ติดดี ละยากกว่า ติดชั่ว

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 18 ธันวาคม 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,944
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    ?temp_hash=ecaa5e864b5303d2436b934985c5164a.jpg






    ติดดี ละยากกว่า ติดชั่ว


    Facebook ช่องทางสื่อสารหลัก : https://www.facebook.com/duenjitpage/ Facebook ข่าวสารประชาสัมพันธ์ : https://www.facebook.com/duenjitfound... Youtube คลังวิดีโอ : https://www.youtube.com/duenjit Instagram คลังภาพ : https://www.instagram.com/duen_jit/ Soundcloud คลังเสียง : https://soundcloud.com/duenjit LineGroup สอบถามการปฏิบัติทั่วไป : https://line.me/ti/g2/SStK5q9sZl2eM77... LineOA ช่วยเหลือติดขัดสภาวธรรม : https://lin.ee/pXSQeyZ Website เดินจิต : https://www.duenjit.com/ ตารางคอร์ส : https://www.duenjit.com/calendar
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 122477928.jpg
      122477928.jpg
      ขนาดไฟล์:
      42.4 KB
      เปิดดู:
      249
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,944
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    ?temp_hash=96ec911252f19e43ffde89698b393392.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • notitle.jpg
      notitle.jpg
      ขนาดไฟล์:
      88.9 KB
      เปิดดู:
      242
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,944
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    ?temp_hash=a972e8b57042327cf460072c97d90782.jpg


    ถ้าพูดถึงแก่นของพระพุทธศาสนา
    ก็จะพูดถึงสภาวะของสุญญตวิหารธรรม

    #สุญญตวิหาร เป็นอย่างไร?
    บางทีเราก็จะพบกับ
    - สุญญตสมาธิ
    - อนิมิตตสมาธิ
    - อัปปณิหิตสมาธิ
    นี่คือสมาธิในแบบฉบับของพระพุทธศาสนา
    สุญญตวิหาร ความว่าง

    #ความว่างในสภาวะของพระพุทธศาสนานั้นเป็นอย่างไร?
    ถ้าพูดถึงความว่าง ก็จะแบ่งได้ทั้งในระดับของ
    - โลกียธรรม ก็คือ ยังอยู่ในวังวนของวัฏสงสาร
    กับในระดับของ
    - โลกุตรธรรม ก็คือ พ้นจากวังวนของวัฏสงสาร

    ความว่างแบ่งออกไปได้ 2 ฝั่ง
    ก็คือ ยังอยู่ในฝั่งของทุกข์ กับ ฝั่งที่พ้นจากทุกข์

    มีความแตกต่างกันอย่างไร?
    เมื่อเราฝึกจนจิตเป็นสมาธิ แล้วจิตมีความละเอียด
    จนเกิดสภาวะของจิตที่ว่างขึ้นมา...
    ว่าง ไร้ขอบเขต

    ในระดับสมาธิ
    ถ้าอยู่กับจิตที่ว่างไร้ขอบเขตไปเรื่อยๆ
    ก็จะเข้าสู่สภาวะของ อรูปฌาน

    เนื้อธรรมของอรูปฌาน
    ก็จะมีความว่าง เวิ้งว้าง ไร้ขอบเขต มีความเวิ้งว้าง

    เวลาจิตละเอียด
    เราก็จะสามารถสัมผัสถึงความเป็นเนื้อสภาวะ หรือ ความเป็นธาตุได้
    เช่น ความว่าง ที่มีความละเอียดเป็นอากาศธาตุ

    อากาศมันอยู่รอบตัวเราอยู่แล้ว
    ถ้าไม่มีออกซิเจน ไม่มีอากาศ
    เราก็ไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้

    แต่จิตที่ยังหยาบนี่
    มันไม่สามารถสัมผัสเนื้อของอากาศได้

    แต่จิตที่ละเอียดถึงจุดหนึ่ง
    จิตจะมีความละเอียดเป็นเนื้อเดียวกับอากาศธาตุ

    ก็จะสัมผัสความเป็นเนื้อของอากาศธาตุได้
    ที่ท่านเรียกว่า อากาสานัญจายตนะ
    ก็คือ จิตที่มีความละเอียด เป็นเนื้อเดียวกับอากาศธาตุ จะสัมผัสถึงอากาศ ถึงบรรยากาศได้

    ถ้าอยู่ในสภาวะปกติ
    บางทีมันจะรู้สึกเหมือนลม
    หรือสิ่งต่างๆ มันทะลุตัวเราไปเลย
    ตัวเรามันว่าง มันไม่ได้ทึบเป็นก้อนเนื้อแล้ว
    มันว่างเหมือนอากาศไปเลย

