อลังการ"มหรสพสมโภช"โต้รุ่ง

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย คือ~ว่างเปล่า!, 17 พฤศจิกายน 2008.

  1. คือ~ว่างเปล่า!

    คือ~ว่างเปล่า! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,647
    ค่าพลัง:
    +473
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="96%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=headnews vAlign=top>อลังการ "มหรสพสมโภช" โต้รุ่ง
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top height=4></TD></TR><TR><TD class=dessubmmenu1><CENTER>[​IMG]</CENTER>


    "การแสดงโขนครั้งนี้ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตนาฏศิลป์ ทุกคนทุ่มใจเกินร้อย กระหายออกแสดงเต็มที่ เพื่อให้การแสดงออกมาสมบูรณ์ที่สุด"
    ประสาท ทองอร่าม หรือ ครูมืด นาฏศิลปินด้านโขน ละคร และดนตรีไทย กรมศิลปากร บอกความรู้สึกจากเบื้องลึกของหัวใจ ที่มีส่วนสร้างประวัติศาสตร์การแสดงศิลปะไทยโบราณ เพื่อเทิดพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ตามจารีตประเพณี ทันทีที่ทราบข่าวสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ครูมืดได้จัดเตรียมการแสดงโขนสุดอลังการชุดนี้มาร่วมปีก็เพื่อวันนี้ !
    ...เวทีกลางท้องสนามหลวงด้านทิศเหนือประดับฉากด้วยจอหนังใหญ่เด่นสง่ากลางเวที ด้านขวาเป็นภาพวาดกรุงลงกา เจ้าครองปราสาทนครนาม "ทศกัณฐ์" ด้านซ้ายเป็นภาพวาดพลับพลาที่ประทับของ "พระราม" บนเวทีมีปี่พาทย์วงใหญ่ด้านละวง ฤกษ์งามยามดีวันนี้ 1 ทุ่มตรง จะเบิกฉากเปิดม่านการแสดงโขนมหากาพย์ "รามเกียรติ์" ฉบับไตรภาค ความยาว 11 ชั่วโมงเต็ม <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    เสียงดนตรีวงปี่พาทย์บรรเลงเพลงไหว้ครู เริ่มภาค 1 เบิกหน้าพระและเบิกโรงจับลิงหัวค่ำ รามาวตาร ระบำวานรพงศ์ มารซื่อชื่อพิเภก ศึกกุมภกรรณ ศึกนาคบาศ สุดตระการตา !
    แสงและเงาจากตัวหนังใหญ่ขนาดมหึมาเคลื่อนไหวดั่งมีชีวิต "ไพฑูรย์ เข้มแข็ง" เชิดฤาษี "ปกรณ์ พรพิสุทธิ์" เชิดพระอิศวร "ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์" เชิดพระนารายณ์ แสดงเบิกหน้าพระเพื่อไหว้ครูบาอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาการแสดงหนังใหญ่และโขน ต่อด้วยการแสดงหนังใหญ่จับลิงหัวค่ำ หรือลิงขาวจับลิงดำแทรกแง่คิดธรรมะย่อมชนะอธรรม
    เริ่มการแสดงโขนชุดแรก นักแสดงร่วม 50 ชีวิตถ่ายทอดท่ารำการเคลื่อนไหวงดงามอยู่บนเวที เล่าเรื่องการจุติของพระนารายณ์และเทวดานพเคราะห์ในชุดรามาวตาร ต่อด้วยการร่ายรำของพญาวานร หรือลิงสิบแปดมงกุฎ ชุดระบำวานรพงศ์ ซึ่ง "เสรี หวังในธรรม" ศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับได้รังสรรค์ขึ้นใหม่ ต่อด้วยการแสดงมารซื่อชื่อพิเภก ศึกกุมภกรรณ และศึกนาคบาศ เป็นการปิดภาค 