เรื่องเด่น พระอริยะเข้านิโรธสมาบัติ โปรดโยมผู้มีอุปการะต่อวัด

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 25 กุมภาพันธ์ 2023.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531


    พระอริยะเข้านิโรธสมาบัติ โปรดโยมผู้มีอุปการะต่อวัด
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    temp_hash-28fb1578b8ce24ae99daa5b7029291d5-jpg.jpg


    temp_hash-7481abe70ed5cd19759138d60abdb582-jpg.jpg


    temp_hash-3aa8e956baad98b8f60ca8639dce5415-jpg.jpg

    temp_hash-3aa8e956baad98b8f60ca8639dce5415-jpg.jpg

    นิโรธสมาบัติ หรือสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัตินั้นเป็นสมาธิชั้นสูงในพระพุทธศาสนา เป็นการเข้าสมาธิที่ดับสัญญา ความจำได้หมายรู้และเวทนาความรู้สึกทั้งปวงมีสภาวะละเอียดกว่าอรูปฌานเพราะผู้ที่เข้าฌานขั้นนี้ต้องสามารถละขันธ์ ๕ เข้าสู่ความไม่มีตัวตน สิ้นไปจากรูปและนาม อยู่ในสุญญตวิหารธรรม การเข้านิโรธสมาบัตินั้นจึงทำได้เฉพาะพระอนาคามีและพระอรหันต์เท่านั้น การเข้าแต่ละครั้งจะกินเวลานานสูงสุด ๗ วัน โดยทั้ง ๗ วันจิตจะดับความรู้สึกความสืบต่อทั้งหมด ภาวะนั้นร่างกายดับลมหายใจ ไม่กินไม่ถ่ายไม่นอน ทรงสภาวะธรรมนั้นโดยตลอด ๗ วัน

    เมื่อถอนสมาธิออกมาผู้เข้านิโรธมักออกโปรดคนยากจนที่มีศรัทธา หากใครได้ถวายทานเป็นมื้อแรกหลังจากการออกจากนิโรธจะได้บุญมหาศาล จากคนจนจะเปลี่ยนฐานะเป็นคนรวยภายในวันนั้นทันที ในสมัยพุทธกาลพระสารีบุตรเคยเข้านิโรธสมาบัติขณะนั้นมียักษ์นิสัยพาลเอากระบองมาทุบศีรษะ พระสารีบุตรมิได้เป็นอันตรายแม้ปลายเส้นขน เพราะพลังแห่งนิโรธสมาบัตินั้นคุ้มครอง

    นอกจากนี้ในสมัยพุทธกาลนั้นพระมหากัสสปะเป็นมหาเถระอีกท่านหนึ่งที่นิยมเข้านิโรธสมาบัติเป็นเวลา ๗ วันครั้นแล้วจึงออกบิณฑบาตรโปรดผู้ยากไร้ แม้กระทั่งพระอินทร์ยังต้องแปลงตัวเป็นขอทานมาขอใส่บาตร

    จวบจนมาถึงปัจจุบันหากย้อนระลึกถึงพระมหาเถระที่ผ่านมาซึ่งสามารถเข้านิโรธสมาบัติ ๗ วันแบบอุกฤษ์สูงสุดคือไม่ฉันข้าวไม่ฉันน้ำ ไม่ขับถ่ายสิ่งใดๆ เท่าที่พอจะนึกถึงได้ก็จะมี สมเด็จพระบรมครูหลวงพ่อเขาสาริกา เข้าสมาบัติในท่านั่งยองๆกลางแจ้งช่วงเดือนเมษายน โดยไม่ฉันข้าวไม่ฉันน้ำ ไม่ขับถ่าย

    ท่านต่อมาคือหลวงพ่อกัสสปมุนี วัดปลิผลิวนาราม จ.ระยอง
    ท่านเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ’ เป็นครั้งแรกเมื่อวันศุกร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2510 เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน

    หลวงพ่อกัสสปมุนีเคยบอกว่า นิโรธสมาบัตินี้มีอานุภาพมากนัก มิใช่แต่กุฏิของท่านเท่านั้น แต่กำลังแห่งนิโรธยังครอบคลุมไปทั่วภูเขา ‘สุนทรีบรรพต’ อันเป็นที่ตั้งวัด อย่าว่าแต่ของในกุฏิท่านเลย แม้กรวดหินหน้าวัดหากจะหยิบขึ้นมาแล้วตั้งจิตระลึกถึงท่านก็ยังมีอานุภาพได้


    หลวงปู่ชุ่ม โพธิโก
    ท่านนี้ได้รับการยกย่องจากหลวงพ่อฤๅษีลิงดำว่ามีความสามารถในการเข้านิโรธสมาบัติอย่างยิ่ง ประวัตินั้นท่านเคยเข้านิโรธที่ถ้ำปุ่มถ้ำปลา จ.เชียงราย พอถอนสมาธิออกมามีหนูท้องขาวยกขาหน้าขึ้นสองข้างทำกิริยากราบแล้ววิ่งทักษิณาวัตรรอบตัวท่านสามรอบ

    นอกจากนี้ยังมี

    หลวงพ่อเกษม เขมโกและคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ที่มีความสามารถในการเข้านิโรธสมาบัติได้

    ท่านเหล่านี้นับเป็นเพชรน้ำเอกในพระพุทธศาสนา มีความสามารถในทางฌานอย่างแก่กล้า สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้และด้วยอานุภาพแห่งนิโรธสมาบัตินี้ก็เชื่อกันว่าท่านเข้าเพื่ออธิฐานให้แผ่นดินไทยร่มเย็นเป็นสุข เป็นแผ่นดินที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    หลวงพ่อเล่าเรื่อง การฝึกเข้านิโรธสมาบัติของท่าน

    art_42028665-jpg.jpg
    หลวงพ่อเล่าเรื่อง การฝึกเข้านิโรธสมาบัติ ในขณะไปธุดงค์ภาคอีสาน (ท่านบันทึกเทปเมื่อ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๓๔) ดังนี้


    “ต่อมาอีก ๒-๓ วัน ทุกวันก็ออกเดินจงกรม เดินจงกรม ก็คือ เดินธรรมดานี่เอง ป่ามันร่มรื่น มันน่าเดินเที่ยวเดินไปไกล ๆ เดินแก้เมื่อย เดินไปเดินมา เดินมาเดินไป จากต้นไม้ต้นนี้ถึงต้นโน้น ต้นโน้นถึงต้นนั้น จะไกลแสนไกลขนาดไหน ก็ไม่มีการรกรุงรัง ไม่มีป่าชัฏ มีแต่ต้นเต็งรัง ยืนเป็นแถวเต็มไปหมด

    ปรากฏว่ามาวันหนึ่ง อยู่ได้ประมาณ ๕ วัน เมื่อขณะที่เดินจงกรมไปคำว่า จงกรม ก็เดินแบบธรรมดา ๆ ไม่ใช่ค่อย ๆ ยก ค่อย ๆ ย่าง ไอ้แบบ ค่อย ๆ ยก ค่อย ๆ ย่าง เขาเป็นเกณฑ์บังคับถือว่าเป็นการฝึกเบื้องต้น ทีนี้การฝึกขั้นปลาย เขาใช้เดินธรรมดา เดินธรรมดาให้ใจมันพร้อมไปกับเท้า จิตใจคิดถึงด้านของความดี ไปพร้อมกับเท้าที่ลง

    เมื่อเดินไป ก็ปรากฏว่า พบพระองค์หนึ่ง สูงใหญ่ ห่มจีวรสีกรัก มีย่ามหนึ่งลูก มีบาตรหนึ่งลูก มีไม้เท้าหนึ่งอัน ไม้เท้า ก็คือ ไม้ท่อน ท่านเดินสวนทางมา ไอ้ความรู้สึกมันจะหลอกหรือไม่หลอกก็ไม่ทราบ ความรู้สึกก็นึกว่า พระองค์นี้คงเป็น พระมหากัสสป จิตมันมีความรู้สึกขึ้นเอง พอจิตนึกอย่างนั้น เสียงท่านบอกมา บอก ใช่แล้ว คิดถูกแล้ว ตกใจ เพียงแค่เราคิด ท่านบอว่า ใช่แล้ว ถูกแล้ว ก็นั่งลงกราบท่าน ท่านก็นั่งลง ถามว่า พระคุณเจ้ามาอย่างไรขอรับ ท่านก็บอกว่า ที่มานี่ก็จะมาเตือนน่ะซิ เห็นมาธุดงค์แบบฉัน ฉันก็พระชอบธุดงค์ เธอก็ชอบธุดงค์ จะได้เล่าเรื่องธุดงค์ให้ฟังสักหน่อยหนึ่ง เลยให้ท่านเล่าให้ฟัง

