ถ้าทำบารมีผิดไป บางคนว่าบุญบาปแยกกัน งั้นบารมีกับบุญเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย InvisibleForce, 19 พฤศจิกายน 2013.

แท็ก: แก้ไข
  1. InvisibleForce

    InvisibleForce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2012
    โพสต์:
    302
    ค่าพลัง:
    +659
    การสั่งสมบารมี หากทำผิดไปบางคนตอบว่าบุญส่วนบุญ,บาปส่วนบาป จริงๆ แล้ว บารมีกับบุญ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

    ถ้าว่าเหมือนกัน เช่น ทาน,ศีล เป็นต้น แล้ว วิริยะ จัดเป็นบุญข้อไหนในบุญกิริยาวัตถุ 10

    ถ้าว่าต่างกัน แล้วต่างกันอย่างไร เช่น ทาน, ศีล ของบารมีต่างกับ ทาน, ศีล ของบุญอย่างไร
     
  2. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    บุญ จะเป็นบารมีได้ ก็ต้องขวนขวายในกิจที่ประกอบด้วยปัญญา

    มีความเห็นถูก เห็นทุกข์โทษภัยของกิเลสในสังสารวัฏ เพื่อพระนิพพาน

    ไม่ใช่เพียงเพราะ ต้องการอิทธิพลประดับประดาตน มีสมุนลูกน้อง

    หากเห็นผิดตั้งแต่ต้นในพื้นฐานของกิจ จากกุศลบุญบารมี มันจะกลายเป็นอำนาจอิทธิพลมืดเพื่อพวกพร้อง มีไว้เพื่อข่มขู่

    นั่นเป็นความแตกต่าง บารมีโลกๆ กับ บารมีธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2013
  3. InvisibleForce

    InvisibleForce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2012
    โพสต์:
    302
    ค่าพลัง:
    +659
    ตอนนี้ได้คำมาใหม่แล้วครับ "บารมีโลกๆ" กับ "บารมีธรรม" ^^
     
  4. aries

    aries เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,403
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,211
    เวลาเราทำงานด้านใดมากเข้า ก็จะมีประสบการณ์มากขึ้นและยังผลให้เรามีศักยภาพหรือความสามารถในด้านนั้นสูงขึ้นด้วย เวลาเจองานยากขึ้นก็จะแก้ปัญหาได้ตามกำลังความสามารถของตน ทีนี้เราวัดกำลังบารมีกันไว้ 3 ระดับ คือระดับบารมีต้น บารมีกลาง(อุปบารมี) บารมีปลาย(ปรมัตถบารมี) ถ้าเรายังมีความสามารถน้อยกำลังใจยังน้อย เราก็ทำงานได้แบบธรรมดาทั่วไป พอเจองานหินระดับต้องแลกด้วยเลือดเนื้อเราก็ทำไม่ได้

    แต่ถ้าเรามีความสามารถมีกำลังใจที่แกร่งขึ้นก็จะทำงานที่ยากขึ้นได้ พอถึงขั้นบารมีปลาย(ปรมัตถบารมี) ประสบการณ์ความรู้ความสามารถที่เพียรสั่งสมมานานก็ส่งผลให้เรามีกำลังใจที่จะทำงานใหญ่ๆได้แม้จะต้องแลกด้วยชีวิตก็ตาม

    จะว่าไปแล้วการสั่งสมบุญก็เป็นรากฐานของการสร้าง(บุญ)บารมี และบารมีก็เหมือนกับศักยภาพหรือความสามารถในการสร้างบุญ บารมีมากก็มีศักยภาพมาก สามารถสร้างบุญได้ทีละมากๆในคราวเดียว เพียงแต่บารมีเป็นคำกลางๆสามารถใช้ได้ทั้งด้านบุญและบาปแต่โดยมากเรามักจะกล่าวถึงด้านการสร้าง(บุญ)บารมีมากกว่าเท่านั้นเอง