    ถ้าเราทรงสภาวะนี้ได้ในชีวิตประจำวัน
    ทุกสิ่งทุกอย่างเหมือนทะลุตัวเราไปเลย
    ความเป็นเนื้อ เป็นแท่งทึบไม่มี
    ทะลุกาย เป็นอากาศธาตุไปหมดเลย

    แล้วมันแมชเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งที่เรียก
    อากาศที่ไร้ขอบเขต
    นั่นคือ ความว่าง ในระดับเริ่มเข้าสู่อรูปฌาน

    แต่ถ้าเนื้อละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ ถึงจุดหนึ่ง
    จะละเอียดกว่าความเป็นอากาศธาตุ

    จะเข้าถึงความเป็นเนื้อเดียวกับอวกาศธาตุ
    เนื้อมันจะละเอียดกว่าของอากาศ....
    โล่ง เวิ้งว้าง ไร้ขอบเขต

    แม้กระทั่งโลกเรา บรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก
    ก็อยู่ภายใต้เนื้อของอวกาศทั้งสิ้น
    อวกาศมีความละเอียดกว่า

    นั่นคือ จิตที่เข้าสู่ระดับของ อากิญจัญญายตนะ
    ที่ว่า ว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย
    คือความเป็นละเอียด
    ความเป็นเนื้อเดียวกับอวกาศนั่นเอง

    เพราะว่า ทุกสรรพสิ่ง
    ก็เกิดภายใต้เนื้ออวกาศนั่นเอง

    ถ้าอยู่กับสภาวะนี้ไปเรื่อยๆ
    ก็จะมีเรื่องของเนื้อมิติข้างใน กับ มิติข้างนอก

    ถ้ามิติข้างในก็จะมีแต่เนื้ออวกาศโล่งๆ ไม่มีอะไร
    แต่ว่า เมื่ออยู่ไปเรื่อยๆ
    จะเริ่มเชื่อมต่อกับอวกาศจริงๆ
    บางคน ก็เริ่มไปสัมผัสดวงดาว
    ระบบสุริยจักรวาล ระบบกาแลคซี่ต่างๆ

    เพราะฉะนั้นจิตที่มีความละเอียด
    ระดับ อากิญจัญญายตนะ เป็นต้นไป
    ก็จะเริ่มเข้าสู่ ความเป็นเนื้อเดียวกับอวกาศเลย
    เริ่มรับรู้เกี่ยวธรรมชาติที่เป็นระดับมหภาคได้

    จริงๆ เนื้อในระดับอรูปฌาน
    หรือ เนื้อความว่าง มีหลายเนื้อมาก
    มันละเอียดยิ่งกว่า 4 ระดับ มันมีอีก
    นี่คือเนื้อของสมาธิ ซึ่งสมาธิข้างใน
    สามารถแมช กับธาตุธรรมชาติข้างนอกได้ด้วย

    แต่ระดับโลกียธรรม ก็จะมีอีกประเภทหนึ่ง
    เช่น บางทีเราเข้าถึงความว่างตรงนี้
    แล้วเกิดความติดใจขึ้นมา
    พอเรานึกถึงมันก็ว่าง นึกถึงมันก็ว่าง นึกถึงมันก็ว่าง

    กลายเป็นว่า แทนที่เราจะเข้าถึงเนื้อสมาธิตัวจริง
    จิตมันกลับผลิต เป็นจิตตสังขาร
    เป็นเนื้อความว่างนั้นขึ้นมาแทน

    เหมือนเราอยู่ในลูกโป่งที่เราสร้างขึ้นมาเอง
    แล้วมันจะ ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ ใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ จนมันมีกำลังมาก

    เราจะแยกไม่ออกเลยว่า
    ตกลงเราอยู่กับเนื้อสมาธิตัวจริง หรือว่า
    จิตเราสร้างขึ้นมา เพราะเราอยู่ในเนื้อนั้นเสียแล้ว

    สมัยก่อน ฝึกลูกศิษย์แล้วพาเข้าสภาวะว่าง ละเอียด
    แต่พอตรวจสภาวะ ก็พบว่า ทั้งนั้นเลย
    สร้าง จิตที่เป็นความว่างขึ้นมา

    เพราะว่า เวลาพาเข้า ก็คือพาเข้าสดๆ
    แต่ว่า หลังจากนั้น ด้วยความติดใจ
    เวลาฝึกเอง ก็จะเริ่มนึกถึงสภาวะที่เคยเข้าถึง
    พอนึกปุ๊บ จิตมันก็สร้าง เป็นผลผลิต
    เป็นจิตตสังขารขึ้นมา

    ก็เลยติดอยู่ในโลกของ จิตตสังขาร
    ก็คือ เป็นความว่าง ที่จิตตัวเอง ปรุงแต่งขึ้นมา

