THE RAINMAKING STORY พระราชบันทึกที่มาโครงการฝนหลวง

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 25 สิงหาคม 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    "ตำราฝนหลวง" พระราชทาน</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในปี พ.ศ.2543 "สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร" ได้รับพระราชทานพระราชบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ เรื่อง "THE RAINMAKING STORY" ซึ่งบอกเรื่องเล่าถึงเหตุการณ์ที่มาของโครงการพระราชดำริฝนหลวง คำแปลเป็นภาษาไทยบางส่วน มีดังนี้

    ชื่อเรื่อง : การดัดแปรสภาพอากาศสำหรับการทำฝน

    ชื่อผู้ประดิษฐ์คิดค้น : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ

    เรื่องการทำฝน (THE RAINMAKING STORY)


    จากวันที่ 2 ถึง 20 พฤศจิกายน 1955 (2498) เราได้เยี่ยมเยียน 15 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน เราเดินทางโดยรถยนต์ (เดลาเฮย์ ซีดาน สีเขียว) จากนครพนมไปกาฬสินธุ์, ผ่านสกลนครและเทือกเขาภูพาน เราหยุดโดยไม่มีหมายกำหนดการ เมื่อเราพบราษฎรกลุ่มเล็กๆ : ชายคนหนึ่งพูดว่า พวกเขาได้เดินมา 20 กิโลเมตร จากกุชินารายณ์ เพียงเพื่อมาดูเราขับรถผ่านไป เมื่อรู้ว่าเรากำลังจะไปกาฬสินธุ์, ซึ่งเป็นระยะทางอีกไกลที่จะต้องไป, เขาได้บอกให้เราเดินทางต่อไปแม้ว่าเขาอยากจะให้เราพักอยู่ เขากล่าวว่าพวกเรายังต้องไปอีกไกล ดังนั้น เขาจึงได้ให้อาหารห่อเล็กๆ แก่ข้าพเจ้า เมื่อเขาเห็นข้าพเจ้ามองอย่างห่วงใย, เขาจึงยืนยันกับข้าพเจ้าว่า เขายังมีอีกห่อหนึ่งสำหรับตัวเขาเอง นี่เป็นการต้อนรับด้วยความจริงใจที่แท้จริง ครั้งต่อไปเราได้หยุดอย่างเป็นทางการที่ทางแยกกุชินารายณ์และสหัสขันธ์

    ณ ที่นั้น ข้าพเจ้าได้สอบถามราษฎรเกี่ยวกับผลิตผลข้าว ข้าพเจ้าคิดว่าความแห้งแล้ง ต้องทำลายผลิตผลของพวกเขา แต่ข้าพเจ้าต้องประหลาดใจ เมื่อราษฎรเหล่านั้น กลับรายงานว่า พวกเขาเดือดร้อนเพราะน้ำท่วม สำหรับข้าพเจ้าเป็นการแปลก เพราะพื้นที่แถบนั้นมองดูคล้ายทะเลทรายซึ่งมีฝุ่นดินฟุ้งกระจายอยู่ทั่วไป แท้จริงแล้วพวกเขามีทั้งน้ำท่วมและฝนแล้ง นั่นคือ ทำไมประชาชนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจึงยากจนนัก

    จากนั้นเป็นต้นมา, ข้าพเจ้าครุ่นคิดถึงปัญหาที่ดูเหมือนว่าแก้ไม่ตกและขัดแย้งกันเองอยู่ในตัว เมื่อเวลามีน้ำ, น้ำก็มากเกินไป, ทำให้น้ำท่วมพื้นที่ เมื่อน้ำลดก็แห้งแล้ง เมื่อฝนตก, น้ำท่วมบ่าลงมาจากภูเขาเพราะไม่มีสิ่งใดหยุดน้ำเอาไว้ วิธีแก้คือต้องสร้างเขื่อนเล็กๆ (Check dams) จำนวนมาก ตามลำธารที่ไหลลงมาจากภูเขาต่างๆ จะช่วยให้กระแสน้ำค่อยๆ ไหลอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเป็นไปได้ควรสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำเล็กๆ จำนวนมาก สิ่งนี้จะแก้ไขปัญหาแห้งแล้งได้ ในฤดูฝนน้ำที่ถูกเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำเหล่านั้น และนำมาจัดสรรน้ำให้ในฤดูแล้ง ยังคงมีอีกปัญหาหนึ่ง คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งภาคมีชื่อเสียงว่าเป็นภาคที่แห้งแล้ง ขณะนั้นข้าพเจ้าได้แหงนดูท้องฟ้า และเห็นว่ามีเมฆจำนวน, แต่เมฆเหล่านั้นพัดผ่านพื้นที่แห้งแล้งไป วิธีแก้ไขจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไร จึงจะทำให้เมฆเหล่านั้นตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น ความคิดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของโครง การทำฝนเทียม ซึ่งประสบความสำเร็จในอีก 2-3 ปีต่อมาในภายหลัง

    เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพมหานคร ข้าพเจ้าได้เรียกหม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ซึ่งเป็นวิศวกรและนักประดิษฐ์ควายเหล็กที่มีชื่อเสียงมาพบ เขาให้สัญญากับข้าพเจ้าว่าเขาจะศึกษาปัญหาดังกล่าว สองปีต่อมาเขากลับมาพร้อมความคิดเริ่มแรก

    หลักการแรก คือ ให้โปรยสารดูดซับความชื้น (เกลือทะเล) จากเครื่องบิน เพื่อดูดซับความชื้นในอากาศ แล้วใช้สารเย็นจัด (น้ำแข็งแห้ง) เพื่อให้ความชื้นกลั่นตัว และรวมตัวเป็นเมฆ การทดลองครั้งแรกๆ ยังไม่สามารถสรุปผลได้มากนัก ไม่มีฝนตก แต่เมฆก่อตัวในท้องฟ้าโปร่ง แต่น้ำแข็งแห้งที่ใช้ไม่เพียงพอ เมฆจึงสลายตัวกลับคืนสู่ท้องฟ้าใส เมื่อเพิ่มปริมาณน้ำแข็งแห้งมากขึ้น เมฆ "ระเบิด" และถูกทำลาย แม้จะเพิ่มน้ำทะเลก็ช่วยไม่ได้ จึงต้องกลับมาวางแผนกันใหม่

    หลักการเหล่านั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง : ฝนเกิดขึ้นจากความชื้นและอุณหภูมิ ปัจจัยอื่น คือ ความเร็ว และทิศทางลม ต้องศึกษาคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของเมฆ (Cloud Phy sics) ให้มากขึ้น แต่หลักการและองค์ประกอบพื้นฐานยังอยู่ตรงนั้น เกลือทะเลเป็นสูตรแรก, น้ำทะเลเป็นสูตรที่สอง, น้ำแข็งแห้งเป็นสูตรที่สาม

    สูตร 1 และสูตร 3 ยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน สูตร 2 ไม่ใช้ต่อไป สูตรอื่นๆ ค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น คือ สูตร 4 ยูเรีย (สูตรเย็นปานกลาง), สูตร 6 แคลเซียมคลอไรด์ (ร้อน), สูตร 9 แคลเซียมคาร์ไบด์ (ร้อนมาก) สูตรหลังนี้ขณะนี้เลิกใช้แล้ว เพราะค่อนข้างอันตราย

    แคลเซียมคลอไรด์ ถูกใช้ครั้งแรกใกล้กับบรบือ, มหาสารคาม ที่นั่นข้าพเจ้าคาดว่า หลังจากการก่อเมฆ ด้วยสูตร 1 (เกลือทะเล) ถ้าสูตร 6 (แคลเซียมคลอไรด์) ถูกใส่เข้าไปในเมฆ, เมฆนั้นจะก่อยอดถึงระดับที่สูงขึ้น, คล้ายรูปดอกเห็ดของระเบิดปรมาณู ผลที่ได้คือ ฝนตกวัดได้ 40 ม.ม. แม้ว่าเมฆไม่ได้ก่อยอดสูงขึ้นในรูปดอกเห็ด แต่ก่อยอดสูงขึ้นคล้ายต้นคริสมาส

    กิจกรรมอื่นๆ ที่ใช้เทคนิคการทำฝน เช่น, การทำลายเมฆสำหรับสนามบิน ซึ่งกลายมาเป็นการศึกษาถึงประโยชน์ของการใช้แคลเซียมคลอไรด์และน้ำแข็งแห้ง ครั้งแรกที่ถูกใช้ เมื่อข้าพเจ้าเดินทางด้วยเฮลิคอปเตอร์ ไปอำเภอบ้านโป่งเพื่อพิธีการทางศาสนา ในการเดินทางกลับ เมฆหนาทึบจำนวนมากมีท่าทีว่าจะคุกคามและขัดขวางการบินของเรา ม.ร.ว.เทพฤทธิ์จึงบินด้วยเครื่องบินปีก นำหน้าเส้นทางบินของเรา, โปรยแคลเซียมคลอไรด์ตลอดทางจนถึงพระตำหนักจิตรลดาพระราชวังดุสิต ผลก็คือ เมฆเหล่านั้นแยกออกเป็นเส้นทางโล่ง ทั้งสองด้านของเมฆแยกออกมองดูคล้ายกำแพงยักษ์สองข้าง เมื่อเรามาถึงตำหนักจิตรลดา กำแพงทั้งสองเริ่มปิดเข้าหากันและมีกระแสลมแรง ทำให้เฮลิคอปเตอร์เกือบบินกลับฐานที่ตั้งไม่ได้ และไม่ช้าก็เกิดฝนตกหนักมาก

    ดังนั้น แม้ว่าประสบการณ์ดังกล่าวจะประสบความสำเร็จในการทำลายเมฆ, แต่ขณะเดียวกัน, เป็นความสำเร็จ ในการปฏิบัติการทำฝนด้วย.


    ˹ѧ
     
  2. ประทีปแก้ว

    ประทีปแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    3,506
    ค่าพลัง:
    +8,329
    รักในหลวงมาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...