ยูเอ็นถวายรางวัลพระองค์ภา..พระเมตตาผู้ต้องขังหญิงประจักษ์แก่ชาวโลก

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 25 เมษายน 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    ยธ.จัดงานเฉลิมฉลองพระองค์ภา รับการถวายรางวัลจากยูเอ็น

    [​IMG]
    *พระฉายาลักษณ์ประกอบกระทู้จากอินเตอร์เนต*

    <TABLE style="WIDTH: 480px"><TBODY><TR><TD vAlign=top></TD><TD vAlign=top>ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (24 เม.ย.) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม แถลงข่าว ในโอกาสที่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ได้รับการถวายรางวัลเกียรติยศสูงสุด จากสำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรม

    [​IMG]


    ในฐานะทรงมีบทบาทสำคัญในระดับนานาชาติ ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังหญิง และผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรง ว่า กระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นหน่วยงานถวายงานในโครงการกำลังใจ และโครงการจัดทำมาตรฐานผู้ต้องขังหญิง หรือโครงการ ELFI จะนำเสนอเรื่องการได้รับการถวายรางวัล และมติของการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ที่กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย เข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้รัฐบาลไทยได้ผลักดันและสนับสนุนการจัดทำมาตรฐานผู้ต้องขังหญิง และมติที่เกี่ยวข้องให้เป็นผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

    [​IMG]

    นอกจากนี้ เพื่อเฉลิมฉลองพระเกียรติยศของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา กระทรวงยุติธรรม จะจัดนิทรรศการเกี่ยวกับพระกรณียกิจของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในด้านต่าง ๆ ในฐานะเจ้าหญิงนักกฎหมาย

    [​IMG]


    [​IMG]
    น้ำพระทัยไหลริน สู่เด็กแรกเกิด ติดครรภ์จากมารดาถูกคุมขัง

    และการดำเนินงานโครงการกำลังใจและโครงการ ELFI และงานต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก ในฐานะองค์ทูตสันถวไมตรี ระหว่างวันที่ 7-10 พ.ค.นี้ ที่เซ็นทรัลเวิลด์.


    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    -------------
    [​IMG]
    http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Newsid=197247&NewsType=1&Template=1
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    "พระองค์ภาฯ" ทรงนำเสนอมาตรฐานผู้ต้องขังหญิงสู่เวทีสหประชาชาติ

    [​IMG]


    [​IMG]


    คมชัดลึก : ช่วงระหว่างวันที่ 15-19 เมษายนที่ผ่านมา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จไปทรงเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา สมัยที่ 18 ณ สำนักงานสหประชาชาติ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย

    โดยทรงมีพระดำรัสในพิธีเปิดการประชุม ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งเกี่ยวกับการจัดทำ "โครงการเอลฟี" เพื่อลดช่องว่างในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงตอนหนึ่งความว่า ตามที่ข้าพเจ้าได้เคยกล่าวถึงความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิง รวมทั้งบุตรติดผู้ต้องขัง ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา สมัยที่ 17 มาแล้วถึงข้อกังวลที่ว่า แม้ว่ามีจำนวนผู้ต้องขังหญิงเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ผู้ต้องขังหญิงก็มักจะเป็นผู้ถูกละเลยในทัณฑสถาน และแม้ว่าข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในเรือนจำ ค.ศ. 1955 จะครอบคลุมถึงการดูแลนักโทษทั้งหมดโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ อย่างไรก็ดี เราต้องยอมรับว่าข้อกำหนดดังกล่าวมิได้คำนึงถึงความต้องการจำเพาะของผู้ต้องขังหญิงเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงได้ริเริ่มโครงการเอลฟี ซึ่งย่อมาจากโครงการ "Enhancing Lives of Female Inmate" ในปีที่ผ่านมาเพื่อลดช่องว่างในมาตรฐานการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังของสหประชาชาติ ที่มิได้ระบุถึงความแตกต่างระหว่างเพศไว้ โดยการเพิ่มข้อกำหนดต่างๆ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ต้องขังหญิง

    [​IMG]


