เรื่องเด่น ไหว้ขอพร “ศาลหลักเมือง-วัดพระแก้ว” อิ่มบุญ สุขใจ ในยุค New Normal

ในห้อง 'วัดและศาสนสถาน' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 9 มิถุนายน 2020.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    b8ade0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7.jpg
    เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา สำนักพระราชวังได้เปิดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว เข้าชมพระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้ว เป็นวันแรก หลังจากปิดให้เข้าชมมานานกว่า 2 เดือน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยผู้เข้าชมทุกคนจะต้องสวมหน้ากากอนามัย และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด

    ก่อนที่จะเข้าไปชมด้านในของวัดพระแก้ว จึงขอพามากราบสักการะองค์พระหลักเมือง ที่ “ศาลหลักเมือง” ซึ่งเปิดให้เข้าชมเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. เช่นเดียวกัน โดยผู้ที่เข้าไปกราบสักการะจะต้องเดินเข้าและออกทางประตูด้านถนนหับเผยเพียงทางเดียว

    ade0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7-1.jpg
    การเข้าไปกราบสักการะที่ศาลหลักเมืองในช่วงนี้ ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เข้าชมทุกคนจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำการเข้าสักการะ โดยสวมหน้ากากอนามัย หากไม่สวมเจ้าหน้าที่จะไม่อนุญาตให้เข้า จากนั้นเดินผ่านจุดคัดกรองเพื่อตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย หากพบว่ามีอุณหภูมิเกิน 37.5 องศาเซลเซียส จะไม่อนุญาตให้เข้าสักการะ ถ้ามีอุณหภูมิตามที่กำหนดก็จะได้รับสติ๊กเกอร์มาติดที่เสื้อ

    ade0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7-2.jpg

    ade0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7-3.jpg
    นอกจากนี้ทุกคนจะต้องลงทะเบียนด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ดในแอพพลิเคชั่นไทยชนะ หรือลงทะเบียนด้วยการกรอกชื่อในสมุดที่เจ้าหน้าที่เตรียมไว้ รวมถึงทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ตั้งเอาไว้บริการตามจุดต่างๆ

    ade0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7-4.jpg
    ผู้ที่มากราบไหว้ขอพรควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1.5 เมตร โดยนั่งตามจุดสักการะที่ศาลหลักเมืองกำหนดทำเครื่องหมายเอาไว้ และช่วงนี้จะงดจุดธูปเทียน งดกิจกรรมเป็นหมู่คณะ สำหรับผู้ที่นำเครื่องสังเวยมาถวาย อนุญาตให้นำมาถวายเป็นรายบุคคล ณ จุดที่ศาลหลักเมืองกำหนด โดยจำกัดเวลาถวายคนละไม่เกิน 10 นาที และจำกัดเวลาในการเข้าสักการะองค์พระหลักเมืองไม่เกิน 10 นาที

    ade0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7-5.jpg
    นอกจากพระหลักเมืองแล้ว บริเวณศาลหลักเมืองยังมีเทพารักษ์ผู้พิทักษ์ให้ความร่มเย็นแก่บ้านเมืองอีก 5 องค์ด้วยกัน คือ “พระเสื้อเมือง” มีหน้าที่คุ้มครองป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากร รักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขปราศจากอริราชศัตรูมารุกราน “พระทรงเมือง” มีหน้าที่รักษาการปกครองและกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้ร่มเย็นเป็นสุขสวัสดี

    “พระกาฬไชยศรี” เป็นบริวารพระยมมีหน้าที่นำวิญญาณของมนุษย์ผู้ทำบาปไปสู่ยมโลก “เจ้าพ่อเจตคุปต์” เป็นบริวารพระยม มีหน้าที่จดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไปและอ่านประวัติผู้ตายเสนอพระยม “เจ้าพ่อหอกลอง” มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเหตุการณ์ต่างๆ อันเกิดขึ้นในแผ่นดิน เป็นต้นว่าคอยรักษาเวลาย่ำรุ่ง ย่ำค่ำ และเที่ยงคืน เกิดอัคคีภัย หรือมีข้าศึกศัตรูมาประชิดพระนคร

    ade0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7-6.jpg
    ความเป็นมาของศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ นั้น สืบเนื่องมาจากประเพณีโบราณในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธีการยกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น เป็นมิ่งขวัญแก่พสกนิกรสำหรับยึดถือทางจิตใจว่าบ้านเมืองที่สร้างขึ้นนั้น มีรากฐานฝังไว้อย่างแน่นอนแล้ว ให้บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขรุ่งเรืองสถาพรตลอดไป

