ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Bank of Thailand Scholarship Students
    PSX_20200113_075502.jpg
    (Jan 12) กรณีศึกษา เมื่อ “รถกับข้าว” กลายเป็นคำตอบที่น่าสนใจของสังคมสูงวัยในญี่ปุ่น : “รถกับข้าว” ทางเลือกใหม่ของสังคมสูงวัยในญี่ปุ่น

    สังคมสูงวัยในญี่ปุ่นเป็นเรื่องใหญ่ที่ใครๆ ก็รู้ดี โดยในปัจจุบันมีประชากรที่อายุมากกว่า 70 ปีมากกว่า 1 ใน 5 ของประชากรทั้งประเทศแล้ว

    คนสูงวัยในญี่ปุ่นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในชนบท มีปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งคือ ไม่สะดวกในการออกไปซื้อหาอาหารหรือวัตถุดิบ ดังนั้น ถ้ามีใครสักคนเอาอาหารหรือวัตถุดิบมาขายให้ถึงหน้าบ้านได้ ย่อมเป็นเรื่องดี และแน่นอนว่านี่คือช่องว่างทางธุรกิจที่ใหญ่มหาศาล

    กรณีศึกษาจากเมืองโทคุชิมะ (Tokushima) มีบริษัทหนึ่งชื่อว่า “Tokushimaru” คิดโมเดลธุรกิจที่ตอบโจทย์และแก้ปัญหา pain point ของผู้สูงวัยในสังคมญี่ปุ่นด้วยการส่งรถกับข้าว (คนไทยใช้คำนี้หรือบางทีก็เรียกรถพุ่มพวง แต่อย่างไรก็ดี มีความหมายที่เข้าใจร่วมกันว่าหมายถึง รถขายวัตถุดิบอาหาร ตั้งแต่ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ วัตถุดิบในครัว ไปจนถึงของชำเล็กๆ น้อยๆ)

    รถกับข้าวของ Tokushimaru จะทำหน้าที่เป็นเสมือน “ซุปเปอร์มาร์เก็ตเคลื่อนที่” โดยจะบรรทุกสินค้าในแต่ละครั้งกว่า 400 ชนิด และมีจำนวนไม่ต่ำกว่า 1,500 ชิ้น อย่างไรก็ตาม สินค้าต่างๆ ที่ขายในรถกับข้าวของ Tokushimaru มาจากความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ตในท้องถิ่น ทำให้สินค้ามีความหลากหลายและตอบโจทย์ลูกค้าในพื้นที่

    แต่กว่าที่ Tokushimaru จะประสบความสำเร็จมาถึงจุดนี้ บริษัทต้องใช้เวลากว่า 7-8 ปี ก่อนหน้านี้ได้เริ่มต้นชิมลางให้บริการมาตั้งแต่ปี 2012 และหลังจากนั้นมาจุดติดอย่างจริงจังในปี 2016 สามารถขยายบริการรถกับข้าวได้มากถึง 100 คัน และหลังจากเมื่อตั้งตัวได้ ทางบริษัทก็ขยายรถกับข้าวเพิ่มมากขึ้น คิดแล้วมีรถกับข้าวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 100 คันมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน

    ในทุกวันนี้ Tokushimaru มีรถกับข้าววิ่งให้บริการกว่า 470 คัน โดยตั้งเป้าว่าจะขยายการให้บริการไปในพื้นที่อื่นๆ ของญี่ปุ่นและจะมีจำนวนรถกับข้าวสูงถึง 1,000 คันในปี 2022

    อย่างไรก็ตาม ในฝั่งตะวันตกก็เริ่มมีกระแสการผลิตคิคค้น “รถกับข้าว 4.0” ไว้รองรับบริการลักษณะนี้ไว้แล้วในอนาคตเช่นกัน

    อ่านได้จากบทความ หรือว่าอนาคตของร้านสะดวกซื้อ คือรถยนต์ไร้คนขับที่ขนของมาขายถึงหน้าบ้าน หรือชมคลิปด้านล่างนี้

    โดย Thongchai Cholsiripong

    Sourve: Brandinside.asia
    https://brandinside.asia/grocery-stores-truck-japan/

    - Aging Japan creates demand for grocery stores on wheels : https://asia.nikkei.com/Business/Re...fvXQukCiwWito6P7HBCsvO1QIJXleIb3VTdCl11Q6JBmE
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นักวิทยาศาสตร์กลัวว่าในที่สุดเมื่อฝนตกลงมาพวกเขาจะล้างเศษซากที่ไหม้เกรียมลงไปในแม่น้ำ เขื่อน และมหาสมุทร ฆ่าสัตว์ป่าและทำให้ปนเปื้อนการจัดส่งน้ำดื่มในเมืองใหญ่ ๆ เช่นซิดนีย์
    https://www.nationalgeographic.com/science/2020/01/australian-fires-threaten-to-pollute-water/
    Scientists fear that when rains eventually fall, they will wash charred debris into rivers, dams, and the ocean, killing wildlife and even tainting the drinking supplies of major cities, such as Sydney.
    https://www.nationalgeographic.com/science/2020/01/australian-fires-threaten-to-pollute-water/
     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    หน่วยงานน้ำของกรุงเทพฯกล่าวว่าน้ำประปากำลังกลายเป็นน้ำเค็มเนื่องจากน้ำทะเลดันแม่น้ำเจ้าพระยา,ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของเมืองชายฝั่งหลายแห่งในเอเชีย
    http://news.trust.org/item/20200110061400-hmqqq/
    Bangkok's water authority says tap water is becoming saline as seawater pushes up the depleted Chao Phraya river, a growing risk faced by many of Asia's coastal cities
    http://news.trust.org/item/20200110061400-hmqqq/
     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ... "เกาะเคย์แมน : สวรรค์แห่งการฟอกเงินและหนีภาษีของบริษัทคนรวย"
    ... "หมู่เกาะเคย์แมน" เป็นเขตปกครองตนเอง โพ้นทะเลของอังกฤษในทะเลแคริบเบียนฝั่งตะวันตก อาณาเขต 264 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย สามเกาะ คือ แกรนด์เคย์แมน เคย์แมนบราคและ ลิตเติ้ลเคย์แมน ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของคิวบาและทางตะวันออกเฉียงเหนือของฮอนดูรัส เมืองหลวงคือจอร์จทาวน์ตั้งอยู่ที่เกาะ Grand Cayman ซึ่งเป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดในบรรดาสามเกาะ
    ... หมู่เกาะเคย์แมน ที่เข้าใจว่าถูกค้นพบครั้งแรกจากชาวยุโรปโดยคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ในวันที่ 10 พฤษภาคม 1503 และแยกตัวออกจาก จาไมก้า มาในปี 1962 เป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายของเขาในการมาอเมริกา ถือเป็นส่วนหนึ่งของเขตพื้นที่ทางตะวันตกของแคริบเบียน ดินแดนนี้มักถูกมองว่าเป็น “หลุบหลบภัยทางการเงินนอกชายฝั่ง” หรือ offshore financial haven ที่สำคัญของโลกสำหรับธุรกิจระหว่างประเทศและบุคคลที่ร่ำรวยหลายคน
    ... การท่องเที่ยวเริ่มเฟื่องฟูขึ้นในช่วงปี 1950 ถึง 1960 ด้วยการเปิดสนามบินตามด้วย “ธนาคาร” และโรงแรมหลายแห่งรวมถึงเที่ยวบินตามกำหนดการและเป็นจุดแวะพักของเรือสำราญของคนรวย จากนั้นก็มีรัฐธรรมนูธใหม่ในการจะพัฒนาเศรษฐกิจของเกาะ
    ... ที่ผ่านมาในอดีตเกาะนี้ เคยเป็นจุดหมายปลายทางที่ได้รับการ “ยกเว้นภาษี” และรัฐบาลมักพึ่งพาภาษีทางอ้อมและไม่ใช่ภาษีโดยตรง และไม่เคยเรียกเก็บภาษีเงินได้ ภาษีเงินที่ได้กำไรจากเงินทุนกองทุนหรือภาษีทรัพย์สินเลย ทำให้เป็นที่นิยมเป็นหลุมหลบภัยทางการเงินของบริษัทและคนรวยทั่วโลก
    ... ไม่มีการเก็บภาษีโดยตรงกับผู้อยู่อาศัยและ บริษัทที่จดทะเบียนในหมู่เกาะเคย์แมน รัฐบาลได้รับรายได้ส่วนใหญ่จากการเก็บภาษีทางอ้อม เช่น ภาษีถูกเรียกเก็บจาก “สินค้านำเข้าส่วนใหญ่” ซึ่งโดยทั่วไปอยู่ในช่วง 22% ถึง 25% รัฐบาลเรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในอัตราคงที่สำหรับ “สถาบันการเงิน” ที่ดำเนินงานในเกาะและมีรายได้จาก “ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน” สำหรับแรงงานต่างชาติ
    ... ตำนานการไม่เก็บภาษีของเกาะมาจากเรื่องเล่า “เรือล่ม 10 ลำ” เมื่อเจ้าชายชาวอังกฤษมีส่วนเกี่ยวข้องในการมากับซากเรืออับปางของชายฝั่งทางเหนือของแกรนด์เคย์แมน โชคดีที่คนท้องถิ่นเห็นซากเรือแตกและว่ายเข้าช่วยเหลือเขาช่วยเจ้าชายและลูกเรือของเขา ตั้งแต่วันนั้นเจ้าชายประกาศว่าด้วยความกตัญญูสำหรับความช่วยเหลือของเขา “พลเมืองของประเทศเกาะเคย์แมนจะไม่ต้องจ่ายภาษี” อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานที่เป็นทางการและเชื่อถือได้สำหรับเรื่องนี้หรือแม้กระทั่งว่าเจ้าชายอังกฤษมีส่วนร่วมในซากเรืออับปาง
    ... “สวรรค์ของการฟอกเงิน”
    ... เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายของ “อังกฤษ” เอง ต่อสู้กับ “การฟอกเงิน” ไม่พอใจเนื่องจากขาดความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ในหมู่เกาะเคย์แมน สำนักงานอาชญากรรมของอังกฤษบอกว่าไม่ได้รับข้อมูลที่ขอไปเลย คาดว่าจะมีมูลค่าการฟอกเงินสูงถึง 10,000 ล้านปอนด์ต่อวัน
    ... โดยตอนนั้นพวกอังกฤษพยายามอย่างมากในการจะหาหลักฐานเพื่อมา “ยึดเงินรัสเซีย” ที่เข้าอ้างว่าเป็นเงินสกปรกเข้ามาฟอกเงินในเกาะนี้ของ สหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังได้เปิดการสอบสวน “นักกฎหมายและนักบัญชี” ที่สงสัยว่าจะอำนวยความสะดวกในการฟอกเงินในเกาะนี้ด้วย
    ... ในรอบหลายปีที่ผ่านมา มีหลายสื่อมวลชนได้ตีแผ่เรื่องการฟอกเงินจากการโกงหรือทุจริตมากมาย เช่น เอกสาร “The Paradise Papers” เปิดเผยว่าบุคคลที่ร่ำรวยและทุจริตใช้โครงสร้างทางการเงินของเกาะเหล่านอกชายฝั่งนี้ ที่ซับซ้อนเพื่อปกปิดรอยในการฉ้อฉลทางการเงินของพวกเขา
    ... ฝ่ายสืบสวนการฟอกเงินบอกว่าขณะนี้มีสัญญาณว่า “อาชญากรทางการเงิน” กำลังหาที่ใหม่ ในการที่พวกเขาสามารถใช้ประโยชน์จากการตุกติกหลบหลีกจากกฎระเบียบที่เข้มงวดและซ่อนสายเครือข่ายของพวกเขาไปยังสินทรัพย์ที่สกปรกได้ "ประเทศเกาะเล็ก ๆหลายแห่ง ซึ่งผู้คนทั่วไปจากต่างประเทศสามารถจดทะเบียนบริษัทได้ง่าย แต่ยากที่จะเจาะลึกลงไปในแง่ของการเข้าถึงข้อมูล" เพราะเกาะเหล่านั้นต้องการเอื้อประโยชน์กับเจ้าของบริษัทหรือคนจดทะเบียน
    ... เกาะเคย์แมน และเกาะฟองเงินลักษณะเดียวกันนี้ มักเกี่ยวข้องกับบริษัทขนาดใหญ่ใน “การหลีกเลี่ยงการเก็บภาษี” จากประเทศตัวเอง เช่นกัน และหนึ่งในนั้นก็มีกลุ่ม “City of London” มหาอำนาจทางการเงินของโลกอยู่ด้วย
    .
    ... https://en.wikipedia.org/wiki/Cayman_Islands
    ...

    https://larouchepub.com/other/2007/3410caymans_hedges.html
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ระดับ 4 จาก 5 ระดับ

    ภูขาไฟตาอัลเกิดปะทุรุนแรง ชาวฟิลิปปินส์หลายหมื่นคนต้องอพยพออกจากพื้นที่เสี่ยง ขณะที่สนานบินนานาชาติกรุงมะนิลาหยุดให้บริการเพื่อความปลอดภัย #ThaiPBSnews
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มกราคม 2020
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    #Volcano ทางบกจะทำให้เกิด #Tsunami ได้อย่างไร

    เหตุการณ์ที่จังหวัดชวาตะวันตกอินโดนีเซีย เกิดจาก #แผ่นดินไหว จากกิจกรรมภูเขาไฟของ #Krakatau ปล่อยด้านที่สร้างอย่างหลวม ๆ ของภูเขาไฟไป #แผ่นดินทลาย
    How can a land-based #Volcano cause a #Tsunami?

    Events at West Java, Indonesia were caused by #Earthquake from volcanic activity of #Krakatau , releasing loosely created side of volcano to #Landslide

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ออสเตรเลียส่งเฮลิคอปเตอร์ โปรยอาหารลงมาจากฟ้า ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่หิวโหยและได้รับผลกระทบจากไฟป่า

    ทางการของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ได้ทำการโปรยมันหวานและแครอทกว่าสองพันกิโลกรัมจากเครื่องบิน เพื่อช่วยเหลือเหล่าฝูงวัลลาบี Wallaby หรือจิงโจ้แคระ สัตว์ประจำรัฐนิวเซาท์เวลส์ ที่รอดชีวิตจากไฟป่าครั้งใหญ่นี้

    รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของรัฐนิวเซาท์เวลส์ Matt Kean ได้กล่าวว่า ตามปกติวัลลาบีสามารถเอาตัวรอดจากไฟป่าได้ด้วยตัวเอง แต่หนนี้แหล่งอาหารของพวกมันถูกไฟเผาทำลายไปจนหมด ทำให้พวกมันเสี่ยงที่จะไม่รอดจากความหิวโหยแทน ตอนนี้ทางการให้ติดตั้งกล้องเพื่อตรวจสอบโดยใกล้ว่ามีพื้นที่ไหนที่ต้องเพิ่มปริมาณอาหารบ้าง

    WWF ได้คาดการณ์ว่าอาจมีสัตว์ป่ากว่า 1.25 พันล้านตัวที่จะตายจากเหตุการณ์ไฟป่าครั้งใหญ่ของออสเตรเลียนี้ ซึ่งสาเหตุการตายมาจากทั้งเพลิงไหม้ หรือจากผลกระทบของไฟป่า เช่น ไม่มีแหล่งที่อยู่เพื่อหลบภัย หรืออดอยากเนื่องจากไม่มีอาหาร

    ไม่ใช่วัลลาบีเท่านั้น แต่สัตว์ป่าพื้นเมืองของออสเตรเลียอีกหลายพันตัวจากหลากหลายสายพันธุ์อย่างโคอาล่า ชูการ์ไกลเดอร์ (จิงโจ้ร่อน) รวมไปถึงนกและหนูพื้นเมืองอีกมากมายก็ได้รับผลกระทบร้ายแรงไม่แพ้กัน

    ส่วนเจ้าวัลลาบีนั้น ได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูญพันธุ์มาตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุไฟไหม้แล้ว

    ทั้งนี้ ทีมช่วยเหลือ รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ได้เร่งเข้าช่วยเหลือสัตว์ป่าที่รอดจากไฟป่ากันอย่างต่อเนื่องเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียไปมากกว่านี้ โดยสัญญาว่าทุกการสนับสนุนจากคนทั้งโลกจะถูกส่งต่อเพื่อเยียวยาสัตว์ป่าอย่างแน่นอน

    หวังว่าการโปรยแครอทนี้จะไม่ตกใส่ตัวสัตว์และทำให้น้องๆสัตว์ป่าบาดเจ็บนะ

    ที่มา
    https://www.dailymail.co.uk/news/ar...lacoota-flown-planes-help-wombats-koalas.html


    https://www.nzherald.co.nz/world/news/article.cfm?c_id=2&objectid=12299668
    https://www.unilad.co.uk/animals/pl...of-carrots-and-potatoes-for-starving-animals/

    ภาพ Matt Kean และ NSW office of environment and hertitage

    แพร สันโดษ
    Environman
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ฟิลิปปินส์ - ครอบครัวที่ได้รับผลกระทบปกคลุมด้วยเถ้าถ่าน หลังจากการระเบิดของภูเขาไฟ Taal ที่รุนแรงวันนี้ 12 มกราคม
     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ภาพล่าสุดจากเกาะลูซอน ทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์
    จากเหตุการณ์ภูเขาไฟตาอัลปะทุ พ่นเถ้าถ่านเป็นจำนวนมาก ปกคลุมแทบจะทั้งหมดของเกาะลูซอน
    และบางส่วนก็ลอยมาทางกรุงมะนิลาของฟิลิปปินส์
    13/1/2563
     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Setiawan

    ช่วงเวลาก่อนที่ภูเขาไฟ Taal จะระเบิด / ปะทุในฟิลิปปินส์เมื่อวานนี้ 12 ม.ค. 2020
    The moment before Taal volcano exploded/ erupted in Philippine yesterday Jan12 2020