    ก็จะมีเรื่องพวกนี้กันมาก
    เจอโยมคนหนึ่ง กำลังสูงมาก ปฏิบัติมา 30, 40 ปี...
    จิตก็ว่าง สว่าง อยู่อย่างนั้นเลย ไม่ไปไหนเลย
    พอตรวจแล้ว พบว่า อยู่ในจิตที่ตัวเองสร้างขึ้นมา
    แต่กำลังสูงมาก คิดดูสิ สะสมมา 40 ปี

    ว่าง จ้า สว่าง เนียน บริสุทธิ์ อยู่อย่างนั้น
    ก็เลยเป็นที่มาของการแก้
    ก็คือ สลายมิติส่วนตัวพวกนี้ให้

    คำว่า "มิติส่วนตัว" นี้ ไม่ใช่เฉพาะมนุษย์ที่สร้างนะ
    ตรวจพบว่า จิตวิญญาณในวัฏฏะ
    ก็สร้างมิติส่วนตัวขึ้นมากันมาก
    แม้กระทั่ง ระดับอรูปพรหม ที่ไปอยู่ในความว่าง
    อรูปพรหมที่ว่าอยู่กันนาน ก็สร้างมิติส่วนตัวขึ้นมา

    แม้กระทั่ง จิตวิญญาณ ในโลกพลังงานความมืด
    ที่อยู่ในความบีบอัด ก็สร้างมิติส่วนตัวขึ้นมา
    เหมือนเราสร้างเมตทริกซ์

    ที่เราอยู่ จริงๆ เราอยู่ในวิหารธรรม
    ที่ทุกข์ทรมาน แต่ว่า...
    เราสร้างมิติที่มันเป็นมิติความสบายอะไรขึ้นมา
    แต่ มันคือ การสร้าง มันไม่ใช่ความเป็นจริง

    มันก็อาจจะอยู่สบาย... แต่ว่ามันไม่ได้รับความเป็นจริง มันก็จะอยู่อย่างนั้น
    เพราะว่า จิตวิญญาณ ในวัฏฏะ ในอวกาศ
    โดยเฉพาะ กำลังสูงๆ สมาธิสูงๆ นี่
    จะติดอยู่ใน มิติส่วนตัวที่สร้างขึ้นมานะ

    ที่มานั่งแก้ปัญหาให้ทีละคนๆๆ
    ก็เลยพบว่า ทีหลังก็เลยบรรจุเป็นฟังก์ชันไว้เลย เป็นโซลูชัน เป็นฟังก์ชันในเวลาพาฝึก
    จะพาสลายมิติตรงนี้ออกหมดเลย
    เพราะว่า ตัวเองจะรู้ตัวเองยาก

    แต่ให้สังเกตได้อย่างหนึ่ง
    คนที่จิตอยู่กับความว่างตลอดเวลา
    จนอยู่กับจิตที่ตัวเองสร้างขึ้นมา
    มันก็อยู่อย่างงั้นนะ ทั้งๆ ที่ ความเป็นจริง
    ในธรรมชาติมันมีสภาวะต่างๆ เกิดขึ้น

    โดยเฉพาะที่เราเดินสภาวะ
    มันทำให้เราถอยกลับมาอยู่กับความเป็นจริงได้
    มันมีสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น
    มันไม่ได้มีแต่ความว่างอย่างเดียว

    ถ้าเราอยู่กับความว่างตลอดเวลา
    ให้เฉลียวใจได้แล้วว่า ตกลงอันนี้มันคือ
    สิ่งที่เราสร้างขึ้นมาหรือเปล่า
    มันอาจจะสบายจริง สุขจริง
    แต่เราไม่ได้อยู่กับความเป็นจริง

    เมื่อเราไม่ได้อยู่กับความเป็นจริง
    เราก็ไม่ได้มีโอกาสสะสมบารมีธรรม
    เพื่อชำระตนเอง คือ เสียเวลาเปล่าๆ

    บางจิตวิญญาณ อยู่กันเป็นกัปป์ เป็นกัลป์
    ติดอยู่ในมิติส่วนตัวที่สร้างขึ้นมา
    เป็นเรื่องของธรรมชาติตรงนี้
    เวลาพาฝึกก็เลยบรรจุที่เป็นฟังก์ชัน
    สลายมิติส่วนตัวตรงนี้ออก

    ในเรื่องของการดูแลตัวเอง
    ถ้าตัวเอง จิตมันว่างอย่างเดียวเลย
    มันไม่มีการเคลื่อน มันอยู่อย่างนั้นตลอด
    ก็ให้เฉลียวใจได้แล้วว่า
    ตัวเองอยู่ในโลกมิติส่วนตัวหรือเปล่า