    พร้อมกันนี้ทรงร่วมหารือทวิภาคีเกี่ยวกับบทบาทของกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยในเวทีสหประชาชาติ ซึ่งอันโตนิโอ ได้กล่าวชื่นชมถึงการดำเนินงานโครงการกำลังใจในพระดำริ และการผลักดันมาตรฐานว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงของสหประชาชาติ หรือโครงการเอลฟี รวมถึงความก้าวหน้าของกฎหมายการต่อต้านการค้ามนุษย์ด้วย
    และในโอกาสเดียวกัน อันโตนิโอ มาเรีย คอสตา ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรม หรือ UNODC ได้ถวายเหรียญรางวัลเกียรติยศสูงสุด Medal of Recognition แด่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา อันเนื่องทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในด้านกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะด้านสิทธิของผู้ต้องขังที่ทรงได้ริเริ่มภายใต้โครงการกำลังใจเมื่อปีที่ผ่านมาและมาถึงโครงการเอลฟีในปีนี้ ซึ่งทำให้เป็นที่ยอมรับในเวทีนานาชาติ อีกทั้งการที่ทรงรับเป็นองค์ทูตสันถวไมตรีในโครงการต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิง ของกองทุนการพัฒนาสตรีแห่งสหประชาชาติ หรือยูนิเฟม ที่ได้มีผลงานต่อเนื่องอย่างมากในการต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก โดยเหรียญรางวัลเกียรติยศนี้เพิ่งมีบุคคลสำคัญระดับโลกได้รับเพียง 2 ท่าน คือ มกุฎราชกุมารแห่งกาตาร์ และภริยาของประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารัค แห่งอียิปต์

    -----------
    คมชัดลึก :
    http://www.komchadluek.net/detail/20090424/10358/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%AF%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4.html



    -------------------------------------------------------






    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle height=30>พระองค์ภาฯ นำเสนอมาตรฐานผู้ต้องขังหญิงสู่เวทีสหประชาชาติ



    [​IMG]






    </TD></TR><TR><TD><TABLE height="100%" cellSpacing=0 cellPadding=2 width=750 align=center border=0><TBODY><TR><TD style="FONT-SIZE: 12px; COLOR: #000000; FONT-FAMILY: MS Sans Serif; BACKGROUND-COLOR: #ffffff; TEXT-ALIGN: left" vAlign=top align=left>เมื่อวันที่ ๑๕ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๒ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศไทย ทรงเสด็จเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา สมัยที่ ๑๘ ณ สำนักงานสหประชาชาติ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย โดยมีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เฝ้ารับเสด็จและเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย ซึ่งพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ได้มีพระดำรัสในพิธีเปิดการประชุม ซึ่งมีใจความตอนหนึ่งเกี่ยวกับการจัดทำ "โครงการเอลฟี" เพื่อลดช่องว่างในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงดังนี้

    In my statement to this august gathering last year, I emphasized the importance of / providing assistance and care to women prisoners,/including children living with imprisoned mothers. /Despite the fact that women prisoners are increasing in number, / they are often considered the forgotten population in prison settings./ The ๑๙๕๕ United Nations Standard Minimum Rules / for the Treatment of Prisoners / apply to all prisoners without discrimination, / including women. / But in our rapidly changing world,/ we must confront the reality that / the SMR can no longer accommodate the specific needs of women. / Therefore, I decided to launch the project called ELFI,/ which stands for / "Enhancing lives of Female Inmates " / last year in order to address thegender gap in the SMR and supplement them with a more adequate set of rules.

    คำแปล..(ตามที่ข้าพเจ้าได้เคยกล่าวถึงความสำคัญในการให้ความช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิง รวมทั้งบุตรติดผู้ต้องขัง ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา สมัยที่ ๑๗ มาแล้วถึงข้อกังวลที่ว่า แม้ว่ามีจำนวนผู้ต้องขังหญิงเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ผู้ต้องขังหญิงก็มักจะเป็นผู้ถูกละเลยในทัณฑสถาน และแม้ว่าข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในเรือนจำ ค.ศ.๑๙๕๕ จะครอบคลุมถึงการดูแลนักโทษทั้งหมดโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ อย่างไรก็ดี เราต้องยอมรับว่าข้อกำหนดดังกล่าวมิได้คำนึงถึงความต้องการจำเพาะของผู้ต้องขังหญิงเท่าที่ควร ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงได้ริเริ่มโครงการ เอลฟี ซึ่งย่อมาจากโครงการ "Enhancing Lives of Female Inmate" ในปีที่ผ่านมาเพื่อลดช่องว่างในมาตรฐานการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังของสหประชาชาติ ที่มิได้ระบุถึงความแตกต่างระหว่างเพศไว้ โดยการเพิ่มข้อกำหนดต่างๆให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ต้องขังหญิง)



