นิมิต - กรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 11 พฤษภาคม 2019.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
    1_3Hlv49YP3h44Q3mT6AbCCUhGsarsKVt9qybHbteHl&_nc_ohc=Vz-IADJnZHUAX_qKKns&_nc_ht=scontent.fbkk12-3.jpg
    บางคราวเรา (หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท) สงสัยเรื่องนิมิตที่เกิดกับจิต จึงนำเรื่องนี้ไปกราบเรียนถามท่านพระอาจารย์มั่นว่า
    “ครูบาจารย์ ถ้านิมิตเกิดขึ้นในขณะภาวนา จะให้ทำอย่างไร”
    “ให้รำพึงถามไปว่าอะไร ?"
    "หมายถึง อย่างไร ?"
    "แล้วนิมิตก็จะอธิบายออกมาเอง”
    จึงกราบเรียนถามท่านต่อไปอีกว่า
    “ครูบาจารย์ ก็สิ่งที่ปรากฏขึ้นนั้น มันไม่ใช่ ของจริง นี่ครับ”
    “ก็มันเป็นเพียงของใช้ ของใช้ก็สำหรับใช้ ไม่ใช่จริง”
    ท่านพระอาจารย์มั่นตอบ แล้วยิ้มเปิดโลกด้วยความเมตตา
    บางทีเริ่มภาวนาก็เกิดความสงบ บางคืนมีนิมิต นี้ไม่ใช่อวด เพราะเป็นถึงความจริง ก็กล่าวถึงความจริงที่มันเกิด บางทีเราทำภาวนา หลับตาลงเห็นเป็นเหวลึกๆ อย่างน่าหวาดเสียว วู้บบ!! ลงไปในเหวนั้นลึก ลึก จนสุดๆ โห!...นี่ ถ้าตกลงไปตายนะนี่ เอ้า!...ตายก็ตายซี่ เพ่งพิศดูรู้อยู่อย่างนั้น ประเดี๋ยวก็หายไป บางทีตัวนี้ใหญ่ ใหญ่เท่าตุ่มโตๆ ขนาดนี้ (แสดงมือประกอบ) ตัวเรานี้เป็นตุ่ม ตัวเท่าตุ่ม นี้เรียกว่า อุคคหนิมิตที่มันเกิดขึ้น เอ๊ะ!...ทำไมจิตจึงเป็นอย่างนี้ มันเป็นต่างๆ แต่ทีนี้อบรมจิตเข้า อบรมจิตเข้า จิตก็สงบเข้าไป เมื่อภาวนา จิตมักเป็นอย่างนี้บ่อยๆ ก็นำข้อสงสัยนี้ไปกราบเรียนถามท่านว่า
    “ครูบาจารย์...กระผมภาวนา จิตเกิดนิมิตปรากฏเป็นอย่างนี้ จะให้พิจารณาอย่างไร ?”
    ท่านก็บอกว่า “ให้พิจารณากายนะ”
    ท่านก็เทศนาธรรมให้ฟังต่อไปเลยว่า
    “ฟังให้ดีนะท่านเจี๊ยะ ปฏิภาคนิมิตนั้น อาศัยผู้ที่มีวาสนา จึงจะบังเกิดขึ้นได้ อุคคหนิมิตนั้นเป็นของไม่ถาวร ต้องพิจารณาให้ชำนาญแล้วเป็นปฏิภาคนิมิต เมื่อชำนาญทางปฏิภาค ทวนกระแสเข้ามาเป็นตน ปฏิภาคนั้นเป็นส่วนวิปัสสนา สำหรับอุปจารสมาธิ สามารถรู้วาระจิตของผู้อื่นได้ สามารถแก้นิวรณ์ได้ แต่โมหะคลุมจิต ถ้าเจริญวิปัสสนาถึงขั้นอัปปนาสมาธิแล้ว จะต้องทำความรู้ให้เต็มเสียก่อน จิตจึงจะไม่หวั่นไหว การที่จะสอนการดำเนินสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน โดยเฉพาะเพียงอย่างใด อย่างหนึ่งนั้นมิได้ เพราะว่าจริตของคนมันต่างกัน แล้วแต่ความฉลาดไหวพริบของใคร เพราะการดำเนินจิตมีหลายแง่หลายมุมแล้วแต่ความสะดวก
    นิมิตทั้งหลาย เกิดด้วยปีติสมาธิอย่างเดียว ที่แสดงตามนิมิตออกมาทั้งหลายนั้น กรุณาท่านอย่าหลงตามนิมิต #ให้พยายามทวนกระแสจิตเข้าสู่จิตเดิม เพราะนิมิตทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง หลงเชื่อนิมิตประเดี๋ยวก็เป็นบ้า การที่จะแก้บ้านิมิตนั้น ต้องทวนกระแสจิตเข้าสู่จิตเดิม ถ้าทำอย่างนั้นได้ อย่างบางทีเรานั่งภาวนาอยู่ตามป่าเขา มีเสือมานั่งเฝ้าเราผู้บำเพ็ญพรตอยู่กลางป่าเพียงลำพัง เสือนั้นเป็นเทพนิมิตเสียโดยมาก ถ้าเป็นเสือจริงมันเอาเราไปกินแล้ว"
    ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านเมตตาพูดธรรมะให้ฟังเพียงสั้นๆ เท่านี้ก็ก่อเกิดความกินใจเป็นอย่างยิ่ง นึกถึงธรรมะคำสอนและองค์ท่านเมื่อไหร่ น้ำตามันจะปริ่มไหลเพราะความถึงใจทุกที น้ำตานี้จึงเป็นน้ำตาที่มีคุณค่ามากนะ

    หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
    ?temp_hash=128a81dd2f16757f28afde4f2f3199ce.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
    no40HX4NVT52ZijGbaYBooXQDOH5IH7vOTyFOkRv5nR&_nc_ohc=v3oMQW08nGwAX8GV1N-&_nc_ht=scontent.fbkk22-2.jpg
    ********************************************


    "กสิณเรียนแล้ว เป็นแล้ว จะรู้หมดเห็นหมด
    เห็นผี เห็นเทวดา เห็นนรก เห็นสวรรค์ ไปเที่ยวได้พูดได้ คุยกับเขาได้ ไปดูใครตกนรก ใครขึ้นสวรรค์ก็ได้ รู้อนาคตล่วงหน้าได้
    คนเป็นกสิณ ถ้าปฏิบัติวิปัสสนาญานไปด้วยจะตัดตรงถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วมาก
    เพราะการได้เห็นของจริง ทำให้จิตใจไม่กล้าใฝ่ในความชั่ว มุ่งมั่นปฏิบัติแต่ความดี"

    หลวงพ่อจง พุทธสโร
    วัดหน้าต่างนอก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
    IwaJqUUhl3yBJWh-pPSOt6kT1LAUEPRztXH_Dcsrtbm&_nc_ohc=PFDzBI1x0vIAX8-XoUl&_nc_ht=scontent.fbkk22-1.jpg
    • ชีวิตจะมีค่าก็ตอนไหว้พระ สวดมนต์ ภาวนาเท่านั้น •
    สิ่งที่หาไว้ในโลก จะมากมายสักเพียงไร
    ตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้ แม้แต่ร่างกายที่เราคิดว่า ตัวกูของกู ก็ต้องถูกเค้าเอาไปเผาไฟ กลายเป็นเถ้ากระดูก ถูกหลงลืมไปตามกาลเวลา ไม่มีค่าอะไร
    ในตอนที่ได้ฟังโอวาทของหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    ที่บอกว่า "ที่แกทำ ๆ ไปน่ะ มันสูญเปล่า ชีวิตจะมีค่าก็ตอนไหว้พระ สวดมนต์ ภาวนาเท่านั้น" ตอนนั้นก็ยังนึกแย้งท่านในใจว่า มันสูญเปล่าที่ไหนกัน เราทำงาน ทำกิจกรรมต่าง ๆ เราก็ได้ผลงาน ได้เงินได้ทองมาเลี้ยงชีวิตตัวเรา แถมยังเอาไปสงเคราะห์ญาติได้อีก
    จากประสบการณ์ชีวิตของแต่ละท่าน หากนึกทบทวนและพิจารณาให้ดีก็จะเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ๆ ว่า ที่ทำ ๆ ไป ไม่ว่าจะดูซับซ้อน วิจิตรเพียงใด มันก็แค่ หาอยู่หากิน เลี้ยงอัตภาพร่างกายเท่านั้น อย่างมากก็เพิ่มความภาคภูมิใจในผลงาน พอหมดลมแล้วก็หมดกัน เอาติดตัวไปไม่ได้ ไม่เหมือนอย่างบุญกุศลหรือทาน ศีล ภาวนา ซึ่งเป็นงานพัฒนายกระดับจิตใจ มันกินลึกและเอาติดตัวข้ามภพข้ามชาติไปได้
    สมบัติทางโลก ๆ จะมากมายและวิจิตรประณีตขนาดไหน มันก็เป็นแค่ "สมบัติน้ำแข็ง" อยู่ดี เพราะขณะที่เรากำมันไว้นั้น มันยังคงละลายไป ๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดหย่อน เราจึงกำสมบัติน้ำแข็งนี้ได้เพียงระยะเวลาไม่นานเลย
    หลวงปู่เคยเล่าเชิงอุปมาว่า "เด็กทารกทั่วไปเกิดมาก็กำมือมา บ่งบอกการเกิดมาพร้อมกับความยึดมั่นถือมั่น ไม่เหมือนเด็กที่จะเกิดมาเป็นพระอรหันต์ ที่แบมือมาเกิด"
    จึงเป็นเรื่องที่ควรพิจารณาว่า นอกจากสมบัติต่าง ๆ จะเป็นดุจดั่งสมบัติน้ำแข็งที่ไม่จีรังแล้ว คุณค่าของมันจะมีก็ตอนเรามีลมหายใจเท่านั้น บางคนสะสมวัตถุมีค่ามีราคาจนเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์น้อย ๆ แต่พอเมื่อเจ้าของ (ตามสมมุติ) หมดลมหายใจ คุณค่าก็หมดไป (จากเขา) บางครั้งคนในครอบครัวที่ยังอยู่ก็ไม่รู้จักแม้แต่ชื่อเรียกของสมบัติเหล่านั้น ดูสิ เมื่อตอนมีชีวิต ขวนขวายหามันแทบแย่ อิ่มใจ สุขใจกับมัน แต่พอหมดลม คุณค่าของสมบัตินั้นต่อตัวเรามันก็หมดสิ้นไปด้วย สมบัติที่สั่งสมนั้นไว้เอาไปชื่นชมต่อไม่ได้สักอย่าง อย่าว่าแต่สมบัติที่เคยเป็นสมบัติของเรานั้นเลย แม้แต่น้ำที่เขาเอามารดศพเรา ก็ยังกำเอาไว้ไม่อยู่เลย
    อาหารที่สุดแสนประณีตก็ได้แค่อิ่ม บ้านที่เป็นดุจคฤหาสน์ก็แค่ที่พักอาศัยหลับนอนไปคืนหนึ่ง ๆ มนุษย์สร้างสมมุติที่ซับซ้อนหรอกตัวเองเสียจนหลงลืมความจริงพื้นฐานซึ่งเป็นความเรียบง่ายของชีวิต
    "สมบัติน้ำแข็ง" คือ ข้อที่ควรคิดคำนึงเพื่อเตือนจิตเตือนใจตนเองไว้เสมอ ๆ เพื่อให้ตระหนักว่ากิจกรรมชีวิตอันใดที่เราควรทุ่มเท กิจกรรมชีวิตอันใดที่ทำเพียงแค่พอเป็น "เครื่องอาศัย" และควรวางใจอยู่เสมอ ๆ ว่าสมบัติที่มีไม่ว่าคน ไม่ว่าสิ่งของ ล้วนไม่ใช่ของเราจริง ๆ หรอก เป็นแค่สมบัติโลกที่เราขอยืมมาชั่วคราว แล้วก็ต้องส่งคืนให้โลกไปในวันหมดลมเท่านั้น...
    นะโม โพธิสัตว์โต พรหมปัญโญ
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
    ผู้จุดประทีปในดวงใจ
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
    _oc=AQmuhKWWfU3bSaAyej2g9QWQBDymgNRyXMHUCSxDSWUFUtmsOeC4hz3yHd_MdTgSur0&_nc_ht=scontent.fbkk22-6.jpg
    "เมื่อออกจากสมาธิแล้ว ก็ต้อง "มีสติติดต่อกันเสมอ" ไม่ใช่ว่าเราจะทำความสงบเฉพาะเวลานั่งสมาธิ
    เพราะว่า สมาธิคือ ความตั้งใจมั่น เราเดินอยู่เราก็ทำใจเราให้มั่น ให้มีอารมณ์มั่นเสมอ