    อันนี้ผมตอบตามความเข้าใจส่วนตัวของผมเองนะครับ หากผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยมาณ.ที่นี้ด้วย
     
  5. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    ก็ไม่เห็นน่าแปลกนี่ครับ เพราะบารมีธรรม ก็คงเป็นที่รู้ดีอยู่ว่า มี 10 ทัศ 10 อย่าง
     
  6. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090

    การสั่งสมบารมี หากทำผิดไปบางคนตอบว่าบุญส่วนบุญ,บาปส่วนบาป จริงๆ แล้ว บารมีกับบุญ เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร

    ตอบ...เหมือนในความหมายของผู้ปรารถนาความพ้นทุกข์
    คนทำบุญก็ได้บุญไม่จำเป็นต้องได้บารมีด้วยเสมอ
    เช่น การให้ทานเล็กๆน้อย แล้วจิตมีสุข เป็นอาการเกิดที่ตนเอง
    แต่บารมีเป็นเรื่องของผู้ปรารถนาความพ้นทุกข์
    ด้วยการสร้างบารมีโดยการสร้างบุญ
    สร้างบุญให้ได้บารมีเป็นอย่างไร
    เช่น ทาน(ต่อผู้ตกทุกข์) อภัยทาน(ต่อศรัตรู)
    บารมีที่มาพร้อมบุญ จึงดูคล้ายเป็นสิ่งเดียวกัน

    เหมือนกันในเหตุที่ว่า บุญและบารมี คือเครื่องนำพาจิต
    ต่างกันที่ว่า บุญนำพาจิตไปที่ที่เหมาะสมหลังตาย
    แต่บารมี จะเป็นปัจจัยต่างๆในการนำพาจิตให้บรรลุธรรม



    ถ้าว่าเหมือนกัน เช่น ทาน,ศีล เป็นต้น แล้ว วิริยะ จัดเป็นบุญข้อไหนในบุญกิริยาวัตถุ 10

    ตอบ...วิริยะ จัดเป็นบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ข้อ เวยยาวัจจมัย
    บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ
    การขวนขวายนั่นแหละคืออาการของความเพียร



    ถ้าว่าต่างกัน แล้วต่างกันอย่างไร เช่น ทาน, ศีล ของบารมีต่างกับ ทาน, ศีล ของบุญอย่างไร

    ตอบ...ยกตัวอย่าง
    ทานบุญ ก็คือ ทาน ทานเฉยๆเนี่ย ให้ขอทานไปหนึ่งบาท
    ใจเรามีปีติ มีความสุขมากมาย ตายไปได้ไปสวรรค์แน่ๆ อย่างนี้ก็ทานบุญ

    ทานบารมี ก็คือ ทาน อันเดียวกันนั่นแหละ
    แต่มันต่างตรงที่เป็นทานที่ได้บุญแล้ว ยังสร้างบารมีไปด้วย
    เช่น ให้ทานกับเด็กด้อยโอกาส เป็นจำนวนมากๆ
    พวกเขาสำนึกบุญคุณเราเสมอ
    วันหนึ่งเราตกยากลำบากบ้าง
    พวกเขาเหล่านั้น ก็มาช่วยเรา
    และยังไม่จบ
    ในอนาคตชาติ บารมีนี้แล จะเป็นปัจจัยให้เราเป็นผู้มีบริวารมาก
    ดียังไง การมีบริวารมาก ทำให้ไม่ต้องลำบากกับการใช้ชีวิตมากนัก
    และเอื้ออำนวยต่อการเข้าทางธรรม ปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง
    เฉกเช่น พุทธองค์ ชาติที่ตรัสรู้ ต้องเป็นกษัตริย์เสมอ
    และมีบริวารที่ออกตามปรนนิบัติมาก
    และคราวออกบวชก็ยังมีพระสาวกมากมายมาช่วยกันเผยแผ่ธรรมะ