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ฟิลิปปินส์
    ภาพที่น่าเศร้าของสัตว์ต่าง ๆ ที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากเถ้าถ่านภูเขาไฟที่ตกลงมาจากภูเขาไฟ Taal ใน Batangas
     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายสันสกฤต
    TOPICS:คัมภีร์ทางศาสนาปฏิจจสมุปบาทพุทธศาสนามาธยมิกศาสตร์ศาสตระศูนยวาท POSTED BY: THANAKRIT พฤษภาคม 3, 2018


    ปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายสันสกฤต
    จากคัมภีร์มหาวัสตุอวทาน และ คัมภีร์มัธยมกศาสตร์ของนาคารชุน
    พร้อมตัวอักษรเทวนาครี บทปริวรรตอักษรไทย และแปลไทย ในส่วนคัมภีร์มัธยมกศาสตร์ มีเสียงอ่านประกอบด้วย

    21321f24e.jpg

    ปฏิจจสมุปบาท (บาลี : ปฏิจฺจสมุปฺปาท , สันสกฤต : ปฺรตีตฺยสมุตฺปาท ) เป็นชื่อพระธรรมหัวข้อหนึ่งในพุทธศาสนา ที่สำคัญมาก ๆ ในทุกนิกาย เรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปัจจยาการ เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย 12 เรื่องเกิดขึ้นสืบ ๆ เนื่องกันมาตามลำดับ

    ปฏิจจสมุปบาท นี้ปรากฎอยู่ในคัมภีร์ทั้งฝ่ายบาลี-สันสกฤต ทั้งฝ่ายสาวกยาน-มหายาน ถูกถ่ายเป็นภาษาจีนและธิเบต มีอรรถาธิบายอยู่มากหลายภาษา วันนี้นำเสนอปฏิจจสมุปบาทฝ่ายคัมภีร์สันสกฤต จากคัมภีร์มหาวัสตุอวทาน และ คัมภีร์มัธยมกศาสตร์ของนาคารชุนคัมภีร์มูลมัธยมกการิกา หรือ มัธยมกศาสตร์ ของท่านนาคารชุน

    ปฏิจจสมุปบาทนี้เป็นหลักธรรมที่มีความสำคัญ มีสารัตถะที่ละเอียดลึกซึ้ง รู้ได้ยาก เห็นได้ยาก ดังนั้นทำให้ให้การตีความปฏิจจสมุปบาท จึงมีการตีความได้หลายแนวทางหลายทัศนะ แม้แต่พระพุทธโฆสาจารย์ ผู้ชำระอรรถกถา กล่าวไว้ใน คัมภีร์วิสุทธิมรรค ว่า

    “จะกล่าวพรรณนาปัจจยาการ ทั้งที่ยังหาที่อาศัยไม่ได้ เหมือนดังก้าวลงสู่สาครยังไม่มีที่เหยียบยัน ก็แต่ว่า คำสอนปฏิจจสมุปบาทนี้ ประดับประดาไปด้วยนัยแห่งเทศนาต่างๆ”

    เหตุว่าปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมอันลึกซึ่งมีความหมายละเอียดกว้างขวาง ซึ่งส่วนประเด็นประหาในการการตีความ ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง อนึ่ง ผู้เรียบเรียงไม่ได้มีความรู้ความชำนาญในภาษาบาลีสันสกฤต บทความนี้เป็นแต่เพียงการเรียบเรียงการแปลใหม่ และนำเสนอ ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายคัมภีร์สันสกฤต ไว้สำหรับเทียบเคียง ไม่ได้เป็นอรรถาธิบายหรือการตีความใดๆ ที่ชี้ไปในทัศนะใดทัศนะหนึ่ง ดังนั้นจึงใช้การทับศัพท์เฉพาะและ อธิบายศัพท์เทียบฝ่ายบาลีพอประมาณเท่านั้น หากมีข้อผิดพลาดอันใด ที่สามารถแก้ไขให้เกิดประโยชน์ได้ สามารถแจ้งผู้เรียบเรียงได้โดยตรง



    “โย ปฏิจจสมุปฺปทามํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ”
    ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นย่อมเห็นธรรม

    “โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ”
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา

    วักกลิสูตร , มูลปัณณาสก(บาลี)

    ————————————————————


    “โย ภิกฺษวะ ปฺรตีตฺยสมุตฺปาทํ ปศฺยติ, ส ธรฺมํ ปศฺยติ ฯ

    โย ธรฺมํ ปศฺยติ, ส พุทฺธํ ปศฺยติ ฯ”

    ภิกษุใดเห็นประตีตยสมุปาท ภิกษุนั้นเห็นธรรม,
    ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นพระพุทธองค์

    ศาลิสตัมพสูตร(สันสกฤต)

    ปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายสันสกฤต
    จากคัมภีร์มหาวัสตุอวทาน
    ในทวิตียขัณฑ์ อวโลกิตสูตร

    มหาวัสตุอวทาน หรือ มหาวัสตุ (มหาวสฺตุ หมายถึง เหตุการณ์ครั้งสำคัญ หรือ เรื่องที่ยิ่งใหญ่) เป็นคัมภีร์ที่มีความสำคัญคัมภีร์หนึ่ง มีข้อความระบุในนิทานคาถาว่า มหาวัสตุเป็นพระวินัยปิฎกของนิกายโลโกตตรวาท (สำนักย่อยของนิกายมหาสังฆิกะ ซึ่งรุ่งเรืองในมัธยมประเทศของอินเดีย) มีเนื้อหาของคัมภีร์มีความเกี่ยวข้องกับพระวินัยที่เป็นเรื่องสิกขาบทของพระสงฆ์ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นงานประพันธ์ประเภทชาดกและอวทาน

    มหาวัสตุอวทาน นี้เป็นฉบับที่พบในประเทศเนปาล เอมิล เซนาร์ต (Émile Senart) ผู้เชี่ยวชาญภาษาสันสกฤตชาวฝรั่งเศสได้ตรวจชำระ ทำเชิงอรรถไว้ และมีฉบับภาษาไทยนั้น รศ.ดร.สำเนียง เลื่อมใส ได้แปลจากต้นฉบับภาษาสันสกฤต อักษรเทวนาครี ที่พิมพ์เผยแพร่ในอินเดีย และจัดพิมพ์ฉบับภาษาไทยเพื่อเผยแพร่ ทั้งสิ้น 3 เล่ม ณ ปัจจุบัน (เมษายน 2561) เล่ม 1 , 2 ยังจัดจำหน่ายอยู่ และเล่ม 3 ยังอยู่ในขั้นตอนการพิมพ์ สนใจติดต่อได้ที่ ศูนย์สันสกฤตศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร

    เนื้อหา ปฏิจจสมุปบาท ที่ปรากฎในมหาวัสตุอวทาน นั้นปรากฎในส่วนที่ 2 ที่เรียกว่า ทวิตียขัณฑ์ (มหาวสฺตุอวทานมฺ ทฺวิตียะ ขณฺฑะ) มีเนื้อว่าด้วยการอุบัติของพระโพธิสัตว์ การอภิเษกสมรส การสละชีวิตทางโลก และเสด็จออกจากพระราชวัง เพื่อแสดงหาทางหลุดพ้น และในสูตรที่ชื่อว่า อวโลกิตสูตร ที่อยู่ในส่วนที่ 2 นี้เอง ที่มีเนื้อถึง การเผชิญหน้าของพระโพธิสัตว์กับพญามาร และตรัสรู้สัจธรรมอันสูงสุดภายใต้ร่มโพธิ์ และ ปฏิจจสมุปบาท ดังจะคัดมานำเสนอต่อไปนี้

    ต้นฉบับภาษาสันสกฤต อักษรโรมัน จากโครงการ GRETIL
    ปริวรรตเป็นไทยและปริวรรต กลับเป็นเทวนาครี โดยโปรแกรมไทย-สันสคริปท์
    โดยเรียบเรียงใหม่การทับศัพท์ในการแปลอาศัยการทับศัพท์สันสกฤต โดยใช้อักขรวิธีไทย


    *บทความนี้เป็นการเรียบเรียงคำแปลใหม่ในรูปแบบของของผู้เรียบเรียงเอง
    และแสดงความสามารถในการปริวรรตของโปรแกรม
    โดยต้นฉบับภาษาสันสกฤตที่ใช้แตกต่างกัน มีตัดบทสนธิไม่เหมือนกัน
    ผลจากโปรแกรมซึ่งแตกแตกต่างจากการปริวรรตในหนังสือ มหาวัสตุอวทาน ฉบับแปลไทย
    โดยโปรแกรมไม่พินทุพยัญชนะ หน้า สระ ฤ


    หากจะอ้างอิงข้อความปริวรรตและคำแปลถึงหนังสือของ รศ.ดร.สำเนียง เลื่อมใส
    ต้องใช้ บทปริวรรต และคำแปลในหนังสือของท่านอาจารย์โดยตรงเท่านั้น



    ปณามคาถาคัมภีร์มหาวัสตุอวทาน
    ओं नमः श्रीमहाबुद्धाय अतीतानागतप्रत्युत्पन्नेभ्यः सर्वबुद्धेभ्यः
    โอํ นมะ ศฺรีมหาพุทฺธาย อตีตานาคตปฺรตฺยุตฺปนฺเนภฺยะ สรฺวพุทฺเธภฺยะ
    โอม ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐยิ่งใหญ่ พระพุทธเจ้าทั้งปวงทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน


    यदिदं इमस्य सतो इदं भवति इमस्य असतो इदं न भवति ।
    ยทิทํ อิมสฺย สโต อิทํ ภวติ อิมสฺย อสโต อิทํ น ภวติ ฯ
    เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี

    इमस्योत्पादादिदमुत्पद्यते ।
    อิมสฺโยตฺปาทาทิทมุตฺปทฺยเต ฯ
    เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

    इमस्य निरोधादिदं निरुध्यति इति पि ।
    อิมสฺย นิโรธาทิทํ นิรุธฺยติ อิติ ปิ ฯ
    เพราะสิ่งนี้ดับไป สิ่งนี้ก็ดับ

    अविद्याप्रत्ययाः संस्काराः
    อวิทฺยาปฺรตฺยยาะ สํสฺการาะ
    เพราะอวิทยาเป็นปัจจัย จึงมีสังสการ

    संस्कारप्रत्ययं विज्ञानं
    สํสฺการปฺรตฺยยํ วิชฺญานํ
    เพราะสังสการเป็นปัจจัย จึงมีวิชญาน

    विज्ञानप्रत्ययं नामरूपं
    วิชฺญานปฺรตฺยยํ นามรูปํ
    เพราะวิชญานเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

    नामरूपप्रत्ययं षडायतनं
    นามรูปปฺรตฺยยํ ษฑายตนํ
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีษฑายตนะ

    षडायतनप्रत्ययं स्पर्शः
    ษฑายตนปฺรตฺยยํ สฺปรฺศะ
    เพราะษฑายตนะเป็นปัจจัย จึงมีสปรรศะ

    स्पर्शप्रत्यया वेदना
    สฺปรฺศปฺรตฺยยา เวทนา
    เพราะสปรรศะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

    वेदनाप्रत्यया तृष्णा
    เวทนาปฺรตฺยยา ตฤษฺณา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตฤษณา

    तृष्णाप्रत्ययम् उपादानं
    ตฤษฺณาปฺรตฺยยมฺ อุปาทานํ
    เพราะตฤษณาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

    उपादानप्रत्ययो भवो
    อุปาทานปฺรตฺยโย ภโว
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

    भवप्रत्यया जाति
    ภวปฺรตฺยยา ชาติ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

    जातिप्रत्यया जरामरणशोकपरिदेवदुःखदौर्मनस्योपायासा भवन्ति ।
    ชาติปฺรตฺยยา ชรามรณโศกปริเทวทุะขเทารฺมนสฺโยปายาสา ภวนฺติ ฯ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมี ชรา มรณะ โศก[ความโศก] ปริเทวะ[ความคร่ำครวญ]
    ทุห์ข[ทุกข์] เทารมนัส[โทมนัส] และอุปายาส[ความคับแค้นใจ] ก็มีพร้อม

    एवमस्य केवलस्य महतो दुःखस्कन्धस्य समुदयो भवति ।
    เอวมสฺย เกวลสฺย มหโต ทุะขสฺกนฺธสฺย สมุทโย ภวติ ฯ
    กองทุกข์ใหญ่ถึงเพียงนี้ ย่อมเกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้

    इत्यपि अविद्यानिरोधात् संस्कारनिरोधः
    อิตฺยปิ อวิทฺยานิโรธาตฺ สํสฺการนิโรธะ
    อนึ่ง เพราะอวิทยาดับโดยไม่เหลือ สังสการจึงดับ

    संस्कारनिरोधाद् विज्ञाननिरोधः
    สํสฺการนิโรธาทฺ วิชฺญานนิโรธะ
    เพราะสังสการดับ วิชญาณจึงดับ

    विज्ञाननिरोधात् नामरूपनिरोधः
    วิชฺญานนิโรธาตฺ นามรูปนิโรธะ
    เพราะวิชญาณดับ นามรูปจึงดับ

    नामरूपनिरोधात् षडायतननिरोधः
    นามรูปนิโรธาตฺ ษฑายตนนิโรธะ
    เพราะนามรูปดับ ษฑายตนะจึงดับ

    षडायतननिरोधात् स्पर्शनिरोधः
    ษฑายตนนิโรธาตฺ สฺปรฺศนิโรธะ
    เพราะษฑายตนะดับ สปรรศะจึงดับ

    स्पर्शनिरोधाद् वेदनानिरोधः
    สฺปรฺศนิโรธาทฺ เวทนานิโรธะ
    เพราะสปรรศะดับ เวทนาจึงดับ

    वेदनानिरोधात् तृष्णानिरोधः
    เวทนานิโรธาตฺ ตฤษฺณานิโรธะ
    เพราะเวทนาดับ ตฤษณาจึงดับ

    तृष्णानिरोधाद् उपादाननिरोधः
    ตฤษฺณานิโรธาทฺ อุปาทานนิโรธะ
    เพราะตฤษณาดับ อุปาทานจึงดับ

    उपादाननिरोधाद् भवनिरोधः
    อุปาทานนิโรธาทฺ ภวนิโรธะ
    เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ

    भवनिरोधाज् जातिनिरोधः
    ภวนิโรธาชฺ ชาตินิโรธะ
    เพราะภพดับ ชาติจึงดับ

    जातिनिरोधाज् जरामरणशोकपरिदेवदुःखदौर्मनस्योपायासा निरुध्यन्ते ।
    ชาตินิโรธาชฺ ชรามรณโศกปริเทวทุะขเทารฺมนสฺโยปายาสา นิรุธฺยนฺเต ฯ
    เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โศก[ความโศก] ปริเทวะ[ความคร่ำครวญ]
    ทุห์ข[ทุกข์] เทารมนัส[โทมนัส] และอุปายาส[ความคับแค้นใจ] จึงดับ

    एवमस्य केवलस्य महतो दुःखस्कन्धस्य निरोधो भवति ॥
    เอวมสฺย เกวลสฺย มหโต ทุะขสฺกนฺธสฺย นิโรโธ ภวติ ๚
    เป็นอันว่ากองทุกข์ใหญ่นั้นย่อมดับ ด้วยประการฉะนี้.

    सर्वसंस्कारा अनित्याः सर्वसंस्कारा दुःखा सर्वधर्मा अनात्मानः ॥
    สรฺวสํสฺการา อนิตฺยาะ สรฺวสํสฺการา ทุะขา สรฺวธรฺมา อนาตฺมานะ ๚
    สังสการทั้งปวงไม่เที่ยง สังสการทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนาตมัน[อนัตตา]

    एतं शान्तं एतं प्रणीतं एतं यथावदेतं अविपरीतं यमिदं सर्वोपधिप्रतिनिःसर्गो सर्वसंस्कारसमथा धर्मोपच्छेदो तृष्णाक्षयो विरागो निरोधो निर्वाणं ॥
    เอตํ ศานฺตํ เอตํ ปฺรณีตํ เอตํ ยถาวเทตํ อวิปรีตํ ยมิทํ สรฺโวปธิปฺรตินิะสรฺโค สรฺวสํสฺการสมถา ธรฺโมปจฺเฉโท ตฤษฺณากฺษโย วิราโค นิโรโธ นิรฺวาณํ ๚ *
    ธรรมนั่นสงบ ประณีต เป็นจริง ไม่เปลี่ยนแปลง นั้นคือ ความสละคืนอุปธิทั้งปวง** ความสงบสังสการทั้งปวง ความตัดขาดแห่งสภาวะธรรม ความสิ้นไปแห่งตฤษณา ความปราศจากราคะ ความดับ นิรวาณ

    * ในฝ่ายบาลีว่า :
    เอตํ สนฺตํ เอตํ ปณีตํ ยทิทํ สพฺพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค ตณฺหกฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานนฺติ
    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวงความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน
    สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย พยสนสูตร
    ** อุปธิ คือ สภาพธรรมซึ่งทรงไว้ซึ่งทุกข์




    ปฏิจจสมุปบาท ฝ่ายสันสกฤต

    จากคัมภีร์มัธยมกศาสตร์ของนาคารชุน
    (มูลมัธยมกการิกา)
    ปกรณ์ที่ ๒๖ ทฺวาทศางฺคปรีกฺษา

    คัมภีร์มูลมัธยมกการิกา หรือ มัธยมกศาสตร์ เป็นผลงานชิ้นเอกของท่านนาคารชุน ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาชาวอินเดีย เป็นพื้นฐานสำคัญของแนวคิดศูนยวาท ซึ่งส่งผลสำคัญต่อแนวคิดแบบมหายาน โดยพระนาคารชุนะอธิบายหลักพุทธพจน์บนพื้นฐานของปรัชญาศูนยตวาท คำว่า มาธยมิกะ หมายถึงทางสายกลาง คือปรัชญาสายกลางระหว่างสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่ามีอยู่อย่างเที่ยงแท้) และอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ)

    เนื้อหาของคัมภีร์นี้ เน้นหนักในเรื่อง ธรรมชั้นสูงมากกว่าธรรมในระดับชาวบ้าน เพราะทั้งหมดเกี่ยวข้องกับเรื่อง อภิธรรม เพราะวัตถุประสงค์ของการรจนาคัมภีร์นี้ก็เพื่อเป็นคู่มือการโต้วาทีและอธิบายอภิธรรมสำหรับผู้รู้เป็นหลัก

