ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 สิงหาคม 2014.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    กลายเป็นแบบร่าง...ความทรงจำ ไปเสียแล้ว


    เรื่องเล่าซึ่งจะต้องขอฝากเอาไว้เป็นธรรมทาน ไม่ว่าตำนานในอรรถาธิบายจะถูกแต่งขึ้นหรือไม่ก็ตาม แต่เหตุการ์ณยังประทับตราตรึงใจไม่เสื่อมคลาย หากยังมีลมหายใจอยู่ ในปี๒๕๕๗นี้ ข้าพเจ้าจะต้องเดินทางไปถวาย พระปริตรนี้ แด่ในหลวง แต่หากไม่สามารถรอดชีวิตกระทำการนี้ได้ ข้าพเจ้าก็ขอฝากไว้เป็นธรรมทานต่อผู้เจริญในธรรมทั้งหลายฯ ว่าอย่าได้ย่อท้อกับอุปสรรคในชีวิต ของจงมี ศรัทธาความเพียรอย่าได้ลดละ หมั่นศึกษาใน"มงคลสูตร"มรรค๘"อันเป็นทางนำ หากท่านประสงค์ใจในพระพุทธศาสนาท่านต้องเลือกเอาสักทางอันใน มนุษย์สมบัติ,สวรรค์สมบัติ,นิพพานสมบัติ ปฎิบัติให้คล้องจองกันไป ซึ่ง"กาย วาจา ใจ"ตาม"คิริมานนทสูตร" ลำดับให้ได้ยัง" ก่อน, ขณะ, หลัง ศึกษาชาดก พระไตรปิฎก อย่าได้เหนื่อยหน่ายลำเค็ญ จงกระโดดข้าม ศรัทธาไปสู่ศรัทธาอันวิจิตรละเอียดอ่อนขึ้นไปอีก จงมีความเพียรอย่าได้สิ้น ที่เหลือคงต้องปล่อยไปตาม พลวปัจจัยที่ท่านทั้งหลายได้กระทำสั่งสมบุญบารมีมา ขอให้ท่านทั้งหลายจงเจริญในธรรมอันยิ่งขึ้นไปเถิด ชาตินี้ วันนี้ข้าพเจ้ามีภัยภยันตรายทั้งนอกและใน หากประจวบเหมาะสิ้นกาลในการทำกาละ ก็ขอให้ท่านทั้งหลายให้อโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วย ขออนุโมทนาบุญฯ

    เตรียมการส่งเข้าสำนักราชเลขาธิการในเร็วๆนี้

    ๐พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว๐



    ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
    ข้าพระพุทธเจ้า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท นาย.........อายุ ๓๒ ปี จบการศึกษานอกโรงเรียนชั้นมัธยมปีที่๖ มีภูมิลำเนา อยู่ ที่บ้านเลขที่ ...หมู่ ....ตำบล ... อำเภอเมือง จังหวัด... นับตั้งแต่เยาว์วัย ข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยมีโอกาสคอยเฝ้าตามเสด็จฯ เพื่อถวายความจงรักภักดี เมื่อครั้งที่ทรงเสด็จมาประกอบพระราชกรณียกิจ ที่ จังหวัดอุบลราชธานี ข้าพระพุทธเจ้า ได้มีโอกาสได้ร่ำเรียน คำสอน โดยเป็นศิษย์ของนักปราช์ญ แห่งภาคอีสาน ท่านอาจาร์ย บำเพ็ญ ณ อุบล ที่ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรม ล่วงเลยไป จนเวลาบัดนี้ข้าพระพุทธเจ้า ได้เติบใหญ่ และในปัจจุบันได้มารับราชการ...

    ขอพระราชทาน พระบรมราชวโรกาส กราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
    ด้วยสำนึกในพระราชมหากรุณาธิคุณ ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯและองค์พระบาทสมเด็จพระบรมราชิณีนาถ ฯ ตลอดจนองค์สมเด็จพระบรมวงค์ศานุวงค์ทุกพระองค์ในราชวงค์จักรีฯ


    ในปัจจุบัน ข้าพระพุทธเจ้าได้มีความครุ่นคิด วิตกกังวลเป็นอย่างมากในจิตใจและรู้สึกสำนึกเสียใจและร้อนใจอย่างหาที่สุดมิได้ หลังจากที่ข้าพระพุทธเจ้ามัวลังเลใจ ด้วยฐานะอันมิบังควรของข้าพระพุทธเจ้าแล้ว จึงเกรงพระราชอาญาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ด้วยข้าพระพุทธเจ้าได้สำนึก ในพระมหากรุณาธิคุณอันเป็นล้นพ้นที่ได้อาศัยแผ่นดินของ"ในหลวง"และอยู่กินจนเติบใหญ่มาได้ จึงมีความปราถนาที่จะขอพระบรมราชานุญาต ขอพระราชทาน พระบรมราชวโรกาส เพื่อที่จะกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบเรื่องราวนี้ และถวายพระปริตรที่ได้รับมาด้วยอำนาจบุญเก่าก็ดีหรือด้วยผู้มีฤทธิ์บันดาลก็ดี ซึ่งเป็นสามัญญผลในเมื่อครั้ง ออกบรรพชาในโครงการบวชเฉลิมพระเกียรติ และถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวงในปีพุทธศักราช ๒๕๕๔
    ด้วยสำนึกในพระราชมหากรุณาธิคุณ ในพระบารมีปกเกล้าปกกะหม่อม อันแผ่ไพศาล ไปยังพสกนิกร ข้าพระพุทธเจ้า นาย จอมภพ เจริญเบญจฤทธา
    จึงปราถนาที่จะขอพระบรมราชานุญาต ขอพระราชทาน พระราชวโรกาสให้ ข้าพระพุทธเจ้าสนองพระราชหฤทัย ถวายเป็นพระราชกุศล ได้เข้าเฝ้า และได้นำกราบบังคมทูลเกล้า สาธยายถวายพระปริตรอันเป็นทำนองทิพย์ ซึ่งเป็นพระปริตรอันสมควรแด่พระมหากษัตริย์ เหมาะแก่เหตุและกาลในปัจจุบัน ที่เปรียบประดุจพระสุบินอันเกิดขึ้นแด่พระเจ้าปเสนธิโกศล แด่พระองค์ผู้ทรงเป็นมิ่งขวัญของพสกนิกร อาณาประชาราช ปวงชนชาวไทยและ บุคคลต่างๆในนานาอารยะประเทศ ที่จงรักภักดี มีความเลื่อมใส เคารพรักพระองค์



    ด้วยเหตุการ์ณสำคัญได้เริ่มต้นขึ้นอันเนื่องมาจาก ก่อนที่ข้าพระพุทธเจ้าจะได้ออกบวชในโครงการบวชเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราชกุศล มีสาเหตุที่ทำให้ข้าพระพุทธเจ้าออกบวชด้วยสาเหตุ ๓ ประการ คือ
    ๑. ได้กราบทูลขอบรรพชากับพระบรมสารีริกธาตุ ขององค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่สถูป วัดชนาธิป ในจังหวัดสตูล
    ๒.ได้มีโครงการบวชเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ในหลวง ปีพุทธศักราช ๒๕๕๔
    ๓.ได้ถือโอกาสตอบแทนพระคุณบิดาและมารดา
    ด้วยสำนึกในพระราชมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น ข้าพระพุทธเจ้า จึงได้มีโอกาสออกบรรพชาเป็นพระภิกษุ ที่ วัดก้างปลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ในห้วงเข้า พรรษา เป็นเวลา ๓ เดือน มีฉายาว่า "ภูริปัญโญ" ตลอดระยะเวลานับตั้งแต่เวลาที่ออกบวช มีเหตุเป็นที่อัศจรร์ยใจเกิดขึ้น กับข้าพระพุทธเจ้าฯหลายประการ

    จนเหตุการ์ณอันสำคัญที่สุดในชีวิต ที่มิอาจลืมเลือนได้ พึงเป็นเหตุให้ข้าพระพุทธเจ้ามีความปราถนา ที่จะสละโลกออกบรรพชาเป็นพระภิกษุในอนาคตภายใน ๙ ปีข้างหน้า ก็จักเกิดขึ้นแก่ข้าพระพุทธเจ้า ในวันสำคัญทางศาสนา คือวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ทางวัดได้รับกิจนิมนต์ ท่านพระครูวรธรรมวิภัช เจ้าอาวาสวัดก้างปลา รองเจ้าคณะอำเภอทุ่งสง จึงให้พระภิกษุที่จำพรรษาภายในวัด ขึ้นขบวนรถออกเดินทางจาก วัดก้างปลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อ ไปรับบิณฑบาตร ที่ภายในตัวอำเภอเมืองหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งมีพระสงฆ์ที่ได้รับนิมนต์มาร่วมบิณฑบาตร ๑๖,๐๐๐ รูป ในขณะรับบิณฑบาตร ข้าพระพุทธเจ้าได้อธิษฐานจิต ระลึกถึงอานิสงค์แผ่บุญกุศลที่เหล่าพุทธบริษัท ได้ร่วมกระทำความดี ไปจนถ้วนทั่วสหโลกธาตุ ให้ได้รับพลานิสงค์ผลบุญนั้นให้ได้ตามๆกัน ก็ให้รู้สึกปลาบปลื้มใจปิติยินดียิ่งนัก
    หลังจากรับบิณฑบาตรเสร็จกิจเรียบร้อย จึงออกเดินทางไปที่ วัดพระราชดิษฐาน หรือวัดพะโคะ ตำบลชุมพล อำเภอสะทิงพระ จังหวัดสงขลา เพื่อไปฉันภัตตาหาร และกราบนมัสการ หลวงพ่อทวด โดยขบวนรถบัสที่ร่วมโดยสารมากับพระอุปัชฌาย์จาร์ยและพระสงฆ์ที่รับกิจนิมนต์ร่วมกันมานับ ๗๐ รูป ครั้นเมื่อบ่ายคล้อย จึงเคลื่อนย้ายออกเดินทางกลับ ไปยังวัดที่พำนักอยู่ เมื่อออกรถได้ไม่นาน ตลอดห้วงระยะเวลาการเดินทางที่ข้าพระพุทธเจ้า ได้นั่งพะแนงเชิง หลับตากระทำสมาธิ ระลึกถึงพระคุณขององค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมมหาศาสดา ตลอดจนพระมหาอัครสาวกคือพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ เมื่อได้ครุ่นคิดคำนึงถึงผลกรรมของพระโมคคัลนะ
    ทันใดนั้นก็ได้บังเกิด เสียงของทิพยดนตรี อันเป็นเสียงอันไพเราะเสนาะหูอย่างยิ่งนัก เป็นท่วงทำนองหนึ่ง ดังกังวานมาแต่ไกลและดังล้อมรอบตัวข้าพระพุทธเจ้า ด้วยความแปลกใจจึงลืมตาขึ้นในขณะนั้นทันที แต่ก็มิได้มีความเคลื่อนไหว หรือการแสดงท่าทีแปลกประหลาดใจใดๆ จากพระภิกษุรูปอื่นที่โดยสารมาด้วยกัน ทั้ง ๗๐ รูปเลย ข้าพระพุทธเจ้า ในครานั้นจึงหลับตานั่งต่อ เพื่อพิสูจน์ในสิ่งที่ได้ยินและได้พบเห็น นั่นก็คือ ข้าพระพุทธเจ้าในขณะที่นั่งพะแนงเชิงบนเบาะรถ กลับมีบางสิ่งบางอย่างประดุจแก้วดวงใส มาห้อมล้อมรอบรัศมีกายของข้าพระพุทธเจ้า และดึงข้าพระพุทธเจ้าลอยขึ้นไปสู่ชั้นเมฆอันสูงลิบลิ่ว และนั่งพะแนงเชิงอยู่ท่ามกลางชั้นเมฆ และท้องฟ้าสีครามอันสดใส
    เสียงทิพยดนตรีนั้นได้แสดงประกอบมิได้หยุด ครานั้น ข้าพระพุทธเจ้าได้มองเห็นพระคัมภีร์ใบลานเป็นเล่มแบบเก่า ๑ เล่ม ปรากฎแก่สายตาที่ตรงเบื้องหน้า ในระยะห่างไม่เกิน ๑ ศอก และพระคัมภีร์ใบลานเล่มนั้น ได้คลี่ออกจากเล่ม เลื่อนยาวลงไปด้านล่างตั้งแต่ ชั้นเมฆลงไปยาวอย่างสุดสายตา ถ้ามองลงไปเบื้องล่าง แต่ตัวอักษรที่ข้าพระพุทธเจ้าได้เห็น นั้น เป็นตัวหนังสือ อักขระภาษาธรรม ซึ่งอาจเป็นภาษา มคธหรือบาลี ซึ่งข้าพระพุทธเจ้าไม่สามารถอ่านออก และถึงแม้เคยร่ำเรียนมาในอดีตชาติ จนถึงปัจจุบันชาติก็ดี ก็ยังไม่สามารถระลึกจำความได้ จึงได้อธิษฐานจิตต่อ พระคัมภีร์ใบลานนั้นให้ข้าพระพุทธเจ้า ได้อ่านออกเถิด ทันใดนั้นเองตัวหนังสืออักขระก็บังเกิดการลอกออกเป็นขุย เปลี่ยนเป็นตัวเขียนอ่านออกด้วย ภาษาไทย ด้วยตัวอักษรที่ขึ้นต้น ด้วยคำว่า "ยันทุน " และอักษรได้ลอกออกต่อไปเรื่อยๆ ประกอบกับ เสียงทิพยดนตรี อันไพเราะทำนองเสนาะ ยิ่งนัก ซึ่งในตอนนั้นหากข้าพระพุทธเจ้า ไม่ครองสติให้มั่น ดวงจิตย่อมล่องลอยไปตามเสียงนั้นในทันทีด้วยอานุภาพของเสียงนั้น

    กาลเวลาในบัดนั้นช่างเป็นเวลา ที่ดูเหมือนไม่ได้รวดเร็วเท่าใดนัก เหมือนจะช้ามากๆ ในแต่ละขั้นตอนและรายละเอียดที่ปรากฎแก่ข้าพระพุทธเจ้า ข้าพระพุทธเจ้ามีความแปลกใจอย่างมาก ที่รถโดยสารเดินทางกลับมาถึงวัดอย่างรวดเร็วมาก จนเป็นที่น่าเสียดายอย่างหาที่สุดมิได้ เพราะตัวข้าพระพุทธเจ้า ยังอ่านได้แค่เพียงบทเดียวเท่านั้น เมื่อรถหยุด จึงตัดสินใจรีบลงจากรถโดยเป็นรูปแรก เดินอย่างรีบร้อนเพื่อไปยังที่พำนักสงฆ์ เพื่อไปเปิดหนังสือบทสวดมนต์บนกุฎิ เพื่อค้นหาความจริง ว่ามีบทสวดมนต์บทนี้ อย่างที่ข้าพระพุทธเจ้าเห็นหรือไม่ ประการใด อย่างไม่แน่ใจ และมีความสงสัย คลางแคลงใจในตนเอง ว่ามีสติสัมปัชชัญญะ เป็นปกติดีหรือไม่ เพราะไม่มีรูปใดได้เห็นและได้ยินเหมือนข้าพระพุทธเจ้าเลย จนในที่สุด ข้าพระพุทธเจ้าก็สามารถเปิดอ่านไปจนเจอ และบทสวดมนต์บทนั้นคือ "อภยปริตร "จึงทำการศึกษาความเป็นมา จนทราบเป็นที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า เป็นบทสวดมนต์ที่เหมาะสมคู่ควรแก่กษัตริย์พระมหาราชา ผู้ทรงเป็นประมุขปกครองบ้านเมือง ซึ่งในบทนี้ กล่าวถึง "พระเจ้าปเสนธิโกศล" ดังจะยกกล่าวต่อไปใน ข้อมูลเหตุ ที่มาอันเป็นตำนานของพระปริตรนี้ ดังต่อไปนี้




    ตำนานอภยปริตร

    ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระสุบินนิมิต ถึงอาเพศ ๑๖ อย่าง แล้วให้เกิดความหวาดหวั่น ต่อมรณภัยที่มองไม่เห็น จึงทรงเล่าพระสุบินนั้น ให้พราหมณ์ปุโรหิตรับฟัง
    พราหมณ์ปุโรหิตพยากรณ์ว่าจะบังเกิดเหตุการณ์ให้พระองค์มีอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใด รวมทั้งราชสมบัติด้วย
    ปุโรหิตนั้น ได้ทูลแนะวิธีป้องกันอันตราย ด้วยบัญญัติวิธี คือ เอาสัตว์อย่างละ ๔ ๆ มาฆ่าบูชายัญ
    พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทรงมีรับสั่งให้จัดเตรียม ประจำพิธีและสิ่งของ ตามถ้อยคำของปุโรหิตบอก