    ถามว่า ความเป็นจริง เป็นอย่างนั้นไหม?
    เราไม่ใช่ผู้ที่ดับรอบแล้ว ทิ้งธาตุขันธ์แล้ว
    คืนสู่อมตธรรมแล้ว
    ถึงจะเป็นสภาวะบริสุทธิ์ตลอดกาล

    ตราบใดที่ยังมีธาตุขันธ์ครองอยู่
    ต่อให้เป็นพระอรหันต์ก็ตาม
    ผู้ที่ท่านเข้าถึง วิหารธรรมที่บริสุทธิ์ก็ตาม
    แต่ภายนอก ท่านก็ยังรับรู้ได้ตามปกติ

    เพราะฉะนั้น วิธีที่พาฝึกเดินสภาวะ
    ทั้งการไต่ระดับขึ้น และ ถอยระดับลง
    ทำให้เราอยู่กับความเป็นจริง

    บางคนพอปฏิบัติแล้ว สบาย กายเบา จิตเบา
    เริ่มติดสุขในสมาธิ
    เป็นธรรมชาติใช่ไหม ที่ทุกคนก็ชอบความสบาย

    บางคนพอถอยมาฐานกาย ก็ไม่อยากถอยแล้ว
    เพราะฐานกายมันหยาบ
    แต่หารู้ไม่ว่า เวลาจิตละเอียด
    มันก็ทำให้เราติดดีได้ง่าย ติดความสบาย
    ไม่ได้อยู่กับความเป็นจริงเสมอไป

    เพราะฉะนั้น....
    ความว่างในระดับของ โลกียธรรม ที่ยังอยู่ในวัฏฏะ
    ก็จะมีความว่างที่จิตตัวเองสร้างขึ้นมา เป็นมิติส่วนตัว

    กับความว่าง ของเนื้อสมาธิในระดับอรูปฌาน ซึ่งจริงๆ มีมากกว่า 4 เนื้อนะ

    แต่จะไม่ลงรายละเอียด
    แต่ให้รู้ว่า ทั้งหมด ก็ยังอยู่ในวัฏฏะ
    ยังอยู่ในเนื้อของพลังงานความมืด
    ของวัฏสงสารทั้งสิ้น
    ยังอยู่ภายใต้เมฆหมอกแห่ง อวิชชา ทั้งสิ้น

    เมื่อใดที่สามารถเปลื้องเมฆหมอกแห่งอวิชชาออกไปจากใจได้
    สลัดคืน สู่ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ
    จะเข้าถึง พลังงานความว่างที่บริสุทธิ์
    ซึ่งเป็นระดับชั้นของ โลกุตระ

    ในโลกุตระ จะมีอยู่ 2 ระดับเช่นกัน ก็คือ
    ระดับที่เป็นพลังงานความว่าง ที่บริสุทธิ์
    ผู้ที่บำเพ็ญบารมีจน สามารถตกกระแสธรรมสามารถชำระตน ในรอบแรกได้

    จะเริ่มมีกระแสธรรม ที่เรียกว่า บารมีธรรม
    อยู่ในชั้นพลังงานความว่างที่บริสุทธิ์นี้
    จนกว่าจะเต็มรอบครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 แล้วก็ ครั้งที่ 4

    หรือว่า โพธิจิตทั้งหลาย ที่ท่านผ่านการเพาะบ่ม
    จนเข้าถึงความบริสุทธิ์ของธรรมชาติได้แล้ว
    และมีกำลังที่จะแผ่ออกมา
    ท่านก็จะมีบารมีธรรมอยู่ในชั้นพลังงานบริสุทธิ์เช่นกัน

    จริงๆ ตรงนี้ ก็จะมีรายละเอียดมาก
    แต่ว่า อาจจะยังไม่ลงในช่วงนี้
    นั่นคือ เนื้อพลังงานความว่าง
    เป็นพลังงานที่บริสุทธิ์เลย

    เพราะฉะนั้นเวลาพาฝึกทุกวันสังเกตเราจะเริ่มแยกออก ระหว่าง
    เนื้อที่มันยังอยู่ในเนื้อของอวกาศ หรือ ความมืด
    มันจะมีความเวิ้งว้างอยู่
    มันจะมีความโดดเดี่ยวอยู่
    ไม่ว่าจะละเอียดแค่ไหนก็ตาม

    กับ เนื้อความบริสุทธิ์ที่มันไม่มีความเวิ้งว้าง
    มันมีแต่ธาตุที่บริสุทธิ์

    และเมื่อใดที่ยุบคืน จะเข้าถึงสิ่งที่เรียกว่า อมตธรรม
    อมตธรรม จะเป็นพลังงานบริสุทธิ์
    ที่มีความเข้มข้นอย่างยิ่งยวด

