ประกวดพระ ได้ทั้งบุญ และกระตุ้นเศรษฐกิจ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 2 ตุลาคม 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,175
    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    <SCRIPT type=text/javascript>var id='30315';function count(){$.ajax({ type: "POST", url: "http://www.komchadluek.net/counter_news.php", data: "newsid="+id, success: function(txt){ var counter_=parseInt(txt); $('#counters').html('จำนวนคนอ่าน '+counter_+' คน'); } });} featuredcontentslider.init({ id: "slider1", contentsource: ["inline", ""], toc: "markup", nextprev: ["Previous", "Next"], revealtype: "click", enablefade: [true, 0.1], autorotate: [true, 8000], onChange: function(previndex, curindex){ }})</SCRIPT>คมชัดลึก : การประกวดและอนุรักษ์ พระบูชา พระเครื่อง และเหรียญคณาจารย์ เป็นกิจกรรมทางสังคมอย่างหนึ่ง ที่คนจาก สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ให้การสนับสนุนดำเนินการ รวมทั้งร่วมบริจาคเงินทำบุญมาอย่างต่อเนื่อง
    <SCRIPT type=text/javascript>google_ad_channel = '9989085094'; //slot numbergoogle_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads//google_image_size = '300X250';//google_skip = '3';var ads_ID = 'adsense_inside'; // set ID for main Element divvar displayBorderTop = false; // default = false;//var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type imagevar position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail</SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://www.komchadluek.net/AdsenseJS.js"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript1.1 src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/ads?client=ca-pub-1044823792492543&output=js&lmt=1254478499&num_ads=3&channel=9989085094&ad_type=text&adtest=on&ea=0&feedback_link=on&flash=10.0.32.18&url=http%3A%2F%2Fwww.komchadluek.net%2Fdetail%2F20090929%2F30315%2F%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88.html&ref=http%3A%2F%2Fwww.komchadluek.net%2Fsection%2F%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87.html&dt=1254478498993&correlator=1254478499008&jscb=1&frm=0&ga_vid=1848417763.1252158449&ga_sid=1254478169&ga_hid=492000330&ga_fc=1&u_tz=480&u_his=2&u_java=1&u_h=768&u_w=1024&u_ah=738&u_aw=1024&u_cd=32&u_nplug=0&u_nmime=0&biw=1003&bih=540&fu=0&ifi=1&dtd=296"></SCRIPT>
    ส่วนรายได้ที่เกิดจากการจัดงานนั้น มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับคุณภาพ และบารมีของผู้จัดงาน
    ในการประกวดแต่ละครั้ง มีพระเครื่องไม่น้อยกว่า ๑,๕๐๐ รายการ ในขณะที่บางงานอาจจะมากถึง ๓,๐๐๐ รายการ ทั้งนี้เพื่อให้คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ซึ่งรายรับของธุรกิจการจัดประกวดพระเครื่องนั้น แยกออกได้เป็นดังนี้

