ความหมายแห่งการ 'ทำบุญ'

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย paang, 8 กรกฎาคม 2009.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328

    [​IMG]


    เมื่อวันสำคัญทางพุทธศาสนาเวียนมาบรรจบทีไร คนไทยเรามักนิยมไปทำบุญกัน จะเห็นได้จากตามวัดวาอารามจะเนืองแน่นไปด้วยผู้คน แต่ใครหลายคนก็มีความสงสัยในเรื่องของการทำบุญว่าตนเองทำบุญถูกวิธีหรือไม่ และจะได้บุญจริงหรือเปล่า?

    การทำบุญในพระพุทธศาสนา พระมหาธนเดช ธมม ปญโญ ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า คำว่า บุญ แปลว่า ความดี การประกอบความดี ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในลักษณะอีกประการหนึ่ง แปลว่า เต็ม เมื่อเรานึกถึงบุญ จะเป็นเรื่องของการขัดเกลากิเลสภายในใจของบุคคลผู้ที่จะกระทำ การกำจัดความเห็นแก่ตัว ฉะนั้น ช่วงใด เวลาใด ที่เรามีความสุขใจ หรือมีความชื่นปีติ เรามักจะอุทานว่าเป็นบุญของเราแล้ว เต็มเปี่ยมแล้ว

    โดยวิธีของการทำบุญ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านได้ตรัสไว้มี 10 ประการ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 10 อันได้แก่ ทานมัย การให้ทานศีลมัย การรักษาศีล ภาวนามัย การอบรมจิตใจ อปจายนมัย การอ่อนน้อมถ่อมตน เวยาวัจมัย การช่วยเหลือผู้อื่น ปัตติทานมัย การแผ่ส่วนบุญ เฉลี่ยความดีให้คนอื่นได้ชื่นชม ปัตตานุโมทนามัย การอนุโมทนาบุญ ชื่นชมความสุข ความก้าวหน้าของคนอื่น ธัมมัสสวนมัย การฟังธรรม ศึกษาหาความรู้ที่มีสารประโยชน์ต่อชีวิต ธัมมเทสนามัย การแสดงธรรม และ ทิฏฐุชุกรรม การมีความคิดที่ดี เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อตามหลักเหตุผล

    แต่โดยหลักในการประพฤติปฏิบัติมีอยู่ 3 ประการ คือ ทาน ศีล และเจริญภาวนา ซึ่งถ้าแปลโดยความให้ชัดเจน คือ หมั่นทำทาน อาการปกติ สมาธิสุขใจ โดยจะได้ผลมาก น้อยอย่างไรนั้น จะต้องตั้งข้อพิจารณาไว้ 2 ประเด็น ประเด็นแรก คือ บุคคลผู้ที่จะทำ มีวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย ในการทำบุญนั้นอย่างไร ประเด็นที่ 2 บุคคลผู้ที่ทำบุญนั้นมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องของผลบุญนั้นอย่างไร เบื้องต้นเป็นศรัทธา เบื้องสองเป็นปัญญา จะต้องประกอบด้วย 2 อย่าง จึงจะได้ผลของการทำบุญ คือ มีศรัทธาเป็นตัวนำ แล้วมีปัญญาประกอบด้วย

    ในส่วน วัตถุประสงค์ของการทำบุญ สำหรับการให้ทาน ซึ่งมีอยู่ 2 ประการ คือ เพื่อการทำบุญ ได้แก่ การใส่บาตร ถวายสังฆทาน อนุเคราะห์ อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา การเป็นเจ้าภาพการทอดผ้าป่า งานบุญต่าง ๆ กับ เพื่อการสงเคราะห์ เช่น การให้ข้าว ปลา อาหาร สิ่งของ เครื่องใช้ แก่คนชรา เด็กกำพร้า คนพิการ การปล่อยสัตว์ต่าง ๆ โดยวัตถุประสงค์หลัก คุณค่าของการ ทำบุญที่แท้จริง คือ เพื่อสละ

    ต่อมา คือ ศีล การรักษาศีล 5 เป็นหลักพื้นฐานในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ไม่ประพฤติตนให้เกิดความเดือดร้อนทั้งตนเองและสังคม หมั่นพัฒนาตนเอง ปฏิบัติหน้าที่การงานให้สมบูรณ์ โดยใช้ศีล 5 เป็นหลัก

    สุดท้าย เจริญภาวนา บุญสำเร็จด้วยการพัฒนาจิตใจของเราเอง ด้วยการปฏิบัติธรรม ชีวิตของเราจะต้องกลับมาอยู่กับตนเอง อยู่กับลมหายใจ สงบจิต สงบใจเสียบ้าง พักกายแล้วก็ต้องพักใจด้วย พักใจในที่นี้หมายความว่า ให้ สละ ละ วาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ปิดทวารทั้ง 6 จะได้ไม่ต้องรับรู้เกี่ยวกับโลกภายนอก เพื่อสะท้อนความงดงามจากภายในไป เหมือนกับต้นไม้ที่สละ ละใบของมัน เพื่อที่จะรักษาน้ำ รักษาปุ๋ยในตัวของมันเอง ชีวิตคนเราก็เช่นกัน เพื่อที่จะรักษาความสมดุลในชีวิตก็ย่อมที่จะต้อง สละ ละ วาง ในความสุขทางตา หู จมูก ลิ้น เสียบ้าง เพื่อที่จะได้ไม่พอกพูน เกิดเป็นกิเลสที่ขจัดได้ยากขึ้น

    “จะเห็นว่า ก่อนที่จะถวายจตุปัจจัย เครื่องไทย ธรรม แด่พระสงฆ์ จะต้องยกมือขึ้นจบ โดยมีคำกล่าวเป็นคำบาลีว่า สุทินนัง วตเมทานัง อาสวขยาวหัง นิพพานะ ปัจจโย โหตุ ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ความว่า ทานของข้าพ เจ้านี้ ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ ขอถวายเป็นพุทธบูชา แด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเป็นเครื่องยังกิเลสให้สิ้นไป จากใจความนี้แสดงให้เห็นว่า แท้จริงแล้ว การทำบุญเพื่อการสละ”

    แม้แต่หลังจากที่ทำบุญเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมี การกรวดน้ำ ซึ่งบทกรวดน้ำ แปลเป็นภาษาไทยว่า ขออุทิศส่วนบุญกุศลนี้ให้กับเจ้ากรรมนายเวร ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ตรงนี้ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่า การทำบุญเป็นการทำเพื่อผู้อื่นทั้งนั้น ซึ่งตรงกับคำว่า บุญ ที่แปลว่า เต็มแล้ว คนที่เต็มแล้วเท่านั้นถึงจะรู้จักให้คนอื่นได้ แต่ทุกวันนี้เวลาจะยกมือขึ้นสาธุ จะกล่าว ขอให้ได้เลข 3 ตัวตรง ๆ ขอให้ชีวิต การทำงานราบรื่น ไม่มีอุปสรรค ขอให้สุขภาพแข็งแรง มีเงินมีทองใช้ไม่ขาดสาย กลับเป็นเพื่อตนเองทั้งนั้น พอทำบุญไปแล้วไม่ได้ตามวัตถุประสงค์ คลาดเคลื่อนจากความตั้งใจไป เราก็ไม่รู้สึกเต็มเสียที เป็นคนที่หาอยู่ตลอดไม่มีวันเต็มเสียที

    การทำบุญ ไม่ใช่ให้เรารวย ไม่ใช่ให้เราได้ดี แต่เป็นการให้ผู้อื่นได้รับความสบายจากสิ่งที่เราให้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องมากหรือน้อย ต้องการให้สละ โดยไม่หวังผลตอบแทน เพื่อชำระล้างจิตใจให้เกิดความบริสุทธิ์

    อีกประเด็นในเรื่องของปัญญา คือ เรามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับผลของทานนั้นอย่างไร ให้มุ่งไปที่คุณค่าของการทำบุญที่แท้จริง นั่นคือ เพื่อสละ ละ ออกจากตัวเรา ถ้ามี 2 อย่างประกอบจะเกิดผลกับผู้ที่กระทำเอง

    ในการที่จะให้นั้น ก่อนให้ ขณะให้ หลังให้ ก็ยังใจให้ปลาบปลื้ม โดยสิ่งของที่ให้นั้นได้มาด้วยความบริสุทธิ์ถึงจะเป็นประโยชน์ และการให้ที่จะได้ผลมากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับผู้รับและผู้ให้ประกอบกัน

    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า พระ เปรียบเหมือนกับ นาข้าว วัตถุ สิ่งของ เปรียบเสมือนทาน ส่วน ผู้ให้ เปรียบเหมือนชาวนา มีข้าวเปลือกอยู่ในกำมือจะต้องพิจารณาผืนนาที่จะหว่านว่าเป็นผืนนาที่ดีหรือไม่ ถ้าต้องการให้ข้าวที่ปลูกเจริญงอกงาม ก็ต้องเลือกนาที่มีคุณภาพ