    หลังจากกราบสักการะองค์หลักเมืองที่ศาลหลักเมืองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมลงทะเบียนออกผ่านแอพพลิเคชั่นไทยชนะด้วย โดยจะต้องออกทางเดียวกับทางเข้า ที่ประตูด้านถนนหับเผย

    ade0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7-7.jpg
    สำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยวที่จะเข้าชมพระบรมมหาราชวัง และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) สามารถเข้าชมตั้งแต่เวลา 08.30-15.30 น. โดยอนุญาตให้ประชาชนเข้าที่ประตูวิเศษไชยศรี และออกที่ประตูวิมานเทเวศร์ เมื่อเดินเข้าผ่านประตูเข้าไปแล้วจะต้องเดินทางเส้นทางที่จัดไว้ ผ่านจุดคัดกรองตรวจวัดอุณหภูมิ

    ade0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7-8.jpg
    โดยผู้เข้าชมภายในพระบรมมหาราชวังและวัดพระแก้วต้องสวมหน้ากากอนามัย และปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการลงทะเบียนการเข้าชมผ่านการสแกนคิวอาร์โค้ดในแอพพลิเคชั่นไทยชนะ หรือลงทะเบียนด้วยการกรอกชื่อในสมุดที่จัดเตรียมไว้ การตั้งจุดบริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือให้บริการในหลายจุด และมีการจำกัดจำนวนคนเข้าชมเพื่อไม่ให้เกิดความแออัด การเว้นระยะห่างระหว่างกัน

    ade0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7-9.jpg
    เมื่อผ่านจุดคัดกรองและขั้นตอนการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว จากนั้นสามารถเดินชมบรรยากาศและสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่วิจิตรงดงามถือได้ว่าเป็นสุดยอดของศิลปกรรมไทยในทุกด้าน ซึ่งการเข้าชมวัดพระแก้วในช่วงนี้จะมีเครื่องหมายระบุการเว้นระยะห่างติดเอาไว้ตามจุดต่างๆ ทั้งการเดินชมภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง รวมถึงบริเวณที่นั่งพักด้วยเช่นกัน

    de0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7-10.jpg
    ขณะที่เดินเข้ามาบริเวณภายในวัดแล้ว จะพบกับพระทวารพระระเบียงด้านในวัด ยักษ์ทวารบาล การก่ออิฐถือปูน ทาสีและประดับกระเบื้องเคลือบ มีขนาดสูง 6 เมตร รวมจำนวน 6 คู่ สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยยักษ์ทวารบาลเหล่านี้เป็นตัวละครสำคัญในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์

    de0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7-11.jpg

    de0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7-12.jpg
    ภายในวัดพระแก้วมีสิ่งน่าสนใจให้ชมงมงามหลากหลาย และจุดที่ไม่ควรพลาดอยู่ที่พระอุโบสถ มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทยก่ออิฐถือปูน เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย ฐานพระอุโบสถหย่อนท้องช้างเป็นเส้นโค้ง หลังคาทรงไทย 4 ชั้นลด หน้าบันจำหลักลายรูปนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค ล้อมรอบด้วยลายก้านขดเทพนม ลงรักปิดทองประดับกระจก

    de0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7-13.jpg

    de0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7-14.jpg

    de0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7-15.jpg
    ภายในพระอุโบสถนั้นจะมีองค์พระประธานมีชื่อเต็มว่า “พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ทำขึ้นจากหินสีเขียวงดงาม หรือที่เรียกกันว่า “พระแก้วมรกต” มีพระพุทธลักษณะเป็นศิลปแบบล้านนาตอนปลาย ประทับนั่งปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ องค์พระแกะสลักจากเนื้อหยกสีเขียวทึบชิ้นเดียว การเข้าไปชมด้านในพระอุโบสถนั้น จะต้องถอดรองเท้าวางไว้บริเวณด้านนอกก่อนเดินเข้าไปกราบสักการะด้านใน และควรนั่งตามจุดที่ได้ทำเครื่องหมายเอาไว้ เพื่อรักษาระยะห่างระหว่างกัน

    ฝาผนังด้านในทั้ง 4 ด้าน มีจิตรกรรมฝาผนังเขียนขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ผนังหุ้มกลองด้านหน้าพระแก้วมรกตเป็นภาพมารผจญ ผนังหุ้มกลองด้านหลังเป็นภาพไตรภูมิ ผนังด้านข้างเป็นภาพพระปฐมสมโพธิกถาและชาดก รวมทั้งภาพกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคและทางสถลมารค

    de0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7-16.jpg
    เมื่อชมวัดพระแก้วเรียบร้อยแล้ว สำหรับเส้นทางการเดินออกนั้น เราจะได้ชมความงดงามของ “พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท” เป็นพระที่นั่งแบบผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก และ “พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท” เดิมเป็นที่ตั้งของพระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท ซึ่งเป็นพระที่นั่งสร้างด้วยไม้ทั้งองค์ ถอดแบบมาจากพระที่นั่งสรรเพชญปราสาท สมัยกรุงศรีอยุธยา

    de0b89ee0b8a3-e0b8a8e0b8b2e0b8a5e0b8abe0b8a5e0b8b1e0b881e0b980e0b8a1e0b8b7e0b8ade0b887-e0b8a7-17.jpg
    ส่วนทางออกจะต้องเดินออกทางด้านประตูวิมานเทเวศร์เท่านั้น การเข้าชมวัดพระแก้วในช่วงนี้ถือเป็นโอกาสดี เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวไม่มาก ทำให้สามารถเดินชมสถาปัตยกรรมอันวิจิตรได้อย่างเพลิดเพลิน ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวทุกคนอย่าลืมสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาในการเข้าชม และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัดด้วย

    วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) เปิดเข้าชมทุกวัน ตั้งแต่ 8.30 น. ถึง 15.30 น. คนไทยไม่เสียค่าเข้าชม สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ มีค่าเข้าชม 500 บาท
    สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR
    [embedded content]

    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/travel/detail/9630000059882
     

แชร์หน้านี้

Loading...