ปฏิจฺจสมุปบาท (ปะติดจะสะหฺมุบบาด) ทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อน ที่มาข้อมูลจาก จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี จาก มหานิทานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปฏิจจสมุบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ก็แหละถึงจะเป็นเช่นนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของตื้นนัก ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้นอานนท์ ปฏิจจสมุบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก ดูกรอานนท์เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้ จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร ... ดูกรอานนท์ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงเกิดสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส ฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ จาก ปัจจัยสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ ภิกษุทั้งหลาย ความจริงแท้ ความไม่คลาดเคลื่อน ความไม่เป็นอย่างอื่น มูลเหตุอันแน่นอนในธาตุอันนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้แล เราเรียกว่าปฏิจจสมุปบาท (ภิกฺขเว ยา ตตฺร ตถตา อวิตถตา อนฺถตา อิทปฺปจฺจยตา อย วุจฺจติ ภิกฺขเว ปฏิจฺจสมุปฺปาโท) (ถ้าเขียนทับศัพท์จะได้ว่า -ภิกษุทั้งหลาย ตถตา อวิตถตา อนัญญถตา หลักอิทัปปัจจยตา ดังพรรณนามาฉะนี้แล เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท)
และที่มาข้อมูลจากเอกสารคำจารึกในประเทศไทย ที่มีคำภาษาบาลีปฏิจฺจสมุปปาท (เขียนตามเอกสารเดิม)ข้าพเจ้าจึงใช้คำแปล ความหมาย ของคำเหล่านี้คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ โสก ปริเทว ทุกข โทมนัส อุปายาส แทนที่ในคำแปลดั้งเดิมนั้น และอ้างอิงเฉพาะคำบาลีเพื่อจะให้ผู้อ่านพิจารณาดูว่าจะเข้าใจความหมายได้ง่ายขึ้นกว่าเดิมที่เคยอ่านมาหรือไม่ ทำนองที่ว่าแปลไทยเป็นไทย นั่นเอง ดังนี้ แปลคำบาลีช่วงบทแรกกล่าวถึงเหตุ (สำเนา) เพราะความไม่รู้เป็นปัจจัย สิ่งปรุงแต่งจึงเกิดมี เพราะสิ่งปรุงแต่งเป็นปัจจัย จิตใจจึงเกิดมี เพราะจิตใจเป็นปัจจัย สิ่งที่ปรากฏทางใจ/สิ่งที่ปรากฏทางตาจึงเกิดมี เพราะสิ่งที่ปรากฏทางใจ/สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นปัจจัย อายตนทั้ง6 คือ ตา , หู , จมูก , ลิ้น , กาย และใจ จึงเกิดมี เพราะอายตนทั้ง6 คือตา , หู , จมูก , ลิ้น , กาย และใจ เป็นปัจจัย การถูกต้องสัมผัสจึงเกิดมี เพราะการถูกต้องสัมผัสเป็นปัจจัย การรับรู้อารมณ์จึงเกิดมี เพราะการรับรู้อารมณ์เป็นปัจจัย ความอยาก ความต้องการจึงเกิดมี เพราะความอยาก ความต้องการเป็นปัจจัย ความยึดถือจึงเกิดมี เพราะความยึดถือเป็นปัจจัย แดนเกิดจึงเกิดมี เพราะแดนเกิดเป็นปัจจัย การเกิดจึงเกิดมี เพราะการเกิดเป็นปัจจัย