    สรุป ผู้ทำบุญและสร้างบารมีมาก
    จะเป็นปัจจัยในอนาคตให้ตนเองนั้นได้เข้าถึงธรรม
    ยิ่งสร้างบารมีมาก ปัจจัยเกื้อหนุนก็ยิ่งมาก
    ผู้ไร้บารมี ตาจะมืดบอด เพราะหาปัจจัยมาเกื้อหนุน
    หรือมาเตือนสติไม่ได้เลย
    แม้แต่เพื่อนสนิทมิตรสหายก็เป็นผลจากบารมีทั้งสิ้น
    รูปแบบของบารมีที่มาเป็นปัจจัย มาได้หลากหลาย
    ทั้งเกิดในตะกูลที่มั่งคั่งร่ำรวย
    หรือเกิดมาเจอมิตรดี ที่เป็นกัลยาณมิตร
    ช่วยดึงเราให้ห่างอบายมุข มาเข้าทางธรรมได้



    ปล.
    "การสร้างบารมี ก็คือ การสะสมปัจจัย ช่วยเหลือตนเองในอนาคต ให้เข้าถึงธรรมได้โดยง่าย"



    ผู้มีบารมีมาก วัดอย่างง่ายๆ คือ
    คนเรามีบารมีเท่าไร ให้ดูที่เวลาเดือดร้อน เวลาที่ล้ม
    แล้ววัดที่จำนวนผู้ที่เข้ามาช่วยเหลือ
    ผู้มีบารมีมากที่สุดในประเทศนี้ตอนนี้ คือ พระเจ้าอยู่หัว
    มากแค่ไหนทุกคนรู้ดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2013
  7. ดำฤษณา

    ดำฤษณา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +205
    บุญแปลว่าความดี บารมีแปลว่าเต็ม บำเพ็ญแปลว่าทำให้เต็ม
    เราจะทำความดีอย่างไรจึงได้บุญเต็ม
    เราจะบำเพ็ญบุญอย่างไรจึงจะได้บารมี
    ระดับความสามารถในการบำเพ็ญบุญบ่งบอกว่ามีบารมีเท่าใด
    บารมีเกิดที่ไหนแสดงว่าบุญได้ทำแล้วที่นั่น
    ความดีที่ควรบำเพ็ญมี 10 อย่างแยกระดับเป็น 3 ขั้นบารมี
    บารมีจึงอาจเรียกได้ว่าระดับกำลังใจเต็ม
    ผู้ที่มีกำลังใจเต็มเปี่ยมจากการสร้างความดีเพียงหนึ่งอย่าง
    ย่อมสามารถสร้างความดีอีก9อย่างให้เต็มบริบูรณ์ได้
    เพราะกำลังใจเต็มเปี่ยมบริบูรณ์แล้วดังนี้
     
  8. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,366
    ผมขอแสดงความเห็นบ้าง อ่านดูแล้วมันก็ขัดแย้งแตกต่างกันอยู่บ้าง ผมขอสรุปดังนี้ให้เข้าใจง่ายๆครับคือ

    บารมี คือการตั้งกำลังใจในการทำความดี ด้วยการตั้งปณิธาณ เพื่อการทำให้มากทำให้ยิ่งกว่า ทำความดีสิ่งนั้นๆให้สมบูรณ์หรือทำสิ่งนั้นๆให้เต็มกำลังตามปณิธาณที่ตนตั้งไว้ปราถนาไว้

    สิ่งนั้นๆที่จะต้องทำ หมายรวมถึงสิ่งเดียวเท่านั้นคือ บุญกุศลหรือความดีนั่นเอง

    ดังนั้นบุญกุศลทุกอย่าง ความดีงามทุกอย่าง หากเราทำแล้วและมีปณิธาณปราถนาที่ยิ่งกว่า ด้วยการกำหนดเป้าหมาย กำหนดว่าอยากให้ความดีสิ่งนี้ข้อนี้ๆหรือหลายๆข้อ เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ มีมากอย่างนั้นอย่างนี้ ยิ่งกว่าอย่างนั้นอย่างนี้ นั้นแหละคือคือการสร้างบารมี คือเริ่มต้นด้วยการกำหนดปณิธาณหรือเป้าหมาย ของการทำความดีนั้นๆนั่นเอง

