เรื่องเด่น สมาธิไม่มีอารมณ์ภาวนา จะเป็นสมาธิได้อย่างไร? (คำสอนหลวงปู่ดาบส สุมโน)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 30 ตุลาคม 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,944
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548

    ?temp_hash=a2481096cb78c08a34a3ba2f2856b376.jpg




    สมาธิไม่มีอารมณ์ภาวนา จะเป็นสมาธิได้อย่างไร?
    (คำสอนหลวงปู่ดาบส สุมโน)



    สมาธิไม่มีอารมณ์ภาวนา...

    ผู้ถาม :
    ...สมาธิไม่มีอารมณ์ภาวนา จะเป็นสมาธิได้อย่างไร?

    หลวงปู่ :
    ...เป็นสมาธิได้ ได้ดังนี้ ขั้นต้นน้อมใจหมายเข้าหาธรรมที่สงบที่ละเอียดประณีต การน้อมใจหมายถึงโน้มใจนี้นี่แหละ เป็นตัวสมาธิชี้ชัดอยู่แล้ว จะว่าใจเคลื่อนเข้าหาความสงบความละเอียดและความประณีต หรือมีทุกข์มีสังขารเป็นที่สิ้นไปก็ไม่ใช่ การโน้นใจถึงหรือโน้มใจหาธรรมชาติที่สงบละเอียดประณีตนี้นี่เอง อารมณ์อื่นๆ คืออารมณ์นึกอารมณ์คิด ก็ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เหมือนถูกตัดตอนย่อมสงบไปเอง นอกจากอารมณ์ต่างๆ ที่กล่าวมานี้สงบไปเองแล้ว ความยึดถือเกาะกำที่เป็นเสมือนรากยึดอันลึกเข้าไปที่มีอยู่ ก็จะถูกถอนออกตามไปด้วย เพราะการน้อมเข้านำออกมีทั้งส่วนตื้นและส่วนลึก ที่ยึด คือ เกาะกำชื่อว่าเป็นส่วนลึก อารมณ์นึกคิดชื่อว่าส่วนตื้น...
    ...สมาธิแบบนี้แม้ไม่มีอารมณ์ภาวนา ไม่ต้องทำอารมณ์ แต่ก็เหมือนมีเหมือนทำ เพราะมีการกระทำภายในใจแทน และความหมายก็ไปอีกอย่างหนึ่ง การทำสมาธิทั่วไปส่วนมาก เปรียบเหมือนการทำการผูกมัดวัวควายให้อยู่กับหลัก แต่อบบนี้จะเหมือนการทำการปลดปล่อยวัวควายที่ถูกผูกมัดอยู่กับหลักให้ออกจากหลักไป พร้อมทั้งถอนหลักที่เป็นหลักผูกล่ามทิ้ง เลิกสิทธิ์เป็นเจ้าของวัวควายต่อไป...
    ...ผู้ผูกมัดก็คือการทำ ผู้ปลดปล่อยก็คือการทำ เป็นผู้ทำเหมือนกัน แต่ทำกันไปคนละแบบ คนละความหมาย เมื่อทำการปลดปล่อยอารมณ์ จิตว่างใจว่าง หรืออารมณ์สงบใจผ่องใสดังแก้วมณีไม่มีรอยแล้ว อะไรเล่าที่เป็นของหยาบ จะเข้ามาจับต้องหรือปลิวมาติดมาค้างได้...
    ...ถ้าจะมีการย้อนถามอีกว่า การทำสมาธิแบบนี้เปรียบเหมือนทำการปลดปล่อยวัวควายที่ผูกมัดไว้แล้ว ในที่นี้ก็หมายถึง วัวควายที่ถูกผูกมัดไว้แล้วนั้นเอง วัวควายก็หมายถึงจิตที่ไปแล้วในอารมณ์ ต่างมีรูปอารมณ์เป็นต้น อันรู้ได้ยากเห็นได้ยาก แต่จิตจริงๆ แล้วไม่ได้ไปอย่างนั้น นั่นมันเป็นเพียงอารมณ์จิตที่กระจายออกไปคว้านั่น จับนี่วุ่นวายไป เมื่อเราทำในจิตปล่อยวางความนึกคิดออกไปเราก็รู้ว่าต้นตอจิตที่แท้มันอยู่ภายในนี่เอง ตัวที่มีอยู่ภายในนี้มันถูกมัดถูกล่ามอยู่แล้ว คือไปมัดติดอยู่กับอารมณ์ต่างๆ หย่อนยานบ้าง เคร่งเครียดบ้าง เราเมื่อมารู้ว่าจิตนี้มันถูกมัดถูกผูกล่ามอยู่กับอารมณ์อยู่ตลอดเวลามาแล้ว เราก็ไม่จำเป็นจะต้องผูกมัดอีก เพราะฉะนั้นการทำสมาธิในแบบนี้ จึงตัดปล่อยทั้งต้น แล้วทั้งปลายไปทั้งหมดเลย ทำไม่ให้มีที่ภายในทั้งภายนอกทั้งต้นทั้งปลาย สมาธิแบบนี้เป็นสมาธิย่อและรวบยอด เป็นองค์มรรค 8 หรือทั้งสมถะและวิปัสสนาพร้อม ที่ตั้งไม่มี ภพก็ขาดไป ชาติชรา พยาธิก็ขาดไป บาปกรรม นรก อบาย ก็ขาดไป ทุกทั้งหลายทั้งปวงขาดไปเพราะจิตสงบจากสังขาร ข้ามพ้นล่วงแดนฯ...



