สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    กิจอันใดอันพระอริยเจ้า บรรลุบท กระทำบำเพ็ญแล้ว กิจอันนั้น กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำบำเพ็ญ

    กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ ซื่อตรง เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง

    เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจธุระน้อย ประพฤติเบากายจิต

    เป็นผู้มีอินทรีย์อันสงบระงับแล้ว มีปัญญา เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย

    วิญญูชน ติเตียนชนอื่นทั้งหลายได้ด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย

    ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

    สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ยังเป็นผู้สะดุ้ง(คือมีตัณหา) หรือเป็นผู้มั่นคง (ไม่มีตัณหา) ทั้งหมดไม่เหลือ

    เหล่าใดเป็นทีฆชาติหรือโตใหญ่ หรือปานกลาง หรือต่ำเตี้ย หรือผอม หรืออ้วนพี

    เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็นก็ดี

    เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ดี

    ที่เกิดแล้ว หรือกำลังแสวงหาภพอยู่ก็ดี

    ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด

    สัตว์อื่นไม่พึงข่มเหงสัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ใดๆ เลย

    ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธ หรือความคุมแค้น

    มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน ด้วยยอมสละชีวิตของตนได้ ฉันใด

    พึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณ ในสัตว์ทั้งหลาย แม้ฉันนั้น

    บุคคลพึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณ ไปในโลกทั้งสิ้น

    ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง

    เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู

    ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด

    ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น

    บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหารในพระศาสนานี้

    บุคคลผู้มีเมตตา ไม่เข้ายึดถือทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค)

    นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก

    ย่อมไม่ถึงความนอน(เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียว



    https://youtu.be/QxPyyCvynLA
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2015
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ยังมีบุคคลตลอดจนเหล่าหมู่สัตว์อีกมากมาย ล้วนแต่ต้องเผชิญทุกข์และตายไปกับความอยากรู้อยากเห็นอันลามกนั้น เพื่อประโยชน์อันหามิได้ โดยหารู้ไม่ว่ามีภัยอันใหญ่หลวงรอตนอยู่เบื้องหน้า ให้ต้องทนทุกข์ทนทรมานไม่จบไม่สิ้น ช่างน่าเวทนา
     
  3. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,159
    ค่าพลัง:
    +1,231
    ผู้ประพฤติธรรมควรเป็นคนซื่อตรง ไม่เจ้ามายา
    ไม่รู้ก็บอกไม่รู้มาคำเดียวเท่านั้น ทำไมต้องพูดจาวกวนเป็นคุ้งเป็นแคว
    ยอมรับมาตรงๆ ยังจะพอให้มองเห็นว่ายังพอมีธรรมอยู่ในหัวใจบ้าง
    นี่พูดจาอ้อมค้อมไม่ยอมรับยิ่งพาให้เห็นว่าไม่มีคุณธรรมอะไรอยู่เลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2015
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ท่านผู้เจริญอันเจริญเข้าสู่นิรทุกข์ทั้งหลายให้ส่งเสริมผู้มีสติปัญญาที่ดี หาใช่ไปส่งเสริมบุคคลผู้มีปัญญาน้อยและเป็นคนพาลไม่ ตนควรรู้ว่าตนเป็นบุคคลเช่นไร?

    สมควรค่าแก่การสงเคราะห์ธรรมตามธรรมหรือไม่ แค่นี้ก็เพียงพอ เห็นทีคงไม่รู้ตน จะจนใจเอง
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    บุคคลผู้ไม่รู้วาทีสูตร กลับอยากสนทนากับผู้รู้วาทีสูตรก็เป็นได้แค่แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ นำไข่กระแทกหิน ไร้สาระ ถ้ามีการสอบคัดเลือกพิจารณากลั่นกรองสติปัญญาของผู้โพส คงไม่มีโอกาสจับแป้นพิมพ์
     
  6. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,159
    ค่าพลัง:
    +1,231
    หลงอย่างอื่นยังพอแก้ได้ แต่หลงตัวเองนี้มันแก้ยากจริงๆ

    ในเมื่อจิตใจไม่ได้มีคุณธรรมอยู่จริง เหตุใดจึงอ้างว่ามีคุณธรรม เป็นการหลอกลวงตนเองและผู้อื่นอยู่เล่า

    ทางที่จะมองเห็นแสงสว่างในธรรมนั้น ผู้ปฏิบัติจำเป็นต้องปล่อยวางความหลงมายอมรับความจริงก่อน

    ถ้าไม่ยอมรับความจริงอยู่อย่างนี้ ยังสำคัญผิดคิดว่าตนเลิศเลอแล้วเมื่อไหร่จะได้มองเห็นความจริง

    สิ่งที่มองเห็นก็จะเป็นเพียงสิ่งสมมุติที่ตนเองหลงคิดไปเท่านั้น

    เมื่อคนมีกิเลสไม่ยอมรับว่าตนเองยังมีกิเลส แล้วจะประพฤติตนให้พ้นจากกิเลสได้อย่างไร ??
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2015
  7. บุคคลทั่วฺไป

    บุคคลทั่วฺไป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    2,159
    ค่าพลัง:
    +1,231
    การหลงยึดติดกับสำนวนก็อีกอย่างหนึ่ง

    นั่นไม่ใช่สำนวนของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่เป็นสำนวนที่เกิดจากการแปลภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทย ซึ่งเป็นไปตามหลักไวยากรณ์เท่านั้น

    แล้วคนผู้หลงไม่รู้จริงก็ยึดติดสำนวน เพราะหลงคิดว่าเป็นสิ่งที่เลิศ
    จึงพยายามพูดจาโดยเลียนแบบจากสำนวนนั้นทุกสิ่งทุกอย่าง เหอะๆ

    ทำไมไม่สังเกตครูบาอาจารย์ผู้เข้าถึงธรรมท่านเทศน์ท่านสอนยังไงบ้าง
    ท่านไม่เทศน์โดยพยายามเลียนแบบสำนวนเพื่อให้ดูเหมือนพระศาสดา
    การสอนธรรมะที่ได้ผลดีคือมุ่งที่ความเข้าใจของผู้ฟัง ไม่ใช่สำนวน

    ผู้ที่พยายามยึดติดกับสำนวน แล้วพยายามพูดจาเลียนแบบให้เหมือนกับ
    สำนวนที่ปรากฏในพระไตรปิฎกคำแปลทุกอย่าง ก็ไม่ต่างอะไรกับสุนัขจิ้งจอกที่พยายาม
    ทำตัวให้เหมือนราชสีห์ เพราะคิดว่าถ้าทำตัวให้เหมือนราชสีห์แล้วตัวเองจะได้เป็นราชสีห์จริง
    ที่แท้ไม่รู้ตัวเลยว่า สำนวนที่ตนพยายามเลียนแบบ มันแค่สำนวนของผู้แปลเท่านั้น
    สำนวนของพระผู้มีพระภาคตรัสเป็นภาษาบาลี ถ้าจะเลียนแบบให้เหมือน
    ก็ต้องผูกคำพูดให้เป็นภาษามคธ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2015
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    48,514
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,049
    ท่านหายไปหลายวันเลยนะ(เกือบเดือน)
     
