เรื่องเด่น ความไม่ประมาท

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 11 ตุลาคม 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ?temp_hash=abe3a5b3e15c4db28d0e953ff309b113.jpg

    ความไม่ประมาท


    *************
    (พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
    [๒๑] ความไม่ประมาท เป็นทางแห่งอมตะ
    ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
    คนผู้ไม่ประมาทชื่อว่าย่อมไม่ตาย
    คนผู้ประมาทจึงเหมือนคนตายแล้ว
    [๒๒] บัณฑิตทราบความต่างกัน
    ระหว่างความไม่ประมาทกับความประมาทนั้น
    แล้วตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
    ย่อมบันเทิงใจในความไม่ประมาท
    ยินดีในทางปฏิบัติของพระอริยะทั้งหลาย
    [๒๓] บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์เหล่านั้น เพ่งพินิจ
    มีความเพียรต่อเนื่อง มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์
    ย่อมบรรลุนิพพานอันเป็นสภาวะยอดเยี่ยม ปลอดจากโยคะ



    ………………
    สามาวตีวัตถุ อัปปมาทวรรค ขุททกนิกาย ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=11
    สามาวตีวัตถุ(บาลี) http://www.84000.org/tipitaka/read/pali_read.php?B=25&A=328
    สองบทว่า เต ฌายิโน ความว่า บัณฑิตผู้ไม่ประมาทเหล่านั้น เป็นผู้มีความเพ่งด้วยฌานทั้งสองอย่าง คือ ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน กล่าวคือ สมาบัติ ๘ และด้วยลักขณูปนิชฌาน กล่าวคือ วิปัสสนามรรคและผล.
    (สมาบัติ ๘ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน รวมเรียกว่า รูปสมาบัติ ๔, อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รวมเรียกว่า อรูปสมาบัติ ๔.)
    บทว่า สาตติกา ความว่า เป็นผู้มีความเพียร ซึ่งเป็นไปทางกายและทางจิต เป็นไปแล้วติดต่อ จำเดิมแต่กาลเป็นที่ออกบวชจนถึงการบรรลุพระอรหัต.
    บาทพระคาถาว่า นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา ความว่า ผู้ประกอบด้วยความเพียรเห็นปานนี้ว่า
    “ผลนั้นใด อันบุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ยังไม่บรรลุผลนั้น แล้วหยุดความเพียรเสีย จักไม่มี.” (เช่นนี้) ชื่อว่าบากบั่นมั่น ชื่อว่าเป็นไปแล้วเป็นนิตย์ เหตุไม่ท้อถอยในระหว่าง.
    ……..
    ข้อความบางตอนใน เรื่องพระนางสามาวดี อัปปมาทวรรควรรณนา ขุททกนิกาย อรรถกถาธรรมบท
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=12&p=1
    dI1_mTOLcJ4_1Xw-xc2QHCLg2_ia_LIJ3iJ58hVblPy8&_nc_ohc=C7Ay8eZsPzkAX9lwD1d&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖
    อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต


    [​IMG]
    อัปปมาทสูตร



    [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ไม่มีเท้าก็ดี
    ๒ เท้าก็ดี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มี
    สัญญาก็ดี มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ก็ดี พระตถาคตอรหันตสัมมา-
    *สัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด
    มีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาท
    บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดของกุศลธรรมเหล่านั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่เที่ยวไปบนแผ่นดิน เหล่าใด
    เหล่าหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถึงความรวมลงในรอยเท้าช้าง รอย
    เท้าช้างโลกกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะความเป็นของใหญ่ แม้
    ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
    กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูล ประชุมลงในความไม่
    ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดของกุศลธรรมเหล่านั้น ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลอนเหล่าใดเหล่าหนึ่งของเรือนยอด กลอนเหล่านั้น
    ทั้งหมด ไปหายอด น้อมไปสู่ยอด รวมที่ยอด ยอดโลกกล่าวว่า เป็นยอดของ
    กลอนเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉัน
    นั้นเหมือนกันแล ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นหอมที่เกิดแต่รากชนิดใดชนิดหนึ่ง กฤษณา โลก
    กล่าวว่า เป็นยอดแห่งกลิ่นหอมที่เกิดแต่รากเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นหอมที่เกิดแต่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง
    โลกกล่าวว่า เป็นยอดของกลิ่นหอมที่เกิดขึ้นแต่แก่นเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นหอมที่เกิดแต่ดอกชนิดใดชนิดหนึ่ง ดอกมะลิ โลก
    กล่าวว่า เป็นยอดแห่งกลิ่นหอมเกิดแต่ดอกเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชาน้อยเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พระราชาเหล่านั้น
    ทั้งหมด ย่อมเป็นอนุยนต์ไปตามพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิโลกกล่าวว่า
    เป็นยอดของพระราชาเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใด
    เหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แสงสว่างแห่งดวงดาวเหล่าใดเหล่าหนึ่ง แสงสว่าง
    เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันบัณฑิตแบ่งออกแล้ว ๑๖ ครั้ง ของ
    แสงสว่างแห่งดวงจันทร์ แสงสว่างแห่งดวงจันทร์โลกกล่าวว่า เป็นยอดแห่งแสง
    สว่างเหล่านั้น แม้ฉันใดดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้น
    เหมือนกันแล ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสรทฤดู เมื่อฝนขาดปราศจากเมฆแล้ว ดวงอาทิตย์
    โผล่ขึ้นสู่ท้องฟ้า กำจัดความมืดที่มีในอากาศทั้งหมดแล้ว ย่อมส่องแสง แผด
    แสงและแจ่มกระจ่าง แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง
    ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯลฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำใหญ่ๆ สายใดสายหนึ่ง คือ แม่น้ำคงคา
    ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นสายน้ำไหลไป
    หาสมุทร โน้มไปสู่สมุทร น้อมไปสู่สมุทร โอนไปสู่สมุทร มหาสมุทร โลกกล่าวว่า
    เป็นยอดแห่งแม่น้ำเหล่านั้น แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่า
    หนึ่งก็ฉันนั้นเหมือนกันแล กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นมูล
    ประชุมลงในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทบัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดของ
    กุศลธรรมเหล่านั้น ฯลฯ
    จบสูตรที่ ๕
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    คำว่า มีสติ อธิบายว่า

    มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ

    ๑. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณากายในกาย
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาจิตในจิต
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เมื่อเจริญสติปัฏฐานพิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย

    มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ
    ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะเว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กระทำสิ่งทั้งหลายที่ควรทำด้วยสติ
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้กำจัดสิ่งทั้งหลายที่เป็นฝ่ายตรง ข้ามกับสติ
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมทั้งหลายที่เป็นมูลเหตุแห่งสติ

    มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ
    ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยสติ
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ชำนาญในสติ
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้คล่องแคล่วในสติ
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หวนกลับจากสติ

    มีสติด้วยเหตุอีก ๔ อย่าง คือ
    ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะมีอยู่ตามปกติ
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้สงบ
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ระงับ
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของสัตบุรุษ

    (มีสติด้วยเหตุอีก ๑๐ อย่าง คือ)
    ๑. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงพุทธคุณ
    ๒. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมคุณ
    ๓. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงสังฆคุณ
    ๔. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
    ๕. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
    ๖. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา
    ๗. ชื่อว่ามีสติ เพราะตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
    ๘. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรมดา
    ๙. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกทั่วไปในกาย(ให้เห็นว่าไม่งาม)
    ๑๐. ชื่อว่ามีสติ เพราะระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับ(กิเลสและความทุกข์) คือนิพพาน
    …….
    ข้อความบางตอนใน กามสุตตนิทเทส ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=29&siri=1

