ตัวกู ของกู ความดิบที่แฝงด้วยสาระ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 8 พฤศจิกายน 2007.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,494
    ตัวกู ของกู ความดิบที่แฝงด้วยสาระ



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ถ้าจะถามวัยรุ่นว่าเวลาว่างมักจะทำอะไรกัน คำตอบที่ได้คงมีแต่ เที่ยว นอน ฟังเพลง จะให้ดีหน่อยก็อาจจะตอบว่าอ่านหนังสือ แต่ถามว่าจะชวนไปวัด ทำบุญ ฟังธรรมะไหม หลายคนก็คงส่ายหัว หากจะมีก็มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น

    หลายต่อหลายโครงการจึงผุดขึ้นเพื่อทำให้เด็กรักและเข้าถึงธรรมะมากมาย เช่นเดียวกับโครงการ "ตัวกู ของกู Me My music" ชื่ออาจหยาบคาย แต่เจ้าของโครงการอย่างศูนย์ศึกษาการพัฒนาสังคม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยืนยันว่า "อยากเข้าถึงเด็กวัยรุ่น ต้องตรงไปตรงมาเลย"

    และความที่ต้องตรงไปตรงมา มันสมองของทีมในโครงการนี้จึงระดมความคิดว่ากิจกรรมใดที่จะเข้าใกล้วัยรุ่นให้มากที่สุด จนมาคิดว่า "เสียงเพลง" นี่ละ ที่จะเข้าถึงพวกเขามากที่สุด โครงการตัวกู ของกู จึงเป็นพื้นที่ที่ให้โอกาสคนรักเสียงเพลงแต่งเพลงส่งเข้าประกวด และเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะทำให้เยาวชน คนรุ่นใหม่ สามารถเข้าถึงหลักธรรมได้ง่ายขึ้น เพื่อสืบทอดปณิธานของท่านพุทธทาสภิกขุได้เป็นอย่างดี ดังที่ว่า

    "นับจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกของศาสนาใดในโลก ดนตรีจะเป็นภาษาที่ทำให้เราเข้าใจ เรื่องที่เราไม่เคยเข้าใจ และจะเป็นสื่อกลางที่นำพาเราให้เข้าถึง เรื่องที่เราไม่เคยเข้าถึง แล้วคุณจะเชื่อ...ว่าธรรมะนั้นจับต้องได้" <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    ชาญณรงค์ ทองตาล - ณัฐพล อัศวนิเวศน์ - กรัณย์ ไกรสิงห์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เปิดโครงการมาร่วมเดือนในที่สุดก็ได้ผู้ชนะเลิศการแต่งเพลง โดยทางโครงการจะมีทำนองให้อยู่แล้วจากศิลปินมากฝีมือ เพียงแค่ผู้ประกวดส่งเนื้อเพลงให้เหมาะกับทำนอง และมีเนื้อหาที่จูงใจ สามารถทำให้วัยรุ่นเข้าใจโลกในแง่บวก โดยมี "ธรรมะ" สอดแทรกเข้าไปด้วย ซึ่งมีผู้ชนะทั้งหมด 3 คนที่ได้รับรางวัล ล้วนแต่เป็นคนที่อยากให้ธรรมะเข้าถึงวัยรุ่นให้มากที่สุด

    เริ่มกันที่ชาญรณงค์ ทองตาล เจ้าของเนื้อเพลง "ไม่มีฟืนไม่มีไฟ" บอกว่า เนื้อหาของเพลงที่แต่ง จะเกี่ยวกับความทุกข์ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์มีไม่กี่อย่าง แต่สิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ได้ง่ายที่สุดคือ "ตัวเอง"

