"ศาสนาจะเจริญขึ้น ก็อาศัยเราประพฤติปฏิบัติ เรากระทำอย่างนี้มันก็เจริญได้ เมื่อเราไม่ประพฤติไม่ปฏิบัติ ศาสนาก็เสื่อม" หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
"ถ้าคนเรามีสติพิจารณาสักหน่อยว่า แม้แต่ร่างกายที่มีหนังหุ้มอยู่อย่างนี้ เราก็ขอยืมมาจากธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และก็จะต้องส่งคืน ให้กับดิน น้ำ ลม ไฟ อยู่ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ถ้ามีสติรู้ได้เช่นนี้เสมอๆ โลกก็คงจะวุ่นวายน้อยลง กิเลสคนเราคงไม่กำเริบมากเท่าไรนักหนา" หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
"วันหนึ่งๆ ขอให้อยู่กันด้วยศีลด้วยธรรม มีสติธรรม ปัญญาธรรม เป็นเครื่องกลั่นกรองจิตใจกายวาจาอยู่โดยสม่ำเสมอเถิด อย่าอยู่กันด้วยความอิจฉาพยาบาท อาฆาตจองเวรและเคียดแค้นแก่กันและกัน ... เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นฟืนเป็นไฟ ไม่ควรนำมาเผากันสำหรับมนุษย์เรา" หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
พุทโธ เกิดแล้ว ไม่มีดับ เอาอะไร มาทับ ก็ไม่ได้ รู้เท่าทัน ทั้งภายนอก ภายใน ยืนเดินนั่งนอน มั่นใจ ในพุทโธ หลวงปู่พิศดู
รอวันที่ชีวิตหมดปัญหาแล้วหวังว่าจะภาวนาให้ดี คงไม่มีวัน...เพราะชีวิตกับปัญหา...เป็นของคู่กัน หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
ถ้าแพ้เพื่อชนะ แต่อย่าชนะด้วยความสะใจ การให้อภัยคือพระโพธิสัตว์ ทุกจิตวิญญาณต้องการความเห็นใจ เมตตาคือธารา ปรารถนาสู่สันติ ร่างกายเป็นของโลก ทรัพย์สมบัติเป็นของโลก บาปบุญคือผู้ติดตาม ความกตัญญูคือบทเรียนบทแรกในยามที่ลำบาก
จงคิดอยู่เสมอว่า เรามีเวลาเหลืออยู่แค่วันนี้ หรือชั่วโมงนี้ จะได้รีบกระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ มิใช่มานั่งโกรธ นั่งเกลียดนั่งคิดริษยากัน เสียเวลาโดยเปล่าประโยขน์ ...หลวงพ่อจรัญ
พระพุทธเจ้าสอนให้เราดูตัวเอง ให้ใช้ปัญญาพิจารณาทุกข์ ที่เรามาปฏิบัตินี้ก็เพื่อมาดูตัวเอง เพื่อพัฒนากาย พัฒนาจิต ตั้งสติอารมณ์ การปฏิบัติต้องผ่านความยากลำบาก เพื่อที่จะได้รู้ว่าทุกข์ของเราเป็นเช่นนี้แหละหนอ คนอื่นก็มีทุกข์เหมือนกับเรา
พระท่านสอนว่า... "จงให้อย่างเทียนไข ที่ยอมเผาตัวเอง และไม่หวังอะไรตอบแทน ให้แสงสว่าง เป็นประโยชน์กับผู้อื่นเท่านั้น หมดแล้วก็หมดกัน"
การทำความดีต้องเชื่อมั่นในความดี อย่าได้สนใจในปากคนอื่น คนอื่นจะพูดอย่างไรก็ได้ อาจจะพูดเพราะความอิจฉา หรือพูดเพราะประจบ การทำความดีจึงไม่ได้อยู่ที่คำพูดของใคร แต่การกระทำทุกอย่างได้ถูกบันทึกไว้แล้วด้วยจิตใจของเราเอง
"ทำความดีนั้นดี แต่อย่าหลงดี" การทำความดีนั้นต้องทำด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยความถูกต้อง อย่างที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านสอนไว้ว่า ทำความดีต้องถูกที่ ถูกเวลา ถูกตัวบุคคล และต้องเสมอต้นเสมอปลาย...
"คุณจะไมสามารถจับเสาต้นที่สองได้ หากคุณยังไม่ปล่อยมือจากเสาต้นแรก" การยึดติดต่อสิ่งๆ ใดไม่สามารถทำให้เราก้าวเดินต่อไปได้...
การที่เรามาฝึกสตินั้น เป็นการเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอสำหรับสิ่งที่กำลังจะเกิด เพื่อให้มีสติมีปัญญหาในการเผชิญหน้าและแก้ไขในสิ่งต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้น จะได้รู้จักควบคุมอารมณ์ควบคุมการกระทำของตัวเราเองได้...
เวลานอนต้องนอน เวลางานต้องทำงาน เวลากินต้องกิน เวลาครอบครัวต้องอยู่กับครอบครัว รู้จักหน้าที่รู้จักแบ่งเวลา อย่าเอาเวลางานไปเล่น อย่าเอาเวลาครอบครัวไปทำงาน อย่าทำอะไรที่ไม่ใช่เวลาของมัน ดูให้ดีว่าเวลานี้ควรทำอะไรแล้วชีวิตก็จะมีความสุขเพิ่มขึ้น...อย่าลืมแบ่งเวลามาทำความดีด้วยนะ
"ทำงานหาเงิน ใช้ได้เพียงชาตินี้ แต่ถ้าทำดีหาบุญ ใช้ได้ทุกชาติไป" อย่ามัวแต่คิดจะหาเงินโดยไม่สนใจความถูกผิด...
คุณค่ามีอยู่ทุกสิ่ง แต่อาจยังไม่ถึเวลา เช่นเทียนไขที่ไร้ค่ายามมีแสงสว่าง หากวันใดที่ไฟดับก็มีค่าขึ้นมาทันที...แสงเทียนอันน้อยนิดก็ทำให้เห็นในที่มืดได้ดีขึ้น สติอันน้อยนิดก็สามารถแก้ปัญหาต่างได้มากขึ้นเช่นกัน...
ยากดีมีจนไม่สำคัญ ขออย่าได้จนน้ำใจ อย่าจนความดี อย่าจนปัญญา เรียนให้รู้ ดูให้จำ ทำให้จริง เรียนไม่รู้ดูไม่จำทำไม่จริง มัวแต่ฟังคนนั้นคนนี้ ปล่อยไปตามอารมณ์ตามใจตน แล้วท่านจะได้อะไร..