  9. กฮ

    กฮ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    430
    ค่าพลัง:
    +415
    ตพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนเป็นภาษาบาลี แต่บาลีเป็นภาษาที่รักษาความหมายของคำสอน สอนตามบาลีนั่นถูกแล้ว ถ้าถอดความหมายของอักษรแต่ละตัวได้ถูกต้อง
     
  10. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    เพิ่มเติม ความเห็นบน ของ กฮ
    ถ้าจะให้ดี ควรเข้าใจ รู้ความหมาย หรือจะเข้าใจและพูดเป็นภาษาไทยก็ได้
    และควรทำตาม จนสามารถกล่าวคำที่มีอยู่ใน บทสวด นั้นโดยความเป็นสัจจะ ความจริง อย่างถูกต้อง โดยอาจจะไม่ต้องไปสนใจกับทำนองให้มากไปก็ได้
    คือถือให้ เป็นสรณะโดยความเป็นสรณะ (ส่วนนี้ ว่างๆผมจะอธิบายให้หรือ pm ตอบ)

    (ข้อความต่อไปนี้ ไม่ได้ว่าเจาะจง จขกท นะ พูดโดยรวม โดยความเป็นจริงแบบกะให้โดนคนทั่วไป หรือ แถวๆนี้ที่เผลอเปิดมาอ่าน ยังไงก็ต้องโดน เชื่อซิ ส่วนใครจะดิ้นกับความจริงก็สุดแท้แล้วแต่กันไป)
    คือแบบไม่ใช่ปากบอกว่า มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง แต่แล้วก็ยังไปเที่ยวดิ้นพล่าน ตามหา เสาะแสวง กราบไหว้ เคารพบูชา เทพ เทวดา พรหม อื่นๆ รวมถึงเทพในลัทธิอื่นๆ ฤกษ์งามยามดี ฮวงจุ้ย อะไรต่างๆ ประมาณว่าใครบอกว่าอะไรดี ก็อยากจะไปกราบนับถือซะหมด
    แบบเหมาเอาซะหมดเลยนะไอ้สิ่งที่เขาบอกว่าดีๆ

    บางพวก มีความรู้หน่อยๆ ก็อ้างไปว่าเป็น เทวดานุสติ บ้าง
    ซึ่งเอาจริงๆคือ ระลึกถึงความดี การกระทำที่ทำให้บุคคลเป็นเทวดา
    แต่ก็สุดแท้แล้วแต่จะอ้างกันไปแหละ
    มีตั้งแต่ไหว้เพราะบนบานร้องขอ ไปถึงบอกว่าไหว้เพราะเหมือนการไหว้ผู้ใหญ่ ไหว้ตามประเพณี ผู้ใหญ่บรรพบุรุษทำตามกันมา(แต่ทำไมในสมัย บรรพบุรุษของบรรพบุรุษๆๆๆ กลับไม่ได้สอน ไม่ได้ทำ)

    แถมเทพบางพวกในบางลัทธิ ตามประวัติที่เขียนๆกันมา ดูแล้วไม่มีคุณสมบติที่จะเป็นเทวดาเลย ก็ยังกราบกันซะเยอะ

    รวมถึง แบบพวกสวดไปโดยไม่รู้ความหมายไรเลย แต่สวดเอาเพื่อให้ขลัง ให้รู้สึกว่าดี อาราธนามาให้คุ้มครอง หรือจะอ้างว่าให้มีสติจดจ่อก็เป็นสมาธิ อะไรก็แล้วแต่
    หรือจะเรียกว่าพวก ปทปรมะ ก็ได้ แบบจำได้แต่ถ้อยคำ แต่ไม่รู้ความหมาย

    ก็คงมีให้เห็นอยู่ทั่วไป พวกที่ดิ้นพล่าน ตามหา-ครอบครอง-เชื่อถือ-ทำตาม
    ในสิ่งเขาบอกว่าดี หรือสิ่งที่คิดว่าดี ที่จะมาบันดาล ช่วยเหลือ สนับสนุน คุ้มครอง เป็นต้น

    เพิ่มเติม
    ปทปรมะ > บางท่านได้นำมา ยกเทียบ เป็นบัวเหล่าที่ 4 บัวที่ยังจมอยู่ในโคลนตม
    แบบเพิ่มขึ้นมาจากที่มีกล่าวไว้ 3 คงเพิ่มไว้มาแบบกะดูถูกคนเต็มที่
    ว่าอยู่พวกใต้โคลน สอนไป ยังไงก็ไม่มีทางที่จะรู้ธรรม ทำนองนี้เป็นต้น
    คือแล้วแต่คนจะนิยามว่า บัวใต้โคลนตม คือยังไง

     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คนใดห่อปลาเน่าไว้ด้วยใบหญ้าคา แม้หญ้าคาของคนนั้นย่อม
     มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป การเข้าไปส้องเสพคนพาล ย่อมเป็นเหมือน
     อย่างนั้น ส่วนคนใดห่อกฤษณาไว้ด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ของ
     คนนั้นย่อมมีกลิ่นหอมฟุ้งไป การเข้าไปส้องเสพนักปราชญ์
     ย่อมเป็นเหมือนอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น บัณฑิตรู้ความ
     สำเร็จผลแห่งตนดุจห่อใบไม้แล้ว ไม่พึงเข้าไปเสพอสัตบุรุษ
     พึงเสพสัตบุรุษ เพราะว่าอสัตบุรุษย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษ
     ย่อมให้ถึงสุคติ ฯ
     
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มหาสุตโสมชาดก
                 ข้าแต่ท่านสุตโสมมหาราช การสมาคมกับสัตบุรุษคราวเดียวเท่านั้น
    การสมาคมนั้นย่อมรักษาผู้สมาคมนั้น การสมาคมกับอสัตบุรุษแม้มากก็รักษาไม่ได้
                 พึงคบกับสัตบุรุษ พึงกระทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ เพราะรู้สัทธรรม
    ของสัตบุรุษ ย่อมมีความเจริญ ไม่มีความเสื่อม
                 ราชรถที่เขาให้วิจิตรเป็นอันดี ยังคร่ำคร่าได้แล แม้สรีระ ก็เข้าถึงความชรา
    ได้เหมือนกัน ส่วนธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เข้าถึงความชรา สัตบุรุษกับสัตบุรุษด้วยกัน
    ย่อมรู้กันได้.
    ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน ฝั่งข้างโน้นของมหาสมุทร เขาก็กล่าวกันว่าไกล
    ข้าแต่พระราชา ธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษทั้งสองนี้ ท่านกล่าวว่า ไกลกันยิ่งกว่านั้นแล.
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จูฬปุณณสูตร




    ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ



    [๑๓๐] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา
    มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี สมัยนั้น พระผู้มีพระ-
    ภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม ประทับนั่งกลางแจ้ง ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ วัน
    นั้นเป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ.