1 ลงอย่างสมบูรณ์ <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    จากนั้นหยุดพักการแสดงเพื่อร่วมรำลึกแสดงความอาลัยสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงเสด็จสู่สวรรคาลัย จึงเปิดภาค 2 ต่อเวลา 5 ทุ่ม เสนอตอน ศึกมังกรกัณฐ์ ศึกแสงอาทิตย์ ศึกพรหมาสตร์ มีฉากการรวมพลทัพพญายักษ์ ทศกัณฐ์ออกศึกรบกับพระรามอลังการไม่แพ้ภาคแรก ด้วยฉากรบศึกพรหมาสตร์ หรือหนุมานหักคอช้างเอราวัณ สลับฉากระบำพรหมาสตร์ตระการตา
    เมื่อ "อินทรชิต" โอรสของทศกัณฐ์แปลงกายเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ไพร่พลยักษ์แปลงเป็นเทพบุตรและเทพธิดา จับระบำด้วยท่ารำสวยงาม จนพระลักษมณ์และพลวานรเคลิบเคลิ้ม พระอินทร์แปลงก็แผงศรพรหมาสตร์ถูกพระลักษมณ์ หนุมานโกรธเหาะขึ้นไปหาช้างเอราวัณ ดั่งบทร้องที่ว่า "ข้าตีควาญท้ายคชาอาสัญ ง้างหักคอคชาเอรวัณ ชิงคันศรศักดิมัฆวาน" แล้วหนุมานก็ต้องคันศรตกลงมาบนพื้นดินพร้อมเศียรช้างเอราวัณ
    ราวสองยามยันรุ่งสางเป็นการแสดงโขนภาคสุดท้าย ระบำอสุรพงศ์ ศึกทศกัณฐ์ ถวายลิงถึงชูกล่องดวงใจ พระรามคืนนคร ลำนำเรื่องเริ่มต้นด้วยระบำอสุรพงศ์ พญายักษ์ประดับศิราภรณ์และอาวุธ 10 ตน รวมพลร่ายรำจนเวทีสะเทือนเลื่อนลั่นน่าเกรงขาม เพื่อนำมาสู่มหากาพย์ศึกทศกัณฐ์จัดทัพราชรถยกพลรบกับพระราม เพื่อชิงตัวนางสีดา การสู้รบครานี้พระรามแผงศรต้องทศกัณฑ์หลายครั้งแต่มิวายชีวี เพราะทศกัณฑ์ถอดหัวใจฝากฤาษีไว้ หนุมานจึงอาสาไปเอากล่องดวงใจ วาระสุดท้ายความตายก็มาเยือนทศกัณฐ์ <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    พระรามจึงกลับคืนนครพร้อมนางสีดา...ฉากนี้นับเป็นฉากอลังการที่สุดก็ว่าได้ ด้วยการจัดทัพกลับนครมีเทวดา นางฟ้า มาร่วมเฉลิมฉลองตระการตา
    @@@@
    ความมืดโรยตัวทั่วท้องสนามหลวง ท้องฟ้าเปลี่ยนเป็นสีฟ้าเข้มตอน 1 ทุ่มตรง เวทีที่ 3 การแสดงมหรสพ 3 ประเภท ได้แก่ ละครหุ่นกระบอก เรื่องพระอภัยมณี หุ่นละครเล็กโจหลุยส์ เรื่องกูรมาวตาร ตำนานพระราหู และละครนอกเรื่องสุวรรณหงส์ เริ่มจากสุวรรณหงส์เสี่ยงว่าว-กุมภณฑ์ถวายม้า เริ่มบรรเลงเพลงมหรสพสมโภชเทิดพระเกียรติระลึกถึงพระกรุณาธิคุณเป็นครั้งสุดท้าย <CENTER>[​IMG]</CENTER>


    การแสดงชุดแรก...หุ่นกระบอก เล่าเรื่องพระอภัยมณี 3 ตอน คือ จำพรากรักดับชีวา สุดสาครตามบิดา และนางละเวงก่อศึก เบิกเวทีด้วยม่านฉากเกาะแก้วพิสดาร หุ่นพระอภัยมณีเคลื่อนไหวดั่งมีชีวิต เล่าเรื่องราวการหนีนางผีเสื้อสมุทรจากเกาะแก้วพิสดาร แต่ถูกนางผีเสื้อสมุทรขัดขวาง พระอภัยมณีเห็นจวนตัวจึงเป่าปี่สังหาร จนนางผีเสื้อสมุทรอกแตกตาย เป็นบทสรุปในชุดจำพรากรักดับชีวา