    แต่ว่าท่านไม่เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ฟัง ท่านบอกว่า การธุดงค์ต้องฝึกเข้านิโรธสมาบัติ พอใช้คำว่า นิโรธสมาบัติ เราก็ตกใจคิดว่า คนอย่างเราไม่สามารถจะทำได้ ท่านบอกว่า คุณอ่านแต่หนังสือไม่เข้าใจ อาจารย์คุณก็ไม่สอน สอนแต่ผลสมาบัติ

    แต่ความจริง ผลสมาบัติกับนิโรธสมาบัติมันก็คล้ายคลึงกัน แต่ว่านิโรธสมาบัติ เราจะกำหนดเวลายาวหน่อย ผลสมาบัติเข้าตามเวลา ออกตามเวลาเล็กน้อย นิโรธ แปลว่า ดับ สมาธิ แปลว่า เข้าถึงความดับทุกขเวทนา นิโรธสมาบัติ เขามีเขตบังคับว่า ต้องใช้ฌาน ๔ เป็นพื้นฐาน แต่พวกคุณเองก็ชำนาญในฌาน ๔ มาแล้ว ก็ไม่มีอะไรหนักใจ แต่ที่ผมพูดนี่ คุณหนักใจ เพราะว่าคุณไม่เคยทำ ไม่เข้าใจมาก่อน แต่ใช้เวลาน้อย ใช้เวลาเพียง ๑๐ นาที บ้าง ๒๐ นาทีบ้าง ๓๐ นาทีบ้าง


    ขณะที่นั่งไป มันไม่รู้สึกปวดรู้สึกเมื่อย จิตสว่างโพลง อย่างนี้ก็เป็นนิโรธสมาบัติ จิตต้องตั้งไว้เพื่อนิพพานโดยเฉพาะ คือว่า จิตตั้งไว้โดยเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง จิตแยกจากประสาทเด็ดขาด ไม่รู้เรื่องของร่างกาย เป็นฌาน ๔ อย่างนี้เป็นนิโรธะอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่ง เมื่อจิตเข้าถึงฌาน ๔ แยกออกจากกายแล้ว จิตอารมณ์มีความสงัด หลังจากนั้นก็ท่องเที่ยวไปในภพต่าง ๆ ไปสวรรค์บ้าง ไปพรหมโลกบ้าง ไปนิพพานบ้าง พ้นไปเสียจากร่างกาย ไม่รู้สึกปวดรู้สึกเมื่อย มันก็เป็น นิโรธสมาบัติเหมือนกัน ทั้ง ๒ อย่างนี้จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ แต่ว่ากำหนดเวลาว่า เราจะใช้เวลาสัก ๓ วัน หรือ ๕ วัน หรือ ๗ วัน หรือ ๙ วัน หรือ ๑๕ วัน ก็ตามใจชอบ

    เลยถามท่านบอกว่า ถ้าอย่างนั้น เวลาออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว จะต้องเหาะไปบิณฑบาต ท่านบอกว่า ไม่จำเป็นพวกคุณยังเหาะไม่ได้ ไม่จำเป็นต้องเหาะ ถึงแม้ว่าเหาะได้ ก็ไม่จำเป็นต้องเหาะ ที่เขาเหาะไปแบบนั้น เขาจะโปรดคนจน คนไหนที่ยากจนมาก แต่ว่ามีศรัทธา ถ้าใส่บาตรกับพระที่ออกจากนิโรธสมาบัติ เพียงครั้งเดียวในชีวิต เขาจะเป็นมหาเศรษฐีในวันนั้น แต่นี่เราเข้าเพื่อเราเองไม่จำเป็นต้องเหาะไป พอหลังจากคุณออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว เทวดา นางฟ้าก็จะเลี้ยงเอง เวลานี้เทวดา นางฟ้าท่านพร้อมแล้ว ตั้งแต่พรหมลงมา ก็หวังในบรรดาพวกคุณทั้ง ๓ องค์ หวังว่า ต้องการให้คุณทั้ง ๓ องค์ เข้านิโรธสมาบัติ ถามว่า ท่านทำบุญแล้ว ท่านจะมีผลเป็นอย่างไร ท่านบอก ถ้าทำบุญกับพวกคุณแล้ว จะมีรัศมีกายสว่างขึ้นเทวดา กับนางฟ้า หรือพรหมก็เช่นเดียวกัน ใครมีรัศมีกายสว่างมากคนนั้น เรียกว่า มีบุญมาก มีบุญญาธิการมาก