    [๑๓๑] ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์ซึ่งนิ่ง
    เงียบโดยลำดับ จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษ
    จะพึงรู้จักอสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษหรือไม่หนอ.

    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้อนี้หามิได้เลย พระเจ้าข้า.

    พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษ
    ว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ
    นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็
    อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษไหมเล่า.


    ภิ. ข้อนี้หามิได้เลย พระเจ้าข้า.
    พ . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษ ว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ

    นั่นก็ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส.

    [๑๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม
    ของอสัตบุรุษ ภักดีต่ออสัตบุรุษ มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ มีความรู้อย่าง
    อสัตบุรุษ มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ มีการงานอย่างอสัตบุรุษ มีความเห็น
    อย่างอสัตบุรุษ ย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ.


    [๑๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของ
    อสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มี
    โอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษ.

    [๑๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่อยสัตบุรุษอย่าง
    ไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่
    มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม เป็นมิตร
    เป็นสหาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่อ
    อสัตบุรุษ.

    [๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัต
    บุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมคิดเบียดเบียนตนเองบ้าง คิด
    เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง ดูก่อน
    ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ.

    [๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ
    อย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง รู้เพื่อ
    เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเตองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง ดู
    ก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้รู้อย่างอสัตบุรุษ.

    [๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ
    อย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มักพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ
    เจรจาเพ้อเจ้อ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อย
    คำอย่างอสัตบุรุษ.

    [๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษ
    อย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มักเป็นผู้ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอา
    สิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักพระพฤติผิดในกาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้
    แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษ.

    [๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัต-
    บุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้
    แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ผล
    วิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มี
    คุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนิน
    ชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกอื่นให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วย
    ตนเอง ในโลกไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มี
    ความเห็นอย่างอสัตบุรุษ.

    [๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ
    อย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยไม่เคารพ ให้ทานไม่ใช่
    ด้วยมือของตน ทำความไม่อ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่างส่ง ๆ เป็นผู้มีความ
    เห็นว่าไร้ผล ให้ทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่า ย่อม
    ให้ทานอย่างอสัตบุรุษ.

    [๑๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษนั่นแหละ เป็นผู้ประกอบ
    ด้วยธรรมของอสัตบุรุษอย่างนี้ ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิคอย่างอสัต
    บุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้
    มีการงานอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ทานอย่าง
    อสัตบุรุษอย่างนี้แล้ว เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของอสัตบุรุษ ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย ก็คติของอสัตบุรุษคืออะไร คือ นรก หรือกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน.

    [๑๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็น
    สัตบุรุษหรือไม่หนอ.


    ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า รู้ พระเจ้าข้า.

    พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักสัตบุรุษว่าผู้
    นี้เป็นสัตบุรุษ นั้นเป็นฐานะที่มีได้

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัตบุรุษจะพึงรู้จัก
    อสัตบุรุษว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษไหมเล่า.
    ภิ. รู้ พระเจ้าข้า.
    พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูกละ แม้ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้จักอสัตบุรุษ
    ว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ นั้นก็เป็นฐานะที่มีได้.


    [๑๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม
    ของสัตบุรุษ ภักดีต่อสัตบุรุษ มีความคิดอย่างสัตบุรุษ มีความรู้อย่างสัตบุรุษ
    มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ มีการงานอย่างสัตบุรุษ มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ ย่อม
    ให้ทานอย่างสัตบุรุษ.

    [๑๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของ
    สัตบุรุษอย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ
    มีสุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้ง
    หลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ.

    [๑๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างไร
    คือสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่มีศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มี
    สุตะมาก มีความเพียรปรารภแล้ว มีสติตั้งมั่น มีปัญญา เป็นมิตร เป็นสหาย
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่อสัตบุรุษ.

    [๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ
    อย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมไม่คิดเบียดเบียนตนเอง ไม่คิดเบียดเบียนผู้
    อื่น ไม่คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างสัตบุรุษ.



    [๑๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ
    อย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อไม่เบียดเบียนตนเอง รู้เพื่อไม่เบียด
    เบียนผู้อื่น รู้เพื่อไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่าย ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้อย่างสัตบุรุษ.

    [๑๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ
    อย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากคำ
    พูดส่อเสียด งดเว้นจากคำหยาบ งดเว้นจากการเจรจาเพ้อเจ้อ ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ.

    [๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ
    อย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจาก
    อทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
    สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างสัตบุรุษ.

    [๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ
    อย่างไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมี
    ผล ยัญที่บูชาแล้วมีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้วมีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดี
    ทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกอื่นมี มารดามีคุณ บิดามีคุณ สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะ
    มี สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้
    โลกอื่นให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ.

    [๑๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษอย่าง
    ไร คือ สัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยเคารพ ทำความอ่อนน้อมให้ทาน
    ให้ทานอย่างบริสุทธิ์ เป็นผู้มีความเห็นว่ามีผล จึงให้ทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    อย่างนี้แล สัตบุรุษชื่อว่าย่อมให้ทานอย่างสัตบุรุษ.



    [๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษนั่นแหละ เป็นผู้ประกอบด้วย
    ธรรมของสัตบุรุษอย่างนี้ ภักดีต่อสัตบุรุษอย่างนี้ มีความคิดอย่างนี้ มีความ
    คิดอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีความรู้อย่างสัตบุรุษอย่างนี้ มีถ้อยคำอย่างสัตบุรุษ
    อย่างนี้ มีการงานอย่างนี้ มีความเห็นอย่างสัตบุรุษอย่างนี้ ให้ทานอย่างสัต
    บุรุษอย่างนี้แล้ว เมื่อตายไป ย่อมบังเกิดในคติของสัตบุรุษ ดูก่อนภิกษุทั้ง
    หลาย ก็คติของสัตบุรุษคืออะไร คือ ความเป็นใหญ่ในเทวดา หรือความ
    เป็นใหญ่ในมนุษย์.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสภาษิตนแล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.
    จบ จูฬปุณณมสูตรที่ ๑๐
    จบ เทวทหวรรคที่ ๑
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2015
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "ทิพยดนตรีเสียงธรรมอันเป็นสรภัญญะ()ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม() "

    สรภัญญะ [สะ-ระ-พัน-ยะ, สอ-ระ-พัน-ยะ] แปลว่า “การกล่าว[ธรรม] ด้วยเสียง” (หรือ“[ธรรม] อันพึงกล่าวด้วยเสียง”) คือ ใช้เสียงเป็นเครื่องกล่าว หรือ บอกธรรม หมายความว่า แทนที่จะกล่าวบรรยายอธิบายธรรมด้วยถ้อยคำ อย่างที่เรียกว่า “ธรรมกถา” ก็เอาเสียงที่ตั้งใจเปล่งออกไปอย่างประณีตบรรจง ด้วยจิตเมตตา และ เคารพธรรม อันชัดเจนเรียบรื่น กลมกลืน สม่ำเสมอ เป็นทำนองไพเราะ นุ่มนวล ชวนฟัง มาเป็นสื่อ เพื่อนำธรรมที่มีอยู่เป็นหลัก หรือ ที่เรียบเรียงไว้ดีแล้ว ออกไปให้ถึงใจของผู้สดับ