    และต่อมาได้เสด็จไปทรงพบกับนายอันโตนิโอ มาเรีย คอสตา ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานคณะกรรมการสหประชาชาติ ว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรม หรือ ยูเอ็นโอดีซีพร้อมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและปลัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อทรงร่วมหารือทวิภาคีเกี่ยวกับบทบาทของกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยในเวทีสหประชาชาติ ซึ่งนายอันโตนิโอ มาเรียคอสตา ได้กล่าวชื่นชมถึงการดำเนินงานโครงการกำลังใจในพระดำริ และการผลักดันมาตรฐานว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงของสหประชาชาติ หรือโครงการเอลฟี รวมถึงความก้าวหน้าของกฎหมายการต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งทรงมีรับสั่งถึงการพัฒนาบุคลากรในเรื่องดังกล่าวที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน และเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาได้ทรงนำคณะอัยการไทยไปร่วมประชุม เรื่องการต่อต้านการค้ามนุษย์กับทางคณะอัยการลาว เพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงานร่วมกันและในคราวเดียวกันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้เชิญ นายอันโตนิโอ มาเรีย คอสตา มาร่วมประชุมในประเทศไทยเกี่ยวกับการแก้ปัญหายาเสพติด ซึ่งจะจัดขึ้นประมาณกลางปีนี้ที่ประเทศไทยด้วยจากนั้น พระเจ้าหลานเธอฯ ทรงเปิดนิทรรศการโครงการเอลฟีร่วมกับนายอันโตนิโอ มาเรีย คอสตา ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรม หรือ UNODC ทั้งนี้สืบเนื่องจากการที่พระเจ้าหลานเธอฯ ทรงสนพระทัยในเรื่องการปฏิบัติต่อผู้ขาดโอกาสในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะผู้ต้องขังหญิง ประกอบกับข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในเรือนจำที่มีมาตั้งแต่คริสตศักราช ๑๙๕๕ หรือ เมื่อ ๕๓ ปีก่อนยังไม่มีข้อกำหนดเฉพาะเกี่ยวกับผู้ต้องขังหญิง จึงมีพระดำริให้จัดทำโครงการเอลฟีขึ้น เพื่อผลักดันเรื่องการพัฒนาการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ เพื่อให้เป็นมาตรฐานในระดับสากล และให้นานาชาติตระหนักถึงปัญหาของผู้ต้องขังหญิงในระบบราชทัณฑ์ และร่วมมือกันพัฒนาวิธีการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่เน้นการให้ความสำคัญต่อความอ่อนไหวของเพศหญิง เนื่องจากปัจจุบันผู้ต้องขังหญิงมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หากแต่ยังไม่มีปัจจัยพื้นฐานที่เพียงพอต่อการรองรับผู้ต้องขังหญิง รวมถึงเด็กติดผู้ต้องขัง จึงมีพระดำริให้จัดทำร่างข้อเสนอประเทศไทยเพื่อผลักดันเป็นข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ รวมถึงมาตรการลงโทษและวิธีการ โดยไม่ใช้การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิงเพื่อให้เกิดมาตรฐานเท่าเทียมกันในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังทั้งสองเพศ โดยได้มีการศึกษาวิจัยในเรื่องการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงทั่วโลก และได้นำเอากฎหมายและข้อกำหนดระหว่างประเทศว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงหลายฉบับมาอ้างอิงและกลั่นกรองให้เนื้อหาของข้อกำหนดให้มีความสอดคล้องและสามารถใช้ร่วมกันได้กับกฎหมายและข้อกำหนดในปัจจุบัน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ชุมชนและสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ซึ่งในการเสด็จมาทรงร่วมการประชุมในครั้งนี้ จะได้มีการผลัดดันโครงการ เอลฟี ให้ได้รับความเห็นชอบในการประชุมและขออนุมัติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติในประเทศไทย ตามร่างข้อกำหนดที่นำเสนอ เพื่อขอความเห็นชอบ และจะได้นำข้อกำหนดดังกล่าวไปเสนอต่อที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ครั้งที่ ๑๒ ที่เมืองซัลวาดอร์ ประเทศบราซิล ในช่วงเดือนเมษายน ๒๕๕๓ เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสมัชชาใหญ่ แห่งสหประชาชาติ สมัยที่ ๖๕ ณ นครนิวยอร์ก ในช่วงปลายปี ๒๕๕๓ เพื่อประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งนิทรรศการโครงการเอลฟีได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมประชุมจากนานาประเทศเป็นอย่างมาก