    หลังจากพระอภัยมณีออกจากเกาะแก้วพิสดารไปแล้ว นางเงือกก็ตั้งครรภ์และให้กำเนิดสุดสาคร เมื่อเติบใหญ่ได้ไม้เท้าวิเศษกับม้านิลมังกรจึงขอลาฤาษีออกตามหาพระบิดา ระหว่างทางพบชีเปลือยเจ้าเล่ห์ผลักตกเหวชิงม้านิลมังกรและไม้เท้าวิเศษไป สุดท้ายฤาษีมาช่วยแล้วสอนสุดสาคร "ให้รู้จักน้ำใจคน" แล้วสุดสาครจึงได้พบกับม้านิลมังกรและตามไปเอาไม้เท้าวิเศษกลับคืนมา จบตอนสุดสาครตามหาบิดา
    ตามมาด้วยฉากนางละเวงก่อศึก ใช้มนต์ลวงกษัตริย์หัวเมืองต่างๆ ออกรบกับพระอภัยมณี ขณะตกอยู่ในวงล้อมจึงเป่าปี่ให้หลงใหลเคลิบเคลิ้ม จนนางละเวงขี่ม้ามาเจอพระอภัยมณีจึงยิงธนูใส่ พอพระอภัยมณีเหลือบเห็นจึงหลงใหลความงามของนางจนควบม้าติดตามไป...การแสดงตลอดเวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง เรียกเสียงเฮฮาจากประชาชาชนไม่ขาดสาย
    สลับฉากด้วยการแสดง กูรมาวตาร ตำนานพระราหู จากหุ่นละครเล็กโจหลุยส์ เนรมิตฉากกวนเกษียรสมุทรสุดอลังการ เล่าเรื่องการกวนน้ำอมฤตเพื่อชีวิตอมตะของเหล่าอสูรและเทวดา แต่เกิดเรื่องโกลาหลขึ้นก่อน "พระราหู" จึงลอบมาดื่มน้ำอมฤต พระจันทร์กับพระอาทิตย์เห็นเข้าจึงไปฟ้องพระนารายณ์ ใช้จักรขว้างไปถูกตัวพระราหูขาดครึ่งท่อนแต่ไม่ตาย พระราหูจึงอาฆาตจองเวรสุริยันและจันทรา ยามใดที่โคจรมาพบกันจะจับทั้งสองกลืนกินทุกครั้งไป
    ปิดฉากสุดท้ายด้วยละครนอก สุวรรณหงส์เสี่ยงว่าว-กุมภณฑ์ถวายม้า มหรสพที่เรียกความบันเทิงเริงใจประชาชนรากหญ้าได้มากที่สุด ด้วยเนื้อเรื่องสนุกสนานตามแบบละครนอก ซึ่งดำเนินเรื่องไปเรื่อยๆ ประกอบกับเป็นเรื่องใกล้ตัว มีการสอดแทรกมุกตลกขำขัน ตลอดจนอิงกระแสการเมือง เป็นที่ถูกอกถูกใจผู้ชม ถึงกับเรียกเสียงหัวเราะได้เป็นระยะๆ
    "สุวรรณหงส์" เจ้าชายแห่งเมืองนครไอยรัตน์พบรักกับ "เกศสุริยง" พระธิดายักษ์ผู้เลอโฉม ที่เสี่ยงผอบใส่มาลัยดอกไม้หอมละมุนไปตามลำธารแล้วเจ้าชายเก็บได้ กาลต่อมาเจ้าชายได้เสี่ยงทายปล่อยว่าว เพื่อทำนายโชคชะตาบ้านเมือง แต่ว่าวลอยไปพันอยู่บนยอดปราสาทขององค์หญิงเกศสุริยง จนได้พบคนรักที่เฝ้ารอมานาน และลับลอบพบกันฉันสามีภรรยา
    ต่อมาทั้งสองพระองค์ถูกพี่เลี้ยงขององค์หญิงลอบทำร้ายจนสุวรรณหงส์สิ้นพระชนม์ องค์หญิงออกตามหาเจ้าชายจนพบกับยักษ์กุมภณฑ์ ต่อสู้กันจนกุมภณฑ์ตาย ด้วยความสงสารจึงชุบชีวิตขึ้นมาใหม่และกลายเป็นข้าทาสที่ซื่อสัตย์ แล้วเกศสุริยงจึงแปลงกายเป็นพราหมณ์ไปชุบชีวิตเจ้าชาย
    แต่สุวรรณหงส์ยังโกรธนางอยู่จึงฆ่านางตายเสีย ต่อมาถึงได้รู้ว่าองค์หญิงรักและซื่อสัตย์ต่อพระองค์มาก ร้อนถึงกุมภณฑ์ต้องกราบทูลให้ไปขอน้ำศักดิ์สิทธิ์จากพระอินทร์มาชุบชีวิต จึงครองคู่กันกลับพระนคร ระหว่างทางพบอุปสรรคมากมาย แต่สุดท้ายทั้งสองพระองค์ก็ได้ครองคู่กันอย่างมีความสุข
    @@@@@@@@@
    เวทีดนตรีตะวันตก (เวทีที่ 2) ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการแสดงวงดุริยางค์เยาวชนทีวายโอ (Thailand Youth Symphony Orchestra) วงซิมโฟนีออเคสตราแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วงดุริยางค์สากลของกรมศิลปากร เอ็นเอสโอ (National Symphony Orchestra) วงฮาร์พ แชมเบอร์ และวงดุริยางค์ผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร
