เสียงธรรม คัมภีร์วิสุทธิมรรค

ในห้อง 'พระไตรปิฎกและคัมภีร์' ตั้งกระทู้โดย aonlin, 17 สิงหาคม 2009.

  1. aonlin

    aonlin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2006
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +1,608
    คัมภีร์ วิสุทธิมรรค
    อาจารย์แนบ มหานีรานนท์

    คัมภีร์วิสุทธิมรรคแต่งขึ้นโดยพระพุทธโฆสะ ท่านเป็นผู้ประมวลธรรมทั้งหมดในพระไตรปิฎก อันได้แก่ พระวินัยปิฎกพระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก มาเรียบเรียงใหม่ในลักษณะของไตรสิกขา โดยนำไตรสิกขามาตั้งเป็นบทกระทู้ แล้วอธิบายขยายความบทกระทู้ดังกล่าว แสดงหมวดหมู่ของไตรสิกขาเป็นรูปคำถาม-คำตอบ แบ่งเป็น 3 ภาคใหญ่ ๆ ถือแนววิสุทธิ 7 ประการเป็นหลัก โดยขยายสีลวิสุทธิออกเป็นนิเทศหนึ่งต่างหาก เรียกว่า สีลนิเทศ แยกจิตวิสุทธิออกเป็นนิเทศหนึ่ง เรียกว่า สมาธินิเทศ และแยกปัญญาวิสุทธิทั้ง 5 มีทิฏฐิวิสุทธิ เป็นต้น ออกเป็นอีกนิเทศหนึ่ง เรียกว่า ปัญญานิเทศ รวมทั้ง 3 ภาค มี 23 นิเทศ

    เนื้อหาของคัมภีร์วิสุทธิมรรค



    ใน 3 ภาคใหญ่ ๆ นั้น แต่ละภาคจะชี้ให้เห็นถึงกระบวนความรู้ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกันตั้งแต่ความ รู้อย่างหยาบ ๆ จนถึงความรู้ขั้นละเอียดลึกซึ้ง

    ผู้ศึกษาสามารถเข้าใจได้ว่า ขั้นตอนการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนานั้นทำอย่างไร จะต้องมีความรู้อะไรบ้าง ความรู้เหล่านั้นมีหลักการอย่างไร ต้องเรียนรู้อะไรก่อน อะไรหลัง กล่าวคือ แต่ละภาคจะเริ่มต้นด้วยการอธิบายถึงความหมาย ลักษณะ กิจ ผลปรากฏ เหตุใกล้ คุณประโยชน์ต่อชีวิต อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนวิธีการเจริญไปตามขั้นตอนทั้งของศีล สมาธิ และปัญญา เป็นภาพรวมของวิถีชีวิตที่ดำเนินไปเพื่อความพ้นทุกข์โดยตรง

    ซึ่งต่างจากมหาสติปัฏฐานสูตรในพระไตรปิฎก คือ มหาสติปัฏฐานสูตร จะกล่าวถึงเรื่องการเจริญสติโดยตรง ไม่มีการกล่าวถึงลำดับของการเจริญศีล สมาธิ และปัญญาอย่างในวิสุทธิมรรค

    เนื้อหาโดยรวมในคัมภีร์วิสุทธิมรรค จะเน้นการดำเนินชีวิตเยี่ยงพระสงฆ์มากกว่าการดำเนินชีวิตอย่างคฤหัสถ์ เพราะชีวิตของพระเป็นชีวิตแห่งไตรสิกขาโดยตรง วิสุทธิมรรคจึงเปรียบเสมือนคู่มือของนักปฏิบัติธรรมฝ่ายเถรวาท เพื่อใช้เป็นฐานที่จะก้าวลงสู่มหาสมุทรของพระพุทธศาสนา (คือคัมภีร์พระไตรปิฎก) แต่ไม่ควรสรุปว่าวิสุทธิมรรคคือทั้งหมดของพระพุทธศาสนา เป็นเพียงภาคของการปฏิบัติที่จะทำให้ชีวิตถึงจุดหมายสูงสุด คือ ความบริสุทธิหมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย (พระธรรมปิฎก, สากัจฉา วิมุตติมรรค 21 ก.ย.38)



    หลักวิชาการของคัมภีร์วิสุทธิมรรค

    คัมภีร์วิสุทธิมรรคจัดเป็นคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ซึ่งแต่งขึ้นในภายหลังโดยพระพุทธโฆสะ ในวงวิชาการทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นคัมภีร์หลักขั้นปฐมภูมิ เช่นเดียวกับคัมภีร์พระไตรปิฎก B.C.Law (1946 : 80) กล่าวว่า คัมภีร์นี้มิได้เพิ่มอะไรให้แก่ตัวคัมภีร์พระไตรปิฎก เป็นแต่มุ่งหมายในการจัดสารบัญของพระไตรปิฎกในอีกรูปแบบหนึ่งเท่านั้น (วิสุทธิมรรค แปล 2513 : จ) นอกจากนี้ทางการคณะสงฆ์ไทยยังจัดคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นหนึ่งในหลักสูตรการ ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี วิชาการแปลมคธเป็นไทย ประโยค ปธ.8-9 นับว่าเป็นปกรณ์สำคัญปกรณ์หนึ่งที่นิยมศึกษากันมาก ประวัติแห่งการแต่งคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นสิ่งที่ยืนยันถึงความแตกฉานใน คัมภีร์พระไตรปิฎกของท่านพระพุทธโฆสะ จนเป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์ฝ่ายมหาวิหารแห่งประเทศลังกาในยุคนั้นเช่นกัน

    คัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นคัมภีร์ ที่แสดงการประมวลความรู้ความเข้าใจในพุทธธรรมของฝ่ายเถรวาทอย่างสมบูรณ์ ทั้งการอุปมาอุปไมยและตัวอย่างประกอบมากมาย (สุภาพรรณ ณ บางช้าง 2526 : 292) สามารถรวบรวมเนื้อหาสาระเกี่ยวกับศีล สมาธิ ปัญญา และหมวดธรรมต่าง ๆ ในคัมภีร์พระไตรปิฎกมาอธิบายขยายความไว้อย่างเป็นระบบให้รายละเอียดในแง่มุม ต่าง ๆ ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันของธรรมที่พึงทราบเหล่านั้น เค้าโครงทั่วไปของการปฏิบัติถือตามหลักการของไตรสิกขาแล้วขยายออกตามแนววิ สุทธิ 7 นอกจากแสดงลำดับขั้นตอนและแบบแผนการฝึกด้านกิจกรรมภายนอกแล้ว (เช่น ศีล สมาธิ) ยังแสดงลำดับขั้นของความเจริญก้าวหน้าภายใน คือ การที่ปัญญาแก่กล้าขึ้นเป็นระดับ ๆ จนถึงการตรัสรู้ (พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตโต) 2525 : 359)



    ไตรสิกขาหรือศีล สมาธิ ปัญญานั้น แต่ละส่วนมีหลักเกณฑ์เฉพาะของตนเอง นอกจากนี้วิธีการ ตลอดจนผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เหมือนกัน แต่ในความแตกต่างเหล่านั้นไม่อาจแยกออกจากกันได้อย่างเป็นเอกเทศ การเจริญไตรสิกขาไปสู่ความวิสุทธินั้น หมายเอาศีล สมาธิ ปัญญาที่กำลังเกิด พร้อมในอารมณ์เดียวกัน ขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเท่านั้น คนทุกคนสามารถสร้างนิสัยในเจริญวิปัสสนาได้ และเป็นสิ่งที่ควรสั่งสมอบรม แต่มิใช่ว่าทุกคนจะเข้าถึงเหตุผลและญาณปัญญา ทั้งนี้มีเงื่อนไขบางอย่างของญาณปัญญา โดยเฉพาะคือต้องเป็นผู้ที่เกิดมาพร้อมด้วยไตรเหตุ (อโลภะเหตุ อโทสะเหตุ อโมหะเหตุ)

    นอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้ฉลาดรอบคอบในการนำกิจของพระกรรมฐานทุกอย่าง เริ่มต้นด้วย การเรียน การถาม และการเจริญ เป็นต้น เงื่อนไขเหล่านี้เป็นเหตุของวิปัสสนาญาณในระดับต่าง ๆ เท่าที่ตนเคยสั่งสมไว้ วิปัสสนาญาณแต่ละระดับก็มีความสามารถปหานกิเลสชนิดต่าง ๆ ได้ไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดวิสุทธิได้ไม่เท่ากันด้วย กฎเกณฑ์และเงื่อนไขที่กล่าวมาเป็นการยืนยันถึงหลักอนัตตาอย่างหนึ่งว่า ญาณปัญญาและวิสุทธิที่มีอยู่หลายระดับนั้นอยู่นอกเหนืออำนาจการจัดสรรของผู้ ใดทั้งสิ้น เป็นสิ่งที่บังคับให้เกิดกับใครโดยไม่สร้างเหตุที่ถูกต้องก็ไม่ได้ ความบริสุทธิ์มิได้เกิดขึ้นเพียงเพราะความเชื่อ หรือการอ้อนวอน แต่เกิดขึ้นจากการพิสูจน์หรือจากการปฏิบัติที่ถูกต้องด้วยตนเองเท่านั้น


    credit : manydays

    ขนาดรวม 2.44 G จำนวนไฟล์ 385 ไฟล์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2009
  2. aonlin

    aonlin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2006
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +1,608
    ...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2009
  3. aonlin

    aonlin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2006
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +1,608
    ต่อ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2009
  4. aonlin

    aonlin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2006
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +1,608
    ***ขาด 215-217 ดูในอัพเพิ่มเพื่อแก้ไข ใน comment 20 (comment สุดท้ายของหน้าแรก)***
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2009
  5. aonlin

    aonlin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2006
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +1,608
    *** ขาดไฟล์ 251 , 261 ดูในอัพเพิ่มเพื่อแก้ไข ใน comment 20 (comment สุดท้ายของหน้าแรก) ***
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2009
  6. aonlin

    aonlin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2006
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +1,608
    ***ขาด 322 -331 ดูในอัพเพิ่มเพื่อแก้ไข ใน comment 20 (comment สุดท้ายของหน้าแรก)***
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2009
  7. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    อนุโมทนาค่ะ
     
  8. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814
    อยากทราบว่า จะไปซื้อหนังสือ "วิสุทธิมรรค" นี้ได้ที่ไหนครับ ใน กทม.ที่ไหนมีครับ

    และอยากทราบว่า มีทำเป็น E-BOOK มั้ยครับ วานผู้รู้ช่วยบอกทีครับ

    จะขอบพระคุณอย่างสูงครับ
     
  9. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    โมทนาสาธุบุญครับ....คัมภีร์นี้สำคัญมาก...
     