    และในโอกาสเดียวกัน นายอันโตนิโอ มาเรีย คอสตา ผู้อำนวยการบริหารสำนักงานคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรม หรือ UNODC ได้ถวายเหรียญรางวัลเกียรติยศสูงสุด MedalofRecognition แด่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา อันเนื่องมาจากพระเจ้า หลานเธอฯ ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในด้านกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะด้านสิทธิของผู้ต้องขังที่ทรงได้ริเริ่มภายใต้โครงการกำลังใจเมื่อปีที่ผ่านมาและมาถึงโครงการเอลฟี่ในปีนี้ ซึ่งทำให้เป็นที่ยอมรับในเวทีนานาชาติ อีกทั้งการที่พระเจ้าหลานเธอได้ทรงรับเป็นองค์ทูตสันถวไมตรีในโครงการต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิง ของกองทุนการพัฒนาสตรีแห่งสหประชาชาติ หรือยูนิเฟม ที่ได้มีผลงานต่อเนื่องอย่างมากในการต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก โดยเหรียญรางวัลเกียรติยศนี้เพิ่งมีบุคคลสำคัญระดับโลกได้รับเพียง ๒ ท่าน คือ มกุฎราชกุมารแห่งกาตาร์ และภริยาของประธานาธิบดี ฮอสนี มูบารุค แห่งอียิปต์
    ในการนี้ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้จัดถวายเลี้ยงพระกระยาหารค่ำ ณ ห้องคลิมป์ ๑ (Klimt) โรงแรมฮิลตัน เวียนนา เนื่องในโอกาสที่ พระเจ้าหลานเธอฯ เสด็จไปทรงร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา สมัยที่ ๑๘ ณ กรุงเวียนนา ในฐานะทรงเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และในโอกาสที่สำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรม หรือ UNODC ได้ถวายเหรียญรางวัลเกียรติยศสูงสุดที่มอบให้แก่ผู้ทำคุณประโยชน์ในด้านกระบวนการยุติธรรม

    วันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๒ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จไปยังสำนักงานองค์การสหประชาชาติ ณ กรุงเวียนนา เพื่อทรงเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา สมัยที่ ๑๘ เป็นวันที่ ๒ ซึ่งเป็นการหารือในหัวข้ออภิปรายหลัก ในระเบียบวาระที่ ๓เรื่องการฉ้อฉลทางเศรษฐกิจ และอาชญากรรมเกี่ยวกับอัตตลักษณ์ (Economic Fraud and Identity Related Crime) นอกจากนี้ ยังทรงเข้าร่วมในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาร่างข้อมติ เพื่อพิจารณาร่างข้อมติ ซึ่งประเทศไทยเสนอในเรื่อง "การปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ และมาตรการลงโทษและวิธีการโดยไม่ใช้การคุมขังสำหรับผู้กระทำความผิดหญิง"


    และในตอนบ่าย เสด็จออก ณ ห้อง C ๒๑๗ ประทานพระวโรกาสให้ นางสาวลูเซียนา วีเอกัส (Luciana Viegas) ผู้ช่วยผู้เชี่ยวชาญ ฝ่ายสารนิเทศของสำนักงานคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรม หรือ ยูเอ็นโอดีซี (UNODC) เฝ้า เพื่อขอประทานสัมภาษณ์สำหรับนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์ยูทูป (Youtube) รวมทั้งในเฟซ บุ๊ค (Facebook) ของ ยูเอ็นโอดีซี ในฐานะที่ทรงได้รับการถวายเหรียญรางวัลเกียรติยศสูงสุดของยูเอ็นโอดีซี จากพระกรณียกิจที่ทรงมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิงได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในโครงการกำลังใจ รวมทั้งมีพระดำริให้จัดทำโครงการเอลฟีเพื่อจัดทำข้อเสนอประเทศไทยเพื่อผลักดันเป็นข้อกำหนดสหประชาชาติว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ รวมถึงมาตรการลงโทษและวิธีการโดยไม่ใช้การคุมขังสำหรับผู้กระทำผิดหญิง โดยได้กราบทูลสัมภาษณ์ในประเด็นที่เกี่ยวกับการทรงงาน และแรงบันดาลพระทัยที่ทรงสนพระทัยในการช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิง รวมถึงการดำเนินงานโครงการกำลังใจในพระดำริ ตลอดจนการนำโครงการเอลฟีมาเสนอในที่ประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา สมัยที่ ๑๘