    ถ้าสมมติง่ายๆ ก็เหมือน
    อมตธรรมเป็นธาตุบริสุทธิ์
    ที่เปรียบเหมือนเป็นของแข็ง มีความมั่นคง
    มีความผ่องแผ้ว

    ส่วนชั้นพลังงานความว่าง ก็เหมือนของเหลวและแก๊ส ที่ระเหยออกมาแล้ว จะเจือจาง เป็นเนื้อพลังงานที่บริสุทธิ์ ตรงนี้

    ซึ่งเดิมก็ เป็นสิ่งที่เอ่อล้นมาจากอมตธรรมนี่แหละ แต่ช่วงหลังเพิ่มขึ้น เพราะว่ามีหมู่สัตว์
    ที่สะสมบารมีธรรมตัวเองขึ้นมา

    เพราะฉะนั้น ในชั้นพลังงานบริสุทธิ์ ก็จะมีสิ่งที่เป็นส่วนกลาง คือ ของธรรมชาติ
    กับ สิ่งที่เป็น บารมีธรรม ก็คือ ผู้ที่บำเพ็ญบารมีธรรม ก็จะมีตรงนี้ เพราะฉะนั้น มันจะมี 2 ส่วนแบบนี้

    เหมือนชั้นพลังงานความมืดนี่แหละ
    ก็จะมีเนื้อที่เป็นพลังงานความมืดที่เป็นของธรรมชาติดั้งเดิมอยู่แล้ว เป็นของส่วนกลาง ไม่มีเจ้าของ

    กับ พลังงานความมืดที่เพิ่มมาภายหลัง
    ก็คือ ของเสียในวัฏฏะ วิบากกรรมของหมู่สัตว์นั่นเอง ปัจจุบันมันเพิ่มขึ้นทวีคูณ

    แต่เมื่อใดที่ชำระตนหมดจด
    ยุบคืนสู่อมตธรรมแล้ว ไม่มีเจ้าของ เป็นหนึ่งเดียวกัน
    เป็นธาตุบริสุทธิ์เดียวกัน ก็คือ อมตธรรมนั่นเอง

    เพราะฉะนั้น เรื่องของความว่างก็มี
    ระดับโลกียธรรม แล้วก็โลกุตระ

    คำว่าปฏิบัติไปแล้วมันว่างตลอดนี่
    ไม่ใช่สิ่งที่จะดีเสมอไป อาจจะสบายดี
    แต่ว่าเราอาจจะติดอยู่ในโลกของมิติส่วนตัว
    ที่จิตตัวเองสร้างขึ้นมาก็ได้นะ

    เพราะฉะนั้น ถ้ามันนิ่งว่างอยู่อย่างนั้น
    ไม่มีการเคลื่อน ไม่มีการอะไรเลย
    ก็ให้เฉลียวใจให้ดี

    เพราะว่า ในความเป็นจริงมันเป็นแบบนั้นไหม?...ไม่
    ตราบใดที่เรายังอยู่ในธาตุขันธ์

    โดยเฉพาะที่พาฝึกจนสามารถเห็นได้ทั้งสองฝั่ง
    คือ ข้างในก็เข้าถึงเนื้อของความว่าง
    ของความผ่องแผ้ว
    แต่ข้างนอกข่ายญาณ ก็รับรู้สภาวะได้ตามปกติ

    ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
    "เป็นผู้มีปกติเห็นทั้งสองฝั่ง
    ทั้งฝั่งวัฏสงสาร และ ฝั่งวิวัฏฏะ"

    อันนี้จะทำให้เราอยู่กับความเป็นจริง
    ข้างในก็เข้าถึงความบริสุทธิ์
    ข้างนอกก็รับรู้โลก สภาวะภายนอกได้

    แต่ถ้าเป็นสมาธิ จะชอบอยู่ข้างในอย่างเดียว
    ว่าง ก็ว่างอย่างเดียว
    ไม่ค่อยมารับรู้ความเป็นจริงของโลกภายนอก

    เพราะฉะนั้น ก็ให้เป็นแนวทางไว้ว่า
    อยู่กับความเป็นจริง

    โดยเฉพาะ การฝึกเดินสภาวธรรมในชำนาญ
    เราก็จะได้เรียนรู้สิ่งที่เป็นสภาวะ
    ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง
    - ทั้งสภาวะที่เป็นฝ่ายวัฏฏะ
    ก็คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป

    - แล้วก็สภาวะที่เป็นฝ่ายของโลกุตระ
    ก็คือ เข้าถึงธาตุที่เป็นความบริสุทธิ์
    ที่พ้นจากการปรุงแต่ง