    “สำหรับการทำบุญมากจะได้บุญมากหรือไม่นั้นไม่ใช่ประเด็น ประเด็นขึ้นอยู่กับ คนให้ว่า คนให้มีวัตถุประสงค์ อย่างไร เช่น นาย ก. บริจาคเงินแสนบาทเพื่อต้องการให้คนชื่นชม หากคิดอย่างนี้เริ่มต้น ก็เศร้าหมองแล้ว ถ้าเกิดมีคนพูดกระทบว่าทำบุญเอาหน้า ก็พาลโกรธ ทั้งที่ศรัทธามาดีแล้วแต่ยังมองไม่เห็นคุณค่าของ การกระทำที่แท้จริง ยังขาดในเรื่องของปัญญา สู้ให้บาทเดียว ก็ไม่ได้ ที่ให้ด้วยความตั้งใจ ให้เท่าที่เรามี ยกมือสาธุ ขอให้ปัจจัยส่วนนี้เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา ขอเป็นส่วน อันเล็กน้อยเท่านั้น แม้ว่าทรัพย์จะน้อยแต่จิตใจสูง เรียกว่า พอเริ่มคิดก็เป็นจิตที่เป็นกุศลเสียแล้ว

    ในทางกลับกันถ้ามีเงิน 10 ล้านบาท อยากบริจาคทั้ง 10 ล้านบาท โดยไม่ได้หวังผล ตอบแทนใด ๆ อยากให้เป็นประโยชน์ต่อวัด ต่อชุมชน ต่อคน ต่อสถานที่ อันนี้ประเสริฐ สุด ๆ ฉะนั้นจะเห็นว่า การทำบุญ ศรัทธากับปัญญาจะต้องมาพร้อม ๆ กัน ถึงจะเรียกว่าทำบุญอย่างแท้จริง” พระมหาธนเดช กล่าวทิ้งท้าย

    เปลี่ยนภาพลักษณ์ของการทำบุญเสียใหม่...ให้สิ่งที่หวังรับผลเป็นความสุข!!.

    ความหมายของการปล่อยสัตว์

    ปลาไหล หมายถึง การเงิน การงาน การเรียนราบรื่น พ้นจากอุปสรรคทั้งหลาย
    ปลาหมอ หมายถึง สุขภาพดี หายจากการเจ็บป่วย
    ปลาบู่ หมายถึง ทดแทนผู้มีพระคุณ
    ปลาดุก หมายถึง ศัตรูคู่แข่งแพ้พ่าย
    ปลานิล หมายถึง ทรัพย์สินเพิ่มพูน
    ปลาช่อน หมายถึง สะเดาะเคราะห์ ปรับดวงให้หมดเคราะห์หมดภัย
    ปลาสวาย หมายถึง เงินทองคล่องตัว มีโชคลาภ
    ปลาจะละเม็ด หมายถึง จะได้เงินเต็มเม็ดเต็มหน่วย
    ปลาไน หมายถึง ได้เป็นเจ้าคนนายคน
    ปล่อยกบ หมายถึง ขออุทิศให้แก่เจ้ากรรมนายเวร
    หอยขม หมายถึง ให้พ้นความขมขื่นเรื่องต่าง ๆ
    หอยโข่ง หมายถึง หนทางโล่งเป็นผู้นำข้าทาสบริวารมาก
    ตะพาบ หมายถึง รอดพ้นจากภัยคุกคามต่าง ๆอายุมั่นขวัญยืน
    เต่า หมายถึง ให้อายุยืน


    :z8



    ข้อมูลจาก เดลินิวส์ออนไลน์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1.jpg
      1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      67.7 KB
      เปิดดู:
      1,088
    • 5.jpg
      5.jpg
      ขนาดไฟล์:
      26.8 KB
      เปิดดู:
      127
    • 6.jpg
      6.jpg
      ขนาดไฟล์:
      32.4 KB
      เปิดดู:
      127
    • 00182_0.jpg
      00182_0.jpg
      ขนาดไฟล์:
      693 bytes
      เปิดดู:
      120
  2. น้ำดี1

    น้ำดี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    13,402
    ค่าพลัง:
    +43,432
    ขอบคุณค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...