    มีสติสัมปชัญญะอยู่ ไปเสมอ ออกจากที่นั่งนี้แล้ว หูเราได้ยินเสียง ตาเห็นรูปที่เราเดินไป นั่งรถไปก็ตามเถอะ ให้รู้สึก มีอะไรที่มันชอบใจหรือไม่ ชอบใจเกิดขึ้นมาเป็นอารมณ์ ก็มีความรู้สึกว่าอันนี้ไม่แน่ อันนี้ไม่เที่ยง ตลอดเวลาอย่างนั้น จิตใจจะสงบปกติ"

    - ธุระหน้าที่ของเราก็คือ ให้ดูลมหายใจเข้าออก อย่าไปบังคับให้มันสั้น หรือบังคับให้มันยาว ปล่อยตามสบาย ไม่ให้กดดันมัน ให้มีความปล่อยวางอยู่ในช่วงลมหายใจเข้าออกเสมออย่างนี้...

    - ดูลมหายใจอย่าให้มีความกดดัน คือ อย่ายึดมั่น รู้แล้วให้ปล่อยตามสภาวะของมันอย่างนั้น ให้ถึงความสงบ ต่อไปจิตมันก็จะวาง ลมหายใจก็จะเบา เบาไป ผลที่สุดลมหายใจมันจะน้อยไป น้อยไป จนกระทั่งปรากฎว่า มันไม่มีลม... นี่พูดถึงการกระทำในเวลาเรานั่งสมาธิอย่างเดียว

    - มี "สติ" ตามดูจิต จิตเป็นผู้รู้ อาการที่ตามดูจิตของเรานั้นอยู่ในลักษณะอันใด ก็ให้เรารู้อย่างนั้น
    อย่าเผลอไป... เมื่อมันคิด มันรู้สึก ให้มันรู้สึกอยู่ด้วยความสงบ ไม่เป็นอะไร...