    PbUUPrCPKSsslXz8ZPIgKUzoqim4mNWNg8AoHSCGaCHf&_nc_ohc=Xx5Ya9qGJVQAX_QFoGs&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    #อานาปานสติ มีผลมากมีอานิสงส์มาก
    ***************
    ภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุสงฆ์นี้ มีภิกษุผู้บำเพ็ญความเพียรในการเจริญอานาปานสติอยู่ อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก
    อานาปานสติที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่ภิกษุเจริญ ทำให้มากแล้ว ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์
    [๑๔๘] อานาปานสติที่ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไรจึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก…ฯลฯ.....
    ……………
    ข้อความบางตอนใน อานาปานัสสติสูตร มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=14&siri=18
    ก็ในที่นี้ สติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นโลกิยะ. อานาปานสติอันเป็นโลกิยะ ย่อมทำสติปัฏฐานอันเป็นโลกิยะให้บริบูรณ์ โลกิยสติปัฏฐานทำโลกุตรโพชฌงค์ให้บริบูรณ์ โลกุตรโพชฌงค์ทำวิชชา วิมุตติ ผลและนิพพานให้บริบูรณ์. ดังนั้น จึงเป็นอันท่านกล่าวถึงโลกิยะในอาคตสถานของโลกิยะ กล่าวถึงโลกุตระในอาคตสถานของโลกุตระแล.
    ส่วนพระเถระกล่าวว่า ในสูตรอื่นเป็นอย่างนั้น แต่ในสูตรนี้ โลกุตระจะมาข้างหน้า (ต่อไป) โลกิยอานาปานะทำโลกิยสติปัฏฐานให้บริบูรณ์ โลกิยสติปัฏฐานทำโลกิยโพชฌงค์ให้บริบูรณ์ โลกิยโพชฌงค์ทำวิชชา วิมุตติ ผล และนิพพานอันเป็นโลกุตระให้บริบูรณ์. เพราะในพระสูตรนี้วิชชา ผล และนิพพาน ท่านประสงค์เอาด้วยบทว่า วิชชาและวิมุตติแล.
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถาอานาปานสติสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=282#hl
    #อานาปานสติ #สมาธิ #ปฏิบัติ #ปฏิบัติธรรม #นั่งขัดสมาธิ #ลมหายใจ
    BCaXqBotTs2VjRrwjqWajBDON6EA1C_h236GdoeWGdwV&_nc_ohc=eAj8neraYs8AX9daiqB&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ญาณในการทำสติแบ่งตามสติปัฏฐานภาวนา
    ****************
    ท่านพระสารีบุตรจำแนก สโตการิญาณด้วยอานาปานสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้า-ออก) มี ๓๒ ประการ จัดเป็นคู่ได้ ๑๖ คู่ ดังนี้
    ภิกษุในที่นี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาย ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ภิกษุนั้นมีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก คือ
    ๑.เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว
    ๒.เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้าสั้น
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าหายใจออกสั้น
    ๓.สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า”
    สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก”
    ๔.สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจเข้า”
    สำเหนียกว่า “เราระงับกายสังขารหายใจออก”
    ๕.สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า”
    สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก”
    ๖.สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุขหายใจเข้า”
    สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้สุขหายใจออก”
    ๗.สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า”
    สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก”
    ๘.สำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขารหายใจเข้า”
    สำเหนียกว่า “เราระงับจิตตสังขารหายใจออก”
    ๙.สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตหายใจเข้า”
    สำเหนียกว่า “เรากำหนดรู้จิตหายใจออก”
    ๑๐.สำเหนียกว่า “เราทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า”
    สำเหนียกว่า “เราทำจิตให้บันเทิงหายใจออก”
    ๑๑.สำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจเข้า”
    สำเหนียกว่า “เราตั้งจิตไว้หายใจออก”
    ๑๒.สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจเข้า”
    สำเหนียกว่า “เราเปลื้องจิตหายใจออก”
    ๑๓.สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจเข้า”
    สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก”
    ๑๔.สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า”
    สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก”
    ๑๕.สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้า”
    สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจออก”
    ๑๖.สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า”
    สำเหนียกว่า “เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก”
    และได้จำแนกญาณในการทำสติแบ่งตามสติปัฏฐานภาวนา
    ดูรายละเอียดใน สโตการิญาณนิทเทส ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ 31
    http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=31&siri=62

