นิมิต - กรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 11 พฤษภาคม 2019.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    rD04GHdJgqhavk8AARDin4Nponhz9ZvkMSGZvhxzUbFP&_nc_ohc=gMf5NY_KZW4AX8ZhK5y&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    AoNtXMcovMZNjZKxjY1h1VWIh0D5hZv7HboSvZsXpQHy&_nc_ohc=CpzqnVuv-doAX8toGHs&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    MfxwOYfPuRq-ndB7l3n0RjFRDKsI-wTWnHeitjbV_Vuq&_nc_ohc=YyS595WGiGYAX8cF2Lp&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    การฝึกพุทธนิมิตเพื่อพระนิพพาน ถือเป็นการฝึกกรรมฐานกองหนึ่ง
    เรียกว่า พุทธานุสติกรรมฐาน คือ การระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ▪︎นึกถึงความดีของพระองค์
    ▪︎นึกถึงพระพุทธรูปที่เรารัก
    ▪︎นึกถึงพระรูปโฉมของพระพุทธเจ้า ที่เรามีความเคารพ

    จะเป็นองค์หนึ่งองค์ใดก็สามารถทำได้ (ไม่ต้องรีบในการจำหลายองค์)
    และสีขององค์พระ ก็ยังเป็นกสิณ อีกด้วย
    • ถ้าสีขาว....เป็น โอทาตกสิณ
    • ถ้าสีเหลืองหรือสีทอง....เป็น ปีตกสิณ
    • ถ้าสีสว่างใส...เป็น อาโลกกสิณ อย่างนี้เป็นต้น

    ทุกครั้งที่จะฝึกพุทธนิมิต ต้องฝึกควบคู่กับอานาปานุสติกรรมฐาน
    คือกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ให้ใจสบายเสียก่อนจึงค่อยเริ่มฝึก
    ดังนั้น การฝึกพุทธนิมิต จึงประกอบไปด้วยกรรมฐาน ๔ กองด้วยกัน
    ๑. พุทธานุสติกรรมฐาน
    ๒. อานาปานุสสติกรรมฐาน
    ๓. สีของพระพุทธรูปที่เราฝึกเป็นกสิณ
    ๔. เราฝึกเพื่อพระนิพพาน ถือเป็นอุปสมานุสสติกรรมฐานอีก ๑ กอง

    เริ่มแรก ที่เราฝึกเราควรจับภาพพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธรูป..เพียงพระองค์เดียวก่อนให้มั่นคง
    เมื่อเราจับพุทธนิมิตมั่นคง จนองค์พระแจ่มใสเป็นแก้วประกายพรึกทั้งองค์แล้ว
    ต่อไปเราจะจับพุทธนิมิต หลายองค์เพิ่มเติมก็สามารถทำได้อย่างคล่องตัว ถือเป็นการฝึกกรรมฐานที่ให้ผลดีที่สุด
    เป็นทางลัดให้เข้าถึงพระนิพพานได้ง่ายที่สุด
    ที่พระคุณหลวงพ่อวัดท่าซุงได้ให้กับพวกเราไว้ เริ่มต้นของการฝึกพุทธนิมิต

    ขอให้ระลึกถึงพระรูปพระโฉมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธรูปที่เราเคารพรัก และชอบเป็นที่สุด ขอให้เลือกองค์ที่เราเคารพรักและชอบ
    เพราะใจของแต่ละบุคคล เมื่อมีใจที่เคารพรักหรือใจที่ชอบขึ้นมาแล้ว
    จะทำให้เรานั้นจดจำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น


    #พระธรรมเทศนา
    #พุทธนิมิตเพื่อพระนิพพาน ตอนที่ ๑
    #พระอาจารย์เอกลักษณ์ #ปญฺญาคโม
    #วัดพุทธพรหมยาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ?temp_hash=91fa94594d6d6b194535813a364672b8.jpg

    หยุดอยู่กับปัจจุบัน ไม่ไปอดีต ไม่ไปอนาคต

    ถาม :
    รู้สึกกังวลใจ ?
    ตอบ : ไม่ต้องไปกังวลล่วงหน้า จำเอาไว้ว่าคนเรามีบุญมีกรรมเป็นของตัวเอง ถ้าวาระบุญยังรักษาอยู่ อย่างไรถึงเวลาก็ต้องมีคนช่วยเหลือ ถ้าหากวาระกรรมเข้ามาตัดรอน ต่อให้มีทุกอย่างสมบูรณ์พร้อม ก็อาจจะต้องสูญเสียไปหมด อย่าไปห่วงเลย มีหน้าที่ทำดีละชั่วเท่านั้น

    ละชั่วทำดีไปเรื่อย ๆ เรื่องอื่นไม่ต้องไปกังวล ยังมาไม่ถึง พระพุทธเจ้าบอกว่า อตีตํ นานุโสจนฺติ อย่าไปคำนึงถึงอดีต เพราะมันผ่านมาแล้ว รถที่มันวิ่งเลยไปแล้ว เราขึ้นไม่ได้หรอก นปฺปชปฺปนฺติ นาคตํ อย่าไปฟุ้งซ่านถึงอนาคต รถที่ยังมาไม่ถึงเราก็ขึ้นไม่ได้หรอก ปจฺจุปนฺเนน ยาเปนฺติ เอาใจจดจ่อตั้งมั่นอยู่กับปัจจุบันนี้เท่านั้น เพราะว่ารถขบวนนี้ที่จะออกเราจึงจะขึ้นมันได้

    เราถึงได้มีวันเดียวและตอนนี้เท่านั้น ไม่ต้องไปกังวลเรื่องที่ยังมาไม่ถึง ทำหน้าที่ตอนนี้ให้ดีที่สุด อะไรจะเกิดขึ้นช่างมัน

    ถาม : กังวลว่าตัวเองจะไม่มีอะไร ?
    ตอบ : คนไม่มีอะไรเลยอาตมาขอยืนยันว่าน่าอิจฉามาก ไม่มีอะไรเลยก็ไม่มีอะไรจะเสีย..!
    ...........................................
    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    ผู้ก่อตั้งสำนักสงฆ์เกาะพระฤๅษี
    ..........................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    jExQvqZV8ahibODt0jWWAms2W7zTdpW6QtyeiyISPRIv&_nc_ohc=8NEgEFXsvhoAX97QeYB&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    53e-XZWptTUuMejyPaqhRvYRNZGRtGoYYmgfhrDAnY_b&_nc_ohc=9jvZizRUURwAX-v2TYI&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    “หลับได้อานิสงส์”