    บุญและบารมีจึงเป็นสิ่งเดียวกัน แต่ต่างกันตรงที่บารมีนั้นจะเกิดได้ต้องอาศัยการทำบุญหรือทำความดีนั้นๆ ที่มากกว่า ยิ่งกว่า เหนือกว่า เพื่อให้บรรลุปณิธาณที่กำหนดไว้ เป็นการทำความดีให้สำเร็จตามที่ตนปราถนา หรือทำให้มันเต็มหรือสมบูรณ์บริบูรณ์นั่นเอง

    ทีนี้ถามว่าแล้วจะเอาอะไรมาวัดว่าทำแค่นี้มันคือการสร้างบารมีที่สมบูรณ์แล้ว คำตอบคือ ไม่มีอะไรภายนอกที่จะนำมาใช้วัด แต่ให้ใช้กำลังใจของตนเองนั้นแหละวัด ให้ใช้กำลังใจของตนเองที่ตั้งปณิธาณไว้นั่นแหละวัด เมื่อวัดแล้ว เมื่อถึงจุดหนึ่ง บารมีข้อหนึ่งๆ จิตตนเองจะบอกได้เองว่า ตนทำมามากพอแล้วควรเปลี่ยนไปทำความดีหรือสร้างบารมีข้ออื่นๆต่อไป เป็นสิ่งที่ย่อมรู้ได้เฉพาะจิตตนเท่านั้น ก็ตนตั้งปณิธาณปราถนาบารมีไว้เอง ผู้อื่นจึงไมม่สามารถมาชี้วัดได้ มันเป็นเรื่องของกำลังใจของแต่ละบุคคล
     
  9. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,366
    เรื่องการสร้างบารมีนั้น หลวงพ่อท่านได้แจกแจงลำดับขั้น ของบารมีไว้ให้พวกเราได้ศึกษา ซึ่งจำแนกได้เป็นแนวทางแห่งการศึกษาคือ
    1 บารมีขั้นต้น
    2 บารมีขั้นกลาง อุปบารมี
    3บารมีขั้นสูง ปรมัตถบารมี

    ก็ลองไปหาอ่าหรือศึกษาดูนะครับ

    กระผมเคยแสดงความเห็นไว้นานแล้ว ซึ่งจากการที่กระผมได้ปฏิบัติธรรม ยังเกิดปัญญาเห็นว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้มีปัญญามาก จึงหลุดพ้นทุกได้ การเดินมรรควิธีจนสำเร็จได้ พระอริยะเหล่านี้นั้น ก็จะต้องอาศัยบารมีเช่นกัน หรือสามารถกล่าวได้เป็นข้อๆว่า

    1บารมีย่อมให้ผลความเป็นเทพพรหมแก่ผู้สร้างบารมี
    2บารมีย่อมให้ผลความเป็นพระโพธิสัตว์แก่ผู้สร้างบารมี
    3บารมีย่อมให้ผลความเป็นพระอรหันต์สาวกแก่ผู้สร้างบารมี
    4บารมีย่อมให้ผลความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแก่ผู้สร้างบารมี
    5บารมีย่อมให้ผลความเป็นพระพุทธเจ้าแก่พระโพธิสัตว์ผู้สร้างบารมี

    การทำบาปทั้งปวงไม่เรียกว่า เป็นการสร้างบารมี
    การทำบารมีผิดไปเป็นอย่างไร หากหมายถึงการไม่เข้าใจในวิธีการสร้างบารมี ก็อาจทำให้สำเร็จล่าช้าเพราะมัวสร้างความดีที่หาประโยชน์ได้น้อยหรือ มัวทำความดีข้อที่ไม่เอื้ออำนวยต่อสภาพการณ์หรือสถานการณ์ในเวลาขณะนั้น คือวิธีการไม่ดีไม่ถูกต้อง แต่เป็นการทำดีอยู่