  10. azalia

    azalia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    626
    ค่าพลัง:
    +579
    สาธุๆ อนุโมทามิ ว่างๆมาโหลดจ้า
     
  11. nspparama

    nspparama เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    217
    ค่าพลัง:
    +178
    อนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยนะครับ สาธุ
     
  12. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471



    หนังสือชื่อ พระวิสุทธิสรรคเผด็จ ฉบับ ส.ธรรมภักดี เป็นชุด จำนวน ๓ เล่ม นะคะ
    โดย สำนักพิมพ์ ส.ธรรมภักดี ตั้งอยู่บนถนนตัดสี่แยกคอกวัว เส้นที่ไปทางศาลเจ้าพ่อเสือ ค่ะ
    ร้าน ส. ธรรมภักดี
    ๒๑๖ ถนนตะนาว กทม. ๑๐๒๐๐ <O:p</O:p
    โทร. ๐๒-๒๒๔-๑๘๕๙, ๐๒-๒๒๔-๑๘๖๐-๑<O:p</O:p
    (ตรงข้ามวัดมหรรณพาราม ใกล้ศาลเจ้าพ่อเสือ)
    ร้านเปิดถึง ๔ โมงเย็น หยุดวันอาทิตย์<O:p</O:p
    - หรือไปหาซื้อได้ที่ ร้านหนังสือเรืองปัญญา ท่าพระจันทร์ (ด้านรั้ว ม. ธรรมศาสตร์) ก็ได้นะคะ -
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2013
  13. MarkZilla

    MarkZilla เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    134
    ค่าพลัง:
    +191
    อนุโมทนาครับ แต่ถ้าให้ดีน่าจะมีแบบ โหลดครั้งเดียวเลยครับ (เครื่องแรงครับ)
     
  14. aonlin

    aonlin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2006
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +1,608

    ขนาด 2.44 G ไม่สามารถอัพในทีเดียวได้ เพราะความเร็วอัพเต็มที 512
    เวลาในการอัพโหลด จึงใช้เวลามากกว่าเวลาในการดาวน์โหลดมากค่ะ
    ( ปกติเวบจะมีเวลาจำกัดในการอัพ พอถึงเวลา แล้วยังอัพไม่เสร็จ เวบจะเครียร์ข้อมูลทิ้งค่ะ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2009
  15. ปกาสัย

    ปกาสัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +257
    ขอรับฟรีได้ที่ พระครูวรปัญญาคุณ ณ วัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสฤษฏ์ ท่าพระจันทร์ ติดกับธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ บริเวณใกล้สนามหลวง เคยไปรับมาเล่มหนึ่ง แล้วก็ถวายปัจจัยร่วมบุญพิมพ์พระคำภีร์ด้วยส่วนหนึ่ง เพราะพระคำภีร์ที่พิมพ์ออกมาแจกได้นี้ ส่วนหนึ่งเป็นทุนส่วนตัวของท่านพระครูวรปัญญาคุณ อีกส่วนก็เป็นของศรัทธาญาติโยมถวายร่วมบุญด้วย ท่านใดสนใจก็ติดต่อขอรับได้ที่ พระครูวรปัญญาคุณ ณ วัดมหาธาตุยุวราษฎร์รังสฤษฏ์ คณะ 25 หมายเลขโทรศัพท์ 02 222 2979
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 สิงหาคม 2009
  16. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814
    ขอบพระคุณอย่างสูงเลยครับ
     
  17. บุญทรงพระเครื่อง

    บุญทรงพระเครื่อง ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    17,441
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +27,814
    ขอบพระคุณมากๆๆๆๆๆๆๆ เลยครับ
     
  18. thaboo

    thaboo Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +27
    โอโห...อยากได้มากๆ เลย แต่เห็นจำนวนไฟล์แล้วอึ้งกิมกี่ นับถือคนอัพโหลดจริงๆ
     
  19. ศักยิ์กมล

    ศักยิ์กมล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    824
    ค่าพลัง:
    +1,316
    อนุโมทนาครับ
    ขาด File Wisuttimak-322 ถึง Wisuttimak-331 มีมั๊ยครับคืออยาก Load เก็บไว้ฟังครับ

    ขอบคุณครับ
    ศักยิ์กมล สงคราม
     
  20. aonlin

    aonlin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2006
    โพสต์:
    199
    ค่าพลัง:
    +1,608


    ***อัพเพิ่มเพื่อแก้ไข***


    215-217
    251
    261
    322-331
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 สิงหาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...