    ความหมายของ มูลมัธยมกการิกา ประกอบจากคำว่า มูล หมายถึง แรกเริ่มหรือพื้นฐาน มธฺยมก แปลว่า ทางสายกลาง และ การิกา หมายถึง คัมภีร์ที่รจนาขึ้นในรูปแบบฉันทลักษณ์ ใช้ถ้อยคำน้อยสั้น ๆ แต่มีความหมายลึกซึ้ง ในทีนี้ใช้ ลำนำ เนื้อหาของคัมภีร์มูลมัธยมกการิกา อยู่ในรูปภาษาสันสกฤตแบบแผน หรือ ตันติสันสกฤต เนื้อหาอยู่ในลักษณะฉันทลักษณ์ที่เรียกว่า โศลก จำนวน 450 โศลก แบ่งเป็น 27 ปกรณ์ แต่ละปกรณ์เรียกว่า ปะรีกษา แปลว่า การตรวจสอบ หรือ การพินิจวิเคราะห์ โดยปกรณ์ ที่่ 26 นั้นจะเป็นเนื้อหา ปฏิจจสมุปบาท ชื่อว่า ทฺวาทศางฺคปรีกฺษา ษฑฺวิํศติตมํ ปฺรกรณมฺฯ ว่าด้วย การวิเคราะห์ เหตุปัจจัยในปฏิจจสมุปบาท แต่ละเหตุปัจจัย ที่เรียกว่า องค์ (องฺค) หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า การวิเคราะห์องค์ธรรมอันสืบเนื่องกัน ๑๒ ประการ


    ต้นฉบับภาษาสันสกฤต อักษรเทวนาครีจากโครงการ DSBC
    ปริวรรตเป็นไทยโดยโปรแกรมไทย-สันสคริปท์
    เสียงจากโครงการ Bodhisvara
    ในส่วนคำแปลเรียบเรียงใหม่และอธิบายศัพท์ตามอ้างอิง ดังมีรายละเอียดด้านล่าง
    โดยอิงจากฉบับแปลอังกฤษ และแจงศัพท์ของ อ้างอิงที่ 3 เป็นหลัก และอ้างอิงที่ 4
    การทับศัพท์ในการแปลอาศัยการทับศัพท์สันสกฤต โดยใช้อักขรวิธีไทย

    * Shih-Foong Chin แปลจากฉบับสันสกฤตเป็นภาษาอังกฤษ โดยใช้ฉบับแปลภาษาจีนและศัพท์ในภาษาบาลีแปลร่วม โดยมีการแสดงการแปลยกศัพท์ แยกสมาสสนธิ แจงไวยากรณ์ของศัพท์ด้วย : ดูเพิ่มเติมอ้างอิงที่ 3



    ปณามคาถาคัมภีร์มัธยมกศาสตร์
    अनिरोधम् अनुत्पादम् अनुच्छेदम् अशाश्वतम् |
    अनेकार्थम् अनानार्थम् अनागमम् अनिर्गमम् ||१||
    อนิโรธมฺ อนุตฺปาทมฺ อนุจฺเฉทมฺ อศาศฺวตมฺ ฯ
    อเนการฺถมฺ อนานารฺถมฺ อนาคมมฺ อนิรฺคมมฺ ๚๑๚

    1.ธรรมอัน ไม่มีความดับ, ไม่มีความเกิดขึ้น, ไม่มีความขาดสูญ, ไม่มีความเที่ยงแท้
    ไม่มีความหมายเพียงอย่างเดียว , ไม่มีความหมายนานาประการ, ไม่มีการมา, ไม่มีการไป

    यः प्रतीत्यसमुत्पादं प्रपञ्चोपशमं शिवम् |
    देशयामास संबुद्धस्तं वन्दे वदतां वरम् ||२||
    ยะ ปฺรตีตฺยสมุตฺปาทํ ปฺรปญฺโจปศมํ ศิวมฺ ฯ
    เทศยามาส สํพุทฺธสฺตํ วนฺเท วทตํา วรมฺ ๚๒๚

    2.ธรรมอันชื่อว่า ประตีตยสมุตปาท [1] อันประเสริฐ มีธรรมอันสงบปราศจาก ประปัญจธรรม[2]
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงสอนธรรมเหล่านี้ ข้าพเจ้าขอน้อบนอมวันทาแด่ พระผู้มีวาทะเลิศยิ่งกว่าวาทะทั้งหลาย พระองค์นั้น



    नागार्जुन कृत मध्यमकशास्त्रम् |
    นาคารฺชุน กฤต มธฺยมกศาสฺตฺรมฺ ฯ
    มัธยมกศาสตร์ของนาคารชุน



    [คลิกเพื่อฟังเสียงอ่าน]

    ตัวเล่นไฟล์เสียง

    00:00
    00:00
    ใช้ปุ่มลูกศรขึ้น/ลง เพื่อเพิ่มหรือลดระดับเสียง


    द्वादशाङ्गपरीक्षा षड्विंशतितमं प्रकरणम्।
    ทฺวาทศางฺคปรีกฺษา ษฑฺวิํศติตมํ ปฺรกรณมฺฯ
    ปกรณ์ที่ ๒๖ ว่าด้วย การวิเคราะห์องค์ธรรมอันสืบเนื่องกัน ๑๒ ประการ
    ( ๑๒ เหตุปัจจัยในปฏิจจสมุปบาท)



    पुनर्भवाय संस्कारानविद्यानिवृतस्त्रिधा।
    अभिसंस्कुरुते यांस्तैर्गतिं गच्छति कर्मभिः॥१॥

    ปุนรฺภวาย สํสฺการานวิทฺยานิวฤตสฺตฺริธาฯ
    อภิสํสฺกุรุเต ยําสฺไตรฺคติํ คจฺฉติ กรฺมภิะ๚๑๚

    ๑. ผู้มืดบอดด้วยอวิทยา[3] ย่อมกระทำในสังสการทั้งสามทาง[4]อันที่จะนําไปสู่ภพใหม่[5] ฯ
    ด้วยการกระทำ[ในสังสการ]เหล่านี้ เขาย่อมไปสู่คติ[6]ด้วยกรรมนั้น ๚


    विज्ञानं संनिविशते संस्कारप्रत्ययं गतौ।
    संनिविष्टेऽथ विज्ञाने नामरूपं निषिच्यते॥२॥

    วิชฺญานํ สํนิวิศเต สํสฺการปฺรตฺยยํ คเตาฯ
    สํนิวิษฺเฏ’ถ วิชฺญาเน นามรูปํ นิษิจฺยเต๚๒ ๚

    ๒. เพราะสังสการเป็นปัจจัย วิชญาน[7]จึงมีขึ้นย่อมไปสู่คติ ฯ
    ครั้นเมื่อวิชญานเข้าถึง[คตินั้น]แล้ว นามรูป[8]จึงเจริญขึ้น ๚

    निषिक्ते नामरूपे तु षडायतनसंभवः।
    षडायतनमागम्य संस्पर्शः संप्रवर्तते॥३॥

    นิษิกฺเต นามรูเป ตุ ษฑายตนสํภวะฯ
    ษฑายตนมาคมฺย สํสฺปรฺศะ สํปฺรวรฺตเต๚๓๚

    ๓. เมื่อนามรูปเจริญแล้ว ษฑายตนะ[9]จึงเกิดขึ้น ฯ
    เมื่อษฑายตนะเกิดแล้ว สปรรศะ[10]จึงเกิดตาม ๚

    चक्षुः प्रतीत्य रूपं च समन्वाहारमेव च।
    नामरूपं प्रतीत्यैवं विज्ञानं संप्रवर्तते॥४॥

    จกฺษุะ ปฺรตีตฺย รูปํ จ สมนฺวาหารเมว จฯ
    นามรูปํ ปฺรตีตฺไยวํ วิชฺญานํ สํปฺรวรฺตเต๚๔๚

    ๔. อาศัยตา รูป และความสนใจอันเดียวกันนี้ ฯ
    และด้วยอาศัยนามรูป [จักษุร]วิชญาน[11]จึงเกิดตาม ๚

    संनिपातस्त्रयाणां यो रूपविज्ञानचक्षुषाम्।
    स्पर्शः सः तस्मात्स्पर्शाच्च वेदना संप्रवर्तते॥५॥

    สํนิปาตสฺตฺรยาณํา โย รูปวิชฺญานจกฺษุษามฺฯ
    สฺปรฺศะ สะ ตสฺมาตฺสฺปรฺศาจฺจ เวทนา สํปฺรวรฺตเต๚๕๚

    สิ่งใดประกอบด้วยสามสิ่งอันมี รูป วิชญาน และตา
    สิ่งนั้นคือสปรรศะ ด้วยเหตุจากสปรรศะนี้เอง เวทนา[12]จึงเกิดตาม

    वेदनाप्रत्यया तृष्णा वेदनार्थं हि तृष्यते।
    तृष्यमाण उपादानमुपादत्ते चतुर्विधम्॥६॥

    เวทนาปฺรตฺยยา ตฤษฺณา เวทนารฺถํ หิ ตฤษฺยเตฯ
    ตฤษฺยมาณ อุปาทานมุปาทตฺเต จตุรฺวิธมฺ๚๖๚

    เวทนาเป็นปัจจัยให้ตฤษณา[13] ตฤษณาจึงมีขึ้นเพราะวัตถุแห่งเวทนานั้นแหละ
    ผู้มีตฤษณาย่อมยึดมั่นถือมั่นในอุปาทาน ๔ [14]

    उपादाने सति भव उपादातुः प्रवर्तते।
    स्याद्धि यद्यनुपादानो मुच्येत न भवेद्भवः॥७॥

    อุปาทาเน สติ ภว อุปาทาตุะ ปฺรวรฺตเตฯ
    สฺยาทฺธิ ยทฺยนุปาทาโน มุจฺเยต น ภเวทฺภวะ๚๗๚

    เมื่ออุปาทานมีอยู่ ภพ[15]ของผู้ที่ยึดมั่นถือมั่นย่อมเกิดขึ้นตามมา
    ถ้าผู้นั้นไม่มีอุปาทานเสียแล้ว เขาย่อมปล่อยวางเป็นอิสระได้ ภพก็จักไม่มี

    पञ्च स्कन्धाः स च भवः भवाज्जातिः प्रवर्तते।
    जरामरणदुःखादि शोकाः सपरिदेवनाः॥८॥

    ปญฺจ สฺกนฺธาะ ส จ ภวะ ภวาชฺชาติะ ปฺรวรฺตเตฯ
    ชรามรณทุะขาทิ โศกาะ สปริเทวนาะ๚๘๚

    สกันธ์ทั้ง ๕ นี้[16] ก่อให้เกิดภพ และชาติ[17]ก็มาจากภพ,
    มี ชรา มรณะ[18] ทุกข์ เป็นอาทิ พร้อมด้วย ความโศกปริเทวนาการ [ความเศร้าคร่ำครวญ]

    दौर्मनस्यमुपायासा जातेरेतत्प्रवर्तते।
    केवलस्यैवमेतस्य दुःखस्कन्धस्य संभवः॥९॥

    เทารฺมนสฺยมุปายาสา ชาเตเรตตฺปฺรวรฺตเตฯ
    เกวลสฺไยวเมตสฺย ทุะขสฺกนฺธสฺย สํภวะ๚๙๚

    โทมนัส อุปายาส [ความเสียใจคับแค้นใจ] ก็เกิดเนื่องจากชาติ
    เช่นนั้นแล้ว จึงเป็นการเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้

    संसारमूलान्संस्कारानविद्वान् संस्करोत्यतः।
    अविद्वान् कारकस्तस्मान्न विद्वांस्तत्त्वदर्शनात्॥१०॥

    สํสารมูลานฺสํสฺการานวิทฺวานฺ สํสฺกโรตฺยตะฯ
    อวิทฺวานฺ การกสฺตสฺมานฺน วิทฺวําสฺตตฺตฺวทรฺศนาตฺ๚๑๐๚

    ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่มีอวิทยาย่อมกระทำในสังสการ ซึ่งเป็นมูลเหตุแห่งสังสาระ [19]
    ดังนั้น ผู้ที่มีอวิทยาย่อมเป็นผู้กระทํา[ในสังสการ] ส่วนผู้ที่มีวิทยาย่อมไม่กระทําเพราะเห็นตามความเป็นจริง

    अविद्यायां निरुद्धायां संस्काराणामसंभवः।
    अविद्याया निरोधस्तु ज्ञानेनास्यैव भावनात्॥११॥

    อวิทฺยายํา นิรุทฺธายํา สํสฺการาณามสํภวะฯ
    อวิทฺยายา นิโรธสฺตุ ชฺญาเนนาสฺไยว ภาวนาตฺ๚๑๑๚

    เมื่ออวิทยาดับลง สังสการก็ไม่เกิดขึ้น
    แต่การดับลงของอวิทยา เกิดขึ้นจากการเจริญภาวนาเพื่อให้ได้ชญาน[20] คือ ความรู้แจ้ง

    तस्य तस्य निरोधेन तत्तन्नाभिप्रवर्तते।
    दुःखस्कन्धः केवलोऽयमेवं सम्यङ् निरुध्यते॥१२॥

    ตสฺย ตสฺย นิโรเธน ตตฺตนฺนาภิปฺรวรฺตเตฯ
    ทุะขสฺกนฺธะ เกวโล’ยเมวํ สมฺยงฺ นิรุธฺยเต๚๑๒๚

    เนื่องด้วยการดับลงของสิ่งนั้นๆ[คือองค์ในปฏิจจสมุปบาทที่มาก่อน]
    สิ่งนี้[คือองค์ในปฏิจจสมุปบาทที่ตามมา]ก็จักไม่เกิดขึ้น
    เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งปวงย่อมดับมอดลงไม่เหลือ ด้วยประการฉะนี้

    เชิงอรรถ


    บ. : บาลี , ส. : สันสกฤต
    [1] ประตีตยสมุตปาท, ปฏิจจสมุปบาท (บ.ปฏิจฺจสมุปฺปาท , ส. ปฺรตีตฺยสมุตฺปาท ) คือ หลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน,การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น

    [2] ประปัญจธรรม, ปปัญจธรรม (บ. ปปญฺจ , ส. ปฺรปญฺจ ) คือ ปัจจัยหลายปัจจัยปรุงแต่งอย่างสลับซับซ้อน แล้วแสดงเป็นปรากฎการณ์ต่างๆ ทำให้การรับรู้ความเข้าใจผิดไปจากความเป็นจริง ในฝ่ายบาลีว่า เป็นกิเลสเครื่องเนิ่นช้า, กิเลสที่เป็นตัวการทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริง ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริงหรือทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทางตรงไปตรงมา ว่า กิเลสดังกล่าวมี ตัณหา มานะ และทิฏฐิ เรียกว่า ปปัญจธรรม ในฝ่าย อไทฺวตเวทานตะของฝ่ายฮินดู หมายถึง ปรากฎการณ์ของจักวาล (phenomenal universe)

    [3] อวิทยา หรือ อวิชชา (บ. อวิชฺชา, ส. อวิทฺยา) หมายถึง ความไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งธรรม ตรงข้ามกับ วิชฺชา หรือ วิทฺยา

    [4] สังสการ หรือ สังขาร (บ. สํขาร, ส. สํสฺการ ) มีความหมายหลายนัยยะ ขึ้นอยู่กับบริบท ในบริบทปฏิจจสมุปบาท นั้นหมายถึง สิ่งปรุงแต่งทางใจ ตามที่เคยสั่งสม,อบรม,ประพฤติ,ปฏิบัติไว้แต่อดีต ที่ทำให้เกิดการกระทํา 3 อย่าง เรียกในภาษาบาลีสันสกฤต ตามลำดับดังนี้
    1. สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี (ส. ปุณฺย สํสฺการ , บ. ปุญญาภิสังขาร )
    2.สภาพที่ปรุงแต่กรรมฝ่ายชั่ว (ส. อปุณฺย สํสฺการ , บ. อปุญญาภิสังขาร )
    3.สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว หรือ สภาพกลางๆ (ส. อนิญฺชฺย สํสฺการ , บ. อาเนญชาภิสังขาร )
    ในฝ่ายบาลียังหมายถึง กายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร

    [5] ส. ปุนรฺภว หรือ บ. ปุนพฺภว ในบาลีมีอีกคำคือ ปฏิสนฺธิ

    [6] คติ คำนี้มีความหมายหลายนัยยะ ขึ้นอยู่กับบริบท หมายถึง ที่ไป, ที่ ๆ จะไป ในความหมายทั่วๆไป ซึ่งก็มีทั้งที่ไปดี (สุคติ) กับ ที่ไปที่ไม่ดี (ทุคติ) หมายถึง ที่ไปของจิตก็ได้ หรือหมายถึง คติภพ ภพที่สัตว์กำลังเป็นอยู่ และภพที่จะไปเกิดต่อไป ก็ได้ ฝ่ายเถรวาท มี 5 คติ เรียกในภาษาบาลีสันสกฤต ตามลำดับดังนี้
    1.นรก (บ. นิรย , ส. นรก )
    2.กำเนิดดิรัจฉาน (บ. ติรจฺฉานโยนิ , ส. ติรฺยคฺโยนิ )
    3.เปรตวิสัย (บ. ปิตฺติวิสย,เปตฺติวิสย , ส. เปฺรตวิษย )
    4.มนุษย์ (บ. มนุสฺสา , ส. มนุษฺย )
    5.เทวดา (บ. ส. เทวา )
    ฝ่ายมหายานว่า มี 6 เพิ่ม อสูร เข้ามา
    6.อสูร (บ. ส. อสุร)