    ดังนั้นการสร้างบารมีจึงเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายอย่างที่คิด ต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้รอบคอบ นะ ครับ สาธุ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2013
  10. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,366
    สำหรับกระผม ไม่ใช่แค่ความดี10อย่าง[ทัศ]หรือ30อย่าง[ทัศ] แต่ทุกๆความดี เราสามารถสร้างหรือสั่งสมให้เป็นบารมีได้ทั้งหมด เสมอ ครับ

    แต่ที่พระพุทธองค์ท่านทรงจำแนกมาให้แล้ว เพราะพระองค์ทรงมีปัญญารู้แจ้งแล้วในความดีทั้ง10และ30เหล่านั้นว่า มีอานิสงค์มากและมีความเกี่ยวเนื่องกันเสริมซึ่งกันและกัน จักได้ไม่หลงทางหรือเสียเวลาครับ สาธุ
     
  11. InvisibleForce

    InvisibleForce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2012
    โพสต์:
    302
    ค่าพลัง:
    +659
    อย่างเช่น บารมี 10 นั้นมี เมตตาบารมี และ อุเบกขาบารมี ..

    ท่าน tjs กะว่าจะเพิ่ม กรุณาบารมี และ มุทิตาบารมี เข้าไปด้วยใช่มั๊ยครับแบบนี้ ^^
     
  12. solardust

    solardust เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    250
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +1,773
    บุญ = ความดี (ภาษาบาลี “ปุญญะ” แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ )
    ทำบุญ = ทำความดี

    บารมี = กำลังใจในการทำอะไรซักอย่าง (เคยอ่านเจอว่า หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านบอกว่า บารมี แปลว่า (กำลังใจ) เต็ม )
    เช่น ทานบารมี = กำลังใจในการทำทาน
    ทานบารมีเต็มแล้ว = กำลังใจในการทำทานถึงที่สุดแล้ว สามารถสละให้ได้ทุกอย่าง แม้แต่ชิวิต

    บุญบารมี = กำลังใจในการทำความดี
    บุญบารมีเต็มแล้ว = กำลังใจในการทำความดีถึงที่สุดแล้ว เพื่อการทำความดีแล้ว แม้ต้องตายก็ยอม
     
  13. InvisibleForce

    InvisibleForce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2012
    โพสต์:
    302
    ค่าพลัง:
    +659
    อ้อ .. อย่างนี้นี่เอง ทีแรกเข้าใจว่า บุญบารมี คือ บุญและบารมี
    แต่จริงๆ แล้ว บุญบารมี คือ บารมีของการทำบุญ เช่น ทานบารมี คือ บารมีของการทำทาน
     
  14. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง :

    บารมีเต็ม = กำลังใจเต็ม


    หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล:

    ๑) กำลังใจ(ไทย) = พลังจิต(บาลี) (กำลัง = พละ, ใจ = จิตตะ)

    ๒) พลังจิต เป็นพลังที่แท้จริง ของดวงจิตทุกดวง (สะสมไว้ที่จิต+ไม่มีการสูญสลาย)

    ๓) สมถกรรมฐานเท่านั้น ที่ผลิตพลังจิตเพิ่มขึ้นให้แก่จิต (วิปัสสนากรรมฐาน ไม่ได้ผลิตพลังจิต)


    ดังนั้น

    ๑) ขยันสะสมพลังจิตให้เพิ่มมากขึ้นๆ โดยการทำสมถกรรมฐาน ทุกวัน

    ๒) การบำเพ็ญบารมี๑๐ = นำพลังจิตที่สะสมไว้ ไปอบรมจิตให้แข็งแกร่งครบ ๑๐ ด้าน (ทาน,ศีล,......,เมตตา,อุเบกขา)

    ๓) ยิ่งขยันสะสมพลังจิตได้มากขึ้นเท่าไร ----> ก็ยิ่งสามารถทำบารมี๑๐ ให้เต็ม ได้ง่ายยิ่งขึ้นเท่านั้น​