    - จะต้องมีสติ มีสัมปชัญญะ สติ คือ ระลึกได้ สัมปชัญญะ คือ รู้ตัวอยู่ สมาธิ คือ ความตั้งใจมั่น
    ปัญญา คือ ความรอบรู้

    (ในระหว่างนั่งสมาธิ)

    - "ลมหายใจ" นี่หมดไปก็ได้ มีความรู้สึกอีกอันหนึ่งขึ้น ลมหายใจมันจะหายไป คือมันละเอียดจนเกินไป...

    บางที นั่งอยู่เฉยๆ ลมไม่มี ที่จริงมันมีอยู่ แต่เหมือนว่ามันไม่มี เพราะอะไร เพราะว่าจิตตัวนี้มันละเอียด
    มากที่สุด มันมี ความรู้เฉพาะของมัน มีเหลือความรู้อันเดียว ถึงลมมันหายไปแล้ว ความรู้ที่ว่าลมมันหายไป ก็ตั้งอยู่ ทีนี้จะเอาอะไร เป็นอารมณ์ต่อไปอีก ก็เอาความรู้นี่แหละเป็นอารมณ์ต่อไปอีก อารมณ์ที่ว่า ลมไม่มี

    ลมไม่มี อยู่อย่างนี้เสมอ นี่เรียกว่า มีความรู้อีกอันหนึ่งตั้งขึ้นมาอีก

    - ในจุดนี้บางคนอาจมีความสงสัยขึ้นมาได้ เพระตรงนี้มันจะเกิดนิมิตขึ้นมาก็ได้ เสียงก็มีได้ รูปก็มีได้ มันมีทุกอย่าง ได้ สิ่งที่ว่าเราคาดไม่ถึงมันเกิดขึ้นมาได้ตรงนี้ (นิมิตนี้บางคนมันก็มี บางคนก็ไม่มี) ก็ให้เรารู้ตามเป็นจริง อย่าสงสัย อย่าตกใจ

    - ทีนี้ท่านจงตั้งใจให้ดี ตั้งสติให้มาก บางคนก็เห็นว่าลมหายใจไม่มีแล้วตกใจ ตกใจเพราะธรรมดาลมมันมีอยู่ เมื่อเรามาพบว่าลมไม่มี แล้วก็ตกใจว่าลมไม่มี กลัวว่าเราจะตายก็ได้ ตรงนี้ก็ให้ตั้งความรู้สึกขึ้นมา อันนี้มันเป็นอย่างนี้ของมัน เราจะดูอะไร ดูลมไม่มีนั่นอีกต่อไปเป็นความรู้ นี้ท่านจัดว่าเป็นสมาธิอันแน่วแน่ ที่สุดของสมาธิ มีอารมณ์เดียวแน่นอนไม่หวั่นไหว เมื่อสมาธิถึงจุดนี้ จะมีความแตกต่างสารพัดอย่างที่จะรู้ในจิตของเรา... เมื่อจิต ตั้งมั่นเป็นหนึ่ง เพราะว่าไม่มีอารมณ์อะไรเข้ามาเสียดแทง อยู่นานเท่าไรก็ได้ ไม่รู้สึกเวทนาเจ็บปวดอะไร อยู่อย่างนั้น

    - การทำสมาธิมาถึงที่นี่ เราจะออกจากสมาธิก็ได้ ไม่ออกก็ได้ ออกจากสมาธินี่ก็เรียกว่าออกสบาย ออกอย่างสบาย ไม่ออกเพราะว่าขี้เกียจ ไม่ออกเพราะว่าเหน็ดเหนื่อย ออกเพราะว่าสมควรแล้วก็ออกมา ถอยออกมา... อย่างนี้นี่ อยู่สบาย ออกมาสบาย ไม่มีอะไร นี้เรียกว่าสมาธิ จิตใจมันจะสบาย ถ้าเรามีสมาธิอย่างนี้ อย่างนั่งวันนี้ มาเข้า สมาธิกันอยู่สัก 30 นาที หรือชั่วโมงหนึ่ง จิตใจของเราจะเยือกเย็นไปตั้งหลายวัน เมื่อจิตเยือกเย็นหลายวันนั้น จิตเราจะสะอาด เห็นอะไรจะรับพิจารณาทั้งนั้น อันนี้มันเป็นเบื้องแรกของมัน นี้เรียกว่า "ผลที่เกิดจากสมาธิ"

    ....ปล่อยอารมณ์ข้างนอก เสียงรถยนต์ก็ไม่รำคาญ เสียงอะไรก็ไม่รำคาญ ไม่รำคาญซักอย่างหนึ่งข้างนอก จะเป็นรูป เป็นเสียง ไม่รำคาญทั้งนั้นแหละ เพราะว่ามันไม่รับ แล้วมันมารวมอยู่ที่ลมหายใจเรานี้...