    [7] วิญญาณ หรือ วิชญาน (บ. วิญฺญาณ , ส. วิชฺญาณ) คือความรู้แจ้งอารมณ์ อภิธรรมในนิกายต่างๆ มีรายละเอียด การจำแนกวิญญาณ ทรรศนะเรื่องวิญญาณ เรื่องปลีกย่อยต่างกัน แต่มีใจความหลัก เรียกในภาษาบาลีสันสกฤต ตามลำดับดังนี้
    ส.จกฺษุรฺวิชฺญาณ , บ. จกฺขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา คือรู้รูปด้วยตา หรือการเห็น
    ส.โศฺรตฺรวิชฺญาณ , บ. โสตวิญฺญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู คือรู้เสียงด้วยหู หรือการได้ยิน
    ส. ฆฺราณวิชฺญาณ , บ. ฆานวิญฺญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก คือรู้กลิ่นด้วยจมูก หรือการได้กลิ่น
    ส. ชิหฺวาวิชฺญาณ , บ. ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น คือรู้รสด้วยลิ้น หรือการรู้รส
    ส. กายวิชฺญาณ , บ. กายวิญฺญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย คือรู้โผฏฐัพพะด้วยกาย หรือการรู้สึกกายสัมผัส
    ส.มโนวิชฺญาณ , บ. มโนวิญฺญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ คือรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ หรือการนึกคิด

    [8] นามรูป (บ. ส. นามรูป) นามและรูป, มนุษย์เรา ประกอบด้วยส่วนต่างๆ 5 อย่าง เรียกว่าขันธ์ 5 เราอาจย่นย่อลงอีกก็ได้ คือ รูปเรียกว่ารูป ส่วนอีก ๔ อย่างเรียกว่านาม, คำว่านามรูป จึงหมายถึง ขันธ์ 5 นั่นเอง (ดูที่ ขันธ์ 5 ด้านล่าง )
    หรือหมายถึง การทำงานของครบองค์แห่งชีวิต คือ ขันธ์ 5 เกิดการทำงาน หรือเกิดการตื่นตัว พร้อมทำงานในกิจต่างๆที่เกิดขึ้น หรือเกิดการทำงานในสังขารกิเลสนั้นๆขึ้น
    ในฝ่ายบาลียังหมายถึงเวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่านาม มหาภูตรูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูป ร่วม เรียกว่านามรูป

    [9] ษฑายตนะ,สฬายตน (บ. สฬายตน, ส. ษฑายตน) อายตนะ 6 ตามศัพท์แปลว่าเขต หรือแดน หมายถึงเป็นที่ต่อ ที่บรรจบ ที่ประชุมกัน ทำให้เกิดการรับรู้ในสิ่งต่างๆ มีอายตนะภายใน และ นอก แบ่งเป็น 6 คู่ หรือ 12 ชนิด อายตนะภายใน มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายนอก มี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส อารมณ์ เรียกในภาษาบาลีสันสกฤต ตามลำดับดังนี้
    1. ส . จกฺษุรายตน – รูปายตน : บ. จกฺขายตน – รูปายตน ได้แก่ ตา(ประสาทรับภาพ) – รูป แสงและสี(คลื่นแสง)
    2. ส . โศฺรตฺรายตน – ศพฺทายตน : บ. โสตายตน – สทฺทายตนะ ได้แก่ หู(ประสาทรับเสียง) – เสียง (คลื่นเสียง)
    3. ส . ฆฺราณายตน – คนฺธายตน : บ. ฆานายตน -คนฺธายตน ได้แก่ จมูก(ประสาทรับกลิ่น) – กลิ่น(อนุภาคทางเคมีชนิดหนึ่ง)
    4. ส . ชิหฺวายตน – รสายตน : บ. ชิวหายตน – รสายตน ได้แก่ ลิ้น(ประสาทรับรส) – รส (อนุภาคทางเคมีชนิดหนึ่ง)
    5. ส . กายายตน – สฺปฺรษฺฏวฺยายตน : บ. กายายตน – โผฏฺฐพฺพายตน ได้แก่ กาย(ประสาทสัมผัส) – สิ่งที่มาถูกต้องกาย ความเย็นร้อน ความอ่อนแข็ง ความหย่อนตึงหยาบละเอียด
    6. ส . มนายตน – ธรฺมายตน : บ. มนายตน – ธมฺมายตน ได้แก่ จิตหรือใจ – ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่ใจรู้ หรืออารมณ์ที่เกิดทางใจ ความจำ ความคิด จินตนาการ

    [10] สปรรศะ,ผัสสะ (บ. ผสฺส , ส. สฺปรฺศ) คือ การสัมผัส การกระทบ การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก การประจวบกระทบกันทั้ง 3 ของ อายตนะภายใน, ภายนอก และวิญญาณ

    [11] จักษุรวิชญาน ตามความหมายที่กล่าวมาก่อนหน้า ในคัมภีร์ยกไว้เป็นตัวอย่าง ไม่ได้กล่าวถึง วิชญาน ทั้งหมด

    [12]เวทนา (บ. ส. เวทนา ) เวทนา นี้ถูกกล่าวในหมวดธรรมหลายหมวด จำแนกเป็นประเภทต่างๆ ได้หลายแบบ และในอภิธรรมทั้งฝ่ายมหายานและเถรวาท อาจมีรายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ซึ่งมีความหมายหลักๆ หมายถึง ความรู้สึก การเสวยอารมณ์, การเสพในสิ่งใดๆที่มากระทบสัมผัส(ผัสสะ) หรือก็คือสิ่งที่จิตไปยึดเหนี่ยวในขณะนั้นๆนั่นเอง เวทนาที่กล่าวในปฏิจจสมุปบาท มักจำแนกเป็น เวทนา 3 และยังทำให้ อนุสัยกิเลส ซึ่งเป็นกิเลสอย่างละเอียดที่สั่งสม นอนเนื่องในจิตอยู่แล้ว คุกรุ่นสะสมขึ้นอีก เรียกในภาษาบาลีสันสกฤต ตามลำดับดังนี้
    1. สุขเวทนา (บ. ส. สุขเวทนา ) ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม ผู้ที่รู้สึกสุขเวทนา ย่อมเพลิดเพลิน พูดถึง ดำรงอยู่ด้วยความติดใจ จึงมีราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ (สิ่งย้อมใจให้ติด) (บ.ราคานุสย , ส. ราคานุศย)
    2. ทุกขเวทนา(บ. ทุกฺขเวทนา , ส. ทุะขเวทนา) ความรู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม ผู้ที่รู้สึกทุกขเวทนา ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไห้ คร่ำครวญ โกรธ หลง จึงมีปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ (สิ่งกระทบใจให้ไม่ชอบ) ( บ. ปฏิฆานุสย , ส. ปฺรติฆานุศย)
    3. อทุกขมสุขเวทนา (บ. อทุกฺขมสุขเวทนา , ส. อทุะขาสุขเวทนา ) ความรู้สึกเฉยๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่ ผู้ที่รู้สึกอทุกขมสุขเวทนา ย่อมไม่ทราบชัดความตั้งขึ้น ความดับไป คุณ โทษ และที่สลัดออกแห่งเวทนานั้น ตามความเป็นจริง จึงมีอวิชชานุสัยนอนเนื่องอยู่ (ความไม่รู้) ( อวิชฺชานุสย , ส. อวิทฺยานุศย )

    [13] ตฤษณา , ตัณหา ( บ. ตณฺหา , ส. ตฤษฺณา) คือ ความทะยานอยาก และไม่อยาก , ความดิ้นรน, ความปรารถนา, ความเสน่หา มี 3 ประการ เรียกในภาษาบาลีสันสกฤต ตามลำดับดังนี้
    1. กามตัณหา ( บ. กามตณฺหา , ส. กามตฤษฺณา)ความทะยานอยากในกามคุณ คือ ใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ความติดใจ ความพอใจในกามภพ
    2. ภวตัณหา ( บ. ภวตณฺหา , ส. ภวตฤษฺณา) ความทะยานอยากในภพ อยากเป็นนั่น อยากได้นี่, หรือความอยาก, จึงอาจรวมทั้งความอยากให้คงอยู่
    3. วิภวตัณหา( บ. วิภวตณฺหา , ส. วิภวตฤษฺณา) ความทะยานอยากในวิภพ คือ อยากไม่เป็นนั่น อยากไม่ให้เป็นอย่างนี้ อยากให้สิ่งนั้นๆพรากพ้นดับสูญ อยากให้สิ่งที่ไม่ดีหรือที่ไม่ต้องการนั้นๆไม่ให้เกิดขึ้น

    [14] อุปาทาน (บ. ส.อุปาทาน) ความยึดมั่น, ความถือมั่นยึดมั่นด้วยอำนาจของกิเลส หรือความยึดมั่นถือมั่นให้เป็นไปตามอำนาจของตัณหา หรือความยึดมั่น ถือมั่นตามความพึงพอใจของตัวของตน มี 4 ประการ เรียกในภาษาบาลีสันสกฤต ตามลำดับดังนี้
    1.ความยึดมั่นถือมั่นในกาม ( บ. กามุปาทาน , ส. กาโมปาทาน)
    กามในภาษาธรรม ไม่ได้หมายถึงเรื่องทางเพศ อย่างเดียวแต่หมายถึง ยึดมั่นใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เนื่องด้วยตัณหาความกำหนัดในสิ่งต่างๆ ที่อยากได้ อยากมี อยากเป็น
    2.ความยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิ ( บ. ทิฏฺฐุปาทาน , ส. ทฤษฺตฺยุปาทาน)
    ความยึดมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี คือ ยึดมั่นในความเห็น ลัทธิ หรือหลักคำสอนต่างๆ ความเชื่อ ความคิด หรือในทฤษฎีของตัวของตน
    3.ความยึดมั่นถือมั่นในศีล(ข้อสำรวมระวังไม่ล่วงละเมิด) และพรต(ข้อที่พึงถือปฏิบัติ) (บ. สีลพฺพตุปาทาน , ส. ศีลวฺรโตปาทาน)
    ความยึดมั่นในศีลและพรต คือ หลักความประพฤติ ข้อปฏิบัติ แบบแผน ระเบียบ วิธี ขนบธรรมเนียมประเพณี ลัทธิพิธีต่างๆ ถือว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ โดยสักว่า กระทำสืบๆ กันมาหรือปฏิบัติตามๆ กันไปอย่างงมงาย หรือโดยนิยมว่าขลัง ว่าศักดิ์สิทธิ์ มิได้เป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจตามหลักความสัมพันธ์แห่งเหตุและผล
    4. ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน (บ. อตฺตวาทุปาทาน , ส. อาตฺมวาโทปาทาน)
    คือ ความถือหรือสำคัญหมายอยู่ในภายในว่า มีตัวตน ที่จะได้ จะเป็น จะมี จะสูญสลาย ถูกบีบคั้นทำลายหรือเป็นเจ้าของ เป็นนายบังคับบัญชาสิ่งต่างๆ ได้ ไม่มอง เห็นสภาวะของสิ่งทั้งปวงอันรวมทั้งตัวตนว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่ประชุมประกอบกันเข้า เป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งหลายที่มาสัมพันธ์กันล้วนๆ

    [15] ภพ (บ. ส. ภว) มีความหมายหลายนัยยะ ขึ้นอยู่กับบริบท หมายถึง ความมี หรือความเป็น โลกอันเป็นที่อยู่ของสัตว์, ภาวะชีวิตของสัตว์ ภาวะของชีวิตหรือภาวะของจิตที่อยู่ภายใต้การครอบงำของอุปาทาน ณ ช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ
    นัยยะ ภาวะของจิต หมายถึง
    1. กามภพ สภาวะหรือบทบาทต่างๆในแบบทางโลกๆ ข้องกับกาม อันเนื่องมาจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์
    2. รูปภพ สภาวะหรือสถานะที่ยังยึดติดยึดถือในรูปอันวิจิตรที่สัมผัสได้ด้วยใจ กล่าวคือ ละเอียดอ่อนซ่อนรูปกว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์
    3. อรูปภพ สภาวะหรือสถานะในอรูปอันวิจิตรอันสัมผัสได้ด้วยใจ ใน อรูปฌาน
    หรือ อีกนัยยะหมายถึง ภาวะชีวิตของสัตว์ กามภพ คือภพของผู้ที่ติดอยู่ในกาม ตั้งแต่ ฉกามาพจรลงมาถึงนรกภูมิ, รูปภพ คือภพของพรหมที่มีรูป, อรูปภพ คือภพของพรหมที่ไม่มีรูป

    [16] สกันธ์ 5 หรือ ขันธ์ 5 (บ. ขนฺธ ส. สฺกนฺธ) แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ขันธ์ 5 จึงหมายถึง กองแห่งรูปธรรมและนามธรรม 5 หมวด ที่ประชุมกันเข้าเป็นหน่วยรวม ซึ่งบัญญัติเรียกว่า สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เรียกในภาษาบาลีสันสกฤต ตามลำดับดังนี้
    1. รูป (บ. ส. รูป ) คือ กองแห่งธรรมชาติที่จะต้องแตกสลายไปด้วยเหตุต่างๆ สิ่งที่เห็นได้ด้วยตาบ้าง เห็นไม่ได้ด้วยตาบ้าง
    2. เวทนา (บ. ส. เวทนา) คือ การเสวยอารมณ์ การรับอารมณ์ การรู้อารมณ์ [อธิบายด้านบน]
    3. สัญญา (บ.สญฺญา ส. สญฺชฺญา ) คือ ความจำได้หมายรู้ ระลึกได้ ระลึกถึง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และอารมณ์ที่เคยประสบมาได้
    4. สังขาร (บ. สํขาร ส. สํสฺการ) คือ สิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นทั้งหลายทั้งปวง จึงล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย มาประชุมปรุงแต่งกัน เช่น ความคิดปรุงแต่ง [อธิบายด้านบน]
    5. วิญญาณ (บ.วิญฺญาณ ส. วิชฺญาน)คือ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ความรู้แจ้งอารมณ์ ความรับรู้เรื่องราว ต่างๆ ได้ [อธิบายด้านบน]

    [17] ชาติ (บ. ส. ชาติ) มีความหมายหลายนัยยะ ขึ้นอยู่กับบริบท แปลว่า การเกิด ดังเช่น การเกิดเป็นตัวตนจากท้องแม่ที่มีพ่อเป็นเหตุปัจจัยร่วม, การเกิดของสิ่งต่างๆ, การเกิดแต่เหตุปัจจัยคือสังขารต่างๆ, การเกิดของเหล่ากองทุกข์

    [18] ชรา มรณะ (บ. ส. ชรามรณ) สองคำนี้ เนื่องกัน มีความหมายหลายนัยยะ ขึ้นอยู่กับบริบท ชรา โดยความหมายทั่วไป มีความหมายแปลว่า ความแก่ ความทรุดโทรม, อันล้วนเกิดขึ้นเพราะความไม่เที่ยง จึงมีการเปลี่ยนแปลง หรืออาการแปรปรวน ชราในบริบทปฏิจจสมุปบาท อาจหมายถึง สภาวะของความวนเวียน และแปรปรวนของเหล่าอุปาทานขันธ์ มรณะ มีความหมายว่า การดับไป ความแตกทำลาย ความตาย ความแตกดับแห่งขันธ์ อันเป็นสภาวธรรม การแตกดับ การดับไปของบรรดาสังขารทั้งปวง มรณะ ที่หมายถึงความดับไปแห่งกองทุกข์ในขณะหนึ่งๆหรือเรื่องหนึ่งๆในปฏิจจสมุปบาทก็มี หรือหมายถึงความแตกดับถดถอยของสังขารร่างกาย ก็มี

    [19] สังสาระ(บ. ส. สํสาร) การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในโลกหรือในภพต่างๆ ตามกระแสแห่งอวิชชา กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้

    [20] ชฺญาน , ญาณ (บ. ญาณ, ส. ชฺญาน) แปลว่า ความรู้ คือ ปรีชาหยั่งรู้ ปรีชากำหนดรู้ หรือ กำหนดรู้ได้ด้วยอำนาจการภาวนา ทำสมาธิและวิปัสสนา เรียกว่า วิชชา,วิทยา บ้าง ญาณ เป็นไวพจน์คำหนึ่งของปัญญา



    อ้างอิง

    1 มหานิทานสูตร พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1455&Z=1887

    2 ปัจจัยสูตร พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=590&Z=641

    3. ฉฉักกสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=10324&Z=10554

    3 Mūlamadhyamakakārikā Chap 26 : Shih-Foong Chin, Australia
    มูลมัธยมกการิกา ฉบับสันสกฤตแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยใช้ฉบับแปลภาษาจีนและศัพท์ในภาษาบาลีแปลร่วม โดยมีการแสดงการแปลยกศัพท์ แยกสมาสสนธิ แจงไวยากรณ์ของศัพท์ด้วย
    https://www.academia.edu/10401233/Mūlamadhyamakakārikā_Chap_26

    4 การศึกษาเชิงวิเคราะห์การใช้เหตุผลแบบวิภาษวิธีในคัมภีร์มูลมัธยมกการิกา 2011 , กฤษฎา ภูมิศิริรักษ์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    http://digi.library.tu.ac.th/thesis/lib/1063/01title-illustrations.pdf

    5 ภาษาคน ภาษาธรรม ของพระนาคารชุน ในคัมภีร์ “มูลมัธยมกการิกา” , ธรรมธารา วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ฉบับที่ 1 ปี 2559 : สมบัติ มั่งมีสุขศิริ
    http://www.dhammadhara.org/wp-content/uploads/2017/11/DDR_02_02.pdf

    6 ปัญญามูลฐานแห่งทางสายกลาง : ชยธมฺโม
    มูลมัธยมกการิกา แปลไทย
    http://old.ebooks.in.th/download/8429/ปัญญามูลฐานแห่งทางสายกลาง

    7 ปฏิจจสมุปบาท กระบวนธรรมของจิต ในการเกิดขึ้น และดับไปแห่งทุกข์ : พนมพร คูภิรมย์
    http://www.nkgen.com/patitja1.htm

    8 Mūlamadhyamakakārikā : Faculty of Humanities, The University of Oslo, Sweden
    มูลมัธยมกการิกา แปลอังกฤษ
    https://www2.hf.uio.no/polyglotta/index.php?page=fulltext&view=fulltext&vid=27&cid=47146&mid=119507

    9 MŪLAMADHYAMAKAKĀRIKĀ : Edited by Dai Sung Han, Dongguk University, South Korea
    มูลมัธยมกการิกา แปลอังกฤษ
    http://daisunghan.tistory.com/48
    http://cfile1.uf.tistory.com/attach/2309204254DD879C3B3F34

    10 “Bondage, Freedom & Interconnection – The 12 Links of Interdependent Arising” with Lama Marut
    มูลมัธยมกการิกา แปลอังกฤษ
    http://lamamarut.org/Lama-Marut-New-Teachings/BondageFreedom/Bondage-Freedom.pdf

    11 Root Verses of Wisdom (chapter 26) : Buddhist Open Online Translation Lab (aka: BOOTL)
    มูลมัธยมกการิกา แปลอังกฤษ
    http://bootl.org/html/mula.htm

    12 MŪLAMADHYAMAKAKĀRIKĀ COMPARE TRANSLATIONS : DIAMOND MOUNTAIN UNIVERSITY
    มูลมัธยมกการิกา แปลอังกฤษ และ แปลเทียบฉบับอื่นๆ
    http://mahasukha.org/ALLAUDIO/Sanskrit/DM_Sanskrit12/Trans_Ch-26.pdf

    13 The Śālistambha sūtra : Tibetan original, Sanskrit reconstruction, English translation, critical notes (including Pali parallels, Chinese version, and ancient Tibetan fragments)
    ศาลิสตัมพสูตร ต้นฉบับภาษาธิเบต แปลกลับเป็นภาษาสันสกฤต และแปลเป็นภาษาอังกฤษ หมายเหตุเทียบกับ พระธรรมใน ภาษาบาลี จีน และฉบับธิเบตโบราณ
    RESPONSIBILITY N. Ross Reat. UNIFORM TITLE Tripiṭaka. Sūtrapiṭaka. Śālistambasūtra Polyglot. EDITION 1st ed. IMPRINT Delhi : Motilal Banarsidass Publishers, 1993. PHYSICAL DESCRIPTION xiii, 74 p. ; 23 cm.

