การสวดปาฏิโมกข์ต่างจากการสังคายนาอย่างไร?

ในห้อง 'พระไตรปิฎก' ตั้งกระทู้โดย oat0813472244, 31 มีนาคม 2020.

  1. oat0813472244

    oat0813472244 ศูนย์เผยแพร่พระพุทธศาสนาไตรลักษณ์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2019
    โพสต์:
    374
    ค่าพลัง:
    +61
    art_42354851.jpg
    การสวดปาฏิโมกข์ต่างจากการสังคายนาอย่างไร?

    การสวดปาฏิโมกข์ คือการ ว่าปากเปล่า หรือการสวดข้อบัญญัติทางพระวินัย
    ๑๕๐ ข้อในเบื้องแรก และ ๒๒๗ ข้อในกาลต่อมาทุกๆ กึ่งเดือน หรือ ๑๕ วัน เป็นข้อบัญญัติ
    ทางพระวินัย ที่ให้พระภิกษุทั้งหลายต้องลงฟังการกล่าวทบทวนข้อบัญญัติทางพระวินัยนี้
    ทุก ๑๕ วัน ถ้าขาดโดยไม่มีเหตุสมควร ต้องปรับอาบัติ การสวดปาฏิโมกข์นี้เป็นตัวอย่างอันหนึ่ง
    ของการบังคับให้ท่องจำ ซึ่งข้อบัญญัติทางพระวินัย แต่ไม่ใช่ทุกท่านสวดพร้อมกัน คงมีผู้สวด
    รูปเดียว รูปที่เหลือ คอยตั้งใจฟัง และช่วยทักท้วงเมื่อผิด



    ส่วนการสังคายนานั้น แปลตามรูปศัพท์ว่า ร้อยกรอง คือ ประชุมสงฆ์จัดระเบียบ
    หมวดหมู่พระพุทธวจนะ แล้วรับทราบทั่วกันในที่ประชุมนั้นว่าตกลงกันอย่างนี้ แล้วก็มีการท่องจำ
    นำสืบต่อๆมาในชั้นเดิม การสังคายนาปรารภเหตุความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา จึงจัดระเบียบ
    หมวดหมู่พระพุทธวจนะไว้ ในครั้งต่อๆ มาปรากฏมีการถือผิด ตีความหมายผิด ก็มีการชำระ
    วินิจฉัยข้อที่ผิด ตีความหมายผิดนั้น ชี้ขาดว่า ที่ถูกควรเป็นอย่างไร แล้วก็ทำการสังคายนา
    โดยการทบทวนระเบียบเดิมบ้าง เพิ่มเติมของใหม่ อันเป็นทำนองบันทึกเหตุการณ์บ้าง จัดระเบียบ
    ใหม่ในบางข้อบ้าง ในชั้นหลังๆ เพียงจารึกลงในใบลาน การสอบทาน ข้อผิดในใบลาน
    ก็เรียกกันว่า สังคายนา ไม่จำเป็นต้องมีเหตุการณ์ถือผิด เข้าใจผิดเกิดขึ้น แต่ความจริง
    เมื่อพิจารณารูปศัพท์แล้ว การสังคายนา ก็เท่ากับการจัดระเบียบ การปัดกวาดให้สะอาด ทำขึ้น
    ครั้งหนึ่ง ก็มีประโยชน์ ครั้งหนึ่ง เหมือนกันทำความสะอาด การจัดระเบียบที่อยู่อาศัย



    การสังคายนา จึงต่างจากการสวดปาฏิโมกข์ ในสาระสำคัญว่า

    -การสวดปาฏิโมกข์
    เป็นการทบทวนความจำของที่ประชุมสงฆ์ทุกๆกึ่งเดือน เกี่ยวกับข้อปฏิบัติทางพระวินัย


    -ส่วนการสังคายนา
    ไม่มีการกำหนดว่าต้องทำเมื่อไหร่ โดยปกติ เมื่อรู้สึกว่า ควรจัดระเบียบ
    ชำระข้อถือผิดเข้าใจผิดได้แล้ว ก็ลงมือทำตามโอกาสอันสมควร
    แม้เมื่อรู้สึกว่า ไม่มีการถือผิดเข้าใจผิด แต่เห็นสมควรตรวจสอบชำระพระไตรปิฎก
    แก้ตัวอักษร หรือข้อความที่วิปลาสคลาดเคลื่อน ก็ถือกันว่า เป็นการสังคายนาฯ.


    คัดลอกจากหนังสือ : พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน

    e_1568559.jpg
    บทความจากหนังสือ : พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน
     

แชร์หน้านี้

Loading...