    สะสมบารมี = สะสมพลังจิต

    และ ​

    บารมีเต็ม = พลังจิตเต็ม


    ------------------------------------------------------------------


    มนุษย์จะทำกรรมใดๆต้องมี"พลังจิต(กำลังใจ)"เป็นตัวขับเคลื่อนกาย/วาจา/ใจให้ลงมือทำกรรม

    ถ้าลงมือทำกุศลกรรม เมื่อทำไปๆจนสำเร็จผลลัพธ์ที่ได้รับคือ บุญ(จิตผ่องใส) + กุศลวิบาก(ผลบุญ/อานิสงส์ของบุญ)


    ----------------------------------------------------------------

    ยกตัวอย่างเช่น

    การใส่บาตรพระ :

    เริ่มจาก พลังจิต ขับเคลื่อนกาย ให้ตักข้าวสาร---->ซาวข้าว---->หุงข้าว---->ตักข้าวใส่ขัน---->ไปยืนรอพระ---->ตักข้าวใส่บาตรพระ

    เมื่อใส่ข้าวลงในบาตรสำเร็จ ผลที่ได้รับทันที คือ จิตผ่องใส (บุญ)
    และ ผลที่จะได้รับในชาติหน้า คือ เป็นเทวดาที่มีพลังกายเข้มแข็ง และมีอาหารทิพย์อันบริบูรณ์ (ผลบุญ/อานิสงส์ของบุญ)

    จึงเรียกการกระทำนี้ว่า ทานบารมี = พลังจิต(กำลังใจ)ที่ยังการทำทานให้สำเร็จ


    ------------------------------------------------------------------


    สรุป
    บารมี(พลังจิต,กำลังใจ) = เหตุ
    บุญ(จิตผ่องใส) + กุศลวิบาก(ผลบุญ/อานิสงส์ของบุญ) = ผล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2013
  15. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398
    บุญคืิอกระแสแห่งความดี มีผลเป็นความสุข ได้แก่ลาภ ยศ สุข สรรเสริญ
    ฤทธิ์อีกอย่างของบุญคือขัดเกลานิสัยได้ ในระยะแรกต้องใช้ความพยายามสวนกระแสกิเลสจึงจะสร้างบุญได้ แต่ถ้าพยา่ยามอดทนสร้างบุญไปเรื่อยๆ บุญนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงนิสัยของเราให้ชอบการทำบุญ ซึ่งถ้านิสัยนี้มั่นคงจนเอาชนะกิเลสเบื้องต่ำได้เมื่อไหร่ก็จะเรียกว่าบารมี ถ้านิสัยนี้แน่นหนาจนไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ไม่เลิกทำบุญ ก็จะกลายเป็นอุปบารมี ยิ่งถ้ามากจนแม้ตายก็ไม่ท้อถอยก็จะเป็นปรมัตบารมี
    บารมีคือนิสัย
     
  16. J47

    J47 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2010
    โพสต์:
    500
    ค่าพลัง:
    +3,405
    แต่ละคำถามของท่าน จขกท. เนอะ ปวดเฮดนิสส++ ^^"
    ก่อนท่านต้องเข้าใจความหมายของ บุญ กับ บารมี ก่อนนะครับ แล้วจะไม่มีคำถามว่า "หากทำผิด" นะครับ

    บุญ คือสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจแล้วทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมองขุ่นมัว ก้าวขึ้นสู่ภูมิที่ดี เกิดขึ้นจากการที่ใจสงบทำให้เลือก คิดเฉพาะสิ่งที่ดี ที่ถูก ที่ควร ที่เป็นประโยชน์ แล้วพูดดี ทำดี ตามที่คิดนั้น