    14 ŚĀLISTAMBASŪTRAM
    ศาลิสตัมพสูตร อักษรโรมัน
    http://www.dsbcproject.org/canon-text/content/55/485

    15 สำเนียง เลื่อมใส, รศ.ดร. (ผู้แปล) มหาวัสตุอวทาน เล่ม ๒

    16 Mahavastu-Avadana – GRETIL
    มหาวัสตุอวทาน ภาษาสันสกฤต อักษรโรมัน
    gretil.sub.uni-goettingen.de/gretil/1_sanskr/4_rellit/buddh/mhvastuu.htm
    Based on the ed. by Émile Senart, 3 vols., Paris 1882-1897.Cf. also : Emmanuel Faure, B. Oguibénine, M. Yamazaki, and Y. Ousaka, Mahavastu-avādana, vol.I: word index and reverse word index Tokyo 2003 (Philologica Asiatica, Monograph Series 20) The Chuo Academic Research Institute (Tokyo, 2003 (July)), Input by Emmanuel Fauré (formerly Université Marc Bloch, Strasbourg), under the supervision of Prof. Boris Oguibénine
    Data conversion in cooperation with Stefan Baums, Seattle

    17 Mahavastu Avadana Vol.II
    มหาวัสตุอวทาน ภาษาสันสกฤต อักษรเทวนาครี ฉบับตีพิมพ์
    https://archive.org/details/in.ernet.dli.2015.408380

    18 THE TREATISE ON THE GREAT VIRTUE OF WISDOM
    https://www.wisdomlib.org/buddhism/...t-virtue-of-wisdom-volume-iii/d/doc82363.html


    http://blog.thai-sanscript.com/pratityasamutpada/
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับวิสตระมาตฤกา[ฉบับใหญ่]
    POSTED BY: THANAKRIT กันยายน 22, 2016

    ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับวิสตระมาตฤกา
    สำนวนในมหายานสูตรสังครหะ


    S__3194883-1024x1024.jpg
    พระพุทธเจ้าทรงเสด็จประทับนั่งบนวงขนดของมุจจลินท์นาคราช
    พร้อมพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ (ซ้าย) และพระปรัชญาปารมิตาโพธิสัตว์ (ขวา)


    ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร เป็นพระสูตรขนาดเล็ก ในหมวดปรัชญาปารมิตาของพระไตรปิฎกฝ่ายมหายาน พระสูตรหมวดนี้ ที่เน้นการใช้ปัญญาในการนำพาสู่ฝั่งข้างโน้น อันได้แก่พระนิพพาน ประกาศหลักอนัตตาซึ่งเป็นหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนา

    ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตรในมหายานสูตรสังครหะ นั้นมีสองฉบับคือ ฉบับสังกษิปตะมาตฤกาและฉบับวิสตระมาตฤกา จากคราวที่แล้วได้นำเสนอปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับสังกษิปตะมาตฤกา ไปแล้วคราวนี้ขอเสนอ ฉบับวิสตระมาตฤกา เนื้อหาในจะมี 3 ส่วนคือ 1.ส่วนเสียงอ่าน 2.ภาคปริวรรตและแปล อักษรไทยแบบปรับรูป [สำหรับอ่านของบุคคลทั่วไป] ใช้ตัวหนังสือสีน้ำเงิน


    ต้นฉบับอักษรเทวนาครี จากโครงการ Digital Sanskrit Buddhist Canon

    प्रज्ञापारमिताहृदयसुत्रम्।
    ปฺรชฺญาปารมิตาหฤทยสุตฺรมฺฯ
    ปรัชญาปาระมิตาหฤทะยะสุตรัมฯ
    ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร

    [विस्तरमातृका]
    [วิสฺตรมาตฤกา]
    [วิสตะระมาตฤกา]
    [ฉบับใหญ่]

    ॥नमः सर्वज्ञाय॥
    ๚นมะ สรฺวชฺญาย๚
    ๚นะมะห์ สรรวะชญายะ๚


    ขอน้อบน้อมแด่พระผู้สัพพัญญู พระปรีชาญาณหยั่งรู้สิ่งทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต


    एवं मया श्रुतम्।
    เอวํ มยา ศฺรุตมฺฯ
    เอวัม มะยา ศรุตัมฯ

    ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้



    एकस्मिन् समये भगवान् राजगृहे विहरति स्म गृध्रकूटे पर्वते
    महता भिक्षुसंघेन सार्धं महता च बोधिसत्त्वसंघेन।
    เอกสฺมินฺ สมเย ภควานฺ ราชคฤเห วิหรติ สฺม คฤธฺรกูเฏ
    ปรฺวเต มหตา ภิกฺษุสํเฆน สารฺธํ มหตา จ โพธิสตฺตฺวสํเฆนฯ
    เอกัสมิน สะมะเย ภะคะวาน ราชะคฤเห วิหะระติ สมะ คฤธระกูเฏ
    ปรรวะเต มะหะตา ภิกษุสังเฆนะ สารธัม มะหะตา จะ โพธิสัตตวะสังเฆนะฯ

    สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ภูเขาคิชกูฏใกล้กรุงราชคฤห์ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ พระโพธิสัตว์หมู่ใหญ่



    तेन खलु समयेन भगवान् गम्भीरावसंबोधं नाम समाधिं समापन्नः।
    เตน ขลุ สมเยน ภควานฺ คมฺภีราวสํโพธํ นาม สมาธิํ สมาปนฺนะฯ
    เตนะ ขะลุ สะมะเยนะ ภะคะวาน คัมภีราวะสัมโพธัม นามะ สะมาธิม สะมาปันนะห์ฯ

    สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงเข้าสมาธิชื่อว่า คัมภีราวสัมโพธะ



    तेन च समयेन आर्यावलोकितेश्वरो बोधिसत्त्वो महासत्त्वो गम्भीरायां
    प्रज्ञापारमितायां चर्यां चरमाणः एवं व्यवलोकयति स्म।
    เตน จ สมเยน อารฺยาวโลกิเตศฺวโร โพธิสตฺตฺโว มหาสตฺตฺโว
    คมฺภีรายํา ปฺรชฺญาปารมิตายํา จรฺยํา จรมาณะ เอวํ วฺยวโลกยติ สฺมฯ
    เตนะ จะ สะมะเยนะ อารยาวะโลกิเตศวะโร โพธิสัตตโว มะหาสัตตโว
    คัมภีรายาม ปรัชญาปาระมิตายาม จรรยาม จะระมาณะห์ เอวัม วยะวะโลกะยะติ สมะฯ

    โดยสมัยเดียวกันนั้นแล พระอารยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ ได้ประพฤติจริยาในปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้ง (ปัญญาบารมี คุณชาติที่ทำให้ลุถึงฝั่งแห่งปัญญา)



    पञ्च स्कन्धांस्तांश्च स्वभावशून्यं व्यवलोकयति॥
    ปญฺจ สฺกนฺธําสฺตําศฺจ สฺวภาวศูนฺยํ วฺยวโลกยติ๚
    ปัญจะ สกันธามสตามศจะ สวะภาวะศูนยัม วยะวะโลกะยะติ๚

    คือได้พิจารณาขันธ์ ๕ และความสูญโดยสภาพ



    अथायुष्मान् शारिपुत्रो बुद्धानुभावेन आर्यावलोकितेश्वरं बोधिसत्त्वमेतदवोचत्- यः कश्चित्
    कुलपुत्रो [वा कुलदुहिता वा अस्यां] गम्भीरायां प्रज्ञापारमितायां चर्यां चर्तुकामः,कथं शिक्षितव्यः ?
    อถายุษฺมานฺ ศาริปุโตฺร พุทฺธานุภาเวน อารฺยาวโลกิเตศฺวรํ โพธิสตฺตฺวเมตทโวจตฺ- ยะ กศฺจิตฺ
    กุลปุโตฺร [วา กุลทุหิตา วา อสฺยํา] คมฺภีรายํา ปฺรชฺญาปารมิตายํา จรฺยํา จรฺตุกามะ,กถํ ศิกฺษิตวฺยะ ?
    อะถายุษมาน ศาริปุโตร พุทธานุภาเวนะ อารยาวะโลกิเตศวะรัม โพธิสัตตวะเมตะทะโวจัต- ยะห์ กัศจิต
    กุละปุโตร [วา กุละทุหิตา วา อัสยาม] คัมภีรายาม ปรัชญาปาระมิตายาม จรรยาม จรรตุกามะห์, กะถัม ศิกษิตะวยะห์ ?

    ลำดับนั้นพระสารีบุตรผู้มีอายุ ได้กล่าวกับพระอารยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ด้วยพุทธานุภาพว่า
    กุลบุตร (หรือ กุลธิดาใดๆ) ใคร่จะประพฤติจริยาในปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้งนั้นจะพึงศึกษาอย่างไร ?



    एवमुक्ते आर्यावलोकितेश्वरो बोधिसत्त्वो महासत्त्वः आयुष्मन्तं शारिपुत्रमेतदवोचत्- यः कश्चिच्छारिपुत्र कुलपुत्रो व कुलदुहिता वा [अस्यां] गम्भीरायां प्रज्ञापारमितायां चर्यां चर्तुकामः,
    เอวมุกฺเต อารฺยาวโลกิเตศฺวโร โพธิสตฺตฺโว มหาสตฺตฺวะ อายุษฺมนฺตํ ศาริปุตฺรเมตทโวจตฺ- ยะ กศฺจิจฺฉาริปุตฺร กุลปุโตฺร ว กุลทุหิตา วา [อสฺยํา] คมฺภีรายํา ปฺรชฺญาปารมิตายํา จรฺยํา จรฺตุกามะ,
    เอวะมุกเต อารยาวะโลกิเตศวะโร โพธิสัตตโว มะหาสัตตวะห์ อายุษมันตัม ศาริปุตระเมตะทะโวจัต- ยะห์ กัศจิจฉาริปุตระ กุละปุโตร วะ กุละทุหิตา วา [อัสยาม] คัมภีรายาม ปรัชญาปาระมิตายาม จรรยาม จรรตุกามะห์,

    พระอารยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์ อันพระสารีบุตรผู้มีอายุได้กล่าวอย่างนี้แล้ว ได้กล่าวตอบว่า ท่านสารีบุตร กุลบุตรหรือกุลธิดาใด ๆ ใคร่จะประพฤติจริยาในปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้ง

    तेनैवं व्यवलोकितव्यम्-पञ्च स्कन्धांस्तांश्च स्वभावशून्यान् समनुपश्यति स्म।
    เตไนวํ วฺยวโลกิตวฺยมฺ-ปญฺจ สฺกนฺธําสฺตําศฺจ สฺวภาวศูนฺยานฺ สมนุปศฺยติ สฺมฯ
    เตไนวัม วยะวะโลกิตะวยัม-ปัญจะ สกันธามสตามศจะ สวะภาวะศูนยาน สะมะนุปัศยะติ สมะฯ

    เขาพึงพิจารณาอย่างนี้ คือพิจารณาขันธ์ ๕ ว่า มีความสูญโดยสภาพ

    रूपं शून्यता, शून्यतैव रूपम्।
    รูปํ ศูนฺยตา, ศูนฺยไตว รูปมฺฯ
    รูปัม ศูนยะตา, ศูนยะไตวะ รูปัมฯ

    รูปคือความสูญ ความสูญนั่นแหละคือรูป



    रूपान्न पृथक् शून्यता, शून्यताया न पृथग् रूपम्।
    รูปานฺน ปฤถกฺ ศูนฺยตา, ศูนฺยตายา น ปฤถคฺ รูปมฺฯ
    รูปานนะ ปฤถัก ศูนยะตา, ศูนยะตายา นะ ปฤถัค รูปัมฯ

    รูปไม่อื่นไปจากความสูญ ความสูญไม่อื่นไปจากรูป



    यद्रूपं सा शून्यता, या शून्यता तद्रूपम्।
    ยทฺรูปํ สา ศูนฺยตา, ยา ศูนฺยตา ตทฺรูปมฺฯ
    ยัทรูปัม สา ศูนยะตา, ยา ศูนยะตา ตัทรูปัมฯ

    รูปอันใดความสูญก็อันนั้น ความสูญอันใดรูปก็อันนั้น



    एवं वेदनासंज्ञासंस्कारविज्ञानानि च शून्यता।
    เอวํ เวทนาสํชฺญาสํสฺการวิชฺญานานิ จ ศูนฺยตาฯ
    เอวัม เวทะนาสัญชญาสัมสการะวิชญานานิ จะ ศูนยะตาฯ

    อนึ่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็มีความสูญเป็นสภาพอย่างเดียวกัน



    एवं शारिपुत्र सर्वधर्माः शून्यतालक्षणा
    เอวํ ศาริปุตฺร สรฺวธรฺมาะ ศูนฺยตาลกฺษณา
    เอวัม ศาริปุตระ สรรวะธรรมาห์ ศูนยะตาลักษะณา

    ดูก่อน ท่านสารีบุตร ก็สรรพธรรมทั้งปวงมี ความสูญเป็นลักษณะ


    अनुत्पन्ना अनिरुद्धा अमला विमला अनूना असंपूर्णाः।
    อนุตฺปนฺนา อนิรุทฺธา อมลา วิมลา อนูนา อสํปูรฺณาะฯ
    อะนุตปันนา อะนิรุทธา อะมะลา วิมะลา อะนูนา อะสัมปูรณาห์ฯ

    ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่หย่อน ไม่เต็ม อย่างนี้



    तस्मात्तर्हि शारिपुत्र शून्यतायां
    ตสฺมาตฺตรฺหิ ศาริปุตฺร ศูนฺยตายํา
    ตัสมาตตรรหิ ศาริปุตระ ศูนยะตายาม

    เพราะฉะนั้นแหละท่านสารีบุตร ในความสูญนั้นจึง



    न रूपम्, न वेदना, न संज्ञा, न संस्काराः, न विज्ञानम्,
    น รูปมฺ, น เวทนา, น สํชฺญา, น สํสฺการาะ, น วิชฺญานมฺ,
    นะ รูปัม, นะ เวทะนา, นะ สัญชญา, นะ สัมสการาห์, นะ วิชญานัม,

    ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร ไม่มีวิญญาณ



    न चक्षुर्न श्रोत्रं न घ्राणं न जिह्वा न कायो न मनो
    น จกฺษุรฺน โศฺรตฺรํ น ฆฺราณํ น ชิหฺวา น กาโย น มโน
    นะ จักษุรนะ โศรตรัม นะ ฆราณัม นะ ชิหวา นะ กาโย นะ มะโน

    ไม่มีตา ไม่มีหู ไม่มีจมูก ไม่มีลิ้น ไม่มีกาย ไม่มีใจ



    न रूपं न शब्दो न गन्धो न रसो न स्प्रष्टव्यं न धर्मः।
    น รูปํ น ศพฺโท น คนฺโธ น รโส น สฺปฺรษฺฏวฺยํ น ธรฺมะฯ
    นะ รูปัม นะ ศัพโท นะ คันโธ นะ ระโส นะ สปรัษฏะวยัม นะ ธรรมะห์ฯ

    ไม่มีรูป ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีสัมผัส ไม่มีธรรมารมณ์



    न चक्षुर्धातुर्यावन्न मनोधातुर्न धर्मधातुर्न मनोविज्ञानधातुः।
    น จกฺษุรฺธาตุรฺยาวนฺน มโนธาตุรฺน ธรฺมธาตุรฺน มโนวิชฺญานธาตุะฯ
    นะ จักษุรธาตุรยาวันนะ มะโนธาตุรนะ ธรรมะธาตุรนะ มะโนวิชญานะธาตุห์ฯ

    ไม่มีจักษุธาตุจนถึงมโนธาตุ ไม่มีธรรมธาตุและมโนวิญญาณธาตุ



    न विद्या नाविद्या न क्षयो यावन्न जरामरणं न जरामरणक्षयः,
    น วิทฺยา นาวิทฺยา น กฺษโย ยาวนฺน ชรามรณํ น ชรามรณกฺษยะ,
    นะ วิทยา นาวิทยา นะ กษะโย ยาวันนะ ชะรามะระณัม นะ ชะรามะระณักษะยะห์,