    - เมื่อออกจากสมาธิแล้ว ก็ต้อง "มีสติติดต่อกันเสมอ" ไม่ใช่ว่าเราจะทำความสงบเฉพาะเวลานั่งสมาธิ
    เพราะว่า สมาธิคือ ความตั้งใจมั่น เราเดินอยู่เราก็ทำใจเราให้มั่น ให้มีอารมณ์มั่นเสมอ

    มีสติสัมปชัญญะอยู่ ่ไปเสมอ ออกจากที่นั่งนี้แล้ว หูเราได้ยินเสียง ตาเห็นรูปที่เราเดินไป นั่งรถไปก็ตามเถอะ ให้รู้สึก มีอะไรที่มันชอบใจหรือไม่ ชอบใจเกิดขึ้นมาเป็นอารมณ์ ก็มีความรู้สึกว่าอันนี้ไม่แน่ อันนี้ไม่เที่ยง ตลอดเวลาอย่างนั้น จิตใจจะสงบปกติ

    หลวงพ่อชา สุภัทโท

    "เมื่อจิตสงบตั้งมั่นแล้ว ถอยจิตนั้นมาพิจารณาร่างกาย ร่างกายคือ ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หาตัวตนไม่ได้ มีแต่ธรรมชาติ ไหลไปตามเหตุ ตามปัจจัยเท่านั้น สิ่งทั้งปวงตกอยู่ในลักษณะที่เป็น อนิจจัง ทุกขังอนัตตา ทั้งนั้น ความยึดมั่นต่างๆจะน้อยลงๆ เพราะเรารู้เท่าทันมัน เรียกว่าเกิดปัญญาขึ้น"

    การฝึกจิต มีอยู่หลายวิธี ด้วยกัน แต่วิธีที่เห็นว่ามีประโยชน์และเหมาะสมที่สุด ใช้ได้กับบุคคลทั่วไป วิธีนั้นเรียกว่า "อานาปานสติภาวนา" คือ มีสติจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ที่สำนักนี้ให้กำหนดลมที่ปลายจมูก โดยภาวนาว่าพุทโธ ในเวลาเดิน จงกรม และนั่งสมาธิก็ภาวนาบทนี้ จะใช้บทอื่น หรือจะกำหนดเพียงการเข้าออกของลมก็ได้ แล้วแต่สะดวก ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า พยายามกำหนดลมเข้าออกให้ทันเท่านั้น

    การเจริญภาวนาบทนี้ จะต้องทำติดต่อกันไปเรื่อยๆ จึงจะได้ผล ไม่ใช่ว่าทำครั้งหนึ่งแล้วหยุดไปตั้งอาทิตย์ สองอาทิตย์ หรือตั้งเดือนจึงทำอีก อย่างนี้ไม่ได้ผล พระพุทธองค์ตรัสสอนว่า ภาวิตา พหุลีกตา อบรมกระทำให้มาก คือทำบ่อยๆติดต่อกันไป โดยการฝึกจิตใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผล ควรเลือกหาที่สงบไม่มีคนพลุกพล่าน เช่น ในสวนหลังบ้าน หรือต้นไม้ที่มีร่มเงาๆแต่ถ้าเป็นนักบวชควรแสวงหาเรือนว่าง (กระท่อม) โคนไม้, ป่า, ป่าช้า, ถ้ำ, ตามภูเขา เป็นที่บำเพ็ญเหมาะที่สุดเราจะ

    อยู่ที่ใดก็ตาม ใช้สติกำหนดลมหายใจอย่างเดียว แม้จิตใจจะคิดไปเรื่องอื่นก็พยายามดึงกลับมา ทิ้งเรื่องอื่นๆทั้งหมด โดยไม่พยายามคิดถึงมัน รู้ให้ทันกับความคิดนั้นๆ เมื่อทำเข้าบ่อยๆ จิตจะสงบลงเรื่อยๆ

    เมื่อจิตสงบตั้งมั่นแล้ว ถอยจิตนั้นมาพิจารณาร่างกาย ร่างกายคือ ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนาสัญญา สังขาร วิญญาณ ให้เห็นเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หาตัวตนไม่ได้ มีแต่ธรรมชาติ ไหลไปตามเหตุ ตามปัจจัยเท่านั้น สิ่งทั้งปวงตกอยู่ในลักษณะที่เป็น อนิจจัง ทุกขังอนัตตา ทั้งนั้น ความยึดมั่นต่างๆจะน้อยลงๆ เพราะเรารู้เท่าทันมัน เรียกว่าเกิดปัญญาขึ้น

    หลวงปู่ชา สุภัทโท

    --------------------------------

    https://web.facebook.com/28พระอรหันต์-446281542200581
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
    mhnv08Pow_5kZSA0ZjShDLz&_nc_ohc=PJulWQGJt-UAX_I4vxB&tn=32SMgKculfo9F24p&_nc_ht=scontent.fbkk22-2.jpg
    “เรื่องเดิมๆ”

