หนึ่งในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ดินพระราชทานในหลวง

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 23 เมษายน 2008.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    หนึ่งในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ดินพระราชทานในหลวง

    โดย เสมา ไกรพานนท์



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>"...ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้..."

    พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประชาชนให้สามารถทำมาหากินอย่างพออยู่พอกิน ด้วยทรงเข้าพระราชหฤทัยอย่างลึกซึ้งในความเป็นไปของเมืองไทย และคนไทย

    จึงทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้โดยไม่ต้องยึดติดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์

    ดังเช่น โครงการพระราชประสงค์หุบกะพง โครงการหนึ่งในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์เพื่อจัดสรรที่ดินให้แก่เกษตรกรที่ยากจนและไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง ได้เข้ามาอาศัยและทำประโยชน์ โดยจัดตั้งในรูปแบบของหมู่บ้านสหกรณ์แห่งแรกของประเทศไทย

    พื้นที่โครงการในพระราชประสงค์หุบกะพง ตั้งอยู่ ต.เขาใหญ่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เริ่มมาตั้งแต่ปี 2507 ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานพระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ และทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่าเกษตรกรกลุ่มชาวสวนผักชะอำ จำนวน 83 ครอบครัว มีฐานะยากจน ไม่มีที่ทำกินเป็นของตนเอง จึงโปรดรับเกษตรกรกลุ่มนี้ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งแต่เดิมเป็นพื้นที่อยู่ในความคุ้มครองของกรมป่าไม้

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้กันพื้นที่ออกจากป่าคุ้มครอง ภายหลังทรงจับจองที่ดินดังกล่าวเยี่ยงสามัญชน โดยปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนของกรมป่าไม้ทุกประการ ที่ดินแปลงนี้จึงเป็นที่ดินในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีเนื้อที่ประมาณ 12,079 ไร่ รวม 3 โฉนด และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมราชานุญาตมอบอำนาจการจัดที่ดินให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ และสหกรณ์การเกษตรหุบกะพง เป็นผู้รับผิดชอบ นำไปจัดสรรและพัฒนาที่ดินให้แก่เกษตรกร <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    โฉนดที่ดินพระราชทาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เกษตรกรที่อยู่อาศัยในพื้นที่หุบกะพง แม้ว่าไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แต่สามารถใช้อยู่อาศัยและประกอบอาชีพได้

    ปัจจุบันปี 2551 ระยะเวลาที่ผ่านมา 44 ปีเศษ จึงมีการออกหนังสืออนุญาตถือครองที่ดินให้กับสมาชิกรุ่นแรก ซึ่งมีเกษตรกรที่มีคุณสมบัติได้รับหนังสืออนุญาตจำนวน 65 ราย โดย พลอากาศเอก กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ ห้วยสัตว์ใหญ่ หุบกะพง ดอนขุนห้วย หนิงพับ กลัดหลวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพชรบุรี เป็นประธานมอบหนังสืออนุญาตดังกล่าวแก่เกษตรกรไปเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2551 ณ อาคารคุ้มเกล้าสหกรณ์ ภายในศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง

    พลอากาศเอก กำธน กล่าวแก่เกษตรกรในวันมอบหนังสืออนุญาตให้ทำกินในที่ดิน ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้เพราะทุกฝ่ายร่วมมือกัน โดยเฉพาะกรมส่งเสริมสหกรณ์ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่ได้ทำให้โครงการจัดทำหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินประสบความสำเร็จ

    ผู้ที่ได้ครอบครองที่ดินนั้น คือคนที่ไม่เคยปฏิบัติผิดระเบียบหรือกฎเกณฑ์ของทางราชการ เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ การมอบหนังสืออนุญาตจึงเป็นรางวัลหรือสิ่งตอบแทนให้กับความดีที่ได้กระทำไว้

    "เอกสารที่มอบวันนี้ไม่สามารถแปลงสินทรัพย์เป็นทุนได้ ไม่สามารถซื้อขายเป็นเงินทองได้ ไม่สามารถนำไปทำธุรกรรมทางการเงินได้ แต่ให้ถือว่าเอกสารฉบับนี้เป็นรางวัลตอบแทนความดีที่ท่านผู้ได้รับได้กระทำไว้ เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจต่อตัวท่านและวงศ์ตระกูล อันเป็นสิ่งที่น่ายกย่องและเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมส่วนรวม ขอให้ท่านทั้งหลายจงรักษาผืนแผ่นดินนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ที่ดินในโครงการหุบกะพงเป็นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านได้พระราชทานที่ดิน ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนพระองค์ให้กับพวกเรา ก็ขอให้พวกเราจงใช้ที่ดินที่ได้รับพระราชทานนี้ ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่าน และขณะเดียวกัน ก็ขอให้รักษา หวงแหนสมบัติล้ำค่านี้ให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลานตลอดไป" <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    "กุลทวี แสนสุข" หนึ่งในสมาชิกรุ่นแรกที่ได้รับเอกสารหนังสืออนุญาตถือครองที่ดินบอกถึงความรู้สึกว่า ปลื้มใจมาก จะบอกรุ่นลูกรุ่นหลานให้รักษาและดูแลให้ดีที่สุดเพราะนี่คือทรัพย์สินของพระเจ้าแผ่นดิน