    ไม่มีวิชชา และอวิชชา ไม่มีความชรา ความมรณะ หรือความสิ้นไปแห่งความชรา ความมรณะ



    न दुःखसमुदयनिरोधमार्गा न ज्ञानं न प्राप्तिर्नाप्राप्तिः।
    น ทุะขสมุทยนิโรธมารฺคา น ชฺญานํ น ปฺราปฺติรฺนาปฺราปฺติะฯ
    นะ ทุห์ขะสะมุทะยะนิโรธะมารคา นะ ชญานัม นะ ปราปติรนาปราปติห์ฯ

    ไม่มีทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ไม่มีญาณ ไม่มีการบรรลุหรือการไม่บรรลุ



    तस्माच्छारिपुत्र अप्राप्तित्वेन बोधिसत्त्वानां प्रज्ञापारमितामाश्रित्य विहरति चित्तावरणः।
    ตสฺมาจฺฉาริปุตฺร อปฺราปฺติตฺเวน โพธิสตฺตฺวานํา ปฺรชฺญาปารมิตามาศฺริตฺย วิหรติ จิตฺตาวรณะฯ
    ตัสมาจฉาริปุตระ อัปราปติตเวนะ โพธิสัตตวานาม ปรัชญาปาระมิตามาศริตยะ วิหะระติ จิตตาวะระณะห์ฯ

    ท่านสารีบุตร เพราะฉะนั้นพระโพธิสัตว์ผู้ดำเนินตามปรัชญาปาระมิตา มีความขัดข้อง เพราะกิเลสห่อหุ้มจิตเป็นอุปสรรคขวางกั้นอยู่ [ก็เพราะยังมิได้บรรลุ]



    चित्तावरणनास्तित्वादत्रस्तो विपर्यासातिक्रान्तो निष्ठनिर्वाणः।
    จิตฺตาวรณนาสฺติตฺวาทตฺรสฺโต วิปรฺยาสาติกฺรานฺโต นิษฺฐนิรฺวาณะฯ
    จิตตาวะระณะนาสติตวาทะตรัสโต วิปรรยาสาติกรานโต นิษฐะนิรวาณะห์ฯ

    เมื่อไม่มีกิเลสหุ้มห่อจิตแล้ว ย่อมปราศจากอุปสรรค จึงไม่สะดุ้งกลัว
    ก้าวล่วงความขัดข้อง ลุถึงพระนิพพานได้สำเร็จ



    त्र्यध्वव्यवस्थिताः सर्वबुद्धाः प्रज्ञापारमितामाश्रित्य अनुत्तरां सम्यक्संबोधिमभिसंबुद्धाः।
    ตฺรฺยธฺววฺยวสฺถิตาะ สรฺวพุทฺธาะ ปฺรชฺญาปารมิตามาศฺริตฺย อนุตฺตรํา สมฺยกฺสํโพธิมฺอภิสํพุทฺธาะฯ
    ตรยัธวะวยะวัสถิตาห์ สรรวะพุทธาห์ ปรัชญาปาระมิตามาศริตยะ อะนุตตะราม –
    สัมยักสัมโพธิมอะภิสัมพุทธาห์

    อันบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลทั้งสาม (อดีต ปัจจุบัน และอนาคต) ทรงดำเนินตามปรัชญาปารมิตา จึงได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณอันยิ่งแล้ว



    तस्माद् ज्ञातव्यः प्रज्ञापारमितामहामन्त्रः
    ตสฺมาทฺ ชฺญาตวฺยะ ปฺรชฺญาปารมิตามหามนฺตฺระ
    ตัสมาท ชญาตะวยะห์ ปรัชญาปาระมิตามะหามันตระห์

    ด้วยเหตุฉะนี้จึงสมควรทราบ มหามนต์ในปรัชญาปารมิตานี้


    अनुत्तरमन्त्रः
    อนุตฺตรมนฺตฺระ
    อะนุตตะระมันตระห์

    เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นยิ่งกว่า



    असमसममन्त्रः
    อสมสมมนฺตฺระ
    อะสะมะสะมะมันตระห์

    เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นใดมาเทียบได้



    सर्वदुःखप्रशमनमन्त्रः
    สรฺวทุะขปฺรศมนมนฺตฺระ
    สรรวะทุห์ขะประศะมะนะมันตระห์

    เป็นมนต์อันประหารเสียซึ่งสรรพทุกข์ทั้งปวง



    सत्यममिथ्यत्वात् प्रज्ञापारमितायामुक्तो मन्त्रः।
    สตฺยมมิถฺยตฺวาตฺ ปฺรชฺญาปารมิตายามุกฺโต มนฺตฺระฯ
    สัตยะมะมิถยัตวาต ปรัชญาปาระมิตายามุกโต มันตระห์ฯ

    นี่เป็นความสัตย์จริงปราศจากความเท็จ จึงเป็นเหตุให้กล่าวมนตร์แห่งปรัชญาปารมิตา



    तद्यथा- गते गते पारगते पारसंगते बोधि स्वाहा।
    ตทฺยถา- คเต คเต ปารคเต ปารสํคเต โพธิ สฺวาหาฯ
    ตัทยะถา- คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหาฯ

    จงกล่าวเช่นนี้ : คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา
    (ปกตินั้น บทธารณี นั้นมักจะไม่แปล แต่หากแปลจะแปลว่า
    จงไป จงไป ไปถึงฝั่งโน้น ไปให้พ้นโดยสิ้นเชิง บรรลุถึงความรู้แจ้ง)



    एवं शारिपुत्र गम्भीरायां प्रज्ञापारमितायां चर्यायां शिक्षितव्यं बोधिसत्त्वेन॥
    เอวํ ศาริปุตฺร คมฺภีรายํา ปฺรชฺญาปารมิตายํา จรฺยายํา ศิกฺษิตวฺยํ โพธิสตฺตฺเวน๚
    เอวัม ศาริปุตระ คัมภีรายาม ปรัชญาปาระมิตายาม จรรยายาม ศิกษิตะวยัม โพธิสัตตเวนะ๚

    ในสมัยนั้นแล พระอารยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์มหาสัตว์กล่าวกับพระสารีบุตรเถระว่า “ท่านสารีบุตร สัตว์ผู้จะตรัสรู้ พึงศึกษาประพฤติจริยาปรัชญาปารมิตาด้วยประการฉะนี้”



    अथ खलु भगवान् तस्मात्समाधेर्व्युत्थाय आर्यावलोकितेश्वरस्य बोधिसत्त्वस्य
    साधुकारमदात्- साधु साधु कुलपुत्र।
    อถ ขลุ ภควานฺ ตสฺมาตฺสมาเธรฺวฺยุตฺถาย อารฺยาวโลกิเตศฺวรสฺย โพธิสตฺตฺวสฺย
    สาธุการมทาตฺ- สาธุ สาธุ กุลปุตฺรฯ
    อะถะ ขะลุ ภะคะวาน ตัสมาตสะมาเธรวยุตถายะ อารยาวะโลกิเตศวะรัสยะ โพธิสัตตวัสยะ
    สาธุการะมะทาต- สาธุ สาธุ กุละปุตระฯ

    ในลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงออกจากสมาธินั้นแล้ว ได้ประทานสาธุการแด่พระอารยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ “เป็นเช่นนั้น ! เป็นเช่นนั้น ! กุลบุตร ! “



    एवमेतत् कुलपुत्र, एवमेतद् गम्भीरायां प्रज्ञापारमितायां चर्यं चर्तव्यं यथा त्वया निर्दिष्टम्।
    เอวเมตตฺ กุลปุตฺร, เอวเมตทฺ คมฺภีรายํา ปฺรชฺญาปารมิตายํา จรฺยํ จรฺตวฺยํ ยถา ตฺวยา นิรฺทิษฺฏมฺฯ
    เอวะเมตัต กุละปุตระ, เอวะเมตัท คัมภีรายาม ปรัชญาปาระมิตายาม จรรยัม จรรตะวยัม ยะถา ตวะยา นิรทิษฏัมฯ

    ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น กุลบุตร ! ประพฤติจริยาในปรัชญาปารมิตาอันลึกซึ้งนั้น พึงประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ อย่างที่ท่านยกขึ้นแสดงแล้ว



    अनुमोद्यते तथागतैरर्हद्भिः॥
    อนุโมทฺยเต ตถาคไตรอรฺหทฺภิะ๚
    อะนุโมทยะเต ตะถาคะไตรอัรหัทภิห์๚

    พระตถาคตอรหันต์เจ้าทั้งหลายในไตรโลกนาถย่อมทรงอนุโมทนา



    इदमवोचद्भगवान्।
    อิทมโวจทฺภควานฺฯ
    อิทะมะโวจัทภะคะวานฯ

    พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมอันนี้แล้ว



    आनन्दमना आयुष्मान् शारिपुत्रः आर्यावलोकितेश्वरश्च बोधिसत्त्वः सा च सर्वावती परिषत् सदेवमानुषासुरगन्धर्वश्च लोको भगवतो भाषितमभ्यनन्दन्॥
    อานนฺทมนา อายุษฺมานฺ ศาริปุตฺระ อารฺยาวโลกิเตศฺวรศฺจ โพธิสตฺตฺวะ สา จ สรฺวาวตี ปริษตฺ สเทวมานุษาสุรคนฺธรฺวศฺจ โลโก ภควโต ภาษิตมภฺยนนฺทนฺ๚
    อานันทะมะนา อายุษมาน ศาริปุตระห์ อารยาวะโลกิเตศวะรัศจะ โพธิสัตตวะห์ สา จะ สรรวาวะตี ปะริษัต สะเทวะมานุษาสุระคันธรรวัศจะ โลโก ภะคะวะโต ภาษิตะมัภยะนันทัน๚

    พระสารีบุตรผู้มีอายุ พระอารยะอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พุทธบริษัทอันมีในประชุมชนทุกเหล่า และสัตว์โลกพร้อมทั้งเทวา มนุษย์ อสูร คนธรรพ์ ก็มีใจเบิกบานชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคด้วยประการฉะนี้.



    इति प्रज्ञापारमिताहृदयसूत्रं समाप्तम्।
    อิติ ปฺรชฺญาปารมิตาหฤทยสูตฺรํ สมาปฺตมฺฯ
    อิติ ปรัชญาปาระมิตาหฤทะยะสูตรัม สะมาปตัมฯ

    จบปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ก็มีด้วยประการฉะนี้

    เชิงอรรถ
    1. ศูนยตาหรือสุญญตาศูนยตาหรือสุญญตา (บาลี: สุญฺญตา , สันสกฤต: ศูนฺยตา) แปลว่า ความว่างเปล่า ความเป็นของสูญ มีความหมายว่า ความไม่มีตัวตน ถือเอาเป็นตัวตนไม่ได้
      “สุญญตาอันใด อนัตตาก็อันนั้น อนัตตาอันใด สุญญตาก็อันนั้น”
      คำว่า สุญญตา เป็นคำที่ฝ่ายมหายานนิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด สุญญตากับอนัตตาความจริงก็มีความหมายใกล้เคียงกัน กล่าวคือเป็นคำปฏิเสธสภาวะซึ่งมีอยู่ เป็นอยู่ด้วยตัวมันเอง เพราะในทรรศนะของมหายาน สรรพสิ่งซึ่งปรากฏแก่เราล้วนเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรมทั้งสิ้น สุญญตามิได้หมายว่าว่างเปล่าไม่มีอะไรเลยเหมือนอากาศ แต่หมายเพียงว่าไม่มีสภาวะที่ดำรงอยู่ได้โดยตัวของมันเอง ชนิดที่ไม่ต้องอาศัยปัจจัย แต่ปัจจัยธรรมซึ่งอาศัยกันเป็นภาพมายา มีอยู่ปรากฏอยู่มิใช่ว่าจะไม่มีอะไรๆ ไปเสียทั้งหมด ฝ่ายมหายานอธิบายว่าโลกกับพระนิพพาน ความจริงไม่ใช่อันเดียวกันหรือแตกต่างกัน กล่าวคือโลกเป็นปฏิจจสมุปบาท ความดับปฏิจจสมุปบาทนั้นเสียได้ ก็คือพระนิพพาน ฉะนั้นทั้งโลกและพระนิพพานจึงเป็นสุญญตาคือไม่ใช่เป็นสภาวะ และเมื่อสภาวะไม่มีเสียแล้ว อภาวะก็พลอยไม่มีไปด้วย เพราะมีสภาวะจึงมีอภาวะเป็นของคู่กัน ผู้ใดเห็นว่าโลกและพระนิพพานเป็นสภาวะ ผู้นั้นเป็นสัสสตทิฏฐิ ผู้ใดเห็นว่าโลกและพระนิพพานเป็นอภาวะเล่า ผู้นั้นก็เป็นอุจเฉททิฏฐิ ผู้ใดเห็นว่าโดยสมมติสัจจะธรรมทั้งปวงเป็นปฏิจจสมุปบาทและโดยปรมัตถสัจจะธรรมทั้งปวงเป็นสุญญตาไซร้ ผู้นั้นแลได้ชื่อว่าผู้มีสัมมาทิฏฐิโดยแท้ ที่ว่ามานี้เป็นมติของพระนาครชุนผู้เป็นต้นนิกายสุญญวาท” (เสถียร โพธินันทะ, ชุมนุมพระสูตรมหายาน, สำนักพิพมพ์บรรณาคาร, 2516, ต-ถ )
    ดูและฟังเพิ่มเติมหลักของสุญญตา อ.เสถียร โพธินันทะ
    http://blog.thai-sanscript.com/category/prajnaparamita/
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ศูรางคมมนตร์ บทนำ
    TOPICS:คัมภีร์ทางศาสนาธารณีพุทธศาสนามนตรยานมหายาน
    POSTED BY: THANAKRIT มกราคม 14, 2017

    1764285154022950266-777x437.jpg



    ภาพ
    ศูรางคมมนตร์
    ที่มาและความสำคัญ

    ศูรางคมมนตร์ มีหลายชื่อเรียก ศูรางคมธารณี, สิตาตปัตรา ธารณี, สิตาตปัตราอุษณีษ์ ธารณี, สิตาตปัตโตรษณีษ์ ธารณี ศูรางคมมนตร์นี้มีหลายสำนวน บางสำนวนก็ยกเป็นปกรณ์วิเศษเป็นเอกเทศออกจากพระสูตรเลยก็มี ดังนั้นเนื้อหาธารณีจึงสั้นยาวไม่เท่ากัน โดยเพื่อง่ายต่อการศึกษา ผู้เรียบเรียงจึงใช้ ฉบับที่ปริวรรตและเรียบเรียงโดย Malaysian Buddhist Association เป็นหลัก

    ศูรางคมมนตร์ เป็นธารณีที่อยู่ในพระสูตรมหายานชื่อ ศูรางคมสูตร พระสูตรนี้อ้างถึงความสำคัญของการบำเพ็ญสมาธิว่า เป็นมูลเหตุให้บรรลุการตรัสรู้ ความเป็นพระโพธิสัตว์และสัจธรรม และในผูกที่ ๓ นี้เอง มีเนื้อหาของ ศูรางคมมนตร์ บรรจุอยู่โดยมีส่วนธารณีแบ่งเป็น ๕ บท และนอกจากนี้ ศูรางคมมนตร์ ยังปรากฏในพระไตรปิฎกฉบับทิเบต และเป็นธารณีมนต์ที่น่าศึกษาสำหรับผู้สนใจพุทธศาสนาในนานานิกายและผู้สนใจในภาษาสันสกฤต เพราะศูรางคมธารณีสูตรเป็นธารณีมนต์ที่สำคัญบทหนึ่งของฝ่ายมนตรยานและฝ่ายมหายานในประเทศจีน ญี่ปุ่นและเกาหลี

    ส่วนฝ่ายมหายานในจีนนั้น บูรพาจารย์ในจีนยกย่องว่ามีอานุภาพมาก มีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในบรรดาธารณี ไม่มีคาถาในธารณีใดเทียบได้ บูรพาจารย์จีนจึงกำหนดให้สวดเป็นบทแรกในการทำวัตรเช้าของอารามทั่วไปในประเทศจีน

    ในฝ่ายมนตรยานนับถือว่าเป็นธารณีประจำพระองค์ของพระสิตาตปัตราโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ผู้ทรงสิตปัตร คือ มีพันหัตถ์ ทั้งยังนับถือกันว่าจะทรงปกป้องคุ้มครองสรรพสัตว์ทั้งหลายและเหล่าผู้บูชา ประดุจฉัตรสีขาวบริสุทธิ์ ที่กางกั้นบนพระเศียรของปวงพระพุทธเจ้า หรืออีกนัยหนึ่ง ฉัตรเป็นหนึ่งในของวิเศษแปดสิ่งในพุทธศาสนาวัชรยาน ซึ่งเปรียบเสมือนการอยู่ห่างไกลจากสิ่งไม่ดีทั้งมวล คือเปรียบดังพระบารมีของพระพุทธองค์ ประดุจฉัตรสีขาว ซึ่งปกคลุมป้องภัยแก่สรรพสัตว์ทั่วจักรวาล

    dabaisangai_b-767x1024.jpg
    ภาพ พระสิตาตปัตราโพธิสัตว์ ในพระหัตถ์ถือฉัตรสีขาว[3]


    เนื้อเรื่องที่มาของธารณี

    ในพระสูตรยกย่องว่าเป็นพระคาถาที่ทรงบุญญานุภาพมากหลาย ในศูรางคมธารณี มีเนื้อหากล่าวถึงพระอานนท์เถระถูกนางมาตังคีทำร้ายด้วยมนต์ดำ พระพุทธองค์ทรงอยู่ในสมาธิจึงทรงเปล่งพุทธรัศมีจากพระอุษณีย์(คือ ส่วนนูนกลางพระเศียร) แสดงพระธารณีบทนี้เพื่อช่วยพระอานนท์ จากนั้นจึงทรงตรัสแสดงธารณีนี้แก่สรรพสัตว์

