ทุกขอริยสัจ : อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย บุญญสิกขา, 20 มิถุนายน 2010.

  1. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน ?</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ </CENTER><CENTER>โสกปริเทวทุกข โทมนัสสอุปายาสทุกข์ </CENTER><CENTER>อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ </CENTER><CENTER>ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ </CENTER><CENTER>โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์



    </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>'</CENTER><CENTER>'</CENTER><CENTER>'</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER> พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒</CENTER><CENTER>วิภังคปกรณ์ </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>




    <CENTER>ทุกขอริยสัจ</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
    [๑๔๕] ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน
    ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสสอุปายาสทุกข์อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ โดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

    [๑๔๖] ในทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นไฉน
    ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่าชาติ

    [๑๔๗] ชรา เป็นไฉน
    ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่าชรา

    [๑๔๘] มรณะ เป็นไฉน
    ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งทรากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า มรณะ

    [๑๔๙] โสกะ เป็นไฉน
    ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายในความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศก ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรคความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า โสกะ

    [๑๕๐] ปริเทวะ เป็นไฉน
    ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ สภาพร้องไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรร่ำ กิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถูกกระทบ ด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ปริเทวะ

    [๑๕๑] ทุกข์ เป็นไฉน
    ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า ทุกข์

    [๑๕๒] โทมนัส เป็นไฉน
    ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า โทมนัส

    [๑๕๓] อุปายาส เป็นไฉน
    ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อุปายาส

    [๑๕๔] อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ เป็นไฉน
    ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุมร่วม ความอยู่ร่วม กับอารมณ์อันไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขาในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือกับบุคคลผู้ที่มุ่งก่อความพินาศ มุ่งทำลายประโยชน์ มุ่งทำลายความผาสุก มุ่งทำอันตรายความเกษมจากโยคะของเขานี้เรียกว่า อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์

    [๑๕๕] ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ เป็นไฉน
    ความไม่ไปร่วม ความไม่มาร่วม ความไม่ประชุมร่วม ความไม่อยู่ร่วมกับอารมณ์ อันเป็นที่ปรารถนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ชอบใจของเขาในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือกับบุคคลผู้ที่ใคร่แต่ความเจริญ ใคร่แต่ประโยชน์ ใคร่แต่ความสำราญ ใคร่แต่ความเกษมจากโยคะของเขา ได้แก่ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต นี้เรียกว่า ปิเยหิวิปปโยคทุกข์

    [๑๕๖] ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ เป็นไฉน
    ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่าเออหนอ ขอเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือความเกิดอย่าได้มาถึงเราทั้งหลายเลยหนา ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความปรารถนา นี้เรียกว่า ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ประการหนึ่ง

    ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ฯลฯ ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ ความปรารถนา ย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า

    เออหนอ ขอเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา หรือโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสอย่าได้มาถึงเราทั้งหลายเลยหนา ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความปรารถนา นี้เรียกว่า ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ประการหนึ่ง

    [๑๕๗] โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน
    รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์วิญญาณูปาทานขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ



    [MUSIC]http://audio.palungjit.org/attachment.php?attachmentid=53076[/MUSIC]​



    <CENTER></CENTER>


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.1012306/[/MUSIC]​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มิถุนายน 2010
  2. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,683
    ค่าพลัง:
    +9,239

    [​IMG]


    ปริเทวะ เป็นไฉน
    ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ สภาพร้องไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรร่ำ กิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถูกกระทบ ด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า
    ปริเทวะ




     
  3. vilawan

    vilawan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    836
    ค่าพลัง:
    +1,432
    อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน
    1 รูปูปาทานขันธ์

    2 เวทนูปาทานขันธ์
    3 สัญญูปาทานขันธ์
    4 สังขารูปาทานขันธ์
    5 วิญญาณูปาทานขันธ์
    เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
    สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ

    อนุโมทนาคะ
     
  4. คชสาร

    คชสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +164
    เมื่อเรานั่งสมาธิ ภาวนาพุโธ อานาปนสติ
    ดูลมจนได้ความว่างเปล่า
    ความสว่างโล่ง ทรงสมาธิได้
    ความสว่างจนเต็มที่แล้ว
    ก็ให้พิจารณาทุกขอริยสัจ ตามพระไตรปิฎกนี้
    ก่อนอื่นให้ สวดจนจำได้ก่อน
    หรือ ทำความเข้าใจใน คำอธิบาย ข้อความ
    ใน ทกขอริยสัจจนี้ให้คล่องก่อน

    เมื่อสวดจนจำได้แล้ว เมื่อนั่งสมาธิ เมื่อภาวนาพุทโธ
    หรือดูลม จนสว่างแล้ว
    ให้นำ คาถาบทนี้มาพิจารณา จนแจ้งชัด
    ก็จะเข้าข่ายพิจารณา อริยสัจสี่
    เหมือนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ในคืนวิสาขปุณณมี
     

แชร์หน้านี้

Loading...