    "เหมือนกับฟืน ถ้าไม่มีก็ไม่สามารถจุดไฟขึ้นได้ เช่นเดียวกับตัวเอง หากทำตัวดี ไม่สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น ความทุกข์ก็ไม่มาเยือน และเมื่อหาสาเหตุของทุกข์ได้แล้ว วิธีที่จะทำให้ดับทุกข์จึงไม่ยากเลย เพลงจะทำให้เข้าถึงวัยรุ่นได้ง่าย เพราะเสียงดนตรีเป็นสื่อที่จรรโลงใจ แถมวัยรุ่นยังอินกับเนื้อเพลงง่ายอีกด้วย ถ้าได้เปิดฟังบ่อยๆ พวกเขาก็จะซึบซับเนื้อหาไปโดยปริยาย ดังที่พูดกันมาเสมอว่า ดนตรีไม่มีพรมแดน ถ้าให้เด็กไปอ่านหนังสือธรรมะ เชื่อว่าไม่มีใครอ่าน คงวางหนังสือไว้เฉยๆ เมื่อเป็นเพลง มีจังหวะดนตรี แถมเนื้อหาก็ไม่ได้มีแต่คำศาสนาที่เข้าใจยาก เพลงจึงเป็นสื่อที่แฝงเนื้อหาธรรมะโดยที่วัยรุ่นสามารถจับต้องได้ง่าย" <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#f8b8cb><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อีกคน กรัณย์ ไกรสิงห์ กับเพลง "กรรม" จากต้องการสื่อให้ทุกคนเห็นว่ามีชีวิตเกิดมาทำไม คนเราเกิดมาเพื่อใช้กรรม จึงไม่ควรที่จะทำความชั่วประดับตัวอีก ดังนั้น ทำอะไรก็ตามต้องคิดถึงผลได้ผลเสียที่จะได้รับ

    "อยากให้วัยรุ่นทบทวนตัวเองว่าความประพฤติที่ตัวเองทำแต่ละอย่างนั้นสร้างอะไรให้กับตัวเอง เพลงนี้จึงเป็นสื่อกลางที่จะบอกวัยรุ่นได้ว่าชีวิตของพวกเขาควรเดินไปทางไหน และควรรู้จักผิดชอบชัาวดีอย่างไรด้วย"

    สุดท้าย ณัฐพล อัศวนิเวศน์ กับบทเพลงชื่อว่า "ไม่ยั่งยืน" ใช้เวลาแต่งเพลงเพียงไม่กี่สัปดาห์ บอกว่า แต่งเพลงเกี่ยวกับธรรมะค่อนข้างยาก ยอมรับว่าก็เป็นคนที่ไม่ค่อยสุงสิงเรื่องธรรมะมากนัก ดังนั้น การแต่งเพลงที่จะทำให้วัยรุ่นเข้าใจว่าธรรมะเป็นเรื่องใกล้ตัว ให้หันมาทำความดี จึงดูเป็นเรื่องยากมากๆ

    "แต่ก็มาคิดว่าในเมื่อจะแต่งเพลงเพื่อสังคม จึงต้องเริ่มต้นที่จิตใจเสียก่อน ให้มีธรรมะในจิตใจ ก็ไปซื้อหนังสือธรรมะมา นำคำแปลของบทสวดมนต์มาแปลงเป็นเนื้อเพลง อยากให้เพลงเป็นสื่อที่ทำให้เด็กสนใจธรรมะ การทำผิดชอบชั่วดี ซึ่งเพลงเปรียบเสมือนยาขมที่อยู่ในแคปซูล สามารถทานได้ง่าย แต่รักษาอย่างเห็นผล"

    ส่วนเนื้อหาเพลงนั้น ณัฐพลบอกว่า ต้องการสื่อว่าโลกนี้ล้วนแล้วแต่อนิจจัง ตั้งอยู่แล้วก็ดับไปไม่มีอะไรที่เป็นเที่ยงแท้ ดังนั้น การที่วัยรุ่นไปหลงระเริงอยู่กับแสงสีเสียง มันไม่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น เพียงแต่ให้ความสนุกไปวันๆ และเพลงไทยตอนนี้ก็มีแต่เนื้อหารักๆ ใคร่ๆ โดยไม่คำนึงว่าเพลงเป็นสื่อที่เข้าถึงตัวเด็กง่ายมาก อยากฝากให้คนแต่งเพลงคำนึงถึงตรงนี้ด้วย เพราะมันมีส่วนกระตุ้นพฤติกรรมวัยรุ่นอยู่

    แม้ธรรมะจะเป็นเรื่องไกลตัวของวัยรุ่น แต่ธรรมะในดนตรีน่าจะเป็นยาขนานหนึ่งที่กระตุ้นให้วัยรุ่นประพฤติดีได้บ้าง และผลงานของทั้ง 3 คนนี้จะได้รับการเผยแพร่ลงในซีดีเพลงเพื่อเปิดในสถานนีวิทยุกระตุ้นวัยรุ่นต่อไป

    -------------------
    ที่มา:มติชน
    http://www.matichon.co.th/matichon/...g=01lad01081150&day=2007-11-08&sectionid=0115
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...