    การที่อาตมาสอนแต่เรื่องเดิมๆซ้ำๆนั้น เพราะครูไม่สามารถนำอารมณ์ที่ครูต้องการ ใส่ให้พวกเราได้ในทันที ต้องใช้วันเวลาในการซึมซับเข้าไปที่จิตใจ... ครูบาอาจารย์เขาถึงต้องสอนกันจนตัวตาย แรกๆอาจฟังแล้วไม่เข้าใจ จึงต้องอาศัยการตอกย้ำซ้ำทวน ต่อเมื่อภูมิธรรมเราเข้าถึงสภาวะนั้นๆ จิตจะยอมรับโดยเนื้อแท้แล้วปัญญาจึงเกิด ดังนั้น ขอจงอย่าเพิ่งเบื่อในสิ่งที่ครูพูดเสียก่อน เพราะทั้งหมดล้วนเป็นความปรารถนาดีต่อพวกเราทั้งสิ้น

    คำสอนของพระอาจารย์เอ
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
    WJNt5-PnXpTlk74N6JVAZ2KuBvOR2WRR4aPRvpaZCPt&_nc_ohc=MlAs5xNdLMwAX8LY_Ns&_nc_ht=scontent.fbkk22-6.jpg

    270f.png ถ้าอยากจะภาวนาพระคาถาเงินล้านให้ได้ผลไว
    1f64f.png ให้จับภาพพระพุทธเจ้าให้มั่นคง และก่อนที่จะจับภาพพระพุทธเจ้าให้มั่นคง
    ให้พิจารณาอารมณ์ของพระอรหันต์ ถ้าเราไปพิจารณาด้วยอารมณ์ของพระโสดาบันก็ได้ แต่ว่ากำลังมันก็น้อย
    ในเมื่อคิดจะทำแล้วก็ทำให้มันดีไปเลย...ดีมั๊ย
    1f9d8.png พระอรหันต์ท่านคิดยังไงหล่ะ ?
    เขาบอกให้คิดว่า..
    #เมื่อมองไปในโลกใบนี้ไม่มีอะไรเป็นเรา เป็นของเราเลยสักอย่างเดียว แม้แต่ร่างกายนี้
    ถึงคราวเจ็บ..มันก็เจ็บ
    ถึงคราวป่วย...มันก็ป่วย
    ถึงคราวมันจะตาย...มันก็ตาย
    ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา..ไม่ใช่ของเราจริง ๆ
    ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เป็น อนัตตา ว่างเปล่า ไม่มีอะไรเหลือเลย
    สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้..เกิดเท่าไหร่..ตายหมดเท่านั้น...
    ฉะนั้น ทำใจให้สบาย...ถ้าตายตอนนี้..ดีใจมาก ไปพระนิพพาน...นี่อารมณ์แบบนี้นะ อารมณ์พระอรหันต์
    1f64f.png พระคุณหลวงพ่อวัดท่าซุงท่านเรียกว่า ขณิกอรหันต์
    เป็นพระอรหันต์กันวันละนิด วันละนิด..ในที่สุด เป็นพระอรหันต์จริงได้
    ทีนี้ก็อยู่ที่พวกเราจะคิดแล้วหล่ะ..คิดวันนึง...เว้น ๓ วัน คิดวันนึง..เว้น ๓ เดือน คิดเดือนนึง..เว้น ๓ ปี
    ถ้ามันเป็นอย่างนี้อารมณ์ชินมันก็ไม่เกิดสิ
    1f308.png อารมณ์ชิน ก็คือ อารมณ์ฌานของสมาธิ
    ความเคยชินก็เหมือนเราไปทำงาน...แล้วขับรถกลับบ้านทุกวัน
    ความชินนี่มันไม่ต้องคิดเลยว่ามันจะต้องเลี้ยวตรงไหน ขับไปขยับมา เดี๋ยวก็ถึงบ้านโยม
    แต่ถ้าไม่ชิน..ก็เหมือนเราไปต่างจังหวัด แบบไม่เคยไปเลย มันก็จะตั้งหน้าตั้งตาเพ่งมอง เลี้ยวผิดเลี้ยวถูก..มันก็มีความเกร็ง
    แต่ถ้าเราทำจนชินแล้ว ก็เหมือนเราขับจากบ้านไปที่ทำงาน จากที่ทำงานมาที่บ้าน ขับกลับทุกวัน..มันชิน
    1f607.png ฉะนั้นนี่..คิดถึงพระนิพพานทุกวัน..จนมันชิน
    คือ มันจะตายตอนไหนก็...
    นิพพานะ สุขัง ดังขึ้นมาในหัวใจ สะเทือนไป ๓ แดนโลกธาตุ...สบายใจมั๊ย ?
    ▪︎▪︎▪︎▪︎▪︎▪︎▪︎▪︎ 1f601.png 1f607.png 26c5.png
    #พระธรรมเทศนา
    #สวดพระคาถาเงินล้านแบบทรงสมาธิ ครั้งที่ ๑๕
    ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ : ตอนที่ ๑๒