    ผู้ถาม :
    ...จิตที่คลายอารมณ์ สละวางทุกสิ่งไม่เกาะอะไรแล้ว จิตจะยังมีรู้อะไรอยู่บ้างหรือไม่?

    หลวงปู่ :
    ...ถ้าเข้านิโรธสมาบัติในขั้นสุด ความเสวยอามรณ์ไม่มี เพราะสัญญาความจำดับ แต่ถ้าไม่เข้านิโรธสมาบัติดังกล่าว ยังคงมีความรู้อยู่ แต่อยู่ในห้วงแห่งความสงบ เหนือความนึกคิด และรู้เต็มเปี่ยมหรือเต็มรอบเป็นรู้มีใรทุกขุมขน ถ้าจะเปรียบก็เหมือนน้ำมีอยู่เต็มสระใหญ่ทั้งซึบซาบไปตามบริเวณรอบๆ ด้วยฉะนั้นฯ...



    ถาม :
    ...จิตที่ไม่มีนอกไม่มีในไม่มีที่ตั้ง ไม่เกาะเกี่ยวอะไร จิตจะอยู่ในแบบใด?

    หลวงปู่ :
    ...จิตจะอยู่ได้ด้วยตัวเอง เหมือนฟ้าไม่ต้องอาศัยแผ่นดินหรือดวงดาวอะไรๆ ทั้งนั้นแต่จะพูดว่าอาศัยธรรมนั้นก็ได้อยู่ จะเปรียบให้ฟังง่าย ทารกน้อยแรกเกิดมา ไม่อาจนั่งยืนเดินได้ เอาเพียงจะพลิกคว่ำพลิกหงายในที่นอนอยู่ก็ทั้งยาก หมายความว่า เป็นตัวของตัวเองไม่ได้ แต่ผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ซิ นั่งนอนยืนเดินหรือจะทำอะไรก็ย่อมทำได้ คือหมายความว่า เป็นตัวของตัวเองได้ อุปมาเปรียบนี้ก็ฉันนั้น...

    ถาม :
    ...การทำสมาธิแบบนี้ เราจะเริ่มต้นที่ไหนหรือทำอย่างไร?

    หลวงปู่ :
    ...เริ่มต้นที่ใจเรานี่แหละทันที ไม่ต้องรอเวลาหรือมีพิธีอะไร จะอยู่ป่า อยู่โคนไม้ ศาลาว่าง กุฏิ นั่ง นอน ยืน เดิน แม้ไปในยามหลับตาทำหรือลืมตาทำก็ได้ ขอแต่ว่าปลอดภัยและไม่มีโทษ และมีความจริงใจที่จะทำฯ...



    ถาม :
    ...ถ้าทำจิตให้สงบว่างจากอารมณ์นึกคิดไม่ได้ ตามแบบข้างต้น จะมีวิธีใดบ้างที่เป็นมูลฐานช่วยให้จิตสงบมีความว่างแจ่มใสได้?

    หลวงปู่ :
    ...มีเหมือนกัน คือให้นึกถึงรูปร่างดอกดวงสีแสงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้จิตรวมตัวเป็นอารมณ์ หยุดอยู่ในที่หนึ่งเสียก่อน จิตรวมตัวหยุดอยู่ที่หนึ่งนี้จะเรียกว่านิมิตก็ใช่ เมื่อจิตรวมตัวเป็นอารมณ์หนึ่งแล้ว แล้วเราก็เบนจิตออกจากอารมณ์หนึ่งนั้น โน้นเข้าหาความว่างความสงบทั่วรอบ ที่เรียกว่าโน้นเข้าหาฝั่งเพื่อขึ้นฝั่ง...
    ..ที่ว่าให้นึกถึงรูปร่างดอกดวงสีแสงนั้นเป็นต้น ว่าดูส่วนอันใดอันหนึ่งในร่างกายเราท่านหรือศพ หรือวัตถุ ขาว เขียว แดง อะไรก็ได้ แต่อย่างลืมว่าวิธีนี้ไม่ใช่วิธีย่อตัดตรง อีกนัยหนึ่ง จะนึกถึงรูปร่างอัตภาพสังขารทั้งหลายภายในภายนอกว่าไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วย่อมสลายไปไม่มีส่วนเหลือ จิตก็จะเข้าสู้ความสงบว่างเปล่าล่วงสังขารทั้งหลายไป เข้าถึงฝั่งพ้นทุกข์อันเป็นฝั่งพ้นทุกข์ที่เดียวกันนั้นเอง


