ดาวดึงส์ โอลิมปัส แอสการ์ด - เป็นสถานที่เดียวกัน

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย สิงห์อาชา, 24 กันยายน 2020.

  1. สิงห์อาชา

    สิงห์อาชา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +38
    Tavatimsa - Olympus - Asgard
    (Indra) - (Zeus) - (Thor)

    131181858.jpg
    ต้นอิกดราซิล (Yggdrasil)
    ในศาสนานอร์ส (Norse) ต้นไม้อิกดราซิล (Yggdrasil) หรือต้นไม้แกนกลางจักรวาลที่คอยเชื่อมโยงโลก ( ภพภูมิ) ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน มีภพภูมิของเหล่าทวยเทพอยู่ ๒ วงศ์ด้วยกัน โดยเทพทั้งสองพวกนี้ทำสงครามสู้รบกันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ คือ "เอซีร์" (Aesir) กับ "วานีร์" (Vanir)

    ซึ่งคำว่า "Aesir" (เอซีร์) มีรากคำเดียวกับ "Asura" (อสูร) ในภาษาบาลี-สันสกฤต

    ส่วนคำว่า "Vanir" (วานีร์) ก็มีรากคำเดียวกับ "Deva" (เทพ) ในภาษาบาลี-สันสกฤต

    กล่าวคือ เทพทั้งสองวงศ์นี้ Aesir-Vanir และ Deva-Asura มีอำนาจเท่ากันหรือศักดิ์เสมอกัน หรืออธิบายตามหลักศาสนาพุทธของเราแบบง่ายๆ ก็คือ อสูรมีบรรดาศักดิ์และอำนาจทัดเทียมเสมอกับเทพดาวดึงส์นั่นเอง เราจึงมักอ่านเห็นอสูรแห่งเขาตรีกูฏยกกองทัพขึ้นไปทำสงครามกับเทพบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์อยู่บ่อยๆ ในพระไตรปิฎก

    ตามคติพุทธเถรวาทนั้น ภพอสูรไม่ได้ด้อยไปกว่าภพเทพเลยแม้แต่น้อย ทั้งคู่มีความสมน้ำสมเนื้อกันและก็เป็นศัตรูคู่แค้นที่ต่างก็ไม่มีใครเหนือกว่าใคร และในพุทธฝ่ายมหายานเองก็ไม่ได้รังเกียจว่าอสูรเป็นพวกชั่วร้ายเช่นกัน เพราะอสูรเองก็ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในผู้พิทักษ์หรือธรรมบาล (Dharmapala) ทั้งแปด เพราะความจริงในทัศนะของพุทธแล้ว พวกที่ชั่วร้ายจริงๆ คือ "มาร" (Mara) ซึ่งเป็นพวกที่จะคอยชักจูงสรรพสัตว์ให้หลงผิดหรือเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่เสมอๆ นั่นเอง

    (สำหรับ Odin นั้น เป็นเทพเจ้าแห่งความรู้และปรีชาญาณ เป็นเทพผู้สร้างโลกในตำนานของศาสนานอร์ส เทียบได้กับ Brahma ในศาสนาพราหมณ์ที่ถูกเรียกว่าเป็นพระผู้สร้างเช่นกัน)

    นาคยอร์มุนกานดร์ (Jormungandr) ในปกรณัมนอร์ส (Norse) ที่มีขนาดตัวที่ยาวใหญ่จนสามารถพันรอบ "โลก" (World) หรือ "มิดการ์ด" (Midgard) อันเป็นภพภูมิมนุษย์ (ชมพูทวีป - Jambudvipa) ได้นั้น ตามตำนานก็ได้ถูกเทพธอร์ (Thor) ปราบลงจนสำเร็จ ซึ่งเหมือนกับตอนที่พระอินทร์ (Indra) ได้ใช้วัชระ (Vajra) ปราบนาคยักษ์ (World Serpent) ที่ชื่อว่า "วฤตระ" (Vritra)

