วัฒนธรรมและประเพณี..สยามประเทศ("พระราชพิธีสิบสองเดือน")

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 15 มีนาคม 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    วัฒนธรรมและประเพณี..สยามประเทศ("พระราชพิธีสิบสองเดือน")

    สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย นั้น อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ เป็นหลักสำคัญของชาติ และทรงไว้ซึ่งพระราชภาระทำนุบำรุงบ้านเมือง กิจหนึ่งซึ่งมีความสำคัญที่องค์พระมหากษัตริย์ทรงปฎิบัติในแต่ละเดือน คือพระราชพิธีทั้งปวง หรือที่เรียกกันว่า <!--coloro:#339999--><!--/coloro-->"พระราชพิธีสิบสองเดือน"<!--colorc--><!--/colorc-->

    พระราชพิธีที่ปฎิบัติประจำในแต่ละเดือน เป็นมูลเหตุให้สังคมไทยที่ยึดมั่นในพระมหากษัตริย์ และเป็นสังคมที่มีพุทธศาสนาเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต รับพิธีกรรมเหล่านี้ไว้เป็นประเพณี และวิถีทางการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา บางพระราชพิธีเป็นประเพณีมาแต่ดึกดำบรรพ์ บางพิธีอิงกับศาสนาพราหมณ์ พิธีกรรมและพระราชพิธีสิบสองเดือนนี้แตกย่อยไปอีกมากมาย ปะปนกับชีวิตของชาวบ้านจนบางครั้ง บางประเพณีจัดและปฎิบัติกันจนเป็นปกติวิสัย ทั้งนี้ความมุ่งหมายและความสำคัญของการปฎิบัติพระราชพิธีสิบสองเดือนในสมัยโบราณนั้น
    ก็เพื่อแผ่พระเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ให้เป็นที่ประจักษ์ และเพื่อเป็นสิริมงคลแก่พระนคร และอาณาประชาราษฏร์ รวมทั้งเป็นการสร้างความเชื่อมั้นทางจิตใจให้กับสังคมในยุคนั้นด้วย

    แต่เดิมแต่เดิมนั้น การพระราชพิธีสิบสองเดือน มีหลักฐานปรากฎอยู่ในพระราชกำหนดกฎมณเฑียรบาล ซึ่งตราไว้ตั้งแต่แรกสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี นอกจากนี้ยังได้มีบันทึกในโคลงทวาทศมาส ซึ่งกรมพระยาบำราบปรปักษ์ฯ ทรงนิพนธ์ไว้ ต่อมา <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระราชนิพนธ์ความเรียงอธิบายเรื่องพระราชพิธีสิบสองเดือน <!--colorc--><!--/colorc-->และนิยมใช้เป็นเนื้อเรื่องวาดเขียนลงบน ฝาฝนังตามวัดต่างๆ ในสมัยรัตนโกสินทร์


    [​IMG]


    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->- เดือนยี่ พระราชพิธีตรียัมปวาย -<!--colorc--><!--/colorc-->
    เป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ในช่วงปีใหม่ มีการทำบุญตรุษเปลี่ยนปี ซึ่งถือกันว่าพระอิศวรและพระนารายณ์ลงมาเยี่ยมโลก พิธีนี้จะเริ่มกระทำตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือนยี่ ที่เทวสถาน ประกอบด้วยการโล้ชิงช้า โดยพระยายืนชิงช้าซึ่งสมมุติว่าเป็นองค์พระอิศวร และพระนารายณ์ ทั้งยังมีการบำเพ็ญพระราชกุศลในพุทธศาสนาด้วย


    [​IMG]


    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->- เดือนสาม การพระราชกุศลเลี้ยงพระตรุษจีน - <!--colorc--><!--/colorc-->
    พระราชพิธีนี้เกิดขึ้นในรัชกาลที่ 3 เหตุเพราะชาวจีนที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ได้นำสิ่งของมาถวาย จึงทรงคิดการพระราชกุศลขึ้น มีการถวายสิ่งของแด่พระสงฆ์ ทั้งเครื่องเซ่นอย่างจีน ถวายพระพุทธรูป และถวายภัตตาหารเป็นขนมจีน เป็นอาทิ


