สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ศีลทั้ง 3 ประการ

    14 มีนาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    อธิสีลสิกฺขาสมาทาเน อธิจิตฺตสิกฺขาสมาทาเน อธิปญฺญาสิกฺขาสมาทาเน อปฺปมาเทน สมฺปาเทสฺสามาติ เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพนฺติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา ว่าด้วยศีลทั้ง 3 ประการ ซึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ทรงประทานเทศนาเรียกว่า อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ทั้ง 3 ประการนี้ เป็นศีล ทางพุทธศาสนาต้องประสงค์ แม้ศีลตั้งแต่เป็นศีลต่ำลงไปกว่านี้ พุทธศาสนาก็นิยมยินดี เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง 3 ประการ ได้แสดงมาแล้ว

    ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ ประสงค์เอาศีล 5 ประการ

    ศีลโดยปริยายเบื้องสูง ประสงค์เอาปาฏิโมกข์สังวรศีล และบริบูรณ์ด้วยมารยาทและโคจร เห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทบัญญัติน้อยใหญ่ทั้งหลาย เห็นศีลโดยปริยายเบื้องสูง

    สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ พระองค์ได้ทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้สละอารมณ์ทั้งสิ้นหลุดขาดจากใจ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งของใจได้ นี้สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ

    สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ทรงแนะนำให้ดำเนินถึง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เมื่อเข้าฌานใดฌานหนึ่งได้ เรียกว่าสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง

    ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ พระองค์ได้ทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้ปฏิบัติถึงซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป รู้ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปชัด และข้อปฏิบัติดำเนินถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ อันเป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันประเสริฐ นี้ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ

    ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง คือพระองค์ทรงแนะนำว่า ภิกษุในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้รู้ชัดว่านี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ รู้ชัดในสัจธรรมทั้ง 4 นี้ นี้ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง

    ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ เบื้องสูง สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ เบื้องสูง ปัญญาโดยปริยาย เบื้องต่ำ เบื้องสูงนั้น ได้แสดงแล้วในสัปดาห์ก่อนๆ โน้น

    บัดนี้จักแสดงใน อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต่อจากศีล สมาธิ ปัญญา โดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงเป็นลำดับมา

    อธิศีล แปลว่า ศีลยิ่ง, อธิจิต แปลว่า จิตยิ่ง, อธิปัญญา แปลว่า ปัญญายิ่ง แปลตามมคธภาษาประกอบตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่าพุทธศาสนิกชนทั้งหลายถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว ในอันถือมั่นซึ่งศีลยิ่ง ในอันถือมั่นซึ่งจิตยิ่ง ในอันถือมั่นซึ่งปัญญายิ่ง ดังนี้ เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพํ อย่างนี้แม้จริงอันเราทั้งหลายควรศึกษา แปลเนื้อความเป็นสยามภาษาได้ความดังนี้ ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายในเรื่องอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา สืบเป็นลำดับไป

    อธิศีล แปลว่า ศีลยิ่ง ศีลยิ่งนั้นเป็นไฉน ศีลตามปกติธรรมดาที่ได้แสดงมาแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูง ศีลยิ่งนะยิ่งกว่าเบื้องต่ำเบื้องสูงไปกว่านั้นหรือ ศีลยิ่งนะต้องเห็นศีล ไม่ใช่รู้จักศีล เห็นศีลทีเดียว ศีลโดยปกติสำรวมกาย วาจา เรียบร้อยดีไม่มีโทษ งดเว้นเบญจวิรัติ 5 ประการ ขาดจากจิตสันดาน บริสุทธิ์ดุจพระอริยสาวกในธรรมวินัยของพระศาสดา นี่ศีลตามปกติธรรมดา ไม่ใช่อธิศีล นี่ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ ศีลโดยปริยายเบื้องสูง เหมือนภิกษุสามเณรกำลังศึกษากันเช่นนี้ ปาฏิโมกข์สังวรศีล สำรวมตามพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาต อาจารโคจรสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยมารยาท เครื่องมาประพฤติโดยเอื้อเฟื้อและโคจร อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทบัญญัติน้อยใหญ่ทั้งหลาย นี่ศีลโดยปริยายเบื้องสูง ไม่ใช่อธิศีล

    คือบริสุทธิ์ตลอดจนกระทั่งถึงเจตนา ความนึกคิดอ่านก็เป็นศีลจริงๆ ตรงตามวาระพระบาลีว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว สีลํ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาความคิดอ่านทางใจนั่นแหละเป็นศีล รับสั่งดังนี้ นี่ก็เป็น “เจตนาศีล” ความคิดอ่านทางใจ ศีลมีแต่กายกับวาจา เจตนาก็เป็นศีล ความนึกคิดอ่านก็เป็นศีลอีก เป็นศีลด้วย แต่ว่ายังไม่ถึงอธิศีล อธิศีล ศีลที่เห็น ไม่ใช่ศีลที่รู้ เจตนาความคิดอ่านปกติสละสลวยเรียบร้อย ก็มาจากศีล ศีลเป็นดวงใสอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ดวงศีลอยู่ภายในนั้น ใสบริสุทธิ์เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ อยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ศีลดวงนั่นแหละ ถ้าผู้ปฏิบัติไปถึงไปเห็น เป็นปรากฏขึ้นในศูนย์กลางกายมนุษย์ เห็นเป็นปรากฏขึ้น ศีลดวงนั้นแหละได้ชื่อว่าเป็นอธิศีล เป็นอธิศีลแท้ๆ

    เมื่อรู้จักอธิศีลดังนี้ละก็ ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงนั้นเป็นปกติศีล ในศีลที่เห็นดวงใสในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ศีลดวงนั้นเขาเรียกว่าอธิศีล อธิศีลแปลว่าศีลยิ่ง ศีลที่ผู้ปฏิบัติและเห็น แล้วก็ใจของผู้ปฏิบัติก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่นบ้าง ไม่ล่อกแล่ก เหลวไหล เหลวไหลเลอะเลือน ใจเป็นหนึ่งลงไปกลางดวงศีลนั่น นั้นเป็นอธิศีลแท้ๆ ศีลนั่นจะบริสุทธิ์ ก็เห็นว่าบริสุทธิ์ ศีลไม่บริสุทธิ์ก็เห็นว่าไม่บริสุทธิ์ จะ สะอาดเพียงแค่ไหนก็เห็น ไม่สะอาดแค่ไหนก็เห็น ขุ่นมัวเศร้าหมองก็เห็นทั้งนั้น ศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย อขณฺฑานิ อจฺฉิทฺทานิ อสพลานิ อกมฺมาสานิ เมื่อรักษาศีล ใจหยุดอยู่ในศีลนั้น ศีลไม่เป็นไปเพื่อกำลังต้องการ รักษาศีลจะให้รวยเท่านั้นเท่านี้ มั่งมีเท่าโน้น มั่งมีเท่านี้ ศีลเป็นไปด้วยกำลังเช่นนี้ไม่มี ไม่ประสงค์เป็นอธิศีล ส่วนอธิศีลนั้น เมื่อใจหยุดอยู่กลางดวงศีล ก็หยุดทีเดียว มุ่งแต่สมาธิต่อไป ไม่ได้มุ่งสิ่งอื่น “อธิศีล” ที่ปรากฏนั่นแหละผิดปกติธรรมดา

    เมื่อเห็นดวงศีลขนาดนั้นแล้ว ผู้มีปัญญาก็ไม่ได้ถอยออก ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่น หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าเท่านั้น ก็จะเข้าถึงดวงสมาธิ อยู่กลางดวงศีลนั่น เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน ดวงขนาดนั้น นั่นสมาธิ ที่เห็นดวงนั้นแหละ ดวงอธิจิตละ จิตยิ่ง สมาธิยิ่งละ นั่นเป็นสมาธิยิ่ง ยิ่งกว่าที่ทำมาแล้ว เป็นมาแล้ว เห็นมาแล้ว นั้นเรียกว่าจิตยิ่ง

    จิตก็จะหยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิอีก เมื่อจิตหยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ นิ่งพอถูกส่วนเข้า พอจิตที่หยุดนิ่งก็กลางของกลาง กลางของกลางๆๆๆ หนักเข้า พอถูกส่วนเข้า ก็จะเห็น ดวงปัญญา อีกดวงหนึ่งอยู่กลางดวงสมาธินั่น นั่นแหละปัญญาดวงนั้น เขาเรียกว่า “อธิปัญญา” อธิปัญญาแท้ๆ อธิปัญญาในตอนต้น ไม่ใช่ตอนปลาย มีตอนปลายอีก

    อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ทั้ง 3 ดวงนี้ นี่แหละเป็นธรรมถ่องแท้ในพุทธศาสนา เมื่อผู้ปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ต้องเข้าถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา จึงจะได้ชื่อว่าเข้าถึงอธิศีล เข้าถึงอธิจิต เข้าถึงอธิปัญญา ถ้าจะดำเนินต่อไปตามร่องรอยของพระพุทธศาสนา กลางดวงปัญญามีวิมุตติ กลางดวงอธิปัญญานั่นมีวิมุตติ วิมุตติอย่างไร วิมุตติหลุดทีเดียว หลุดจาก ศีล สมาธิ ปัญญา ลงไปทีเดียว วิมุตติ แปลว่า หลุดพ้น กลางดวงวิมุตตินั้นจะเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะเป็นธรรมที่พึงจะรู้เห็นตามความเป็นจริง หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นก็จะเห็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นกายมนุษย์ที่นอนฝันออกไป เห็นปรากฏทีเดียวว่า อ้อกายนี้เองที่เรานอนฝันออกไป เห็นปรากฏนี้เอง ไม่ฝันแล้วก็ไม่เห็น ฝันจึงเห็น เห็นปรากฏกายที่นอนฝันออกไป นี่อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ที่หยาบนี้

    ยังมีอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ที่ละเอียดนั่น ใจกายมนุษย์หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีลอีก พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิตนั้นอีก พอถูกส่วนเข้าก็เห็นอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญานั่นอีก พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เห็นกายทิพย์ นี่เข้าถึง อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ละเอียด

    ใจกายทิพย์ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ พอถูกส่วนเข้า เห็นอะไร เห็นอธิศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เห็นกายทิพย์ละเอียด ใจกายทิพย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายรูปพรหม

    ใจกายรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายรูปพรหมละเอียด ใจกายรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายอรูปพรหม

    ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายอรูปพรหมละเอียด ใจอรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่ง อยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดอีก พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมา เกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กเท่าไรตามส่วนของกายธรรมนั้น ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า งดงามนัก นั่นแหละกายธรรม นั่นแหละเรียกว่า พุทฺโธ หรือเรียกว่าพุทธรัตนะ กายธรรมนั่นเอง เรียกว่าพุทธรัตนะ นี่ตรงนี้เป็นปัญหาอยู่ตรงนี้ เมื่อเราแสดงศีลของสามัญ สัตว์ที่ยังไม่เห็นหรือยังไม่รู้ เป็นสามัญศีล ไม่ใช่อธิศีล ศีลผู้ทำมี ทำเป็น ทำเห็น เป็นอธิศีล

    ตั้งแต่กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด ถึงกายธรรม เมื่อเข้าถึงกายธรรมแล้ว ดวงศีลในกายธรรมยังมีอีก

    ใจกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอหยุดถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีลอีก ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายใหญ่กว้างแค่ไหน หน้าตักกว้างแค่ไหน ดวง ธรรมที่เป็นธรรมกาย กลมรอบตัว เหมือนยังกับลูกบิลเลียด กลมรอบตัว ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ยิ่งกว่านั้น ใสกว่านั้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย ดวงศีลที่เห็นขึ้นในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นเท่ากัน ดวงธรรมนั่นเท่าไร ดวงศีลนั่นก็เท่านั้น ดวง สมาธิก็เท่านั้น ดวงปัญญาก็เท่านั้น ดวงเท่ากันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นดวงนี้เป็นปัญหาสำคัญนัก ศีลนี้ เมื่อเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนี่ เมื่อเข้าถึงศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนี่แล้ว ก็ควรจะขยับชั้นขึ้นไปใหม่

    ศีลที่แสดงมาแล้วนั้นเป็นปกติศีลไป หรือศีลขั้นต้น ยังไม่ถึงศีลเห็น นี่เป็นธรรมดา เป็นปกติศีลไป เมื่อเข้าถึงธรรมกาย พอไปเห็นดวงศีลในธรรมกายเข้า ใหญ่ขนาดวัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว ศีลขนาดนั้น ศีลที่ในกาย 8 กาย กายมนุษย์ตลอดจนกระทั่งถึงกายอรูปพรหมละเอียด 8 กายนั้น ควรเป็นปกติศีลเสีย ต้องขยับขึ้นดังนี้ ดวงศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็เป็นอธิศีลไป สูงขึ้นขนาดนี้ นี่ได้แก่ คนปฏิบัติเป็นสูงขึ้นไปต้องจัดดังนี้ เป็นอธิศีล เพราะศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น ยิ่งกว่าดวงศีลในกายทั้ง 8 กายที่แล้วมา

    เข้าถึงกายธรรมแล้ว กายธรรมไม่ใช่กายในภพ เป็นกายนอกภพ

    กาย 8 กาย กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด เป็นกายในภพ กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด พวกนี้กายอยู่ในภพ กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด นี่เป็นกายอยู่ในรูปภพ กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด อยู่ในอรูปภพ กายเหล่านี้อยู่ในภพ ศีลก็ควรจะเป็น ปกติศีลไป เมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว ศีลในกายทั้ง 8 นั้น ก็เป็นปกติไป ดวงศีลที่ใส วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย นั่นเป็นอธิศีลแท้ๆ ไม่เคลื่อนละ คราวนี้ถูกแน่ละ

    ใจของกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่น ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงสมาธิ นั่นอธิจิตแท้ๆ เข้าถึงดวงอธิศีล ดวงอธิจิต ได้ดังนี้แล้ว กลางดวงอธิจิตนั่นก็เป็นดวงอธิปัญญาเท่ากัน ดวงเท่าๆ กัน หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายธรรมละเอียด หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของกายธรรมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีลอีก หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิตอีก ดวงเท่าๆ กัน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัวเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิตอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญาอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายธรรมพระโสดา หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุ ดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของกายพระโสดาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา หยุดนิ่งถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีลอีก วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิตอีกเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญาเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระโสดาละเอียด หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอก บัวตูม ใสหนักขึ้นไป ใจของพระโสดาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของกายพระสกทาคา ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป ใจของพระสกทาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระอนาคา หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของพระอนาคาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายพระอนาคาละเอียด หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป ใจของพระอนาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของพระอรหัตก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล ตรงนี้แหละเป็นปัญหาอยู่ที่เรียกว่าเป็นอธิศีล พอถึงพระอรหัตแล้ว อีกชั้นหนึ่ง หมดกิเลสเสียแล้ว ถ้าหากว่านี่เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ดวงศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต ถ้าหากว่าเป็นอธิศีลจะซ้ำรอยกันไป ควรจะเป็นวิมุตติศีล เพราะท่านเป็นวิมุตติทั้งเรื่องเสียแล้ว พระอรหัตควรเป็นวิมุตติศีล แล้วดวงนั้นวัดผ่าศูนย์กลาง 20 วา กลมรอบตัว ศีลดวงนั้นเป็นวิมุตติศีล เป็นวิมุตติเสียแล้ว ท่านหยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติศีลนั้น ถูกส่วนเข้า ก็เข้าวิมุตติจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติจิต ก็เข้าถึงวิมุตติปัญญา หยุดนิ่งอยู่ กลางดวงวิมุตติปัญญานั่น เข้าถึงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นกายพระอรหัตละเอียด หน้าตัก ขยายส่วนหน้าขึ้นไป 30 วา ทีเดียว กลมรอบตัวเท่าหน้าตักธรรมกายละเอียด ละเอียดหนักขึ้นไปเท่าไร ก็โตหนักขึ้นไป ละเอียดหนักขึ้นไปเท่าไรก็โตหนักขึ้นไป นับอสงไขยไม่ถ้วน ละเอียดขึ้นไปดังนี้ แต่ว่าต้องเดินไปแนวนี้ ผิดแนวนี้แล้วก็ไม่ถูกอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ถูกแนวนี้ละก็ ถูกอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเป็นลำดับไป ถูกหลักนี้จึงจะไปนิพพานได้ เมื่อถึงพระอรหัตก็ไปนิพพานทีเดียว ทางอื่นไม่มีทางไป มีทางไปนิพพานเท่านั้น เมื่อถึงพระอรหัตแล้ว พระพุทธเจ้าท่านประพฤติปฏิบัติถึงพระอรหัตแล้ว เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าในโลกแล้ว ท่านก็ส่องดูธัมมอุปนิสัยสัตว์ ว่านี่เราปฏิบัติมาถึงแค่นี้แล้วเราจะเคารพอะไร เราไม่เห็นมีใครควรเคารพใน 3 ภพ กามภพ เป็นกายมนุษย์ กายสัตว์นรก กายสัตว์เดรัจฉาน กายเปรต กายอสุรกาย หรือกายมนุษย์ก็ดีในภพมนุษย์ กายมนุษย์ กายทิพย์ในจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตวสวัตตี ในกามภพนี้ หย่อนกว่าเราทั้งนั้น ไม่ถึงเรา ท่านมาขยับขึ้นมาถึงรูปพรหม 16 ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรมหา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสรา ฯลฯ 11 ชั้นนี้ กายต่ำกว่าเราทั้งนั้น อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา นี่เป็นที่อยู่ของกายพรหม ต่ำกว่าเราทั้งนั้น ที่ไม่ได้มรรคผล จนไปถึงกายอรูปพรหม 4 ชั้น อากาสานัญจายตนภพ วิญญานัญจายตนภพ อากิญจัญญายตนภพ เนวสัญญานาสัญญายตนภพ ก็ไม่ลดลงไปได้ เราสูงกว่าทั้งนั้น เราจะเคารพใคร สักการะใคร นับถือใคร จึงจะสมควร ท่านก็สอดธรรมกายพระอรหัตถอยออกไปนิพพาน มีเท่าไรๆๆ ก็เข้ากลางหนัก เข้าไป ถามพระพุทธเจ้าที่ไปนิพพานแล้วเก่าๆ มากน้อยมีเท่าไรรู้เรื่องหมด ว่าพระพุทธเจ้าเก่าๆ นับถือใคร บูชาใคร เคารพใคร มีตำรับตำรายืนยันเป็นเนติแบบแผนทีเดียว ท่านวางตำรับ ตำราไว้ว่า เย จ อตีตา สมฺพุทฺธา, เย จ พุทฺธา อนาคตา, โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ, พหุนฺนํ โสกนาสโน, สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน, วิหรึสุ วิหาติ จ อถาปิ วิหริสฺสนติ, เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา, ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน, มหตฺตมภิกงฺขตา, สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ, สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ นี้เป็นตำรับ ตำรา พระพุทธเจ้าท่านดำริเมื่อได้ตรัสรู้แล้วว่า พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดในอดีตกาลที่ล่วงไปแล้วทั้งหลาย พระพุทธเจ้าเหล่าใดที่ปรากฏในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่จะมาในอนาคตกาลภายภาคข้างหน้า พระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดผู้ซึ่งยังความโศกของประชาชนเป็นอันมากให้วินาศไป ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ สพฺเพ สทฺธมฺครุโน ล้วนเคารพสัทธรรมทั้งสิ้น เคารพสัทธรรมทีเดียว วิหรึสุ วิหาติ จ อถาปิ วิหริสฺสนฺติ พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด มีอยู่แล้วด้วย มีอยู่ในบัดนี้ด้วย ทั้งจะมีต่อไปในภายภาคเบื้องหน้าด้วย เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา ที่เคารพสัทธรรมเป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เคารพสัทธรรมอย่างเดียว ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน เพราะเหตุนั้นบุคคลผู้รักตน สงสารตน ยินดีต่อตน จำนงความเป็นใหญ่ ควรเคารพ สัทธรรม ควรทำการเคารพสัทธรรม นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ปรากฏอย่างนี้

    เคารพสัทธรรม เคารพอย่างไร เคารพไม่ถูก ไม่ใช่เคารพง่ายๆ ที่ได้เข้ากายพระอรหัต นี่มาอย่างไรล่ะ ใจก็ต้องหยุดนะซี เริ่มต้นก็ต้องหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล หยุดอีกนั่นแหละ พอเข้าถึงดวงสมาธิ ก็หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงปัญญา พอเข้าถึงดวงปัญญา ก็หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก เข้าถึงดวงวิมุตติ ก็หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติอีก เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ก็เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดอีก หยุดที่ใจหยุดนั่นแหละ ถูกละ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดอีก เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา หยุดอันเดียว เข้าดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวแหละ หยุดในหยุดเรื่อยไป ก็เข้าถึง กายทิพย์

