ประโยชน์ของ "สมาธิฌาน" และวิธีตัดกิเลสโดยใช้ฌาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Apinya Smabut, 28 กันยายน 2020.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Apinya Smabut

    Apinya Smabut นิพพานังสุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2014
    โพสต์:
    1,398
    กระทู้เรื่องเด่น:
    57
    ค่าพลัง:
    +2,634
    เข้าไปอ่านบทความได้ที่นี้ครับ > > > วัดท่าขนุน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 พฤศจิกายน 2022
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

    [​IMG]
    [​IMG]

    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 1 / 5
    มหรคต “อันถึงความเป็นสภาพใหญ่” “ซึ่งถึงความยิ่งใหญ่” หรือ “ซึ่งดำเนินไปด้วยฉันทะวิริยะจิตตะและปัญญาอย่างใหญ่” คือ เข้าถึงฌาน, เป็นรูปาวจร หรืออรูปาวจร, ถึงระดับวิกขัมภนวิมุตติ
    (เขียนอย่างบาลีเป็น มหัคคตะ)

    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 5
    โลกิยวิมุตติ วิมุตติที่เป็นโลกีย์ คือความพ้นอย่างโลกๆ ไม่เด็ดขาด ไม่สิ้นเชิง กิเลสและความทุกข์ยังกลับครอบงำได้อีก ได้แก่วิมุตติ ๒ อย่างแรกคือ ตทังควิมุตติ และ วิกขัมภนวิมุตติ;
    ดู วิมุตติ, โลกุตตรวิมุตติ

    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 3 / 5
    วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดไว้
    ได้แก่ ความพ้นจากกิเลสและอกุศลธรรมได้ด้วยกำลังฌาน อาจสะกดไว้ได้นานกว่าตทังควิมุตติ แต่เมื่อฌานเสื่อมแล้ว กิเลสอาจเกิดขึ้นอีก จัดเป็นโลกิยวิมุตติ
    (ข้อ ๒ ในวิมุตติ ๕; ในบาลีเป็นข้อ ๑ ถึงชั้นอรรถกถา จึงกลายมาเป็นข้อ ๒)

    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 4 / 5
    วิขัมภนวิมุตติ ดู วิกขัมภนวิมุตติ

    แสดงผลการค้น ลำดับที่ 5 / 5
    วิมุตติ ความหลุดพ้น, ความพ้นจากกิเลส มี ๕ อย่าง คือ
    ๑. ตทังควิมุตติ พ้นด้วยธรรมคู่ปรับหรือพ้นชั่วคราว
    ๒. วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยข่มหรือสะกดได้
    ๓. สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยตัดขาด
    ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พ้นด้วยสงบ
    ๕. นิสฺสรณวิมุตติ พ้นด้วยออกไป;
    ๒ อย่างแรก เป็น โลกิยวิมุตติ
    ๓ อย่างหลังเป็น โลกุตตรวิมุตติ
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    พระกังขาเรวตเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้เพ่งด้วยฌาณ