    คนที่นอนภาวนาหรือสวดพระคาถาเงินล้านจนหลับไป จงอย่าตำหนิตัวเองว่าเราไม่ได้เรื่อง เพราะฌานถ้าไม่ได้ระดับจะไม่ตัดหลับ ดังนั้น คนที่สวดพระคาถาเงินล้านจนหลับ นั่นก็หมายความว่า เราได้แช่อยู่ในฌานของพระคาถาเงินล้านตลอดทั้งคืนจนตื่น อานิสงส์ย่อมมีได้ แต่จะมีมากมีน้อยต้องขึ้นอยู่กับคุณภาพของฌานด้วยเช่นกัน

    คำสอนของพระอาจารย์เอ
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    52p4e-9cg6DZMZlKe87ahQBz-CvpkxZ8pD90hURn2aAl&_nc_ohc=TmwiKBd05IkAX8_SMQ-&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    “พระคาถาให้พร”

    อาตมากำลังภาวนาพระคาถาเงินล้านเพลินๆ จู่ๆ มีเสียงผุดขึ้นมากลางใจว่า “การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ ในเมื่อเธอกำลังทำลาภอันประเสริฐ เธอก็ต้องไม่มีโรคด้วย” เสียงนี้นุ่มนวลและทรงพลัง เมื่อทบทวนคำนี้ด้วยจิต อาตมาจึงเข้าใจเองว่า การท่องพระคาถาเงินล้านอย่างจริงจังนอกจากได้สมาธิ ได้ความคล่องตัวแล้ว โรคยังหลีกทางให้อีกด้วย

    คำสอนของพระอาจารย์เอ
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    จิตตัดขันธ์ ๕ เป็นปกติ โดยไม่รู้ตัว


    สำหรับคนที่มีความชำนาญ ด้านมโนมยิทธิ ถ้าพอเริ่มจับอารมณ์ปั๊บ จิตมันจะขึ้นพระนิพพานทันที ก็ไม่ต้องมานั่งพิจารณาขันธ์ ๕ นั่นแสดงว่า จิตของเรามันตัดขันธ์ ๕ อยู่แล้วเป็นปกติ โดยที่เราไม่รู้ตัว เราไม่ได้คิด จำไว้นะ
    พอเริ่มต้นจับอารมณ์พั๊บ จิตมันไม่เอาไหน จะพิจารณาร่างกายรึ มันก็ไม่เอาด้วย ไม่เห็นมีอะไรดีนี่ ไปดีกว่า
    ถ้าเป็นอย่างนี้ให้ตัดสินไปเลย ถึงนิพพาน เพราะการพิจารณาร่างกายเป็นการศึกษา เป็นการซ้อมกำลังใจ
    คนที่มีจิตเป็นฌานทรงตัว เมื่อเวลารวบรวมกำลังใจนิดเดียว จิตมันจะตัดทันทีแล้วไปเลย หาจุดปลายทาง คือ "นิพพาน" เป็นที่ไป
    ฉะนั้นถ้าใครก็ตาม ที่มีความคล่องในอารมณ์พระนิพพาน พอรวบรวมกำลังใจพั๊บ จิตมันจับพระนิพพานเป็นอารมณ์ ก็ไม่ต้องหันมาพิจารณาอีก เสียเวลาเปล่าเพราะเราเข้าถึงแล้ว...


    จากหนังสือ "เรื่องจริงอิงนิทาน พิเศษ" หน้า ๑๐๖
    โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดจันทาราม (ท่าซุง)
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    temp_hash-3f439fea2e04a5e43cd7f31498d08226-jpg.jpg


    พิจารณา กายในให้ถึงฌาณ๔

    การพิจารณากายในกายในขั้นแรก ท่านถือเอากองลมเป็นสำคัญ เรียกว่า อานาปานบรรพ หรือว่า อานาปานุสสติกรรมฐาน นั่นเอง จำให้ดีนะบรรดาญาติโยมพุทธบริษัท เฉพาะอานาปานุสสติกรรมฐานนี้มีกำลังมาก มีความสำคัญมาก สามารถทรงฌาน ๔ ได้ แล้วถ้าหากว่าท่านเจริญตามแบบในนี้ ท่านจะมีความสุขแบบสุขวิปัสสโก แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาสติปัฏฐานสูตรนี้ เราจะดัดแปลงขึ้นไปสู่วิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณก็ทำได้ จะทำกันตอนไหนเล่า ก็ทำกันตอนอานาปานสตินี่แหละ จะสามารถสร้างวิชชาสาม อภิญญาหก ปฏิสัมภิทาญาณก็ทำได้

    อานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่เข้าถึงจุดของฌาน ๔ นับเป็นกรรมฐานที่มีความสำคัญมาก กรรมฐานกองนี้ ถ้าใครไม่สามารถเข้าถึงฌานเสียได้แล้ว กรรมฐานทุกกองที่ท่านปรารถนาจะทำ ก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้ ไม่มีประโยชน์เลย เพราะว่าอะไร เพราะว่าไม่สามารถจะทรงสมาธิไว้ได้

    การกำหนดรู้ลมหายใจเข้ากับลมหายใจออก การกำหนด ก็รู้กันแค่จมูก เวลาลมหายใจเข้ากระทบจมูก เวลาลมหายใจออกกระทบจมูก ใช้กันแบบง่ายๆ อย่างนี้ชั่วระยะเวลา ๗ วัน ถ้ายังไม่ดี ก็ทำต่อไปอีก ถ้ายังไม่ดีก็ทำเรื่อยไป เลย ๗ วันก็ได้เอาจนกระทั่งกว่าจะดี หมายความว่าการรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกนี่เราไม่ต้องระวังกัน ไม่ต้องตั้งท่า ไม่ต้องหาเวลา จะเป็นเวลาใดก็ตาม เวลาที่กินข้าวอยู่ก็ดี หรือว่าเวลาทำการงานก็ดี เวลาพูดคุยกับเพื่อนฝูงก็ดี เดินไปก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี ทุกๆ อิริยาบถ เราสามารถรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกได้อย่างสบาย อย่างนี้เรียกว่าเข้าถึงอานาปานุสสติ หรือมหาสติปัฏฐานสูตรข้อนี้แล้ว ถ้ายังไม่เข้าถึงตอนนี้ ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและพระคุณเจ้าที่เคารพ ที่กำลังรับฟังอยู่เพื่อฝึก ก็จงอย่าเคลื่อนไป อย่าทำให้มากไปกว่านี้ จนกว่าจะรู้สึกว่าเราทำได้ดี

