เรื่องเด่น รู้จัก พระสยามเทวาธิราช องค์พระพักตร์คล้าย ร.4 สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 6 สิงหาคม 2021.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,591
    2_410.jpg



    พระสยามเทวาธิราช สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง มีที่มาที่ไปอย่างไร มาอ่านกัน โดยมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่รัชกาลที่ 4 จวบจนถึงปัจจุบัน โดยพระสยามเทวาธิราชมีทั้งหมด 2 องค์ องค์หนึ่งคือองค์ที่เคยเห็นกันทั่วไป องค์หนึ่งพระพักตร์เหมือน รัชกาลที่ 4


    1_433.jpg


    3_332.jpg



    พระสยามเทวาธิราช นับว่าเป็นเรื่องราวที่คนไทยได้ยินมาอย่างยาวนาน เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คู่บ้านคู่เมืองมาหลายร้อยปี โดยคนเชื่อกันว่า พระสยามเทวาธิราช จะช่วยปกปักษ์รักษาประเทศไทยให้แคล้วคลาดจากภยันตรายต่าง ๆ ได้ ซึ่งในวันนี้ กระปุกดอทคอมจะมานำเสนอประวัติพระสยามเทวาธิราชว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรบ้าง

    จุดเริ่มต้นของพระสยามเทวาธิราช

    ในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์มีพระราชดำริว่า สยามมีเหตุการณ์ที่เกือบจะเสียอิสรภาพมาหลายครั้ง แต่บังเอิญมีเหตุให้รอดมาได้เสมอ คงจะมีเทพยดาที่ศักดิ์สิทธิ์คอยอภิบาลรักษาอยู่ สมควรที่จะทำรูปเทพยดาองค์นั้นขึ้นสักการบูชา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐวรการปั้นรูปสมมติขึ้น

    รูปสมมติของพระสยามเทวาธิราช

    พระสยามเทวาธิราช เป็นเทวรูปที่หล่อด้วยทองคำสูง 8 นิ้ว ประทับยืนทรงเครื่องกษัตริยาธิราช ทรงฉลองพระองค์อย่างเครื่องของเทพารักษ์ มีมงกุฎเป็นเครื่องศิราภรณ์ พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงขรรค์ พระหัตถ์ ซ้ายยกขึ้นจีบดรรชนีเสมอพระอุระ

    องค์พระสยามเทวาธิราช ประดิษฐานในเรือนแก้วทำด้วยไม้จันทน์ ลักษณะแบบวิมานเก๋งจีน มีคำจารึกเป็นภาษาจีนที่ผนังเบื้องหลัง แปลว่า ที่สถิตแห่งพระสยามเทวาธิราช ตั้งอยู่เหนือลับแลบังพระทวารเทวราชมเหศวร์ ตอนกลางพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง


    พระสยามเทวาธิราช ในยุครัชกาลที่ 5

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ สร้างรูปเทวดาอีกองค์หนึ่ง มีรูปแบบเหมือนกับพระสยามเทวาธิราชของรัชกาลที่ 4 ต่างกันตรงที่ พระพักตร์คล้ายรัชกาลที่ 4 ประดิษฐานที่ห้องบรรทมของรัชกาลที่ 5 ในพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ส่วนสาเหตุที่ต้องทำให้พระพักตร์เหมือนกับรัชกาลที่ 4 เนื่องจากความเชื่อว่า นอกจากเทวดาที่มีหน้าที่รักษาสยามให้รอดพ้นวิกฤตแล้ว ยังมีบรรพกษัตริย์ที่มีฐานะเป็นเทวดาที่คอยช่วยอยู่อีกทางหนึ่งด้วย

    พระราชพิธีสักการะพระสยามเทวาธิราช เข้าลักษณะพิธีผี

    พระราชพิธีบวงสรวงใหญ่ พระสยามเทวาธิราช ตามประเพณีกำหนดไว้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี ส่วนเครื่องสังเวยที่ใช้บูชาพระสยามเทวาธิราชตามประเพณีโบราณ ได้แก่ หัวหมู, เป็ด, ไก่, เมี่ยงส้ม, ทองหยิบ, ฝอยทอง, ส้มเขียวหวาน, องุ่น, มะตูมเชื่อม, มะพร้าวอ่อน, กล้วย หอมจันทร์, ขนมต้มแดง, ขนมต้มขาว, ผลทับทิม, เทียนเงิน, เทียนทอง

    ทั้งนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มองว่า การทำพิธีกรรมของการบูชาพระสยามเทวาธิราช เข้าลักษณะพิธีผีอย่างหนึ่ง เนื่องจากสอดคล้องกับพิธี “ไหว้-พลี” ให้กับ “พระขพุงผี” ด้วย

    นอกจากนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ กล่าวว่า การเซ่นสังเวยพระสยามเทวาธิราช การสังเวยเทพารักษ์ต่าง ๆ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระหลักเมือง สิ่งเหล่านี้จะเรียกว่าเกี่ยวกับศาสนาก็ไม่ได้ เพราะเทวดาเหล่านี้ไม่มีในศาสนาพราหมณ์ ศาสนาาพุทธ เห็นทีจะเป็นความเชื่อของคนไทยเฉพาะที่นับถือผีมาตั้งแต่โบราณ


    พระราชพิธีบวงสรวงใหญ่ ในยุครัชกาลที่ 9

    ในปี 2525 ครบรอบการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระสยามเทวาธิราชจากพระวิมานในพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ขึ้นเสลี่ยงโดยประทับบนพานทอง 2 ชั้น สู่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประดิษฐาน ณ บุษบกมุขเด็จ เพื่อทรงประกอบพระราชพิธีบวงสรวง

    นอกจากนี้ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประชาชนสักการะพระสยามเทวาธิราชเฉพาะพระพักตร์เป็นครั้งแรก



    ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก โบราณนานมา
    ขอขอบคุณที่มา

    https://hilight.kapook.com/view/215356
     

แชร์หน้านี้

Loading...