    ใจของกายทิพย์ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์อีก หยุดนั่นแหละสำคัญ หยุดนั่นแหละเป็นตัวสำเร็จ หยุดอันเดียวเท่านั้นแหละ ทางพุทธศาสนาเป็นเป้าหมายใจดำ หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ หยุดอันเดียวถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวเท่านั้น ก็เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด

    ใจของกายทิพย์ละเอียดก็หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายรูปพรหม ใจกายรูปพรหมก็หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม หยุดอันเดียว เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางศีล เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวง วิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด

    พอเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ใจของรูปพรหมละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวแหละตัวสำเร็จ นี่แหละหัวใจเฉพาะพระพุทธศาสนาละ อย่าไปเข้าใจอื่นนะ เข้าใจอื่นเหลวละ ก็เข้าถึงกายอรูปพรหม ใจของกายอรูปพรหมก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีลอีก เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญาอีก เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ก็เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด ใจของกายอรูปพรหมละเอียด ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดอีก ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุด อยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ก็เข้าถึงกายธรรม หยุดอันเดียว อย่าเลอะ ทางอื่นไม่ได้ พอหยุดเข้าได้ละก้อ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว

    ใจของกายธรรมก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายธรรมละเอียด

    ใจของกายธรรมละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด หยุดอันเดียว พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายพระโสดา ใจกายพระโสดาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายพระโสดา พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายพระโสดาละเอียด

    ใจของกายพระโสดาละเอียด ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ละเอียด พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระสกทาคา นี้ถ้าไม่หยุดแล้วเข้าไม่ถึงแท้ๆ ใจของกายพระสกทาคาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระสกทาคาละเอียด

    ใจของกายพระสกทาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวนั่นแหละ ก็เข้าถึงกายพระอนาคา ใจของกายพระอนาคาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระอนาคาละเอียด

    ใจของกายพระอนาคาละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึง กายพระอรหัต ใจของกายพระอรหัตก็หยุดไม่ถอยเลย ไม่เขยื้อนทีเดียว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต ไม่เขยื้อนทีเดียว เข้าถึงดวงวิมุตติศีล ใจของพระอรหัตก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติศีล ก็เข้าถึงดวงวิมุตติสมาธิ ใจของพระอรหัตก็หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติสมาธิ เข้าถึงดวงวิมุตติปัญญา หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ นั่นก็เข้าถึงกายพระอรหัตละเอียด แบบเดียวกันอย่างนี้

    เมื่อรู้จักใจกลางพระศาสนาดังนี้ละก็ ปล้ำใจให้หยุดเท่านั้น ถูกทางไปพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของพระพุทธศาสนา แต่ว่าต้องอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา ต้องอาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต้องอาศัยวิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา ถ้าไม่อาศัยทางนี้เดินละก้อ ไปไม่ได้ ถ้าไม่อาศัยศีล สมาธิ ปัญญา, อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไม่อาศัยวิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา แล้วไปไม่ได้ ไปไม่รอดทีเดียว เหตุนี้ทางพระพุทธศาสนาจึงได้วางตำราไว้ว่า วินัยปิฎกคือศีลนั่นเอง ย่อลงใส่ศีลนั่นเอง สุตตันตปิฎก ย่อลง ก็จิต ที่เรียกว่าสมาธินั่นเอง ปรมัตถปิฎก ย่อลงก็ปัญญานั่นเอง ตรงกับอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา, วิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา อันเดียวกันนั่นเอง นี่เป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนา เป็นอย่างนี้ เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้ ต้องทำให้ถูกอย่างนี้ เมื่อทำให้ถูกอย่างนี้ก็ถูกใจดำทาง พระพุทธศาสนา ถ้าไม่เดินทางนี้ก็ไม่ได้เรื่อง เอาหลักไม่ได้ เมื่อทำถูกต้องอันนี้ละก็ พบพระพุทธศาสนาก็ได้เรื่อง เอาตามหลักได้ ก็ถูกชายจีวรของพระพุทธเจ้าอยู่ ถ้าว่าทำไม่ถูกดังนี้ เหมือนอยู่คนละจักรวาล ถ้าว่าถูกหลักดังนี้แล้วดังนี้แหละ เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพํ จริงอยู่อย่างนี้แหละ ท่านทั้งหลายควรศึกษา ไม่ศึกษาอย่างนี้ก็เอาตัวไม่รอด ที่ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถา เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    12388078_440750016122822_409981350_n-jpg-jpg-jpg.jpg
    ถามว่า ในปัจจุบันนี้ ถ้าว่ากันตามหลักการปฏิบัติแบบมโนมยิทธิ มีสายปฏิบัติไหนที่ใกล้เคียงที่สุดต้องบอกว่าแบบธรรมกายใกล้เคียงที่สุด

    ธรรมกายนั้นจริงๆแล้วเป็นต้นแบบของมโนมยิทธิ เนื่องจากว่า ธรรมกายนั้นมีพื้นฐานมาจากกสิณ โดยเฉพาะอาโลกกสิณ คือการกำหนดลูกแก้ว ส่วนมโนมยิทธินั้น เป็นการใช้ผลของกสิณ คิดให้ดี ๆ นะ อย่างหนึ่งเริ่มตั้งแต่สร้างเหตุ ส่วนอีกอย่างหนึ่งใช้ผลเลย

    ถ้าจะเปรียบไปแล้ว ก็เหมือนกับเราสร้างบ้าน ธรรมกายจะเริ่มตั้งแต่ถมพื้นที่ ออกแบบ วางแปลน เทฐานรากขึ้นมา จนกระทั่งสร้างเป็นบ้านเสร็จ เรียบร้อย ส่วนมโนมยิทธินั้น เป็นลูกคนรวย ควักเงินในกระเป๋าไปซื้อบ้านสำเร็จรูป ก็มีที่อยู่เหมือนกันใช่ไหม ? แต่ถ้าเอาพื้นฐานแล้วจะสู้ธรรมกายไม่ได้ เพราะว่าธรรมกายเริ่มจากนับหนึ่งมาเลย จะมีความมั่นใจกว่ามาก เพราะว่าเริ่มต้นมาจากพื้นฐาน

    แต่ถ้าหากเราซักซ้อมจนคล่องตัวท้ายสุดก็จะเหมือนกัน เพราะว่ามาจากหลักเดียวกัน คือพื้นฐานของกสิณ เพียงแต่ว่ามโนมยิทธินี้ในอดีตเราทำได้ ปัจจุบันไม่ได้ทำ ก็แค่มาย้อนทวนของเก่า มีเงินเต็มกระเป๋าแต่เปิดใช้ไม่เป็น ครูจะมีหน้าที่บอกว่า ต้องเปิดกระเป๋าอย่างไรเท่านั้น แต่ถ้าธรรมกายนี่เราต้องทำงานอาบเหงื่อต่างน้ำ หาเงินมาเองเลย เพราะฉะนั้น.....พื้นฐานจึงแน่นกว่ามาก....

    ในพระไตรปิฎกมีตัวอย่างที่ชัดที่สุดก็คือ....พระจูฬปันถกเถระ....พระบาลีบอกว่า มโนมยิทธิของพระจูฬปันถกเถระนี้ เป็นเอตทัคคะ คือเลิศที่สุดในหมู่สาวกทั้งปวงของพระพุทธเจ้า สามารถถอดกายในออกมาอยู่ตรงหน้าของตัวเองได้เหมือนอย่างกับถอดไส้หญ้าปล้องหรือว่าชักดาบออกจากฝัก กลายเป็นอีกองค์หนึ่งอยู่ข้างหน้าเลย และท่านสามารถกำหนดได้มากถึง ๑,๐๐๐ องค์ แล้วทั้ง ๑,๐๐๐ องค์นั้นสามารถทำงานคนละอย่างกันด้วย

    จากหนังสือกระโถนข้างธรรมาสน์ฉบับพิเศษ หน้า ๖๒/๖๓ พระอาจารย์เล็ก วัดท่าขนุน กาญจนบุรี

    https://www.facebook.com/photo.php?...042.1073741826.100005634826993&type=3&theater
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ส่วนในกายานุปัสสนานี้ ภิกษุผู้บรรลุจตุตถฌานแล้วอย่างนั้น มีความประสงค์ที่จะเจริญกรรมฐาน ด้วยอำนาจการกำหนดและการเปลี่ยนแปลง แล้วบรรลุความหมดจด กระทำฌานนั้นนั่นแล ให้ถึงความชำนิชำนาญ (วสี) ด้วยอาการ ๕ อย่าง กล่าวคือ อาวัชชนะ การรำพึง สมาปัชชนะ การเข้า อธิฏฐานะ การตั้งใจ วุฏฐานะ การออก และ ปัจจเวกขณะ การพิจารณา แล้ว กำหนด รูปและอรูปว่า รูป มีอรูปเป็นหัวหน้า หรืออรูป มีรูปเป็นหัวหน้าแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา.

    ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร ?
    แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป.

    อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้นครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ในบรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุและทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป.

    อีกอย่างหนึ่ง เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่งลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลมย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้นของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมเข้าออก เพราะอาศัยกายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล. ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออกและกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป.

    ครั้น เธอกำหนดนามรูปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ย่อมแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูปนั้น. และเธอเมื่อแสวงหาอยู่ ก็ได้เห็นปัจจัยมีอวิชชาและตัณหาเป็นต้นนั้นแล้ว ย่อมข้ามความสงสัยปรารภความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลทั้ง ๓ เสียได้.