    ทีนี้หากว่าสามารถจะรู้ลมเข้าลมออกได้แค่จมูกนี้ก็จัดว่าดีนะ ไม่ใช่ไม่ดี แต่ว่ายังดีไม่มาก เพราะว่ามหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้ามุ่งสอนเอาพระนิพพานเป็นสำคัญ ไม่ใช่เราจะมาสอนปฏิบัติกันเพื่อเป็นอุปนิสัยปัจจัย แต่การที่เข้าถึงพระนิพพานนั้น ต้องค่อยๆ สะสมความดี ทีนี้การรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ก็เพื่อเป็นการทรงสติ ที่พระพุทธเจ้าทรงสอนบอกว่า จงรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก คำว่ารู้แปลว่าสติ หรือว่าสติ แปลว่ารู้อยู่ ให้รู้ ตามธรรมดาคนเราหายใจวันละหลายหมื่นครั้ง แต่ว่าคนที่จะรู้ว่าตัวหายใจจริงๆ หายาก

    ทีนี้มาพูดกันถึงว่าเราทำได้ถึงตอนนี้ จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เรื่องของพระกรรมฐานกับนิมิตเป็นของธรรมดา นี่แหละนักปฏิบัติ กรรมฐาน ๔๐ หรือมหาสติปัฏฐานสูตร ก็เหมือนกัน ไม่มีอะไรต่างกัน เป็นแต่เพียงเรียกชื่อต่างกันเท่านั้น เรื่องนิมิตที่พึงเกิดจากสมาธินี่เป็นของธรรมดา นิมิตของอานาปานุสสติกรรมฐานก็มีเช่น สีเขียว สีแดง สีสว่างคล้ายๆ แสงไฟฉาย หรือเหมือนแสงฟ้าแลบ นี่เป็นนิมิตของอานาปานุสสติกรรมฐาน

    ขอเลี้ยวตรงนี้นิดหนึ่ง สำหรับญาติโยมแก่ๆ จะว่าอายุแก่หรือแก่ปฏิบัติก็ตาม มันก็แก่เหมือนกัน แก่ฟังก็ใช้ได้ เรียกว่าแก่เหมือนกัน คือคงจะคิดว่า เอ นี่หลวงตานี้แกมาทำยังไงของแกนี่ ก็การเจริญพระกรรมฐานที่จะให้เข้าถึงบุญ เขาก็จะต้องภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือว่าพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็แกมาสอนให้กำหนดเฉพาะลมหายใจเข้าออกเท่านั้นนี่ แล้วมันจะไปได้บุญได้ทานยังไง ถ้าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทหรือพระคุณเจ้าทั้งหลายที่กำลังรับฟังอยู่ ถ้าคิดว่าจะไม่ได้บุญละก็ ขอพระคุณเจ้าโปรดคิดว่า เขตของการบุญน่ะมันอยู่ตรงที่จิตเป็นสมาธินะ ตัวบุญน่ะอยู่ที่จิตเป็นสมาธิที่มีอารมณ์ตั้งมั่น ไม่ใช่ตัวบุญอยู่ที่องค์ภาวนาอย่างเดียว

    หากว่าเราภาวนาแบบชนิดนกแก้วนกขุนทอง ว่าไป พุทโธ ธัมโม สังโฆ ว่าไปโดยจิตไม่ตั้ง อารมณ์ไม่ทรงอยู่ พอว่าไปภาวนาไป แต่จิตอีกส่วนหนึ่งมันแลบไปสู่อารมณ์อย่างอื่น อย่างนี้ว่าเท่าไรก็ไม่เป็นบุญ การที่พระพุทธเจ้าทรงสอนให้มีการภาวนาด้วย ก็เพื่อจะใช้อารมณ์ยึด คือ สติ ให้รู้อยู่ว่านี่เรากำหนดลมหายใจเข้าออก หรือว่าภาวนาว่ายังไง แล้วก็ควบคุมอารมณ์อยู่เฉพาะอย่างนั้นอย่างเดียวให้เป็นเอกัคคตารมณ์ คำว่าเอกัคคตารมณ์แปลว่า เป็นหนึ่ง อารมณ์ของเราเป็นหนึ่งไม่มีสอง อย่างนี้จัดว่าเป็นสมาธิ คือร่างกายอย่างเดียวคือตัวรู้อยู่ นี่ว่ากันถึงคำภาวนาเป็นบุญหรือไม่เป็นบุญนะ ต้องถือว่า ตัวบุญใหญ่คือการทรงสมาธิจิต

    ถ้าสมาธิทรงได้สูงมากเพียงใด นิวรณ์ที่จะมากั้นความดีคืออารมณ์ของความชั่ว คำว่านิวรณ์ก็ได้แก่อารมณ์ของความชั่วก็เข้าสิงจิตได้ยากเพียงนั้น ถ้าขณะใดจิตทรงสมาธิที่เรียกกันว่าเป็นฌาน คำว่าฌานนี้ ฌานํ แปลว่าการเพ่ง การทรงอยู่ของจิต จิตเพ่งอยู่เฉพา่ะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง อันนี้เราเรียกกันว่าฌาน อย่างเราภาวนาว่า พุทโธก็ดี หรือว่ากำหนดรู้เฉพาะลมหายใจเข้าออกก็ดี ขณะนั้นจิตอยู่เฉพาะลมหายใจเข้า หายใจออก จิตไม่ส่ายไปสู่อารมณ์อย่างอื่น อย่างนี้เราเรียกกันว่าฌาน แต่ว่าจะเป็นฌานขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นปลายอะไรก็ตาม นั่นก็เป็นเรื่องอีกอย่างหนึ่ง เป็นอาการละเอียดของจิต เป็นอาการทรงของจิต