    สรภัญญะเป็นวิธีกล่าวธรรมเป็นทำนอง ให้มีเสียงไพเราะน่าฟังในระดับที่เหมาะสม ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย ตามเรื่องว่า (วินย.๗/๑๙–๒๑/๘-๙) ครั้งหนึ่ง ที่เมืองราชคฤห์ มีมหรสพบนยอดเขา (คิรัคคสมัชชะ) พวกพระฉัพพัคคีย์ไปเที่ยวดู ชาวบ้านติเตียนว่า ไฉนพระสมณะศากยบุตรจึงได้ไปดูการฟ้อนรำ ขับร้อง และ ประโคมดนตรี เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม เมื่อความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงได้ทรงประชุมสงฆ์ และ บัญญัติสิกขาบทมิให้ภิกษุไปดูการฟ้อนรำ ขับร้อง และ ประโคมดนตรี, อีกคราวหนึ่ง พวกพระฉัพพัคคีย์นั้น สวดธรรมด้วยเสียงเอื้อนยาวอย่างเพลงขับ ชาวบ้านติเตียนว่า ไฉนพระสมณะศากยบุตรเหล่านี้จึงสวดธรรม ด้วยเสียงเอื้อนยาวเป็นเพลงขับเหมือนกับพวกเรา ความทราบถึงพระพุทธเจ้า ก็ทรงประชุมสงฆ์ชี้แจงโทษของการสวดเช่นนั้น และ ได้ทรงบัญญัติมิให้ภิกษุสวดธรรมด้วยเสียงเอื้อนยาวอย่างเพลงขับ

    ต่อมา ภิกษุทั้งหลายขัดจิตข้องใจในสรภัญญะ จึงกราบทูลความแด่พระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสรภัญญะ” (อนุชานามิ ภิกฺขเว สรภญฺญ ํ)

    มีเรื่องราวมากหลายที่แสดงว่าสรภัญญะนี้เป็นที่นิยมในพุทธบริษัท ดังตัวอย่าง เรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าว่า (วินย.๕/๒๐/๓๓; ขุ.อุ.๒๕/๑๒๒/๑๖๕) เมื่อครั้งพระโสณะกุฏิกัณณะ ชาวถิ่นไกลชายแดนในอวันตีทักขิณาบถ เพิ่งบวชได้ ๑ พรรษา ก็ลาพระอุปัชฌาย์เดินทางมาเฝ้าที่พระเชตวนารามในกรุงสาวัตถี พอผ่านราตรีแรกได้พักผ่อนมาจนตื่น ใกล้รุ่งสว่าง พระพุทธเจ้าตรัสให้เธอกล่าวธรรมตามถนัด (ดังจะทรงดูว่าเธอได้ศึกษาเล่าเรียนมีความรู้มาเพียงใด) พระโสณะกุฏิกัณณะได้กล่าวพระสูตรทั้งหมดในอัฏฐกวัคค์ (๑๖ สูตร, ขุ.สุ.๒๕/
    ๔๐๘–๔๒๓/๔๘๔–๕๒๓) เป็นสรภัญญะ จบแล้ว พระพุทธเจ้าทรงอนุโมทนาประทานสาธุการว่า เธอได้เรียนมาอย่างดี เจนใจเป็นอย่างดี และ ทรงเนื้อความไว้ถูกถ้วนดี อีกทั้งเป็นผู้มีวาจางามสละสลวย คล่อง ไม่พลาด ทำอัตถะให้แจ่มแจ้ง

    ในคัมภีร์บางแห่งกล่าวว่า สรภัญญะมีวิธีหรือทำนองสวดถึง ๓๒ แบบ จะเลือกแบบใดก็ได้ตามปรารถนา (อง.ฏี.๓/๔๒๑/๙๕) แต่สรภัญญะนี้มิใช่การสวดเอื้อนเสียงยาวอย่างเพลงขับ (อายตกะ
    คีตสร) ที่ทำเสียงยาวเกินไปจนทำให้อักขระเสีย คือ ผิดพลาดไป สรภัญญะมีลักษณะสำคัญที่ว่า ต้องไม่ทำให้อักขระผิดพลาดคลาดเคลื่อน แต่ให้บท และ พยัญชนะกลมกล่อม ว่าตรงลงตัว ไม่คลุมเครือ ไพเราะ แต่ไม่มีวิการ (อาการผิดแปลก หรือ ไม่เหมาะสม) ดำรงสมณสารูป

    โดยนัยที่กล่าวมา จึงถือว่า สรภัญญะ เป็นวิธีแสดง และ ศึกษา หรือ สอนธรรม อีกอย่างหนึ่ง เพิ่มจากวิธีอื่น เช่น ธรรมกถา และ การถามตอบปัญหา

    บางทีก็พูดอย่างกว้างๆ รวมสรภัญญะ เข้าเป็นธรรมกถาอย่างหนึ่ง ดังที่คัมภีร์ยุคหลังๆ บางแห่งบันทึกไว้ถึงธรรมกถา ๒ แบบ คือ

    แบบที่ ๑ ภิกษุรูปแรกสวดตัวคาถา หรือ พระสูตร เป็นสรภัญญะให้จบไปก่อน แล้วอีกรูปหนึ่งเป็นธรรมกถึก กล่าวธรรมอธิบายคาถา หรือ พระสูตรที่รูปแรกสวดไปแล้วนั้นให้พิสดารแบบนี้เรียกว่า สรภาณธรรมกถา

    แบบที่ ๒ สวดพระสูตรเป็นต้นนั้นไปอย่างเดียวตลอดแต่ต้นจนจบ เรียกว่า สรภัญญธรรมกถา (สํ.ฏี.๑/๓๙/๘๙)

    สรภัญญะนี้ เมื่อปฏิบัติโดยชอบ ตั้งเจตนากอปรด้วยเมตตา มีความเคารพธรรม กล่าวออกมา ก็เป็นทั้งธรรมทาน และ เป็นสัทททาน (ให้ทานด้วยเสียง หรือ ให้เสียงเป็นทาน) พร้อมทั้งเป็นเมตตาวจีกรรม

    ในภาษาไทย เรียกทำนองอย่างที่สืบกันมา ในการสวดคาถาหรือคำฉันท์ว่า “สรภัญญะ” คือ สรภัญญะกลายเป็น ชื่อของทำนองหนึ่งที่ใช้ในการสวดสรภัญญะ
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสรภัญญะ” (อนุชานามิ ภิกฺขเว สรภญฺญ ํ)


    โปรดระบุด้วยว่า กถาใด? หรือเหมารวมหมด ด้วยคิดว่าตนศึกษามามากพอจะวิสัชนาหรือเพราะเกิดทันระลึกชาติได้


    โอกาสจะบรรลุธรรมเจริญในพระสัทธรรมคงยากแล้ว! ความคิดปรามาสเช่นนั้น ช่างน่าเวทนา! เฮ้อ!