    พระนางมัลลิกาเทวี พระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทูลขึ้นว่า เสด็จพี่อย่าพึ่งทำยัญพิธีกรรมใด ๆ เลย ขอได้โปรดเสด็จไปทูลถาม ถึงพระสุบินนิมิตนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู มิมีสิ่งใดที่พระพุทธองค์ไม่รู้
    ราชาโกศล จึงเสด็จพร้อมมเหสีและบริวาร ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร แจ้งทูลถามถึงสุบินนิมิตทั้ง ๑๖ ข้อนั้น

    พระผู้มีพระภาคทรงตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร ภัยอันตรายใด ๆจะพึงบัง เกิดมีแก่พระองค์ จากเหตุแห่งพระสุบินนิมิตนั้น หามีไม่ สุบินนิมิตของพระองค์ เป็นสิ่งบอกเหตุที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หวังจากเราตถาคตนิพพานไปแล้ว
    และในที่สุดพระผู้มีพระภาค จึงทรงขอให้พระเจ้าปเสนทิโกศล ล้มเลิกยัญพิธีทั้งปวงเสีย

    บัดนี้ถึงกาลอันควรแล้ว ขอเชิญพระสาวกแก้ว ได้โปรดสาธยาย อะภะยะปริตร เพื่อพิชิตอวมงคลทั้งหลายที่บังเกิดขึ้น ให้พินาศไป ด้วยเทอญ
    คาถา
    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
    โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
    ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
    พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมัง คะลัญจะ
    โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
    ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
    ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ

    ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ
    โย จามะนาโป สะกุณัสสะสัทโท
    ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง
    สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุ ฯ










    แปลคาถา
    ลางชั่วร้ายอันใด และอวมงคลอันใด เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด
    และบาปเคราะห์อันใด สุบิน ( ความฝัน) ชั่ว อันไม่พอใจอันใดมีอยู่
    ขอสิ่งเหล่านั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า

    ลางชั่วร้ายอันใด และอวมงคลอันใด เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด
    และบาปเคราะห์อันใด สุบิน (ความฝัน) ชั่ว อันไม่พอใจอันใดมีอยู่
    ขอสิ่งเหล่านั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมเจ้า

    ลางชั่วร้ายอันใด และอวมงคลอันใด เสียงนก เป็นที่ไม่ชอบใจอันใด
    และบาปเคราะห์อันใด สุบิน (ความฝัน) ชั่ว อันไม่พอใจอันใดมีอยู่
    ขอสิ่งเหล่านั้น จงถึงความพินาศไป ด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์เจ้า













    พระสุบินนิมิต ๑๖ ข้อ ของพระเจ้าปเสนทิโกศล

    ในอรรถกถามหาสุบินชาดก เอกนิบาต ภาค ๒ หน้า ๑๖๔ เล่าเรื่องพระสุบินนิมิต ๑๖ ข้อ ของพระเจ้าปเสนทิโกศล เป็นใจความว่า "
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ผู้ครองกรุงสาวัตถี อันเป็นราชธานีของแคว้นโกศล บรรทมหลับในราตรีวันหนึ่ง เวลาปัจฉิมยามใกล้รุ่ง ทรงพระสุบินถึง ๑๖ ข้อ เป็นพระสุบินที่แปลกประหลาด ทรงตกพระทัย ได้ตรัสเล่าพระสุบิน ๑๖ ข้อนั้น
    ให้พราหมณ์ปุโรหิตประจำราชสำนักทำนาย พราหมณ์ปุโรหิตเหล่านั้น
    ก็ทูลเป็นเสียงเดียวกันว่า เป็นพระสุบินที่ร้าย และทำนายว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล จะต้องประสบอันตราย ๓ ประการ
    คือ ๑. เสียราชสมบัติ ๒. เสียพระมเหสี ๓. สวรรคต ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง
    และทูลถวายคำแนะนำ ให้ทรงทำพิธีฆ่าสัตว์บูชายัญ เพื่อสะเดาะพระเคราะห์
    พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงเชื่อและตกพระทัยมาก จึงมีพระราชโองการ ให้เตรียมการทำพิธีฆ่าสัตว์บูชายัญตามคำแนะนำของพราหมณ์ปุโรหิตเหล่านั้น
    ครั้งนั้นพระนางมัลลิกาเทวี ทราบเหตุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลทูลว่า
    พระองค์ไม่ควรรีบร้อนทำพิธีฆ่าบูชายัญ ควรเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เล่าพระสุบินถวาย ขอให้ทรงพยากรณ์ก่อน หากจะมีเหตุร้ายอันใดเกิดขึ้นจริง ก็อาจจะทรงแนะนำวิธีแก้ไข ผ่อนหนักให้เบาลงได้ โดยไม่ต้องทำพิธีบูชายัญ พระเจ้าปเสนทิโกศลก็เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถามตามคำทูลแนะนำของพระนางมัลลิกา
    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า เหตุร้ายนั้นจักมีแน่ แต่มิใช่แก่พระเจ้าปเสนทิโกศล หรือแว่นแคว้นของพระองค์เลย เหตุร้ายนั้น จักมีแก่สัตว์โลกทั่ว ๆ ไป และแก่พระศาสนาของพระตถาคตในกาลภายหน้าโน้น



    พระสุบินนิมิต ๑๖ ข้อ ของพระเจ้าปเสนทิโกศลนั้น ท่านร้อยกรองไว้เป็นคาถา อันมีปรากฏในพระสุตตันตปิฎก พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๗ หน้า ๒๔ และเมื่อถอดความพร้อมทั้งอรรถาธิบาย ในคัมภีร์ชาตกัฏฐกถานั้นแล้วคงได้ความดังนี้คือ "

    ๑. พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงสุบินว่า
    โคอุสภะดำ ๔ ตัว มีกายดุจสีดอกอัญชัน วิ่งมาจากทิศทั้ง ๔ มุ่งตรงมายังพระลานหลวง
    ทำอาการเหมือนจะชนกัน ครั้นมหาชนทั้งปวง มาประชุมกันว่า เราทั้งปลายจะดูโคชนกัน
    โคอุสภะทั้ง ๔ ก็แสดงอาการเหมือนจะชนกันจริง บันลือเสียงคุกคามเอื้ออึงแล้วต่างตัวต่างก็ถอยกลับไป มิได้ชนกัน

    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
    สุบินนิมิตนี้ จักมีผลในอนาคตกาลไกลโน้น คือ
    ต่อไปภายภาคหน้า ผู้เป็นใหญ่ทั้งหลาย จักไม่ตั้งอยู่ในธรรม ประพฤติมิชอบธรรม
    โลกจะวิปริตแปรปรวนไปต่าง ๆ บุญกุศลจะเสื่อมถอย
    บาปอกุศลจะหนาแน่น ประชาชนจะเสื่อมจากศีลธรรม ฝนจะไม่ตกต้องตามฤดูกาล
    พืชพันธุ์ธัญญาหารจะเหี่ยวแห้งไม่สมบูรณ์ จักเกิดทุพภิกขภัย
    เมฆที่ยังฝนให้ตก จะตั้งขึ้นทั้ง ๔ ทิศ ฟ้าร้องคำราม แสดงอาการว่าฝนจะตก
    แต่แล้วไม่ตก กลับจางหายไปหมด เหมือนโคอุสภะทั้งสี่นั้น
    ทำอาการเหมือนจะชนกันแล้ว และกลับถอยหนีหาได้ชนกันไม่

    ๒. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพระสุบินว่า
    ต้นไม้และกอไม้เล็ก ๆ ทั้งหลาย โผล่จากพื้นดินขึ้นมาเจริญขึ้นโดยลำดับ ประมาณคืบหนึ่งบ้าง ประมาณศอกตูมหนึ่งบ้าง แล้วก็ผลิดอกออกผล ในขณะที่ยังเล็ก ๆ อยู่นั้น

    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
    สุบินนิมิตนี้ จักปรากฏผลในอนาคตกาลไกลโน้น คือต่อไปในเวลาที่โลกเสื่อมจากศีลธรรม
    ในเวลาที่มนุษย์ มีอายุน้อย สัตว์โลกทั้งหลาย จักมีกิเลสราคะกล้าแข็ง นางกุมารีรุ่นที่มีวัยยังไม่สมบูรณ์
    จักคบชู้สู่หาสมาคมกับบุรุษ จักมีระดูและมีครรภ์ จักเจริญด้วยบุตรธิดามากมาย ข้อที่กุมารีรุ่น ๆ เหล่านั้นมีระดู ก็เหมือนกับต้นไม้และกอไม้เล็ก ๆ ผลิดอก ข้อที่กุมารีรุ่น ๆ เหล่านั้น
    เจริญด้วยบุตรธิดามากมาย ก็เหมือนกับต้นไม้เล็ก ๆ มีผล

    ๓. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพระสุบินว่า
    แม่โคใหญ่ มาวอนขอนม จากลูกโคที่เกิดในวันนั้นกิน

    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
    สุบินนิมิตนี้ จักปรากฏผลในอนาคตกาลไกลโน้น จักมีในเวลาที่หมู่มนุษย์เสื่อมจากธรรมะ
    คือการประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ คือ ต่อไปภายหน้า มนุษย์ทั้งหลายจักไม่มีความเอื้อเฟื้อในมารดา บิดาเป็นต้น จักจัดแจงขวนขวายรวบรวมทรัพย์สมบัติทั้งหมดเสียเองแล้ว ถ้าชอบใจ จะให้ข้าวปลาอาหาร
    ผ้านุ่ง ผ้าห่มแก่มารดา บิดา ก็ให้ ถ้าไม่ชอบใจ ก็ไม่ให้ มารดา บิดา ผู้แก่เฒ่าชราลงต้องงอนง้อประจบลูก
    ขอเลี้ยงชีวิตไป เหมือนโคใหญ่มาวอนขอนมจากลูกโค ซึ่งเกิดในวันนั้นกิน ฉะนั้น

    ๔. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพระสุบินว่า
    โคใหญ่เคยไถนา เขาไม่นำพา ทอดทิ้งเสีย เอาลูกโคเล็ก ๆ มาเทียมไถ ลูกโคเหล่านั้น ไม่สามารถจะลากไป ก็สลัดแอกทิ้งเสีย แล้วยืนนิ่งอยู่เฉย ๆ เกวียนก็ไม่เคลื่อนจากที่

    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
    สุบินนิมิตนี้ จักปรากฏผลในกาลไกลโน้น คือ ในเวลาที่เป็นผู้ใหญ่ มีอำนาจ ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เป็นความจริง
    ในภายหน้าคนชั้นต่ำ ๆ ที่ได้รับสมมติให้เป็นใหญ่ จักไม่ตั้งอยู่ในธรรม จักไม่ให้ยศแก่อำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่
    ซึ่งเป็นนักปราชญ์ ฉลาดรู้รอบคอบในประเพณี มีความสามารถในการบริหารการงาน
    จักไม่ตั้งอำมาตย์ผู้เฒ่า ที่มีปรีชาญาณ และเชี่ยวชาญกฎหมายไว้ในธรรมสภา
    และแม้ในตำแหน่งผู้พิพากษา แต่จักยกย่องให้ยศแก่อำมาตย์หนุ่ม ๆ
    ซึ่งตรงกันข้ามกับผู้เฒ่าที่กล่าวแล้ว จักตั้งอำมาตย์หนุ่ม ๆ ไว้ในตำแหน่งผู้พิพากษา
    อำมาตย์หนุ่ม ๆ เหล่านั้น เมื่อไม่รู้ระเบียบราชการ และกิจที่ควรประพฤติ ไม่ควรประพฤติ
    ก็จะมีใจกำเริบคะนองไปต่าง ๆ จักไม่อาจดำรงยศไว้ได้
    และไม่อาจบริหารราชการให้เป็นไปโดยเรียบร้อย
    เมื่ออำมาตย์หนุ่ม ๆ เหล่านั้น ไม่สามารถ ก็ทอดทิ้งการงาน ส่วนอำมาตย์ผู้เฒ่าผู้แก่
    แม้สามารถบริหารกิจการงาน เมื่อไม่ได้ยศ ก็จักทอดธุระเสียว่า เราจะไปเกี่ยวข้องทำไม ไม่ใช่ธุระอะไรของเรา
    เมื่อเป็นเช่นนี้ ความเสื่อมด้วยประการทั้งปวง ก็จักมีแก่ผู้เป็นใหญ่ ตั้งอำมาตย์หนุ่ม ๆ ผู้ไม่สามารถไว้ในราชการ ก็เหมือนกับการเทียมลูกโคตัวเล็ก ๆ ซึ่งไม่สามารถจะลากแอกไว้ที่แอก
    ข้อที่ผู้เป็นใหญ่ ทอดทิ้งผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งสามารถในการงาน ไม่ยกย่อง ไม่ให้ยศ ก็เหมือนกับการไม่เทียมโคใหญ่ ซึ่งสามารถลากแอกไว้ที่แอกฉะนั้น

    ๕. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพระสุบินว่า
    ม้าตัวหนึ่งมีปากสองข้าง บุรุษสองคนเอาหญ้าป้อน ม้านั้นก็เคี้ยวกินหญ้าทั้งสองปาก

    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
    สุบินนิมิตนี้ จักปรากฏผลในอนาคตกาลไกลโน้น คือ ในกาลภายหน้า ผู้เป็นใหญ่ มีนิสัยอย่างพาล ๆ ไม่ตั้งอยู่ในธรรม จักตั้งคนโลเลเหลวไหลไร้ธรรมะไว้ในตำแหน่งผู้พิพากษา คนโลเลเหลวไหลเหล่านั้น ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เชื่อบุญ ไม่กลัวบาป เมื่อนั่งในที่พิพากษาคดี จักรับเอาสินบนจากคู่ความ คือ โจทก์และจำเลยทั้งสองฝ่าย ครั้นได้สินบนจากคู่ความแล้ว ก็วินิจฉัยคดีตามความชอบใจของตน เอาแต่สินบนเป็นประมาณ กิริยาที่ผู้วินิจฉัยคดี รับสินบนจากคู่ความทั้งสองข้าง เคี้ยวหญ้าที่บุรุษสองคนป้อนให้กินฉะนั้น

    ๖. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพระสุบินว่า
    มหาชนเช็ดขัดปัดสีถาดทองคำ อันมีค่าตั้งแสนตำลึง แล้วนำเข้าไปยื่นให้สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง แล้วบอกว่า
    จงถ่ายปัสสาวะลงในถาดทองคำนี้เถิด แล้วสุนัขจิ้งจอก ก็ถ่ายปัสสาวะลงในถาดทองคำนั้น

    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
    สุบินนิมิตนี้ จักปรากฏผลในอนาคตกาลไกลโน้น คือต่อไปภายหน้า ผู้เป็นใหญ่ไม่ตั้งอยู่ในธรรม จักไม่ยกย่อง ให้ยศแก่กุลบุตรผู้ถึงพร้อมด้วยชาติ คือเกิดในตระกูลสูง จักให้ยศแก่ผู้เกิดในตระกูลต่ำเท่านั้น
    เมื่อเป็นเช่นนี้ ตระกูลสูงจะต้องตกยาก เหล่าตระกูลต่ำ ๆ เลว ๆ จะได้เป็นใหญ่ และบุรุษที่เกิดในตระกูลสูง ตระกูลใหญ่นั้น เมื่อไม่สามารถจะเลี้ยงชีวิตได้ ก็จะยกธิดาของตน ๆ ให้แก่คนที่เกิดในตระกูลต่ำ ด้วยหวังจะอาศัยเขาเลี้ยงชีวิต กิริยาที่หญิงสาวผู้มีตระกูลอยู่ร่วมกับพวกที่เกิดในตระกูลต่ำนั้น ก็เหมือนกับสุนัขจิ้งจอกชรา ถ่ายปัสสาวะลงบนถาดทองคำ

    ๗. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพระสุบินว่า
    มีบุรุษคนหนึ่ง นั่งฟั่นเชือกอยู่บนตั่ง แล้วหย่อนปลายเชือกที่ฟั่นนั้น ให้ห้อยลงไป ณ ภายใต้ตั่ง มีนางสุนัขจิ้งจอกหิวนั้น ก็กัดกินต้นเชือกที่บุรุษนั้นฟั่นเรื่อย ๆ ไป ยิ่งฟั่นก็ยิ่งหมดไปทุกที