    ทีนี้ก็มาว่ากันถึงจิต เรามีสติสามารถจะรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ที่กระทบเข้าและกระทบออกที่จมูกได้ รู้แล้วนะ เมื่อรู้ไปๆ ๆ ๆ เข้าก็รู้ออกก็รู้ อย่างนี้จิตก็จะเริ่มเป็นสมาธิ สมาธิอาจจะยังไม่ใหญ่พอ เพราะยังหยาบหนัก อย่างนี้จะเป็นสมาธิก็ต้องเรียกว่าขณิกสมาธิ ตอนขณิกสมาธิเบื้องปลาย ตอนละเอียดของขณิกสมาธิ คำว่าขณิกสมาธิ แปลว่าสมาธิเล็กน้อย เมื่อเริ่มเข้าถึงขณิกสมาธิตอนปลาย จิตเริ่มละเอียด ลมที่กระทบจมูกเริ่มละเอียดลง ทีแรกๆ เราทำรู้สึกว่าจะหยาบมาก มีการกระทบแรง แต่ว่าต่อมาจะรู้สึกว่าลมที่กระทบจมูกน่ะ เบาลงๆ แต่ว่าจิตมีความเรียบร้อยดี เพราะส่ายออกไปน้อย ตอนนี้แหละ แล้วตอนต่อไป เมื่อขณิกสมาธิละเอียดเกิดขึ้น จิตก็จะเข้าสู่อุปจารสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิสูงกว่านั้น ใกล้จะถึงฌาน ตอนนี้อารมณ์ของจิตที่เป็นทิพย์จะปรากฏ

    เมื่อจิตว่างจากนิวรณ์ ๕ ประการแล้ว จิตก็สามารถจะเป็นทิพย์ แต่ว่าจะเป็นมากหรือเป็นน้อยก็ขึ้นอยู่กับสมาธิจิต บางทีมันเป็นประเดี๋ยวเดียว ว่างจากนิวรณ์นิดหนึ่ง แว๊บหนึ่ง แค่ชั่วของวินาที หรือครึ่งวินาที จิตก็กลับมัวหมองใหม่

    ทีนี้เวลาที่จิตเป็นทิพย์มันเป็นยังไง จิตเป็นทิพย์มันก็จะเห็นแสง เห็นสี เห็นภาพต่างๆ ที่เราไม่ถึง ที่เราคาดไม่ถึง จำให้ดีนะ คือบางทีก็เห็นเป็นแสง เป็นสีเขียว สีแดง เป็นแสงสว่างแปลบปลาบ คล้ายๆ กับฟ้าแลบก็มี นี่ตอนนี้จงรู้ว่าจิตของเราเป็นสมาธิละ และจิตเริ่มเป็นทิพย์สามารถเห็นแสงสีที่เป็นทิพย์ได้ แต่ถ้าอาการปรากฏอย่างนี้มักจะปรากฏแผล็บเดียวแล้วก็หายไป

    ในเมื่อปรากฏแล้วหายไปบางคนเสียกันตอนนี้เยอะ บางคนมาเอาดีกันตอนเห็น ต่อไปถ้าเห็นไม่ได้จิตใจก็ฟุ้งซ่าน นี่มาเสียกันตอนนี้เสียมาก เพราะอะไร เพราะว่าเข้าใจพลาด คิดว่าอาการเห็นอย่างนั้นเป็นของดี แล้วก็ควรจะยึดถือเพราะว่าเป็นของใหม่ มีความปลื้มใจ มีการภูมิใจมาก บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและพระคุณเจ้าที่เคารพ ถ้าอาการปรากฏขึ้นอย่างนั้นนะ ขอโปรดทราบว่า ภาพที่ปรากฏก็ดี แสงสีที่ปรากฏก็ดี จงอย่าถือ อย่าเอาจิตเข้าไปเกาะ สมาธิของท่านจะคลาย สมาธิของท่านจะเคลื่อน ความดีจะสูญไป

    เอาแต่เพียงเป็นเครื่องกำหนดว่า ถ้าหากว่าเราเห็นนาน หรือเร็ว เห็นภาพแว๊บหนึ่งหายไป จงรู้ตัวว่า นี่จิตของเราเป็นทิพย์ เข้าสู้อุปจารสมาธิได้นิดเดียว เมื่อเห็นภาพหายไปนั้น แสดงว่าจิตของเราเคลื่อนจากสมาธิ ความมัวหมองปรากฏแก่จิตแล้ว แล้วจงทิ้งอารมณ์นั้นเสีย ทิ้งภาพที่เห็นเสีย อย่าเอาจิตเข้าไปติด หนีมาเริ่มต้นความดีกันใหม่ จับลมหายใจเข้าออกกันใหม่

    ต่อไป อุปจารสมาธิ มีอะไร ก็มีปีติให้ปรากฏ มีความชุ่มชื่น มีขนพองสยองเกล้า มีน้ำตาไหล มีร่างกายโยกโคลงเป็นต้น มีความอิ่มเอิบ มีความปลาบปลื้มใจ มีอารมณ์ดิ่ง มีอารมณ์ละเอียด มีความสบายมากกว่าปกติ นี่เป็นปีตินะ ความอิ่มใจเกิดจากการรักษาอารมณ์ตอนนี้ ทีนี้ เวลาเข้าไปถึง ปฐมฌาน ปฐมฌานมีอาการที่เข้าถึงเป็นอย่างนี้นะ อารมณ์ของเราในขณะนั้นย่อมไม่ข้องกับนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการ คือ ความพอใจในรูปสวยเสียงเพราะ รสอร่อย กลิ่นหอม สัมผัสนิ่มนวลไม่มี อารมณ์นิ่งพอใจในการภาวนา หรือพอใจในการกำหนดลมหายใจเข้าออก ความโกรธความพยาบาทไม่ปรากฏ ความง่วงเหงาหาวนอนไม่ปรากฏ

    อารมณ์ภายนอก นอกจากการกำหนดลมหายใจเข้าออกไม่ปรากฏ ทรงอารมณ์หายใจเข้าออกไว้ เวลาหูได้ยินเสียงภายนอกทุกอย่าง เสียงเขาฟังวิทยุ เสียงเขาเปิดเครื่องขยายเสียง เสียงชาวบ้านทะเลาะกัน เสียงคุยกัน เสียงนินทาว่าร้าย แม้แต่นินทาว่าร้ายเราเอง หูได้ยินทุกอย่าง แต่ว่าใจไม่กังวล จิตใจนี่ไม่สอดส่ายไปตามอารมณ์นั้น คงรักษาลมหายใจเข้าออกไว้ได้อย่างสบายๆ ไม่เกิดความรำคาญ อาการอย่างนี้เป็นอาการของปฐมฌาน บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและพระคุณเจ้าที่เคารพโปรดรับทราบไว้ด้วย จะได้ไว้เป็นเครื่องวัด
    แบบนี้ก็เหมือนกันนะ แบบรักษาลมหายใจเข้าออก รู้อยู่ว่าหายใจเข้าสั้นหรือยาว หายใจออกสั้นหรือยาว พระคุณเจ้าค่อยๆ ทำไป อย่ารีบนะขอรับ หาเวลาวันหนึ่งๆ ทำให้มาก อย่าทำแต่เฉพาะสองทุ่ม สามทุ่ม สองยาม สามยามเป็นเวลาทำกรรมฐาน นอกนั้นปล่อยอารมณ์ให้เลื่อนลอยไป อย่างนี้เชื่อว่าไกลความสำเร็จมาก เพราะว่าอานาปานุสสตินี้เป็นกรรมฐานใหญ่ สามารถทรงได้ถึงฌาน ๔