ความแก่ ความตาย , ความเศร้าโศก , ความคร่ำครวญ ร่ำไห้ ,ความทุกข์ ความลำบาก , ความเสียใจ , ความคับแค้นใจ จึงเกิดมี เหตุ เป็นแดนเกิด แห่งทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมี ตามลำดับ ด้วยประการฉะนี้ แปลคำบาลีช่วงบทที่สองกล่าวถึงการดับ เพราะดับสิ่งที่เรียกว่า “ความไม่รู้” ได้ โดยการคลายความกำหนัดยินดี มิให้เหลืออยู่เลย สิ่งปรุงแต่งจึงดับ เพราะสิ่งปรุงแต่งดับ จิตใจจึงดับ เพราะจิตใจดับ สิ่งที่ปรากฏทางใจ/สิ่งที่ปรากฏทางตาจึงดับ เพราะสิ่งที่ปรากฏทางใจ/สิ่งที่ปรากฏทางตาดับ อายตนทั้ง6 คือ ตา , หู , จมูก , ลิ้น , กาย และใจจึงดับ เพราะอายตนทั้ง6 คือ ตา , หู , จมูก , ลิ้น , กาย และใจดับ การถูกต้องสัมผัสจึงดับ เพราะการถูกต้องสัมผัสดับ การรับรู้อารมณ์จึงดับ เพราะการรับรู้อารมณ์ดับ ความอยาก ความต้องการจึงดับ ความอยาก ความต้องการดับ ความยึดถือจึงดับ เพราะความยึดถือดับ แดนเกิดจึงดับ เพราะแดนเกิดดับ การเกิดจึงดับ เพราะการเกิดดับ ความแก่ ความตาย , ความเศร้าโศก , ความคร่ำครวญ ร่ำไห้ , ความทุกข์ ความลำบาก , ความเสียใจ , ความคับแค้นใจ ทั้งหลายจึงดับลง การดับ แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนั้น ย่อมมี ตามลำดับ ด้วยประการฉะนี้ ....หวังว่าท่านผู้อ่านคงจะนำธรรมบทนี้ ไปใช้ในการเจริญสติ ปัญญา ทางธรรมขั้นสูง ต่อไป กระทู้นี้คือธรรมทาน สวัสดี
อีกแบบหนึ่ง เชิญทุกท่านพิจารณา อิธะ ภิกขะเว อริยะสาวะโก ปะฏิจจะสะมุปปาทัญเญวะ สาธุกัง โยนิโส มะนะสิกะโรติ อิมัส๎มิง สะติ อิทัง โหติ อิมัสสุปปาทา อิทัง อุปปัชชะติ อิมัส๎มิง อะสะติ อิทัง นะ โหติ อิมัสสะ นิโรธา อิทัง นิรุชฌะติ ยะทิทัง อะวิชชาปัจจะยา สังขารา สังขาระปัจจะยา วิญญาณัง วิญญาณะปัจจะยา นามะรูปัง นามะรูปะปัจจะยา สะฬายะตะนัง สะฬายะตะนะปัจจะยา ผัสโส ผัสสะปัจจะยา เวทะนา เวทะนาปัจจะยา ตัณหา ตัณหาปัจจะยา อุปาทานัง อุปาทานะปัจจะยา ภะโว ภะวะปัจจะยา ชาติ ชาติปัจจะยา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะโทมะนัสสุปายาสา สัมภะวันติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมะนัสอุปายาสะ เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ สะมุทะโย โหติ อะวิชชายะเต๎ววะ อเสสะวิราคะนิโรธา สังขาระนิโรโธ สังขาระนิโรธา วิญญาณะนิโรโธ วิญญาณะนิโรธา นามะรูปะนิโรโธ นามะรูปะนิโรธา สะฬายะตะนะนิโรโธ สะฬายะตะนะนิโรธา ผัสสะนิโรโธ ผัสสะนิโรธา เวทะนานิโรโธ เวทะนานิโรธา ตัณหานิโรโธ ตัณหานิโรธา อุปาทานะนิโรโธ อุปาทานะนิโรธา ภะวะนิโรโธ ภะวะนิโรธา ชาตินิโรโธ ชาตินิโรธา ชะรามะระณัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะโทมะนัสสุปายาสา นิรุชฌันติ ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสะ เอวะเมตัสสะ เกวะลัสสะ ทุกขักขันธัสสะ นิโรโธ โหตีติ (คำแปล) ภิกษุทั้งหลาย