    พระกังขาเรวตะ เป็นบุตรเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี เดิมชื่อว่า “เรวตะ” เป็นผู้มีศรัทธา
    ในพระพุทธศาสนาเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ทั้ง ๆ ที่ยังมิเคยเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรมกถามาก่อนเลย คง
    เป็นด้วยอุปนิสัยวาสนาบารมีเก่าส่งเสริม
    • แอบนั่งฟังธรรมท้ายสุด
      ต่อมาได้เห็นอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ถือดอกไม้ธูปเทียน เครื่องสักการะและของหอม
      ไปยังพระเชตวันมหาวิหาร จึงติดตามไปด้วยแล้วนั่งอยู่ท้ายสุด หมู่พุทธบริษัท เพราะตนเองเป็น
      ผู้ใหม่ รอเวลาที่พระบรมศาสดาจะทรงแสดงพระธรรมเทศนา
      โดยปกติธรรมดาของพระผู้มีพระภาค ทุกครั้งก่อนที่พระองค์จะแสดงธรรม จะทรง
      พิจารณาตรวจดูอุปนิสัยของพุทธบริษัทที่ประชุมกัน ณ ที่นั้นว่าผู้ใดมีบุญวาสนาบารมีสั่งสม
      บารมี ซึ่งพอจะเป็นปัจจัยส่งผลให้บรรลุคุณธรรมพิเศษบ้างหรือไม่ และพิจารณาว่าธรรมหมวด
      ไหนเหมาะสมแก่ฟังนั้น ๆ เมื่อทรงพิจารณาไปโดยรอบ ก็ทอดพระเนตรเห็นเรวตมาณพ เข้าสู่
      ข่ายคือ พระญาณของพระองค์ ว่าเป็นผู้มีอุปนิสัยบารมีสั่งสมมาดีแต่อดีตชาติ สามารถจะบรรลุ
      มรรคผลได้ จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถา เพื่อขัดเกล่าอุปนิสัยให้สะอาดหมดจด
      ปราศจากความยินดีในกามคุณที่เคยบริโภคใช้สอยมาก่อน
      ใจความในอนุปุพพิกถา ถือถ้อยคำที่กล่าวไปโดยลำดับ ๕ ประการ คือ
      ๑. ทานกถา กล่าวถึงอานิสงส์ของการบริจาคทาน
      ๒. สีลกถา กล่าวถึงการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
      ๓. สัคคกถา กล่าวถึงเรื่องสวรรค์อันอุดมด้วยทิพยสมบัติ
      ๔. กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษแห่งกามคุณ ๕ ว่าเป็นเหตุนำทุกข์มาให้
      ๕. เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์ของการออกบวชว่า เป็นอุบายที่จะให้
      บรรลุพระนิพพานอันเป็นบรมสุข

    เมื่อจบพระธรรมเทศนา เรวตมาณพก็เกิดศรัทธาแก่กล้ายิ่งขึ้น จึงกราบทูลขออุปสมบท
    ในพุทธศาสนา พระพุทธองค์ประทานให้ตามประสงค์ ครั้นได้อุปสมบทแล้ว ท่านได้ศึกษา
    พระกรรมฐานจากพระบรมศาสดาแล้วปลีกตัวอยู่ในสถานที่อันสงบสงัด อุตสาห์บำเพ็ญเพียร
    พระกรรมฐานจนได้บรรลุโลกิยฌาน แล้วทำฌานที่ได้แล้วนั้น ให้เป็นพื้นฐานในการเจริญ
    วิปัสสนา ไม่ช้านักท่านก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ สิ้นอาสวกิเลส เป็นพระอเสขบุคคลใน
    พระพุทธศาสนา

    • เหตุที่ได้นามว่ากังขาเรวตะ
      พระเรวตะนั้น ภายหลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว ขณะที่ท่านยังเป็นปุถุชนยังมิได้บรรลุ
      พระอรหัตผล เมื่อท่านได้รับกัปปิยวัตถุสิ่งของเครื่องใช้ สิ่งใด ๆ มาแล้ว ท่านมักจะคิดกังขาคือ
      สงสัยก่อนเสมอว่า ของสิ่งนี้เป็นของถูกต้องพุทธบัญญัติ สมควรแก่บรรพชิตที่จะใช้สอยหรือไม่
      (กัปปิยะ= เป็นของควร, อกัปปิยะ = เป็นของไม่ควร) เมื่อท่านพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่า
      เป็นของที่บรรพชิตบริโภคใช้สอยได้ไม่ผิดพระวินัย ท่านจึงใช้สอยของสิ่งนั้น ด้วยความที่ท่าน
      เป็นผู้มักสงสัยอยู่เป็นประจำ จนเป็นที่ทราบกันทั่วไปในหมู่พระภิกษุทั้งหลาย ดังนั้น คำว่า
      “กังขา” จึงถูกเรียกรวมกับชื่อเดิมของท่านว่า “กังขาเรวตะ หมายถึง พระเราวตะผู้ชอบสงสัย”
      แม้ว่าภายหลังท่านได้บรรลุพระอรหัตผล สิ้นกิเลสอันเป็นเหตุแห่งวิจิกิจฉา คือความลังเล สงสัย
      แล้วก็ตาม นามว่ากังขาเรวตะ ก็ยังเป็นที่เรียกขานของเพื่อนสหธรรมิกอยู่ตลอดไป