    #พระอาจารย์เอกลักษณ์ #ปญฺญาคโม
    #วัดพุทธพรหมยาน
    #ธรรมะลูกนอกวัง
    #ลูกนอกวังวัดพุทธพรหมยาน
    #พระพุทธศาสนาช่วยสังคม
    #สมเด็จองค์ปฐมปางพระนิพพาน
    #พระอุโบสถแก้ว
    #ศิษย์ลูกนอกวัง
    #ชาติ #ศาสนา #พระมหากษัตริย์
    #พระคาถาเงินล้าน
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
    .php?d=AQFH6tCmBUlSBLcI&w=480&h=250&url=https%3A%2F%2Fi.ytimg.com%2Fvi%2Fn2YlhwSJass%2Fhqdefault.jpg
    นิมิตตสูตร ว่าด้วยนิมิต อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐
    https://youtu.be/n2YlhwSJass
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548


    (๑) ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน

    การปรารภความเพียรทางใจ ความขะมักเขม้น ความบากบั่น ความตั้งหน้า ความพยายาม ความอุตสาหะ ความทนทาน ความเข้มแข็ง ความหมั่น ความก้าวไปอย่างไม่ท้อถอย ความไม่ทอดทิ้งฉันทะ ความไม่ทอดทิ้งธุระ ความประคับประคองธุระ วิริยะ วิริยินทรีย์ วิริยพละ สัมมาวายามะ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัคคาหะ มีในสมัยนั้น

    (๒) ปัคคาหนิมิต เป็นไฉน

    การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ปัคคาหนิมิต




    อ้างอิง:
    (๑) ธรรมสังคณีปกรณ์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๔ ข้อที่ ๓๐๖ หน้า ๑๑๓
    (๒) ธรรมสังคณีปกรณ์ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๓๔ ข้อที่ ๘๖๘ หน้า ๒๙๘




    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

    สมุคคสูตร

    ทรงแสดงว่าภิกษุผู้บำเพ็ญสมาธิ พึงใส่ใจนิมิต ( เครื่องหมายในจิตใจ ) ๓ อย่าง โดยกาลอันสมควร ได้แก่

    สมาธินิมิต (เครื่องหมาย คือ สมาธิหรือความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง )
    ปัคคาหนิมิต ( เครื่องหมาย คือ ความเพียร )
    อุเบกขานิมิต ( เครื่องหมาย คือ ความวางเฉย ).


    ถ้าใส่ใจแต่สมาธินิมิตอย่างเดียว จิตก็จะน้อมไปเพื่อความเกียจคร้านได้,
    ถ้าใส่ใจแต่ปัคคาหนิมิตอย่างเดียว จิตก็น้อมไปเพื่อความฟุ้งสร้านได้.
    ถ้าใส่ใจแต่อุเบกขานิมิตอย่างเดียว จิตก็ไม่พึงตั้งมั่นโดยชอบ เพื่อสิ้นอาสวะได้ .