    ด้านรายรับ มาจากค่าผ่านประตู ปกติจะเก็บประมาณ ๓๐ บาทต่อคน ค่าแผงจร เก็บประมาณโต๊ะละ ๑๕๐ บาท ค่าส่งพระเข้าประกวด ประมาณองค์ละ ๓๐๐-๕๐๐ บาท เงินบริจาคซึ่งได้จากคณะกรรมการ เงินจากผู้ให้การสนับสนุน และเงินจากการประมูลพระเครื่อง ฯลฯ
    ส่วน ค่าใช้จ่าย แยกเป็นค่าเลี้ยงรับรองกรรมการ (จัดก่อนวันงานประกวด ๑ วัน) ค่าเช่าสถานที่ ค่าอาหารเลี้ยงกรรมการและสื่อมวลชน ค่าถ่ายภาพพระเครื่องใบประกาศ ค่าของรางวัล รวมทั้งค่าพิมพ์แผ่นพับ เพื่อประชาสัมพันธ์งานประกวด ในกรณีงานต่างจังหวัด ต้องมีค่าที่พักกรรมการด้วย
    "ผมว่าปีนี้งานประกวดพระเครื่องทุกงาน รวมกันน่าจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ล้านบาท" นี่เป็นการคาดการณ์เงินรายได้จากงานประกวดพระเครื่องของ นายวันชัย สอนมีทอง ประธานฝ่ายประสานงานด้านสื่อมวลชน ของสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
    พร้อมกันนี้ นายวันชัยให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่าน มีการประกวดพระเครื่องไปแล้ว ๑๗ ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งได้เงินโดยเฉลี่ยแล้วประมาณงานละไม่ต่ำกว่า ๔ ล้านบาท ในจำนวนนี้มีอยู่ ๓ งาน ที่ได้เงินเกิน ๑๐ ล้านบาท ได้แก่ งานประกวดพระของกองทัพภาคที่ ๑ ได้เงินสูงสุดประมาณ ๑๑.๕ ล้านบาท รองลงมาเป็นงานของตำรวจภูธรภาค ๗ ได้เงินประมาณ ๑๑.๒ ล้าน บาท และงานของตำรวจสอบสวนกลาง ได้เงินประมาณ ๑๑ ล้านบาท
    ส่วนงานประกวดพระครั้งล่าสุดที่ จ.นครสวรรค์ แม้ว่าจะเป็นงานที่จัดในต่างจังหวัดแต่ก็ได้เงินมากถึง ๖.๔ ล้านบาท
    เหตุผลที่ทำให้การจัดงานประกวดพระได้รับเงินสนับสนุนนั้น เกิดจากหลายส่วนรวมกัน แต่เหตุผลหนึ่งที่คนอยากส่งพระเข้าประกวด คือ วัตถุประสงค์การจัดงาน ที่มุ่งเน้นนำรายได้ไปช่วยเหลือการกุศล
    เช่น งานประกวดพระของตำรวจภูธรภาค ๗ ได้นำเงินไปมอบเป็นทุนการศึกษาให้แก่บุตร ธิดา ข้าราชการตำรวจที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ ในขณะที่งานประกวดพระของ ททบ.๕ นำเงินรายได้ไปช่วยครอบครัวทหารที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น
    ส่วนความถี่ของการจัดงานประกวดพระ ซึ่งมีขึ้นเกือบทุกสัปดาห์ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดนั้น พ.อ.อ.โกวิท แย้มวงษ์ หรือ จ่าโกวิท ผู้อำนวยการนิตยสารพระเครื่องอภินิหาร คณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์สมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย รองประธานชมรมนักข่าวและช่างภาพพระเครื่อง มองว่า การจัดงานประกวดพระบ่อย มีผลดี คือ
    ๑.ทำให้วงการพระเครื่องมีการเคลื่อนไหว มีเงินเข้ามาหมุนเวียนในวงการพระเครื่องอย่างมากมาย การจัดงานประกวดพระแต่ละครั้ง อย่างน้อยต้องได้เงินไม่ต่ำกว่า ๓-๔ ล้านบาท ซึ่งมาจากหลายส่วน
    ๒.ทำให้คนในวงการพระเครื่องได้มีการพบปะพูดคุยเช่าซื้อพระเครื่องกัน ทำให้ได้สังสรรค์กันโดยปริยาย
    ๓.เงินที่ได้จากการจัดงาน หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้วยังนำไปช่วยการกุศลตามวัตถุประสงค์ที่ผู้จัดงานตั้งไว้
    และ ๔.ถ้าเป็นงานต่างจังหวัด ถือว่าเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดนั้นได้เป็นอย่างดี เพราะการจัดงานแต่ละครั้งจะมีผู้เข้าชมงานไม่ต่ำกว่า ๕,๐๐๐ คน