    • ได้รับยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะ
      พระกังขาเรวตะ เป็นผู้มีความชำนาญในฌานสมาบัติ ทั้งที่เป็นโลกิยะ และโลกุตระ แม้
      กระทั่งฌานสมาบัติอันเป็นพุทธวิสัย คือ ฌานสมาบัติที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้นจะพึงเจริญ มิ
      ได้ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย ด้วยว่า ความสุขอันเกิดจากฌานสมาบัตินั้น ไม่มีโลกิยสุขใด ๆ ใน
      โลกจะเทียบเท่าได้เลย เรียกว่า “สันติสุข คือ สุขที่เกิดจากความสงบ” ส่วนสุขอันเป็นโลกีย์นั้น
      ต้องพึ่งพิงอิงอาศัยอามิสต่าง ๆ อันได้แก่ บุคคล สัตว์ สิ่งของ เป็นต้น เข้ามาช่วยให้เกิดความสุข
      และความสุขแบบโลกีย์นี้ เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เพราะเมื่อยามที่ยังมีอยู่ ก็รู้สึกเป็นสุข แต่
      เมื่อยามสิ่งของเหล่านั้นอันตรธานหรือชำรุดเสียหายไปก็จะเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ แต่ความสุขอัน
      เกิดจากฌานสมาบัตินั้นเป็นสุขที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะเป็นสุขที่เกิดจากความ
      ไม่มีทุกข์
      ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ พระบรมศาสดา จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้
      เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้เพ่งด้วยฌาน, ผู้ยินดีในฌานสมาบัติ
      ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    ฌานสูตร

    [๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
    เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาส
    นัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ



    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน

    เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมี
    อยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
    เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด
    ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น

    ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน
    เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย

    ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ
    จักปรินิพพานในภพนั้น
    มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิย-*สังโยชน์ ๕ สิ้นไป
    ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

    ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆได้แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯบรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น
    ทุกข์ ... ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้น
    แล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบ
    แห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไป
    แห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็น
    อุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
    โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่
    เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะ
    อาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

    ***************************************


    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะ
    อาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ
    โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอย่อมพิจารณา
    เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะ
    แห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็น
    อนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อ
    อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...
    นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้า
    ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน
    ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
    สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ
    เหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วย
    หญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ
    ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บรรลุจตุตถฌาน
    ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับ
    มาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
    สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้
    กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง
    เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตน-
    *ฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม
    ทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสา-
    *นัญจาตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ
    ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน
    เธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้า
    ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานใน
    ภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
    ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนาย
    ขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือ
    กองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้
    ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงรูปสัญญาโดย
    ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุ
    อากาสานัญจาตนฌาน ... เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ มีอันไม่กลับ
    จากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความ
    สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เรา
    อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้าง
    ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะ
    ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดย
    คำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
    คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
    โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้
    ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่น
    ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ใน
    อากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ
    สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอัน
    ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความ
    ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู
    หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมา
    เขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
    ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ
    หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็น
    ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรม
    เหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ
    ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌาน
    นั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่พึงกลับจากโลก
    นั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน
    ในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่ง
    อาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง

    ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญา-
    *ปฏิเวธก็มีเท่านั้น


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานา-*สัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ
    และฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ

    จบสูตรที่ ๕


    ********************************************
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    [​IMG]

    --------------------------------------------------------------------------------------------
    หมายเหตุ

    โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อันเป็นสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำ คือ

    ๑. สักกายทิฏฐิ [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน]
    ๒. วิจิกิจฉา [ความสงสัย]
    ๓. สีลัพตปรามาส [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วยศีลหรือพรต]
    ๔. กามฉันทะ [ความพอใจด้วยอำนาจแห่งกาม]
    ๕. พยาบาท [ความคิดแก้แค้นผู้อื่น]

    (๒) เธอทั้งหลายพึงเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

    (๓) ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ เพื่อรู็ยิ่ง เพื่อความกำนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นสังโยชน์ส่วนเบื่องต่ำ ๕ อย่างนี้



    อ้างอิง:
    (๑) สังคีติสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑๑ ข้อที่ ๒๘๔ หน้า ๑๙๖
    (๒) โอรัมภาคิยสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๒๓ ข้อที่ ๒๗๑ หน้า ๓๗๒-๓๗๓
    (๓) โอรัมภาคิยสูตร พระไตรปิฎกฉบับหลวง เล่มที่ ๑๙ ข้อที่ ๓๔๙-๓๕๐ หน้า ๙๐
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,728
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,136
    ค่าพลัง:
    +70,534
    iwpal_fhouj0pia3axw5x1crgwceexghkkx_-_nc_ohc-tp4kvniqwloax9numw_-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg-jpg.jpg
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...