    ส่วนในปกรณัมกรีก (Greek) เทพซูส (Zeus) ปราบนาคไทฟอน (Typhon) และในศาสนาญี่ปุ่น (Japan) เทพซูซาโนโอะ (Susanoo) ก็ได้ปราบนาคโอโรจิ (Orochi)

    131107395.png
    Indra vs Vritra

    131107410.jpg
    Zeus vs Typhon

    131107412.jpg
    Thor vs Jormungandr

    131107401.jpg
    Susanoo vs Orochi
    ถึงตรงนี้ ถ้าใครคิดว่า "ยอร์มุนกานดร์" (Jörmungandr) เป็นนาคที่ตัวใหญ่ที่สุดแล้วนั้น ถือว่าคิดผิด เพราะยังมีนาคที่มีขนาดตัวที่ใหญ่กว่ายอร์มุนกานดร์หลายเท่าอยู่อีก เช่น นันโทปนันทะ (Nandopananda) ซึ่งมีพระวรกายใหญ่โตขนาดที่สามารถพันรอบเขาพระสุเมรุอันเป็นแกนกลางของจักรวาลได้ถึง ๗ รอบ แต่ยอร์มุนกานดร์พันได้แค่รอบโลก แค่ภพภูมิมิดการ์ด (Midgard) หรือชมพูทวีป (Jambudvipa) และพันได้เพียง ๑ รอบเท่านั้น

    ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นของ "ทิพย์" (Divya) ทั้งเขาพระสุเมรุทั้งภพภูมิพวกนี้ล้วนเป็นของทิพย์ คือ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าของมนุษย์ (ไม่ได้เป็นมนุษย์ต่างดาวอะไรทั้งสิ้น)

    131107415.jpg
    ดาวดึงส์ (Tavatimsa)

    131107418.jpg
    โอลิมปัส (Olympus)

    131107417.jpg
    แอสการ์ด (Asgard)
    สิ่งสำคัญเวลาที่เทพ (Deva) จะมาปรากฏกายให้มนุษย์เห็น พวกเขามักจะแปลงกายให้เป็นไปตามลักษณะความเชื่อของมนุษย์ในภูมิภาคนั้นๆ ซึ่งเทวดา (Devata) ที่ชอบมาพัวพันกับมนุษย์โลกบ่อยที่สุดและใกล้ชิดกับมนุษย์โลกมากที่สุด คือ เทพจาตุมหาราชิกา (Catumaharajika) กับเทพดาวดึงส์ (Tavatimsa) โดยเราจะเห็นได้ว่าเทพทั้งสองชั้นนี้จะมีอยู่ในตำนานเรื่องเล่าของมนุษย์ในแต่ละอารยธรรมทั่วโลกมากที่สุด แต่เรียกชื่อแตกต่างกันไปตามภาษาของท้องถิ่นนั้นๆ เช่น เทพ (Deva) อสูร (Asura) นาค (Naga) ครุฑ (Garuda) คนธรรพ์ (Gandharva) พมน (Vamana) วิทยาธร (Vidyadhara) นักสิทธิ์ (Siddha) หุ่นพยนต์ (Vyanta) กินนร (Kinnara) มโหราค (Mahoraga) กุมภัณฑ์ (Kumbhanda) รากษส (Rakshasa) ยักษ์ (Yaksha) ภูต (Bhuta) ปีศาจ (Pishaca) เปรต (Preta) สัตว์นรก (Nerayiko) ฯลฯ เป็นต้น

    โดยหากเรานำมาเทียบกับตำนานเทพนิยายของชาวตะวันตก (พอสังเขป) ก็จะได้ดังนี้

    131181870.jpg
    Bhuta - Ghost

    131181871.jpg
    Preta - Undead

    131181873.jpg
    Pishaca - Devil

    131181874.jpg
    Kinnara - Satyr, Siren etc.