    เพราะผลกรรมที่สั่งสมมาของสัตว์โดยแท้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2015
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    หยุดพัก เกี่ยวข้าว สหายธรรม ถนอมจิต รักษาธรรม.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG3123.jpg
      IMG3123.jpg
      ขนาดไฟล์:
      238.1 KB
      เปิดดู:
      89
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    --------------------------------------------------------------------------------------------------
    ในแผ่นดินโลกธาตุในเวลานี้ ไม่มีบุคคลผู้ใดที่จะมีความสามารถสอนใครๆ หรือสอนเราเรื่องปฎิสัมภิทาญานได้อย่างถูกต้อง นอกจากพระธรรมคำสั่งสอนในพระไตรปิฏกพระธรรมคำภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม เราไม่มีอาจารย์นอกจากพระไตรปิฏก ทิพยวิเศษบริสุทธิธรรม เมื่อไม่รู้จักปฎิสัมภิทาญานพรรณนาโวหารถึงที่สุดโดยสัจฉิกัฐปรมัติ อันมีนิรุติญานทัสนะและวิมุตติญานทัสนะไม่ควรกล่าวถึงปฎิสัมภิทาญาน ฉนั้นคำกล่าวหาที่ว่าเราไปลอกเลียนแบบที่ใดมาจึงไม่มี

    ปริยัติอันตรธาน ยังไงก็หายแน่นอน และต่อให้หายไป ก็ยังอยู่เหมือนเดิม ด้วยปฎิสัมภิทาญาน ที่เหลือขึ้นอยู่กับว่า ท่านใด มีบุญบารมีทรงจำได้มากหรือน้อย นี่คือความแตกต่างของ ระดับการทรงจำ ปฎิสัมภิทาญานแตกต่างกันอย่างเดียวคือ การทรงจำได้มาก หรือ น้อย เพียงเท่านั้น รอผู้นั้นที่ยิ่งกว่าเรา สหายธรรมในที่นี้ก็มีสิทธิ์ ขอเพียงมีความนอบน้อมเคารพ รักพระไตรปิฏก ในอนาคตท่านย่อมได้ ปฎิสัมภิทาญาน อย่างไม่ต้องสงสัย เห็นแล้วก็จะรู้เอง ว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นธรรม คือ ทรงเห็นอะไร? เพราะฉนั้นแม้เราเอง ก็ต้องพยายามเรียนรู้ให้มากๆ เพื่อแบ่งเบาภาระกาลของ พระสัทธรรม ผู้เป็น พระธรรมราชา นั้น ไม่ใช่ไม่เรียนจะเอาแต่พึ่งท่าน นั้นไม่สมควรแก่ฐานะเลย สำหรับเรา คิดว่าตนเองเป็นเพียง ทาส ทาสี หรือ บุตรที่เจริญในธรรม ของพระธรรมราชาเพียงเท่านั้น ไม่ใช่ไปรบกวน "พระธรรมราชา" เพียงอย่างเดียวในการ ศึกษาจาก พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ทิพย์ดั้งเดิม เป็นการไม่สมควรยิ่งสำหรับผู้ที่หวงแหนพระสัทธรรมยิ่งอย่างเรา ที่จะไปรบกวนเวลาของท่าน แม้จะสำเร็จด้วยบุญบารมีของเราก็ตาม บทธรรมเหล่านั้นจะปรากฎเองเมื่อถึงกาลเวลา ที่ทรงตรัสรู้เห็น นั่นแหละ ! พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม มีรูปแบบเดียวกันกับ ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ ทรงตรัสรู้เห็นพร้อมกันซึ่งอันเดียวกับธรรมนั้น และทรงตรัสรู้ธรรมเสมอกัน ส่วนพระสงฆ์หรือผู้ได้ ปฎิสัมภิทาญาน ตามมา ยากที่จะเห็นตามและทรงจำได้ทั้งหมด นี่ล่ะจึงทรงตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา"

    ธรรมทั้งมวลนั้นฯ เราท่านต้องเข้าใจว่า เราต้องอ่านให้ออก และพยายามเข้าใจความหมายให้ละเอียดที่สุด เพราะสภาวะธรรมนั้นละเอียดอ่อนมาก จนไม่สามารถจะอธิบายเป็นคำพูดได้ แค่เพียงพุทธภาษิตเดียวขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีใครสามารถอธิบายได้อย่างแจ่มแจ้งเลยในยุคสมัยนี อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ นี้ แม้เราได้วิมุตติแล้วในภาษิตนี้ ก็ยังจนปัญญา จะอธิบายให้เท่าที่เห็นที่รู้ได้ ฉนั้นอรรถาธิบายที่เป็นสัจฉิกัฐถปรมัตถ์ จึงจำเป็นมากในการเรียนรู้และศึกษา ไม่ควรถูกทำลายโดยสำนักวัดนาป่าพงนั้น

    คนที่ไม่เข้าใจธรรมะถ่องแท้ และคิดว่าตนเองเข้าใจ โดยปราศจากการศึกษาและปฏิบัติ อย่างถูกต้อง คนเช่นนั้นก็ไม่แตกต่าง ไปจากคนหลงทาง หลงตนเองไม่สามารถจะแยกขาว ต่างจากดำได้ ย่อมประกาศพุทธธรรมอย่างผิด ๆ เช่นนั้นย่อมชื่อว่า กล่าวตู่หรือดูหมิ่น พระพุทธเจ้า และชื่อว่า เป็นผู้ลบล้างพระธรรม เขาแสดงธรรมเสมือนว่าเขา กำลังทำฝนให้ตก แต่ที่จริงคนเช่นนั้น กำลังแสดงธรรมของมาร ไม่ใช่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ครูของพวกเขาก็คือพญามาร และสาวกของเขาก็คือ บริวารของพญามาร คนที่หลงงมงาย ทำตามคำสอนเช่นนั้น ย่อมจมลงในทะเล แห่งการเวียนว่ายตายเกิดลึกลงไปเรื่อย ๆ

    ผู้ที่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงแก้ไข พระไตรปิฏก อย่างชัดเจนคือผู้มีปฎิสัมภิทาญานเท่านั้น สำหรับพระไตรปิฎกที่ตีพิมพ์ในโลกมนุษย์ อย่างที่เราเห็นกันทุกๆวันนี้ โดยลอกแบบออกมาจากพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บท (ทิพย์) เป็นแบบตรวจทานแก้ไข ต่อให้ไม่ครบบุบสลายเพียงไร?ไปก็ตาม ใครจะเปลี่ยนอย่างไร? เขียนอย่างไร? สุดท้ายก็จะมีผู้มาทะนุบำรุงรักษา เหมือนเดิมจนกว่าจะสิ้นอายุพระศาสนานี่คือความพิเศษ วิเศษ ของพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนา คือ ไม่ว่าใครก็ไม่สามารถทำลายได้ ถึงกาลเวลาอันสมควร พระธรรมอันบริสุทธิ์คุณนั้นก็จะปรากฎขึ้นมาดังเดิม และแน่นอน ท่านผู้นั้น ย่อมแสดง สถานะการมีอยู่ ของพระสัทธรรม ให้ผู้มีบุญได้เห็นเป็นขวัญตา ในที่นี้ยังหมายถึง การสาธุการของเหล่าเวไนยสัตว์ที่จะปรากฎตนขึ้นด้วย เพราะอานุภาพใหญ่