    ก็เป็นอันว่า ท่านก็แนะนำว่า วิธีการไม่มีมาก ใช้ตามแบบที่คุณทำอยู่แล้ว อันดับแรก คุณซ้อมน้อย ๆ ก่อน จับตั้งแต่หัวค่ำยันสว่างว่า เราจะไม่ถอนสมาธิ ตั้งใจไว้กำหนดเวลาไว้ ถ้าแสงอรุณขึ้นเมื่อไรให้จิตตกทันที หรือว่าเราจะใช้ ๒ วัน ๓ วันก็ได้ ทีแรก ๆ เอาแค่น้อย ๆ ก่อน เข้ากันทุกวัน พอถึงตอนเย็นปั๊บ อาบน้ำอาบท่าเสร็จเข้านิโรธสมาบัติ เป็นอันว่า ใช้นิโรธสมาบัติตอนกลางคืน กลางวันนอน กลางวันกินข้าวเวลาเดียว เทวดาเลี้ยงแล้ว เราก็นอน ใช้อย่างนี้สะดวกดีหรือถ้านาน ๆ หนัก ๆ เข้า ถ้ารำคาญ วันเดียวไม่เอา ลอง ๒ วัน ลอง ๓ วัน ลอง ๔ วัน ลอง ๕ วัน ลอง ๗ วัน ก็ได้ตามใจชอบ

    ก็ยอมรับท่านว่า อย่างพวกผม ๓ องค์นี่ทำได้นะขอรับ ท่านบอกว่า อย่าย้ำซิ ฉันพูดแล้ว ต้องเป็นไปตามนั้นท่านบอกว่า ถ้าอย่างนั้น ฉันก็จะกลับละนะ ฉันหมดห่วง ที่มานี่ห่วงเพียงเท่านี้ สงสารเทวดา นางฟ้าท่าน ท่านพร้อมอยู่แล้ว พวกเราก็มีความรู้ใหม่ว่า การเข้านิโรธสมาบัติก็ไม่จำเป็นต้อง ๗ วัน ๑๕ วันเสมอไป ก็เรียกว่า เข้ากันทุกวัน และมันก็ดีที่สุด พอพลบค่ำปั๊บ อาบน้ำอาบท่าเสร็จ ทำวัตรสวดมนต์เสร็จ ทำวัตรสวดมนต์ก็ใช้เวลาไม่มาก ก็เริ่มเข้านิโรธสมาบัติ จับพั้บ จับอานาปานสติ ก็ไม่ต้องใช้เวลามาก ใช้เวลาเพียงครึ่งนาที จิตก็เข้าถึงฌาน ๔ เต็มกำลัง ในตอนต้น ก็ตั้งอารมณ์เฉพาะจุดก่อน

    หลังจากนั้นก็ท่องเที่ยวไปตามภพต่าง ๆ ตั้งใจว่า ถ้าสว่างจะให้จิตตกจากสมาธิ บางทีเราเที่ยวเพลินไป พอจะสว่าง เทวดาก็เตือนว่า สว่างแล้วครับ หลังจากนั้นลงมา เทวดา นางฟ้าก็มาใส่บาตร คราวนี้ท่านไม่แต่งตัวเป็นคนแล้ว ท่านมาเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า มีเครื่องเต็มยศออกมาเลย ท่านมากันมาก ข้าวที่ท่านใส่รู้สึกว่ามาก แต่ก็กินพอดีหมดไม่เหลือ