    --------------------
    ขอขอบคุณที่มาของบทความ:นิตยสารหญิงไทยออนไลน์
    ���͹��ǧ������� �����
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 2img_1089.jpg
      2img_1089.jpg
      ขนาดไฟล์:
      89.5 KB
      เปิดดู:
      366
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,944
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    การทำจิตให้ขาวสะอาดรอบ เรามีวิธีการลัดที่ทำได้โดยไม่ยาก เรามีวิธีทำที่ทำได้โดยไม่ยากและไม่ต้องสนใจว่าเป็นสมถะ ภาวนาหรือวิปัสนากรรมฐานภาวนา หลักมีอยู่อย่างเดียวว่าเรากำหนดปล่อยวาง อารมณ์ ที่ทำให้จิตใจว่างจากอารมณ์ หรือทำให้เข้าถึงจิตเดิม ทำจิตให้เป็นจิตเดิมเข้าหาจิตเดิมด้วยวิธีการ สละวางปล่อยวาง โดยไม่ต้องคำนึงว่ามันเป็น สมาถกรรมฐานหรือวิปัสนากรรมฐาน จิตว่าง ทำจิตให้ว่าง กับจิตเดิม บางท่านอาจสงสัยว่ามันเป็น อันเดียวกัน หรือว่าต่างกัน ทำจิตให้ว่างนั้นหรือ จิตเดิมนั้นมันเป็นอันเดียวกันหรือต่างกันข้อนี้ ก็มีคำตอบว่ามันเป็นคนละอย่างกัน การทำจิตว่างกับจิตเดิมมันเป็นคนละอย่างกัน การทำจิตว่างกับจิตเดิมมันเป็นคนละอย่างกัน จิตเดิมเป็นจิตที่ไม่ต้องทำ แต่จิตที่ว่าง เป็นจิตที่ต้องทำ เมื่อทำจิตให้ว่างแล้ว ก็เข้าถึงจิตเดิม ต่างกันโดยอย่างนี้ จิตเดิมนี้คืออะไร เป็นอย่างไร มาอย่างไร อันนี้ก็เป็นอีกประการหนึ่่ง หรือเป็นอีกแนวหนึ่งอันลึกเข้าไป เหตุใดจึงต้องทำจิต ให้เข้าถึงจิตเดิม เจริญภาวนาให้เข้าถึงจิตเดิม พระพุทธเจ้าท่านว่าจิตเดิมเป็นธรรมชาติ ผ่องใสมาแต่เดิม เป็นธรรมชาติเดิม เป็นธรรมชาติผ่องใส มีแสงสว่างมาแต่เดิม อันนี้เรียกเป็น ภาษาบาลีว่า ปภัสสร อันนี้ไม่ต้องทำเป็นธรรมชาติ ตั้งแต่ไหนแต่ไร ไม่เคยเกิด ไม่เคยดับ เป็นของเดิม จึงเรียกว่าจิตเดิม หรือจิตที่เป็นอมตะจิต หรืออมตะธาตุ ไม่มีเกิด ไม่มีดับ ก็แล้วจิตเดิมนี่แหละ ที่เวียนว่าย ตายเกิด ถือเอารูป เอานาม ถือเอาชาติ เอาภพ ก็กลายเป็นเวียนว่ายตายเกิดไป แต่จิตเดิมไม่ได้เกิด ไม่ได้ตาย แต่จิตเดิมเข้าไปหลง เข้าไปรวมอยู่ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เข้าไปรวม หรือเข้าไปยึดถือ อยู่ในขันธ์ ๕ หรืออยู่ใน รูปใน นาม ก็เป็นภพเป็นชาติขึ้นมา ก็มีการเกิด มีการแก่ มีการเจ็บ มีการตายขึ้นมา การเกิดแก่ เจ็บ ตาย อันนี้ เป็นขันธ์ หรือเรียกว่าเป็นรูป นาม เมื่อรูป นาม สิ้นอายุ หมดปัจจัย หมดบุญหมดกรรม ก็จิตเดิมนี้ก็รับผล คือถือเอาภพ เอาชาติใหม่อีก แล้วก็เข้าไปอยู่ เข้าไปยึดมั่น ในรูป นามอันเป็นของใหม่ จิตเดิมนี้ไม่เคยเกิดไม่เคยตาย หรือไม่เคยเกิดไม่เคยดับ จิตเดิมนี้เป็นธรรมชาติผ่องใส สะอาดอยู่แต่เดิม แล้วจิตเดิมนี้เอง ทำให้ขาวสะอาดทำให้บริสุทธิ์ ผุดผ่องขึ้นมาได้ พระพุทธองค์ท่านตรัสว่า อริยะสาวกเมื่อได้รู้ว่า จิตเดิมนี้ทำให้สะอาดผ่องใส ปราศจากอุปกิเลสทั้งหลาย อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจรเข้ามา จึงต้องทำจิตให้หลุดพ้นจากเครื่องเศร้าหมองนั้นได้ ก็จะพ้นจากความทุกข์ อันเกิดแก่เจ็บตายหรือเข้าถึงพระนิพพาน ก็ได้ความว่าจิตเดิมนี้เป็นของบริสุทธิ์ และไม่ได้เป็นของเกิดดับ บางคนนักปราชญ์ในสมัยนี้ มักถือว่าพระนิพพานนั้นไม่มี หรือไม่มีอะไรแล้ว จะมีจิตเดิมที่ใหนอีกเล่า ความจริงจิตเดิมนี้เป็นของไม่ดับไม่สูญ เป็นอมตะธาตุ และอมตะธาตุนี้หรือจิตเดิมนี้แหละ ผู้ปฎิบัติสมถะกรรมฐาน หรือเจริญวิปัสนากรรมฐานโดยตรงก็ดี เพื่อต้องการให้บรรลุถึงจิตเดิม ก็ย่อมทำให้สำเร็จประโยชน์เรียกว่าผู้ที่ทำจิตให้บริสุทธิ์แล้ว ก็ควรแก่การงานคือทำให้สำเร็จประโยชน์ เพราะจิตเดิมนี้เป็นของศักดิ์สิทธิ์ เป็นของทิพย์ ก็ย่อมทำให้เกิดประโยชน์คืออิทธิฤธิ์ปาฎิหารย์ มีฤธิ์เดชต่างๆได้ เกิดญาณต่างๆเป็นต้นว่าละลึกชาติได้ รู้การปฎิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะการยังอาสวะกิเลสให้หมดสิ้นไป ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ได้นั่งอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงทำสมาธิ ทำสมาธิด้วยประการอันควรแล้ว จึงทำจิตให้บริสุทธิ์ เมื่อถึงจิตบริสุทธิ์แล้วพระองค์ก็ทรงทำการงานให้สำเร็จประโยชน์ โดยที่ทำจิตน้อมจิต ดูที่จิตของตัวนี้ ดูอดีตชาติด้วยบุเพนิวาสานุสติญาณ น้อมจิตดูข้างหลัง ที่ผ่านพ้นมาแล้วก็ได้เห็นการเกิดดับของตนว่า อ่อ..!เคยเกิดมาแล้วนี่ เคยเกิดมาแล้วตั้งหลายชาติ ชาติหนึ่งเคยเป็นพระเวชสันดร เคยเป็นพระโพธิสัตว์ ชาตินั้นชาตินี้ ร้อยชาติพันชาติหมื่นชาติแสนชาติ ถอยไปจนกัปป์ จนโกฎจนหลายอสงไขย์ จนนับไม่ถ้วน อ่อ...การเวียนว่ายตายเกิดมันก็มาจากจิตเดิมนั่นเอง มันไม่ตายมันรับรองกิเลส มันรับรองกรรม มันรับรองวิบาก จึงได้เวียนเกิดเวียนตายเช่นนี้ มันยังมีอุปทานอยู่ ยังต้องเกิดอยู่ เรียกว่ามีญาณรู้บุพเพนิวาสานุสติญาณ เมื่อได้รู้การเกิดของตน ออเรานี่เกิดมาจากกิเลสคือกิเลสเป็นต้น แล้วก็มาลองดูของคนอื่น รู้ของคนอื่นด้วย มาดูการเกิดของคนของสัตว์อื่น ออ..