    3CtVi8iOio4ZYdZ16os1Zom_jyXXTeQhj0I5B90YHMIaHSftxxGt261Hru9f0_eSqEPeiBOC&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ?temp_hash=cdd50d4182e3a9eefb3c9239c0cb4131.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ
    ................
    ธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะเป็นอย่างไร ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงธรรมมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ”
    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ความเพียรมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ ถ้าบุคคลไม่ตั้งความเพียรนั้นไว้ ก็จะไม่พึงบรรลุสัจจะนี้ได้ แต่เพราะเขาตั้งความเพียรไว้จึงบรรลุสัจจะได้ ฉะนั้น ความเพียรจึงมีอุปการะมากแก่การบรรลุสัจจะ”
    ....................
    ข้อความบางตอนใน จังกีสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=13&siri=45
    หมายเหตุ ข้อปฏิบัติ ๑๒ ประการ เพื่อการบรรลุสัจจะ คือ (๑) ศรัทธา (๒) การเข้าไปหา (๓) การเข้าไปนั่งใกล้ (๔) การเงี่ยโตตลง (๕) การฟังธรรม (๖) การทรงจำธรรม (๗) ปัญญาเครื่องไตร่ตรองเนื้อความ (๘) ความควรแก่การเพ่งพินิจแห่งธรรม (๙) ฉันทะ (๑๐) ความอุตสาหะ (๑๑) ปัญญาเครื่องพิจารณา (๑๒) ความเพียร
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไร จึงมีความสิ้นแห่งอาสวะ.
    ************
    [๒๖๐] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะของผู้ไม่รู้ ไม่เห็น.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไร จึงมีความสิ้นแห่งอาสวะ.
    เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า รูปดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ ความดับแห่งรูปดังนี้ เวทนาดังนี้ ... สัญญาดังนี้ ... สังขารดังนี้ ... วิญญาณดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณดังนี้ จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะ.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงมีความสิ้นไปแห่งอาสวะ.
    [๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่ประกอบภาวนานุโยคอยู่ จะพึงเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น จิตของเธอย่อมไม่พ้นไปจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้เลย.
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร ข้อนั้นพึงกล่าวได้ว่า เพราะเธอไม่อบรม เพราะไม่อบรมอะไร เพราะไม่อบรมสติปัฏฐาน ๔ เพราะ
    ไม่อบรมสัมมัปปธาน ๔ เพราะไม่อบรมอิทธิบาท ๔ เพราะไม่อบรมอินทรีย์ ๕ เพราะไม่อบรมพละ ๕ เพราะไม่อบรมโพชฌงค์ ๗ เพราะไม่อบรมอริยมรรคมีองค์ ๘.
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง ไข่เหล่านั้นพึงเป็นของอันแม่ไก่ไม่นอนทับด้วยดี ไม่กกด้วยดี
    ไม่ฟักด้วยดี แม่ไก่นั้นถึงจะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอลูกของเราพึงทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปากออกมาโดยความสวัสดี ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ลูกไก่เหล่านั้นก็ไม่สามารถจะทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยความสวัสดีได้.
    ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ทั้งนี้เพราะไข่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟองนั้น อันแม่ไก่ไม่นอนทับด้วยดี ไม่กกด้วยดี ไม่ฟักด้วยดี
    แม้ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไม่ประกอบภาวนานุโยคอยู่ ฉันนั้นเหมือนกันแล ถึงจะเกิดความปรารถนาอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ขอจิตของเราพึงพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่น ดังนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น จิตของเธอย่อมไม่พ้นไปจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่นได้เลย.