    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
    สุบินนิมิตนี้ จักปรากฏผลในอนาคตกาลข้างหน้าโน้น คือต่อไปภายหน้า หญิงทั้งหลาย จะประพฤติโลเลเหลาะแหละในชาย และลุ่มหลงในการเสพสุรา ตั้งหน้าซื้อหาเครื่องประดับประดาตกแต่งตน พากันไปเที่ยวในเวลาค่ำคืน ประพฤติเสียหาย ประดับร่างกายเสียหรูหรา นั่งดื่มสุรากับชายชู้ ไม่ค่อยดูกิจการน้อยใหญ่ในเรือนตน จักไปหาชายชู้โดยข้ามรั้วบ้านบ้าง
    โดยช่องทางต่าง ๆ บ้าง จักพากันแย่งใช้ทรัพย์สมบัติ ที่สามีหามาได้ด้วยการทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ
    รวมเอาไว้ด้วยความยากลำบาก เหมือนนางสุนัขจิ้งจอกหิว
    ซึ่งนอนอยู่ภายใต้ตั่ง กัดกินเชือกที่บุรุษฟั่นแล้ว ๆ หย่อนลงทางปลายเท้าฉะนั้น

    ๘.พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพระสุบินว่า
    ตุ่มใหญ่ใบหนึ่ง มีน้ำเต็ม (ตั้งอยู่ตรงกลาง) มีตุ่มเปล่าอีกเป็นจำนวนมาก ตั้งล้อมอยู่รอบ ๆ ประชาชนมาจาก ๘ ทิศ เอากระป๋องตักน้ำมาเทใส่เฉพาะตุ่มที่เต็มแล้วตุ่มเดียว น้ำที่เต็มแล้ว ก็ล้นไหลไปมิได้ขาดสาย แม้ตุ่มใบนั้น จะเต็มแล้วก็ตาม ประชาชนก็พยายามตักน้ำใส่ตุ่มนั้นอยู่นั่นเอง ส่วนตุ่มน้อย ๆ ที่ตั้งเรียงล้อมอยู่ ไม่มีผู้ใดเหลียวแลดูเลย

    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
    สุบินนิมิตนี้ จักปรากฏผลในอนาคตกาลไกลโน้น คือต่อไปภายหน้า โลกจักเสื่อม ประเทศบ้านเมืองจักแร้นแค้น
    ราชาทั้งหลายจะต้องตกยาก คือสิ้นราชอำนาจ ผู้ใดได้รับสมบัติให้เป็นใหญ่ ผู้นั้นจักร่ำรวย มีทรัพย์เป็นแสน ๆ
    ราชาผู้ตกยากคับแค้นเช่นนั้น ก็จักเกณฑ์ให้ชาวชนบททั่วไป หว่านพืชเพาะปลูกเพื่อประโยชน์ส่วนพระองค์
    พวกมนุษย์ชาวชนบท ครั้นถูกบังคับเบียดเบียนเช่นนั้น ก็ต้องทอดทิ้งการงานของตน ไปหว่านพืชพันธุ์ธัญญาหาร นำมาใส่ท้องพระคลังของพระราชา จักไม่มีผู้เหลียวดูยุ้งฉางเปล่า ๆ ในเรือนของตน
    จักเป็นเหมือนคนพากันตักน้ำใส่ตุ่มที่เต็มแล้ว ไม่ตักใส่ตุ่มที่พร่องฉะนั้น

    ๙. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพระสุบินว่า
    มีสระโบกขรณีสระหนึ่ง น้ำลึก ดาษดาไปด้วยบัวเบญจพรรณและมีท่าสำหรับขึ้นลงโดยรอบข้าง
    สัตว์สองเท้า สี่เท้า มากหลาย ก็ลงดื่มน้ำในสระนั้น โดยรอบ ๆ น้ำในที่ลึกตรงกลางสระนั้น กลับขุ่นมัว
    ส่วนน้ำตรงรอบขอบสระ ที่สระสองเท้า สี่เท้าเหยียบย่ำลงนั้น กลับใส สะอาดไม่ขุ่นมัว

    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
    สุบินนิมิตนี้ จักปรากฏผลในอนาคตกาลโน้น คือต่อไปภายกน้า ผู้เป็นใหญ่ทั้งหลาย จักไม่ตั้งอยู่ในธรรม จักปกครองบ้านเมือง โดยลุอำนาจอคติ ๔ มีฉันทาคติเป็นต้น จักมุ่งหวังแต่ผลประโยชน์ส่วนตนฝ่ายเดียว ไม่แลเหลียวถึงประชาชนผู้อยู่ใต้ปกครอง ผู้เป็นใหญ่เหล่านั้น จักไม่มีความเมตตาเอ็นดูในประชาชน จักบีบคั้นประชาชนด้วยการเพิ่มพลี คือ
    ภาษีอากร มีประการต่าง ๆ เก็บเอาทรัพย์สมบัติ ดุจบุคคลบีบน้ำอ้อยด้วยยนต์สำหรับหีบอ้อย
    ฝ่ายประชาชน ถูกภาษี บีบบังคับมากเกินไป ทนไม่ไหว ทิ้งที่อยู่อาศัย ไปอยู่ในที่ชายแดน
    ศูนย์กลางของบ้านเมือง จักรกร้างว่างเปล่า ที่ชายแดน จักมีคนอยู่หนาแน่นคับคั่ง
    เหมือนดังน้ำตรงกลางสระโบกขรณีขุ่นมัว แต่ริม ๆ สระน้ำใสสะอาดฉะนั้น

    ๑๐. พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพระสุบินว่า
    คนหุงข้าวในหม้อใบเดียว แต่ไม่สุก ครั้นคดออกพิจารณาดู ก็เห็นเป็น ๓ อย่าง คือ ข้างหนึ่งดิบ ข้างหนึ่งเปียกเกินไป อีกข้างหนึ่งดิบพอเป็นท้องเล็น

    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
    สุบินนิมิตนี้ จักปรากฏผลในอนาคตกาลโน้น คือ ต่อไปภายหน้า ผู้ครองบ้านเมืองทั้งหลาย จักไม่ตั้งอยู่ในธรรม
    เมืองผู้ครองบ้านเมืองเหล่านั้น ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ข้าราชการ พ่อค้า คฤหบดี ประชาชน
    ตลอดถึงสมณพราหมณ์ ก็จักไม่ตั้งอยู่ในธรรมเหมือนกัน เป็นอันว่าหมู่มนุษย์จักไม่ตั้งอยู่ในธรรม
    ต่อนั้นก็ถึงเทวดาผู้รักษามนุษย์เหล่านั้น แล้วก็เทวดาผู้รับพลีกรรม รุกขเทวดาอากาสัฏฐกเทวดา
    ก็จะพากันไม่ตั้งอยู่ในธรรม เป็นอันว่าไมู่เทวดา ก็จักไม่ตั้งอยู่ในธรรมเหมือนกัน
    ด้วยเหตุนี้ ลมพายุจัด จักพัดผัน ในสมัยของผู้ครองบ้านเมืองซึ่งไม่ตั้งอยู่ในธรรม
    ลมพายุจัดนั้น จักทำให้วิมานของอากาสัฏฐกเทวดาหวั่นไหว หมู่เทวดาก็จะพากันโกรธ บันดาลไม่ให้ฝนตก
    แม้จะตกบ้าง ก็ตกนิดหน่อย ไม่ทั่วบ้าน ทั่วเมือง จักไม่ตกให้เป็นประโยชน์แก่การเพาะปลูก ทำไร่ทำนา
    จักตกไม่สม่ำเสมอ บางแห่งตกมาก ทำให้ข้าวกล้าเสีย บางแห่งตกน้อยเกินไป ทำให้ข้าวกล้าเหี่ยวแห้ง
    บางแห่งตกพอดี ๆ ข้าวกล้างาม ข้าวกล้าที่หว่านไว้ในบ้านเมืองเดียวกัน แต่เป็นไปได้ต่าง ๆ คือ
    เหี่ยวแห้งบ้าง เน่าบ้าง งามบ้าง เหมือนข้าวที่หุงในหม้อใบเดียวกัน แต่มีอาการเป็นสามอย่าง คือ
    ดิบ เปียก และดิบพอเป็นท้องเล็น

    ๑๑. พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระสุบินว่า
    แก่นจันทน์มีราคาตั้งแสน คนทั้งหลายเอาแก่นจันทน์นั้น ไปแลกกับเปรียงเน่า

    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
    สุบินนิมิตนี้ จักปรากฏผล ในอนาคตกาลโน้น ในเมื่อศาสนาของตถาคตเสื่อมลง ต่อไปภายหน้า
    ภิกษุอลัชชีทั้งหลาย ไม่มีความละอายแก่บาป มุ่งแต่จะได้ปัจจัยลาภ จักมีจำนวนมาก
    ภิกษุอลัชชีเหล่านั้น จักแสดงธรรมที่ตถาคตแสดงไว้ ทำให้มีค่าสูงสุดคือ พระนิพพาน
    เพื่อประโยชน์แก่ปัจจัยสี่ ดุจเอาแก่นจันทน์ อันมีค่าตั้งแสน มาขายแลกกับเปรียงเน่าฉะนั้น

    ๑๒. พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระสุบินว่า
    น้ำเต้าเปล่า ๆ (คือน้ำเต้าที่คว้านไส้ออกเสีย เหลือแต่เปลือกเปล่า) ที่ควรจะลอยอยู่บนหลังน้ำ กลับจมลงไปอยู่ใต้น้ำ

    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
    สุบินนิมิตนี้ จักปรากฏผลในอนาคต ในสมัยที่ผู้ครองบ้านผ่านเมือง ไม่ตั้งอยู่ในธรรม
    โลกจักวิปริตเป็นไปต่าง ๆ คือ ผู้เป็นใหญ่ จักไม่ให้ยศแก่กุลบุตรผู้ถึงพร้อมด้วยชาติ คือ
    มีตระกูลสูง จักให้แก่ผู้เกิดในตระกูลต่ำเท่านั้น กุลบุตรผู้ไม่มีตระกูลทั้งหลาย จักได้เป็นใหญ่
    ส่วนกุลบุตรผู้มีตระกูลทั้งหลาย จักเป็นทลิททก คนเข็ญใจยากไร้
    และคนดีมีศีล มีสัตย์จักต่ำต้อย ดุจน้ำเต้าจมลงในน้ำฉะนั้น

    ๑๓. พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระสุบินว่า
    ศิลาแท่งทึบ ใหญ่ประมาณเท่าเรือนยอด ลอยอยู่ในน้ำได้ เหมือนสำเภาหรือเรือใหญ่ ๆ ฉะนั้น

    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
    สุบินนิมิตนี้ จักปรากฏผลใยอนาคตกาลโน้น คือว่าต่อไปภายหน้า ผู้เป็นใหญ่ซึ่งไม่ตั้งอยู่ในธรรม จักให้ยศแก่ผู้มีตระกูลต่ำ พวกที่มีตระกูลต่ำจักได้เป็นใหญ่ จักเฟื่องฟู และคนไม่ดี ไม่มีศีล ไม่มีสัตย์ จักเฟื่องฟูดุจศิลาแท่งทึบ ประมาณเท่าเรือนยอด ลอยอยู่ในน้ำได้เหมือนสำเภาหรือเรือใหญ่ฉะนั้น

    ๑๔. พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระสุบินว่า
    ฝูงนางเขียดตัวน้อย ๆ ตัวประมาณเท่าดอกมะซางเล็ก ไล่ติดตามฝูงงูเห่าใหญ่ ๆ โดยกำลังรวดเร็ว
    แล้วกัดกินเนื้องูเห่ากลืนกินลงไป

    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
    สุบินนิมิตนี้ จักปรากฏผลในอนาคตกาล ในเมื่อโลกเสื่อมจากศีลธรรม คือ
    ในระยะนั้น หมู่มนุษย์จักมีกิเลสหนา ตัณหาจัด เป็นไปในอำนาจแห่งกิเลส (ชาย)
    จักตกอยู่ในอำนาจภรรยาสาวของตน ทรัพย์สมบัติ มีเงินและทองเป็นต้น ก็จักตกไปอยู่กับภรรยาสาวทั้งสิ้น
    ภรรยาสาวเหล่านั้น จักด่าทอสามีของตน ด้วยประการต่าง ๆ ทำให้สามีอยู่ในอำนาจเหมือนฝูงเขียดน้อย ตัวเล็กเท่าดอกมะซางกลืนกินงูเห่าฉะนั้น

    ๑๕. พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระสุบินว่า
    พระยาหงษ์ทอง บินเข้าห้อมล้อมกาอันเที่ยวอยู่ ในบ้าน

    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
    สุบินนิมิตนี้ จักปรากฏผลในอนาคตกาลโน้น คือต่อไปภายหน้า ราชาทั้งหลาย จักไม่สามารถในศิลปะต่าง ๆ
    ไม่ชำนาญในยุทธวิธี ราชาเหล่านั้น จักไม่ให้ความเป็นใหญ่แก่กุลบุตรผู้มีชาติตระกูลเสมอกัน
    จักให้แก่คนมีชาติตระกูลต่ำเท่านั้น กุลบุตรผู้มีชาติตระกูลสูง เมื่อไม่ได้ที่พึ่งในราชตระกูลแล้ว
    จักไม่สามารถเลี้ยงชีวิต แล้วจักเที่ยวประจบ พินอบพิเทาคนที่มีตระกูลต่ำ ซึ่งได้รับยกย่องให้เป็นใหญ่
    เหมือนพระยาหงษ์ทอง บินเข้าห้อมล้อมกาอันเที่ยวอยู่ในบ้านฉะนั้น

    ๑๖. พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงพระสุบินว่า
    แพะไล่ตามกัดกินเสือเหลือง ภายหลังบรรดาเสือ มีเสือดาวเป็นต้น เหล่าอื่น เห็นแพะแล้ว ก็ตกใจสะดุ้งกลัว พากันหนีไปหลบซ่อนอยู่ ณ พุ่มไม้และชัฏป่า

    พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า
    สุบินนิมิตนี้ จักปรากฏผล ในอนาคตกาลโน้น ในเวลาที่ราชตระกูลไม่ตั้งอยู่ในธรรม ผู้ที่เกิดในตระกูลต่ำ
    เป็นที่คุ้นเคยของราชา จักได้เป็นใหญ่ ส่วนผู้ดีมีตระกูล จักยากจนเข็ญใจ ไม่ปรากฏชื่อ ผู้ที่เกิดในตระกูลต่ำ
    เมื่อได้เป็นใหญ่แล้ว จักเบียดเบียนผู้ดีมีตระกูล ทำให้ต้องซ่อนตัวหลบหนี
    แม้ในสังฆมณฑล เหล่าภิกษุอลัชชีชั่วช้า จักพากันเบียดเบียนพวกภิกษุผู้มีศีล ตามอำเภอใจ
    พวกภิกษุผู้มีศีลเหล่านั้น เมื่อไม่ได้ที่พึ่ง ก็จักพากันเข้าป่าหนีไปหลบซ่อน กิริยาที่พวกผู้มีตระกูลต่ำ
    เบียดเบียนผู้มีชาติตระกูลสูง ก็เหมือนแพะไล่ติดตามกัดกินเสือ และกิริยาที่พวกภิกษุอลัชชี เบียดเบียนภิกษุผู้มีศีล
    ก็เหมือนเสือดาวเป็นต้น หนีไปเพราะกลัวแพะฉะนั้น "


    ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบารมีปกเกล้าปกกะหม่อม อันแผ่ไพศาล ไปยังพสกนิกร ข้าพระพุทธเจ้า นาย จอมภพ เจริญเบญจฤทธา จึงปราถนาที่จะขอพระบรมราชานุญาต ได้เข้าเฝ้า และได้นำทูลเกล้า ถวายพระปริตรอันเป็นทำนองทิพย์ ซึ่งเป็นพระปริตรอันสมควร แก่เหตุและกาลปัจจุบันในบ้านเมือง ที่เปรียบประดุจพระสุบินอันเกิดขึ้นแก่พระเจ้าปเสนธิโกศล แด่พระองค์ผู้ทรงเป็นมิ่งขวัญของพสกนิกร อาณาประชาราช ปวงชนชาวไทยและ บุคคลต่างๆในนานาอารยะประเทศ ที่จงรักภักดี มีความเลื่อมใส เคารพรักพระองค์


    ด้วยเกล้าด้วยกะหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท นาย จอมภพ เจริญเบญจฤทธา
    บุตรชาย ของ นางเพ็ญศรี พันธสีมา