    ต่อจากนั้น เสด็จไปยังพื้นที่จัดนิทรรศการโครงการเอลฟี ได้ประทานสัมภาษณ์กับทีวีพูลของประเทศไทยเกี่ยวกับผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการกำลังใจในพระดำริที่ได้มีการขยายผลจนเกิดเป็นโครงการเอลฟี และร่างข้อมติที่ประเทศไทยได้นำเสนอเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้หญิงในเรือนจำ ซึ่งพระเจ้าหลานเธอฯ ได้ทรงมีส่วนร่วมในการประชุมกับประเทศต่างๆเพื่อ ให้ประเทศต่างๆได้ให้เห็นความสำคัญและสนับสนุนร่างข้อมติดังกล่าว โดยเบื้องต้นประเทศสมาชิกต่างๆเห็นด้วยกับร่างข้อมติดังกล่าว และจะมีข้อสรุปที่เป็นทางการภายในวันที่สิ้นสุดการประชุมครั้งนี้



    ในตอนค่ำ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จไปยังร้านเพียริสเตนเคลเลอร์ (Piaristenkeller) และทรงร่วมในงานถวายพระกระยาหารค่ำ ซึ่งนายอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา จัดถวายในโอกาสที่เสด็จมาทรงร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญาสมัยที่๑๘ ณ กรุงเวียนนาและเทิดพระเกียรติที่ทรงได้รับการถวายเหรียญรางวัลเกียรติยศสูงสุดของสำนักงานยูเอ็นโอดีซี ซึ่งเป็นเครื่องแสดงถึงพระปรีชาสามารถในด้านการทรงงานในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของผู้ต้องขังหญิงจนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและปลัดกระทรวงยุติธรรมเข้าร่วมด้วย


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ที่มา:กระทรวงยุติธรรม [​IMG]
    http://www.moj.go.th/th/cms/detail.php?id=6304
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2009
  3. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    [​IMG]

    ที่มา:กระทรวงยุติธรรม [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2009
  4. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    ยูเอ็นถวายรางวัล พระองค์ภา พระเมตตาผู้ต้องขังหญิงประจักษ์แก่ชาวโลก



    [​IMG]

    เป็นความปีติของคนไทยอย่างยิ่งที่ สหประชาชาติ โดยสำนักงานสหประชาชาติ ว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรม (United Nation Office on Drugs and Crime หรือ UNODC) ได้ถวายรางวัลเกียรติยศสูงสุดแด่ พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในฐานะที่ทรงมีวิสัยทัศน์ อุทิศพระองค์ และเป็นผู้นำในการส่งเสริมสิทธิสตรีในกระบวนการยุติธรรม และมีผลงานดีเด่นระดับนานาชาติด้านการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องขังหญิง และผู้หญิงที่เป็นเหยื่อของความรุนแรง ซึ่งเป็นบุคคลที่ 3 ของโลก และทรงมีพระชนมายุน้อยที่สุดที่ได้รับรางวัลนี้

    ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่ พระองค์ภา ได้เสด็จเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรม และความยุติธรรมทางอาญา สมัยที่ 18 ณ สำนักงานสหประชาชาติ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เมื่อวันที่ 16-24 เม.ย.ที่ผ่านมา โดยการเสด็จประชุมครั้งนี้ได้โปรดให้นำโครงการ การจัดทำมาตรฐานผู้ต้องขังหญิง (Enhancing Lives of Female Inmates หรือ ELFI) ที่ต่อยอดมาจากโครงการกำลังใจในพระราชดำริ ไปนำเสนอต่อที่ประชุม ซึ่งมีทั้งส่วนร่างข้อมติ และการนำเสนอในรูปแบบนิทรรศการที่สะท้อนการยกระดับการดูแลผู้ต้องขังหญิง