สัตว์อื่นๆก็เหมือนกัน อย่างเดียวกัน เวียนเกิดเวียนตาย เพราะกิเลสเพราะกรรม เพราะความโลภ ความโกรธความหลง เพราะถือตัวเพราะถือตน อุปทานตัญหา รู้ทั้งตนรู้ทั้งคนอื่นว่ากิเลสมันมาอย่างไร ก็ยังอาสวะกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้นไป เมื่ออาสวะกิเลสสิ้นไปท่านก็รู้ว่า ต่อไปเราจะไม่มาเกิดแล้ว เราไม่ตายแล้ว ก็อะไรหลุดพ้น อะไรเล่าไม่เกิด อะไรเล่าไม่ตาย ก็เกิดจากจิตบริสุทธิ์ หลุดพ้นแล้ว เรียกว่าหลุดพ้นด้วยญาณอันแจ่มแจ้ง บรรลุถึงพระนิพพาน บรรลุถึงอมตะธาตุ ศรัทธาญาติโยมท่านผู้ฟังทั้งหลายของเดิมเรียกว่าจิตบริสุธิ์แล้วจริงอยู่ขั้นหนึ่ง แต่ขั้นที่สองญาณรู้บังเกิดขึ้น แล้วก็บริสุธิ์ด้วยการไม่มีกิเลสจรเข้ามา ต่อไปอีกได้ อันนี้ก็เรียกว่าเป็นการหลุดพ้น สุดท้ายนี้ก่อนที่จะจบการเทศนานี้ ก็มีคำถามว่า ก็จิตเดิมครั้งแรกมาจากที่ใหน อันนี้พระพุทธเจ้าท่านไม่เทศนาแต่มาบอก ท่านไม่เทศนาแต่มาบอกว่าอย่าไปรู้เลย มันไม่รู้หรอกมันเสียเวลา จะไปนั่งนับกรวดนับทราย ในท้องมหาสมุทร นั่งตั้งร้อยปี พันปี หมื่นปี แสนปี กัป โกฎิปี มันก็ไม่พบหรอก คือไม่ปรากฏในเบื้องต้น อาจิณไตย เพียงแต่ทำจิตที่จะฝึกให้มันเกิดขึ้นได้เท่านั้น ท่านผู้ฟังทั้หลายมีพระบาลีว่า อมตะโคยัง ภิขเว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เบื้องต้นแห่งภพ หาปรากฎไม่ คือไม่ปรากฎ คือหมายความว่ามีมากจนไม่อาจนับได้ มากจนไม่อาจรู้ได้ มันไม่มีที่สิ้นสุด แต่ทำให้เกิดได้ ท่านผู้ฟังทั้งหลาย อันนี้คือจิตเดิม เท่าที่ท่านพระคุณเจ้าเทศนามาก็ได้ ความว่าจิตเดิมคืออะไร เป็นอย่างไร มาอย่างไร เป็นอยู่อย่างไร เพราะฉะนั้น การทำสมาธิ ทั้งสองประการ บางคนในสมัยนี้ มักจะลืมไปว่าทำเพื่อให้จิตบริสุทธิ์ แต่มักจะทำกันเพื่อ ให้จิตรู้แจ้ง หรือทำให้จิตสงบนิ่ง ไม่ได้ทำเพื่อให้จิต บริสุทธิ์หลุดพ้น จึงเป็นการลืมความหมายไป เพราะฉะนั้นเราท่านทั้งหลาย เวลาสงสัยในการเจริญภาวนา เราก็ตัดออกเสีย เราก็สงบอารมณ์ สละวาง ปล่อยวางอารมณ์เสีย ทำจิตให้ว่าง ทำจิตให้สงบ ทำจิตให้จิต ให้ผ่องใส อันนี้ก็ไม่ต้องไปศึกษาเล่าเรียน อะไรหลายๆอย่าง เมื่อจิตสงบ จิตผ่องใสแล้ว ก็จะเกิดญาณขึ้นมาทีหลัง หรือทำจิตให้บรรลุ ถึงขั้นความเป็นทิพย์ แล้วก็ย่อมจะสำเร็จประโยชน์ในโลกียะ หรือโลกุตละ ตามสมควรแก่บุญวาสนาบารมีของตน เทศนามาถึงเรื่องสมาธิสองประการก็ขอยุติเนื้อความโดยย่อลงแต่เพียงเท่านี้