    คราวนี้ เมื่อเข้าถึงปฐมฌาน ก็รู้อยู่แล้วนี่ว่าจิตไม่กังวล อย่างนี้ท่านกล่าวว่าจิตมันเริ่มแยกจากกาย หูเป็นกาย สัมผัสกับเสียง แต่จิตที่อยู่ภายในกายนี้ไม่สนใจกับเสียง ได้ยินเหมือนกันแต่ว่าจะยังไงก็ช่าง จะนินทาหรือจะชมจะร้องเพลงร้องละครก็ช่าง ฉันไม่เกี่ยว ทรงอารมณ์สบายๆ นี่เป็นอาการของปฐมฌาน หากว่าท่านพิจารณาลมหายใจเข้าออกและกำหนดรู้อยู่ ว่าหายใจเข้าสั้นหรือยาว ออกสั้นหรือยาว นี่จะเข้าถึงปฐมฌานได้ง่าย ตรงนี้นะ ถ้าทำได้แล้วจะไม่พูดให้ยาว

    ต่อไปก็ขยับเข้าไปอีกนิดหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าท่านสอนนะ ฟังให้ดีนะขอรับ ขยับเข้าไปอีกนิดหนึ่ง ก่อนที่จะรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก เราจะกำหนดกองลมเสียก่อน คำว่ากำหนดกองลม คือตั้งใจไว้ว่า นี่เราจะหายใจเข้า ว่านี่เราจะหายใจออก แล้วหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้น ก็รู้ไว้ด้วย อย่าลืมนะขอรับขยับเข้าไปอีกนิดหนึ่ง อีตอนต้นหายใจเข้าหายใจออก รู้เฉพาะเท่านั้น ไม่ต้องกำหนดกองลม แล้วตอนหายใจเข้ายาวหรือสั้น หายใจออกยาวหรือสั้น ไม่ต้องกำหนดรู้กองลม คือว่ามันจะหายใจก็หายใจของมันเอง

    ตานี้มาตอนที่สาม รู้อยู่ว่านี่เราจะหายใจเข้า นี่เราจะหายใจออก นี่ทำสติของท่านให้ละเอียดเข้าไปอีกนิดหนึ่ง ให้กระชั้นเข้าไป แต่การกำหนดให้รู้อยู่ว่านี่เราจะหายใจเข้า นี่เราจะหายใจออก หายใจเข้าสั้นหรือยาว ออกสั้นหรือยาว ไอ้การอย่างนี้ถ้าสามารถทรงอยู่ได้เป็นเอกัคคตารมณ์ หมายความว่าไม่ปล่อยอารมณ์อื่นให้เข้ามายุ่ง เรากำหนดอย่างนี้ได้ครั้งละ ๒ ถึง ๓ นาที หรือ ๕ นาทีก็ตาม แสดงว่าอารมณ์จิตของท่านเข้าถึง ฌานที่ ๒ และฌานที่ ๓

    อย่างนี้บรรดาคณาจารย์ทั้งหลายอาจจะเถียง ไอ้ฌานที่ ๒ และฌานที่ ๓ นี่มันไม่มีการภาวนา ไม่มีการกำหนดรู้อยู่ ก็จะขอบอกว่า การภาวนาไม่มีจริง ถ้าทำถึงนะ แต่การรู้ลมหายใจเข้าออกยังมีอยู่อย่างนี้ ลองสอบสวนอารมณ์จิตของท่านให้ดี ถ้าท่านจะค้านว่า ต้องไม่รู้ลมหายใจเข้าหายใจออก อันนี้ไม่ถูก ที่ถูกต้องบอกว่ารู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ถ้านึกกรรมฐานใช้องค์ภาวนาด้วยตั้งแต่ฌานที่ ๒ ขึ้นไป จะเลิกภาวนา องค์ภาวนาจะหยุดไปเอง ไม่ใช่มาหยุดลมหายใจเข้าออกกัน แต่เวลาลมหายใจเข้าออกจะรู้สึกว่าเบาลงไป มีความรู้สึกนะ สำหรับฌานที่ ๒ รู้สึกว่าลมหายใจเข้าออกเบาลงไป มีจิตชุ่มชื่น มีความเยือกเย็น มีความสบายมากขึ้น หูยังได้ยินเสียง แต่รู้สึกว่าเบากว่าปกตินิดหนึ่ง เบากว่าสมัยที่ได้ปฐมฌานไปนิดหนึ่ง

    ทีนี้พอเข้าถึง ฌานที่ ๓ จะรู้สึกว่าทางกายมันเครียด เรานั่งธรรมดา เรานอนธรรมดาเหมือนมีอาการเกร็งตัว มีอาการตึงเป๋ง ลมหายใจรู้สึกว่าน้อยลง เสียงที่ได้ยินเบาเข้า เสียงที่ได้ยินจากภาพนอกนะ เขาพูดแรงๆ ก็รู้สึกว่าเบาลงมาก นี่เป็นอาการของฌานที่ ๓ ทำได้ตอนนี้นะขอรับพระคุณเจ้า รักษาไว้ทรงไว้ให้ดี อย่ารีบจู่โจม อย่ารีบ นี่เราใกล้จะดีแล้ว ถ้าอานาปานุสสติกรรมฐานที่ทำได้ถึงฌาน ๔ แล้วก็ทรงฌาน ๔ เข้าไว้ตลอดชีวิต เรื่องการทรงฌานนี้กระผมขอร้อง ได้แล้วอย่าทิ้ง อย่าคิดว่าตัวดี ถึงแม้ว่าจะได้ฌานก็จัดว่าเป็นฌานโลกีย์ ก็ต้องคิดว่า จะเป็นฌานโลกีย์ก็ตาม ฌานโลกุตตระก็ตาม ต้องคิดว่าสิ่งเหล่านี้เราจะรักษาด้วยชีวิต ไม่ใช่ได้แล้วก็ปล่อย