    ต่อเมื่อใส่ใจนิมิตทั้งสามโดยกาลอันสมควร จิตจึงอ่อน ควรแก่การงาน ผ่องใสตั้งมั่นโดยชอบเพื่อสิ้นอาสวะ เปรียบเหมือนช่างทองที่หลอมทองเงิน ย่อมสูบ ( เป่าลม ) โดยกาลอันสมควร, พรมน้ำโดยกาลอันสมควร, วางเฉยโดยกาลอันสมควร.
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
    pkSR6B94k9TlPihoNCUBLYI&_nc_ohc=XWErg1EOgMIAX8xQuWI&tn=32SMgKculfo9F24p&_nc_ht=scontent.fbkk22-4.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
    KqGFNrX282ci35naVfbW6bPr7ZgpDVqZagSRhCkAv_HE&_nc_ohc=pjMONKrvpG4AX97DslB&_nc_ht=scontent.fbkk2-8.jpg
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
    พระอาจารย์กล่าวถึงลุงหมอว่า "หนังสือของลุงหมอ (พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน) เป็นประโยชน์แก่คนในเว็บมาก แต่ว่าคนเข้าไปอ่านน้อย เพราะธรรมะชั้นสูงคนจะให้ความสนใจน้อยเป็นปกติอยู่แล้ว
    เคยกราบเรียนถามหลวงพ่อวัดท่าซุงว่า "ทำไมหลักการปฏิบัติที่เป็นธรรมะชั้นสูง คนไม่ค่อยจะสนใจครับ ?" ท่านบอกว่า "คนเข้าร้านขายเพชร กับคนเข้าร้านขายของชำ อย่างไหนเยอะกว่ากันวะ ?" กราบเรียนท่านว่า "ร้านขายของชำครับ" ท่านบอกว่า "เออ..นั่นแหละ เขาไม่ค่อยซื้อเพชรกันหรอก"
    แต่ที่เอาลงไว้เพราะเห็นประโยชน์จริง ๆ จึงให้โยมไปขออนุญาตลุงหมอและเอาลงเว็บของวัดไว้ ทยอยลงเรื่อย ๆ ถ้าลงทีเดียวคนจะไม่อ่านเลย ทยอยลงทีละน้อย ๆ วันละกระทู้สองกระทู้ เป็นประโยชน์มากสำหรับคนที่เขาตั้งใจปฏิบัติ จะได้ตรวจสอบตัวเองได้เลย ว่าตอนนี้อารมณ์ใจเป็นอย่างไร
    ที่เห็นชัดเจนเลยก็คือ คุณหมอสมกับเป็นนักปฏิบัติจริง ๆ เพราะตอนนั้นท่านเป็นรองอธิบดีกรมตำรวจลำดับที่ ๕ มีสิทธิ์ที่จะคั่วตำแหน่งอธิบดี เพราะท่านอายุ ๕๕ เท่านั้น ยังมีอายุราชการอีกหลายปี แต่ท่านลาออกมาทำหน้าที่ของตัวเองเกือบจะ ๒๕ ปีเต็มแล้ว"
    __________________
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
    คัดลอกข้อความมาจาก
    https://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php...
    #พระครูวิลาศกาญจนธรรม #หลวงพ่อเล็ก
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
    "พ่อชื่อธนเสฏฐะ จำไว้ให้ดีนะลูก"
    ระหว่างที่ทุ่มเทสรรพกำลังพระภิกษุสามเณรวัดท่าขนุน เพื่ออัญเชิญพระปัจเจกพุทธเจ้าเนื้อเงิน ซึ่งหล่อจากเม็ดเงิน ๖๐๐ กิโลกรัมเข้าที่ประทับ พระองค์ท่านก็เมตตาบอกพระนามให้ทราบ...
    พระรูปพระโฉมของพระองค์ท่าน ปรากฏสว่างไสวไปทั้งท้องฟ้า ประหนึ่งพระจันทร์วันเพ็ญที่ประกอบด้วยรัศมีทรงกลด รุ่งเรืองสดใสยากที่จะหาสิ่งใดเปรียบปาน..!
    SwxAmWZZpWMQKGOzzAKmQWzY2Qk7sKLZDEF6pUNcTNK&_nc_ohc=vaqtQa-5vaMAX9cuyAD&_nc_ht=scontent.fbkk22-6.jpg
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
    เปิดดูไฟล์ 4316520




    จับภาพพระไม่จับลม

    .
    ผู้ถาม : เวลาเราทำกรรมฐาน
    เราจับแต่ภาพพระ ไม่จับลมหายใจ
    อย่างนี้จิตจะเข้าถึงฌานได้ไหมครับ..?
    .
    หลวงพ่อ : คงไม่ได้ ขอยืนยันว่าไม่ได้แน่นอน
    ความจริงคนที่คล่องแล้วจริง ๆ เขาเรียกว่า
    "ผู้ทรงฌาน" มันจับไปพร้อมกัน
    ทั้งรูปพระและลมหายใจเข้าออก
    พอจิตเข้าถึงฌานก็ตัดไปเลย
    ถ้าไม่จับลมหายใจเข้าออกนิวรณ์ก็กวน
    จิตเป็นสมาธิไม่ได้ จับแต่ภาพพระเฉย ๆ
    จิตจะทรงตัวไม่ได้นาน
    .
    ที่มา : หนังสือ ธัมมวิโมกข์ ฉบับ ๗๕ (หน้า ๘)


    *****************************************************



     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,932
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,150
    ค่าพลัง:
    +70,548
    "ความแยบคาย - ไม่แยบคายของใจ"

    ถามว่า : "อโยนิโสมนสิกาโร" ความทำในใจไม่แยบคาย "โยนิโสมนสิกาโร" ความทำในใจแยบคาย ๒ อย่างนั้น คือ ทำอย่างไรจึงชื่อว่า ไม่แยบคาบ ทำอย่างไรจึงชื่อว่า แยบคาย?

    ตอบว่า :
    - "ความทำสุภนิมิต(ความสวยงาม น่ารัก น่าใคร่)ไว้ในใจ" กามฉันทนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็งอกงาม "ความทำปฏิฆะนิมิต(ความขุ่นเคืองใจ)ไว้ในใจ" พยาบาทนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็งอกงามอย่างนี้ "ชื่อว่าทำในใจไม่แยบคาย"

    - "การทำอสุภสัญญา(ไม่สวยงาม ของสกปรก)ไว้ในใจ" กามฉันทนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมหายไป "การทำเมตตาไว้ในใจ" พยาบาทนิวรณ์ที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมหายไป เช่นนี้เป็นตัวอย่าง

    - หรือความทำในใจอย่างไรก็ตาม "อกุศลที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นแล้วก็งอกงาม ก็ชื่อว่าทำในใจไม่แยบคาย" หรือจะคิดนึกอย่างไรก็ตาม "กุศลที่ยังไม่เกิดขึ้นก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็บริบูรณ์ อย่างนี้ชื่อว่าทำในใจแยบคาย" .."

    "ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา"
    พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) ถาม :
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ตอบ:
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...