เจตนาไม่ใช่ตัวกรรม แต่ฉันทะต่างหากที่เป็นกรรมได้?

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย น้องหน่อยน่ารัก, 15 มิถุนายน 2007.

  1. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    เจตนาเป็นคำศัพท์ทั่วไปที่เราใช้กัน ไม่ใช่ศัพท์เฉพาะทางพุทธ
    (ปรมัตถ์) แท้แล้วเจตนาในทางพุทธคืออะไร ลองมาดูกันหน่อย
     
  2. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    เจตนา หากจะเทียบเคียงแล้ว คือ "เจตนาเจตสิก" ซึ่งเป็นเจตสิกในกลุ่ม
    สัพพจิตตสาธารณเจตสิก คือ เกิดกับจิตได้ทุกดวง ไม่ว่าจะเป็น อกุศลจิต
    โสภณจิต, หรืออเหตุกจิต (ประกอบด้วยกริยาจิต, และวิบากจิต) นั่นหมาย
    ความว่า แม้นจิตไม่ก่อกรรม เป็นแค่ "กริยาจิต" ก็มีเจตนาเจตสิกร่วมด้วยเสมอ

    ดังนี้ เจตนาเจตสิกไม่ใช่ตัวกรรม อย่างที่เราเข้าใจ
    สมมุติว่าเราเจตนาจะพิจารณารูป-นามที่เกิดดับนั้น
    จิตขณะนั้นก็เป็น อเหตุกจิต ไม่ก่อกรรม เป็นกริยาจิต
    แต่ก็มีเจตนาเจตสิกร่วมอยู่ด้วย



    เชิญค้นคว้าข้อมูลได้จากอภิธัมมัตถสังคหะ ๙ ปริเฉท
     
  3. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    ฉันทะ ที่เกิดขึ้นในอิทธิบาทสี่ก็ดี หรือในส่วนอื่นก็ดี หากเทียบ
    เคียงแล้วได้เป็น "ฉันทเจตสิก" ซึ่งเป็นเจตสิกในกลุ่มปกิณณกเจตสิก
    คือ เจตสิกที่เข้าไปเสริมแรงต่อจากสัพพจิตตสาธารณเจตสิกอีกทีหนึ่ง
    ซึ่งจะเกิดกับจิตบางดวงเท่านั้น (ปกิณณกะ คือ ชั่วคราวไม่ใช่ตลอดไป)


    ถามว่า "ฉันทเจตสิก" นี้เกิดได้กับจิตดวงใดบ้างหากไม่รวมฌานจิต
    (นับอย่างย่อ ๙๘ ดวง) ก็ตอบได้ว่า เกิดได้เฉพาะที่ไม่ใช่ "อเหตุกจิต"
    และ "ทวิปัญจวิญญาณ" ๑๐ ดวงเท่านั้น (ทวี คือ คู่ หมายถึง อกุศล-กุศล
    ปัญจ คือ ห้า หมายถึง อายตนะทางกายทั้งห้า จึงรวมกันเป็น ๑๐ ดวง
    ส่วนวิญญาณ หมายถึงที่เกิดแห่งวิญญาณ คือ อายตนะห้าทั้งนั่นเอง)
    ดังนี้ จึงจะกล่าวได้ว่า "ฉันทเจตสิก" คือ ตัวเจตสิกก่อกรรม มากกว่าที่
    จะกล่าวว่า "เจตนาเจตสิก" คือ ตัวกรรม ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้


    ส่วนคำว่า "เจตนา" ทางโลก นั้นเป็นความเข้าใจง่ายๆ และหยาบๆ
    เพื่อสอนคนเท่านั้นเอง หาใช่ถูกต้องตามหลักการพุทธไม่


    รายละเอียดหาอ่านได้ในพระไตรปิฎกเรียบเรียงโดย พระอนุรุทธอรรกถาจารย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 มิถุนายน 2007
  4. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    จิตคือ ผู้รู้ แต่อาจรู้แล้วไม่นิ่งเฉย ทำอะไรได้บ้าง?