    [​IMG]


    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->- เดือนสี่ พระราชพิธีเกศากันต์หรือการโกนจุก - <!--colorc--><!--/colorc-->
    เป็นการมงคลแก่เด็กซึ่งนิยมไว้จุก เปีย แกละ ก่อนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ กระทำในช่วงตรุษหรือสัมพัจฉฉินท์ ในช่วงตั้งแต่แรม 11 ค่ำ เดือน 4 ไปจนแรม 14 ค่ำ มีเขาไกรลาศทำด้วยศิลาเป็นปริมณฑลพิธี ทั้งยังมีการพระราชกุศล ทางพุทธศาสนาด้วย


    [​IMG]


    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->- เดือนห้า พระราชพิธีสงกรานต์ -<!--colorc--><!--/colorc-->
    แต่เดิมกรุงสยามถือเอาเดือน 5 เป็นเดือนขึ้นศักราชใหม่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ และถือเป็นพระราชพิธีใหญ่ มีการตั้งเครื่องบูชาพระพุทธรูปด้วยการถวายข้าวบิณฑ์ มีการก่อพระเจดีย์ทราย การขนทรายเข้าวัด ซึ่งเดิมถือเป็นการบูชาพระพุทธเจ้า แต่ก็เป็นการบำรุงพระพุทธศานาด้วย ทีการพระราชกุศล เช่น มีการสรงน้ำพระในพระบรมมหาราชวัง เป็นต้น


    [​IMG]


    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->- เดือนหก พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล -<!--colorc--><!--/colorc-->
    เป็นพระราชพิธีซึ่งควบคู่กัน และผสมผสานทั้งพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ถือเป็นการมงคลก่อนการเพาะปลูก และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เกษตรกร โดยพระมหากษัตริย์จะเสด็จมาทรงเป็นองค์ประธาน มีการแรกนาโดยพระยาแรกนา และให้พระโคเสี่ยงทาย เพื่อทำนายถึงความบริบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร


    [​IMG]


    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->- เดือนเจ็ด การพระราชกุศลสลากภัต -<!--colorc--><!--/colorc-->
    ในสยามนั้น ช่วงเดือนนี้เป็นช่วงที่พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ จึงมีการบำเพ็ญกุศล ด้วยการนำภัตตาหารไปถวายพระ โดยการให้มีผู้จับสลากรายนามของพระสงฆ์ เมื่อจับได้ชื่อพระสงฆ์รูปใด ก็นำภัตตาหารไปถวายพระสงฆ์รูปนั้น พระราชพิธีนี้มีที่มาจากคัมภีร์จุลวรรค เมื่อครั้งพุทธกาล


    [​IMG]


    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->- เดือนแปด พระราชพิธีเข้าพรรษา -<!--colorc--><!--/colorc-->
    ในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบัญญัติห้ามพระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ ในช่วงเข้าพรรษา เพราะอาจเหยียบข้าวกล้าในไร่นาให้เสียหายได้ ซึ่งจะมีการบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายเครื่องอัฐบริขารแด่พระสงฆ์ มีพิธีบวชนาคหลวงในระหว่างวันขึ้น 5 ค่ำ ถึง 12 ค่ำ ก่อนการเข้าพรรษา และให้นาคหลวงโปรยทานในพิธีทรงผนวชด้วย


    [​IMG]


    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->- เดือนเก้า การพระราชกุศลเสด็จถวายพุ่ม - <!--colorc--><!--/colorc-->
    ในเทศกาลเข้าพรรษา จะมีการเสด็จพระราชดำเนินถวายพุ่มอันหมายถึง เครื่องสักการะสำหรับเข้าพรรษาแด่พระสงฆ์ รวมทั้งสักการะพระพุทธรูป และพระบรมอัฐิของบูรพกษัตริย์ในพระบรมมหาราชวัง บางคราวเจ้านายฝ่ายใน จะเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องสักการะ และเป็นผู้นำไปถวาย