    เธอนั้น ข้ามความสงสัยได้แล้ว ยกไตรลักษณ์ขึ้นด้วยอำนาจพิจารณากลาป ละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง มีโอภาสเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในส่วนเบื้องต้น ด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ) กำหนดปฏิปทาญาณที่พ้นจากอุปกิเลสว่า เป็นมรรค ละความเกิดเสีย ถึงภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) เบื่อหน่ายคลายกำหนัดพ้นไปในสรรพสังขาร ซึ่งปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ด้วยพิจารณาเห็นความดับติดต่อกันไป ได้บรรลุอริยมรรคทั้ง ๔ ตามลำดับ แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตผล ถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง เป็นอัครทักขิไณยแห่งโลก พร้อมทั้ง
    เทวดา. ก็การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ ของภิกษุผู้ประกอบในอานาปานกรรมฐานนั้น ตั้งต้นแต่การนับ จนถึงมรรคผลเป็นที่สุด จบบริบูรณ์เพียงเท่านี้แล.
    ................
    สมันตปาสาทิกา มหาวิภังคอรรถกถา
    วิ.มหา.อ. (ไทย) ๒/๓๗๐-๓๗๑ มหามกุฏ ฯ

    u4znmp7wkas-_vzngqbosw6u3lqfto7_ahph5x2q-_nc_ohc-q_pol7fbxcsax-gzwb3-_nc_ht-scontent-fcnx3-1-jpg.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ที่ศูนย์กลางกาย ตรงระดับสะดือของสัตว์โลกทั้งหลาย คือ มนุษย์ เทวดา พรหม อรูปพรหม นั้น เป็นที่ตั้งของ

    • ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย ซึ่งประกอบด้วย ธาตุละเอียดทั้ง 6
    • ใจ (ธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ)
    • ธรรมชาติ 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบุญกุศล (กุสลาธัมมา) ฝ่ายบาปอกุศล (อกุสลาธัมมา) และฝ่ายกลางๆ (อัพยากตาธัมมา)
    • ภพซ้อนภพ และยังเป็น
    • ที่ไปเกิดมาเกิดของสัตว์ ฯลฯ
    ธรรมชาติเหล่านี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่เองตามธรรมดา เมื่อจิตตั้งมั่น เป็นสมาธิ ย่อมสามารถรู้เห็นสิ่งเหล่านี้ได้ ดังพุทธดำรัสที่ว่า “เมื่อจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง - สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ”

    center_small.gif
    ลักษณะของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
    (ดวงปฐมมรรค)

    1. ศูนย์ด้านหน้า
    2. ศูนย์ด้านขวา
    3. ศูนย์ด้านหลัง
    4. ศูนย์ด้านซ้าย
    5. ศูนย์กลาง
    6. ศูนย์กลางของอากาศธาตุ ธาตุน้ำ
    ธาตุดิน
    ธาตุไฟ
    ธาตุลม
    อากาศธาตุ
    วิญญาณธาตุ
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย
    สัตว์โลก ไม่ว่าจะเป็น มนุษย์ ทิพย์ (เทวดา) พรหม อรูปพรหม นั้น มีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอยู่ มีลักษณะขาวใสบริสุทธิ์ ตามระดับความบริสุทธิ์ของจิตใจ

    ขนาดของดวงธรรม
    เนื่องจากดวงธรรมของสัตว์โลกในระดับโลกิยะ ยังถูกอวิชชาห่อหุ้มอยู่ ดวงธรรมจึงยังไม่ขยายโตเต็มส่วน เต็มที่ ซึ่งตรงกันข้ามกับธรรมกาย ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายของธรรมกายนั้นขยายโตเต็มส่วน ปรากฏเห็นอยู่โดยรอบองค์ธรรมกาย เหมือนองค์ธรรมกายประทับนั่งอยู่ในดวงแก้วดวงใหญ่

    ธาตุละเอียดทั้ง 6
    ธาตุละเอียดทั้ง 6 นั้นก็ตั้งอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย

    • ธาตุละเอียดทั้ง 6 ได้แก่ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุลม อากาศธาตุ และ วิญญาณธาตุ
      ธาตุน้ำอยู่ด้านหน้า ธาตุดินอยู่ด้านขวา ธาตุไฟอยู่ด้านหลัง ธาตุลมอยู่ด้านซ้าย อากาศธาตุอยู่ตรงกลาง วิญญาณธาตุอยู่ตรงศูนย์กลางอากาศอีกทีหนึ่ง
    • ที่ศูนย์กลางของวิญญาณธาตุนั้น ก็ยังมีธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 และธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุคิด และ ธาตุรู้ ก็ซ้อนอยู่ตรงกลางของกลางซึ่งกันและกันเป็นชั้นๆ กันเข้าไปข้างในอีก
    • และขยายส่วนหยาบออกมาเป็น ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และ ดวงรู้ อันเป็นธรรมชาติรวม (4 อย่าง) ของ “ใจ”
      ธรรมชาติ 4 อย่างคือ เห็น จำ คิด รู้ นี้แหละที่ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เวทนา (ความรู้สึกสุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์) สัญญา (ความจำ) สังขาร (ความคิดปรุงแต่ง) และ วิญญาณ (ความรู้อารมณ์)
    ก็หมายความว่า กายในกาย ณ ภายในละเอียดเข้าไปจนสุดกายหยาบกายละเอียดนั้น ต่างก็เป็นกายที่มีชีวิตจิตใจ อีกด้วยนั่นเอง
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ติดอาลัยก็ไปนิพพานไม่ได้

    "อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ"
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะคือนิพพานมีอยู่
    ไม่ใช่อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ใช่อายตนะภายนอก ภายใน เป็นอายตนะสำหรับดึงดูด ดึงดูดเหมือนอายตนะของโลกเหมือนกัน ไม่ใช่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะเครื่องดึงดูดดังกล่าวแล้ว เมื่อรู้จักอายตนะเหล่านี้ละก็จะฟังเรื่องนิพพานนี่ออกได้ต่อไป

    ต่อนี้ก็จะแสดงเรื่องนิพพานว่า บัณฑิตละธรรมดำเสีย ยังธรรมขาวให้เจริญขึ้น เมื่อธรรมขาวเจริญขึ้นแล้ว อาศัยนิพพาน ไม่มีอาลัย จากอาลัย หรือจากอาลัย อาศัยนิพพาน

    อาลัยนะคือเป็นอย่างไรละ จากอาลัยนะ อาลัยนะซิมันให้ตั้งบ้านตั้งเรือนเป็นกลุ่มเป็นก้อนอยู่นี่ อาลัยนะซิถอนมันไม่ออกหนา อาลัยรูป อาลัยเสียง อาลัยกลิ่น อาลัยรส อาลัยสัมผัส อาลัยพร้อมกันไปหมดทีเดียว อาลัยถอนไม่ออก อาลัยนั้นถอนไม่ออก ท่านถึงได้วางตำรับตำราไว้ว่า

    "อาลยสมุคฺฆาโต" ให้ถอนอาลัยออกเสีย ถ้าถอนอาลัยไม่ได้ ก็ไปนิพพานไม่ได้ ก็เป็น วฏฺฏขานุ เป็นหลักตออยู่ในโลกเท่านั้น ไม่ไปไหน ติดอยู่ในโลกนี้ ไปไม่ได้เพราะติดอาลัย อาลัยนั้นแหละมันทำให้ติด เพราะรู้ตัวของตัวอยู่ทุกคนนี่ ติดอยู่ด้วยอะไร อาลัยนี่เอง

    ทำไมเราจะถอนอาลัยอันนี้ได้ละ อาลัยเป็นอย่างไร นกกะเรียนว่ายน้ำในเปือกตม มันนิยมนักในเปือกตมนั่นนะ นกกะเรียนมันไม่ขึ้นมาจากเปือกตมนะ มันเพลิดเพลินของมันทีเดียว กว่ามันจะขึ้น มันล่องลอยไปทางซ้ายทางขวาทางหน้าทางหลัง วกไปวกมาๆ เพลินอยู่ในเปือกตมนั่น ชุ่มชื่นของมัน ชุ่มชื่นสบายอกสบายใจของมัน รื่นเริงบันเทิงใจของมัน มันไม่อยากจะขึ้นเลยทีเดียว มันพิเร้าพิรึงอยู่กับเปือกตมของมันนั่นแหละ

    นี้แหละฉันใด สัตว์โลกที่ติดอาลัย ก็เหมือนอย่างกับนกกะเรียนติดเปือกตมอย่างนี้แหละ ถอนไม่ได้ ถอนก็ติดโน่นติดนี่ ติดทางนั้นติดทางนี้ ก่อนเราเกิดเขาก็ติดกันอยู่อย่างนี้แหละ

    เมื่อเราเกิดมาก็ติดอยู่อย่างนี้แหละ ติดอยู่เหมือนกันทั้งนั้น ก็เมื่อนี้เป็นของเราเมื่อไรเล่า ตัวก็ไม่ใช่ของเรา อ้ายลูกก็ไม่ใช่ของเรา อ้ายผัวก็ไม่ใช่ของเรา เมียก็ไม่ใช่ของเราเหมือนกัน อ้ายหลานว่านเครือก็ไม่ใช่ของเรา เงินทองข้าวของไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ทั้งนั้น เขาสำหรับภพ 3 ของเขา

    เราก็มาในภพ 3 ก็ใช้ของภพ 3 ไป ร่างกายมนุษย์ก็ใช้ของภพ 3 เขาไปเกิดในภพทิพย์ก็ใช้ในภพทิพย์เขา เกิดในจาตุมหาราช ดาวดึงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตตี ดีวิเศษขึ้นไปกว่านี้อีก ก็ถึงกระนั้น ก็ติดอยู่ไม่ได้

    เมื่อรู้จักความจริงเช่นนี้ อย่าได้กริ่งใจอะไร อย่าได้สงสัยอะไร ถ้ารู้จักชัดเสียเช่นนี้ แล้วก็มีธรรมกายแล้วจะได้เห็นปรากฏหมดทุกสิ่งทุกประการ เห็นแล้วและได้รู้แล้ว ก็จะติดทำไมเล่า เมื่อติดอาลัยหรือ ก็ปล่อยอาลัยเสีย

    ฉะนั้น ท่านจึงได้วางตำรับตำราไว้ว่า อาศัยนิพพาน ไม่มีอาลัย จากอาลัย อาลัยอันนั้นไม่เกี่ยวกับนิพพาน ต้องหลุดจากอาลัยอันนั้น จึงจะไปนิพพานได้ บอกชัดอย่างนี้นะ.