    สำหรับเหรียญรางวัลที่ UNODC ทูลเกล้าฯถวายแด่ "พระองค์ภา" นั้น นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ที่ร่วมตามเสด็จในครั้งนี้ด้วย ได้กล่าวว่า รางวัลนี้จะมอบให้กับผู้ที่อุทิศตนให้กับการส่งเสริมและพัฒนากระบวนการยุติธรรม และมีผลงานโดดเด่นในระดับนานาชาติ ซึ่งพระองค์ภา ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในด้านกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะด้านสิทธิของผู้ต้องขังหญิง โดยได้ทรงริเริ่มภายใต้โครงการกำลังใจเมื่อปีพ.ศ. 2551 รวมถึงทรงรับเป็นทูตสันถวไมตรีในโครงการต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิงของกองทุนการพัฒนาสตรีแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเฟรม ที่มีผลงานต่อเนื่อง ในการต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก

    พระองค์ภา ได้ทรงดำเนินรอยตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการดูแลประชาชน ทรงใส่พระทัยในชีวิตผู้ต้องขัง ทรงเห็นความลำบากของผู้ต้องขังหญิง ซึ่งมีปัญหาเยอะมาก จึงเกิดขึ้นเป็นโครงการกำลังใจ เพื่อที่จะดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ต้องขังหญิงให้ดีขึ้น เพราะผู้ต้องขังบางคนมีลูกติด บางคนคลอดลูกระหว่างจำคุก และจากที่เสด็จดูงานต่างประเทศ ทรงเห็นว่า ในต่างประเทศมีปัญหาของผู้ต้องขังหญิงในทำนองเดียวกันกับประเทศไทย ซึ่งขาดมาตรฐานการดูแลคุณภาพชีวิตทั้งแม่และเด็ก จึงเป็นที่มาของการจัดทำโครงการ การจัดทำมาตรฐานผู้ต้องขังหญิง หรือเอลฟีขึ้น

    [​IMG]

    สำหรับความเป็นมาของโครงการกำลังใจนั้น ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานโครงการกำลังใจ ในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา กล่าวว่า พระเจ้าหลานเธอฯทรงมีพระวิสัยทัศน์ตั้งแต่ยังทรงศึกษาด้านกฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยได้เคยเสด็จเยี่ยมผู้ต้องขังหญิงและเด็กติดผู้ต้องขังที่เข้ามากราบพระบาทให้ทรงช่วยเหลือด้วย และเมื่อทรงสำเร็จการศึกษากลับมาทรงงานในกระบวนการยุติธรรม ทรงเห็นปัญหา จึงทรงตั้งพระทัยจะช่วยเหลือคนยากลำบาก ไม่เฉพาะแต่ผู้ต้องขังหญิงเท่านั้น โดยประทานชื่อโครงการให้ความช่วยเหลือว่า โครงการกำลังใจ และทรงดูงานของโครงการทั้งหมดด้วยพระองค์เอง

    พระองค์ทรงใส่พระทัยในโครงการกำลังใจนี้เป็นอย่างมาก แม้จะทรงมีพระภารกิจในการปฏิบัติงานประจำที่ทรงเป็นอัยการ ซึ่งปัจจุบันทรงดำรงตำแหน่งรองอัยการจังหวัดที่ จ.อุดรธานี และจากการประเมินผลงานอัยการจังหวัดในรุ่นเดียวกับพระองค์ท่านแล้ว พระองค์ท่านทรงงานหนักกว่าคนอื่น นับจากจำนวนการสืบพยานรายปากที่มีกว่า 200 ปาก และยังทรงได้รับงานที่ยากๆ อย่างเช่น คดีการค้ามนุษย์ที่ล่อลวงเด็กไปค้า ประเวณี พระองค์ท่านต้องทรงสืบพยานจากเด็ก เวลาที่จะประชุมเรื่องโครงการกำลังใจ จึงต้องใช้เวลาช่วงเสวยอาหารกลางวัน 40 นาที เสร็จแล้วจึงกลับไปทรงงานสืบพยานต่อ ซึ่งจะให้ใครไปก็ได้ แต่พระองค์ก็จะทรงทำด้วยพระองค์เองทุกเรื่อง ดร.กิตติพงษ์ กล่าวอย่างชื่นชมในพระวิริยะอุตสาหะ