    "ข้าพเจ้าไม่ทราบและไม่ขอยืนยันอะไรได้ว่า เมื่อได้รู้ได้ฟังได้ยิน พระปริตรนี้แล้วชีวิตท่านจะเปลี่ยนแปลงในอะไรได้บ้าง แต่ครั้งหนึ่งเคยได้ไปโปรดสตรีมารดาของพระรูปหนึ่ง ที่อาการโคม่าที่ รพ.ทุ่งสง ผ่าไตและเป็นโรคแทรกซ้อนอีกหลายชนิด กำลังใจอ่อนแอฯ สวดไปสามจบกลางห้องรวม ครั้นวันรุ่งขึ้นก็ได้นำปิ่นโตมาถวายเพล ก็เป็นอะไรที่ปลื้มปิติในใจ ที่ได้ช่วยมารดาพระรูปนั้นมาจนทุกๆวันนี้ "
    "เป็นธรรมทาน"หากท่านใดใคร่จะฟังพระปริตรทำนองทิพย์ครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อจรรโลงใจรักษาท่วงทำนองไว้ (ผมอาจไม่มีชีวิตอยู่ได้นาน) ยูทูป ลงไว้แล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2017
  2. bussaba1

    bussaba1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    317
    ค่าพลัง:
    +573
    ขอบคุณค่ะที่นำมาให้อ่าน ขอให้เจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปน่ะค่ะ ปกติก็สวดอยู่ แต่ไม่ทุกวันจะเปลี่ยนสวดบทอื่นบ้าง แล้วแต่ว่าวันนี้อยากจะสวดบทไหน อ่านคำทำนายของพระพุทธเจ้าแล้วเป็นจริงทุกอย่างเลยค่ะ
     
  3. Tawee gibb

    Tawee gibb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,175
    ค่าพลัง:
    +1,721

    คุณจ่ายักษ์มีอิทธิฤทธิ์มาก ทำไมไม่เหาะไปพร้อมลูกแก้่วของคุณเข้าวังไปเลยล่ะ อย่างนี้เชื่อว่าคงได้เข้าเฝ้าสมประสงค์




    ไม่ขอยืนยัน แล้วทำไมจึงกล้ารบกวนพระเจ้าอยู่หัวให้มาตอบสนองความเชื่อของคุณ อาจเอื้อมจนเกินไปหรือเปล่า แค่หลงผิดและไม่กล้ายืนยัน แต่กลับกล้าจะไปรบกวนท่าน ถ้าท่านเหาะได้ เพื่อนของท่านก็ต้องเห็น แล้วเขาว่าอย่างไรหรือเปล่า

    สงบจิตสงบใจเถอะครับ ไอ้ที่จะไปถวายอะไรให้ท่านก็เก็บไว้เถิด ถ้าประสงค์สิ่งใดก็ย่อมจะได้ไม่ต้องรบกวนคุณเหาะไปถวายท่านหรอก คิดหรือเปล่าว่าท่านจะระคายเคืองเพราะเรื่องติงต๊องของคุณ รักษาตัวของคุณให้ดีๆเถอะ อาการอย่างนี้เป็นการหลงผิด คิดว่าตรวจสอบตนเองก่อนเพื่อกันพลาด คุณอาจป่วยมากอยู่ก็ได้นะครับ(อย่าชะล่าใจว่าคนอื่นหลงผิด ตัวคุณอาจป่วยจริงๆ ไปพบแพทย์เพื่อพิสูจน์ซะก่อน) การใดควรไม่ควรต้องแยะแยะให้ชัดอย่าได้ทำอะไรบุ่มบ่ามนะครับ ขอให้ทบทวนเสียก่อนนะครับจะเป็นกำลังใจให้
     
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คนซื่อตรง ไม่พูดคลาดความจริง.
    น อุชุภูตา วิตถํ ภณนฺติ.

    คำสัตย์แล เป็นวาจาไม่ตาย.
    สจฺจํ เว อมตา วาจา

    ผู้เกลียดธรรม เป็นผู้เสื่อม.
    ธมฺมเทสฺสี ปราภโว.

    คนได้เกียรติ (ชื่อเสียง) เพราะความสัตย์.
    สจฺเจน กิตฺตึ ปปฺโปติ.

    คนมีปัญญาทราม ย่อมแนะนำในทางที่ไม่ควรแนะนำ.
    อนยํ นยติ ทุมฺเมโธ.

    สัตบุรุษ ไม่ปราศรัยเพราะอยากได้กาม.
    น กามกามา ลปยนฺติ สนฺโต.

    คนมีปัญญาทราม ย่อมพร่าประโยชน์เสีย.
    หาเปติ อตฺถํ ทุมฺเมโธ.

    บัณฑิตมีความไม่เพ่งโทษของผู้อื่นเป็นกำลัง.
    นิชฺฌตฺติพลา ปณฺฑิตา.

    กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ
    การฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นการยาก

    กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท
    ความเกิดขึ้นแห่งท่านผู้รู้เป็นการยาก

    นตฺถิ พาเล สหายตา
    ความเป็นสหาย ไม่มีในคนพาล

    สจฺเจนาลิกวาทินํ
    พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง

    หทยสฺส สทิสี วาจา
    วาจาเช่นเดียวกับใจ

    สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ
    ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยถ้อยคำสำนวน

    ทุฏฺฐสฺส ผรุสวาจา
    คนโกรธมีวาจาหยาบคาย

    มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ
    คนเปล่งวาจาชั่วย่อมทำตนให้เดือดร้อน

    อภูตวาที นิรยํ อุเปติ
    คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก

    สณฺหํ คิรํ อตฺถาวหํ ปมุญฺจ
    ควรเปล่งวาจาให้ไพเราะที่มีประโยชน์

    ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย
    ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน

    น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
    ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย

    สํโวหาเรน โสเจยฺยํ กลฺยาณิง
    ควรเปล่งวาจางาม ให้เป็นที่พอใจฯ

    วาจํ มุญฺเจยฺย กลฺยาณิง
    ควรเปล่งวาจางาม

    โมกฺโข กลฺยาณิกา สาธุ
    เปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ

    มนุญฺญเมว ภาเสยฺย
    ควรกล่าวแต่วาจาที่น่าพอใจ

    นามนุญฺญํ กุทาจนํ
    ในกาลไหนๆ ไม่ควรกล่าววาจาไม่น่าพอใจ



    วาทีสูตร



    ว่าด้วยนักพูด ๔ จำพวก


    [๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน ?
    นักพูดย่อมจำนนโดยอรรถ แต่ไม่จำนนโดยพยัญชนะก็มี นักพูดจำนนโดย
    พยัญชนะแต่ไม่จำนนโดยอรรถก็มี นักพูดจำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะ
    ก็มี นักพูดไม่จำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    นักพูด ๔ จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิสัม-
    ภิทา ๔ พึงถึงความจำนนโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ นี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่
    โอกาส.
    จบวาทีสูตรที่ ๑๐
    จบปุคคลวรรคที่ ๔

    อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค พรหมสังยุต ปฐมวรรคที่ ๑
    ตุทุพรหมสูตรที่ ๙
    อรรถกถาตุทุพรหมสูตรที่ ๙
    ในตุทุพรหมสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า อาพาธิโก ความว่า ผู้มีอาพาธด้วยอาพาธอันมาในอนันตรสูตร โดยนัยว่า สาสปมตฺตีหิ ปิฬกาหิ เป็นต้น.
    บทว่า พาฬฺหคิลาโน ได้แก่ มีความป่วยไข้มีประมาณยิ่ง.
    บทว่า ตุทุ ความว่า พระอุปัชฌาย์ของภิกษุโกกาลิก ชื่อว่าตุทุเถระบรรลุอนาคามิผลแล้วบังเกิดในพรหมโลก. ตุทุพรหมนั้นได้ทราบข่าวบาปกรรมของภิกษุโกกาลิกตั้งต้นแต่ภุมมัฏฐกเทวดา โดยเล่าสืบๆ กันจนถึงพรหมโลกว่า ภิกษุโกกาลิกกล่าวตู่พระอัครสาวกด้วยอันติมวัตถุ ทำกรรมอันไม่สมควรแล้ว จึงมาปรากฏต่อหน้าภิกษุโกกาลิกนั้นด้วยหมายใจว่า เมื่อเราเห็นอยู่ เธออย่าเป็นคนกำพร้า [ปราศจากพวก] ต้องเสียหายไป เราจักเตือนเธอเพื่อให้จิตเลื่อมใสในพระเถระ.
    ท่านหมายเอาตุทุพรหมนั้น จึงกล่าวว่า ตุทุปัจเจกพรหม.
    บทว่า เปสลา แปลว่า ผู้มีศีลเป็นที่รัก.
    บทว่า โกสิ ตฺวํ อาวุโส ความว่า นอนลืมตาอันฝ้าฟาง จึงกล่าวอย่างนี้.
    บทว่า ปสฺส ยาวญฺจ เต ความว่า โกกาลิกะกล่าวว่า ท่านจงเห็นข้อที่ท่านผิดเพียงไร ท่านไม่เห็นฝีใหญ่ที่หน้าผากของตน เห็นกระผมที่ควรตักเตือนด้วย เพราะฝีเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด
    ครั้งนั้น ตุทุพรหมรู้ว่า โกกาลิกนี้ได้ประสบสิ่งที่ตนไม่เคยเห็น [ไม่มีประสบการณ์] เป็นคนกำพร้าจักไม่เชื่อคำของใครๆ เหมือนกลืนยาพิษอยู่ในลำคอ จึงกล่าวกะโกกาลิกว่า ปุริสสฺส หิ เป็นต้น.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุธารี ได้แก่ วาจาหยาบเช่นผึ่ง [ขวาน].
    บทว่า ฉินฺทติ ได้แก่ ตัดรากกล่าวคือกุศลทีเดียว.
    บทว่า นินฺทิยํ ได้แก่ บุคคลทุศีลที่ควรตำหนิ.
    ด้วยบทว่า ปสํสติ ท่านกล่าวสรรเสริญในอรรถอันสูงสุดว่าพระขีณาสพ.
    บทว่า ตํ วา นินฺทติ โย ปสํสิโย ความว่า อีกอย่างหนึ่ง กล่าวโจทย์พระขีณาสพผู้ที่ควรสรรเสริญ ด้วยอันติมวัตถุ ว่าผู้นี้เป็นผู้ทุศีล.
    บทว่า วิจินาติ มุเขน โส กลึ ความว่า ผู้นั้นชื่อว่าก่อความผิดด้วยปาก.
    บทว่า กลินา เตน ความว่า ย่อมไม่ประสบความสุขเพราะความผิดนั้น. ก็การสรรเสริญผู้ที่ควรติและการติผู้ที่ควรสรรเสริญ มีผลเท่ากันแล.
    บทว่า สพฺพสฺสาปิ สหาปิ อตฺตนา ความว่า ความปราชัยเสียทรัพย์เพราะการพนันทั้งหลาย พร้อมทั้งสิ่งของของตนทั้งหมดก็ดี พร้อมทั้งตนเองก็ดี เป็นความผิดเพียงเล็กน้อย.
    บทว่า โย สุคเตสุ ความว่า ก็ผู้ใดพึงมีจิตคิดประทุษร้ายในเหล่าบุคคลผู้ปฏิบัติดี ความประทุษร้ายแห่งจิตของผู้นั้นนี้เป็นโทษมากกว่าโทษในการพนันนั้น.
    บัดนี้ เมื่อจะแสดงความประทุษร้ายแห่งจิตนั้นว่ามีโทษมากกว่า จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า สตํ สหสฺสานํ ดังนี้.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตํ สหสฺสานํ ได้แก่ จำนวนแสนนิรัพพุทะ [นิรัพพุทะ ๑ เท่ากับจำนวน ๑ มีสูญตามหลัง ๖๓ ตัว ถ้าแสนนิรัพพุทะเป็นเท่าไร].
    บทว่า ฉตฺตึสติ ได้แก่ อีก ๓๖ นิรัพพุทะ.
    บทว่า ปญฺจ จ ได้แก่ จำนวน ๕ อัพพุทะ.
    บทว่า ยมริเย ครหี ความว่า ในข้อที่ผู้ติเตียนพระอริยะย่อมตกนรก มีอายุประมาณเท่านี้.

    จบอรรถกถาตุทุพรหมสูตรที่ ๙

    สัทธรรมวรรค

    สัทธรรมนิยามสูตรที่ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมพูดมาก ๑ พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้ว มาก ๑ พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้มีจิตไม่แน่วแน่ มนสิการโดยอุบายไม่แยบคาย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความ ถูกในกุศลธรรม ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่พูดมาก ๑ ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑ ไม่พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้มีจิตแน่วแน่มนสิการโดยอุบายแยบคาย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ฯ

    สัทธรรมนิยามสูตรที่ ๒

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมพูดมาก ๑ พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้ว มาก ๑ พูดปรารภตน ๑ เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า ๑ เป็นผู้มีความถือตัวว่า เข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูก ในกุศลธรรม ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรม อยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่พูดมาก ๑ ไม่พูดคำพูดที่ผู้อื่นพูดแล้วมาก ๑ ไม่พูด ปรารภตน ๑ เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เง่า ๑ ไม่เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ฯ

    สัทธรรมนิยามสูตรที่ ๓

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ แม้ ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้อันความ ลบหลู่ครอบงำ มีจิตแข่งดีฟังธรรม ๑ เป็นผู้แสวงโทษ มีจิตกระทบในผู้แสดง ธรรม มีจิตกระด้าง ๑ เป็นผู้มีปัญญาทราม โง่เง่า ๑ เป็นผู้มีความถือตัวว่าเข้าใจ ในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศล ธรรม ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ฟังสัทธรรม อยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศลธรรม ธรรม ๕ ประการ เป็นไฉน คือ บุคคลย่อมไม่เป็นผู้ลบหลู่คุณท่านฟังธรรม ๑ เป็นผู้อันความลบหลู่ ไม่ครอบงำ ไม่มีจิตแข่งดีฟังธรรม ๑ เป็นผู้ไม่แสวงโทษ ไม่มีจิตกระทบในผู้ แสดงธรรม ไม่มีจิตกระด้าง ๑ เป็นผู้มีปัญญา ไม่โง่เง่า ๑ ไม่เป็นผู้มีความถือ ตัวว่าเข้าใจในสิ่งที่ยังไม่เข้าใจ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ฟังสัทธรรมอยู่ เป็นผู้ควรเพื่อหยั่งลงสู่นิยาม คือ ความถูกในกุศล ธรรม ฯ

    สัทธรรมสัมโมสสูตรที่ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ ๑ ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ๑ ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ ๑ ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วไม่ปฏิบัติ ธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัย นี้ ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ ๑ เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ๑ ทรงจำธรรมโดย เคารพ ๑ ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ทรงจำไว้โดยเคารพ ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ

    สัทธรรมสัมโมสสูตรที่ ๒

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้ธรรมเป็นข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่ แสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรม ข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่บอกธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดย พิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไม่ทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมไม่ตรึกตรอง ไม่เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร นี้เป็น ธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่ง สัทธรรม ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลายใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ... อัพภูตธรรม เวทัลละ นี้ เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมบอกธรรมตามที่ได้ฟัง มา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ย่อมทำการสาธยายธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่ผู้อื่นโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายย่อมตรึกตรอง เพ่งดูด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม เป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ

    สัทธรรมสัมโมสสูตรที่ ๓

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลายใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตรที่ทรงจำไว้ไม่ดี ด้วยบทและพยัญชนะ ที่ตั้งไว้ไม่ดี แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ย่อมเป็นเนื้อความ มีนัยไม่ดี นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วย ธรรมกระทำให้เป็นผู้ว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน รับคำพร่ำสอนโดยไม่เคารพ นี้เป็น ธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการ หนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพหูสูต มีการเล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรง มาติกา ย่อมไม่บอกพระสูตรแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป พระสูตรย่อมขาดเค้ามูล ไม่มีหลัก นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ เป็นผู้มัก มาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด ทอดธุระในทาง วิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ประชุมชนรุ่นหลังย่อมถือเอาภิกษุเหล่านั้น เป็นตัวอย่าง ประชุมชนเหล่านั้นก็เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็น หัวหน้าในการล่วงละเมิด ทอดธุระในทางวิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึง ธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีก ประการหนึ่ง สงฆ์เป็นผู้แตกกัน เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว ย่อมมีการด่ากันและกัน บริภาษกันและกัน แช่งกันและกัน ทอดทิ้งกันและกัน ในเหตุการณ์เช่นนั้น คน ผู้ไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส และคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้วย่อมเหินห่าง นี้เป็น ธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่ง สัทธรรม ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตรที่ทรงจำไว้ดี ด้วยบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ ดี แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ย่อมเป็นเนื้อความที่มีนัยดี นี้เป็น ธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีก ประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความ ตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เป็น พหูสูตเล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ย่อมบอกแก่ผู้อื่นโดย เคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป พระสูตรย่อมไม่ขาดเค้ามูล มีหลักฐานอยู่ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่ง สัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ ย่อมไม่มักมาก ไม่ประพฤติย่อ หย่อน ทอดธุระในการล่วงละเมิด เป็นหัวหน้าในทางวิเวก ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรมที่ยัง ไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อม สูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง สงฆ์ย่อมเป็นผู้สมัครสมานกันดี ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเป็นอย่างเดียวกัน อยู่สบาย ก็เมื่อสงฆ์สมัครสมานกันดี ไม่มีการด่ากันและกัน ไม่บริภาษกันและกัน ไม่มีการแข่งขันกันและกัน ไม่ทอด ทิ้งกันและกัน ในเหตุการณ์เช่นนั้น คนผู้ไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส และคนบาง พวกที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อ ความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประ การนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ฯ

    ทุกถาสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวกย่อมเป็นถ้อยคำ ชั่ว เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล บุคคล ๕ จำพวกเป็นไฉน คือ ถ้อยคำปรารภศรัทธา เป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ถ้อยคำปรารภศีลเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล ๑ ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย ๑ ถ้อยคำปรารภจาคะเป็น ถ้อยคำชั่วแก่ผู้ตระหนี่ ๑ ถ้อยคำปรารภปัญญาเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา ๑ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ไม่มีศรัทธา เพราะผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะผู้ไม่มีศรัทธานั้น ย่อมไม่เห็นศรัทธาสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ ปีติปราโมทย์ที่มีศรัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็น ถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศีลจึง เป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทุศีล เพราะผู้ทุศีล เมื่อพูดเรื่องศีลย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะผู้ทุศีลนั้นย่อมไม่เห็นศีลสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติและ ปราโมทย์ที่มีศีลสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ ทุศีล เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย เพราะผู้ได้สดับน้อย เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ได้สดับน้อยนั้น ย่อมไม่เห็นสุตสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติ ปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทาเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำ ชั่วแก่ผู้ได้สดับน้อย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภจาคะจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ตระหนี่ เพราะผู้ตระหนี่ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดง ความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ตระหนี่นั้น ย่อมไม่เห็นจาคสัมปทาในตนและย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภจาคะ จึงเป็นถ้อยคำชั่วของผู้ตระหนี่ เพราะเหตุไร ถ้อยคำ ปรารภปัญญาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา เพราะผู้ทรามปัญญา เมื่อพูดเรื่อง ปัญญา ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคืองและความ ขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ทรามปัญญานั้นย่อมไม่เห็นปัญญา สัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภปัญญาจึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ทรามปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำ ของบุคคล ๕ จำพวกนี้แล ย่อมเป็นถ้อยคำชั่ว เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวก ย่อมเป็นถ้อยคำดี เมื่อ เทียบบุคคลกับบุคคล บุคคล ๕ จำพวกเป็นไฉน คือถ้อยคำปรารภศรัทธาเป็น ถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา ๑ ถ้อยคำปรารภศีลเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล ๑ ถ้อยคำปรารภ พาหุสัจจะเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก ๑ ถ้อยคำปรารภจาคะเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มี จาคะ ๑ ถ้อยคำปรารภปัญญาเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา ๑ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำดี แก่ผู้มีศรัทธา เพราะผู้มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธาย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่ พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะผู้มีศรัทธานั้นย่อมเห็นศรัทธาสัมปทาในตน และย่อมได้ปีติ ปราโมทย์ที่มีศรัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำดี แก่ผู้มีศรัทธา เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล เพราะผู้มีศีล เมื่อพูดเรื่องศีล ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดง ความโกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีศีลนั้น ย่อมเห็นศีลสัมปทาในตน และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีศีลสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภ พาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก เพราะผู้ได้สดับมาก เมื่อพูดเรื่อง พาหุสัจจะ ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความ โกรธเคืองและความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ได้สดับมากย่อม เห็นสุตสัมปทาในตน และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก เพราะเหตุไร ถ้อยคำ ปรารภจาคะจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ เพราะผู้มีจาคะ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ย่อม ไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคืองและ ความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีจาคะนั้นย่อมเห็นจาคะ สัมปทาในตน และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำ ปรารภจาคะ จึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภปัญญาจึงเป็น ถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา เพราะผู้มีปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคืองและความขัดใจ ให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีปัญญานั้น ย่อมเห็นปัญญาสัมปทาในตน และย่อมได้ปีติปราโมทย์ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้นถ้อยคำปรารภปัญญา จึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวกนี้แล ย่อมเป็นถ้อยคำดี เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล ฯ

    สารัชชสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อม ถึงความครั่นคร้าม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ ไม่มีศรัทธา ๑ เป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ได้สดับน้อย ๑ เป็นผู้เกียจคร้าน ๑ เป็นผู้ มีปัญญาทราม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมถึงความครั่นคร้าม ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นผู้ แกล้วกล้า ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี ศรัทธา ๑ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นผู้ได้สดับมาก ๑ เป็นผู้ปรารภความเพียร ๑ มี ปัญญา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อม เป็นผู้แกล้วกล้า ฯ

    อุทายิสูตร

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมือง โกสัมพี สมัยนั้น ท่านพระอุทายีผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่ง แสดงธรรมอยู่ ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรมอยู่ จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ท่านพระอุทายี ผู้อันคฤหัสถ์บริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว นั่งแสดงธรรม อยู่ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ภายใน แล้วจึงแสดง ธรรมแก่ผู้อื่น ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุพึงตั้งใจว่า เราจักแสดงธรรมไปโดย ลำดับ ๑ เราจักแสดงอ้างเหตุผล ๑ เราจักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู ๑ เรา จักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม ๑ เราจักไม่แสดงให้กระทบตนและผู้อื่น ๑ แล้ว จึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น ดูกรอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุ เมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น พึงตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในภายใน แล้วจึงแสดง ธรรมแก่ผู้อื่น ฯ

    ทุพพิโนทยสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ ยาก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ปฏิภาณ ๑ จิตคิดจะไป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ เกิดขึ้นแล้วบรรเทาได้ ยาก ฯ

    อักโกสกวรรค

    อักโกสกสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดชอบด่า ชอบบริภาษเพื่อน พรหมจรรย์ ชอบติเตียนพระอริยเจ้า ภิกษุนั้นพึงหวังได้โทษ ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน คือ เธอย่อมต้องอาบัติปาราชิก ขาดทางบรรลุโลกุตรธรรม ๑ ย่อมต้องอาบัติที่เศร้าหมองอย่างอื่น ๑ ย่อมได้รับโรคเรื้อรังอย่างหนัก ๑ ย่อม เป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดชอบด่า ชอบบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ ชอบติเตียน พระอริยเจ้า ภิกษุนั้นพึงหวังได้โทษ ๕ ประการนี้แล ฯ

    ภัณทนสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดผู้ทำความบาดหมาง ทำการทะเลาะ ทำการอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ภิกษุนั้นพึงหวังได้โทษ ๕ ประการ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ย่อมไม่ได้บรรลุคุณวิเศษที่ยังไม่ได้บรรลุ ๑ ย่อมเสื่อมจากคุณที่ ได้บรรลุแล้ว ๑ กิติศัพท์ที่ชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใด ทำความบาดหมาง ทำการทะเลาะ ทำการวิวาท ทำการอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ ภิกษุนั้นพึงหวังได้โทษ ๕ ประการนี้แล ฯ

    สีลสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ ๕ ประการ นี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมถึงความ เสื่อมโภคทรัพย์อย่างมากอันมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษข้อที่ ๑ ของคน ทุศีล เพราะศีลวิบัติ อีกประการหนึ่ง กิติศัพท์ที่ชั่วของผู้ทุศีล มีศีลวิบัติย่อมฟุ้ง ไป นี้เป็นโทษข้อที่ ๒ ของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ อีกประการหนึ่ง ผู้ทุศีล มีศีลวิบัติ จะเข้าสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัทย่อมไม่องอาจ เก้อเขินเข้าไปนี้เป็นโทษข้อที่ ๓ ของคนทุศีล เพราะศีล วิบัติอีกประการหนึ่งคนทุศีล มีศีลวิบัติ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ นี้เป็นโทษข้อ ที่ ๔ ของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ อีกประการหนึ่ง คนทุศีล มีศีลวิบัติ เมื่อ ตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษ ข้อที่ ๕ ของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของคนทุศีล เพราะศีลวิบัติ ๕ ประการ นี้แล ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ในธรรมวินัยนี้ ย่อมถึงกองโภคทรัพย์มากมาย อันมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ข้อ ที่ ๑ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล อีกประการหนึ่ง กิติศัพท์อัน งามของคนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมฟุ้งไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ของคน มีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล อีกประการหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล จะเข้าสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คฤหบดีบริษัท สมณบริษัท ย่อมองอาจ ไม่เก้อเขินเข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ ของคนมีศีล เพราะความ ถึงพร้อมด้วยศีล อีกประการหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่หลง กระทำกาละ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล อีกประการหนึ่ง คนมีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อานิสงส์ของคนมีศีล เพราะความถึงพร้อมด้วยศีล ๕ ประการนี้แล ฯ

    พหุภาณีสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้พูด มาก ๕ ประการเป็นไฉน คือ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้พูดมาก ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้พูดพอ ประมาณ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ไม่พูดเท็จ ๑ ไม่พูดส่อเสียด ๑ ไม่พูดคำ หยาบ ๑ ไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้พูดพอประมาณ ฯ

    อขันติสูตรที่ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ผู้ไม่อดทนย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคน เป็นอันมาก ๑ ย่อมเป็นผู้มากด้วยเวร ๑ ย่อมเป็นผู้มากด้วยโทษ ๑ ย่อมเป็นผู้ หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้แล ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น ไฉน คือ ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่ มากด้วยเวร ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่มากด้วยโทษ ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อ ตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายอานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้แล ฯ

    อขันติสูตรที่ ๒

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการ นี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ผู้ไม่อดทนย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของ คนเป็นอันมาก ๑ ย่อมเป็นผู้โหดร้าย ๑ ย่อมเป็นผู้เดือดร้อน ๑ ย่อมเป็นผู้หลง กระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้แล ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก ๑ ย่อม เป็นผู้ไม่โหดร้าย ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่เดือดร้อน ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความ อดทน ๕ ประการนี้แล ฯ

    อปาสาทิกสูตรที่ ๑

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้ถึงพร้อม ด้วยกายกรรมเป็นต้นอันไม่น่าเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน คือ แม้ตนเองย่อม ติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้ว ย่อมติเตียน ๑ กิติศัพท์ที่ชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยกายกรรม เป็นต้นอันไม่น่าเลื่อมใส ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้มีความ ประพฤตินำมาซึ่งความเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน คือ แม้ตนเองย่อมไม่ ติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้วย่อมสรรเสริญ ๑ กิติศัพท์อันงาม ย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปเข้าย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้ มีความประพฤตินำมาซึ่งความเลื่อมใส ฯ

    อปาสาทิกสูตร ๒

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้ถึง พร้อมด้วยกายกรรมเป็นต้นอันไม่น่าเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน คือ คนพวก ที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส ๑ คนพวกที่เลื่อมใสแล้วบางพวกย่อมคลาย ความเลื่อมใส ๑ ชื่อว่าย่อมไม่กระทำตามคำสอนของพระศาสดา ๑ ประชุมชนชั้น หลังย่อมถือตาม ๑ จิตของเขาย่อมไม่เลื่อมใส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยกายกรรมเป็นต้นอันไม่น่า เลื่อมใส ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้มีความ ประพฤตินำมาซึ่งความเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน คือ คนพวกที่ยังไม่เลื่อมใส ย่อมเลื่อมใส ๑ คนพวกที่เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น ๑ ชื่อว่าย่อม กระทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา ๑ ประชุมชนชั้นหลังย่อมถือตาม ๑ จิตของ เขาย่อมเลื่อมใส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ใน บุคคลผู้มีความประพฤตินำมาซึ่งความเลื่อมใส ฯ

    อัคคิสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่เพราะไฟ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ทำให้ตาฝ้าฟาง ๑ ทำให้ผิวเสีย ๑ ทำให้ทุรพล ๑ ย่อมยังการคลุกคลีหมู่คณะให้เจริญ ๑ ย่อมยังติรัจฉานกถาให้เป็นไป ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่เพราะไฟ ฯ

    มธุราสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในนครมธุรา ๕ ประการเป็นไฉน คือ นครมธุรามีพื้นดินไม่ราบเรียบ ๑ มีฝุ่นมาก ๑ มี สุนัขดุ ๑ มียักษ์ร้าย ๑ หาอาหารได้ยาก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการ นี้แล มีอยู่ในนครมธุรา ฯ

    ทุจริตวรรค

    ทุจริตสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะทุจริต ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ แม้ตนเองย่อมติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้วย่อมติเตียน ได้ ๑ กิติศัพท์อันชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อม เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะทุจริต ๕ ประการนี้แล ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะสุจริต ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ แม้ตนเองย่อมไม่ติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้วย่อม สรรเสริญ ๑ กิติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมไม่เป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อ ตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะสุจริต ๕ ประการนี้แล ฯ

    กายทุจริตสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะกายทุจริต ๕ ประการนี้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะกายสุจริต ๕ ประการนี้ ฯลฯ

    วจีทุจริตสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะวจีทุจริต ๕ ประการนี้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะวจีสุจริต ๕ ประการนี้ ฯลฯ

    มโนทุจริตสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะมโนทุจริต ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ แม้ตนเองย่อมติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้วย่อม ติเตียน ๑ กิติศัพท์ที่ชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะ มโนทุจริต ๕ ประการนี้แล ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะมโนสุจริต ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ แม้ตนเองย่อมไม่ติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้วย่อม สรรเสริญ ๑ กิติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมไม่เป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อ ตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะ มโนสุจริต ๕ ประการนี้แล ฯ

    อปรทุจริตสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะทุจริต ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ แม้ตนเองย่อมติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้วย่อมติเตียน ๑ กิติศัพท์ที่ชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม ๑ ย่อมตั้งอยู่ในอสัทธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะทุจริต ๕ ประการนี้แล ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะสุจริต ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น ไฉน คือ แม้ตนเองย่อมไม่ติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้วย่อมสรรเสริญ ๑ กิติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเสื่อมจากอสัทธรรม ๑ ย่อมตั้งอยู่ในสัทธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะสุจริต ๕ ประการนี้แล ฯ

    อปรกายทุจริตสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะทุจริต ๕ ประการนี้ ฯลฯ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะสุจริต ๕ ประการนี้ ฯลฯ

    อปรวจีทุจริตสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะวจีทุจริต ๕ ประการนี้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะวจีสุจริต ๕ ประการนี้ ฯลฯ

    อปรมโนทุจริตสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะมโนทุจริต ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ แม้ตนเองย่อมติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้ว ย่อมติเตียน ๑ กิติศัพท์ที่ชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม ๑ ย่อมตั้ง อยู่ในอสัทธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในเพราะมโนทุจริต ๕ ประการนี้แล ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะมโนสุจริต ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ แม้ตนเองย่อมไม่ติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้วย่อม สรรเสริญ ๑ กิติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเสื่อมจากอสัทธรรม ๑ ย่อมตั้ง อยู่ในสัทธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในเพราะมโนสุจริต ๕ ประการ นี้แล ฯ

    สีวถิกาสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในป่าช้า ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น ไฉน คือ เป็นที่ไม่สะอาด ๑ มีกลิ่นเหม็น ๑ มีภัยเฉพาะหน้า ๑ เป็นที่อยู่ของ พวกมนุษย์ร้าย ๑ เป็นที่รำพันทุกข์ของชนหมู่มาก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษ ในป่าช้า ๕ ประการนี้แล ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในบุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้า ๕ ประการนี้ ฉันนั้น เหมือนกัน ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ย่อมประกอบด้วยกาย กรรมอันไม่สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด เรา กล่าวข้อนี้เพราะเขาเป็นผู้ไม่สะอาด ป่าช้านั้นเป็นที่ไม่สะอาด แม้ฉันใด เรากล่าว บุคคลนี้เปรียบฉันนั้น ฯ