    เราขอยืนยัน และสามารถปรารภกถาที่ปรากฎมีมาในเรื่องปฎิสัมภิทาได้ เพราะเราได้เห็นแล้วท่านจงเข้าใจว่า เหตุผลที่พระสัทธรรม ต้องเสื่อมสูญไปตามกาล เพราะสัตว์โลกล้วนมีธุลีในดวงตามาก เมื่อมีผู้มีธุลีในดวงตามาก ไม่เห็นความสำคัญ กล่าวการจาบจ้วงพระสัทธรรมอันบริสุทธิ์คุณอยู่ ย่อมประสพบาปกรรมมากแก่ตนเอง ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่พระสัทธรรมที่แตกแยกไป มีผลน้อยลงในการส่งผลแก่กรรม ถามว่า ครบบริบูรณ์สมบูรณ์ไหม? พระไตรปิฏกที่มีอยู่ในโลกหรือ ตลอด ๓ แดนโลกธาตุ เราขอตอบโดยตรงว่า ไม่มีที่สมบูรณ์แม้สักเพียงบันทึกหรือจารึกเดียว เพราะสภาวะธรรมนั้นละเอียดอ่อนมาก เพียงพุทธภาษิตเดียวก็ไม่มีผู้ใดแสดงได้ละเอียดอ่อนจนเผยวิมุตติได้ แม้แต่เราผู้เข้าถึงแล้ว วิมุตติของโลกียะ ก็ยังมิสามารถ เอาเพียง "อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ "เพียงพุทธภาษิตนี้ ไม่มีใครในโลกนี้สามารถ พรรณนาให้ถึงที่สุดได้โดยวิมุตติ ผู้เสวยวิมุติแสดงธรรม ธรรมนั้นย่อมเป็นวิมุตติ (แก่กาลฐานะธรรม) เชื่อถือได้หรือไม่ ต้องศึกษา นวังคสัตถุศาสน์ ให้แจ่มแจ้งที่สุด ถ้าไม่มีปฎิสัมภิทาญาน และอยากรู้อยากเห็นเจริญมากขึ้นในธรรม ( อ่านว่า นะวังคะสัดถุสาด แปลว่า คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9 ) หมายถึง คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดซึ่งแบ่งเป็นส่วนย่อยตามลักษณะที่เหมือนกันได้ 9 อย่าง คือ

    สุตตะ ได้แก่ พระสูตรต่างๆ และวินัย
    เคยยะ ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาผสม
    เวยยากรณะ ได้แก่ ข้อความร้อยแก้วล้วนๆ เช่นอภิธรรมปิฎก
    คาถา ได้แก่ ข้อความร้อยกรองที่เป็นคาถาล้วนๆ เช่น ธรรมบท เถรคาถา
    อุทาน ได้แก่ ข้อความที่เป็นพุทธอุทาน
    อิติวุตตกะ ได้แก่ ข้อความที่ตรัสอุเทศแล้วแสดงนิเทศจบลงด้วยบทสรุป (นิคม)
    ชาตกะ ได้แก่ ชาดกทั้งหมด
    อัพภูติธรรม ได้แก่ พระสูตรว่าด้วยเรื่องอัศจรรย์ต่างๆ
    เวทัลละ ได้แก่ ข้อความที่ถามตอบกันไปมา
    ดังนั้น นวังคสัตถุศาสน์ จึงหมายถึง พระพุทธพจน์ หรือ พระธรรมวินัย ก็ได้ ปฎิสัมภิทาญาน จะส่งผล เห็นท่วงทำนองและภาษาตลอดจนตัวอักษรที่เปลี่ยนแปลงได้ทั้งหมด รู้ทุกภาษา ทั้งภาษามุนุษย์ และภาษาอื่นๆทั้งหมด

    ในครั้งปฐมสังคายนานั้นประกอบด้วยพระอริยเจ้าล้วนสำเร็จอรหันตปฏิสัมภิทาญาณ ๔ เท่านั้นที่จะมีส่วนในการทรงจำ กำหนด เรียบเรียง ถือเอามติสงฆ์เป็นใหญ่ ตรวจทานพระไตรปิฎก ปฎิสัมภิทาญาน คือการ เห็นดังนี้ ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ คือ

    ๑) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถหรือปรีชาแจ้งเจนในความหมาย

    ๒) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม หรือปรีชาแจ้งเจนในหลัก

    ๓) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ หรือปรีชาแจ้งเจนในภาษา

    ๔) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ หรือปรีชาแจ้งเจนในความคิดทันการ

    ผู้ที่ได้ปฎิสัมภิทาญานคือเป็นผู้เห็นยังพระไตรปิฏกโดยขอให้คำจำกัดความตามจริงว่า ได้เห็นจริงตรองตามนี้ได้

    ๑.รู้และเข้าได้ทันที่ว่า ตีมุมกลับ "พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ทรงปฏิสัมภิทารู้แจ้งเห็นธรรมอันเดียวกัน ซึ่งแสดงให้เห็นซึ่งรูปแบบหนึ่งเดียว

    ๒.รู้แล้วเข้าใจได้ทันทีว่า ในช่วงที่ว่างเว้นคือ ว่างจากการเสด็จมาตรัสรู้ในพุทธันดรนั้น พระสัทธรรมนี้ก็ยังคงอยู่ ไม่ได้เลือนหายไปไหน

    ๓.รู้และเข้าใจได้ทันที่ว่า เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าทั้งหลายจึงทรงสรรเสริญพระธรรม นั้นเพราะการตรัสรู้พระธรรมนั้นทำให้พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า

    ๔.เข้าใจในสิ่งที่ไม่มีจารึกเลยว่า ที่พระองค์จะสั่งหรือเคยบอกการใดใด เลยว่าพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้เห็นนั้น เป็นพระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ฉบับดั้งเดิม เพราะเป็นสิ่งที่เกินวิสัยสามัญมนุษย์ธรรมดาจะพึงเห็นได้