    มีแต่สภาวะโลกุตระเท่านั้น
    ที่สามารถเห็นได้ทั้งสองฝั่ง
    ไม่ได้อยู่ฝั่งเดียว เห็นได้ทั้งสองฝั่งเลย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,944
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    อันตรายมาก กับการเชื่อมต่อกับพลังงานภายนอก

    อย่าลืมมรดกที่พระพุทธองค์ทิ้งไว้ให้




     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,944
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,548
    ถึงจะออกพรรษา....
    แต่ชีวิตของสมณะก็อยู่กับการปฏิบัติ
    ขัดเกลากิเลสในจิตใจอยู่เสมอ
    ทั้งกิเลส อย่างหยาบ
    กิเลส อย่างกลาง
    กิเลส อย่างละเอียด
    การเจริญสมณธรรม
    ก็เป็นไปเพื่อการขัดเกลา
    เพื่อการสลัดคืนสู่ความบริสุทธิ์ของธรรมชาติ
    ยิ่งในยุคสมัยปัจจุบัน
    ความดำมืดของอวิชชา มีกำลังมาก
    เข้าครอบงำจิตใจของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
    ให้หลงวกวนอยู่กับสมมติมายาของโลก
    สภาพของจิตวิญญาณทั่วไป
    จึงเป็นเหมือนความหลับใหล
    หลงอยู่...วกวนอยู่...
    การที่เราได้มีโอกาสพบพระพุทธศาสนา
    จึงเป็นโอกาสครั้งสำคัญ
    ที่พวกเราทุกคนจะตื่นขึ้นมา
    หลุดพ้นจากวงจรตรงนี้ได้
    ส่วนเรื่องของสมณธรรม
    ก็จะเป็นไปเพื่อการขัดเกลา
    ธรรมนี้เป็นธรรมของ ผู้มักน้อย
    ไม่ใช่ธรรมของ ผู้มักมาก
    อันนี้คือคุณสมบัติของสมณะ
    เป็นผู้มักน้อยอยู่เสมอ ไม่มักมากต่างๆ
    บางทีความสะดวกสบาย ความเพลินต่างๆ
    มันทำให้กิเลสห่อหุ้มในจิตใจได้ง่าย
    เพราะฉะนั้นสมณะเราจึงเป็นผู้ที่มักน้อยอยู่เสมอ
    ธรรมนี้เป็นธรรมของ ผู้สันโดษ
    ไม่ใช่ธรรมของ ผู้ที่ไม่สันโดษ
    สันโดษก็คืออยู่ตามเท่าที่มีตามอัตภาพ
    เป็นผู้ที่สันโดษอยู่เสมอ มักน้อย สันโดษ
    ธรรมนี้เป็นธรรมของ ผู้ชอบสงัด
    ไม่ใช่ธรรมของ ผู้คลุกคลีด้วยหมู่คณะ
    เป็นผู้ที่ปลีกตัวอยู่ในที่นั่งที่นอนอันสงัดอยู่เสมอ
    สำรวมกาย วาจา ใจ ของตนเองให้ดี
    ไม่ใช่เป็นผู้ที่ยินดีในหมู่คณะ ในการคลุกคลี
    เอิกเกริก เฮฮาต่างๆ เพราะว่า
    มันก็จะถูกกิเลสเข้าห่อหุ้มจิตใจได้ง่าย
    ธรรมนี้เป็นธรรมของ ผู้ที่ปรารภความเพียร
    ไม่ใช่ธรรมของ ผู้ที่ยินดีในความเกียจคร้าน
    ก็เป็นผู้ประกอบความเพียร ตื่นอยู่เสมอ
    นั่งสมาธิ เดินจงกรม ปฏิบัติในอิริยาบถต่างๆ
    ปรารภความเพียร...
    ก็ต้องอาศัยความเพียรทางกายด้วย
    การนั่งสมาธิ การเดินจงกรม
    ก็อาศัยความเพียรทางกาย
    แล้วความเพียรทางใจ ก็คือมีสติ
    มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมขึ้นมาอยู่เสมอ
    บางทีเราคิดว่าเราไม่ต้องเดินจงกรมหรอก
    แต่บางทีสังเกตถ้าเราปล่อยใจมากๆ
    บางทีมันก็ไหลได้ง่ายเช่นกัน
    การเข้าสู่ ที่เดินจงกรม นั่งสมาธิ
    สลับไปสลับมา...
    จะทำให้เราปรารภความเพียร
    เมื่อความเพียรทางกายเกิดขึ้น