    กิติศัพท์ที่ชั่วของเขาผู้ประกอบด้วยกายกรรม อันไม่สะอาด ด้วยวจีกรรม อันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด ย่อมฟุ้งไป เรากล่าวข้อนี้เพราะเขาเป็นผู้ มีกลิ่นเหม็น ป่าช้ามีกลิ่นเหม็นแม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น ฯ

    เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รัก ย่อมเว้นไกลซึ่งบุคคลนั้นผู้ประกอบ ด้วยกายกรรมอันไม่สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด เรากล่าวข้อนี้เพราะเขามีภัยเฉพาะหน้า ป่าช้ามีภัยเฉพาะหน้า แม้ฉันใด เรากล่าว บุคคลนี้เปรียบฉันนั้น ฯ

    เขาประกอบด้วยกายกรรมอันไม่สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด ด้วย มโนกรรมอันไม่สะอาด ย่อมอยู่ร่วมกับบุคคลผู้เสมอกัน เรากล่าวข้อนี้เพราะเขา เป็นที่อยู่ของสิ่งร้าย ป่าช้าเป็นที่อยู่ของอมนุษย์ร้าย แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้ เปรียบฉันนั้น ฯ

    เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รัก เห็นเขาผู้ประกอบด้วยกายกรรมอันไม่ สะอาด ด้วยวจีกรรมอันไม่สะอาด ด้วยมโนกรรมอันไม่สะอาด แล้วย่อมรำพัน ทุกข์ว่า โอ เป็นทุกข์ของพวกเราผู้อยู่ร่วมกับบุคคลเห็นปานนี้ เรากล่าวข้อนี้เพราะเขา เป็นที่รำพันทุกข์ ป่าช้าเป็นที่รำพันทุกข์ ของชนหมู่มาก แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคล นี้เปรียบฉันนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในบุคคลผู้เปรียบด้วยป่าช้า ๕ ประการนี้แล ฯ

    ปุคคลปสาทสูตร

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคล ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้น ต้องอาบัติอันเป็นเหตุให้สงฆ์ยกวัตร เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบ ใจของเรานี้ ถูกสงฆ์ยกวัตรเสียแล้ว เขาจึงเป็นผู้ไม่มีความเลื่อมใสมากในพวก ภิกษุ เมื่อไม่มีความเลื่อมใสมากในพวกภิกษุ จึงไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่ คบหาภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคลข้อที่ ๑ ฯ

    อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นต้องอาบัติ อันเป็นเหตุให้สงฆ์บังคับให้เขานั่งที่สุดสงฆ์ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรานี้ ถูกสงฆ์บังคับให้นั่งในที่สุดสงฆ์เสียแล้ว เขาจึงเป็นผู้ไม่มี ความเลื่อมใสมากในพวกภิกษุ ... จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความ เลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคลข้อที่ ๒ ฯ

    อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นหลีกไปสู่ ทิศเสีย เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ หลีกไปสู่ทิศ เสียแล้ว เขาจึงเป็นผู้ไม่มีความเลื่อมใสมากในพวกภิกษุ ... จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคลข้อที่ ๓ ฯ

    อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นลาสิกขา เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ ลาสิกขาเสียแล้ว เขาจึง ไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น ... จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความเสื่อมใสที่ เกิดขึ้นในบุคคลข้อที่ ๔ ฯ

    อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นกระทำกาละ เสีย เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเรานี้ กระทำกาละเสียแล้ว เขาจึงไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น เมื่อไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อ ไม่ฟังสัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้น ในบุคคลข้อที่ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษในความเลื่อมใสที่เกิดในบุคคล ๕ ประการนี้แล ฯ


    ๙. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร
    พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

    เล่ม ๒๔.พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑

    ๙. ปฐมปัชชุนนธีตุสูตร
    คาถาของธิดาท้าวปัชชุนนะ
    [๑๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฎาคารศาลาในป่า
    มหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว ธิดาของท้าวปัชชุนนะ
    ชื่อโกกนทา มีวรรณะงาม ยังป่ามหาวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
    พระภาคเจ้า ครั้นแล้วจึงถวายอภิวาท แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
    [๑๓๒] ธิดาของท้าวปัชชุนนะ ชื่อโกกนทา ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควร
    ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กล่าวคาถาทั้งหลายนี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
    หม่อมฉันชื่อว่าโกกนทา เป็นธิดา
    ของท้าวปัชชุนนะ ย่อมไหว้เฉพาะพระ-
    สัมพุทธเจ้าผู้เลิศกว่าสัตว์ ผู้เสด็จอยู่ในป่า
    กรุงเวสาลี สุนทรพจน์ว่า ธรรมอันพระ-
    สัมพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาจักษุ ตาม
    ตรัสรู้แล้วดังนี้ หม่อมฉันได้ยินแล้วใน
    กาลก่อน แท้จริง หม่อมฉันนั้น เมื่อ
    พระสุคตผู้เป็นมุนีทรงแสดงอยู่ ย่อมรู้
    ประจักษ์ในกาลนี้ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งมี
    ปัญญาทราม ติเตียนธรรมอันประเสริฐ
    เที่ยวไปอยู่ ชนเหล่านั้น ย่อมเข้าถึงโรรุว-

    นรกอันร้ายกาจ ประสบทุกข์ตลอดกาล-
    นาน ส่วนชนทั้งหลายเหล่าใดแล ประกอบ
    ด้วยความอดทนและความสงบในธรรมอัน
    ประเสริฐ ชนทั้งหลายเหล่านั้น ละร่างกาย
    อันเป็นของมนุษย์ แล้วจักยังหมู่เทวดาให้
    บริบูรณ์.
    อรรถกถาปัชชุนนธีตุสูตร
    พึงทราบวินิจฉัยในปฐมปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๙ ต่อไป :-
    บทว่า ปชฺชุนฺนสฺส ธีตา แปลว่า ธิดาของท้าวปัชชุนนะ อธิบายว่า
    ธิดาของท้าวจาตุมหาราชิกาผู้เป็นเทวราชของวัสสวลาหก ชื่อว่า ท้าวปัชชุนนะ.
    บทว่า อภิวนฺเท แปลว่า ย่อมไหว้ อธิบายว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
    หม่อมฉันย่อมไหว้พระยุคลบาทของพระองค์. บทว่า จกฺขุมตา แปลว่า
    ผู้มีจักษุ อธิบายว่า เทพธิดากล่าวว่า สุนทรพจน์ว่า ธรรมอันพระตถาคต
    ผู้มีจักษุด้วยจักษุ* ๕ ตามตรัสรู้แล้ว หม่อมฉันได้ยินแล้วในสำนักแห่งชน
    เหล่าอื่นอย่างเดียวเท่านั้น. บทว่า สาหํทานิ ตัดบทเป็น สา อหํ อิทานิ
    แปลว่า หม่อมฉันนั้น...ในกาลบัดนี้. บทว่า สกฺขิ ชานามิ แปลว่า
    ย่อมรู้ประจักษ์ คือว่า ย่อมรู้ประจักษ์ ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอด. บทว่า
    วิครหนฺตา แปลว่า ติเตียน คือได้แก่ ติเตียนอย่างนี้ว่า ธรรมนี้มีบทแห่ง
    อักขระและพยัญชนะอันเลว หรือว่า ธรรมนี้ไม่เป็นนิยยานิกะ. บทว่า โรรุวํ
    * จักษุ ๕ คือ มังสจักษุ, ทิพยจักษุ, ปัญญาจักษุ พุทธจักษุ, และ สมันตจักษุ
    แปลว่า โรรุวนรก อธิบายว่า โรรุวนรก มี ๒ คือ ธูมโรรุวนรก และ
    ชาลโรรุวนรก. ในนรก ๒ นั้น ธูมโรรุวนรกมีอยู่ส่วนหนึ่ง ก็คำว่า ชาล-
    โรรุวนรกนั้น เป็นชื่อของอเวจีมหานรก. เพราะว่า ในโรรุวนรกนั้น เมื่อ
    ไฟโพลงอยู่ ๆ สัตว์ทั้งหลาย ย่อมร้องบ่อย ๆ เพราะฉะนั้น นรกนั้น ท่านจึง
    เรียกว่า โรรุวะ ดังนี้. บทว่า โฆรํ แปลว่า ร้ายกาจ ได้แก่ ทารุณ.
    บทว่า ขนฺติยา อุปสเมน อุเปตา แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความอดทน
    และความสงบ อธิบายว่า ครั้นชอบใจแล้ว ครั้นอดทนแล้ว จึงชื่อว่า
    ประกอบแล้วด้วยขันติเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและความสงบจากกิเลสมีราคะเป็นต้น
    ดังนี้แล.
    จบอรรถกถาปฐมปัชชุนนธีตุสูตรที่ ๙
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01032.JPG
      DSC01032.JPG
      ขนาดไฟล์:
      201.7 KB
      เปิดดู:
      309
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 สิงหาคม 2014
  5. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..........ถ้าไม่สามารถถวายต่อหน้าพระพักติ์ ก็ ถวายที่ใหนก้ได้ครับผมคิดว่า เจตนาที่เป็นกุศล ยังไงก็เป็นกุสล ผลก็ย่อมเป็นกุศล:cool:
     