    เมื่อกำหนดกองลมว่า ต่อไปเราจะหายใจเข้าแล้วเราก็หายใจเข้า แล้วเวลาหายใจเข้าสั้นหรือยาวเราก็รู้ เวลาจะหายใจออก ก็นึกในใจว่านี่เราจะหายใจออก ไม่ต้องไปอั้นเอาไว้นะ ปล่อยไปตามปกติ หรือเวลาที่ลมมันไหลออกมาก็รู้อยู่ว่า เอ๊ะ นี่เราหายใจออกแล้วนี่ เวลาลมมันไหลเข้าก็ว่า เอ๊ะ นี่เราหายใจเข้าแล้วนี่ ที่รู้ก่อนมันจะเข้ามันจะออกนิดหนึ่งเป็นของไม่ยาก ที่เรียกว่ากำหนดกองลมก่อนจะหายใจเข้าหรือหายใจออก นี่เป็นอันดับที่สามของอานาปานสติในกายานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน

    คราวนี้มาอันดับที่ ๔ ตอนเป็นอาการของ ฌาน ๔ พระพุทธเจ้ากล่าวว่า จะไม่กำหนดรู้ลม คือปล่อยกองลมเสีย มันจะหายใจเข้าหรือหายใจออกก็ตามใจ เราจะไม่ยอมรู้มันละ ปล่อยมันไม่ยุ่งกับเรื่องของลม นี่พูดภาษาไทยชัดๆ นะ เราจะไม่ยุ่งกับเรื่องของลม มันจะหายใจเข้าหรือหายใจออกก็ตามใจ เรารักษาอารมณ์ดีไว้อย่างเดียว เห็นไหม แต่ว่าในตอนต้นๆ อาจจะต้องกำหนดลมหายใจเข้าออกอยู่บ้าง แต่ว่าลมหายใจเข้าออกน่ะรู้สึกว่าจะเบา ถ้าได้นะ ต้องทำได้ เวลาทำต้องขึ้นต้นมาตั้งแต่รู้ลมหายใจเข้าออก สักประเดี๋ยวหนึ่งแล้วก็มารู้ลมหายใจเข้าสั้นหรือยาว ออกสั้นหรือยาวอีกประเดี๋ยวหนึ่ง แล้วกำหนดกองลมก็รู้อีกประเดี๋ยวหนึ่ง จิตมันละเอียดขึ้นมา ต่อมาอันดับสุดท้ายเราไม่สนใจกับกองลม

    มันจะหายใจเข้าหรือหายใจออกก็ตามใจ ฉันไม่สนใจกับนาย สุดแล้วแต่นายซิ นายจะหายใจเข้าก็ตามใจ นายจะหายใจออกก็ตามใจ ฉันไม่เกี่ยว อีตอนนี้ถ้าทำไปๆ ตอนแรกเราก็ต้องรู้ลมเข้าลมออก หนักเข้าๆ ลมจะละเอียดเข้ามาๆ จนกระทั่งไม่รู้สึกว่ามีลมหายใจ ลมหายใจที่เรากำลังหายใจอยู่นี่นะ จะเกิดมีความรู้สึกเหมือนไม่หายใจ แต่อารมณ์จิตภายในมีความโพลง มีความสว่าง มีการทรงตัวมาก มีอารมณ์เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นหนึ่ง เป็นอุเบกขา วางเฉยต่ออารมณ์ทั้งปวง มีความชุ่มชื่น มีความสุขที่สุด มีความสบายที่สุด ไม่รู้สึกในการสัมผัสภายนอก คือลมจะมากระทบ ยุงจะมากัดเรา เวลานั่งความเมื่อยปวดไม่ปรากฏ อย่างนี้เป็นอาการของฌาน ๔

    บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท เมื่อเข้าถึงฌาน ๔ หรือฌานที่เท่าไหร่ก็ตามที่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททำได้แล้ว ขอจงรักษาไว้ให้มั่น หมั่นทำไว้เสมอให้จิตคล่้อง จะสามารถนั่งยืนเมื่อไร เข้าฌาน ๔ ได้ทันที แล้วก็สามารถจะกำหนดเวลาออกได้ด้วย

    อานาปานุสสติกรรมฐาน เป็นกรรมฐานที่ระงับกายสังขาร มีคุณประโยชน์มาก เวลาป่วยไข้ไม่สบายมีทุกขเวทนาสาหัส ถ้ากำหนดลมหายใจเข้าออกจนจิตเป็นฌาน อาการปวดเมื่อยทั้งหลายเหล่านั้น มันจะสลายตัวไป ท่านที่ได้อานาปานุสสติกรรมฐานจนคล่อง จนสามารถจะกำหนดเวลาตายได้ ตัวอย่างเช่นหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านบอกเวลาตายล่วงหน้าไว้ ๓ ปี กำหนดปี กำหนดเดือน กำหนดวัน กำหนดจนกระทั่งเวลาที่ท่านจะตาย นี่เห็นไหมว่าท่านคล่องในมหาสติปัฏฐานสูตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อานาปานุสสติกรรมฐานนี่ท่านคล่องมาก

    ในตอนท้าย พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า การกำหนดลมหายใจเข้าออกนี้ เรากำหนดเพื่อรู้ความเกิดขึ้น ความเสื่อมไป หรือการสลายตัว ว่าร่างกายเรานี้ที่ชื่อว่า ร่างกายของเรา เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วมันก็เสื่อมไป แล้วมันก็สลายตัว

    เราจะไม่ยึดถืออะไรทั้งหมดในร่างกายนี้ ตอนนี้เป็นวิปัสสนาญาณ บรรดาญาติโยมพุทธบริษัท คิดว่าอัตภาพร่างกายนี้เกิดขึ้นได้แล้ว จะเป็นกายเราก็ตาม กายคนอื่นก็ตาม ถ้ากายเราท่านเรียกว่ากายภายใน ถ้ากายคนอื่นเรียกว่ากายภายนอก ของเราเรียกว่าภายใน