อริยะสาวกในธรรมวินัยนี้ย่อมกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นอย่างดีซึ่งปฏิจจสมุ ปบาทนั่นเทียว ดังนี้ว่า ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมี สังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมี นามรูป เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ เพราะมีสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ เพราะมีผัสสะเป็นปัจจัย จึงมี เวทนา เพราะมีเวทนาเป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน เพราะมีอุปทานเป็นปัจจัย จึงมี ภพ เพราะมี ภพเป็นปัจจัย จึงมี ชาติ เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะ ทุกขะโทมะนัส อุปายาสะทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือ แห่ง อวิชชา นั้นนั่นเทียว จึงมีความดับแห่ง สังขาร เพราะมีความดับแห่ง สังขาร จึงมีความดับแห่ง วิญญาณ เพราะมีความดับแห่ง วิญญาณ จึงมีความดับแห่ง นามรูป เพราะมีความดับแห่งนามรูป จึงมีความดับแห่ง สฬายตนะ เพราะมีความดับแห่ง สฬายตนะ จึงมีความดับแห่ง ผัสสะ เพราะมีความดับแห่ง ผัสสะ จึงมีความดับแห่ง เวทนา เพราะมีความดับแห่ง เวทนา จึงมีความดับแห่ง ตัณหา เพราะมีความดับแห่ง ตัณหา จึงมีความดับแห่ง อุปาทาน เพราะมีความดับแห่ง อุปาทาน จึงมีความดับแห่ง ภพ เพราะมีความดับแห่ง ภพ จึงมีความดับแห่ง ชาติ เพราะมีความดับแห่ง ชาติ นั่นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาสะ ทั้งหลายจึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้ -ข้อมูลส่วนนี้จากกูเกิ้ล
ภาคผนวก หนังสือแรงบุญแรงกรรมไม่ทราบฉบับ หน้าที่27 ได้แนะนำว่า หนังสือปฏิจจสมุปบาท ที่หลวงพ่อพุทธทาส เขียนไว้ 199หน้า มีเรื่องที่น่าสนใจคือ ปฏิจจสมุปบาท มีจำนวนธรรม11 แสดงให้เห็นว่า เพราะอาศัยสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น จึงเกิดอีกสิ่งหนึ่งจึงเกิดขึ้น มีลักษณะเป็นลูกโซ่ คล้องกันเป็นวงกลม อวิชชาต้องเป็นข้อที่หนึ่งเสมอ แบ่งเป็นสองสายคือสายเกิดและสายดับ มีคำศัพท์คือ อวิชชา คือ ความไม่รู้จริง ความเขลา สังขาร คือ การปรุงแต่งกาย วาจา ใจ วิญญาณ คือ การรับรู้ นามรูป คือ ตัวเรา นามคือจิต รูปคือร่างกาย อายตนะ6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ผัสสะ คือ การกระทบ เวทนา คือ ความรู้สึก สุข ทุกข์ พอใจ ไม่พอใจ ตัณหา คือ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น อุปาทาน คือ ความยึดมั่นในตัวตน ภพ คือ กระบวนการแห่งการเกิด ชาติ คือ ความเกิด ชรา มรณะ คือความดับสิ้นไปของเรื่องนั้นในคราวหนึ่งๆ หลวงพ่อพุทธทาสสอนให้ตัด ตั้งแต่ผัสสะ คือกระทบทันทีที่ตาเห็นรูปแล้ว พระพุทธเจ้า สอนว่า เห็นก็สักแต่ว่าเห็น อย่าปล่อยให้ใจไปรับ เวทนา ถ้าสติวิ่งไม่ทันมันจะเกิด ตัณหา ต้องวิ่งไปตัดตัณหาสกัดมันไว้ ถ้ายังไม่ทันเราก้แพ้