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มหัศจรรย์แห่ง 'ธรรม' พระธรรมเทศนาหน้าพระพักตร์
    พระธรรมเทศนาหน้าพระที่นั่ง 'ธัมมวิจักขณกถา' ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และ สมเด็จพระนาง
    เจ้าฯ พระบรมราชินีนาถในโอกาสทรงบ าเพ็ญพระราชกุศล วิสาขบูชา ณ วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร
    ไชยาจ.สุราษฎ์ธานี เมื่อวันเพ็ญเดือนหก วันอังคารที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๑๐ ซึ่งแสดงธรรมโดย
    พระธรรมโกศาจารย์ ในขณะด ารงสมณศักดิ์ พระราชชัยกวี(พุทธทาสภิกขุ)
    _____________________________________________________________________________________
    ธัมมวิจักขณกถา.
    ธรรมที่ควรพึงเห็นโดยประจักษ์
    ขอถวายพระพรเจริญพระราชสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลพระชนมสุขทุกประการจงมีแด่สมเด็จบรม
    บพิตรพระราชสมภาร พระองค์สมเด็จพระปรมินทรธรรมิกมหาราชาธิราชเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ
    บัดนี้จักรับพระราชทานถวายวิสัชนา ในธัมมวิจักขณกถาฉลองพระเดชพระคุณ ประดับพระปัญญาบารมีถ้า
    รับพระราชทานถวายวิสัชนาไปมิได้ต้องตามโวหารอรรถาธิบายในพระธรรมเทศนาบทใดบทหนึ่งก็ดี ขอ
    พระเดชะพระเมตตาคุณ พระกรุณาคุณ และพระขันติคุณ ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานอภัยแก่อาตมะ
    ผู้มีสติปัญญาน้อย, ขอถวายพระพร.
    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ
    โย ธมฺม ปสฺสติ โส ม ปสฺสติ
    โย ธมฺม น ปสฺสติ โส ม น ปสฺส ตี-ติ
    ธมฺโม สกกจจ โสตพฺโพ-ติ.
    “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต”
    ณ บัดนี้ จักได้รับพระราชทานถวายวิสัชนาในธัมมวิจักขณกถา ด าเนินความตามวาระพระบาลีดังที่
    ได้ยกขึ้นไว้เป็นนิกเขปเบื้องต้นว่า โยธัมมัง ปัสสะติ โส มัง ปัสสะติ ฯลฯ เป็นอาทิ ซึ่งมีใจความว่า “ผู้ใดเห็น
    ธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต ผู้ใดไม่เห็นธรรม ผู้นั้นไม่เห็นเราตถาคต”ดังนี้เป็นต้น เพื่อเป็นธรรมเทศนาเนื่อง
    ในโอกาสพระราชกุศลวิสาขบูชา ตามพระราชประเพณีก็แล ในการกุศลวิสาขบูชานี้ พุทธบริษัททั้งหลายย่อมท าการถวายการบูชาอันสูงสุด ด้วย กาย วาจา
    ใจแด่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า การบูชาด้วยกายก็คือการเดินเวียนเทียนประทักษิณเป็นต้น การบูชาด้วย
    วาจาก็คือการน้อมระลึกถึงพระคุณของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น อยู่ตลอดเวลาแห่งการกระท า
    วิสาขบูชา
    ก็แต่ว่า การกระท าทั้งสามประการนี้จักส าเร็จประโยชน์เต็มที่ได้ก็ด้วยการเห็นธรรม ตามที่พระ
    พุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า 'ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต' ดังที่กล่าวแล้วข้างต้นนั้นเอง ดังนั้น จะได้ถวาย
    วิสัชนาโดยพิสดารในข้อความอันเกี่ยวกับค าว่า 'ธรรม' ในที่นี้.
    “พระพุทธองค์จริงนั้น คือสิ่งที่เรียกว่าธรรม”
    “ธรรมนั้นแหละ คือพระพุทธองค์จริงองค์จริง”
    จากพระพุทธสุภาษิตนั้น ย่อมแสดงให้เห็นได้โดยประจักษ์อยู่แล้วว่า “พระพุทธองค์จริงนั้น คือสิ่ง
    ที่เรียกว่าธรรม” หรือ “ธรรมนั้นแหละ คือพระพุทธองค์จริงองค์จริง”,ด้วยเหตุนั้นเอง พระพุทธองค์จึงได้
    ตรัสว่า ผู้ใดไม่เห็นธรรม ผู้นั้นไม่เห็นเราตถาคต, ต่อเมื่อเห็นธรรม จึงชื่อว่าเห็นตถาคต
    ก็แล ในสมัยที่พระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น พระสรีระร่างกายของพระองค์ได้ตั้งอยู่ใน
    ฐานะเป็นตัวแทนแห่งธรรมส าหรับเครื่องสักการบูชาแห่งสัตว์โลกทั้งหลายเป็นต้น. ครั้นพระองค์เสด็จดับ
    ขันธ์ปรินิพพานแล้ว ก็มีพระสารีริกธาตุคือธาตุอันเนื่องกับพระสรีระนั้น ได้เหลืออยู่เป็นตัวแทนแห่งธรรม
    สืบไปตลอดกาลนาน ดังเช่น พระสารีริกธาตุแห่งนี้ที่พุทธบริษัททั้งหลายมีสมเด็จบรมบพิตรพระราช
    สมภารเป็นประธาน ได้กระท าสักการบูชาเสร็จสิ้นไปแล้ว เมื่อสักครู่นี้
    ข้อนี้สรุปความได้ว่า พระพุทธองค์ พระองค์จริงนั้น ยังคงอยู่ตลอดกาล และเป็นสิ่งเดียวกันเสมอ
    ไป. ได้แก่สิ่งที่เรียกว่า“ธรรม” ส่วนนิมิตหรือตัวแทนแห่งธรรมนั้น เปลี่ยนแปลงได้ตามควรแก่สถานะ, คือ
    จะเป็นพระสรีระของพระองค์โดยตรงก็ได้, หรือจะเป็นพระสารีริกธาตุก็ได้, หรือจะเป็นอุทเทสิกเจดีย์ มี
    พระพุทธรูปเป็นต้น ก็ได้, แต่ทั้งหมดนั้นล้วนแต่มีความหมายอันส าคัญสรุปรวมอยู่ที่สิ่งที่เรียกว่า 'ธรรม'
    นั่นเอง“ธรรม”ในพุทธศาสนานั้น หมายถึงสิ่งทุกสิ่งจริงๆ,
    ค าว่า “ธรรม”ค านี้ เป็นค าพูดที่ประหลาดที่สุดในโลก, เป็นค าที่แปลเป็นภาษาอื่นไม่ได้, ได้มีผู้
    พยายามแปลค าค านี้เป็นภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ออกไปตั้ง ๒๐-๓๐ ค า ก็ยังไม่ได้
    ความหมายครบ หรือตรงตามความหมายของภาษาบาลีหรือของพุทธศาสนา, ส่วนประเทศไทยเรานี้โชคดี
    ที่ได้ใช้ค าค านี้เสียเลยโดยไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทย, เราจึงได้รับความสะดวกไม่ยุ่งยากล าบากเหมือนพวกที่
    ต้องพยายามจะแปลค าค านี้เป็นภาษาของตนๆ
    ค าว่า “ธรรม” เป็นค าสั้นๆ เพียงพยางค์เดียวแต่มีความหมายกว้างขวางลึกซึ้ง น่ามหัศจรรย์เพียงไร
    เป็นสิ่งที่ควรพิจารณาดูอย่างยิ่ง ดังต่อไปนี้,
    ในภาษาบาลี หรือจะเรียกว่าภาษาพระพุทธศาสนาก็ตาม ค าว่า “ธรรม” นั้น ใช้หมายถึงสิ่งทุกสิ่งไม่
    ยกเว้นสิ่งใดเลย, ไม่ว่าจะเป็น สิ่งดี สิ่งชั่ว หรือสิ่งไม่ดี ไม่ชั่ว ก็รวมอยู่ในค าว่า “ธรรม” ค าเดียวกันนี้ทั้งหมด
    ดังพระบาลีว่า กุสลา ธัมมา, อกุสลา ธัมมา, อัพยากะตาธัมมา, เป็นอาทิ.
    ลักษณะเช่นที่กล่าวนี้ของค าว่า “ธรรม”ย่อมเป็นอย่างเดียวกันกับค าว่า “พระเป็นเจ้า”แห่งศาสนาที่
    มีพระเป็นเจ้า เช่น ศาสนาคริสเตียน เป็นต้น, ค าค านั้นเขาให้หมายความว่า สิ่งทุกสิ่งรวมอยู่ในพระเป็นเจ้า
    สิ่งเดียว, ดังนั้น แม้ในพุทธศาสนาเราถ้ากล่าวกันอย่างให้มีพระเป็นเจ้ากะเขาบ้างแล้ว เราก็มีสิ่งที่เรียกว่า
    “ธรรม” นี้อีกนั่นเอง ที่ตั้งอยู่ในฐานะเป็น “พระเป็นเจ้า”อย่างครบถ้วนสมบูรณ์, ทั้งนี้ ก็เพราะสิ่งที่เรียกว่า
    “ธรรม”ในพุทธศาสนานั้น หมายถึงสิ่งทุกสิ่งจริงๆ,
    “ธรรม”เพียงพยางค์เดียว หมายความได้ถึง ๔ อย่าง
    เพื่อให้เห็นได้อย่างแจ้งชัดและโดยง่ายว่าสิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” หมายถึงสิ่งทุกสิ่งอย่างไรนั้น เรา
    อาจจะท าการจ าแนกได้ว่า “ธรรม” หมายถึงสิ่งเหล่านี้ คือ:-
    (๑) ธรรมชาติทุกอย่างทุกชนิด ล้วนแต่เรียกในภาษาบาลีว่า “ธรรม”, หรือ ธรรมในฐานะที่เป็นตัว
    ธรรมชาตินั่นเอง
    (๒) กฎของธรรมชาติ ซึ่งมีประจ าอยู่ในธรรมชาติเหล่านั้น ก็ล้วนแต่เรียกในภาษาบาลีว่า “ธรรม”
    อีกเหมือนกัน, นี้คือธรรมในฐานะที่เป็นกฎของธรรมชาติ, และมีความหมายเท่ากันกับสิ่งที่เรียกว่า “พระ
    เป็นเจ้า” ในศาสนาที่ถือว่ามีพระเป็นเจ้าอยู่อย่างเต็มที่แล้ว,(๓) หน้าที่ต่างๆ ที่มนุษย์จะต้องประพฤติ หรือปฏิบัติกระท าในทางโลกหรือทางธรรมก็ตาม, นี้ก็
    เรียกโดยภาษาบาลีว่าธรรมอีกเหมือนกัน มนุษย์ต้องประพฤติให้ถูกให้ตรง ตามกฎของธรรมชาติจึงจะไม่
    เกิดความทุกข์ขึ้นมา, มนุษย์ส่วนมากสมัยนี้หลงใหลในทางวัตถุมากเกินไป ไม่สนใจสิ่งที่เป็นสุขทาง
    นามธรรม,ข้อนี้เป็นการกระท าที่ผิดกฎของธรรมชาติจึงเกิดการยุ่งยากนานาประการที่เรียกกันว่า
    “วิกฤตการณ์”ขึ้นในโลกจนแก้กันไม่หวาดไม่ไหว,
    มนุษย์สมัยนี้มีการกักตุนเอาไว้เป็นของตัว หรือพวกของตัวมากเกินไป จนผิดกฎธรรมชาติจึงได้
    เกิดลัทธิอันไม่พึงปรารถนาขึ้นมาในโลก อย่างที่ไม่เคยเกิดมาแต่ก่อน ดังนี้ เป็นต้น, ข้อนี้เป็นตัวอย่างของ
    การที่มนุษย์ประพฤติหน้าที่ของตน อย่างไม่สมคล้อยกันกับกฎของธรรมชาติ, หรืออีกอย่างหนึ่งก็คือ
    ประพฤติผิดต่อธรรม ฝ่ายที่จะเป็นไปเพื่อดับทุกข์แต่ได้เป็นไปในฝ่ายที่จะสร้างความทุกข์ขึ้นมาในโลกอย่าง
    ไม่มีสิ้นสุด, นี้อย่างหนึ่ง
    (๔) ผลของการท าหน้าที่ หรือการปฏิบัติ, ที่เกิดขึ้นตามกฎของธรรมชาติ เช่น ความทุกข์ ความสุข
    หรือการบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือแม้ที่สุดแต่ความเป็นพระพุทธเจ้าของพระพุทธองค์ก็ดีซึ่งก็ล้วนแต่เป็น
    ผลของการท าหน้าที่ หรือเป็นการปฏิบัติไปทั้งนั้น
    ทั้งหมดนี้ ทุกชนิด ทุกอย่าง ก็ล้วนแต่เรียกโดยภาษาบาลีว่า “ธรรม”อีกเหมือนกัน, ทั้งหมดนี้คือ
    ความหมายอันกว้างขวางของค าว่า “ธรรม” ซึ่งมีอยู่เป็นประเภทใหญ่ๆ ๔ ประเภท
    สรุปแล้ว ค าว่า “ธรรม”เพียงพยางค์เดียว หมายความได้ถึง 4 อย่าง คือ หมายถึงตัวธรรมชาติก็ได้,
    หมายถึงกฎของธรรมชาติก็ได้, หมายถึงหน้าที่ที่มนุษย์ต้องท าให้ถูกตามกฎของธรรมชาติก็ได้, และหมายถึง
    ผลดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นั้นๆ ก็ได้, นับว่าเป็นค าพูดค าหนึ่งที่ประหลาดที่สุดในโลกและไม่
    อาจแปลเป็นภาษาอื่นได้ด้วยค าเพียงค าเดียว ดังที่กล่าวแล้วข้างต้น,
    คนเราจะรู้ธรรม หรือเห็นธรรมได้ทั้งหมดอย่างไรกัน?
    เมื่อสิ่งที่เรียกว่า ธรรม มีมากมายมหาศาลอย่างนี้ ปัญหาจะเกิดขึ้นมาว่า คนเราจะรู้ธรรม หรือเห็น
    ธรรมได้ทั้งหมดอย่างไรกัน?
    เกี่ยวกับข้อนี้ พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้เองแล้วว่า เราอาจจะรู้ได้ทั้งหมดและปฏิบัติได้ทั้งหมด ใน
    ส่วนที่จ าเป็นแก่มนุษย์หรือเท่าที่มนุษย์จะต้องเข้าเกี่ยวข้องด้วย ส่วนที่เหลือนอกนั้น ไม่ต้องสนใจเลยก็ได้,
    ข้อนี้พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า "ธรรมที่ตถาคตได้ตรัสรู้ทั้งหมดนั้น มีปริมาณมากเท่ากับใบไม้หมดทั้งป่า, ส่วน
    ธรรมที่น ามาสอนคนทั่วไปนั้น มีปริมาณเท่ากับใบไม้ก ามือเดียว" คือ ทรงน ามาสอนเท่าที่จ าเป็นแก่การท า
    ความดับทุกข์โดยตรงเท่านั้นธรรมที่ทรงน ามาสอนนั้น แม้จะกล่าวกันว่า มีถึง ๘๔,๐๐๐ ข้อ หรือ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ก็ตาม ก็ยัง
    สรุปลงได้ในค าพูดเป็นประโยคสั้นๆ เพียงประโยคเดียวว่า “สัพเพ ธัมมา นาลัง อะภินิเวสายะ” ซึ่งแปลว่า
    “ธรรมทั้งหลายทั้งปวง อันใครๆ ไม่ควรส าคัญมั่นหมายว่า ตัวตนหรือของตน”ดังนี้, การรู้ข้อนี้ คือการรู้
    ธรรมทั้งหมด, การปฏิบัติข้อนี้คือการปฏิบัติธรรมทั้งหมดในพระพุทธศาสนา, และเป็นการมีชัยชนะเหนือ
    ความทุกข์ทั้งหมดได้ เพราะเหตุนั้น, ไม่ว่าจะเป็นทุกข์ส่วนบุคคล หรือเป็นทุกข์ของโลกโดยส่วนรวมก็ตาม,
    ถ้าผู้ใดเห็นธรรมส่วนนี้โดยประจักษ์ ผู้นั้นเชื่อว่าเห็นองค์พระตถาคต พระองค์จริงโดยแท้จริง,
    การเห็นธรรมในที่นี้ เมื่อกล่าวโดยใจความ หมายถึงการมีธรรมที่เป็นความดับทุกข์อยู่แล้วในตน
    และเห็นประจักษ์อยู่แล้วภายในใจตน ว่าความดับทุกข์นั้นเป็นอย่างไร, นี่แหละ คือหนทางออกทางเดียวของ
    พวกเรา มนุษย์สมัยปัจจุบันนี้ที่อาจจะเห็นพระพุทธองค์พระองค์จริงได้ทั้งที่เขากล่าวกันว่า พระองค์เสด็จ
    ปรินิพพานไปแล้วตั้งสองพันกว่าปี, แต่เราอาจจะเห็นพระองค์ได้โดยการน ามาใส่ไว้ในใจของเราเสียเลย,
    เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งขึ้นไปอีก,
    “ธรรม ปรากฏอยู่ก่อน แล้วแล”
    ข้อที่ควรทราบต่อไป ยังมีสืบไปอีกว่า สิ่งที่เรียกว่า “ธรรม” นั้น นอกจากจะเป็นค าพูดที่ประหลาด
    ที่สุดในโลกโดยแปลเป็นภาษาอื่นไม่ได้และหมายถึงสิ่งทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไรเลยดังนี้แล้วยังเป็นของ
    ประหลาดในข้อที่ว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวงเช่นเดียวกับสิ่งที่เรียกว่า “พระเป็นเจ้า” ในศาสนาของพวก
    ที่มีพระเป็นเจ้านั้นเหมือนกัน, ข้อนี้ปรากฏอยู่ในบาลีขุททกนิกาย ชาดก ว่า “ธัมโม หะเว ปาตุระโหสิ ปุพเพ”
    ซึ่งแปลว่า “ธรรม ปรากฏอยู่ก่อน แล้วแล”ดังนี้เป็นต้น “ธรรม” ในลักษณะเช่นนี้ ในทางพุทธศาสนา
    หมายถึงกฎของธรรมชาติ หรืออ านาจอันลึกลับสูงสุดเหนือสิ่งใด ที่บันดาลให้สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น และ
    เปลี่ยนแปลงไปต่างๆ นานาอยู่ฝ่ายหนึ่งหรือประเภทหนึ่ง, และอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งตรงกันข้ามคือไม่มีการเกิดขึ้น
    หรือเปลี่ยนแปลง, อันได้แก่ตัวกฎธรรมชาติ หรืออ านาจอันนั้นนั่นเอง ดังนี้ถ้าผู้ใด ได้รู้ ได้เห็น หรือได้
    เข้าถึงธรรมประเภทหลังนี้แล้วก็จะไม่หลงใหลในธรรมประเภทที่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไป นับว่าเป็นสิ่งที่น่า
    ประหลาดมหัศจรรย์ อีกอย่างหนึ่งสิ่งที่เรียกว่าธรรมนี้ยังเป็นสิ่งที่มีอยู่ตลอดกาล
    อย่างไม่มีที่สิ้นสุดจริงๆ
    ตั้งอยู่ในฐานะเป็นสิ่งสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใด.
    อีกประการหนึ่ง สิ่งที่เรียกว่าธรรมนี้ยังเป็นสิ่งที่มีอยู่ตลอดกาลยิ่งกว่าดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เป็น
    ต้นเสียอีก สมมติว่า ถ้าเอาอายุของดวงอาทิตย์เป็นต้น ไปเปรียบกับอายุของธรรมแล้วก็จะมีลักษณะเท่ากัน
    กับการเอาอายุของยุงตัวหนึ่งไปเปรียบกันกับอายุของดวงอาทิตย์เป็นต้นอีกนั่นเอง ซึ่งจะเป็นสิ่งที่น่าขบขัน
    และน่าคิด อย่างไม่มีอะไรเหมือน ทั้งนี้ก็เพราะว่า ธรรม นั้นก็คือสิ่งที่เป็นความสมดุลย์หรือเหมาะสมที่จะ
    คงอยู่ตลอดกาลนั่นเอง
    กฎทางวิทยาศาสตร์ที่ว่า "สิ่งใดเหมาะสมที่จะอยู่สิ่งนั้นจะคงอยู่หรือเหลืออยู่, สิ่งใดไม่เหมาะสมที่
    จะอยู่คือเข้ากันไม่ได้กับสิ่งที่แวดล้อมเป็นต้นแล้ว สิ่งนั้นจะสูญไป" ดังนี้นั้นก็คือ กฎของธรรมชาติโดยตรง,
    และธรรมนั่นแหละเป็นเพียงสิ่งเดียว ที่จะยังคงอยู่ตลอดกาล อย่างไม่มีที่สิ้นสุดจริงๆ ดังนั้น สิ่งที่เรียกว่า
    “ธรรม” นั้น จึงตั้งอยู่ในฐานะเป็นสิ่งสูงสุดเหนือสิ่งอื่นใด จนกระทั่งแม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกพระองค์ ก็
    ล้วนแต่ทรงเคารพธรรม, ทั้งที่พระพุทธเจ้าเองเป็นผู้ที่ได้ตรัสรู้ธรรม หรือท าให้ธรรมนั้นปรากฏแก่สายตา
    ของสัตว์ทั้งปวง ซึ่งไม่อาจจะมองเห็นได้ด้วยสติปัญญาของตนเอง ข้อความนี้เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรง
    ร าพึง และตรัสไว้เองในคราวที่ตรัสรู้แล้วใหม่ๆ ซึ่งมีปัญหาเกิดขึ้นว่า พระพุทธเจ้าจะทรงอยู่โดยไม่มีอะไร
    เป็นที่เคารพ หรือหาไม่ดังนี้,
    ข้อความทั้งหมด ตามที่กล่าวมานี้ถ้าจะสรุปความให้สั้นที่สุด ก็จะสรุปได้ความว่า เนื้อตัวของเรา
    ทั้งหมด ก็คือธรรม, กฎธรรมชาติที่ควบคุมเราอยู่ก็คือธรรม หน้าที่ที่เราจะต้องกระท า ให้ถูกต้องตามกฎ
    ธรรมชาตินั้นๆ ก็คือธรรม, และผลต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นแก่เรา ตลอดจนถึงการบรรลุมรรคผลนิพพานในขั้น
    สุดท้ายของเรา ก็คือธรรมอีกนั่นเอง"ท่านทั้งหลาย จงมีธรรมเป็นดวงประทีป
    ...จงมีธรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัยเถิด"
    ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ธัมมทีปา ธัมมสะระณา” ซึ่งแปลว่า "ท่านทั้งหลาย จงมีธรรมเป็น
    ดวงประทีป, จงมีธรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัยเถิด" ดังนี้, และพร้อมกันนั้นก็ได้ตรัสว่า"ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็น
    เราตถาคต, ผู้ใดไม่เห็นธรรม ผู้นั้นไม่เห็นเราตถาคต แม้ว่าผู้นั้นจะจับมุมจีวรของเราถืออยู่แล้วก็ตาม"ดังที่
    กล่าวแล้วข้างต้น
    บัดนี้ เป็นการกล่าวได้ว่า เป็นโชคดีมหาศาลเป็นบุญกุศลมหาศาลของประชาชนชาวไทย ที่ได้มี
    มหาอัตตา หรือตนหลวงที่เป็นดวงวิญญาณของประเทศชาติ ที่เป็นธรรมิกราชาคือเป็นตนหลวงที่
    ประกอบด้วยธรรม, เป็นตนหลวงที่ทรงสรรเสริญธรรม, เป็นตนหลวงที่ทรงชักชวนประชาชนในธรรม, เป็น
    ตนหลวงที่ทรงโปรดปรานผู้ที่ตั้งอยู่ในธรรม, และทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภ์เพื่อความมีอยู่แห่งธรรมใน
    ประเทศไทยและตลอดโลกทั้งปวง, ดังมีพระราชภารกิจต่างๆ ปรากฆเป็นประจักษ์พยานอยู่แก่สายตาของ
    ประชาชนชาวไทยทั้งมวลแล้ว,
    ส่วนที่ควรนับว่าเป็นกรณีพิเศษในวันนี้นั้น คือสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภาร ได้เสด็จมาถึงเมือง
    ไชยานี้เพื่อทรงบ าเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชาในที่เฉพาะหน้าแห่งพระธาตุเจดีย์อันเป็นที่ประดิษฐานแห่ง
    พระบรมสารีริกธาตุประจ าเมืองไชยานี้ย่อมเป็นการกระท าที่ส่งเสริมความมีอยู่แห่งธรรมในจิตใจของ
    ประชาชนให้ยิ่งๆ ขึ้นไป, หรืออย่างน้อยก็จะยังคงมีอยู่อย่างเพียงพอแก่การที่จะคุ้มครองประชาชนส่วนนี้
    ให้ตั้งอยู่ในธรรม, ให้มีความร่าเริงกล้าหาญในการประพฤติธรรม สืบต่อไปตลอดกาลนาน,
    แม้ว่าเมืองไชยานี้จะเป็นเมืองโบราณมาแล้วแต่สมัยศรีวิชัยเคยรุ่งเรืองด้วยพุทธศาสนามาแล้วอย่าง
    ยิ่งถึงกับแม้แต่บทกล่อมลูกของชาวบ้านก็มีการกล่าวถึงนิพพานมาแล้วก็ตาม, แต่บัดนี้ตกอยู่ในสภาพที่
    ต้องการสิ่งกระตุ้นเตือนใจในทางธรรมเป็นอย่างยิ่ง, ดังนั้น การเสด็จพระราชด าเนินมาจนถึงที่นี่ ในลักษณะ
    อย่างนี้ ในสถานการณ์อย่างนี้, ย่อมเป็นพระมหากรุณาธิคุณ และสวัสดิมงคล,แก่ประชาชนในถิ่นนี้อย่าง
    มหาศาลเหลือที่จะเปรียบปาน,
    ขอให้สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารจงได้ทรงทราบถึงความจริงข้อนี้โดยประจักษ์, แล้วทรง
    ส าราญพระราชหฤทัย ตามวิสัยแห่งธรรมราชาผู้ทรงชักชวนประชาชนทั้งหลายให้มีความกล้าหาญในทาง
    แห่งธรรม จงทุกประการเถิด.
    ธรรมเทศนาสมควรแก่เวลา, เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้, ขอถวายพระพร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • download.jpg
      download.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.6 KB
      เปิดดู:
      347
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "ไม่ว่าจะมีพระพุทธเจ้า มาตรัสรู้กี่พระองค์ หรือไม่มีก็ตาม พระธรรมนั้นก็ยังคงอยู่ซึ่งเป็นธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ"