    …ฯลฯ...
    ................
    ข้อความบางตอนใน นาวาสูตร สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗
    http://www.84000.org/tipitaka/read/r.php?B=17&A=3354
    *************
    บทว่า เอวเมว โข นี้เป็นบทรับรองข้ออุปมา บทรับรองข้ออุปมานั้นพึงทราบเทียบเคียงกับความหมายอย่างนี้. อธิบายว่า เวลาที่ภิกษุนี้ประกอบการบำเพ็ญภาวนาพึงทราบว่า เปรียบเหมือนการที่แม่ไก่นั้นทำกิริยา ๓ อย่างในฟองไข่.
    ความที่วิปัสสนาญาณของภิกษุผู้ประกอบการบำเพ็ญภาวนาไม่เสื่อมเพราะทำอนุปัสสนา ๓ อย่างให้ถึงพร้อม พึงทราบว่าเปรียบเหมือนภาวะที่ฟองไข่ไม่เน่า เพราะแม่ไก่ทำกิริยา ๓ อย่างให้ถึงพร้อม
    การที่ความสิเนหาคือความใคร่ใจที่ติดอยู่ในภพทั้ง ๓ ของภิกษุนั้นสิ้นไปเพราะทำอนุปัสสนา ๓ อย่างให้ถึงพร้อม พึงทราบว่าเปรียบเหมือนการที่ยางเหนียวของฟองไข่ทั้งหลายสิ้นไปเพราะแม่ไก่นั้นทำกิริยา ๓ อย่าง.
    การที่กะเปาะฟองไข่คืออวิชชาของภิกษุบาง พึงทราบว่าเปรียบเหมือนการที่เปลือกฟองไข่บาง
    การที่วิปัสสนาญาณของภิกษุกล้าแข็ง ผ่องใสและแกล้วกล้า พึงทราบว่าเปรียบเหมือนการที่ปลายเล็บเท้า และจะงอยปากของลูกไก่ทั้งหลายกล้าแข็ง.
    เวลาที่วิปัสสนาญาณของภิกษุแก่กล้า เจริญได้ที่ พึงทราบว่าเปรียบเหมือนเวลาที่ลูกไก่ทั้งหลายเจริญขึ้น.
    เวลาที่ภิกษุนั้นถือเอาวิปัสสนาญาณได้แล้ว เที่ยว (จาริก) ไป ได้ฤดูเป็นสัปปายะ โภชนะเป็นสัปปายะ บุคคลเป็นสัปปายะหรือการฟังธรรมเป็นสัปปายะอันเกิดแต่วิปัสสนาญาณนั้น แล้วนั่งอยู่บนอาสนะเดียวนั่นแล เจริญวิปัสสนา ทำลายกะเปาะฟองคืออวิชชาด้วยอรหัตตมรรคที่บรรลุแล้วตามลำดับ ปรบปีกคืออภิญญา แล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์โดยสวัสดี พึงทราบว่าเปรียบเหมือนเวลาลูกไก่เอาปลายเล็บเท้าหรือจะงอยปาก กะเทาะกะเปาะฟองไข่ กระพือปีก แหวกออกมาได้โดยสวัสดี.
    อนึ่ง เปรียบเหมือนว่า แม่ไก่ทราบว่า ลูกไก่เติบโตเต็มที่แล้ว จึงจิกกะเปาะฟองไข่ฉันใด ฝ่ายพระศาสดาก็ฉันนั้น ทรงทราบว่า ญาณของภิกษุเห็นปานนั้นแก่เต็มที่แล้ว ก็ทรงแผ่แสงสว่างไป แล้วทำลายกะเปาะฟองไข่คืออวิชชา…
    ………………….
    ข้อความบางตอนใน อรรถกถานาวาสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=260
    ***********
    หมายเหตุ : เมื่อบุคคลรู้เห็นขันธ์ ๕ ความเกิดและความดับแห่งขันธ์ ๕ ก็จะสิ้นอาสวะได้ แต่ต้องเจริญสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ และอริยมรรคมีองค์ ๘ ถ้าไม่เจริญธรรมเหล่านี้ จิตก็หลุดพ้นจากอาสวะไม่ได้
    เหมือนแม่ไก่ไม่ทับ ไม่กก ไม่ฟักไข่ให้ดี แม้ต้องการให้ลูกไก่ทำลายเปลือกไข่ออกมา ลูกไก่ก็ไม่สามารถทำลายเปลือกไข่ออกมาได้ แต่ถ้าฟักไข่ให้ดี ลูกไก่ก็สามารถทำลาย เปลือกไข่ออกมาได้
    การที่ภิกษุประกอบ ภาวนาอยู่เนือง ๆ อาจไม่รู้ว่า อาสวะสิ้นไปทุกวัน ๆ แต่หลังจากอาสวะสิ้นไปแล้วจึงจะรู้ได้ เหมือนช่างไม้ไม่รู้ว่าด้ามมีดสึกทุกวัน ๆ จะรู้ก็ต่อเมื่อด้ามมีดสึกไปแล้ว
    d4EP_R2LI_uk27PdvTSEZGzSjL5XFOpE5mzolrjyQYRo&_nc_ohc=qYl_CC4dJtMAX9th_JE&_nc_ht=scontent.fcnx3-1.jpg
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ?temp_hash=d4d5367bbe37da312d7d542df469f7f7.jpg

    ?temp_hash=d4d5367bbe37da312d7d542df469f7f7.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    23,109
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,156
    ค่าพลัง:
    +70,589
    ?temp_hash=8067536c7a7b96152eae8bb8a0cdb544.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...