    นึกถึงว่านี่มันมีสภาพเหมือนกัน มีสภาพที่ปกติมีความเกิดขึ้น มีความเสื่อมไป และมีการสลายตัวเหมือนกัน เราจะไปยึดมั่นมันไว้เพื่อประโยชน์อะไร เราจงอย่าคิดว่ากายนี้เป็นเราเป็นของเรา จงอย่าคิดว่าเรามีในกาย หรือกายมีในเรา นี่มันไม่มี สภาวะของมันเป็นยังไง มันก็ต้องเป็นยังงั้น ถึงเวลามันจะแตก มันจะสลายมันก็สลายตัวของมันเอง ไม่มีใครไปบังคับบัญชามันได้

    ทีนี้ท่านย้อนกลับไปอีกนิดหนึ่งว่า ถ้าคิดอย่างนี้แล้ว ถ้าจิตใจยังไม่สบายเกิดอารมณ์ฟุ้งซ่าน ท่านบอกให้หักใจกลับเข้ามาเสียอีกนิดหนึ่ง ที่เรากำหนดการตั้งขึ้นของร่างกาย และความเสื่อมไปของร่างกายนี้ เราไม่กำหนดเพื่ออย่างอื่น เรากำหนดเพื่อรู้อยู่เท่านั้น เป็นการทรงสติไว้ นี่หลบกลับมาหาสมถะ ตอนนั้นเป็นวิปัสสนาญาณ ตอนนี้หลบเข้ามาหาสมถะ นี่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและพระคุณเจ้าที่เคารพที่กำลังรับฟัง คงจะเห็นว่าการสอนสมถะของพระพุทธเจ้าย่อมควบวิปัสสนาญาณไว้เสมอ จบอานาปานบรรพในกายานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    m8BRoAspOGkjuMNYbdG_7zyNNuNWCLAh-B_5zY_oWQor&_nc_ohc=mbpHUs2CsvYAX9uicpX&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    “ขอภาพนี้จงปรากฏ”
    ขณะกราบพระพุทธรูปที่ไหน ที่มีความงดงามติดตาตรึงใจ ประทับใจเรา เช่น พระพุทธชินราช พระแก้วมรกต ฯลฯ เพื่อไม่ให้เสียโอกาส ควรอธิษฐานเพิ่มเติมว่า ขอภาพนี้จงปรากฏกับจิตของข้าพเจ้าเมื่อวาระสุดท้ายแห่งลมหายใจมาถึงด้วยเถิด...อธิษฐานอย่างนี้เสมอๆ เราจะเป็นบุคคลผู้ไม่ประมาทเมื่อถึงวาระ

    คำสอนของพระอาจารย์เอ
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติไหนขออย่าได้พบเห็นคนพาลเลย
    ***************
    (พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
    [๙๐] ขอถวายพระพรท้าวสักกะ ผู้เป็นใหญ่แห่งภูตทั้งปวง
    หากมหาบพิตรจะประทานพรแก่อาตมา
    ขอให้อาตมาไม่พึงพบเห็นคนพาล ไม่พึงได้ยิน
    ไม่พึงอยู่ร่วมกับคนพาล ไม่พึงทำการเจรจาปราศรัย
    และไม่พึงพอใจการเจรจาปราศรัยกับคนพาลเลย
    (ท้าวสักกะตรัสว่า)
    [๙๑] พระคุณเจ้ากัสสปะ คนพาลได้ทำอะไรแก่พระคุณเจ้าหรือ
    ขอจงบอกเหตุ เพราะเหตุไร
    พระคุณเจ้าจึงไม่ต้องการพบเห็นคนพาล
    (พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า)
    [๙๒] คนพาลมีปัญญาทราม ย่อมแนะนำสิ่งที่ไม่ควรแนะนำ
    ชักชวนในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ
    การแนะนำชั่วเป็นสิ่งที่ประเสริฐสำหรับเขา
    เขาถูกว่ากล่าวโดยชอบก็โกรธ คนพาลนั้นไม่รู้วินัย
    การไม่พบเห็นเขาเสียได้เป็นการดี
    ……………
    ข้อความบางตอนใน อกิตติชาดก ขุททกนิกาย ชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_siri.php?B=27...
    และดูเพิ่มใน อรรถกถา อกิตติชาดก http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1806
    หมายเหตุ อกิตติชาดก มีเนื้อหาโดยย่อว่า พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอกิตติดาบส ประพฤติตนเป็นคนมักน้อย ท้าวสักกะต้องลงมาประสาทพร ท่านขอพรเพียงว่า ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติไหนขออย่าได้พบ อย่าได้เห็น อย่าได้นั่งใกล้ อย่าได้เจรจาปราศัยกับคนพาลโดยเด็ดขาด ท้าวสักกะทราบเหตุแล้วก็ให้พรตามนั้น
    #ไม่คบคนพาล
    jcJxtcHTwuvk7c9DJOF3XGgsXf9RYtjXfuUxW4wUkEcb&_nc_ohc=DjU0sn1CgpsAX_3nSNf&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    =AZU-jW1lWcrQFfT0ca4cRMhNWsqafAELX_D_IfvDkohXf281vete5spEyh9QBlMqIa9vTKdYkFq80YRpPKdDweVt_fRwnjC4yNl9oUPkpFV_dXOa19Bay3_YhRw6D-822DcmlHLa3IgSPgelPKSjJ5tpRZDPX2yLJHzPyd2vfHFz_2vghjDBt9LSavWv99IHabE&__tn__=EH-R'] 0kM3NR60_jpNV5cIDGN10L41DM_h9zSwBfGvD4nTUWa5&_nc_ohc=rnypFkAyJxMAX--Ifpa&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    ผู้ถาม : ไปงานศพ นั่งสวดจักรพรรดิในใจไปเรื่อย มีอาการวูบๆวาบๆ หวิวๆ เหมือนจะเป็นลม แต่พอหายใจเข้าลึกๆ นึกถึงหลวงปู่ สวดไตรสรณะคมไปเรื่อยๆ ก็ดีขึ้นค่ะ พอเราเผลออีก ก็เป็นอีกหนักๆ เหนื่อยๆ อาการแบบนี้ ต้องทำอย่างไรต่อครับหลวงตา
    หลวงตา : วิญญาณ....เนี่ยนะ
    มันเห็นแสงสว่างจากเรา...มันน้อมมาหาเรานะ
    ถ้าเราไม่จับหลวงปู่ (นึกถึงหลวงปู่) เราไม่สวดมนต์เนี่ย
    มันดึง(แสงสว่าง)ไปจากเรา มันจะเนือยๆ มันจะเพลียๆ
    แต่ถ้าเราตั้งท่าจริงๆ นะโมพุทธายะ หลวงปู่ไปเลยยยยยยยยย
    ผ่านไปเลยเนี่ย ไม่มีอาการ แล้วมันจะเพลินด้วย
    แล้วมันจะมีความรู้สึกด้วย แล้วมันจะรู้แล้ว ไปๆๆๆๆๆ
    เหมือนกับ..มันจะมีแสงว่าง ฉิ้วๆๆๆๆๆๆๆๆ ไปเรื่อยๆๆๆ
    คือคนน่ะ ไม่เข้าใจ...ในศาสตร์หลวงพ่อ
    คนยังไม่เข้าใจ...อีกเยอะเลยฮะ
    เพราะฉะนั้น .... ทำอะไรก็ช่าง
    จะไปไหน..."หนีจากท่านไม่ได้"
    ซ้อนกับจักรพรรดิ(พลังงาน) อธิษฐานซ้อนเลย !
    จักรพรรดิ(คิดถึงพระทรงเครื่อง) อยู่บนหัวหนู
    หลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ อยู่ซ้าย (ด้านซ้ายและด้านขวา)
    อะไรประมาณนั้นแหละ
    วิญญาณ รับบุญได้ตลอดเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก
    แต่ต้อง "สวดมนต์นะ" อารมณ์ไม่ดี ไม่ได้นะ
    อารมณ์ไม่ดี ต้อง "เปลี่ยน" นะ
    เพระท่านซ้อนอยู่ ถ้าอารมณ์ไม่ดี ท่าน(หลวงปู่)จะหนีไม๊
    "หนี" เอ้า ก็หนีอ่ะ หลวงตาก็ยังหนีเลย
    ต้องเปลี่ยนให้ไว พอเปลี่ยนไว คลื่น(พลังงานหลวงปู่)
    ก็กลับมาไง พอเราเอาคลื่นออกไป...ก็ไป
    พอเราน้อมกลับมา...ก็มาไง
    ไม่ต่อไง ไม่เห็นต้องคิดยากเลย
    ******************************************************
    หลวงม้า เมตตาแสดงธรรม
    26/12/2563
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ?temp_hash=cb3f3a26d1cc641d8572a4571dcffe66.jpg