    ธรรมะเมตตาโดย ท่านพระคุณเจ้าดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต.com
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,944
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    นิโรธสัญญา
    โดยหลวงพ่อดาบส สุมโน
    อาศรมไผ่มรกต เชียงราย
    คัดลอกจาก http://www.geocities.com/palapanyo/files/pakinaka/nirot.html


    นิโรธ แปลว่า ดับความทุกข์ ความชั่ว บาป ดับรูปกาย นามซึ่งมีในกายดับจากวัตถุธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า นิพพาน ดับหรือว่างจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลก นรก สวรรค์ พรหม ไม่เหลือการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งเป็นสาเหตุของความทุกข์ยากลำบากอีกต่อไป

    สัญญา แปลว่า ความจดจำ หมายจำเอาไว้หรือจำได้ นิโรธสัญญา จึงแปลว่า ความจำได้หมายรู้ในการดับความทุกข์ยากลำบากทั้งปวง ดับธาตุทั้งหมด ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้เหลือแต่ความว่างเปล่า การปฏิบัตินิโรธสัญญานี้เป็นทางลัด รวดเร็ว ทำง่ายมาก เป็นการปฏิบัติได้ผลรวดเร็วไม่ยากนัก

    เพียรเฝ้าทำจิตให้ว่างจากสิ่งที่เป็นของหนักคือ ร่างกายเราเขาหรือขันธ์ ๕ ขจัดสิ่งวุ่นวายวิตกกังวลเรื่องต่างๆออกจากจิตเท่านั้นทางปฏิบัตินิโรธสัญญา ก็เริ่มด้วยตัดจิตให้มีเมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั่ว ๓ โลก นรกโลก เทวโลก รักษาศีล ๕ ให้ครบถ้วน
    การเฝ้ากำจัดความคิดที่ไม่ดีไร้สาระออกจากจิตก็เป็นสมาธิอย่างหนึ่ง การเฝ้าพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างในโลกในที่สุดก็แตกสูญสลายกลายเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นอากาศ แยกกระจายจากอณูเป็นอะตอมเล็กๆ ละเอียด เป็นธาตุว่างคือวิปัสสนาญาณ ผู้มีศีลเจริญสมาธิภาวนานิดเดียวตั้งจิตทำเพื่อจิตเข้าสู่ความสุขอย่างยิ่งคือ พระนิพพาน ก็เข้าถึงเมืองแก้วพระนิพพานได้ง่าย
    พระนิพพานนั้นไม่ใช่ไกลเกินเอื้อมออกไป อยู่ในจิตในใจเรานี่เอง เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน ทั้งที่ขันธ์ ๕ กายยังไม่แตกสลาย ถ้าร่างกายตายจิตสะอาดหมดความยึดติดในขันธ์ ๕ จิตก็จะเคลื่อนเข้าเสวยความสุขยอดเยี่ยมแดนทิพยนิพพาน เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน
    นิโรธสัญญา คือการเพียรพยายามทำจิตให้ว่างจากสิ่งที่เป็นของสมมุติทั้งปวงในโลก รวมถึงชีวิต คนและสัตว์ ทรัพย์สิ่งของเป็นของสมมุติเป็นของชั่งคราวทั้งสิ้นเป็นของปลอม พระนิพพานธาตุ พุทธิธาตุ ภูตะธาตุ อสังขธาตุ ทั้งหมดนี้เป็นของจริง เป็นธาตุอะตอมไม่ตายไม่สูญสลายเหมือนธาตุของโลก ถึงตาจะมองไม่เห็นแต่มีอยู่จริง เป็นธาตุบริสุทธิ์มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ไม่มีใครสร้าง
    เปรียบธาตุนิพพานอมตะนี้ก็เหมือนเมืองหรือฝั่งข้างโน้นที่เราจะข้ามไป จิตเป็นนามธรรม อาศัยอยู่ในกายในขันธ์ ๕ ที่เป็นของสมมุติชั่วคราว จิตเป็นธาตุบริสุทธิ์ โดยธรรมจากในจิตนั้น มีธรรมกายหรือพุทธิกาย หรือนามกายทิพย์ นิพพานกายอยู่ มีตา หู จมูก ลิ้น กายทิพย์ จิตทิพย์ ไม่ต้องทำขึ้น มีอยู่แล้ว ไม่ตายเป็นอมตะ ในกายทิพย์นิพพานไม่มีประสาท ไม่มีอวัยวะภายใน โปร่งใสเบา เย็นสบายเป็นจิตรู้ฉลาดสะอาดบริสุทธิ์ อิสระจากกฎทั้งปวงอยู่เหนือกฎของกรรมหรือกฎของธรรมชาติ หรือเรียกอีกอย่างว่า จิตของพระอรหันต์ จิตของพระขีณาสพ ผู้หมดกิเลสอวิชชาตัณหาอุปาทานบาปทั้งปวง
    รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ดีร้ายทั้ง ๖ นี้ เป็นผู้มาทีหลัง เป็นของผ่านไปมา เป็นของสมมุติ เป็นของปลอม ไม่ใช่ของจริง เป็นของร้อนเป็นของหนัก ถ้าจิตเราไปคิดเอาเป็นจริงก็ทำให้เกิดความไม่สบายใจ ผิดหวังเป็นทุกข์ใจมิได้หยุดหย่อน รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ทั้งหลายเป็นของสกปรกของชั่วคราวเป็นฝ่ายดำ เป็นสิ่งที่เราจะต้องรู้เท่าทัน และกำจัดออกจากจิตทันที คือให้ว่างเปล่าจากของที่เป็นทุกข์เป็นโทษ จิตจะอยู่ว่างเปล่าเฉยๆ ไม่ชินก็นึกถึงพระคุณความดีขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า นึกถึงฝั่งแดนทิพยนิพพานเป็นสุขเลิศล้ำ นึกถึงร่างกายสมมุตินี้ตายโดนเผาทิ้งแน่นอน แบบนี้จิตจะว่างจากของหนัก ว่างจากความเครียด ความฟุ้งซ่าน ความวุ่นวายหรือปลอดภัยจากอันตรายได้ เพราะจิตว่างสะอาด ปราศจาก โลภ โกรธ หลง เพราะมีแต่พระรัตนตรัย พระนิพพานเต็มเปี่ยมอยู่ในจิต แถมอีกนิดมีเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้ง ๓ โลก ต้องการให้ทุกผู้ทุกคนพ้นทุกข์ได้เหมือนเรา
    วิธีปฏิบัตินิโรธสัญญา หรือ ทำจิตให้ว่างจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน บาปกรรม มี ๓ อย่าง
    ๑) โน้มใจเข้าหาความว่าง ด้วยการนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระมหาเมตตา มีพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ นำสัตว์ชี้ทางเข้าสู่พระนิพพาน เริ่มระลึกถึงความว่างเปล่าไม่มีอะไร ทั้งโลกอากาศว่างเปล่า ธาตุว่างอยู่รอบตัวเราเอิบอาบไปทั่ว เป็นธาตุอะตอม โอบอุ้มทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นธาตุเบา ธาตุเย็น ธาตุสงบ ธาตุพอเพียง ธาตุแท้
    ๒) ทำจิตว่างด้วยสลัดขจัดทิ้งความคิดไม่ดีไร้สาระออกจากจิต หรือปล่อยวางอารมณ์ดีชั่วทั้งปวงออกจากจิตให้มีเพียงแต่คำว่ารู้ แต่ไม่นำเอามาคิดปรุงแต่งเป็นตัวเราตัวเขา เป็นแต่เพียงธาตุของโลก จิตเป็นธาตุเบาไม่เอาไปปนกับธาตุหนักๆของโลก กายก็เป็นธาตุของโลกไม่ใช่ของจิต แต่จิตก็เพียงให้รู้ว่าจิตมาอาศัยอยู่ในกายบ้านสมมุติชั่วคราว ไม่เอามาปนกับจิต จิตส่วนจิต กายส่วนกาย ไม่ใช่อันเดียวกัน มีกายแล้วจิตก็ทำเป็นว่าไม่มี เพราะไม่ช้ากายก็ตายสูญสลาย ไม่มีกายอีก เป็นของว่างๆ เพียรคิดสลัดกาย อารมณ์ทั้งหลายออกจากจิต จิตจะสว่างสะอาดจากกิเลสเฝ้าผูกพันยึดมั่นกายเรากายเขา แต่ก็ยังคงทำหน้าที่การงาน สังคมครบถ้วน จิตใจสะอาดผ่องใส ร่างกายก็ไม่มีโรคหรือโรคน้อย จิตก็จะแปรสภาพจากหนักเป็นเบา โปร่งสบาย จิตหยาบก็จะกลายเป็นจิตละเอียดสะอาดผ่องใส ไม่มีความวุ่นวายจิตสงบนิ่งมีปัญญาดี
    ๓) วิธีทำจิตให้สะอาดว่างจากกิเลสแบบให้สังเกตหรือจับดูอารมณ์ตามความเป็นจริง แต่มิใช่ให้จับแบบยึดมั่นถือมั่น คือจิตมันชอบคิดเรื่องต่างๆอยู่เสมอ มันคิดอะไรก็เอาเรื่องนั้นแหละมาพิจารณาดูให้ลึกและไกลออกไป ให้เห็นความไม่คงที่ จะเป็นไปในทางที่ดีหรือไม่ดีก็เท่ากันไม่มีอะไรเป็นจริงเป็นจัง เป็นแก่นสารย่อมถึงความแปรผันดับสูญเสมอกัน เงาในกระจกหรือเงาในน้ำมิใช่ของจริงฉันใด สรรพสังขาราทั้งหมดก็ไม่ใช่ของจริงฉันนั้น หรือจะมองชีวิตทั้งหมดนี้เหมือนความฝันก็ได้ เพราะจุดจบของชีวิตคือความตาย ความตายของชีวิตร่างกายของคนนี่แหละ คือการตื่นจากความฝัน คือจิตออกจากร่างไปหาที่อยู่ใหม่ ที่อยู่ใหม่ของเราท่านเที่ยงแท้แน่นอนไม่ยอมแปรผันอีกต่อไปคือ แดนอมตะทิพยนิพพาน