    เสร็จสิ้นพิธีการมอบหนังสืออนุญาตทำกิน เป็นการทัวร์รอบโครงการ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่พาเริ่มต้นดูนิทรรศการภาพถ่ายที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระเจ้าอยู่หัว

    หลังจากร่วมย้อนรำลึกด้วยการเดินชมภาพพระราชกรณียกิจที่หุบกะพงแล้ว ด้านในยังมีการจัดแสดงพระเก้าอี้ไม้ไผ่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับทุกครั้ง ขณะที่มีพระราชปฏิสันถารกับชาวบ้าน และยังมีสระน้ำด้านหน้าอาคารคุ้มเกล้า เป็นที่ตั้งของกังหันชัยพัฒนาต้นแบบซึ่งพระองค์ทรงประดิษฐ์ เมื่อ พ.ศ.2532 เพื่อบรรเทามลภาวะทางน้ำ

    ต่อด้วยแบบจำลองบ้านหลังแรกเป็นการจำลองสภาพบ้านเรือนของเกษตรกรรุ่นแรกที่ได้อพยพเข้ามาอาศัยในพื้นที่ของหุบกะพง โครงสร้างทำจากไม้ไผ่มุงด้วยหญ้าคา ภายในยังมีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ภายในครัวเรือนในสมัยอดีต ช่วยสร้างบรรยากาศในการเข้าชมที่เหมือนจริง พื้นที่ด้านข้างของบ้าน ยังมีแปลงสาธิตการปลูกผักสวนครัวและพืชไร่ที่มีการปลูกในยุคแรกของหุบกะพง แสดงให้เห็นวิถีชีวิตของราษฎรหุบกะพง ยุคดั้งเดิมได้อย่างชัดเจน

    ในพื้นที่หมู่บ้านหุบกะพง ยังมีศูนย์เรียนรู้จากแปลงสาธิตการเกษตรของจริงอีกด้วย อาทิ ศูนย์เรียนรู้หน่อไม้ฝรั่ง ของ นายตี๋ คล่องแคล่ว เกษตรกรในยุคบุกเบิก เริ่มปลูกหน่อไม้ฝรั่งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 ได้รับการถ่ายทอดความรู้มาจากนักวิชาการอิสราเอล บวกกับความขยันขันแข็ง ทำให้ประสบความสำเร็จและสามารถสร้างฐานะให้เป็นปึกแผ่นและมั่นคงจวบจนถึงปัจจุบัน

    ศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงโคขุน ของนายออด พรมรักษา เกษตรกรตัวอย่างที่สร้างฐานะได้จากการพยายามศึกษาข้อมูลในเรื่องการเลี้ยงโคขุนอย่างจริงจัง เริ่มจากการเลี้ยงวัวพันธุ์อเมริกัน-บราห์มัน 5 ตัว ผ่านไป 5 ปี ปัจจุบันเพิ่มทวีขึ้นเป็น 400 ตัว และสามารถคิดค้นสูตรอาคารโคขุนเป็นสูตรเฉพาะของตัวเอง กลายเป็นอาหารชั้นเลิศที่สามารถขุนวัวให้โตเร็ว และได้เนื้อดี

    ที่เป็นสัญลักษณ์ของหุบกะพง คือ ศูนย์เรียนรู้ป่านศรนารายณ์ ของนางบุญศรี เนียมเงิน การทำผลิตภัณฑ์ป่านศรนารายณ์ของกลุ่มสตรีชาวหุบกะพง ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้พระราชทานอาชีพการทำหัตถกรรมป่านศรนารายณ์ พร้อมทั้งส่งครูผู้สอนมาให้คำแนะนำถึงวิธีการนำเส้นใยของป่านศรนารายณ์มาสร้างสรรค์ให้เป็นกระเป๋า รองเท้า หมวก เข็มขัด ฯลฯ จนกลายเป็นสินค้าที่สร้างรายได้และสร้างชื่อเสียงให้กับชาวหุบกะพง

    อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ "สุพัตรา ธนเสนีวัฒน์" บอกตบท้ายว่า ตั้งเป้าหมายที่จะผลักดันให้ศูนย์เรียนรู้โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

    เพราะนอกจากเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกแล้ว ยังเป็นเหมือนหมู่บ้านจำลองที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินชีวิตภายใต้ปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" อย่างแท้จริง

    -----------
    ที่มา:มติชน
    http://matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01pra01230451&day=2008-04-23&sectionid=0131
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...