    บุญกิริยาวัตถุ 10 ประกอบด้วย
    - ทานมัย คือการบริจาคทรัพย์สิ่งของแก่ผู้ที่ควรให้
    - ศีล คือการสำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น
    - ภาวนา คือการสวดมนต์ ทำสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ ฯลฯ
    - อปจารยะ คือมีความเคารพอ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม
    - เวยยาวัจจะ คือการขวนขวายช่วยเหลือในกิจที่ชอบ
    - ปัตติทานะ คือการอุทิศส่วนบุญต่อผู้อื่น
    - ปัตตานุโมทนา คือการอนุโมทนาบุญที่ผู้อื่นทำ
    - ธัมมัสสวนะ คือการฟังธรรม
    - ธัมมเทสนา คือการแสดงธรรม
    - ทิฏฐุชุกัมม์ คือการปรับปรุงความคิดเห็นของตนให้ถูกต้อง

    บารมี คือ ปฏิปทาอันยวดยิ่ง คุณธรรมที่ประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด คือ ความดีที่บำเพ็ญอย่างพิเศษ เพื่อบรรลุซึ่งจุดหมายอันสูง เช่น พระพุทธเจ้า พระอสีติมหาสาวก เป็นต้น

    บารมี 10 ประการประกอบด้วย
    - ทาน การให้
    - ศีล การรักษาศีลให้เป็นปกติ
    - เนกขัมมะ การออกจากกาม
    - ปัญญา ความรู้
    - วิริยะ ความเพียร
    - ขันติ ความอดทนอดกลั้น
    - สัจจะ ความตั้งใจจริง เอาจริง จริงใจ
    - อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ไม่เปลี่ยนแปลง
    - เมตตา ความรักด้วยความปรานี
    - อุเบกขา ความวางเฉย
     
  17. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    อย่าไปใส่ใจมากนักในผลวิบากของบุญกุศล
    เพราะวิบากของบุญ หรือปุญญะ แท้จริงแล้วมันก็คือทุกข์อันพิเศษ เอาเข้าจริงแล้วเมื่อถึงที่สุด ก็ต้องละทั้งบุญละทั้งบาป

    ควรใส่ใจถึงตัวเหตุแห่งบุญกุศลจะดีกว่า เพราะเมื่อยังมีชีวิตโดยความเป็นมนุษย์

    วิบากของกรรมนั้น มันเอาแน่เอานอนไม่ได้ เป็นสิ่งที่สลับซับซ้อน
    แน่นอน การสร้างบุญกุศล ย่อมดีกว่าการสร้างกรรมไม่ดี อยู่แล้ว
    แต่ใช่ว่าสร้างบุญกุศลแล้ว จะมีความสุขเสมอไป ก็หาใช่

    เพราะความสุขที่แท้จริงนั้น คือ อยู่ที่ใจ

    คงเคยเห็นคนที่ร่ำรวย มียศถา บรรศักดิ์ ตำแหน่งหน้าที่การใหญ่โต
    ก็จะมองไปว่าท่านผู้นี้สร้างบุญมาดี คงจะมีความสุขมาก กับทั้งมีบริวารรายล้อม

    และก็คงเคยเห็นว่าเศรษฐีเมืองนอก ทั้งที่เป็นทายาทเศรษฐีพันล้านหมื่นล้าน
    อยากได้ก็อะไรก็หาได้ เพื่อมาสนองปรนเปรอกามคุณ ให้ได้รับความสุขไปตามอัตภาพทางกาย

    แต่ไม่เป็นเช่นนั้น ท่านผู้นั้นกลับสละสมบัติหน้าที่การงาน เข้ามาหาความสุขทางใจ อยู่ในเมืองไทย

    ดูอย่างพระโพธิสัตว์ในชาติสุดท้าย ท่านก็ต้องออกจากราชสมบัติ และกามคุณทั้งหลาย

    นั่นเพราะท่านเห็นทุกข์

    แล้วอะไรคือเหตุของบุญกุศล ขาดลมสิ้นลม ก็สิ้นตัวกระทำเหตุในชาตินี้
    ที่มีผลต่อ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ของแต่ละบุคคล