    เมื่อมาพิจารณารู้ความจริงของชีวิตร่างกายทุกผู้ทุกนามแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ มีก็เท่ากับไม่มี คือว่างเปล่านั่นเอง เพราะสูญสลายไม่ช้าก็เร็วเมื่อกำหนดจิตเห็นทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเป็นของว่างเปล่า จิตก็จะเข้าถึงความว่าง ธาตุว่างจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เมื่อพิจารณาทบทวนถึงความไม่มีในร่างกายเรากายเขา ขันธ์ ๕ เรา ขันธ์ ๕ เขา มันมีแล้วก็เหมือนกับไม่มี เพราะแปรปรวนไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่จริง เป็นของปลอมของสมมุติ หาตัวตนตัวเราตัวเขาไม่ได้ เพราะทุกอย่างมีแต่เดินทางหาความทรุดโทรม ผุพังสลายตายกันในที่สุด จิตก็จะหลุดจากกิเลสคือว่างจากความทุกข์ยาก จิตจะเป็นอิสรเสรี ไม่ยึดเกาะในสิ่งของจอมปลอมอีกต่อไป
    ถึงแม้จิตจะยังอาศัยอยู่ในกาย แต่จิตไม่หลงรักว่าเป็นอันเดียวกับจิต อย่าเอาจิตไปนึกว่ามันมี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ปล่อยไปเพียงแต่ผ่านมาผ่านไปเท่านั้น ถ้าทรงอารมณ์อยู่จิตไม่สนใจขันธ์ ๕ ของใครวางเฉยไม่ทุกข์ร้อน ทำงานทุกอย่างตามหน้าที่ อารมณ์เฉยเป็นเอกัคตารมณ์ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีสำหรับเรา เราไม่มีสำหรับกาย จิตจะสะอาดเบิกบานผ่องใสพ้นจากความยึดมั่นในของปลอมของทุกข์ของร้อนพระท่านเรียกว่า จิตของพระอรหันต์
    วิธีทำจิตให้ว่างจากกายเรากายเขาแบบนี้ เป็นวิธีลัดแบบง่าย มีแต่พรหมวิหาร ๔ ไม่ยึดถืออารมณ์ใดๆมาไว้ในจิตมีความจำได้หมายรู้ก็เหมือนไม่มีความจำ เพราะความจำอยู่ได้ไม่นานไม่ช้าก็ลืม ประสาทสมองลืมง่าย ความคิดความจำ ความฟุ้งซ่าน วิตกกังวลเป็นเรื่องของกายให้สลัดทิ้ง ให้จิตเต็มไปด้วยพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จิตจะเบาบริสุทธิ์สะอาด จิตอันนี้เราจะตามรอยพระพุทธบาทเมื่อกายพังแตกสลาย ผู้เพียรทำจิตให้ว่างจากร่างกาย หรืออารมณ์ต่างๆแบบนี้เป็นแบบของพระอริยเจ้า เป็นสมาธิเป็นวิปัสสนาญาณอยู่ด้วยกัน ทำได้ทุกเวลา ทุกอิริยาบถ นั่ง นอน ยืน เดิน ทำได้ทั้งที่อยู่คนเดียวและอยู่แบบหมู่คณะ เป็นทางหลุดพ้นทุกข์ได้อย่างแน่นอน เป็นทางลัดตรงไปสู่จุดหมายปลายทางคือ พระนิพพาน
    นิพพานธาตุ คือ นิโรธธาตุ อันเดียวกัน มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แม้ในจิตเราท่านที่อยู่ในร่างกายที่สกปรกนี้ ทำจิตให้เข้าถึงพระนิพพานได้ทันทีทั้งๆที่ยังไม่ตาย นิพพานไม่ใช่มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก แต่อยู่เหนือโลกทั้งสิ้น มีอยู่ทั่วไปถ้าจิตจิตดับทุกข์ดับขันธ์ ๕ ว่างจากกิเลสจะรู้สภาวะพระนิพพานทันทีนิโรธสัญญา คือทำจิตให้ว่างไม่มีอารมณ์ใดๆทั้งปวงคือเฉยๆ จิตจะสะอาดปล่อยวางจากทุกสิ่งทุกอย่างทั้งโลก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จิตจะเข้าสู่ภาวะ ที่เป็นจิตพุทธะดั้งเดิม จิตประภัสสรนิโรธสัญญา ทำจิตให้ว่างจากพันธะใดๆในโลก จะทำวิชชาให้สำเร็จด้วยฤทธิ์ก็ย่อมได้ เพราะจิตสงบทรงตัว แต่ท่านที่เจริญความว่างทางจิตแบบนี้ ท่านไม่ต้องการอิทธิฤทธิ์ใดๆ ความรู้พิเศษใดๆอีก ทั้งสิ้น เพราะจิตท่านอิ่มด้วยความสุข สงบ สบาย สว่างสดใส ไม่ต้องการอะไรอีกต่อไป เป็นความสุขยอดเยี่ยม ไม่สามารถบรรยายเป็นตัวหนังสือได้



    "สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ"
    "การให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง"
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...