การอุทิศส่วนบุญ

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 9 พฤศจิกายน 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,027
    รู้จัก, เชื่อ, บังคับ, พอใจ, เคารพ says:
    วันนี้เรามาตั้งหัวข้อกันเหอะครับ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรายังเหลือเวลา แค่สองชั่วโมงนะครับ ห้าทุ่มคือ กำหนดเลิก

    ฝนตกยังต้อง ฟ้าร้องยังถึง says:
    หัวข้ออะไรดีเอ่ย
    บุญ บาป และ กรรม คือ อะไร
    ทำบุญ กับทำทานเหมือนกันเปล่าค่ะ
    พระปิยะลักษณ์ ปญฺญาวโร says:
    ทานเป็นส่วนหนึ่งของการทำบุญ

    การนั่งสมาธิคือการทำบุญเปล่าค่ะ
    ใช่จ๊ะ เป็นวิธีหนึ่งในการทำบุญ วิธีการทำบุญมี ๑๐ อย่าง
    เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐

    บุญ(กรรม)หนักสุดคือการนั่งสมาธิ วิปัสสนาหรือเปล่าค่ะ
    ใช่จ๊ะ บุญสูงสุด คือ การเจริญวิปัสสนา
    ถ้าเคยทำกรรมไว้ที่เป็นมโนกรรม ถือว่าบาปเปล่าค่ะ
    กรรมนั้นมี ๓ ทางด้วยกัน คือกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ซึ่งถือเป็นบุญหรือบาปได้ทั้ง ๓ ทาง
    แค่คิดไม่ดีกับคนอื่น ก็บาปเหรอค่ะ
    ใช่
    การกระทำทุกอย่างเป็นกรรมใช่ไหมครับ ไม่ว่าทำอะไรก็ตามนั่นก็ถือว่าเป็นกรรมใช่ไหมครับ แล้วกรรมก็มีทั้งกรรมที่มีบาป กับ กรรมที่ไม่เป็นบาป ใช่ไหมครับ
    จะเป็นกรรมได้ จะต้องมีเจตนา(ความตั้งใจ) ในการกระทำกรรมนั้นก่อน จึงจะเป็นกรรม
    แบบนี้ถ้าไม่เจตนาก็ไม่เป็นกรรม??
    เช่น เราเดินไป ไม่เห็นมด แต่เหยียบมดตาย อย่างนี้ไม่ใช่กรรม คือ เราไม่ได้ทำกรรมนั่นเอง แต่มดตายด้วย อำนาจวิบากกรรมของเขาเอง
    งั้นแสดงว่าถึงมดตายแต่เราไม่เจตนา ก็ไม่เป็นบาป ใช่ไหมครับ
    ใช่ ไม่บาป
    กรรมนั้นต้องมีเจตนาถึงจะเป็นบุญหรือบาปใช่ไหมครับ เจตนานั้นเกิดขึ้นกับใจ แสดงว่าบุญหรือบาปท่านก็ยึดถือว่าขึ้นอยู่กับใจเช่นกันใช่ไหมครับ ถ้าเราทำให้พ่อแม่เป็นห่วงนี่ถือว่าเป็นบาปหรือเปล่าครับ ถ้าเราทำไม่ผิด แต่พ่อแม่เป็นห่วง เป็นกรรมหรือเปล่าครับ แต่ผลของการกระทำนี้ทำให้พ่อแม่ไม่สบายใจนะครับ และอาจมีผลต่อการดำเนินชีวิตของพ่อแม่เช่นกัน เพราะมัวแต่ห่วงครับ
    ขึ้นกับเจตนาว่าเราต้องการให้ท่านเป็นห่วงหรือไม่ หรือว่าเรารู้ว่าท่านจะเป็นห่วงแต่ก็ยังทำ อย่างนี้ก็เป็นกรรมนะ เพียงแต่ว่าถ้าเราทำดีแล้วท่านเป็นห่วง แม้เราจะรู้ แต่นั่นก็เป็นบุญ แต่ถ้าเราทำบาป แม้ท่านจะเป็นห่วงหรือไม่ก็ตาม นั่นก็เป็นบาป ในส่วนที่ว่าถ้าเราทำดีแล้วท่านเป็นห่วง เราก็รู้ว่าท่านเป็นห่วงแต่ก็ยังทำ นั่นถือว่า เราก็ยังเป็นบุญอยู่นั่นเอง แต่ทว่า การที่ท่านเป็นห่วงหรือเสียใจนั้น เป็นวิบากกรรมที่ไม่ดีของท่านเอง อาจเพราะท่านยังไม่มีปัญญาเพียงพอ แต่ในส่วนของเรา เมื่อเรารู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้นดี ไม่ผิดอะไร ก็ควรจะทำได้ มิฉะนั้น เราจะทำความดีนั้นได้อย่างไร บุญกุศลจะเกิดได้อย่างไร ถ้าเรามัวแต่กังวลใจว่าท่านจะชอบหรือไม่ชอบ