    ในพระสูตร ศูรางคมสูตร ผูกที่ ๓ มีเนื้อหากล่าวถึงพระอานนท์ เป็นภิกษุที่ความมีอัธยาศัยดี เจรจาดี ไปถึงไหนก็ถูกตาต้องใจชนทั้งหลาย ในระหว่างทางกลับจาก บิณฑบาตพระอานนท์ รู้สึกกระหายน้ำ ท่านหยุดที่บ่อน้ำในหมู่บ้านชาวจัณฑาล ที่บ่อน้ำแห่งนั้นมีนางจัลฑาลเป็นบุตรีในตระกูลมาตังกา ชื่อปรากฤติ กำลังตักน้ำในบ่ออยู่ พระอานนท์จึงได้เข้าไปขอขอน้ำดื่มจากนาง แต่นางปฏิเสธ บอกว่าตนเป็นชาวจัณฑาล เกรงจะเป็นมลทินแก่พระอานนท์ ที่วรรณะสูงกว่า และเป็นบาปแก่นางที่ถวายน้ำ พระอานนท์จึงกล่าวว่า พระอานนท์เป็นสมณศากยบุตร มิได้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ ไวศยะ ศูทร หรือจัณฑาล อย่างใดอย่างหนึ่งเลย นางปรากิฤติถวายน้ำแก่พระอานนท์

    จากนั้นนางปรากิฤติ รู้สึกหลงใหล เฝ้าคิดถึงแต่พระอานนท์ มารดาให้นิมนต์พระอานนท์ เข้ามาฉันภัตตาหารในบ้านของพวกตน พระอานนท์รับนิมนต์ถึงสองครั้ง แต่เมื่อรู้สึกได้ว่าหญิงสาวได้ตกหลุมรักในตัวท่าน พระอานนท์จึงปฏิเสธที่จะรับนิมนต์อีก นางปรากฤติจึงล้มป่วย ในที่สุดนางจึงบอกมารดาว่า นางบอกว่าต้องการให้ พระอานนท์สึกออกมาแต่งงานกับนาง นางยอมตายเสียดีกว่าเลิกรักพระอานนท์ ด้วยความกลัวว่าบุตรสาวจะตาย ผู้เป็นมารดาจึงทำคุณไสยยาเสน่ห์หวังว่า จะทำให้พระอานนท์รับรักบุตรสาวของนาง และนำพระอานนท์มาสู่เรือนของตนเมื่อพระอานนท์ต้องคุณไสยยาเสน่ห์แล้ว พระอานนท์ก็ให้รู้สึกงงงวย เดินมาบ้านเรือนของนางอย่างสลึมสลือ นางพอรู้ว่าพระอานนท์มาก็ดีใจมาก ออกมาพาพระอานนท์เข้าไปในห้องของนาง นางก็อยากจะจับพระอานนท์มาแต่งงานกับนาง

    พระพุทธเจ้าในเวลานั้นทราบด้วยญาณทัศนะ จึงพระอุษณีย์เปล่งพุทธรังสีหลากสีมากมาย ในแสงแต่ละสีมีบัวทิพย์พันกลีบบนบัวทิพย์พันกลีบมีพระนิรมาณกายของพระพุทธเจ้าหนึ่งองค์ เป็นดังนี้ในแต่ละแสงสี จึงมากมายด้วยพระนิรมาณกายทุกๆองค์ทรงนั่งขัดสมาธิ ตรัสมนตร์คาถาอันศักดิ์สิทธิ์ แล้วตรัสเรียกพระมัญชุศรีมหาโพธิสัตว์ เชิญพระธารณีคาถาอันศักดิ์สิทธิ์นั้นไปสลายมนต์ดำ แล้วช่วยพระอานนท์ให้มีสติกลับมา และพระอานนท์ก็เข้าสมาธิจนพ้นมนตร์ดำ และกลับไปหาพระพุทธเจ้า นางปรากฤติตอนนั้นก็ตามพระอานนท์ไปด้วย ครั้งพระพุทธเจ้าเรียกนางปรากฤติมาเจรจาตกลง นางอยากอยู่ใกล้พระอานนท์ พระพุทธเจ้าก็บอกให้นางบวชเป็นภิกษุณี 1 ปี แล้วจะดูความก้าวหน้าของการปฏิบัติบำเพ็ญ ครบ 1 ปี จึงจะจัดแต่งงานให้ แต่ต่อภายหลังนางปรากฤติได้รับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าได้บรรลุพระอรหันต์ก่อนพระอานนท์ ในเวลาต่อมา ในพระสูตรได้บรรยาย พระธรรมเทศนา ดังกล่าวด้วย

    และส่วน มนตร์คาถาอันศักดิ์สิทธิ์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสช่วยพระอานนท์ ก็คือ ศูรางคมมนตร์ หรือ สิตาตปัตรา ธารณี นั้นเอง

    เรื่องนี้ในพระไตรปิฏกฝ่ายเถรวาทไม่ปรากฎชัดเจน แต่มีเค้าลางอยู่ สุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ภิกขุนีสูตร ว่าด้วยภิกษุณีส่งบุรุษไปหาพระอานนท์ให้มาเยี่ยมไข้

    พระไตรปิฏกฝ่ายมหายานนั้นเอาเรื่องนี้ในพุทธประวัติด้วย และโครงเค้าเรื่องนี้ยังอยู่ในวรรณกรรมสมัยใหม่ เช่น
    คือเมฆสีขาว ทางก้าวเก่าแก่ (Old path white clouds) : เป็นหนังสือพุทธประวัติแบบธรรมดาไม่เน้นอิทธิปาฏิหาร ที่เขียนโดยท่านติช นัท ฮันห์และแปลโดย รสนา โตสิตระกูลและสันติสุข โสภณสิริ
    พระอานนท์ พุทธอนุชา : ของ อ.วศิน อินทสระ
    จันฑาลิกา : ของ รพินทรนาถ ฐากุร นักกวีปราชญ์ รางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
    หนังชุด พระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก คลิ๊กชม


    51VrSz30P3L._SS500.jpg
    ภาพ ปกหนังสือ จันฑาลิกา แสดงเป็นรูปพระอานนท์รับน้ำจากนางปรากฤติ

    spd_20120802112624_b.jpg
    ภาพ ปกหนังสือ พระอานนท์ พุทธอนุชา ในเรื่องออกชื่อนางปรากฤติ เป็น นางโกลิกา

    ประวัติความเป็นมาการเผยแพร่และการแปล ศูรางคมธารณี[1][2]

    ในช่วงประมาณปี ค.ศ. ๑๖๘-๑๗๙ พระสมณะโลกะเกษม (支婁迦讖) พระภิกษุชาวกุษาณะ ได้นำพระศูรางคมสูตร ภาษาสันสกฤต มาถึงประเทศจีนและแปลเป็นภาษาจีน

    ศูรางคมธารณีสูตร ฉบับที่นิยมในปัจจุบัน ได้รับการแปลใหม่และทับศัพท์(แบบถอดเสียง)จากเสียงภาษาสันสกฤตเป็นอักษรจีน ช่วงราชวงศ์ถัง ประมาณ ปี ค.ศ. ๗๐๕ โดย พระสมณะปรมิติ (般刺蜜帝) พระภิกษุชาวอินเดีย จากมัชฌิมประเทศ และสอบทานโดย พระสมณะเมฆศิกร(Meghashikara) จากแคว้นอุทยาน ทางตอนเหนือของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน

    ศูรางคมธารณีสูตรได้รับการส่งเสริมและเผยแพร่ ให้ได้รับความนิยมยิ่งขึ้น โดยไต้ซือเสวียนฮว่า(Hsuan Hua) พระเถระจีนท่านสำคัญซึ่งเดินทางไปประกาศพุทธศาสนาในสหรัฐอเมริกา ทำให้ศูรางคมธารณีสูตรได้รับความนิยมในอเมริกาและในชุมชนชาวพุทธจีนทั่วโลก โดยท่านถือว่าเป็นพระธารณีที่คุ้มครองพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่

    ศูรางคมมตร์นี้ เดิมนั้นตัวต้นฉบับเป็นสันกฤต แต่ถูกบันทึกทั้งใน อักษรจีน และอักษรสิทธัม และตัวต้นฉบับสันกฤตเดิมนั้นได้หายสาบสูญไปหมดแล้ว และโดยข้อจำกัดของการออกเสียงอักษรทั้งสองแบบ ต่อมามีผู้ปริวรรตกลับคืนเป็น ภาษาสันสกฤตโดยอักษรโรมัน และ เทวนาครี โดยยังเหลือเพียง สิตาตปัตราธารณี(sitātapatrā dhāraṇī) เท่านั้นที่เป็นธารณีที่ใกล้เคียงกับศูรางคมธารณีสำนวนจีน ซึ่งยังมีต้นฉบับเป็นภาษาสันสกฤตอยู่

    Untitled-1.png

    ภาพ
    ศูรางคมมตร์ อักษรจีน และอักษรสิทธัม ปริวรรตกลับคืนเป็น ภาษาสันสกฤตโดยอักษรโรมัน
    โดย Malaysian Buddhist Association [5]



    อ้างอิง

    [1]https://en.wikipedia.org/wiki/Śūraṅgama_Sūtra
    [2]https://en.wikipedia.org/wiki/Shurangama_Mantra
    [3] http://buddha.goodweb.cn/music/musictxt/images/dabaisangai_b.jpg
    [4] http://www.cttbusa.org/parinirvana/images_paintings.htm
    [5]http://www.malaysianbuddhistassociation.org/Downloads/2013/290313_3.pdf ดาวน์โหลด
     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ฝ่ายสันสกฤต
    POSTED BY: THANAKRIT ธันวาคม 13, 2017

    ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ฝ่ายสันสกฤต
    คัดจากบางส่วนจาก
    ธรรมจักรประวรรตนสูตร
    พระคัมภีร์ลลิตวิสตร อัธยายที่ ๒๖
    ธรรมจักรประวรรตนปริวรรต


    24739974_1701071213239402_1537461035_o-777x437.jpg

    ภาพ

    คำนำ
    “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” หรือ “ธรรมจักรประวรรตนสูตร” มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางใหม่ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง 4 คืออริยมรรคมีองค์ 8 โดยเริ่มจากทำความเห็นให้ถูกทางสายกลางก่อน เพื่อดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้เพื่อละทุกข์ทั้งปวง เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่นิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา

    นับเป็นพระสูตรที่สำคัญมากต่อพระพุทธศาสนา เพราะแม้จะเกิดความเห็นที่ไม่ตรงกันในการสังคายนาพระธรรมวินัยจนเกิดการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่าง ๆ ถึง 18-20 นิกายในช่วงตั้งแต่ราว 100 ปีหลัง พุทธกาลเป็นต้นมาก็ตาม แต่พระสูตรนี้ยังคงสืบทอดต่อกันมาในคัมภีร์ของนิกายต่างๆจนถึงในปัจจุบัน โดยนักวิชาการสามารถรวบรวมได้ถึง 23 คัมภีร์ ปรากฏทั้งฝ่ายสาวกยานและมหายาน และต้นฉบับภาษาบาลี สันสกฤต จีนและธิเบต อีกทั้งแปลออกไปในภาษาอื่นๆอีกทั่วโลก [อ่านเพิ่มเติ่ม ที่อ้างอิง 2]

    ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ฝ่ายสันสกฤต หรือ ธรรมจักรประวรรตนสูตร ที่จะนำเสนอนี้ คัดจากบางส่วนจาก พระคัมภีร์ลลิตวิสตร ซึ่งแต่เดิมพระคัมภีร์นี้เป็นพุทธประวัติฝ่ายสาวกยาน นิกายสรรวาสติวาท หรือ นิกายสัพพัตถิกวาท ต่อมาฝ่ายมหายานได้นำเป็นเป็นคัมภีร์ศักสิทธิ์ของตน

    ธรรมจักรประวรรตนสูตร มาจากพระคัมภีร์ลลิตวิสตร อัธยายชื่อ ธรฺมจกฺรปฺรวรฺตนปริวรฺตะ ษฑฺวึศะ หรือ ธรรมจักรประวรรตนปริวรรต (การหมุนจักรคือธรรม) อันเป็น อัธยายที่ 26 ว่าด้วยการแสดงธรรมจักรแก่ภัทรวรรคียทั้งห้า แปลเป็นภาษาไทยโดย ศาสตราจารย์ ร.ต.ท.แสง มนวิทูร เปรียญ และเพิ่มเติมคำอธิบายบางส่วน เช่น อธิบายสำนวนแปลทับศัพท์สันสกฤต เพิ่มเติมจากผู้เรียบเรียง ดังจะนำเสนอต่อไปนี้



    กฺว ภควานฺ ธรฺมจกฺรํ ปฺรวรฺติษฺยตีติ?
    ข้าแต่พระผู้มีภาค พระองค์จะหมุนจักรคือธรรม ณ ที่ไหน?

    วาราณสฺยามฤษิปตเน มฤคทาเวฯ
    ตถาคตจักไปที่พาราณสี ที่ป่าฤษิปตนะมฤคทาวะ

    วาราณสีํ คมิษฺยามิ คตฺวา ไว กาศินํา ปุรีมฺฯ
    ธรฺมจกฺรํ ปฺรวรฺติษฺเย โลเกษฺวปฺรติวรฺติตมฺ ๚
    ตถาคตไปบุรีของชาวกาศีทั้งหลายแล้ว
    จะไปพาราณสีจะหมุนจักรคือธรรมซึ่งไม่มีใครหมุนในโลก

    โส’ยํ ทฤฒปฺรติชฺโญ วาราณสิมุปคโต มฤคทาวมฺฯ
    จกฺรํ หฺยนุตฺตรมเสา ปฺรวรฺตยิตาตฺยทฺภุตํ ศฺรีมานฺ๚
    ผู้นี้นั้น มีปฏิญญามั่นคง เสด็จเข้าไปยังป่ามฤคทาวะในมหานครพาราณสี
    พระองค์ผู้เจริญ หมุนจักรสูงสุดซึ่งไม่เคยมีแล้ว ฯ

    ยะ โศฺรตุกามุ ธรฺมํ ยะ กลฺปนยุไตะ สมารฺชิตุ ชิเนนฯ
    ศีฆฺรมเสา ตฺวรมาโณ อาคจฺฉตุ ธรฺมศฺรวณาย๚
    ผู้ใดใคร่ฟังธรรม ผู้ใดร่วมด้วยพระชินตั้งหมื่นกัลป ผู้นั้นจงรีบมาเร็วๆเพื่อฟังธรรม ฯ

    Five_disciples_at_Sarnath-1024x336.jpg

    ภาพ
    ปณามคาถาพระคัมภีร์ลลิตวิสตร

    ๚ โอํ นโม ทศทิคนนฺตาปรฺยนฺตโลกธาตุ-
    ปฺรติษฺฐิตสรฺวพุทฺธโพธิสตฺตฺวารฺยศฺราวกปฺรตฺเยกพุทฺเธภฺโย ’ ตีตานาคตปฺรตฺยุตฺปนฺเนภฺยะ๚

    ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระพุทธเจ้า
    พระโพธิสัตว์ พระอริยสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง
    ทั้งในอดีต อนาคต และปัจจุบัน
    อันประดิษฐานดำรงอยู่ในโลกธาตุ
    อันไม่มีเขตสุด และไม่มีขอบเขตในทิศทั้ง 10



    ธรรมจักรประวรรตนสูตร
    พระสูตรว่าการหมุนธรรมจักร



    อิติ หิ ภิกฺษวสฺตถาคโต ราตฺรฺยาะ ปฺรถเม ยาเม ตูษฺณีภาเวนาธิวาสยติ สฺมฯ ราตฺรฺยา มธฺยเม ยาเม สํรญฺชนียํา กถํา ปฺรวรฺตยติ สฺมฯ ราตฺรฺยาะ ปศฺจิเม ยาเม ปญฺจกานฺ ภทฺรวรฺคียานามนฺตฺรฺไยตทโวจตฺ – ทฺวาวิเมา ภิกฺษวะ ปฺรวฺรชิตสฺยานฺตาวกฺรเมาฯ

    กระนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตรับเชิญด้วยภาวะนิ่งในประถมยามแห่งราตรียังถ้อยคำให้เกิดความจับใจในมัชฌิมยามแห่งราตรี ได้เรียกภัทรวรรคีย* ทั้งห้ามาในปัจฉิมยามแห่งราตรีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การหยั่งลงถึงที่สุด(จุดหมายปลายทาง) ของบรรพชิตมี 2 อย่างนี้ คือ

    * ปัญจวัคคีย์

    ยศฺจ กาเมษุ กามสุขลฺลิกา โยโค หีโน คฺรามฺยะ ปารฺถคฺชนิโก นาลมารฺโย’นรฺโถปสํหิโต นายตฺยํา พฺรหฺมจรฺยาย น นิรฺวิเท น วิราคาย น นิโรธาย นาภิชฺญาย น สํโพธเย น นิรฺวาณาย สํวรฺตเตฯ

    กาเมษุ กามสุขลฺลิกา * ความชุ่มอยู่ด้วยความสุขทางกามในกามทั้งหลายเป็นเครื่องเสพติด (โยคะ) ต่ำช้า(หีน) เป็นของชาวบ้าน(คฺรามยฺ) เป็นของชนสามานย์(ปารฺถคฺชนิก) ไม่เป็นอลมารยะ** ประกอบด้วยสิ่งมิใช่ประโยชน์(อนรฺถ)ไม่เป็นไปเพื่อพรหมจรรย์ในอนาคต ไม่เป็นไปเพื่อความเหนื่อยหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อวิราคะ(ปราศจากความกำหนัด) ไม่เป็นไปเพื่อนิโรธ(ความดับสนิท) ไม่เป็นเพื่ออภิชญา(ความรู้ยิ่ง)ไม่เป็นไปเพื่อสัมโพธิ (ความตรัสรู้) ไม่เป็นไปเพื่อนิรวาณ ***

    * บาลีว่า กามสุขลฺลิกานุโยโค หรือ กามสุขัลลิกานุโยค
    ** อลมารฺยะ คือ ชญาน หรือ ญาณ ของพระอารยะที่รู้ว่าพอแล้ว เต็มที่แล้ว
    *** บาลีว่า นิพพาน


    ยา เจยมมธฺยมา ปฺรติปทา อาตฺมกายกฺลมถานุโยโค ทุะโข’นรฺโถปสํหิโต ทฤษฺฏธรฺมทุะขศฺจายตฺยํา จ ทุะขวิปากะฯ

    และอาตฺมกายกฺลมถานุโยค* การประกอบเนืองๆในการทรมานกายของตน นี้เป็นประติปทา**(แนวทางประติบัท***) ไม่ใช่ทางสายกลาง เป็นทุกข์ ประกอบด้วยสิ่งมิใช่ประโยชน์ เป็นทุกข์ในปรัตยุบัน**** และมีผลเป็นทุกข์ในอนาคต

    *บาลีว่า อตฺตกิลมถานุโยโค หรือ อัตตกิลมถานุโยค
    **บาลีว่า ปฏิปทา
    สำนวนแปลปกติคือ *** ปฏิบัติ
    **** ปัจจุบัน

    เอเตา จ ภิกฺษโว ทฺวาวนฺตาวนุปคมฺย มธฺยมไยว ปฺรติปทา ตถาคโต ธรฺมํ เทศยติ-ยทุต

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบรรพชิตไม่เข้าถึงที่สุด ๒ อย่างนี้แล้ว ตถาคตแสดงธรรมเป็นประติปทาทางสายกลางแท้เทียว นั่นคือ

    สมฺยคฺทฤษฺฏิะ
    สัมยัคทฤษฏิ(เห็นชอบ) [1]
    สมฺยกฺสํกลฺปะ
    สัมยักสํกัลปะ(ดำริชอบ)[2]
    สมฺยคฺวากฺ
    สัมยัควาก(เจรจาชอบ)[3]
    สมฺยกฺกรฺมานฺตะ
    สัมยักกรรมานตะ(ทำการงานชอบ)[4]
    สมฺยคาชีวะ
    สัมยคาชีวะ(เลี้ยงชีวิตชอบ)[5]
    สมฺยคฺวฺยายามะ
    สัมยัควยายามะ(พยายามชอบ)[6]
    สมฺยกฺสฺมฤติะ
    สัมยักสมฤติ(ตั้งสมฤติชอบ)[7]
    สมฺยกฺสมาธิริติฯ
    สัมยักสมาธิ(มีสมาธิชอบ)[8]

    สำนวนแปลบาลีว่า [1]สัมมาทิฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) [2]สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) [3]สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) [4]สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) [5]สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) [6]สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) [7]สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) [8]สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง)

    จตฺวารีมานิ ภิกฺษว อารฺยสตฺยานิฯ กตมานิ จตฺวาริ?
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อารยสัตย์* ทั้งหลายเหล่านี้มี 4 อย่าง อารยสัตย์ 4 อย่างคืออะไรบ้าง?