    ความเพียรทางใจเกิดขึ้น
    ก็มีสติตั้งมั่นขึ้นมาได้ง่าย
    ธรรมนี้เป็นธรรมของ ผู้ที่มีสติตั้งมั่น
    ไม่ใช่ธรรมของ ผู้ที่มีสติเลื่อนลอย
    เมื่อมีสติที่ตั้งมั่น จิตใจก็จะมีความมั่นคง
    ธรรมนี้เป็นธรรมของ ผู้ที่มีจิตใจที่มั่นคง
    ไม่ใช่เป็นธรรมของ ผู้ที่มีจิตใจไม่มั่นคง
    ท่านทั้งหลายว่าจิตใจที่มั่นคงสำคัญไหม?
    มันสำคัญในทุกๆเรื่องในชีวิตเลย
    ไม่ว่าจะเป็นชีวิตคฤหัสถ์ ฆราวาส
    หรือชีวิตของบรรพชิต
    ข้าศึกคือกิเลสต่างๆ
    ทั้งภายใน ภายนอก เข้ารุมเร้าอยู่เสมอ
    จิตใจเปราะบาง ก็จะหวั่นไหว
    ไปกับสิ่งต่างๆที่ถาโถมเข้ามา
    โดยเฉพาะชีวิตภายนอก
    ในแต่ละวัน ถ้าเรื่องเข้ามาเยอะ
    ต้องหวั่นไหวในทุกๆเรื่องนี่เหนื่อยไหม?...เหนื่อย
    แต่ผู้ที่มีสติตั้งมั่น มีจิตใจที่มั่นคงนี่
    ไม่หวั่นไหว อยู่ที่ไหนก็อยู่ได้
    ธรรมนี้เป็นธรรมของ ผู้ที่มีปัญญา
    ไม่ใช่ธรรมของ ผู้ที่ปัญญาทราม
    ถ้าท่านทั้งหลายเป็น...
    ผู้มักน้อย สันโดษ
    ชอบสงัด ปรารภความเพียร
    มีสติตั้งมั่น มีจิตใจที่มั่นคง
    ปัญญาก็ย่อมเกิดขึ้น
    การรอบรู้ตามความเป็นจริง
    ย่อมเกิดขึ้นโดยธรรมชาติอยู่แล้ว
    คำว่า "ปัญญาทราม" ก็เพราะ
    ขาดการขัดเกลาตัวเองนั่นเอง
    จึงถูกความดำมืดของอวิชชาเข้าครอบงำได้มาก
    ก็จะหลงวกวนอยู่กับโลก
    ปัญญาทางโลกกับปัญญาทางธรรม
    นั้นแตกต่างกัน
    บางคนมีปัญญาทางโลก
    สามารถรู้ช่องทางในการทำมาหากิน
    ในการทำต่างๆให้ประสบความสำเร็จ
    แต่ก็อาจจะไม่มีปัญญาทางธรรมก็ได้
    ปัญญาทางธรรมคืออะไร?
    ก็คือ การรอบรู้ในกองสังขารต่างๆ
    พิจารณาต่างๆเป็นไตรลักษณ์
    สรรพสิ่ง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    การรู้แจ้ง ในกองสังขารต่างๆ
    ไม่หลงติดข้องอยู่ ไม่หลงวกวนอยู่
    การปฏิบัติจึงเป็นไป
    เพื่อการสละ ละ วางต่างๆ
    จากอารมณ์หยาบๆ
    ความโลภ ความโกรธ ความหลง
    ที่เข้าครอบงำจิตใจ
    เมื่อขัดเกลาไป
    กิเลสอย่างหยาบหลุดออกไปจากใจ
    กิเลสอย่างกลาง...เป็นอย่างไร?
    บางคนละอารมณ์หยาบๆ ได้แล้ว
    ละความชั่วต่างๆ ได้แล้ว
    ละสิ่งที่มอมเมาต่างๆ ได้แล้ว
    แต่ก็ยังกระหยิ่มในใจว่า....
    เอ้อเรานี่เป็น คนดี
    เราเป็น ผู้ที่มีบุญมาก
    เราเป็น ผู้ที่มีวาสนามาก
    บางคนก็เป็นครูบาอาจารย์ สอนอรรถ สอนธรรมต่างๆ
    ก็กระหยิ่มในใจ ว่า...
    ฉันนี่ดีนะ เป็นครูบาอาจารย์ต่างๆ
    ติดดี...อัตตาพองโตนี่....ละกันยาก
    ละความชั่ว ว่ายากแล้ว...
    ละความดี นี่ยากกว่า....ติดดี
    คำว่า "ละความดี"
    ไม่ได้หมายความว่า ไม่ให้ทำความดี
    แต่ว่าทำด้วยการไม่ยึดติดในคุณงามความดีต่างๆ
    ทำด้วยใจเอื้ออารี ด้วยการเกื้อกูล
    พอละความชั่วได้ ก็จะมาติดดีกันนี่แหละ
    โดยเฉพาะถ้าเรามีบริวารมาก...
    เป็นลูกศิษย์ลูกหา หรือว่า