    ๕.เข้าใจในสิ่งที่ไม่มีจารึกเลยว่า ในพระปัจฉิมโอวาททรงเน้นย้ำให้ถือว่า พระธรรมคำสั่งสอนและพระธรรมวินัยเป็นศาสดา และจงพึ่งพาตนเอง พร้อมตรัสปลอบให้กำลังใจ ในหลายต่อหลายครั้งในเรื่องการปฎิบัติ เช่นในเรื่อง หากยังมีผู้ปฎิบัติตามธรรมนี้อยู่ โลกจะไม่ว่างจากพระอรหันต์ แต่ไม่ทรงถือตัวพระองค์เองเลยว่า หากขาดพระองค์ไปแล้ว ย่อมขาดผู้หยั่งสภาวะธรรมด้วยพระทศพลญาณ๑๐ อันเป็นกำลังแห่งพระพุทธเจ้า ที่จะสามารถแก้ไขข้อติดขัดในการพิจารณาธรรมของพระสงฆ์สาวกได้อย่างดีที่สุด ฉนั้นการที่ไม่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั่นก็คือ ความวิบัติ ขาดสูญ ในการสำเร็จธรรมของเหล่าพระสงฆ์สาวกโดยแท้ เพราะไม่มีผู้ใดจะปรีชาญาณเทียมเท่าพระองค์อีกแล้ว

    {O}ธรรม ๓ สิ่งที่จำเป็นต่อการพยากรณ์ปรารภกถาต่างๆ{O}
    สถานะธรรมผู้บรรยาย (วิมุตติญานทัสสนะ)

    ภิกษุทั้งหลาย ! เปรียบเหมือนในปัจจันตนครของพระราชามีอาวุธอันสั่งสมไว้เป็นอันมาก ทั้งชนิดที่ใช้ประหารใกล้ตัว และประหารไกลตัวสำหรับคุ้มภัยในภายในและป้องกันในภายนอก, นี้ฉันใด.
    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกก็มีสุตะอันตนสดับแล้วมาก ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ, ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในสุด ที่เป็นการประกาศพรหมจรรย์ อันบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง พร้อมทั้งอรรถะ พร้อมทั้งพยัญชนะ, ธรรมมีรูปเห็นปานนั้น อันเขาสดับแล้วมาก ทรงไว้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ. การสั่งสมสุตตะมาก เปรียบเหมือนการสั่งสมอาวุธไว้มาก
    ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกผู้ มีสุตะเป็นอาวุธ ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมอันมีโทษ เจริญกรรมอันไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ชื่อว่า ผู้ประกอบด้วย สัทธรรมประการที่สี่.
    - สตฺตก. อํ. ๒๓/๑๐๙/๑๑๓/๖๔

    ๓ ประการนี้ จำเป็นมากสำหรับผู้ใคร่พิจารณาธรรมและต้องการเจริญในพระสัทธรรม
    ๑.นวังคสัตถุศาสน์ ๒.อนุปุพพิกถา ๓.สัปปุริสธรรม
    เมื่อสามารถเรียนรู้ทั่วถึง จะสามารถพยากรณ์กถาต่างๆ ที่มีมาในพระไตรปิฏกได้เป็นเลิศที่สุด



    เมื่อองค์สมเด็จพระบรมหาศาสดาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาคำสั่งสอนเพื่อโปรดเวไนย์สัตว์ ให้พระสงฆ์สาวกปฎิบัติตาม ทบทวน ท่องจำจนขึ้นใจ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนนั้นตามรูปแบบตามแนวทาง ตามอุปนิสัยของแต่ละบุคคล ไม่ถือเป็นการลอกเลียนแบบ จึงไม่ใช่และไม่เหมือนว่าด้วยการอุปมาการเป็นสุนัขจิ้งจอกเลียนแบบราชสีห์ เพราะนี่เป็นความเจริญของพระสัทธรรม จึงไม่ใช่กิจอันลามกดังที่เธอได้กล่าวมา
    เมื่อเธอมีความปรารถนาเช่นนั้น เธอย่อมได้ในสิ่งที่เธอกล่าวมา



    เธอไม่ใช่คนแรกและคนสุดท้าย ที่จริตเช่นนี้

    ความเมตตาเพียงเท่านั้น จึงจะชำระล้างจิตใจที่เป็นเช่นนั้นได้ จงทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์เถิด จงเป็นอย่างนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2015
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    **ดูแบบเงียบๆมาได้ซักระยะ** รอเวลาและทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์กันเถิดสหายธรรมฯ ส่วนเราหากไม่ได้ปาฎิหาริย์๓ก็จะอยู่เงียบๆ และเมื่อถึงเวลาที่ อปริหานิยธรรม๗ประการ ของสำนักวัดนาป่าพงนี้สิ้นลง นั่นคือสิ่งที่การันตี ความล่มสลายย่อยยับอย่างแน่นอน! อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

    จุดจบเกิดจาก สิ่งที่คึกฤทธิ์สร้างให้เกิดขึ้น ในเรื่องต่างๆที่สำนักนี้ได้ทำการละเมิด อปริหานิยธรรม๗ ไปแล้ว ด้วยการหลงในอยู่ในอัตตา จึงไม่สามารถทำคืนได้ เพราะไม่สามารถจะตักเตือนตนเองและด้วยน้ำมือของตนจึงทำให้ลูกศิษย์ผู้ที่ตนทำให้หลงทางได้ประสบทุกข์ไปด้วย เพราะฉนั้น การที่จะล่มสลายจะช้าหรือเร็ว ล้วนขึ้นอยู่ที่เวลาเพียงเท่านั้น เมื่อกรรมแสดงผล อะไรก็จักขัดขวางไม่ได้ และจะกลายเป็นรูปแบบของการพังพินาศที่น่าบันทึกจดจำเป็นอีกตำนานหนึ่งอุทาหรณ์ สอนใจไปอีกนานแสนนานของพระพุทธศาสนา


    ***อปริหานิยธรรม ๗ อย่าง
    ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว ชื่อว่า อปริหานิยธรรม มี ๗ อย่าง
    คือ :-
    ๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์.
    ๒. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุม ก็
    พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงกันช่วยทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ.
    ๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์
    ทรงบัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรง
    บัญญัติไว้.
    ๔. ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือ
    ภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน.
    ๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น.
    ๖. ยินดีในเสนาสนะปา.
    ๗. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มา
    สู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสุข.
    ธรรม ๗ อย่างนี้ ตั้งอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นไม่มีความเสื่อมเลย มีแต่
    ความเจริญฝ่ายเดียว.
    องฺ. สตฺตก. ๒๓/๒๑.***


    /หรือ โดยปรมัตถ์อรรถธิบายขยายความที่เป็นสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ หรือเรียกว่า สภาวะ นิรุตติฯ โดยแสดงให้เห็นว่า เป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ออกนอกเรื่อง ตรงประเด็น/