    “การประกวดพระทุกวันนี้ นอกจากเป็นงานกุศลแล้ว ยังถือว่าเป็นธุรกิจอีกอย่างหนึ่ง มีคนหลายกลุ่มแบ่งปันผลประโยชน์ไปตามความสามารถ และความรับผิดชอบ เริ่มจากผู้รับจ้างถ่ายภาพ คนทำรางวัล ร้านอาหาร เจ้าของโรงแรม เจ้าของแผงพระ รวมทั้งกรรมการตัดสินพระ ก็มีโอกาสที่จะเช่าพระที่ส่งเข้าประกวด รวมทั้งพระจากแผงจร อย่างกับล่าสุด งานประกวดพระที่ จ.นครสวรรค์ มีการเช่าพระหลวงพ่อเดิม จากผู้ส่งพระเข้าประกวดสูงถึง ๑ ล้านบาท” จ่าโกวิท กล่าว
    เงินเคยสะพัดกว่า ๒๒,๐๐๐ ล้านบาท
    ในปี ๒๕๕๐ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เม็ดเงินในธุรกิจพระเครื่อง และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง จะสูงกว่า ๒๒,๐๐๐ ล้านบาท และธุรกิจเหล่านี้ยังมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับภาวะเศรษฐกิจ ต่างจากที่อัตราขยายตัวของธุรกิจนี้จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับภาวะเศรษฐกิจ โดยคาดว่าธุรกิจพระเครื่องจะยังมีอัตราขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ ๑๐-๒๐ ต่อปี
    ขณะที่ผู้ที่อยู่ในวงการพระเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนิยมพระเก่า หรือพระใหม่มีอยู่ประมาณ ๕ ล้านคน รวมทั้งมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากมาย ทั้งธุรกิจสร้างพระ ธุรกิจแผงพระ หรือศูนย์พระเครื่อง ธุรกิจโฆษณา ธุรกิจรับจำนำพระเครื่อง และธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจหนังสือพระ ธุรกิจรับจ้างอัดกรอบพระ หรือเลี่ยมพระ
    ทั้งนี้ ธุรกิจแผงพระ ปัจจุบันแผงพระและศูนย์พระเครื่องในประเทศมีอยู่ถึงกว่า ๕,๐๐๐ แผงทั่วประเทศ โดยอยู่ในกรุงเทพฯ กว่า ๓,๐๐๐ แผง แหล่งที่เป็นที่รู้จัก ได้แก่ ศูนย์พระเครื่องที่ท่าพระจันทร์ วัดราชนัดดา สวนจตุจักร ศูนย์พระเครื่องที่เดอะมอลล์ ท่าพระ เดอะมอลล์ บางกะปิ ห้างน้อมจิตต์ สาขาบางกะปิ ห้างบางลำภูสรรพสินค้า สาขางามวงศ์วาน
    แต่ในอนาคตคาดว่าแผงพระจะมีแนวโน้มลดลง โดยจะมีการเข้าไปให้เช่าพระเครื่องกันในอินเทอร์เน็ตมากขึ้น เนื่องจากการพัฒนากล้องดิจิทัลให้มีความคมชัดได้เกือบเท่ากับกล้องฟิล์ม วงการพระเครื่องก็คงจะพัฒนากันมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
    นอกจากนี้แล้ว บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดว่า เม็ดเงินในธุรกิจพระเครื่อง และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ธุรกิจที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้แก่ ธุรกิจทำกรอบพระ (ราคาจำหน่ายกรอบละ ๕๐-๒๐๐ บาท ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ทำกรอบและขนาดของพระเครื่อง) เลี่ยมพระ (ราคาประมาณองค์ละ ๑๐๐-๑๕๐ บาท) รวมทั้งหนังสือพระ ที่มีจำหน่ายในปัจจุบันประมาณ ๔๐ ฉบับ โดยหนังสือพระเหล่านี้อยู่ได้ด้วยโฆษณาต่างๆ เกี่ยวกับพระเครื่อง
    “การประกวดพระทุกวันนี้ นอกจากเป็นงานกุศลแล้ว ยังถือว่าเป็นธุรกิจอีกอย่างหนึ่ง ที่สร้างรายได้ให้ผู้จัดงาน มีคนหลายกลุ่มแบ่งปันผลประโยชน์ไปตามความสามารถ และความรับผิดชอบ"
    เรื่อง - ภาพ... "ไตรเทพ ไกรงู"
     

แชร์หน้านี้

Loading...