    ดังนั้นเราต้องทำให้ท่านมีปัญญาใช่ไหมครับ ต้องพยายามทำให้ท่านเข้าใจอย่างที่เราเข้าใจใช่ไหมครับว่าเป็นสิ่งที่ดี และทำให้ท่านเห็นว่ามันดีจริง ๆ
    แต่ความจริงแล้ว การที่เราทำดีทั้งที่รู้ว่าท่านจะไม่สบายใจนั้น ก็ถือเป็นกรรมเหมือนกันนะ เรียกว่า กตัตตาวาปนกรรม, คำว่า กตัตตาวาปนกรรม คือ กรรมที่กระทำลงไป โดยไม่ได้มีเจตนาให้เกิดผลอย่างนั้นขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นบุญหรือบาปเกิดขึ้นเช่นกัน แต่ในที่นี้ มักเกิดขึ้นเนื่องจากจิตใจของเราหวั่นไหวไปตามผลที่เกิดขึ้นตามมา แม้ว่าเราจะไม่ตั้งใจให้เกิดก็ตาม, ซึ่งการที่เรามีจิตใจหวั่นไหวในตามทุกข์-สุขของผู้อื่นนั้น ถือว่า เป็น กรุณาจิต ซึ่งเป็นบุญอย่างหนึ่ง แต่ทว่า ขณะเดียวกัน เราก็อาจเกิดความเศร้าหมองในใจขึ้นมาด้วยเช่นเดียวกัน เพราะเราสงสารเขา เห็นใจเขา จนบางครั้งถึงกับอาจทำให้เราร้องไห้ออกมาก็ได้ นี่ก็เริ่มเป็นบาปแล้ว คือ บาปในใจเรา เพราะใจของเราเศร้าหมองไป
    บุญ คือ ความสดชื่นของใจ บาป คือความเศร้าหมองของใจอย่างนั้นใช่ไหมครับ ถ้าหากทำอะไรแล้วใจเรารู้สึกดี สดชื่น ก็แสดงว่าเป็นบุญใช่ไหมครับ
    ฉะนั้น ในขณะที่ทำอะไรอย่างหนึ่งลงไป ก็อาจจะมีทั้งส่วนบุญและบาปปะปนกันไปมากมาย ในขณะใดจิตของเราผ่องใสเบิกบานก็เป็นบุญ ในขณะใดจิตของเราเศร้าหมองก็เป็นบาปขึ้นมา ซึ่งสิ่งที่จะเป็นปัจจัยอันสำคัญที่จะทำให้จิตของเราไม่ต้องหวั่นไหวเป็นทุกข์ใจในตามความทุกข์ของผู้อื่น ก็คือตัวปัญญานี่เอง
    ปัญญาจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นเตือนและตักเตือนเรา ให้เห็นสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ในแง่ที่ว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมมีกรรมเป็นของๆ ตน บุคคลกระทำความดี ย่อมได้ผลดี กระทำความชั่ว ย่อมเกิดผลชั่วตามมา
    ในส่วนของเรานั้น เราย่อมสามารถกระทำหรือช่วยเหลือเขาได้มากที่สุดตราบเท่าที่จะไม่กระทบถึงธรรม คือ ความดีงาม ความถูกต้องทั้งหลาย ซึ่งเขาจะชอบใจหรือไม่ชอบใจนั้น เราก็จะต้องยอมรับ เรียกว่า วางจิตเป็นอุเบกขา เมื่อสิ่งทั้งหลายนั้นถูกต้อง เป็นไปตามธรรมแล้ว

    ร่วมไว้อาลัย says:
    หลวงพี่ค่ะ...ยกตัวอย่างว่า.....มีเพื่อนคนหนึ่งที่เค้ามีจิตใจริษหา อยากจะดึงเค้าให้รู้ถึงสิ่งที่ดี-ไม่ดี เราจะทำยังงัยดีค่ะ ในเมื่อชวนเค้าเข้าวัดแต่เค้าไม่สนใจเลย กลับมาว่าเราด้วยซ้ำ ......