    เรารู้สึกว่าเราเป็นผู้มีความปิติ
    ชุ่มชื่นในธรรมต่างๆ แล้ว
    ก็จะเกิดความกระหยิ่มในใจได้ง่าย
    บางทีอัตตามันก็พองโตขึ้นมา
    มันก็จะทำให้เนิ่นช้าในการปฏิบัติขัดเกลาตนเอง
    จริงๆ แล้วการขัดเกลา
    เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกๆคน
    ทั้งขัดเกลากิเลสอย่างหยาบ
    ขัดเกลากิเลสอย่างละเอียด
    ก็เป็นไปเพื่อการขัดเกลาทั้งสิ้น
    โดยเฉพาะกิเลสอย่างละเอียด
    ก็เป็นเรื่องของความปรุงแต่งละเอียดข้างใน
    ก็เป็นไปเพื่อละ เพื่อวาง เพื่อการสลัดคืนทั้งสิ้น
    ธรรมนี้จึงเป็นธรรมของ ผู้ที่ยินดีในธรรมที่ไม่เนิ่นช้า
    ไม่ใช่ยินดีในธรรมที่เนิ่นช้า
    ติดดีนี่บางทีมันแช่อยู่นาน
    บางทีปฏิบัติแล้วโล่ง โปร่ง สบาย มีความสุข
    ก็กระหยิ่มในใจว่า ฉันเป็นผู้ที่มีบุญนะ
    มีความดีนะ มีการปฏิบัติที่ดีนะ
    แต่ว่ากิเลสอย่างละเอียด อย่างกลาง
    เป็นสิ่งที่ต้องละออกไปจากใจเช่นกัน
    ไม่งั้นก็จะค้างอยู่อย่างนั้น
    ไม่สามารถชำระตนเองให้หมดจดได้
    เพราะฉะนั้นการปฏิบัติ
    ตั้งแต่เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
    ก็เป็นไปเพื่อการขัดเกลา เพื่อการสละ ละ วาง
    เพราะว่าจิตนี้ประภัสสรมาแต่เดิมอยู่แล้ว
    แต่เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสจรมา
    ถูกความดำมืดแห่งอวิชชาครอบงำ
    ให้หลงวกวนอยู่
    การปฏิบัติจึงเป็นไปเพื่อการสละ ละ วาง
    เราให้ทาน เพื่ออะไร?
    ก็ละความตระหนี่ถี่เหนียวออกไปจากใจ
    ความปกติของการมีศีล
    ก็เป็นไปเพื่อ ละ ความโกรธต่างๆ
    ละ การเบียดเบียนต่างๆ
    ละ ความพยาบาทต่างๆ
    และมีการปฎิบัติ เพื่อรู้เท่าทันจิตใจของตนเองอยู่เสมอ
    ก็เป็นไปเพื่อการ ละ โมหะ
    ละ อวิชชาออกไปจากใจได้
    เพราะฉะนั้นแนวทางของพระพุทธศาสนา
    จึงเป็นไป เพื่อการขัดเกลาตนเองอยู่เสมอ
    คุณสมบัติ 8 ประการตรงนี้ พึงระลึกไว้ให้ขึ้นใจ
    พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า...
    "มหาบุรุษวิตก 8 ประการ"
    เป็นธรรมของมหาบุรุษเลยนะ
    วิตก 8 ประการ ท่อง ทรงจำไว้ให้ขึ้นใจ
    นั่นคือคุณสมบัติ เป็นแก่นของสมณธรรม
    จำได้ไหม มีอะไรบ้าง?
    • มักน้อย
    • สันโดษ
    • ชอบสงัด
    • ปรารภความเพียร
    • มีสติที่ตั้งมั่น
    • มีจิตใจที่มั่นคง
    • มีปัญญา
    • ยินดีในธรรมที่ไม่เนิ่นช้า
    อันนี้คือ คุณเครื่องของความเป็นสมณะ เป็นมหาบุรุษวิตก
    คำว่า "มหาบุรุษ" ก็คือยอดคน
    ยอดคน ไม่ได้เกิดจาก...
    เป็นผู้ที่มีกำลังมาก มีอำนาจวาสนามาก
    แต่เกิดจากผู้ที่สามารถขัดเกลาตนเองได้
    จนเข้าถึงความผ่องแผ้วอยู่เนืองๆ
    .
    .
    โดย พระมหาวรพรต กิตติวโร
    3 ตุลาคม 2563
    _1lgc93OgzYoyihnJiJZc_jnLgbOAcF3e2-4H_BZ7JxX&_nc_ohc=yIUQGb2iVQcAX8J-FnK&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...