    พระ"ธรรม"นี้อยู่แห่งหนใด

    " ย้อนกลับไปนับแต่อันโบราณกาลมา ไม่ว่าพสกนิกรนานาอารยประเทศเหล่าใด ที่ได้อาศัยเบื้องพยุคลบาทของมหาราชามหาราชินี เมื่อตนได้ประสบสิ่งแปลกใหม่ มหัศจรรย์พันลึกสุดพิศดาร ในแว่นแคว้นแดนดินใดก็ตาม ด้วยสำนึกพระคุณในพระมหาบารมี ย่อมนำสิ่งนั้นๆน้อมถวายด้วยใจจงรักภักดีเสมอมา"
    เกือบ ๕๐ ปี ที่ผ่านมาที่ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้แสดงธรรมนี้ และพระ "ธรรม" (พระไตรปิฎก) ที่ได้ปรากฎแก่ข้าพเจ้า ผู้ได้เคยอับจนสิ้นหนทางชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพระธรรมที่เป็นฉบับจริงหรือที่บันทึกไว้ จนบัดนี้เล่า การปฎิบัติในพระพุทธศาสนาก็เพื่อความพ้นทุกข์เพียงเท่านั้น มิใช่ปราถนาอื่นใดเลย ชีวิตข้าพเจ้าเหลือเพียงน้อยนิด กิจอันใดที่พึงเจริญฯเพื่อทำกิจนั้นให้ลุล่วงตามความประสงค์ได้ ก็ควรทำอย่างเต็มที่สุดความสามารถ หากแม้นมิสำเร็จ ก็ได้ชื่อว่าเพียรพยายามแล้วตามวิธีการนั้นๆ ให้สุดแท้แต่กำลังแรงศรัทธาตามบุคคลเถิด น้อมนำพระธรรม นำชีวิตก้าวเดินตามพระพุทธ ขออนุโมทนาบุญฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 สิงหาคม 2014
  8. Tawee gibb

    Tawee gibb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,175
    ค่าพลัง:
    +1,721
    จ่ายักษ์เคยได้ยินไหม กุศลเป็นปัจจัยแก่อกุศล

    อยากช่วยให้ไส้เดือนรอดตายเพราะเห็นมันขึ้นมาบนผิวดินกลัวเป็นอาหารมดและไก่
    เลยเอามันโยนลงดินแฉะน้ำ โดยหารู้ไม่ว่ามันหายใจทางผิวหนัง พอจมน้ำก็ขาดใจตาย
    เพราะกุศลจิตของเรา แต่เรารู้เท่าไม่ถึงกาล อย่างนี้เป็นต้น

    หรือใจดีเห็นคนถูกรุมทำร้าย ก็ผลุนผลันออกไปช่วยพาเขาไปหลบ พอเขาพ้นภัยเขาก็หันมาชิงทรัพย์เรา เหตุเพราะจิตเป็นกุศลคิดช่วยเขา แต่ขาดปัญญาไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วนเสียก่อนว่าที่เขาถูกรุมทำร้ายเพราะไปชิงทรัพย์และทำร้ายผู้อื่นมา เลยเป็นโทษ หาเรื่องใส่ตัว

    หรืออุปมาอย่างเรื่องชาวนากับงูเห่า อย่างนี้ก็เกิดจากใจที่เป็นกุศล แต่ขาดปัญญา เพราะปัญญาทราม จึงคิดว่าทำสิ่งดีย่อมได้ผลดีตอบแทน นี่เพราะเข้าใจหลักธรรมแบบไม่แยบคาย จึงคิดว่างูคงไม่ทำร้ายผู้มีพระคุณ แต่มันกัดเพราะปกป้องตนเองตามสัญชาติญาณ ไม่ได้เจตนาคิดร้ายอะไร เป็นเพราะชาวนาโง่เขลาต่างหาก

    กุศลก็สามารถเ้ป็นปัจจัยแก่อกุศลได้นะท่าน ต้องระวัง

    แต่ประเด็นของคุณจ่ายักษ์ คือ คิดจะไปถวายพระปริตรอะไรนั่นตามเนื้อความที่ว่า


    อันนี้เห็นเป็นสิ่งไม่สมควรกระทำ จึงได้ออกมาท้วงติง
    จ่ายักษ์ไม่มีท่าทีจะสนทนาด้วย แต่กลับไปยกธรรมบท หรืออรรถกถาอะไรมายึดยาว ไม่เข้าใจว่าจะสื่ออะไร

    เห็นว่าคุณจ่าอาจมีเรื่องคับข้อง แต่ก็ต้องท้วงติง แม้จะคิดการด้วยเจตนาอันเป็นกุศล แต่ก็ต้องไม่ขาดสติ รู้กาลควรไม่ควร หากคิดสวดเพื่อถวายพระพรชัยมงคล ก็สวดที่บ้านเองก็ได้ เหมือนการบวชถวายเป็นพระราชกุศลอะไรเทือกนั้น

    แต่หากคิดจะเข้าเฝ้าเพื่อไปสวดถวานต่อหน้าพระพักตร์ เหล่าฮุว่าคุณจ่าเปลี่ยนความคิดเสียเถิด ทั้งไม่เป็นผลดีใดๆ แต่กลับจะดูเป็นการทำให้ระคายเบื้องพระยุคลบาท ไม่ต้องให้เหล่าฮุยับยั้ง ทางสำนักพระราชวังก็ต้องตรวจสอบอยู่ดี เห็นท่าไม่ดีเขาไม่อนุญาตหรอกครับ

    บทสวดที่ว่าดีนั้น ใครฟังแล้วจะไม่ตายหรือเปล่า ?
    ก็ถ้างั้นพระพุทธเจ้าและพระสาวกก็คงไม่ต้องตาย

    ศึกษาให้ดีและรอบด้าน อย่าไปฟุ้งกับมายาภาพที่ได้พบเหตุการณ์ประหลาดๆนั้นเลย อาจจริงหรือไม่จริงก็ได้ ก็ไม่เห็นได้ประโยขน์อันใด
    และถ้าสวดแล้วพ้นภัยภิบัติ ชาวโลกเราจะได้ไม่ต้องประสบภัยพิบัติใดๆ ไปนั่งสวดกันให้รึ่มๆๆ เฮงมาซวยไปๆ
    อย่างนี้ดีแท้ๆ ศาสนาอื่นจะได้หันมาสวดกันเอาเป็นเอาตายเพื่อไม่ต้องประสบภัย

    แล้วมันใช่อย่างนั้นหรือเปล่า
    หรือเป็นเพียงความงมงายเท่านั้น

    เหล่าฮุขอให้จ่ายักษ์พิสูจน์ อย่าทึกทักเอาแต่ใจตน แม้กล่าวว่าตนเองอาจมีชีวิตไม่ยืนยาว ก็ถือโอกาสนี้สวดเพื่อตนเองเสียเลย อย่างน้อยก็ต่ออายุให้ตนเองก่อน ถ้าใช้ได้ค่อยไปต่อให้พระเจ้าอยู่หัวหรือใครๆในภายหลังก็ไม่สาย

    แต่หากจริงจังตั้งมั่น ก็แนะนำอีกชั้นเพื่อกันพลาด ไปหาหมอเถอะครับ คุณจ่ายักษ์อาจป่วยจริงๆก็เป็นได้
    ถ้าไม่ป่วยก็ดีไป ก็เท่ากับกันไว้อีกชั้น
    หากป่วยจะได้กินยารักษาอาการ
    แต่ถ้าไม่ใช่ ก็อาจเป็นความหลง งมงาย หรือเข้าใจผิด ไป

    ซึ่งเหล่าฮุเองก็เคยมาแล้ว หากเราศรัทธาอะไรมากๆ ก็ไม่พ้นเชื่ออะไรผิดทางไปได้เหมือนกัน แต่จะต้องรู้ให้แน่ว่าเราหลงหรือไม่ ก็กันไว้อีกชั้น ศึกษาธรรมให้ถูก ให้ตรง ไม่ใช่พอถามอะไรเข้าก็ตอบไม่เป็นโล้เป็นพาย แสดงว่าเราศึกษามาผิดๆ เขามีมาตรฐานความรู้อ้างอิงอยู่ หากเราอธิบายไม่ได้ เราต้องสอบทานตนเองและยอมรับนะครับ ปัญหาถึงจะได้รับการแก้ไข

    แต่หากเป็นคนว่ายาก อยู่ศาสนาไหนมันก็ว่ายาก มีแต่พลัดออกนอกอริยมรรค ฝึกสอนอย่างไรก็กระด้าง จิตไม่น้อมรับความรู้ อย่างนี้ก็แย่
    การเป็นคนว่ายากพลอยถ่ายทอดไปชั่วลูกหลานนะครับ ลองพิจารณาให้ดี ถ้าเราเป็นคนว่ายากที่เราเสียแต่ต้นทาง อบรมยาก อร่อยกับปาฏิหารย์เก๊ๆที่ดาษดื่นเต็มบ้านเต็มเมืองเหมือนเดี๋ยวนี้ เราก็เสร็จ กู่ไม่กลับ เขาสอนอะไรมาผิดๆก็รับเข้าไว้เต็มๆ ถอนใจไม่ขึ้น อาภัพอัปภาคย์ แล้วลูกหลานจะอยู่อย่างไรหากเราไม่ได้แก้ไขตนเองแต่ต้นทาง!
    (ขออภัยที่พูดเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องมาก แต่อยากให้มองดูได้กว้าง)

    หันกลับมาพิจารณาให้ดีนะครับ จ่ายักษ์อาจได้ประสบการณ์ทางจิตที่วิเศษก็ได้ แต่เชื่อเถิด พระเจ้าอยู่หัวของเราืท่านมีบารมีไม่น้อยหรอกครับ อะไรที่จ่ายักษ์คิดว่ามีบารมีแก่กล้า นั่นไม่เทียบกับพระเจ้าอยู้หัวหรอกครับ มิสู้รักษาตนให้พ้นภัยก่อน เฉพาะหน้านี้ก็รักษาท่าทีตนเองให้ดี ไม่ต้องห่วงท่าน ประสกนิกรห่วงท่านเยอะแยะครับ

    บทสวดอะไรนั่นต้องเข้าใจให้ถูกเสียก่อนว่าเขาสวดกันทำไม หากไม่รู้ที่มาที่ไปของการสวด จ่ายักษ์ต้องไปสืบค้นเพื่อให้ได้รุ้ก่อนว่า ชาวพุทธเราสวดๆกันเพื่ออะไร มีกี่แบบ

    ถ้ายังไม่รู้ก็ป่วยการ ต้องงมโข่งกับไสยศาสตร์ไม่รู้หัวรู้หาง อย่างนี้เสร็จเลยนะครับ ค้นอรรถกถาเป็นคิดว่าคงค้นไม่ยาก บทสวดปริตรมีหลายบท ไม่ได้ขลังอะไรหรอกครับ แม้แต่ชัยมงคลคาถา หากฟังไม่ออก แปลไม่ได้ มันก็สักแต่พูดออกเสียงเย้อวๆๆ ป่วยการ
    อาทิว่า

    อเสวนา จ พาล นัง บันฑิตา จ เสวนา
    เคยได้ยินบ่อยๆ แปลออกไหม

    "ไม่เสวนากับคนพาล(พาลแปลว่าไม่รู้) สนทนาแต่กับบัณฑิต"

    ไอ้คนสวดก็สวดไปเปล่าๆ หารู้ไม่ว่าพระพุทธเจ้าสอนอยู่
    ไม่ใช่สวดรึ่มๆๆ แต่ไม่รู้เรื่อง
    จะได้ประโยชน์อะไร ป่วยการ!

    โดยนัยยะเดียวกัน พระปริตรก็แบบเดีนวกันนี้เอง หาใช่สวดแล้วจะเกิดปาฏิหารย์อะไรขึ้นมาก็เปล่า ลองสืบค้นดูนะครับว่าจริงดังว่าไหม!

    อย่างไรเสีย ขอให้จ่ายักษ์รักษาตัวให้ดี อย่างน้อยก็ได้แสดงท่าทีชัดแจ้งว่าเป็นน้ำดีของสังคม ปราถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ อันนี้ขอสาธุๆด้วยใจจริง ขอให้รักษาสุขภาพและรักษาใจ ได้ปัญญาญาณ รู้สัปปุริสสธรรมเป็นเบื้องต้น รักษาชีวิตให้ยืนยาวสมกับความปราถนาดีที่มีต่อสังคมนะครับ ขอให้ธรรมมะที่ศึกษามาดีแล้วเป็นเกราะคุ้มกันภัยให้พ้นจากภยันตรายทั้งปวง เพื่อทำคุณงามความดีต่อตนเอง ครอบครัว ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ นะครับ
     
  9. Tawee gibb

    Tawee gibb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,175
    ค่าพลัง:
    +1,721
    ขออภัยจ่ายักษ์หากเหล่าฮูไปล่วงเกินเข้านะครับ
    ได้ย้อนอ่านข้อความจึงทราบว่าภูมธรรมสูงไม่น้อย คงมิได้กล่าวอะไรเลื่อนลอยแน่ๆ

    แต่ยังยืนยันตามเดิมนะครับ ว่าไม่ควร

    ส่วนพระปริตที่ว่า ทำไมไม่โพสต์เสียที่นี่เลยหากเห็นว่าน่ารักษาไว้
     
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พิจารณา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 เมษายน 2015
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด

    ดังเช่นที่ได้ตรัสกับพระเจ้าอชาติศัตรูในสามัญญผลสูตรใน ที.สี.(แปล) ๙/๑๙๐/๖๔ ว่า

    " มหาบพิตร ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน"
     
  12. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    บทนี้ผมท่องให้ลูกฟังก่อนนอน เกือบทุกคืนครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...