    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->- เดือนสิบ พระราชพิธีสารท -<!--colorc--><!--/colorc-->
    ในพระราชพิธีสารท จะมีขึ้นราวๆ ปลายเดือน 10 เดิมนั้นเป็นพิธีในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งในสมัยต่อมาก็มีธรรมเนียมการกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาส โดยพระเจ้าลูกเธอฝ่ายในทรงเป็นผู้กวน ธรรมเนียมการกวนข้าวทิพย์นี้มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล และถือปฎิบัติกันมาในประเพณีทางพุทธศาสนาด้วย


    [​IMG]


    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->- เดือนสิบเอ็ด พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน - <!--colorc--><!--/colorc-->
    ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จไปถวายผ้าพระกฐิน ซึ่งหมายถึง ผ้าที่สำเร็จขึ้นได้เพราะอาศัยกฐิน คือกรอบไม้สำหรับขึงผ้าเย็บจีวรของพระภิกษุ จะมีการเสด็จพระราชดำเนินทั้งทางสถลมารค และชลมารค ไปถวายผ้าพระกฐินยังอารามหลวงต่างๆ

    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->- เดือนสิบสอง พระราชพิธีจองเปรียง ลอยพระประทีป -<!--colorc--><!--/colorc-->
    ในช่วงเดือน 12 ใยสยามเป็นช่วงน้ำหลาก พระเจ้าแผ่นดินจะเสด็จลงประพาสลำน้ำในเวลาค่ำ เพื่อลอยพระประทีป หรือกระทงหลวง ซึ่งประดิษฐ์เป็นรูปสัตว์ต่างๆ อย่างงดงาม มีพระราชกุศลต่างๆ ในเวลากลางวัน ในวันขึ้น 14-15 ค่ำ และแรม 1 ค่ำ เดือน 12

    <!--coloro:#FF0000--><!--/coloro-->- เดือนอ้าย การพระราชกุศลเลี้ยงขนมเบื้อง -<!--colorc--><!--/colorc-->
    ในช่วงเดือนนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่กุ้งในแม่น้ำนั้นบริบูรณ์ จึงมีการปรุงขนมเบื้องโดยเกณฑ์ฝ่ายใน ท้าวนางและเจ้าจอมทั้งหลายเป็นผู้ปรุง โดยขนมเบื้องนั้นจะนำไปถวายพระสงฆ์ผู้ใหญ่ เช่น พระบรมศานุวงค์ที่ทรงผนวช และพระราชาคณะ พระราชพิธีนี้ไม่มีกำหนดวันแน่นอน <!--IBF.ATTACHMENT_44532-->


    --------------------
    ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล..
    http://www.thaisamkok.com/forum/lofiversion/index.php/t7449.html
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 172cm3.jpg
      172cm3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      67.8 KB
      เปิดดู:
      965
    • 1937aa1.jpg
      1937aa1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.6 KB
      เปิดดู:
      880
    • 2141lk6.jpg
      2141lk6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      68.9 KB
      เปิดดู:
      2,447
    • 4uf4.jpg
      4uf4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66.3 KB
      เปิดดู:
      769
    • 5zg5.jpg
      5zg5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62.6 KB
      เปิดดู:
      731
    • 6lj6.jpg
      6lj6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      66.5 KB
      เปิดดู:
      1,028
    • 7nd1.jpg
      7nd1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      75.9 KB
      เปิดดู:
      700
    • 8ag6.jpg
      8ag6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      67.2 KB
      เปิดดู:
      1,573
    • 10ba8.jpg
      10ba8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      68.6 KB
      เปิดดู:
      1,053

แชร์หน้านี้

Loading...