    ก็รวมความว่า ทำแบบนี้ตลอดมา ตั้งแต่เดือน ๖ ข้างขึ้นจนกระทั่งถึงเดือน ๘ ข้างขึ้น พอถึงขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๘ ก็เดินทางกลับ การเดินทางกลับ บรรดาท่านพุทธบริษัท เขตนี้ทราบภายหลังว่าเป็นเมืองขอนแก่น จากเมืองขอนแก่นมาถึงอำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยานี่ เวลานี้ถ้าเดินกันจะต้องถึงหนึ่งเดือน แต่ว่าพวกเราใช้เวลาเดินแค่ ๓ วัน วันแรกรู้สึกว่าเดินมาเรื่อย ๆ ในป่า วันที่สองก็เดินมาเรื่อย ๆ ตามธรรมดา ๆ กลางคืนก็หลับตามทาง ปักกลด พอคืนที่สาม ปรากฏว่าตื่นขึ้นมาอยู่หลังวัด ไม่ทราบว่ามาได้อย่างไรก็ตกใจ

    ถามท่านอินทกะว่า ทำไมถึงมาถึงได้เร็วอย่างนี้ มันมาอย่างไร เมื่อคืนนี้หลับ ท่านบอกว่า โยมคุณ ท่านเกรงว่า คุณจะเข้าพรรษาไม่ทัน ท่านเลยใช้อำนาจเทวานุภาพ บันดาลให้มาอยู่หลังวัด ก็กราบท่าน เมื่อกราบในที่ว่างก็ปรากฏภาพองค์ท่านขึ้นมาพอดี ท่านบอกว่า คุณทำอย่างนี้ให้ดีทุกปีนะ โยมจะดีใจมาก เทวดา และนางฟ้าก็ดีใจมาก


    เอาละ บรรดาท่านพุทธบริษัท เป็นอันว่า เมื่อกลับถึงวัดแล้วก็เข้าพรรษา เวลานี้ เวลาเหลือเพียง ๔๐ วินาที ขอลาก่อน สวัสดี”


    หนังสืออ่านเล่น เล่ม ๒๑โดย ส.สังข์สุวรรณ (พระเดชพระคุณ หลวงพ่อพระราชพรหมยาน)
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    --ในคัมภีร์พระอภิธรรม นิโรธสมาบัติวิถี คือ วิถีที่มีการดับของจิต เจตสิกและจิตตชรูป มี 1 วิถี ดังนี้ ภฺ น ท ม ปริ อุ นุ โค ฌ ฌ – เจตสิกและจิตตชรูปดับ – ผ ภ ภ


    ---บุคคคลที่สามารถเข้านิโรธสมาบัติได้นั้น ได้แก่ พระอนาคามี และ พระอรหันต์ที่ได้ฌานสมาบัติ 9 (คือ รูปฌาน 5 และอรูปฌาน 4) ซึ่งอยู่ในกามสุคติภูมิ 7 และรูปภูมิ 15 (เว้นอสัญญสัตตภูมิ) เท่านั้น


    ---พระอนาคามีหรือพระอรหันต์ที่จะเข้านิโรธสมาบัตินั้น ต้องเข้าฌานไปตามลำดับ ตั้งแต่ปฐมฌานจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้


    ---การเข้าปฐมฌานถึงวิญญาณัญจายตนฌาน เมื่อออกจากฌานนั้น ๆ แล้ว ต้องพิจารณาฌานจิต และเจตสิกที่ดับไปแล้ว โดยความเป็นไตรลักษณ์ทุกฌาน หลังจากนั้น จึงเข้าอากิญจัญญายตนฌาน และเมื่อออกจากอากิญจัญญายตนฌานแล้ว ไม่ต้องเจริญวิปัสสนาเหมือนฌานก่อน ๆ แต่ให้ทำบุพพกิจ 4 อย่าง เหล่านี้ คือ


    ---1.การอธิษฐานให้บริขารต่าง ๆ ของตนพ้นจากภัยอันตราย (นานาพัทธอวิโกปนะ)