    ๑ อยู่เฉยๆ เช่น ภวังคจิต
    ๒ ก่อกริยา แต่ไม่เกิดกรรม
    ๓ ก่อกรรม และยังผลให้ต้องรับวิบาก


    จำแนกกิจของจิตได้ ๑๔ ประการ ดังนี้

    ปฏิสนธิจิต คือ สืบชาติต่อไป เป็นจิตดวงแรกที่เกิดในภพใหม่หลังจากจุติจิต
    ภวังคจิต คือ กิจรักษาภพเดิม
    อาวัชชนกิจ คือ กิจพิจารณาอารมรือัตโนมัติในครั้งแรกที่ได้รับ
    ทัสสนกิจ คือ กิจเห็น ต่อจากอาวัชชนกิจ หรือไม่ก็...
    สวนกิจ คือ กิจได้ยิน ต่อจากอาวัชชนกิจ หรือไม่ก็...
    ฆายนกิจ คือ กิจได้กลิ่น ต่อจากอาวัชชนกิจ หรือไม่ก็...
    สายนกิจ คือ กิจรู้รส ต่อจากอาวัชชนกิจ หรือไม่ก็...
    ผุสนกิจ คือ กิจรับสัมผัสกาย ห้าตัวนี้จะเกิดเพียงตัวใดตัวหนึ่ง (ข้อ ๔-๘)
    สัมปฎิจฉันกิจ คือ กิจรับอารมณ์ต่อจากทางอายตนะทั้งห้าแบบ "มโนธาตุ"
    ๑๐ สันตีรณกิจ คือ กิจที่วิญญาณเข้ามาร่วมเป็น "มโนวิญญาณธาตุ" รู้ชัดขึ้น
    ๑๑ โวฏฐัพพนกิจ คือ กิจตัดสินอารมณ์ (ต่อเนื่องมาจากข้อ ๑๐)
    ๑๒ ชวนกิจ คือ กิจเสพอารมณ์ซึ่งเป็น "กริยาจิต"
    ๑๓ ตทาลัมพนกิจ คือ กิจที่รับอารมณ์ที่เหลือนั้น เป็น "วิบากจิต"
    ๑๔ จุติกิจ คือ กิจเคลื่อนออกจากภพเดิมยามตาย (ดวงสุดท้ายของภพ)


    กรณีรับผลวิบากต่างๆ จะดำเนินจาก "ภวังคจิต" (ข้อ ๒ จำนวนสามดวง)
    มาจบที่ "ภวังคจิต" อีกครั้งหนึ่ง (หลังจากผ่านข้อ ๑๓ แต่ไม่มีข้อ ๑๔)



    หาอ่านเพิ่มเติมได้ในพระอภิธรรมปิฎก
    จะได้ไม่ต้องเถียงก่อนถาม หรือยึดก่อนเปิดใจอ่าน......
     
  5. น้องหน่อยน่ารัก

    น้องหน่อยน่ารัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,976
    ค่าพลัง:
    +4,975
    จิตที่ไม่ก่อกรรม นั่นหมายถึงจิตกลางๆ คือ กริยาจิต ไม่กระทบออกเป็นผลดี
    หรือร้าย ส่วนจิตที่ก่อกรรมนั้น จำแนกเป็น "กามาวจรโสภณจิต" (กรรมดี)
    และ "อกุศลจิต" (กรรมชั่ว) คือ ดูผลกระทบจะออกมาเป็นดีหรือร้ายได้เลย
    ทั้งนี้ พระอรหันต์ที่มีขันธ์อยู่ยังหายใจบนโลก ยังมีกามาวจรจิตได้ แต่ไม่มี
    กามาวจรจิตที่เป็นฝ่าย "อกุศลจิต" เลย หาใช่ว่าพระอรหันต์จะมีแต่เพียง
    โลกุตตรจิตไม่ เนื่องเพราะยังต้องตอบโต้สื่อสารกับคนและดำเนินชีวิตบนโลก


    ส่วนจิตที่ไม่ก่อกรรมอีกแบบจำแนกโดยพิสดาร ๑๒๑ ดวงคือ จิตกลุ่มฌานจิต
     
  6. ยายทองประสา

    ยายทองประสา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    805
    ค่าพลัง:
    +3,069
    แล้วที่ว่า

    คุณกล้าเถียงพระพุทธเจ้ามั้ยล่ะ
    ... อ้อลืมไป ชื่อกระทู้ ก็บอกอยู่แล้ว ว่าไม่เชื่อฟังพระพุทธเจ้า
    ... แล้วยังกล้าเอาจิตดำไปวิเคราะห์พระธรรม ที่บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มิถุนายน 2007

แชร์หน้านี้

Loading...