถาคตห่มแล้ว ติดตามเราตถาคตไป คือเป็นผู้อยู่ใกล้ชิดเราตถาคตอย่างนี้.
    บทว่า ปาเท ปาทํ นิกฺขิปนฺโต ความว่า ทอดเท้าของตนลงที่รอยเท้าของเราตถาคต ผู้กำลังเดินไป คือในที่ๆ เราตถาคตวางเท้าลง ถัดจากการยกเท้าขึ้นแล้ว. ด้วยคำทั้ง ๒ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ผิว่า เธอจะไม่ละทิ้ง (ห่างเหิน) ที่ยืน ที่เดิน (ของเราตถาคต) อยู่ใกล้เราตถาคตตลอดทุกเวลาไซร้.
    บทว่า โส อารกาว มยฺหํ อหญฺจ ตสฺส ความว่า ภิกษุนั้น เมื่อไม่บำเพ็ญปฏิปทาที่เราตถาคตกล่าวแล้วให้บริบูรณ์ ก็ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ไกลเราตถาคตทีเดียว เราตถาคตก็ชื่อว่าอยู่ไกลเธอเหมือนกัน. ด้วยคำนี้พระองค์ทรงแสดงว่า การเห็นพระตถาคตเจ้าด้วยมังสจักษุก็ดี การอยู่รวมกันทางรูปกายก็ดี ไม่ใช่เหตุ (ของการอยู่ใกล้)
    แต่การเห็นด้วยญานจักษุเท่านั้น และกรวมกันด้วยธรรมกายต่างหาก เป็นประมาณ (ในเรื่องนี้)
    ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ไม่เห็นเราตถาคต.
    ในคำว่า ธมฺม น ปสฺสติ นั้น มีอธิบายว่า โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ชื่อว่าธรรม ก็เธอไม่อาจจะเห็นโลกุตรธรรมนั้นได้ ด้วยจิตที่ถูกอภิชฌาเป็นต้นประทุษร้าย เพราะไม่เห็นธรรมนั้น เธอจึงชื่อว่าไม่เห็นธรรมกาย.
    สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า<SUP>๑-</SUP>
    ดูก่อนวักกลิ เธอจะมีประโยชน์อะไรด้วยกายอันเปื่อยเน่านี้ที่เธอได้เห็นแล้ว. ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นก็เห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นก็เห็นธรรม ดังนี้
    และว่า<SUP>๒-</SUP> เราตถาคตเป็นพระธรรม เราตถาคตเป็นพระพรหมดังนี้.
    และว่า<SUP>๓-</SUP> เป็นธรรมกายบ้าง เป็นพรหมกายบ้าง ดังนี้ เป็นต้น.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01-1.jpg
      01-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.1 KB
      เปิดดู:
      127
  4. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรีคาถา ทุกนิบาต</BIG> <CENTER class=D>๒. ชันตาเถรีคาถา</CENTER></CENTER>
    <CENTER> ๒. อรรถกถาชันตาเถรีคาถา </CENTER> คาถาว่า เย อิเม สตฺต โพชฺฌงฺคา เป็นต้นเป็นคาถาของพระเถรีชื่อชันตา.
    เรื่องที่เป็นอดีตและเรื่องปัจจุบันของพระเถรีชื่อชันตานั้น เหมือนเรื่องของพระเถรีชื่ออภิรูปนันทา แต่พระเถรีนี้บังเกิดในราชตระกูลลิจฉวี กรุงเวสาลี ความแปลกกันเท่านี้เอง.
    เธอฟังธรรมที่พระศาสดาทรงแสดง ได้บรรลุพระอรหัตในเวลาจบเทศนา พิจารณา<WBR>คุณ<WBR>วิเศษ<WBR>ที่ตนบรรลุ ได้กล่าวคาถาสองคาถาเหล่านี้ ด้วยอำนาจปิติว่า
    โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ใด เป็นทางแห่งการบรรลุพระ
    นิพพาน โพชฌงค์ ๗ เหล่านั้นทั้งหมด ข้าพเจ้าเจริญแล้ว
    อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า
    นั้นข้าพเจ้าเห็นแล้ว ร่างกายนี้มีในที่สุด ชาติสงสารขาด
    สิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย อิเม สตฺต โพชฺฌงฺคา ความว่า ธรรม ๗ ประการเหล่านี้ใด กล่าวคือ สติ ธัมมวิจยะ วีริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิและอุเบกขา ได้ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งธรรมสามัคคี เครื่องตรัสรู้ตามที่กล่าวแล้ว หรือแห่งบุคคลผู้ตรัสรู้ซึ่งธรรมที่ควรตรัสรู้ คือผู้พร้อมเพรียงด้วยธรรมเครื่องตรัสรู้นั้น.
    บทว่า มคฺคา นิพฺพานปตฺติยา ได้แก่ เป็นอุบายแห่งการบรรลุพระนิพพาน.
    บทว่า ภาวิตา เต มยา สพฺเพ ยถา พุทฺเธน เทสิตา ความว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ข้าพเจ้าให้เกิดขึ้นและให้เจริญ เหมือนที่พระพุทธเจ้าคือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้.
    หิ ศัพท์ในบาทคาถาว่า ทิฏฺโฐ หิ เม โส ภควา มีความว่า เหตุ.
    ประกอบความว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นธรรมกายเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ
    อันข้าพเจ้าเห็นแล้วด้วยการเห็นอริยธรรมที่ตนได้บรรลุแล้ว ฉะนั้นร่างกายนี้จึงมีในที่สุด ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคผู้พุทธเจ้าและพระอริยะอื่นๆ ย่อมชื่อว่า ข้าพเจ้าเห็นแล้วด้วยการเห็นอริยธรรม ไม่ใช่ด้วยเพียงเห็นรูปกาย
    เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นเรา
    และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเป็นผู้เห็นอริยสัจดังนี้ เป็นต้น.
    คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.
    <CENTER>
    จบอรรถกถาชันตาเถรีคาถาที่ ๒
    ----------------------------------------------------- </CENTER>
    .. อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรีคาถา ทุกนิบาต ๒. ชันตาเถรีคาถา จบ.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <CENTER></CENTER><CENTER>๘. สักกปัญหสูตร (๒๑)</CENTER>
    </PRE>


    ท้าวสักกะจอมเทพทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดาเหล่าใดที่เข้าถึง
    หมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์ก่อนพวกข้าพระองค์ ข้าพระองค์ได้ยินมา ได้รับมาต่อหน้า
    เทวดาเหล่านั้นว่า เมื่อใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จ
    อุบัติในโลก เมื่อนั้น ทิพยกายย่อมบริบูรณ์ อสุรกายย่อมเสื่อมไป ข้อนี้
    ข้าพระองค์ได้เห็นพยานแล้วว่า เมื่อพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ
    อุบัติในโลก ทิพยกายย่อมบริบูรณ์ อสุรกายย่อมเสื่อมไป ฯ

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ บรรทัดที่ ๕๗๒๗ - ๖๒๕๖. หน้าที่ ๒๓๕ - ๒๕๖.
    http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=5727&Z=6256&pagebreak=0
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2015
  6. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
    ทีฆนิกาย มหาวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    <CENTER></CENTER><CENTER>๘. สักกปัญหสูตร (๒๑)</CENTER>


    </PRE>

    ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพเอาพระหัตถ์ตบปฐพี แล้วทรงเปล่งอุทาน
    ๓ ครั้งว่า
    ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า พระ-
    *องค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ-
    *เจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-
    *สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    [๒๗๒] ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม
    อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน บังเกิดขึ้นแก่ท้าวสักกะจอมเทพว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา และบังเกิด
    ขึ้นแก่เทวดาแปดหมื่นพวกอื่น ปัญหาที่เชื้อเชิญให้ถามที่ท้าวสักกะจอมเทพทูล
    ถามนั้น พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์แล้ว ด้วยประการดังนี้ เพราะฉะนั้น คำว่า
    สักกปัญหา จึงเป็นชื่อของไวยากรณ์ภาษิตนี้ ฉะนี้แล ฯ



    <CENTER>จบสักกปัญหสูตร ที่ ๘


    </CENTER><CENTER class=l>-----------------------------------------------------
    </CENTER>

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2015
  7. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER><BIG>อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑</BIG> <CENTER class=D></CENTER></CENTER>



    <CENTER>ธัมมปทัฏฐกถา
    อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท
    -------------------------</CENTER>