    131181875.jpg
    Mahoraga - Gorgon

    131181878.jpg
    Naga - Dragon

    131181880.jpg
    Garuda - Griffin

    131181882.jpg
    Karavika - Phoenix

    131181886.jpg
    Hastilinga - Roc

    131181884.jpg
    Valahaka - Pegasus

    131181888.jpg
    Gandharva - Elf

    131181889.jpg
    Vamana - Dwarf

    131181892.jpg
    Vidyadhara - Wizard

    131181893.jpg
    Siddha - Sorcerer

    131181894.jpg
    Jadugara - Shaman

    131182058.jpg
    Vejjabhuta - Necromancer

    131181898.jpg
    Kumbhanda - Ogre

    131181899.jpg
    Rakshasa - Troll

    131181900.jpg
    Yaksha - Giant

    131181902.jpg
    Vyanta - Golem
    ปล.สำหรับกินนร (Kinnara) นั้น เทียบได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น Centaur Harpy และอื่นๆ เนื่องจากว่ากินนรเป็นอมนุษย์จำพวกครึ่งคนครึ่งสัตว์ Half-Human, Half-Beast จึงมีแยกย่อยออกมาหลายประเภท รวมไปถึง "นรสิงห์" (Narasimha) ที่ยุโรปเรียกว่า "สฟิงซ์" (Sphinx) ก็แยกออกมาจากกินนรเช่นกัน

    หลักฐานกินนรประเภทมฤค (กวาง, เก้ง, เนื้อทราย) ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระไตรปิฎกเถรวาท
    https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=27&siri=504

    131181903.png
    Narasimha - Sphinx
    ส่วนคนแคระ (Dwarf) ชาวอินเดียเรียกว่า "เพาน์" (Bauna) แต่เหตุที่ใช้ "พมน" (Vamana) เพราะว่ามันมีความไพเราะมากกว่า โดยรากศัพท์บาลีเดิมจากพระไตรปิฎกใช้ว่า "วามนํ" อันหมายถึง "คนแคระ" อย่างตรงตัว

    ซึ่งปกรณัมเริ่มแรกที่บอกเล่าเรื่องราวของ “พมน” (Dwarf) เริ่มต้นตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๗-๘ ในช่วงราชวงศ์คุปตะของอินเดียเหนือ โดยเล่าในเทพปกรณัมว่าพมนนั้น คือ บริวารของเทพโลกบาลพระนามว่า “ท้าวกุเวร” (Kuvera) ผู้เป็นราชาแห่งยักษ์

    ต่อมา พระพุทธศาสนาในยุค "อนุราธปุระ" ของลังกา (ราวพุทธศตวรรษที่ ๘) ได้นำเอารูปของท้าวกุเวรและพมนบริวาร มาใช้เป็น “ทวารบาล” ของศาสนสถาน โดยประดับรูปไว้ตรงปากบันไดหรือทับหลังประตู โดยมีนัยถึงการอำนวยพรให้โชคลาภสักการะ อันได้แก่ความร่ำรวยและมั่งคั่งแก่สาธุชนที่มาทำบุญยังศาสนสถานแห่งนี้

    - อ่านเรื่องราวประติมากรรมคนแคระเพิ่มเติมได้ที่
    http://oknation.nationtv.tv/blog/voranai/2017/07/01/entry-1

    และตามคำบอกเล่าของพระสุปฏิปันโนที่ท่านเคยพบเจอพวกภูตแคระในญาณนั้น ท่านว่าพวกนี้ตัวเล็กมาก ขนาดความสูงไม่น่าเกิน ๑๐ นิ้ว (๒๕.๔ เซนติเมตร) ทั้งหญิงทั้งชายล้วนมีหน้าตาเหมือนเรา มีอาการครบ ๓๒ ทุกประการ มีผิวพรรณสวยงาม ใบหน้าได้สัดส่วน มีรอยยิ้มที่สง่างาม และเพียบพร้อมด้วยจรรยากิริยาอันสุภาพ