    ________________
    เทศนาธรรมจาก

    พระมงคลเทพมุนี
    หลวงปู่สด จนฺทสโร
    ________________
    ที่มา
    บางตอนจากเทศนาธรรมเรื่อง
    "ติลักขณาทิคาถา"
    7 สิงหาคม 2497
    ______________
    เพจอมตวัชรวจีหลวงป๋า
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    a.jpg

    สำหรับผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ทำๆไป มันหายไป หรือบางทีไม่มั่นคงเห็นๆหายๆ
    ข้อนี้ก็เพราะว่า ในชีวิตประจำวันของเรา เราปล่อยใจให้ เผลอสติให้
    ไปยึดมั่นถือมั่น ในสรรพสิ่งทางโลก ด้วย ตัณหา และทิฐิมากไป เผลอสติมากไป
    ด้วยความกิเลสประเภทโลภะ โทสะโมหะ ของเรา เมื่อมันเข้าไปยึดมั่น
    โดยที่เราไม่เข้าไปรวมใจไปหยุดบ่อยๆเนื่องๆแล้วนั้นแหละ
    ไอ้คุณธรรมหรือธาตุธรรมของเรา มันก็ถูกปิดบังโดยฝ่ายบาปอกุศล
    ซึ่งเขาสอดละเอียดมา เป็นดึงดูด ออกจากศูนย์ ย่อยแยกธาตุธรรมให้กระจายออก รวมกันไม่ติด

    อาตมาจะพูดเฉพาะนิดเดียว ในวิชชา แต่ว่า นั้น เป็นอวิชชาของภาคดำ
    วิชชาของภาคขาว นั้น จะต้องนำเข้ามาสู่ศูนย์กลาง แล้ว ก็รวมธาตุธรรมเห็นจำคิดรู้ เข้าไปถึงสุดละเอียด
    เพื่อเข้าถึงธรรมขาว และมีสภาวะที่เป็นการกำจัดธรรมดำ นี้มันจะต้องเป็นอย่างนั้น
    เพราะฉะนั้นท่านจึง ต้องพึงพิสดารกายอยู่บ่อยๆเสมอ ไปสู่สุดละเอียด และจรดใจอยู่ที่สุดละเอียด
    ยิ่งทำสูงขึ้นไปถึงอายาตนะนิพานเพียงใด หยุดไปที่สุดละเอียดของพระนิพพาน
    หรือธาตุล้วนธรรมล้วนที่สุดที่เราเข้าถึงได้ นั้นแหละ เรียกว่า มีพระนิพพานเป็นอารมณ์
    ตกกระแสพระนิพพาน อาการเป็นอย่างนั้น แต่ต้องทำบ่อยๆ ทำเนืองๆ เมื่อทำบ่อยเพียงใด
    เราก็ตกกระแสมากเพียงนั้น ใจเราก็บริสุทธิ์มาก
    มันต้องทำบ่อยๆ ทำเนืองๆ เดินยืนนั่งนอน เราต้องทำเสมอ ที่นี้อาการที่ทำนั้น
    มีเคล็ดลับต่อไปว่า เราต้องไม่ลืมพิจารณาสติปัฏฐานสี่ นะ กิเลสของเรา ทุกเมื่อ
    ไม่ว่าใจเราออกนอกกายไปทำงานทำการ พบเพื่อนฝูง พบอารมณ์ที่ไม่งาม ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง
    นี่ เราต้องรีบหลบ เข้าไปในที่ปลอดภัย คือกลางของกลางที่สุดละเอียดอยู่เสมอ
    นี่เราต้องทำ เมื่อมันทำอย่างนี้แล้วก็ ธาตุธรรมเราก็แก่กล้า
    ด้วยความที่มันจะเผลอสติไปบ่อยๆ ก็ลดลง ลดลง มันเป็นอย่างนี้ แล้วที่นี้
    ในขณะที่เราพิสดารอยู่เสมอ เดินยืนนั่งนอน จำไว้ทุ่มไปสุดใจ
    อันนี้ก็เป็นเคล็ดลับเหมือนกัน ธรรมะจะเป็น จำไว้นะ
    เห็นดวงให้หมุดเข้าไปเห็น ณ ภายใน อย่างมองเห็นอย่างนี้ อย่างดูอย่างนี้ หรืออย่างดูจากนี่ไปนี่
    แต่เบื้องต้น มันทำไม่เป็น มันจะต้องดูอย่างนี้
    บางคนก็สอนเห็นองค์พระ เห็นเศียรก่อน มันไม่ใช่ มันเป็นเบื้องต้น นึกให้เห็นอย่างนั้น มันเป็นเบื้องต้น
    แต่คนเป็นแล้วนึกให้เห็นหมดทั้งดวง นึกให้เห็นหมดทั้งองค์พระ นี่เบื้องต้นนะ
    แต่เบื้องกลาง เบื้องปลาย ถ้ามันเห็น ใสขึ้นมา นึกเข้าเป็นเห็นศูนย์กลางจำไว้
    มุดเข้าไปเห็นศูนย์กลาง ใจก็หยุดเข้าไปข้างใน หยุดในหยุดกลางของหยุดในหยุด
    เห็นดวงใหม่ มุดเข้าไปในศูนย์กลางใหม่เข้าไปอีก มันก็ละเอียดเข้าไป
    ใจก็หยุดแน่น เมื่อเห็นกายในกาย ที่พิสดารกายไม่ขึ้น จรดนิ่งๆ
    อย่าใจร้อน จรดนิ่งๆ อย่าใจร้อน ประเดี๋ยวเดียว พอเขาขึ้นมา ดับหยาบไปหาละเอียด
    ดับหยาบไปหาละเอียดเป็นธาตุธรรมที่ละเอียดๆ เป็นธรรมกายที่ละเอียดๆ ต่อไป ที่สุดละเอียด ใจจรดอยู่นั้นนิ่งไม่เลิกไม่รา

    เดินอยู่ ก็ครึ่งหนึ่งของใจ ถ้าเราทำงานก็ลดเหลือ1 ใน 4
    ถ้าเผลอสติไปมีสติรู้เมื่อไร ว่างเมื่อไรทำใหม่ อยู่อย่างนั้น ใจก็สะอาด
    มันก็พิสดารขึ้นเรื่อย แต่ต้องทุ่ม ใจต้องจรด นะ หยุดอยู่ที่สุดละเอียดอยู่ตลอดเวลา ขึ้นมา ตลอดเวลาจึงจะได้
    จึงจะชนะธาตุธรรมภาคดำ แล้วก็ชนะแบบว่า ขาดลอยอีกด้วย

    แต่ว่าบางทีถ้าเราเผลอเมื่อไหร่เราก็โดนป๊อกลงไปเมื่อนั้น
    มานั่งธรรมทั้งหมดต้องเข้าใจอย่างนี้
    แล้ว เมื่อเราเข้าไปสุดละเอียดธาตุธรรมที่สุดละเอียดเมื่อไหร่
    ภาคผู้เลี้ยง ผู้สอด ผู้ส่ง ผู้สั่ง ผู้บังคับ ผู้ประครองถึงต้นธาตุต้นธรรมของเราก็จะเชื่อมถึงกันหมด
    บุญศักดิ์สิทธิ์บารมีรัศมีกำลังฤทธิ์ อำนาจสิทธิเฉียบขาด
    ซึ่งเป็นธาตุล้วน ธรรมล้วน ของต้นธาตุต้นธรรมก็ส่งถึงเรามากเท่านั้น
    เมื่อส่งถึงเรามากเราก็มีโอกาสบำเพ็ญบารมีมากทำความดีได้มาก
    เมื่อทำความดีได้มาก ภาคผู้เลี้ยงเค้าก็จะเก็บเหตุฝ่ายบุญฝ่ายกุศลทับทวีกลับไปยังต้นธาตุต้นธรรมให้มีกำลังสูงขึ้น
    เมื่อมีกำลังทับทวีสูงขึ้นเพียงไรเราก็มีสิทธิอำนาจในการบำเพ็ญบารมีช่วยตนเองช่วยผู้อื่นได้มากเพียงนั้น
    เข้าใจละยังที่นี้ต้องทำอย่างนี้ เมื่อเข้าไปสุดละเอียดแล้วเราจึงจะรู้ว่าหน้าที่สำคัญของเรา
    มันหน้าที่ช่วยตัวเองด้วยและช่วยสัตว์โลกอื่นด้วย ไม่ใช่หน้าที่เอาตัวรอด
    หน้าที่เอาตัวรอดนั้นถูกมารเค้าหลอก หลอกเอาไปเข้านิพานเฉยๆ
    สบายอยู่ในนั้นเลยไม่ต้องทำอะไร ไม่เกิดไม่แก่ ไม่เจ็บไม่ตายอยู่นั้น ช่วยใครก็ไม่ได้แล้ว
    ช่วยได้ระหว่างที่ตนมีชีวิตอยู่ เข้านิพานก็เลยจุ่มปุ๊กอยู่นั้น
    แต่ก็สบายก็ยังดีแต่นั้นมารเค้าปัดไปนิดนึงถูกหลอก
    แต่จริงๆแล้วหน้าที่แต่ละคนหรือแต่ละสัตว์โลกช่วยตัวเองด้วยและช่วยผู้อื่นด้วยให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
    แต่ถ้าบำเพ็ญบารมีให้สูงขึ้นไปสูงขึ้นไปมันรู้จิตรู้หน้าที่ของเรามากยิ่งกว่านั้น
    นั้นก็เป็นเรื่องเฉพาะตัวใครเข้าไปรู้แค่ไหนเข้าใจนะ

    วันนี้ก็เลยเล่าให้ฟังเรื่องทั้งหมดเพื่อให้ท่านทั้งหลายได้เข้าใจความเป็นมา
    และความที่เราจะต้องเป็นไปเพื่อจะได้ทำใจให้สะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ
    ด้วยสติสัมปชัญญะ ด้วยสติปะฐานทั้งสี่ กายเวทนา จิตธรรม
    เพื่อละธรรมดำยังธรรมขาวให้เจริญ เมื่อยังธรรมขาวให้เจริญแล้วสัมมาวายาโมก็เจริญ

    ความเพียรชอบในสี่สถาน เมื่อมันเจริญขึ้นนั้นแหละ สัมมาวายาโมเจริญขึ้น
    สติปัฏฐานสี่ก็ชัดเจนขึ้นเจริญขึ้น อิทธิบาทสี่ อินทรีห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ดมันก็เจริญตาม
    ไปตามอย่างนั้นและนี่แหละองค์ธรรมเครื่องตรัสรู้และมรรคแปดก็เกิดแล้วเจริญขึ้นตามส่วนของแต่ละคน
    มันเจริญขึ้นมาจากธาตุธรรมนะจะบอกให้ จากธาตุธรรม เห็น จำ คิด รู้นะ
    ถึงได้ว่าเป็นบุญเป็นบารมีและเป็นอุปบารมี ปรมัตถบารมี
    เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายต้องบำเพ็ญทั้งทานทั้งศีลภาวนาอย่าให้ขาดเกิดมาจะได้ไม่เสียชาติเกิด
    แล้วก็ไม่เสียทีที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนาได้ยินได้ฟังได้เรียนรู้ได้ปฏิบัติ
    เฉพาะฉะนั้นท่านทั้งหลายได้เข้าใจวิธีปฏิบัติแล้ว เอาละเราเตรียมนั่งกัน


    พระเทพญาณมงคล
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ศีลทั้ง 3 ประการ
    14 มีนาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)



    อธิสีลสิกฺขาสมาทาเน อธิจิตฺตสิกฺขาสมาทาเน อธิปญฺญาสิกฺขาสมาทาเน อปฺปมาเทน สมฺปาเทสฺสามาติ เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพนฺติ.