    ---2.การอธิษฐานให้ออกจากนิโรธสมาบัติได้ทันที เมื่อพระพุทธเจ้าต้องการพบตัว (สัตถุปักโกสนะ) แต่สมัยนี้ ยกเว้นข้อนี้


    ---3.การอธิษฐานว่า เมื่อสงฆ์ประชุมกัน หากต้องการพบตัวข้าพเจ้าแล้ว ขอให้ออกจากนิโรธสมาบัติทันเวลาประชุม (สังฆปฎิมานนะ)


    ---4.การอธิษฐานกำหนดเวลาเข้านิโรธสมาบัติ (อัทธานปริจเฉทะ)


    ---ข้อนี้ควรพิจารณาตรวจดูชีวิตของตนด้วยว่าจะดำรงอยู่ได้ตลอด 7 วัน อันเป็นระยะเวลาที่เข้านิโรธสมาบัติหรือไม่ เมื่อตรวจดูแล้วทราบว่าจะอยู่ได้นานกว่านั้น ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แต่ถ้ามิอาจดำรงอยู่ได้ถึง 7 วันแล้ว หากบุคคลนั้นยังเป็นพระอนาคามีอยู่ ก็ไม่ควรเข้านิโรธสมาบัติ แต่ควรเจริญวิปัสสนากรรมฐานเพื่อบรรลุอรหัตตผลดีกว่า หากบุคคลนั้นเป็นพระอรหันต์ ก็สมควรเข้านิโรธสมาบัติ


    ---แต่ต้องกำหนดเวลาเข้าให้น้อยลง โดยออกก่อนหน้าเวลาที่จะปรินิพพาน ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้มีโอกาสกล่าวอำลาเพื่อนสหธรรมมิกทั้งหลาย


    ---อย่างไรก็ตาม บุพพกิจ 3 อย่างข้างต้นนั้น อาจจะไม่ต้องทำก็ได้ แต่สำหรับขอสุดท้าย (คือ อัทธานปริจเฉทะ) นั้น จำเป็นจะต้องทำเมื่ออยู่ในมนุสภูมิ แต่ในรูปภูมิ ไม่ต้องทำบุพพกิจเลยก็ได้ ถ้าจะทำบ้างก็เพียงแต่อธิษฐานกำหนดเวลาเข้าเท่านั้น


    ---เมื่อทำบุพพกิจเหล่านี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานกุศล หรือกิริยา ตามสมควรแก่บุคคล เนวสัญญานาสัญญายตนฌานก็เกิดขึ้น 2 ขณะ หลังจากนั้น จิตเจตสิกและจิตตชรูปก็ดับลง คงมีแต่กัมมชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูปเกิดอยู่ เป็นอันว่าสำเร็จการเข้านิโรธสมาบัติทุกประการ


    **ส่วนการออกจากนิโรธสมาบัตินั้น


    ---มีความเป็นไปดังนี้ เมื่อครบกำหนดเวลาในการเข้านิโรธสมาบัติแล้ว อนาคมิผลจิตหรืออรหัตผลจิต ย่อมเกิดขึ้น 1 ขณะ ตามสมควรแก่บุคคลแล้วก็ลงภวังค์


    ---เมื่อออกจากนิโรธสมาบัติ จิตขณะแรกที่เกิดเป็น ผลจิต (โลกุตตรวิบากจิต) มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ถ้าเป็นพระอนาคามีบุคคลก็เป็นอนาคามิผลจิต ถ้าเป็นพระอรหันต์บุคคลก็เป็นอรหัตตผลจิต



    ----------------------------

    *อ้างอิง: จากพระอภิธรรม ว่าด้วยเรื่องนิพพานเป็นปรมัตถ์ นิโรธสมาบัติ
    ---ธรรมบท ประวัติพระอสีติมหาเถระ
    ---มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหาเวทัลลสูตร
    ---วิสุทธิมัคค์ ปัญญาภาวนา สังสนิทเทส
    ---มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มหายมกวรรค จูฬโคสิงคสาลสูตร.
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,531
    พุทธวิธีเจริญอนุปุพนิโรธสมาบัติ ๙ โดยอนุโลมและปฏิโลม | ตปุสสูตร




    ที่มา https://www.youtube.com/@Uttayarndham
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...