    นั่นคือ ลมหายใจ คือทุกสิ่ง พระโพธิสัตว์ที่ได้ตรัสรู้ก็เพราะเข้ามารู้ลม อานาปานสติ
    พิจารณาอนุโลม ปฏิโลมกระแสปฏิจสมุปปบาท เข้าไปดับทุกข์ และประกาศอริยสัจจ์

    ผู้ปรารถนาบรรลุสิ่งสูงสุด ต้องรู้จักมองสิ่งรอบๆตัว แล้วน้อมเข้ามาพิจารณา
    อย่างในชาดก บางพระชาติ พระโพธิสัตว์เกิดเป็นรุกขเทวดา ท่านเห็นสิงสาราสัตว์
    กระทำกรรมต่อกัน แล้วท่านก็ได้คติธรรมบางอย่าง เป็นตัวอย่างทั้งนั้น ของผู้ที่เดินไปถึงก่อนหน้า

    สิ่งที่ควรน้อมหดตัวเข้ามา ใส่ใจเรียนรู้โดยอาศัยปัญญา3 ตามสถานะภาพของตน
    ในหลักธรรมเพื่อเข้ามาเห็นทุกข์ และดับเหตุแห่งทุกข์ ก็หลักอริยสัจ4 ปฏิจสมุปบาท หรือหลักอิทัปปัจจยตา นี้เอง

    พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน พระองค์ยังกล่าวถึงพระวิปัสสีพุทธเจ้า ก่อนการตรัสรู้เลยว่า โดยทำนองลักษณะแห่งการพิจารณาปฏิจสมุปบาท

    หาพิจารณาดูก็แล้วกัน

    ถ้าไม่น้อมเข้ามาพิจารณาในสิ่งเหล่านี้ โดยความเป็นอุปนิสัยในแต่ละภพชาติ จะตรัสรู้ได้ยังไง

    ดีไม่ดี มันส์ขอเป็นองค์สุดท้ายโน้นน่ะ มันเป็นไปไม่ได้หรอก ที่จะมีองค์สุดท้าย
    สังสารวัฏนี้ไม่มีกำหนด เพราะอำนาจของผู้ยังมีกิเลสครอบงำ ซึ่งเป็นอนันต์

    จะทำอย่างไร ให้ลมหายใจนี้ เป็นบุญเป็นกุศล

    ล่ะผู้บริหาร..!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2013
  18. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,366
    =============

    พรหมวิหาร4เป็น คุณธรรมที่ยิ่งใหญ่ มีอานิสงค์มาก เมื่อเราเจริญเมตตา แล้ว กรุณา และมุทิตา ก็ควรเจริญต่อเนื่อง เมื่อเจริญต่อเนื่องได้แล้ว ต้องเจริญอุเบกขาธรรมอันเป็นธรรมที่เป็นนายหรือเป็นประธาน

    อุเบกขาธรรม มีคุณมาก เพราะนอกจากจะช่วยกำกับให้ธรรมข้ออื่นๆเจริญขึ้นอย่างดีงามไพบูลย์ อุเบกขาธรรม ที่เกิดพร้อมด้วยปัญญา จะยังผลให้จิตตั้งอยู่ด้วยสะอาดหมดจด เป็นธรรมอันนำไปสู่วิปัสสนาญาณได้ ก่อให้เกิดปัญญาชำระจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ได้

    ก็อุเบกขาธรรมนี่แหละที่เกิดในสมาธิฌาณ ให้ผลเป็นรากฐานแห่งอุเบกขาญาณ มีปัญญารู้แจ้งในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาด้วย เป็นเครื่องชำระจิตให้หลุดพ้นทุกข์ได้นั่นเองครับ สาธุ
     
  19. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    เอาชาดกมาให้พิจารณาดีกว่า เห็นเงียบกริบ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤศจิกายน 2013
  20. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    คิด๒.gif

    แล้วศรัทธา เป็นบุญ เป็นบารมีมั้ย เห็นว่าจัดอยู่ในประเภทของพระพุทธเจ้าด้วยนิ?
     

แชร์หน้านี้

Loading...