    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงธรรมีกถา ว่าด้วยศีลทั้ง 3 ประการ ซึ่งสมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ทรงประทานเทศนาเรียกว่า อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ทั้ง 3 ประการนี้ เป็นศีล ทางพุทธศาสนาต้องประสงค์ แม้ศีลตั้งแต่เป็นศีลต่ำลงไปกว่านี้ พุทธศาสนาก็นิยมยินดี เพราะศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง 3 ประการ ได้แสดงมาแล้ว

    ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ ประสงค์เอาศีล 5 ประการ

    ศีลโดยปริยายเบื้องสูง ประสงค์เอาปาฏิโมกข์สังวรศีล และบริบูรณ์ด้วยมารยาทและโคจร เห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทบัญญัติน้อยใหญ่ทั้งหลาย เห็นศีลโดยปริยายเบื้องสูง

    สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ พระองค์ได้ทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้สละอารมณ์ทั้งสิ้นหลุดขาดจากใจ ถึงซึ่งความเป็นหนึ่งของใจได้ นี้สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ

    สมาธิโดยปริยายเบื้องสูง ทรงแนะนำให้ดำเนินถึง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เมื่อเข้าฌานใดฌานหนึ่งได้ เรียกว่าสมาธิโดยปริยายเบื้องสูง

    ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ พระองค์ได้ทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้ปฏิบัติถึงซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป รู้ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปชัด และข้อปฏิบัติดำเนินถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ อันเป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันประเสริฐ นี้ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ

    ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง คือพระองค์ทรงแนะนำว่า ภิกษุในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ เป็นผู้รู้ชัดว่านี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ รู้ชัดในสัจธรรมทั้ง 4 นี้ นี้ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง

    ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ เบื้องสูง สมาธิโดยปริยายเบื้องต่ำ เบื้องสูง ปัญญาโดยปริยาย เบื้องต่ำ เบื้องสูงนั้น ได้แสดงแล้วในสัปดาห์ก่อนๆ โน้น

    บัดนี้จักแสดงใน อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต่อจากศีล สมาธิ ปัญญา โดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงเป็นลำดับมา

    อธิศีล แปลว่า ศีลยิ่ง, อธิจิต แปลว่า จิตยิ่ง, อธิปัญญา แปลว่า ปัญญายิ่ง แปลตามมคธภาษาประกอบตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่าพุทธศาสนิกชนทั้งหลายถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท ไม่เลินเล่อ ไม่เผลอตัว ในอันถือมั่นซึ่งศีลยิ่ง ในอันถือมั่นซึ่งจิตยิ่ง ในอันถือมั่นซึ่งปัญญายิ่ง ดังนี้ เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพํ อย่างนี้แม้จริงอันเราทั้งหลายควรศึกษา แปลเนื้อความเป็นสยามภาษาได้ความดังนี้ ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายในเรื่องอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา สืบเป็นลำดับไป

    อธิศีล แปลว่า ศีลยิ่ง ศีลยิ่งนั้นเป็นไฉน ศีลตามปกติธรรมดาที่ได้แสดงมาแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูง ศีลยิ่งนะยิ่งกว่าเบื้องต่ำเบื้องสูงไปกว่านั้นหรือ ศีลยิ่งนะต้องเห็นศีล ไม่ใช่รู้จักศีล เห็นศีลทีเดียว ศีลโดยปกติสำรวมกาย วาจา เรียบร้อยดีไม่มีโทษ งดเว้นเบญจวิรัติ 5 ประการ ขาดจากจิตสันดาน บริสุทธิ์ดุจพระอริยสาวกในธรรมวินัยของพระศาสดา นี่ศีลตามปกติธรรมดา ไม่ใช่อธิศีล นี่ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำ ศีลโดยปริยายเบื้องสูง เหมือนภิกษุสามเณรกำลังศึกษากันเช่นนี้ ปาฏิโมกข์สังวรศีล สำรวมตามพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์ทรงอนุญาต อาจารโคจรสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยมารยาท เครื่องมาประพฤติโดยเอื้อเฟื้อและโคจร อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เห็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทบัญญัติน้อยใหญ่ทั้งหลาย นี่ศีลโดยปริยายเบื้องสูง ไม่ใช่อธิศีล

    คือบริสุทธิ์ตลอดจนกระทั่งถึงเจตนา ความนึกคิดอ่านก็เป็นศีลจริงๆ ตรงตามวาระพระบาลีว่า เจตนาหํ ภิกฺขเว สีลํ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่าเจตนาความคิดอ่านทางใจนั่นแหละเป็นศีล รับสั่งดังนี้ นี่ก็เป็น “เจตนาศีล” ความคิดอ่านทางใจ ศีลมีแต่กายกับวาจา เจตนาก็เป็นศีล ความนึกคิดอ่านก็เป็นศีลอีก เป็นศีลด้วย แต่ว่ายังไม่ถึงอธิศีล อธิศีล ศีลที่เห็น ไม่ใช่ศีลที่รู้ เจตนาความคิดอ่านปกติสละสลวยเรียบร้อย ก็มาจากศีล ศีลเป็นดวงใสอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ดวงศีลอยู่ภายในนั้น ใสบริสุทธิ์เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ อยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ศีลดวงนั่นแหละ ถ้าผู้ปฏิบัติไปถึงไปเห็น เป็นปรากฏขึ้นในศูนย์กลางกายมนุษย์ เห็นเป็นปรากฏขึ้น ศีลดวงนั้นแหละได้ชื่อว่าเป็นอธิศีล เป็นอธิศีลแท้ๆ

    เมื่อรู้จักอธิศีลดังนี้ละก็ ศีลโดยปริยายเบื้องต่ำเบื้องสูงนั้นเป็นปกติศีล ในศีลที่เห็นดวงใสในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์นั่น อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ ศีลดวงนั้นเขาเรียกว่าอธิศีล อธิศีลแปลว่าศีลยิ่ง ศีลที่ผู้ปฏิบัติและเห็น แล้วก็ใจของผู้ปฏิบัติก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่นบ้าง ไม่ล่อกแล่ก เหลวไหล เหลวไหลเลอะเลือน ใจเป็นหนึ่งลงไปกลางดวงศีลนั่น นั้นเป็นอธิศีลแท้ๆ ศีลนั่นจะบริสุทธิ์ ก็เห็นว่าบริสุทธิ์ ศีลไม่บริสุทธิ์ก็เห็นว่าไม่บริสุทธิ์ จะ สะอาดเพียงแค่ไหนก็เห็น ไม่สะอาดแค่ไหนก็เห็น ขุ่นมัวเศร้าหมองก็เห็นทั้งนั้น ศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย อขณฺฑานิ อจฺฉิทฺทานิ อสพลานิ อกมฺมาสานิ เมื่อรักษาศีล ใจหยุดอยู่ในศีลนั้น ศีลไม่เป็นไปเพื่อกำลังต้องการ รักษาศีลจะให้รวยเท่านั้นเท่านี้ มั่งมีเท่าโน้น มั่งมีเท่านี้ ศีลเป็นไปด้วยกำลังเช่นนี้ไม่มี ไม่ประสงค์เป็นอธิศีล ส่วนอธิศีลนั้น เมื่อใจหยุดอยู่กลางดวงศีล ก็หยุดทีเดียว มุ่งแต่สมาธิต่อไป ไม่ได้มุ่งสิ่งอื่น “อธิศีล” ที่ปรากฏนั่นแหละผิดปกติธรรมดา

    เมื่อเห็นดวงศีลขนาดนั้นแล้ว ผู้มีปัญญาก็ไม่ได้ถอยออก ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่น หยุดนิ่งพอถูกส่วนเข้าเท่านั้น ก็จะเข้าถึงดวงสมาธิ อยู่กลางดวงศีลนั่น เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน ดวงขนาดนั้น นั่นสมาธิ ที่เห็นดวงนั้นแหละ ดวงอธิจิตละ จิตยิ่ง สมาธิยิ่งละ นั่นเป็นสมาธิยิ่ง ยิ่งกว่าที่ทำมาแล้ว เป็นมาแล้ว เห็นมาแล้ว นั้นเรียกว่าจิตยิ่ง

    จิตก็จะหยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิอีก เมื่อจิตหยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ นิ่งพอถูกส่วนเข้า พอจิตที่หยุดนิ่งก็กลางของกลาง กลางของกลางๆๆๆ หนักเข้า พอถูกส่วนเข้า ก็จะเห็น ดวงปัญญา อีกดวงหนึ่งอยู่กลางดวงสมาธินั่น นั่นแหละปัญญาดวงนั้น เขาเรียกว่า “อธิปัญญา” อธิปัญญาแท้ๆ อธิปัญญาในตอนต้น ไม่ใช่ตอนปลาย มีตอนปลายอีก

    อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ทั้ง 3 ดวงนี้ นี่แหละเป็นธรรมถ่องแท้ในพุทธศาสนา เมื่อผู้ปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ต้องเข้าถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา จึงจะได้ชื่อว่าเข้าถึงอธิศีล เข้าถึงอธิจิต เข้าถึงอธิปัญญา ถ้าจะดำเนินต่อไปตามร่องรอยของพระพุทธศาสนา กลางดวงปัญญามีวิมุตติ กลางดวงอธิปัญญานั่นมีวิมุตติ วิมุตติอย่างไร วิมุตติหลุดทีเดียว หลุดจาก ศีล สมาธิ ปัญญา ลงไปทีเดียว วิมุตติ แปลว่า หลุดพ้น กลางดวงวิมุตตินั้นจะเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะเป็นธรรมที่พึงจะรู้เห็นตามความเป็นจริง หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นก็จะเห็นกายมนุษย์ละเอียด เห็นกายมนุษย์ที่นอนฝันออกไป เห็นปรากฏทีเดียวว่า อ้อกายนี้เองที่เรานอนฝันออกไป เห็นปรากฏนี้เอง ไม่ฝันแล้วก็ไม่เห็น ฝันจึงเห็น เห็นปรากฏกายที่นอนฝันออกไป นี่อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ที่หยาบนี้

    ยังมีอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ที่ละเอียดนั่น ใจกายมนุษย์หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีลอีก พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิตนั้นอีก พอถูกส่วนเข้าก็เห็นอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญานั่นอีก พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตตินั่นอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เห็นกายทิพย์ นี่เข้าถึง อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ในกายมนุษย์ละเอียด

    ใจกายทิพย์ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ พอถูกส่วนเข้า เห็นอะไร เห็นอธิศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า เห็นกายทิพย์ละเอียด ใจกายทิพย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายรูปพรหม

    ใจกายรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายรูปพรหมละเอียด ใจกายรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายอรูปพรหม

    ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายอรูปพรหมละเอียด ใจอรูปพรหมละเอียดก็หยุดนิ่ง อยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดอีก พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายธรรม รูปเหมือนพระปฏิมา เกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า หน้าตักโตเล็กเท่าไรตามส่วนของกายธรรมนั้น ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า งดงามนัก นั่นแหละกายธรรม นั่นแหละเรียกว่า พุทฺโธ หรือเรียกว่าพุทธรัตนะ กายธรรมนั่นเอง เรียกว่าพุทธรัตนะ นี่ตรงนี้เป็นปัญหาอยู่ตรงนี้ เมื่อเราแสดงศีลของสามัญ สัตว์ที่ยังไม่เห็นหรือยังไม่รู้ เป็นสามัญศีล ไม่ใช่อธิศีล ศีลผู้ทำมี ทำเป็น ทำเห็น เป็นอธิศีล

    ตั้งแต่กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด ถึงกายธรรม เมื่อเข้าถึงกายธรรมแล้ว ดวงศีลในกายธรรมยังมีอีก

    ใจกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอหยุดถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีลอีก ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายใหญ่กว้างแค่ไหน หน้าตักกว้างแค่ไหน ดวง ธรรมที่เป็นธรรมกาย กลมรอบตัว เหมือนยังกับลูกบิลเลียด กลมรอบตัว ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ยิ่งกว่านั้น ใสกว่านั้น วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย ดวงศีลที่เห็นขึ้นในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นเท่ากัน ดวงธรรมนั่นเท่าไร ดวงศีลนั่นก็เท่านั้น ดวง สมาธิก็เท่านั้น ดวงปัญญาก็เท่านั้น ดวงเท่ากันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นดวงนี้เป็นปัญหาสำคัญนัก ศีลนี้ เมื่อเข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนี่ เมื่อเข้าถึงศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนี่แล้ว ก็ควรจะขยับชั้นขึ้นไปใหม่

    ศีลที่แสดงมาแล้วนั้นเป็นปกติศีลไป หรือศีลขั้นต้น ยังไม่ถึงศีลเห็น นี่เป็นธรรมดา เป็นปกติศีลไป เมื่อเข้าถึงธรรมกาย พอไปเห็นดวงศีลในธรรมกายเข้า ใหญ่ขนาดวัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว ศีลขนาดนั้น ศีลที่ในกาย 8 กาย กายมนุษย์ตลอดจนกระทั่งถึงกายอรูปพรหมละเอียด 8 กายนั้น ควรเป็นปกติศีลเสีย ต้องขยับขึ้นดังนี้ ดวงศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็เป็นอธิศีลไป สูงขึ้นขนาดนี้ นี่ได้แก่ คนปฏิบัติเป็นสูงขึ้นไปต้องจัดดังนี้ เป็นอธิศีล เพราะศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น ยิ่งกว่าดวงศีลในกายทั้ง 8 กายที่แล้วมา

    เข้าถึงกายธรรมแล้ว กายธรรมไม่ใช่กายในภพ เป็นกายนอกภพ

    กาย 8 กาย กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด เป็นกายในภพ กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด พวกนี้กายอยู่ในภพ กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด นี่เป็นกายอยู่ในรูปภพ กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด อยู่ในอรูปภพ กายเหล่านี้อยู่ในภพ ศีลก็ควรจะเป็น ปกติศีลไป เมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว ศีลในกายทั้ง 8 นั้น ก็เป็นปกติไป ดวงศีลที่ใส วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย นั่นเป็นอธิศีลแท้ๆ ไม่เคลื่อนละ คราวนี้ถูกแน่ละ

    ใจของกายธรรมก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลนั่น ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงสมาธิ นั่นอธิจิตแท้ๆ เข้าถึงดวงอธิศีล ดวงอธิจิต ได้ดังนี้แล้ว กลางดวงอธิจิตนั่นก็เป็นดวงอธิปัญญาเท่ากัน ดวงเท่าๆ กัน หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายธรรมละเอียด หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของกายธรรมละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีลอีก หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิตอีก ดวงเท่าๆ กัน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัวเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิตอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญาอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติอีก ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายธรรมพระโสดา หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุ ดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของกายพระโสดาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา หยุดนิ่งถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีลอีก วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิตอีกเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญาเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระโสดาละเอียด หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอก บัวตูม ใสหนักขึ้นไป ใจของพระโสดาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดาละเอียด พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของกายพระสกทาคา ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกทาคา ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิปัญญา หยุดอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป ใจของพระสกทาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระอนาคา หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของพระอนาคาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า ก็เห็นกายพระอนาคาละเอียด หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป ใจของพระอนาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิศีล หยุดอยู่กลางดวงอธิศีล ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงอธิจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิจิต ถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงอธิปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของพระอรหัตก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต พอถูกส่วนเข้า เห็นดวงอธิศีล ตรงนี้แหละเป็นปัญหาอยู่ที่เรียกว่าเป็นอธิศีล พอถึงพระอรหัตแล้ว อีกชั้นหนึ่ง หมดกิเลสเสียแล้ว ถ้าหากว่านี่เป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ดวงศีลในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต ถ้าหากว่าเป็นอธิศีลจะซ้ำรอยกันไป ควรจะเป็นวิมุตติศีล เพราะท่านเป็นวิมุตติทั้งเรื่องเสียแล้ว พระอรหัตควรเป็นวิมุตติศีล แล้วดวงนั้นวัดผ่าศูนย์กลาง 20 วา กลมรอบตัว ศีลดวงนั้นเป็นวิมุตติศีล เป็นวิมุตติเสียแล้ว ท่านหยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติศีลนั้น ถูกส่วนเข้า ก็เข้าวิมุตติจิต หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติจิต ก็เข้าถึงวิมุตติปัญญา หยุดนิ่งอยู่ กลางดวงวิมุตติปัญญานั่น เข้าถึงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น พอถูกส่วนเข้า เห็นกายพระอรหัตละเอียด หน้าตัก ขยายส่วนหน้าขึ้นไป 30 วา ทีเดียว กลมรอบตัวเท่าหน้าตักธรรมกายละเอียด ละเอียดหนักขึ้นไปเท่าไร ก็โตหนักขึ้นไป ละเอียดหนักขึ้นไปเท่าไรก็โตหนักขึ้นไป นับอสงไขยไม่ถ้วน ละเอียดขึ้นไปดังนี้ แต่ว่าต้องเดินไปแนวนี้ ผิดแนวนี้แล้วก็ไม่ถูกอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ถูกแนวนี้ละก็ ถูกอธิศีล อธิจิต อธิปัญญาเป็นลำดับไป ถูกหลักนี้จึงจะไปนิพพานได้ เมื่อถึงพระอรหัตก็ไปนิพพานทีเดียว ทางอื่นไม่มีทางไป มีทางไปนิพพานเท่านั้น เมื่อถึงพระอรหัตแล้ว พระพุทธเจ้าท่านประพฤติปฏิบัติถึงพระอรหัตแล้ว เป็นพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าในโลกแล้ว ท่านก็ส่องดูธัมมอุปนิสัยสัตว์ ว่านี่เราปฏิบัติมาถึงแค่นี้แล้วเราจะเคารพอะไร เราไม่เห็นมีใครควรเคารพใน 3 ภพ กามภพ เป็นกายมนุษย์ กายสัตว์นรก กายสัตว์เดรัจฉาน กายเปรต กายอสุรกาย หรือกายมนุษย์ก็ดีในภพมนุษย์ กายมนุษย์ กายทิพย์ในจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตวสวัตตี ในกามภพนี้ หย่อนกว่าเราทั้งนั้น ไม่ถึงเรา ท่านมาขยับขึ้นมาถึงรูปพรหม 16 ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรมหา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสรา ฯลฯ 11 ชั้นนี้ กายต่ำกว่าเราทั้งนั้น อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา นี่เป็นที่อยู่ของกายพรหม ต่ำกว่าเราทั้งนั้น ที่ไม่ได้มรรคผล จนไปถึงกายอรูปพรหม 4 ชั้น อากาสานัญจายตนภพ วิญญานัญจายตนภพ อากิญจัญญายตนภพ เนวสัญญานาสัญญายตนภพ ก็ไม่ลดลงไปได้ เราสูงกว่าทั้งนั้น เราจะเคารพใคร สักการะใคร นับถือใคร จึงจะสมควร ท่านก็สอดธรรมกายพระอรหัตถอยออกไปนิพพาน มีเท่าไรๆๆ ก็เข้ากลางหนัก เข้าไป ถามพระพุทธเจ้าที่ไปนิพพานแล้วเก่าๆ มากน้อยมีเท่าไรรู้เรื่องหมด ว่าพระพุทธเจ้าเก่าๆ นับถือใคร บูชาใคร เคารพใคร มีตำรับตำรายืนยันเป็นเนติแบบแผนทีเดียว ท่านวางตำรับ ตำราไว้ว่า เย จ อตีตา สมฺพุทฺธา, เย จ พุทฺธา อนาคตา, โย เจตรหิ สมฺพุทฺโธ, พหุนฺนํ โสกนาสโน, สพฺเพ สทฺธมฺมครุโน, วิหรึสุ วิหาติ จ อถาปิ วิหริสฺสนติ, เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา, ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน, มหตฺตมภิกงฺขตา, สทฺธมฺโม ครุกาตพฺโพ, สรํ พุทฺธาน สาสนนฺติ นี้เป็นตำรับ ตำรา พระพุทธเจ้าท่านดำริเมื่อได้ตรัสรู้แล้วว่า พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดในอดีตกาลที่ล่วงไปแล้วทั้งหลาย พระพุทธเจ้าเหล่าใดที่ปรากฏในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใดที่จะมาในอนาคตกาลภายภาคข้างหน้า พระสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดผู้ซึ่งยังความโศกของประชาชนเป็นอันมากให้วินาศไป ซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ สพฺเพ สทฺธมฺครุโน ล้วนเคารพสัทธรรมทั้งสิ้น เคารพสัทธรรมทีเดียว วิหรึสุ วิหาติ จ อถาปิ วิหริสฺสนฺติ พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด มีอยู่แล้วด้วย มีอยู่ในบัดนี้ด้วย ทั้งจะมีต่อไปในภายภาคเบื้องหน้าด้วย เอสา พุทฺธาน ธมฺมตา ที่เคารพสัทธรรมเป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เคารพสัทธรรมอย่างเดียว ตสฺมา หิ อตฺตกาเมน เพราะเหตุนั้นบุคคลผู้รักตน สงสารตน ยินดีต่อตน จำนงความเป็นใหญ่ ควรเคารพ สัทธรรม ควรทำการเคารพสัทธรรม นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ปรากฏอย่างนี้

