เรื่องเด่น "เพ่งละ" ไม่ใช่แค่ "เพ่งดู" (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 17 กุมภาพันธ์ 2018.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,792
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,020
    1.jpg

    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    วัดอรัญญบรรพต
    อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

    อันการที่เราปฏิบัติตามศีลตามธรรมไปแล้วอย่างนี้นะ จิตมันเดือดร้อนขึ้นมานี่มันก็จะได้เห็นหน้าตาของกิเลส อย่าไปถือว่าเป็นเรื่องไม่ดี มันดีแหละเพราะบางทีนะกิเลสมันนอนอยู่ภายในใจนู่น มันไม่โผล่หัวออกมาให้เห็นเลย ต่อเมื่อมันมีเหตุอะไรไม่ดีไม่งามกระทบกระทั่งเข้ามา นั่นแหละกิเลสเหล่านั้นมันจึงโผล่หน้าออกมาให้คนเห็น

    คือการที่มันมาทำใจให้เดือดร้อนนั่นแหละ วุ่นวายนั่นแหละ นั่นแหละหน้าตาของกิเลส เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วก็กำหนดรู้เลยว่ากิเลสเหล่านี้เรายังละมันไม่ได้ ดีแล้วมันแสดงบทบาทออกมาให้เรารู้ บัดนี้เราจะเพียรพยายามละมัน ก็เพียรพยายามเพ่งอยู่แต่กิเลสอันนั้นแหละกิเลสเรื่องนั้นอย่างนี้นะ “เพ่งละ” ไม่ใช่ “เพ่งดู” เฉย ๆ เพ่งว่าอารมณ์อย่างนี้ ความคิดความเห็นอย่างนี้ควรละ ไม่ควรยึดถือเอามันไว้ นี่การเพ่งไม่ใช่เพ่งอยู่เปล่า ๆ เพ่งเพื่อให้รู้แจ้ง เมื่อรู้แจ้งแล้วละ นี่อย่างนี้นะ

    b45.gif b45.gif

    ส่วนหนึ่งจากพระธรรมเทศนาหัวข้อ
    "ขันติธรรม”

    ◇◆ ประวัติ ปฏิปทาและคำสอน “หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ” ◆◇
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=43689

    b44.gif ชวนอ่านพระธรรมเทศนาเต็มกัณฑ์เทศน์ของ
    “พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)”
    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=75&t=53080

    http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=55378
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,726
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    สมาธิสูตร



    [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ ๔ ประการ
    เป็นไฉน คือ สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
    เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑

    สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
    แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑

    สมาธิภาวนาอันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑

    สมาธิภาวนา
    อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑




    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก
    อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ
    ทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก
    ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา
    มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระ
    อริยะสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน
    ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน




    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลก-
    *สัญญา อธิษฐานทิวาสัญญา ๑- ว่า กลางคืนเหมือนกลางวัน กลางวันเหมือน
    กลางคืน มีใจอันสงัด ปราศจากเครื่องรัดรึง อบรมจิตให้มีความสว่างอยู่ ดูกร-
    *ภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น
    ไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว
    กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    รู้แจ้งเวทนาที่เกิดขึ้น รู้แจ้งเวทนาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งเวทนาที่ดับไป รู้แจ้งสัญญาที่
    เกิดขึ้น รู้แจ้งสัญญาที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งสัญญาที่ดับไป รู้แจ้งวิตกที่เกิดขึ้น
    รู้แจ้งวิตกที่ตั้งอยู่ รู้แจ้งวิตกที่ดับไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ก็สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น
    อาสวะเป็นไฉน

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ
    เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ว่า รูปเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้
    ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความ
    ดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสัญญาเป็นดังนี้
    ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งสังขารเป็นดังนี้
    ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นดังนี้
    ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันบุคคล
    เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ



    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง คำต่อไปนี้ เรากล่าวแล้ว
    ในปุณณปัญหาในปรายนวรรค หมายเอาข้อความนี้ว่า
    ความหวั่นไหวไม่มีแก่บุคคลใด ในโลกไหนๆ เพราะรู้ความ
    สูงต่ำในโลก บุคคลนั้นเป็นผู้สงบปราศจากควันคือความโกรธ
    เป็นผู้ไม่มีความคับแค้น เป็นผู้หมดหวัง เรากล่าวว่า ข้าม
    ชาติและชราได้แล้ว ฯ
    จบสูตรที่ ๑

    *************************************


    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=1188&Z=1233
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 กุมภาพันธ์ 2018
  3. Nuning12

    Nuning12 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2018
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +4
    นับว่าเป็นข้อคิดและข้อเตือนใจที่ดีสำหรับการปล่อยวางเป็นสิ่งที่ดีและน่าปฏิบัติ


    น้ำเต้า ปูปลา
     

แชร์หน้านี้

Loading...