    131181904.jpg
    พวกพมนในตำนานนอร์ส
    สุดท้ายนี้ พวกพมน (Vamana) หรือดวอฟ (Dwarf) มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งในยุคเรอแนซ็องส์ (Renaissance) ว่า "โนม" (Gnome)

    โดยคนไทยเรารู้จักพวกพมนจากสื่อภาพยนตร์แฟนตาซีหลายๆ เรื่อง เช่น สโนไวต์กับคนแคระทั้งเจ็ด เป็นต้น

    131181905.jpg
    โนม (Gnome)​
     
  2. patus1221

    patus1221 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2019
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +2
    เขียนต่อสิครับแนวนี้น่าสนใจดี
     
  3. ใบไม้หลายต้น

    ใบไม้หลายต้น Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +60
    1.แรกเริ่มศาสนาชาววรรณะซาไกซิฟนักล่าและชาววรรณะคายักซิฟเผ่ากินเนื้อมนุษย์
    เมื่อตายก็จะอยู่ในกระดูกก็ต่อเมื่อเผาจึงจะได้รับการปลดปล่อย
    คลิก ศาสนาสารีชาววรรณะศูทร่าแห่งแผ่นดาววานาฮาม

    แผ่นดาวเฮลแห่งกองขยะที่คนตายนักโทษอาชญกรจะโดนทิ้งไปเป็นวิถีอาชญกรนางเฮล่าบุตรแห่งคุณโลกิชาววรรณะคายักซิฟอาศัยอยู่ เมื่อเจ้าชายธอร์ตกไปที่แผ่นดาววานาฮามจากการทำงานผิดปกติของเครื่องดึงอวกาศชนจึงนำฮักจากค่ายมาเวลอะเวนเจอร์ผู้กำกับมาแทนที่มนุษย์กล้ามหินชื่อโค้ก
    ดากเอลมนุษย์อะนินทรีย์ศาสนาA.I.จำนวนประชากรคงทีไม่เพิ่มจิตประดิษฐ์ของพระพรหมะชาววิทยาศาตร์หลอมรวมชาวไสยศาสตร์ ถ้าไม่รับนายโลกิชาวคายักซิฟแผ่นดาวโยทันฮามมาเลี้ยงก็ไม่เจอ
    2.ศาสนาพรหมะแรกเริ่มแห่งแสง4ชาวจาก4แผ่นดาวมาร่วมมือกันหลังไฟบันลัยกันเผาดวงดาวทั้งหมดทั่วทั้งจักรวาลภายในเวลาชับพลัด ดับไร้สายพันธุ์ น้ำแห้ง ต้นไม้เป็นผงฝุ่น
    ศาสนาพรหมะเมื่อตายจิตจะไปอยู่ในเครื่องดนตรีที่เขียนจิตโดยพระพรหมะแรกเริ่ม
    3.ศาสนาศิวาเมื่อตายจิตจะไปอยู่ในดวงอาทิตย์เมื่อฝึกฌานสุริยะแห่งการทำลายสำเร็จแล้ว
    แล้วกลับมาเกิดในรูปของจิตไฟในกายประดิษฐ์ของพระพรหมะ
    4.ศาสนาอินดีเมื่อตายจิตจะอยู่ในเซิฟเวอร์ภูเขาไฟไกลลาสชาร์จในรูปเก็บบันทึก
    5.ศาสนาเชนซิฟเมื่อตายจิตจะไปอยู่ในก้อนเมฆชีเปลือย6ชนชั้น
    6.และศาสนาฤสีพุทฤสีพระฤสีเณรเมื่อตายจิตจะไปอยู่ในเมฆดำ6ชนชั้นรีแมค รับผลงานวันนี้ในอีก9ล้านปีอนาคตข้างหน้า รีแมคพิเศษชาวมหายานเมื่อตายจิตจะไปอยู่ในท้องของยูไล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มิถุนายน 2021

แชร์หน้านี้

Loading...