    เคารพสัทธรรม เคารพอย่างไร เคารพไม่ถูก ไม่ใช่เคารพง่ายๆ ที่ได้เข้ากายพระอรหัต นี่มาอย่างไรล่ะ ใจก็ต้องหยุดนะซี เริ่มต้นก็ต้องหยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอหยุดถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล หยุดอีกนั่นแหละ พอเข้าถึงดวงสมาธิ ก็หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก พอถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงปัญญา พอเข้าถึงดวงปัญญา ก็หยุดอยู่กลางดวงปัญญาอีก เข้าถึงดวงวิมุตติ ก็หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติอีก เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ก็เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดอีก หยุดที่ใจหยุดนั่นแหละ ถูกละ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดอีก เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา หยุดอันเดียว เข้าดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวแหละ หยุดในหยุดเรื่อยไป ก็เข้าถึง กายทิพย์

    ใจของกายทิพย์ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์อีก หยุดนั่นแหละสำคัญ หยุดนั่นแหละเป็นตัวสำเร็จ หยุดอันเดียวเท่านั้นแหละ ทางพุทธศาสนาเป็นเป้าหมายใจดำ หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ หยุดอันเดียวถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวเท่านั้น ก็เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด

    ใจของกายทิพย์ละเอียดก็หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เห็นดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายรูปพรหม ใจกายรูปพรหมก็หยุดอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม หยุดอันเดียว เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางศีล เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวง วิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด

    พอเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด ใจของรูปพรหมละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวแหละตัวสำเร็จ นี่แหละหัวใจเฉพาะพระพุทธศาสนาละ อย่าไปเข้าใจอื่นนะ เข้าใจอื่นเหลวละ ก็เข้าถึงกายอรูปพรหม ใจของกายอรูปพรหมก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีลอีก เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญาอีก เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติอีก เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ก็เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด ใจของกายอรูปพรหมละเอียด ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียดอีก ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลอีก ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิอีก เข้าถึงดวงปัญญา หยุด อยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะอีก ก็เข้าถึงกายธรรม หยุดอันเดียว อย่าเลอะ ทางอื่นไม่ได้ พอหยุดเข้าได้ละก้อ ถูกเป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนาทีเดียว

    ใจของกายธรรมก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย พอถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายธรรมละเอียด

    ใจของกายธรรมละเอียดก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด หยุดอันเดียว พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายพระโสดา ใจกายพระโสดาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายพระโสดา พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงกายพระโสดาละเอียด

    ใจของกายพระโสดาละเอียด ก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ละเอียด พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระสกทาคา นี้ถ้าไม่หยุดแล้วเข้าไม่ถึงแท้ๆ ใจของกายพระสกทาคาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลาง ดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระสกทาคาละเอียด

    ใจของกายพระสกทาคาละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคาละเอียด ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอันเดียวนั่นแหละ ก็เข้าถึงกายพระอนาคา ใจของกายพระอนาคาก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวง ธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึงกายพระอนาคาละเอียด

    ใจของกายพระอนาคาละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคาละเอียด พอถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีล ก็เข้าถึงดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธิ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่กลางดวงปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ก็เข้าถึง กายพระอรหัต ใจของกายพระอรหัตก็หยุดไม่ถอยเลย ไม่เขยื้อนทีเดียว หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต ไม่เขยื้อนทีเดียว เข้าถึงดวงวิมุตติศีล ใจของพระอรหัตก็หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติศีล ก็เข้าถึงดวงวิมุตติสมาธิ ใจของพระอรหัตก็หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติสมาธิ เข้าถึงดวงวิมุตติปัญญา หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติปัญญา ก็เข้าถึงดวงวิมุตติ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติ ก็เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดอยู่ นั่นก็เข้าถึงกายพระอรหัตละเอียด แบบเดียวกันอย่างนี้

    เมื่อรู้จักใจกลางพระศาสนาดังนี้ละก็ ปล้ำใจให้หยุดเท่านั้น ถูกทางไปพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ให้ถูกต้องร่องรอยความประสงค์ของพระพุทธศาสนา แต่ว่าต้องอาศัยศีล สมาธิ ปัญญา ต้องอาศัยอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ต้องอาศัยวิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา ถ้าไม่อาศัยทางนี้เดินละก้อ ไปไม่ได้ ถ้าไม่อาศัยศีล สมาธิ ปัญญา, อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ไม่อาศัยวิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา แล้วไปไม่ได้ ไปไม่รอดทีเดียว เหตุนี้ทางพระพุทธศาสนาจึงได้วางตำราไว้ว่า วินัยปิฎกคือศีลนั่นเอง ย่อลงใส่ศีลนั่นเอง สุตตันตปิฎก ย่อลง ก็จิต ที่เรียกว่าสมาธินั่นเอง ปรมัตถปิฎก ย่อลงก็ปัญญานั่นเอง ตรงกับอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา, วิมุตติศีล วิมุตติจิต วิมุตติปัญญา อันเดียวกันนั่นเอง นี่เป้าหมายใจดำของพระพุทธศาสนา เป็นอย่างนี้ เมื่อรู้จักหลักอย่างนี้ ต้องทำให้ถูกอย่างนี้ เมื่อทำให้ถูกอย่างนี้ก็ถูกใจดำทาง พระพุทธศาสนา ถ้าไม่เดินทางนี้ก็ไม่ได้เรื่อง เอาหลักไม่ได้ เมื่อทำถูกต้องอันนี้ละก็ พบพระพุทธศาสนาก็ได้เรื่อง เอาตามหลักได้ ก็ถูกชายจีวรของพระพุทธเจ้าอยู่ ถ้าว่าทำไม่ถูกดังนี้ เหมือนอยู่คนละจักรวาล ถ้าว่าถูกหลักดังนี้แล้วดังนี้แหละ เอวญฺหิ โน สิกฺขิตพฺพํ จริงอยู่อย่างนี้แหละ ท่านทั้งหลายควรศึกษา ไม่ศึกษาอย่างนี้ก็เอาตัวไม่รอด ที่ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี คลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถา เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    - เหตุแห่งทุกข์คือมารนั่นแหละ.

    การปฏิบัติธรรมตามแนววิชชาธรรมกายนั้น ให้สามารถเข้าไปเห็น แล้วจึงรู้

    ที่พูดทั้งหมดนี้ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านสอนไว้ ครูบาอาจารย์ท่านสอน และผู้ถึงธรรมกายเขาเห็นตามนี้ นี้เป็นสัจจธรรม สัจจธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ รวมเบ็ดเสร็จเป็น"#ทุกขสัจจะ" "#สมุทัยสัจะ"

    เหตุแห่งทุกข์ คือมารนั่นแหละ

    มีกิเลสมาร มารคือกิเลส

    ขันธมาร มารคือความเจ็บไข้ได้ป่วย

    มัจจุมาร มารคือความตาย

    เทพบุตรมาร คือเทพบุตรที่มีธาตุธรรมภาคดำมาก เป็นมิจฉาทิฏฐิ

    อภิสังขารมาร คือความปรุงแต่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝ่ายบาปอกุศลให้ได้รับผลเป็นความทุกข์เดือดร้อนยิ่งๆลงไปตามลำดับ ไม่ใช่ยิ่งๆขึ้น เช่นว่า ไปเกิดเป็นเปรต สัตว์นรก อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน ด้วยความโลภ โกรธ หลง

    เป็นมนุษย์ก็ยังโง่ แล้วยังต้องตายไปเกิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน เป็นสัตว์เดรัจฉานโง่หนักเข้าไปอีก ต่ำๆลงไปจนเป็นสัตว์เซลล์เดียว เหมือนแพลงตัน หรือตัวไร้น้ำ มันพัฒนาเลวลงด้วยอำนาจของภาคมาร คือไปรับอธรรม ไปประพฤติปฏิบัติทางกาย วาจาและใจ ตามอำนาจของกิเลส มีโลภ โกรธ หลง ตกต่ำลงไปเหมือนก้อนศิลาตกลงไปในบ่อที่ไม่มีก้น คือไม่มีทางกลับดีขึ้นมา หรือมีทางแต่กลับขึ้นมาได้ด้วยยาก

    ฝ่ายบาปอกุศล จำเพาะกิเลสมาร เมื่อทำมากๆเข้าเป็น"#อาสวะ" หมักดองในจิตสันดาน ทำมากๆเข้าเป็น"#อนุสัยกิเลส" เหล่านี้เรียกว่า"#เจตสิกธรรม" คอยเกิดขึ้นพร้อมกับอกุศลจิต ที่เมื่ออายตนะภายใน มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปกระทบกับอายตนะภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัสทางกาย เป็นต้น แล้วเสวยสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง

    สุขเวทนา เช่น นี่น่ารัก น่าใคร่ เป็นเหตุให้เกิดกิเลส ตัณหา อุปาทานขึ้นมา ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมัน จึงเป็นทุกข์

    หรือ ถ้าว่าแทนที่จะเป็นสุขเวทนา ก็เป็นทุกขเวทนา ไม่ชอบใจ เกลียดชัง เปิดโอกาสให้กิเลสประเภทโทสะ หรืออิจฉาริษยา หรือมานะทิฏฐิ ครอบงำจิตใจ ดลจิตดลใจให้ปฏิบัติตามอำนาจของมัน นี่แหละ กิเลสที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ เป็นภาคมาร หรือฝ่ายบาปอกุศล

    เพราะฉะนั้น เมื่อเราทราบดังนี้แล้ว เข้าใจดังนี้แล้ว ทำอย่างเดียว เป็นฝ่ายบุญกุศล ง่ายนิดเดียว "#ใจหยุด-#ใจนิ่ง" ตัวเดียวในเบื้องต้น หยุดความชั่วส่วนหยาบ ได้แก่ หยุด-เลิก-ละกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ทำแต่ความดี มีทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น....

    ________________
    เทศนาธรรมจาก

    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    อ.ดำเนินสะดวก
    จ.ราชบุรี
    ________________
    ที่มา
    ธรรมปฏิบัติเบื้องต้น
    หนังสือตอบปัญหาธรรมปฏิบัติ
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    _XQpfaj8mp-T0ukjhq5ajllGWCLFbYApatpPgpdrVFt4&_nc_ohc=WTHPFStsQNEAX8jD2mF&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า
    เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้
    เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ
    ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง
    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง
    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย
    คัดมาส่วนหนึ่งจากตอบปัญหาธรรม
    พระเทพญาณมงคลเสริมชัย ชยมงฺคโล(หลวงป๋า)
    อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
    E25bnMf_3bGQWC2yF4JM6cV5jNqQT7l717-9Hr5BUks_PggMCgnyvYahEfKeCjsR2xLcho6r&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,975
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,549
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...