    นอกจากนี้ ดร.สาโรจน์ พรประภา ที่ปรึกษาโครงการกำลังใจ ได้กล่าวเสริมว่า การที่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงให้การช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิงโดยเฉพาะนั้น เพราะผู้หญิงมีความละเอียดอ่อน ซึ่งราชการอาจดูแลไม่ครบถ้วน
    พระองค์ทรงเห็นความจำเป็นตรงจุดนี้ และจากการช่วยเหลือของพระองค์ ก็จะไม่ไปซ้ำซ้อนกับราชการ จึงโปรดฯให้ตั้ง โครงการกำลังใจ ขึ้น โดยได้ทรงกราบทูล ทูลกระหม่อมพ่อ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร) ให้ทรงทราบด้วย และพระองค์ภา ได้ประทานทุนส่วนพระองค์จำนวน 3 แสนบาท เพื่อจัดตั้งโครงการฯ นอกจากนี้ ยังทรงแนะนำเรื่องการทำงานว่า ต้องมีงานด้านวิชาการสนับสนุนเสมอ จึงโปรดฯให้วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย เข้ามาร่วมร่างหลักสูตรดูแลมาตรฐานการดูแลแม่และเด็ก

    จากความสำเร็จของ โครงการกำลังใจ ที่ได้แพร่ขยายความช่วยเหลือไปยังพื้นที่ต่างๆ อาทิ เชียงใหม่ พิษณุโลก อุดรธานี เป็นต้น พระองค์ภา ก็ได้ทรงนำผลงานไปเสนอต่อที่ประชุมสหประชาชาติ ในการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา สมัยที่ 17 ที่สำนักงานสหประชาชาติ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อปีที่แล้วด้วย ซึ่งก่อให้เกิดความตื่นตัวของนานาประเทศเป็นอย่างมาก

    [​IMG]

    พระองค์ภาทรงสร้างความประทับใจให้ที่ประชุมอย่างไรบ้างคะ

    ดร.กิตติพงษ์ บอกว่า ครั้งแรกที่ไปนั้น พระองค์ท่านทรงสร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมการประชุมเป็นอย่างมาก หลังจากที่รับสั่งเสร็จ คนตบมือกันสนั่นห้องประชุม ซึ่งปกติการประชุมของสหประชาชาติจะเคร่งเครียด เป็นบรรยากาศที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ทรงกลายเป็นดาวเด่นของการประชุม ไม่เฉพาะที่ทรงเป็นเจ้าหญิงเท่านั้น แต่ทรงพระปรีชาสามารถ เกินพระชนมายุ มีผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายประเทศมาขอเข้าเฝ้า ทั้งประเทศเกาหลี, แอฟริกา รวมทั้งสถาบัน จอห์น เจ คอลเลจของสหรัฐฯ ยังทูลเชิญให้ไปทรงบรรยายอีกด้วย

    จากความสำเร็จครั้งนั้นจึงมีการต่อยอดให้จัดทำโครงการจัดทำข้อเสนอประเทศ เพื่อผลักดันเป็นข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติ สำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำหรือ? ELFI ที่ประเทศไทย โดยมีเจ้าหน้าที่จากองค์การสหประชาชาติ, สำนักงานสหประชาชาติว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรม และผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากมาร่วม จากนั้นจึงได้นำข้อยกร่างนี้ไปเสนอต่อการประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมฯ สมัยที่ 18 ณ กรุงเวียนนา เมื่อกลางเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา จนเป็นที่ประจักษ์ ทำให้ได้รับการทูลเกล้าฯถวายเหรียญรางวัล พร้อมใบประกาศพระเกียรติคุณสูงสุด โดยบุคคลที่ได้รับรางวัลเกียรติยศก่อนหน้า คือ ภริยาของประธานาธิบดี มูบารัค แห่งประเทศอียิปต์ และมกุฎราชกุมารแห่งประเทศกาตาร์