    พระมหาปาละปรึกษากรัชกาย
    พระเถระตอบว่า “ไปเถิด ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าจักปรึกษาดูก่อนแล้ว จึงจักรู้.” ก็ในที่นั้นไม่มีญาติสาโลหิตของพระเถระเลย ท่านจะพึงปรึกษากับใครเล่า? ถึงอย่างนั้น ท่านปรึกษากับกรัชกาย<SUP>๑-</SUP> อยู่ดำริว่า
    “แน่ะ ปาลิตะผู้มีอายุ ท่านจงว่ามาก่อน, ท่านจักเห็นแก่จักษุหรือจักเห็นแก่พระพุทธศาสนา, ก็ในสังสารวัฏอันมีที่สุดอันใครตามค้นไปก็รู้ไม่ได้ การคณนานับตัวท่านผู้บอดด้วยจักษุหามีไม่, และพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ล่วงไปหลายร้อยหลายพันพระองค์แล้ว ในพระพุทธเจ้าเหล่านั้น พระพุทธเจ้าแม้แต่พระองค์เดียวก็กำหนดไม่ได้, ท่านได้ผูกใจไว้เดี๋ยวนี้เองว่า “จักไม่นอน จนตลอด ๓ เดือนภายในฤดูฝนนี้; เหตุฉะนั้น จักษุของท่านฉิบหายเสียหรือแตกเสียก็ตามเถิด ท่านจงทรงแต่พระพุทธศาสนาไว้เถิด อย่าเห็นแก่จักษุเลย”
    เมื่อกล่าวสอน ภูตกาย ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ว่า :-
    “จักษุที่ท่านถือว่าของตัว เสื่อมไปเสียเถิด หูก็
    เสื่อมไปเสียเถิด, กายก็เป็นเหมือนกันอย่างนั้นเถิด,
    แม้สรรพสิ่งอันอาศัยกายนี้ ก็เสื่อมไปเสียเถิด, ปาลิตะ
    เหตุไฉน ท่านจึงประมาทอยู่. จักษุที่ท่านถือว่าของตัว
    ทรุดโทรมไปเสียเถิด, หูก็ทรุดโทรมไปเสียเถิด, กาย
    ก็เป็นเหมือนกันอย่างนั้นเถิด, แม้สรรพสิ่งอันอาศัย
    กายนี้ ก็ทรุดโทรมไปเสียเถิด, ปาลิตะ เหตุไฉน ท่าน
    จึงประมาทอยู่. จักษุที่ท่านถือว่าของตัวแตกไปเสียเถิด,
    หูก็แตกไปเสียเถิด, รูปก็เป็นเหมือนกันอย่างนั้นเถิด,
    แม้สรรพสิ่งอันอาศัยกายนี้ก็แตกไปเสียเถิด, ปาลิตะ
    เหตุไฉน ท่านจึงประมาทอยู่.”
    ____________________________
    <SUP>๑-</SUP> แปลว่า กายอันเกิดแต่ธุลีมีในสรีระ

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=11&p=1

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01-1.jpg
      01-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.1 KB
      เปิดดู:
      122
  8. หลับอยู่

    หลับอยู่ http://www.pramontien.com/shop.php?shop_no=185

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    928
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +293
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
    สังยุตตนิกาย สคาถวรรค</CENTER><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>




    <CENTER>คารวสูตรที่ ๒</CENTER>




    </PRE>

    [๕๖๒] สหัมบดีพรหม ได้กราบทูลดังนี้แล้ว ครั้นแล้วได้กล่าวนิคม
    คาถาอีกว่า
    พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่ล่วงไปแล้วก็ดี พระพุทธเจ้า
    ทั้งหลายเหล่าใดที่ยังไม่มีมาก็ดี และพระสัมพุทธเจ้าพระองค์
    ใดในบัดนี้ผู้ยังความโศกของชนเป็นอันมากให้เสื่อมหายก็ดี
    พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทุกพระองค์ ทรงเคารพพระสัทธรรมอยู่แล้ว
    ยังอยู่ และจักอยู่ต่อไป ข้อนี้เป็นธรรมดาของ
    พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ กุลบุตรผู้รักตน
    หวังความเป็นผู้ใหญ่ เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า
    ทั้งหลาย พึงเคารพพระสัทธรรม ฯ




    <CENTER></CENTER>

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images.jpg
      images.jpg
      ขนาดไฟล์:
      5.1 KB
      เปิดดู:
      119
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2015

แชร์หน้านี้

Loading...