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ?temp_hash=c81a6e9f35d82a7dbd9854833a378c72.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    fmBRy8yDkp1DgjCR_YLwP8tEKL7X08LMdXvaLCVIeK7f&_nc_ohc=kxpAr7tLUjwAX_A1VXS&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    _DRbpsQcVXPKlulc2W9b0g1jMumAITHcoeU3z3FazGIm&_nc_ohc=27xW--qgBowAX_wGRp-&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
    การเจริญพระกรรมฐาน ต้องการคุณภาพของจิต ไม่ใช่ปริมาณของเวลา
    ธรรมโอวาทหลวงพ่อพระราชพรหมยาน


    การเจริญพระกรรมฐาน จงอย่าบังคับเวลา ในการบังคับเวลาว่าต้องทำ ๑ ชั่วโมง ๒ ชั่วโมง ครึ่งชั่วโมง อันนี้ไม่สมควร เพราะว่านั่นเป็นการทำเพื่อปริมาณของเวลา ไม่ใช่คุณภาพของจิต

    การฝึกพระกรรมฐานเขาต้องการคุณภาพของจิต ถ้าจิตเราสามารถทรงคุณภาพได้ดี มันจะมีเวลา ทรงได้ ๑ นาที หรือ ๒ นาที ก็ควรจะพอใจ
    ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระสารีบุตรว่า สารีปุตตะ ดูกร สารีบุตร บุคคลใดสามารถทำจิตให้ว่างจากกิเลสได้วันหนึ่งชั่วขณะจิตเดียว เรากล่าวว่าบุคคลนั้นเป็นผู้มีจิตไม่ว่างจากฌาน เห็นไหม

    ชั่วขณะจิตหนึ่งมันไม่เกิน ๑ วินาที จิตว่างจากกิเลส ก็หมายความว่า ถ้าหากว่าเรากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ขณะนั้นจิตมันรู้ลมหายใจเข้า หายใจออกจริง ๆ มันไม่ยุ่งกับเรื่องอื่นเลย ขณะนั้นจิตว่างจากกิเลส หรือว่าเราภาวนาหรือพิจารณาอยู่ก็ดี ขณะใดที่ภาวนาอยู่หรือพิจารณาอยู่ ขณะนั้นจิตไม่ยุ่งกับเรื่องอื่น เรื่องอื่นไม่เข้ามาแทรกจิต เวลานั้นจิตว่างจากกิเลส นี่ถือว่าเราสามารถทรงคุณภาพของจิตได้ เขาต้องการอย่างนี้นะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    มหาสติปัฏฐานสูตรที่ยากจริง ๆ ก็คืออานาปานุสสติกรรมฐานเท่านั้น ที่ต้องทำกันช้าหน่อยแล้วก็ทำถึงฌาน ที่เหลือทั้งหมดเป็นอารมณ์คิด ฉะนั้นก่อนจะใช้อารมณ์คิดทุกครั้ง ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัทและพระคุณเจ้าที่เคารพ โปรดทำสมาธิจิตจนถึงฌานให้เต็มที่ก่อน ได้ระดับไหนทำให้ถึงระดับนั้น ทำแล้วปล่อยให้จิตสบายจึงค่อยใช้อารมณ์คิด ปัญญาจะเกิด นี่เป็นหลักการในการปฏิบัติพระกรรมฐาน ถ้าใช้อารมณ์คิดแล้วจิตใจมักฟุ้งออกนอกลู่นอกทาง ก็ทิ้งอารมณ์คิดนั้นเสีย กลับมาจับอานาปานุสสติใหม่ จนกระทั่งจิตสบายแล้วก็ใช้อารมณ์คิดต่อไป นี่เป็นหลักการที่ปฏิบัติ นักปฏิบัติที่ได้ผลจริง ๆ เขาทำกันแบบนี้ แม้แต่ในสมัยพระจอมไตรบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เหมือนกัน เขาปฏิบัติกันอย่างนี้จึงได้ผลตามกำหนดที่องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาตรัสไว้


    (คำสอนของหลวงปู่พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง) จากหนังสือรวมคำสอนพระสุปฏิปันโน เล่ม ๕ (เล่มพิเศษ) ชุด เทิดทูนพระคุณบิดามารดา หน้าที่ ๑๕๖ โดย...หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,118
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...