    การที่ทรงได้รับรางวัลนี้ นับเป็นเรื่องที่ไม่มีใครคาดหวัง เพราะต้องขึ้นอยู่กับเขา พอทรงได้รับ พระองค์ท่านก็ทรงพระสรวล แล้วรับสั่งว่า เราคงมาถูกทาง แต่ทางเดินคงอีกยาวไกล ซึ่งถ้าโครงการกำลังใจเป็นภาคปฏิบัติ เอลฟี ก็ถือว่าเป็นนโยบายที่ต้องทำควบคู่กันไป และเท่าที่ผมมองชาวต่างชาติมีความประทับใจในพระองค์ท่าน นับตั้งแต่ทรงมีพระสิริโฉมงดงาม ทรงมีเสน่ห์ และทรงมีลักษณะสากลเหมือนนักการทูต ไม่ขัดเขินกับการออกสมาคม บุคลิกภาพของพระองค์ได้สร้างความประทับใจแก่ทุกคน และสาระที่ได้รับสั่งในยูเอ็น ทำให้คนเหล่านั้นทึ่งมากว่า สุภาพสตรีพระองค์เล็กๆนี้สามารถพูดจาได้น่าทึ่ง มีประเด็นครอบคลุม พอรับสั่งเสร็จ ทุกคนจึงปรบมือโดยไม่มีการเตี๊ยมกันแต่อย่างใด ดร.สาโรจน์ กล่าว

    [​IMG]

    นอกจากนี้ ดร.กิตติพงษ์ ได้กล่าวเสริมด้วยว่า พระองค์ภา ยังทรงตอบข้อถกเถียงเกี่ยวกับการให้เด็กได้อยู่กับแม่ในเรือนจำ ที่หลายประเทศมีความคิดขัดแย้งได้อย่างดี จากการที่ได้ประทานสัมภาษณ์ ซึ่งคงออกในยูทูปและเฟสบุ๊กว่า การที่เด็กได้อยู่ใกล้ชิดคนเป็นแม่ จะเป็นผลดีกับเด็ก นอกจากได้ใกล้ชิด ได้รับความรักจากแม่แล้ว ยังจะเป็นกำลังใจให้คนเป็นแม่ไม่กลับไปกระทำความผิดซ้ำ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ต้องขัง ต้องมาจากภายใน การให้แม่มีโอกาสอยู่ใกล้ลูก จะทำให้เขาเป็นคนดี นอกจากนี้ ยังรับสั่งในเรื่องต่างๆโดยไม่มีสคริปแต่อย่างไร แสดงให้เห็นถึงการทรงงานด้วยพระองค์เอง ทำให้ทรงตอบได้ทุกเรื่อง จึงสร้างความประทับใจแก่ผู้ที่ได้รับฟังเป็นอย่างยิ่ง

    ความสำเร็จที่นำชื่อเสียงมาให้กับประเทศไทยครั้งนี้ ดร.กิตติพงษ์ กล่าวว่า ผลที่ได้ตามมาคือ จะมีการประชุมผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานทางด้านนี้ขึ้นในประเทศไทย ประมาณเดือนสิงหาคมปีนี้ และจากการประชุมนี้จะมีการเสนอให้เห็นชอบร่วมกันในการร่างข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติ สำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ หรือเอลฟี และ UNODC จะดำเนินการตามอาณัติข้อมตินี้ในการนำไปเสนอต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญาครั้งที่ 12 ที่เมืองซัลวาดอร์ ประเทศบราซิล ในช่วงเดือน เม.ย. 2553 และจากนั้นจะนำเข้าสู่การประชุมคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา สมัยที่ 19 ที่สำนักงานสหประชาชาติ ณ กรุงเวียนนาอีกครั้งในเดือน พ.ค. 2553 เพื่อเป็นการปูทางเข้าสู่การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 65 ที่นครนิวยอร์ก เพื่อให้มีการรับรองอย่างเป็นทางการ และคาดว่ากฎข้อบังคับนี้จะใช้ชื่อว่า Bangkok Rules

    ด้วยพระปรีชาสามารถและการทรงงานอย่างหนักเพื่อประชาชนชาวไทยของ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เป็นที่ประจักษ์แก่ชาวโลกจนได้รับรางวัลเกียรติยศสูงสุดในครั้งนี้ นับเป็นเรื่องชุ่มชื่นหัวใจของคนไทยในขณะนี้เป็นอย่างยิ่ง.

    ทีมข่าวหน้าสตรี

    ----------
    [​IMG]
    http://www.thairath.co.th/content/life/1901
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1901.jpg
      1901.jpg
      ขนาดไฟล์:
      53.7 KB
      เปิดดู:
      2,404
    • 1901_20_3.jpg
      1901_20_3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      23.2 KB
      เปิดดู:
      184

แชร์หน้านี้

Loading...