ต่างชาติยกย่องโครงการพระองค์ภา..ทั่วโลกควรเอาเป็นแบบอย่าง

ในห้อง 'ข่าวในพระราชสำนัก' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 9 กุมภาพันธ์ 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    นานาชาติชื่นชม "พระองค์ภาฯ" ต้นแบบงานผู้ต้องขังหญิง



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>สืบเนื่องจากพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ที่ต้องการผลักดันให้เกิดข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติสำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ ซึ่งถือเป็นโครงการต่อยอดจากโครงการ "กำลังใจ" ที่พระองค์ทรงพัฒนางานด้านการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำ กระทรวงยุติธรรมจึงจัด "การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้เชี่ยวชาญนานาชาติเพื่อยกร่างข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติสำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง" โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อังกฤษ แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เนเธอร์แลนด์ ยูเอ็น และยูเอ็นโอดีซี เข้าร่วมการประชุม เสนอความคิดเห็นและแนวทางการแก้ไข เพื่อนำผลสรุปมาจัดเป็นร่างข้อกำหนดนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    การประชุมครั้งนี้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงมีพระปฏิสันถารกับคณะผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการดูงานที่เรือนจำกลางอุดรธานี รวมทั้งการทำงานของคุกต่างประเทศอย่างไม่ถือพระองค์

    นายแกรี่ลล์ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการรักษาความปลอดภัยในคุกจากประเทศสหรัฐอเมริกาได้ถวายเรื่องการทำงานในโครงการกำลังใจกับพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาว่า พระองค์ทรงเป็นเจ้าหญิงที่เป็นอัยการ ทรงได้ทำงานในเรือนจำโดยเฉพาะการทำงานกับผู้ต้องขังหญิง ซึ่งพระองค์ทรงเป็นแบบอย่างให้ทั่วโลกได้เห็น และยังทรงเป็นแรงผลักดันให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ได้ตระหนักในเรื่องนี้ <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    แกรี่ ฮิลล์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    "นอกจากนี้ยังถวายเรื่องการปฏิบัติกับผู้ต้องขังหญิงด้วยว่า เรือนจำประเทศไทยต้องระวังเรื่องข้อเท็จจริงมากกว่าอารมณ์ เพราะผู้หญิงที่ถูกจำคุกส่วนใหญ่ถูกผู้ชายทำร้ายทำให้ต้องต่อสู้เพื่อปกป้องตัวเอง แต่ต้องกลายมาเป็นผู้ร้ายแทน ดังนั้นโปรแกรมการฝึกอาชีพที่มีความหลากหลายเป็นสิ่งที่ดี จะสามารถช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิงได้"

    นอกจากนี้ คณะผู้เชี่ยวชาญจากหลายประเทศยังชื่นชมถึงโครงการกำลังใจของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ด้วยว่าเป็นโครงการที่ดี โดยเฉพาะการฝึกอาชีพขั้นพื้นฐาน ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีเป็นอย่างมาก แต่ต้องปรับเรื่องของเจ้าหน้าที่ผู้คุมขัง ซึ่งมีจำนวนน้อยเกินไปยังไม่เพียงพอต่อการดูแลผู้ต้องขัง เพราะต่างประเทศมีผู้คุมขัง คุมหนึ่งต่อสามของนักโทษ หรือหนึ่งต่อห้า แต่ประเทศไทยมีเพียงหนึ่งต่อยี่สิบ

    หลังจากการประชุมเสร็จ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ประทานของที่ระลึกแก่ผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน ก่อนที่จะเสด็จกลับ



    ---------
    [​IMG]
    http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01lad01090252&sectionid=0115&day=2009-02-09
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    <TABLE height=34 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-LEFT: 10px">ต่างชาติยกย่องโครงการพระองค์ภา ทั่วโลกควรเอาเป็นแบบอย่าง

    [10 ก.พ. 52 - 00:54]


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle><TABLE class=text cellSpacing=0 cellPadding=10 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]


    จากที่กระทรวงยุติธรรม จัดทำโครง การข้อเสนอประเทศไทยเพื่อผลักดันเป็นข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติสำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำหรือ ELFI (Enhancing Lives of Female Inmates) ซึ่งเป็นโครงการในพระดำริของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์ เจ้าพัชรกิติยาภา ที่ต่อยอดจากโครงการ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • soc1.jpg
      soc1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.8 KB
      เปิดดู:
      356
    • soc2.jpg
      soc2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      13.1 KB
      เปิดดู:
      379

แชร์หน้านี้

Loading...