    อปริหานิยธรรม ๗ หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม ๗ ประการ ผู้ปฏิบัติธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์คือ
    ฝ่ายบ้านเมือง
    ๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิจ การอยู่ร่วมกัน การทำงานร่วมกันของคนในสังคมจะต้องมีการ พบปะ ประชุมปรึกษาหารือกันสม่ำเสมอ เพื่อแก้ไขปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ยอมรับในเหตุผลที่ถูกต้องที่เป็นประโยชน์ เพื่อความเข้าใจที่ดีต่อกันของทุกคนในสังคมซึ่งความเจริญ ไม่เกิดความเสื่อมในทุกกรณี เช่น ในครอบครัว พ่อ แม่ ลูก มีอะไรพูดกันปรึกษากัน ลูกก็จะอบอุ่น ปัญหาลูกไปติดยาเสพย์ติด ก็จะไม่เกิดขึ้น ในสถานที่ทำงาน หัวหน้ามีการประชุมปรึกษากับผู้ร่วมงานทุกครั้ง งานก็จะราบรื่น หากมีข้อผิดพลาด ทุกคนก็จะยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น
    ๒. พร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุมและกระทำกิจที่ควรทำ เพื่อให้เกิดความยุติธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหมู่คนที่อยู่รวมกัน ไม่กินแหนงแคลงใจกัน จะทำงานอะไรก็สำเร็จได้ เช่นในครอบครัวมีอะไรปรึกษาหารือกันก็ต้องอยู่พร้อม ๆ กัน เพื่อทุกคนจะได้ยอมรับในสิ่งที่จะทำลงไปด้วยความเต็มใจ
    ๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติและไม่เลิกล้มสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว เช่น บ้านเมืองจะสงบสุขได้ ทุกคนจะต้องบัญญัติและไม่ล้มเลิก ระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของคณะและสังคมตามความพอใจของตนหรือของกลุ่มโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ตัวอย่าง เช่น นักเรียนจะต้องแต่งเครื่องแบบของโรงเรียนเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย จะแต่งกายตามใจตนเองไม่ได้
    ๔. เคารพนับถือผู้ใหญ่การเคารพและรับฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี เพราะผู้ใหญ่เกิดก่อน ผ่านประสบการณ์มามากกว่า ประกอบกับการอยู่ร่วมกันในสังคมต้องมีผู้นำ ถ้าเราให้การเคารพและเชื่อฟังผู้นำ สังคมก็จะไม่วุ่นวาย เช่น ถ้าลูกเชื่อฟัง พ่อ แม่ ก็จะเป็นคนดีได้เพราะไม่มีพ่อแม่คนไหน อยากลูกตนเองให้ชั่ว
    ๕. ไม่ข่มเหงล่วงเกินสตรี สตรีถือว่าเป็นเพศแม่ เป็นเพศที่อ่อนแอ บุรุษควรให้เกียรติให้ การยกย่อง ปกป้องไม่ให้ใครละเมิดสิทธิหรือข่มเหงรังแก ถ้าสังคมใด ๆ ผู้หญิงถูกฉุดคร่าข่มขืน มาก ๆ ความเสื่อมก็จะเกิดกับสังคมนั้น
    ๖. สักการะเคารพเจดีย์ หมายถึงการให้ความเคารพและปกป้องรักษาปูชนียสถานที่สำคัญในศาสนา เพื่อจะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของกลุ่มคนในหมู่คณะที่อยู่ร่วมกันและระลึกถึงกัน เช่น การเคารพพระปฐมเจดีย์
    ๗. ให้การอารักขา คุ้มครอง อันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ คือการคุ้มครองบรรพชิต ซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตลอดไป เช่น การทำบุญด้วยปัจจัย ๔ เป็นต้น

    ฝ่ายพระสงฆ์
    ๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ ในกิจของสงฆ์ที่ต้องทำร่วมกันไม่ว่าเรื่องเล็กหรือใหญ่ เช่น การทำอุโบสถสังฆกรรม
    ๒. พร้อมเพรียงกันประชุม เลิกประชุมและทำกิจที่สงฆ์ต้องทำการประชุมถือว่าเป็นกิจที่สงฆ์ต้องทำร่วมกัน แต่การที่จะให้สงฆ์ทุกรูปยอมรับซึ่งกันและกัน เพื่อความสามัคคีก็จะต้องอาศัยความพร้อมเพรียงกันทุก ๆ ครั้ง เช่น การทำพิธีกรรมในงานมงคลนิยมใช้พระสงฆ์ ๙ รูป ก็ต้องมาพร้อมกันจึงจะทำพิธีกรรมได้
    ๓. ไม่บัญญัติในสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ ไม่ล้มเลิกสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้ ถือว่าสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญที่พระสงฆ์จะต้องปฏิบัติตาม
    ๔. เคารพนับถือและรับฟังถ้อยคำของภิกษุผู้ใหญ่ ในการปกครองของพระสงฆ์จะให้อำนาจแก่ผู้ที่มีความสามารถตามบรรดาศักดิ์ เช่น ภิกษุผู้ใหญ่สังฆบิดร สังฆปรินายก ภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตามลำดับขั้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
    ๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น เพราะพระสงฆ์ตัดแล้วซึ่งกิเลสตัณหา ความอยากมีอยากได้จะต้องไม่เกิดขึ้น จึงจะเป็นที่ยกย่องของคนทั่วไป
    ๖. ยินดีในเสนาสนะอันควร คือพระสงฆ์ต้องมีชีวิตเรียบง่าย มุ่งแสวงหาธรรมเพื่อเผยแพร่ให้กับผู้อื่น
    ๗. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณร เป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาสขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข คือ พระสงฆ์ต้องใจกว้างยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่และมีความปรารถนาดีต่อสมาชิกเก่า เพื่อสังคมสงฆ์จะได้ไม่เกิดความเสื่อม


    ***กว่าจะรู้ตัวว่าพลาดอะไรไป ก็สายไปเสียแล้ว!***

    #### สำนักวัดนาป่าพงและคึกฤทธิ์นั้นไม่เที่ยง นี่คือสัจธรรม ###
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มกราคม 2016
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อหังการวิเศษมาร หรืออีกชื่อ คือ อสัทธรรม (มิจฉาทิฏฐิภายนอกพระพุทธศาสนา) เป็นเบอร์ ๑ ร้ายแรงร้ายกาจ

    สัทธรรมปฎิรูป (มิจฉาทิฏฐิภายในพระพุทธศาสนา) เป็นสิ่งแปลกแยกเป็นสนิมเป็นความผุกร่อน



    ศาสนาพุทธ มีเพียงแค่ สัทธรรมปฎิรูป ที่น่าเป็นห่วงแต่ไม่น่ากังวลเท่า อสัทธรรม
    คือผลที่ได้รับ จากสัทธรรมปฎิรูป สัมมาทิฎฐิมาเป็นมิจฉาทิฏฐิ มีการล่มสลาย๑

    แต่อสัทธรรม เป็น มิจฉาทิฏฐิอยู่แล้วโดยปรมัตถ์ ยังเพิ่มดรีกรีเข้าไปอีก คลื่นลมจึงเร็วแรงขึ้น มันทำลายสิ้นเสียทุกสิ่ง๑

    แต่ทว่า!! ความเจ็บปวดที่เกิดจากอามิสทายาทภายในนั้น เป็นเรื่องที่ทำให้รู้สึกแย่สุดๆจริงๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...