    การจะชักชวนผู้อื่นในสิ่งที่ดีนั้น เราจะต้องรู้ความต้องการของเขาก่อน เรียกว่า เราต้องเข้าใจเขาให้มากขึ้น เข้าไปยืนอยู่ข้างเดียวกับเขาก่อน แล้วจึงค่อยชักชวนเขาให้เขามายืนข้างเราภายหลัง
    หลายครั้งที่เราดีกับเค้า แต่สุดท้ายที่ได้มา เค้าก็ทำให้เราเสียใจทุกครั้ง จนปัญญาแล้วคะ
    ในกรณีที่เรารู้สึกว่า เราทำดีกับเขาแล้ว แต่เขากลับทำร้ายเรา ในกรณีนี้ พระพุทธองค์ทรงให้หลักไว้ว่า เราจะช่วยเหลือเขาได้ ในฐานะที่เราจะยังคงไม่เดือดร้อนหรือเกิดอกุศลจิตตามมา, หากเรารู้ว่า เราเข้าไปช่วยเหลือหรือชักจูงแล้ว จะเป็นเหตุให้เราเกิดอกุศลจิตขึ้น เราจะต้องรู้จักประคับประคองใจของเราให้ดี หรือถ้าทำไม่ได้ก็ต้องเลี่ยงออกมาก่อนจะดีกว่า
    ถ้าคิดผิดทาง การวางตัวต่อกันก็จะผิด says:
    นิมนต์ท่านเอกชัยเจ้าค่ะ

    TANAJARO says:
    นมัสการครับพระอาจารย์ ขอร่วมวงด้วยคน
    นมัสการครับ นิมนต์
    ขอเรื่องบุญต่อนะครับ คือว่า เวลาทำบุญนี้ เรามีการอุทิศบุญให้แก่ผู้อื่นได้ใช่ไหมครับ ทีนี้ในทางบาป เราสามารถอุทิศให้ผู้อื่นได้ด้วยหรือไม่ครับ
    ใช่จ๊ะ การอุทิศบุญให้ผู้อื่นนั้นทำได้ แต่เขาจะได้รับบุญนั้นก็ต่อเมื่อ เขาต้องร่วมอนุโมทนาบุญด้วยเท่านั้น
    อนุโมทนาคือ การยินดีในบุญนั้นใช่ไหมครับพระอาจารย์ การอนุโมทนาบุญ คือการรับบุญนั้นไปใช่ไหมครับ ถ้าหากอุทิศแล้วเขาไม่อนุโมทนาก็แสดงว่าเขาไม่รับใช่ไหมครับ แล้วถ้าผู้ที่อุทิศให้ไม่รู้ เขาก็ไม่ได้รับบุญใช่ไหมครับ
    การอนุโมทนาบุญ คือ การยินดีในความดีหรือความสำเร็จที่ผู้อื่นได้กระทำไป ซึ่งตามหลักพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุญนั้นจะต้องกระทำเอง ทำแทนกันไม่ได้ ในส่วนของบุญที่เรากระทำด้วยการให้ทานนั้น เป็นบุญของเรา การอุทิศส่วนบุญให้ผู้อื่น ก็เป็นบุญของเรา แต่ทว่า ในส่วนของผู้อื่นเขาจะได้บุญที่เราอุทิศไปให้ ก็ต่อเมื่อ เขาจะต้องกระทำบุญนั้นเอง ด้วยการอนุโมทนาบุญที่เราได้กระทำไป
    อย่างเราตักบาตรแทนเค้าก็แสดงว่าเค้าก็ไม่ได้รับบุญนั้นใช่มั้ยค่ะ
    ถ้าเราตักบาตรแทนเขา เขาจะต้องรับรู้ด้วย และอนุโมทนาบุญนั้นด้วยจึงจะเป็นบุญ
    แล้วการแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์อย่างนี้ละครับ แสดงว่าพวกสัตว์ก็ไม่ได้บุญใช่ไหมครับ เพราะว่าพวกสัตว์ไม่รับรู้บุญที่เราได้ทำ และไม่ได้อนุโมทนาครับ หรือว่าพวกสัตว์อนุโมทนาบุญกับเราได้เช่นกันครับ
    การแผ่เมตตา ถือเป็นการกระทำบุญอย่างหนึ่ง เรียกว่า เป็นบุญที่เกิดขึ้นจากการเจริญภาวนาให้จิตของเราเป็นกุศล เพราะมีเมตตาจิตต่อสัตว์ทั้งหลาย, เมื่อสัตว์ทั้งหลายหรือใครก็ตามรับรู้การแผ่เมตตาจิตของเรา แล้วถ้าเขายินดีในความดีที่เรากระทำ ก็เรียกว่า เขาร่วมอนุโมทนาบุญด้วย ก็จะเกิดบุญแก่เขาด้วยเช่นเดียวกัน
    ที่นี้จะขอกล่าวถึงวิธีการทำบุญบ้างล่ะนะ เพื่อเป็นการทบทวนความทรงจำ เพราะบางท่านก็อาจลืมไปแล้วก็ได้
    วิธีการทำบุญ (บุญกิริยาวัตถุ) มี ๑๐ ประการ คือ
    ๑. ทานมัย การให้ทาน
    ๒. สีลมัย การรักษาศีล
    ๓. ภาวนามัย การเจริญจิตตภาวนา(ทำสมาธิ)
    ๔. อปจายนมัย การอ่อนน้อมถ่อมตน เช่น การไหว้พระ หรือการไหว้ผู้ใหญ่
    ๕ เวยยาวัจจมัย การช่วยเหลือกิจการงานของผู้อื่น
    ๖ ปัตติทานมัย การอุทิศส่วนบุญให้ผู้อื่น
    ๗ ปัตตานุโมทนามัย การอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นได้กระทำ
    ๘ ธัมมัสสวนมัย การฟังธรรม
    ๙ ธัมมเทสนามัย การแสดงธรรม
    ๑๐ ทิฏฐุชุกรรม การศึกษาให้เกิดสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ

    ถ้าเราทำบุญไปแล้วค่อยมาบอกเค้าว่าเราทำบุญแทนเค้าหล่ะคะ ได้มั้ยค่ะ
    ได้จ๊ะ
    เวลาเราทำบุญต้องตั้งเจตนาแน่วแน่ใช่เปล่าค่ะ
    เจตนาที่ตั้งในขณะทำบุญนั้นหมายถึง มีความตั้งใจในการกระทำนั้นนั่นเอง
    ถ้าไม่ตั้งใจมาก ก็ไม่ค่อยได้บุญหรือค่ะ
    ท่านกล่าวว่า เจตนาในการกระทำบุญนั้น จะมีผลมากมีอานิสงส์มากขึ้นต่อเจตนาที่บริบูรณ์ใน ๓ กาล
    ๑. ปุพเพเจตนา เจตนาก่อนการให้
    ๒. มุญจนเจตนา เจตนาระหว่างการให้
    ๓. อปราปรเจตนา เจตนาหลังการให้

    ต้องสมบูรณ์ทั้ง ๓ กาล
    อาจกล่าวย่อๆ ว่า ก่อนให้ก็มีความยินดี ระลึกถึงประโยชน์ในการให้นั้น ระหว่างให้ก็มีความตั้งใจ มีจิตสงบเป็นสมาธิ หลังให้ก็มีจิตยินดี มีความชื่นชม ไม่มีความเสียดาย
    Kunrapat P. Spirit of Mercy, Forgive, Truth and Love says:
    ผมชื่อเบียร์ครับ เผอิญน้องฝ้ายเขาแนะนำมา เลยขอเข้าร่วมฟังด้วยนะครับ ^^

    กรุณาอธิบายถึง การอุทิศส่วนกุศลด้วยครับ เปรียบกับปัตติทานมัย
    การอุทิศส่วนกุศลนั่นล่ะ คือ ปัตติทานมัย, คำว่า ปัตติทานมัย นั้น คือ การอุทิศส่วนบุญหรือผลแห่งความดีนั้นให้แก่บุคคลอื่น ปรารถนาที่จะให้บุคคลอื่นได้รับบุญหรือความสุขนั้นร่วมกันไปด้วย ซึ่งการอุทิศส่วนบุญนั้น สามารถอุทิศให้ได้ทั้งกับผู้ที่มีชีวิตและผู้ที่ตายไปแล้ว
    การอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่มีชีวิตนั้น คือ การที่เราไปบอกแก่เขา ให้เขารู้ว่าบุญที่เรากระทำนี้เราขออุทิศให้แก่เขาด้วย อย่างนี้เป็นต้น
    ถ้าเขายินดีในการกระทำบุญที่เราได้กระทำแล้ว ด้วยจิตที่ยินดีในการอุทิศส่วนบุญนั้น ไม่ว่าเขาจะกล่าวออกมาว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...