    อาจารย์สถาพร นิยมทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านดุริยางค์สากล กรมศิลปากร ในฐานะผู้ดูแลภาพรวมมหรสพเวทีดนตรีตะวันตก อธิบายว่า การแสดงมหรสพเพื่อน้อมรำลึกถึงสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวง ในค่ำคืนวันที่ 15 พฤศจิกายน ในส่วนเวทีดนตรีตะวันตกใช้ชื่องานว่า "ราชกัลยาณีกับดนตรีคลาสสิก" ซึ่งมาจากพระนามของพระองค์บวกกับดนตรีคลาสสิกที่พระองค์ท่านโปรด
    "โดยลำดับการแสดงจะเริ่มในเวลา 19.00 น. ด้วยการแสดงจากวงทีวายโอ หรือวงดุริยางค์เยาวชนในพระอุปถัมภ์ จากนั้นเวลา 20.00 น. จะเป็นการแสดงของวงฮาร์พ (พิณฝรั่ง) จากศูนย์ฮาร์พตำหนักประถม จำนวน 21 ตัว เวลา 20.30 น. การแสดงของวงซียู ออเคสตรา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา 21.30 น. ทุกเวทีจะหยุดการแสดงเพื่อรอเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระศพ และเริ่มการแสดงอีกครั้งในเวลา 23.00 น. จะเป็นการแสดงของวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร ปิดท้ายในเวลา 01.30-03.00 น. ด้วยการแสดงจากวงดุริยางค์ผสม 4 เหล่าทัพ ได้แก่ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ และตำรวจ" อาจารย์สถาพรกล่าว
    ผู้ดูแลภาพรวมมหรสพเวทีดนตรีตะวันตกกล่าวถึงไฮไลท์สำคัญในช่วงการแสดงต่างๆ ว่า ในการแสดงช่วงแรกของทีวายโอจะมีวงวีทรีโอ หรือสามพี่น้องตระกูล "ศรีณรงค์" ซึ่งเป็นนักเรียนทุนในพระองค์มาร่วมแสดง ในขณะที่การแสดงของวงซียู ออเคสตรา จะมีนักร้องประสานเสียงมาร่วมร้องเพลงเพื่อน้อมรำลึกกว่า 100 คน และมี พ.อ.ชูชาติ พิทักษ์สากร มาร่วมเดี่ยววิโอล่าถวาย ในขณะที่การแสดงของวงดุริยางค์สากล กรมศิลปากร ได้ "ติ๊ก ชิโร่" ศิริศักดิ์ นันทเสน "ปาน" ธนพร แวกประยูร มาร่วมร้องเพลงถวาย คนละ 1 เพลง มีกลุ่มนักเรียนทุนรุ่นพี่ มาร่วมเล่นในวงสตริงควอเต็ท และจะมีเพลงร้องหมู่ จากตัวแทนนักเรียน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ โรงเรียนราชินี วิทยาลัยนาฏศิลป โรงเรียนโพธิสารพิทยากร ตัวแทนเด็กพิการร่างกาย ในเพลงพระกรุณาธิคุณ และเพลงแก้วกัลยา ส่วนวงดุริยางค์ผสม 4 เหล่าทัพ ได้ วีระ บำรุงศรี มาร่วมร้องด้วย สำหรับเพลงที่จะนำมาบรรเลงและร้องในวันนั้น อาจารย์สถาพรกล่าวว่า จะเป็นเพลงที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงประทับพระทัย ภายใต้แนวคิดน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่าน

    -----------
    [​IMG]
    http://www.komchadluek.net/2008/11/17/x_ent_f001_231552.php?news_id=231552
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...