    * สำนวนแปลบาลี ว่า อริยสัจ

    ทุะขํ ทุะขสมุทโย ทุะขนิโรโธ ทุะขนิโรธคามินี ปฺรติปตฺฯ
    คือทุะขะ * (ทุกข์) ทุะขสมุทยะ **(เหตุเป็นแดนเกิดทุกข์) ทุะขนิโรธ *** (ความดับทุกข์) ทุะขนิโรธคามินีประติปัต ****(ข้อประติบัทอันถึงความดับทุกข์) ในทั้ง 4 อย่างนี้

    * ทุกข์ ในรูปบาลี ใช้ ทุกฺข (ออกเสียง ว่า ทุกขะ) และใช้ทับศัพท์ในภาษาไทยว่า ทุกข์ (ออกเสียง ว่า ทุก)
    และส่วนสันสกฤต ใช้ ทุะข (ออกเสียง ว่า ทุฮุขะ ) โดย วิสรรชนีย์ (ะ) ที่ตามหลัง ทุ นั้นไม่ใช่สระอะ แต่เป็นเครื่องหมาย วิสรรคกำกับเสียงสะท้อน (echo) เมื่อใช้ทับศัพท์สันสกฤตในภาษาไทยในสำนวนแปลแบบคงรูปศัพท์เดิม นั้น ใช้ ทุะข ตามรูปเดิม หรือ ทุะขะ หากผู้ไม่ได้ศึกษามาก่อนก็ อาจจะสับสน ไม่สามารถออกเสียงได้ แต่ในปัจจุบันใช้ ห์ แทนเครื่องหมาย วิสรรค เมื่อ ใช้ทับศัพท์สันสกฤตในภาษาไทย จาก ทุะขะ เป็น ทุห์ขะ หรือ ทุห์ข


    สำนวนแปลบาลี ว่า ** ทุกขสมุทัย ***ทุกขนิโรธ ****ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

    ตตฺร กตมทฺ ทุะขมฺ?
    ทุะข (ทุกข์) เป็นอย่างไร

    ชาติรปิ ทุะขํ ชราปิ ทุะขํ วฺยาธิรปิ ทุะขํ มรณมปิ อปฺริยสํปฺรโยโค’ปิ ปฺริยวิปฺรโยโค’ปิ ทุะขมฺฯ ยทปิ อิจฺฉนฺ ปรฺเยษมาโณ น ลภเต ตทปิ ทุะขมฺฯ
    ชาติ(ความเกิด) ก็เป็นทุกข์ ชรา(ความแก่) ก็เป็นทุกข์ พยาธิ(ความป่วยไข้) ก็เป็นทุกข์ มรณะ(ความตาย)ก็เป็นทุกข์ อปฺริยสัมประโยค*(ประสบสิ่งที่ไม่รัก) ปฺริยวิประโยค**(พรากจากสิ่งที่รัก) ก็เป็นทุกข์ อยากได้สิ่งใดแสวงหาไม่ได้ นั่นก็เป็นทุกข์

    *บาลีว่า อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ( ความประสบพบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ)
    **บาลีว่า ปิเยหิ วิปฺปโยโค (ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจ)

    สํเกฺษปาตฺ ปญฺโจปาทานสฺกธา ทุะขมฺฯ อิทมุจฺยเต ทุะขมฺฯ
    โดยย่อแล้วอุปาทานสกันธ* ทั้ง 5 เป็นทุกข์ นี่ตถาคตเรียกว่า ทุะข ในทั้ง 4 อย่างนั้น

    * สำนวนแปลบาลีว่า อุปาทานขันธ์

    ตตฺร กตโม ทุะขสมุทยะ?
    ทุะขสมุทยะ*(เหตุเป็นแดนเกิดทุกข์) เป็นอย่างไร

    * สำนวนแปลบาลี ว่า ทุกขสมุทัย หรือในรูปทับศัพท์สันสกฤต อีกรูปคือ ทุห์ขสมุทย

    เยยํ ตฤษฺณา เปานรฺภวิกี นนฺทีราคสหคตา ตตฺรตตฺราภินนฺทินี อยมุจฺยเต ทุะขสมุทยะฯ
    ตฤษณา* นี้ เปานรรภวิกี** (ประกอบด้วยการเกิดในภพใหม่) นันทีราคสหคตา***(ประกอบด้วยความยินดีและความกำหนัด)
    ตัตระตัตราภินันทินี**** (มีความยินดีในอารมณ์นั้นๆ) นี่ตถาคตเรียกว่า ทุะขสมุทยะ ในทั้ง 4 อย่างนั้น

    * บาลีว่า ตัณหา ( ความทะยานอยาก)
    ** เปานรรภวิกี แปลอีกนัยหนึ่งว่า ประกอบด้วยความมีซ้ำคือมีแล้วอยากมีอีกไม่สิ้นสุด ในบาลีว่า โปโนพฺภวิกา (ทำให้มีภพอีก)
    *** บาลีว่า นนฺทิราคสหคตา ( เป็นไปกับความกำหนัด ด้วยอนาจความเพลิดเพลิน )
    **** บาลีว่า ตตฺร ตตฺราภินนฺทินี ( เพลินยิ่งในอารมณ์นั้น ๆ )

    ตตฺร กตโม ทุะขนิโรธะ?
    ทุะขนิโรธ* (ความดับทุกข์)เป็นอย่างไร?

    * สำนวนแปลบาลี ว่า ทุกขนิโรธ หรือในรูปทับศัพท์สันสกฤต อีกรูปคือ ทุห์ขนิโรธ

    โย’สฺยา เอว ตฤษฺณายาะ ปุนรฺภวิกฺยา นนฺทีราคสหคตายาสฺตตฺรตตฺราภินนฺทินฺยา ชนิกายา นิรฺวรฺติกายา อเศโษ วิราโค นิโรธะ อยํ ทุะขนิโรธะฯ
    ความปราศจากราคะโดยไม่เหลือคือความดับสนิทซึ่งตฤษณา* อันประกอบด้วยการเกิดในภพใหม่นี้ ตฤษณานี้ประกอบด้วยความยินดีและความกำหนัด มีความยินดีในอารมณ์นั้นๆ ทำให้สิ่งอื่นๆ เกิดขึ้นยังจะต้องกลับมาอีก นี่ตถาคตเรียกว่า ทุะขนิโรธ ในทั้ง 4 อย่างนั้น

    * ตัณหา

    ตตฺร กตมา ทุะขนิโรธคามินี ปฺรติปตฺ?
    ทุะขนิโรธคามินีประติปัต* (ข้อปฏิบัติอันถึงความดับทุกข์) เป็นอย่างไร

    * สำนวนแปลบาลี ว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือในรูปทับศัพท์สันสกฤต อีกรูปคือ ทุห์ขนิโรธคามินีประติปัต ทุห์ขนิโรธคามินีประติปทา

    เอษ เอวารฺยาษฺฏางฺคมารฺคะฯ ตทฺยถาฯ สมฺยคฺทฤษฺฏิรฺยาวตฺสมฺยกฺสมาธิริติฯ อิทมุจฺยเต ทุะขนิโรธคามินี ปฺรติปทารฺยสตฺยมิติฯ
    อารยมรรค* มีองค์ 8 นี้แหละ นั่นคือ สัมยัคทฤษฏิ จึงถึงสัมยักสมาธิ นี่ตถาคตเรียกว่า ทุขนิโรธคามินีประติปัต

    * บาลีว่า อริยมคฺค สำนวนแปลบาลี ว่า อริยมรรค ( “อริย” เป็นบาลี + “มรรค” เป็นสันสกฤต ) หรือ อริยมัคค์ ก็ว่า

    อิมานิ ภิกฺษวศฺจตฺวารฺยารฺยสตฺยานิฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี่คือ อารยสัตย์ 4 เพราะฉะนั้น

    อิติ ทุะขมิติ เม ภิกฺษวะ ปุรฺวมศฺรุเตษุ ธรฺเมษุ โยนิโศมนสิการาทฺพหุลีการาชฺชฺญานมุตฺปนฺนํ จกฺษุรุตฺปนฺนํ วิทฺโยตฺปนฺนา ภูริรุตฺปนฺนา เมโฆตฺปนฺนา ปฺรชฺโญตฺปนฺนา อาโลกะ ปฺราทุรฺภูตะฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า นี่คือ ทุะข ชญาน* ก็เกิดขึ้น จักษุ** ก็เกิดขึ้น วิทยา* * * ก็เกิดขึ้น ภูริ(ปรัชญาหนาแน่น)ก็เกิดขึ้น
    เมธา(ปรัชญาเฉลียวฉลาด)ก็เกิดขึ้น ปรัชญา* * * * (ความรอบรู้)ก็เกิดขึ้น อาโลกะ(แสงสว่าง) ก็ปรากฏขึ้น เพราะพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะกระทำมากในธรรมทั้งหลายที่ตถาคตยังไม่เคยได้ยิน

    สำนวนแปลบาลี ว่า * ญาณ หรือ ความหยั่งรู้ **จักขุ หรือ ดวงตา ในที่นี้คือดวงตาเห็นธรรม * * * วิชชา หรือ การรู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง * * **ปัญญา หรือ การรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน

    อยํ ทุะขสมุทย อิติ เม ภิกฺษวะ ปูรฺวมศฺรุเตษุ ธรฺเมษุ โยนิโศมนสิการาทฺพหุลีการาชฺชฺญานมุตฺปนฺนํ จกฺษุรุตฺปนฺนํ วิทฺโยตฺปนฺนา ภูริรุตฺปนฺนา เมโฆตฺปนฺนา ปฺรชฺโญตฺปนฺนา อาโลกะ ปฺราทุรฺภูตะฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่านี่คือ ทุะขสมุทยะ ชญานก็เกิดขึ้น จักษุก็เกิดขึ้น วิทยาก็เกิดขึ้น ภูริก็เกิดขึ้น เมธาก็เกิดขึ้น ปรัชญาก็เกิดขึ้น อโลกะก็ปรากฏขึ้น เพราะพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะกระทำมากในธรรมทั้งหลายที่ตถาคตยังไม่เคยได้ยิน

    อยํ ทุะขนิโรธ อิติ เม ภิกฺษวะ สรฺวํ ปูรฺววทฺยาวทาโลกะ ปฺราทุรฺภูตะฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า นี่คือ ทุะขนิโรธ ฯลฯ อาโลกะก็ปรากฏขึ้น เพราะพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ฯลฯ

    อิยํ ทุะขนิโรธคามินี ปฺรติปทิติ เม ภิกฺษวะ ปูรฺววเทว เปยาลํ ยาวทาโลกะ ปฺราทุรฺภูตะฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า ทุะขนิโรธคามินีประติบัต นี้ ตนควรรู้ ฯลฯ อาโลกะก็ปรากฏขึ้น ฯลฯ

    ยตฺขลฺวิทํ ทุะขํ ปริชฺเญยมิติ เม ภิกฺษวะ ปูรฺววเทว เปยาลํ ยาวทาโลกะ ปฺราทุรฺภูตะฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า ทุะขะนี้ ตนควรรู้ ฯลฯ อาโลกะก็ปรากฏขึ้น ฯลฯ

    ส ขลฺวยํ ทุะขสมุทยะ ปฺรหาตวฺย อิติ เม ภิกฺษวะ ปูรฺวมศฺรเตษุ ธรฺเมษุ สรฺวํ ยาวทาโลก อิติฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า ทุะขสมุทยะนี้ ตนพึงละ ฯลฯ อาโลกะก็ปรากฏขึ้น ฯลฯ

    ส ขลฺวยํ ทุะขนิโรธะ สากฺษาตฺกรฺตวฺย อิติ เม ภิกฺษวะ ปูรฺววทฺยาวทาโลก อิติฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า ทุะขนิโรธนี้ ตนถึงทำให้ปรากฏ ฯลฯ อาโลกะก็เกิดขึ้น ฯลฯ

    สา ขลฺวิยํ ทุะขนิโรธคามินี ปฺรติปทฺภาวยิตวฺเยติ ปูรฺววทฺยาวทาโลก อิติฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า ทุะขนิโรธคามินีประติปัตนี้ ตนพึงเจริญให้มีขึ้น ฯลฯ

    ตตฺขลฺวิทํ ทุะขํ ปริชฺญาตมิติ เม ภิกฺษวะ ปูรฺวมศฺรเตษุ อิติ เปยาลมฺฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า ทุะขนี้ตนรู้แล้ว ฯลฯ

    ส ขลฺวยํ ทุะขสมุทยะ ปฺรหีณ อิติ เม ภิกฺษวะ ปูรฺวมศฺรุเตติ เปยาลมฺฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า ทุะขสมุทยะนี้ ตนละได้แล้ว

    ส ขลฺวยํ ทุะขนิโรธะ สากฺษาตฺกฤต อิติ เม ภิกฺษวะ ปูรฺวมศฺรุเตติ เปยาลมฺฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า ทุะขนิโรธนี้ ตนทำให้ปรากฏแล้ว

    สา ขลฺวิยํ ทุะขนิโรธคามินี ปฺรติปทฺภาวิเตติ เม ภิกฺษวะ ปูรฺวมศฺรุเตษุ ธรฺเมษุ โยนิโศมนสิการาทฺพหุลีการาชฺชฺญานมุตฺปนฺนํ จกฺษุรุตฺปนฺนํ ภูริรุตฺปนฺนา วิทฺโยตฺปนฺนา เมโธตฺปนฺนา ปฺรชฺโญตฺปนฺนา อาโลกะ ปฺราทูรฺภูตะ๚

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้ว่า ทุะขนิโรธคามินีประติปัต ตนได้เจริญให้มีขึ้นแล้ว ชญานก็เกิดขึ้น จักษุก็เกิดขึ้น วิทยาก็เกิดขึ้น ภูริก็เกิดขึ้น เมธาก็เกิดขึ้น ปรัชญาก็เกิดขึ้น อาโลกะก็ปรากฏขึ้น เพราะพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะกระทำมากในธรรมทั้งหลายที่ตถาคตยังไม่เคยได้ยิน

    อิติ หิ ภิกฺษโว ยาวเทว เม เอษุ จตุรฺษฺวารฺยสตฺเยษุ โยนิโศ มนสิ กุรฺวโต เอวํ ตฺริปริวรฺตํ ทฺวาทศาการํ ชฺญานทรฺศนมุตฺปทฺยเต,
    กระนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชญานทรรศนะ*(การเห็นด้วยชญาน) ในอารยสัตย์ทั้ง 4 นี้เวียน 3 รอบ มี 12 อาการอย่างนี้ เกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคตผู้พิจารณาอย่างถี่ถ้วน

    * บาลีว่า ญาณทสฺสนํ สำนวนแปลบาลี ว่า ญาณทัสสนะ หรือ ญาณทัศนะ คือการเห็นแจ้งรู้จริงในอริยสัจ 4 ครบวนรอบ 3 มีอาการ 12 (ติปริวฏฺฏํ ทฺวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ) ดูเพิ่มเติมในเรื่อง ญาณ 3 ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม

    น ตาวทหํ ภิกฺษโว’นุตฺตรํา สมฺยกฺสํโพธิมภิสํพุทฺโธ’สฺมิ อิติ ปฺรติชฺญาสิษมฺฯ น จ เม ชฺญานทรฺศนมุตฺปทฺยเตฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตยังไม่ประติชญา(ให้คำมั่นสัญญา) ว่า ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิแล้ว ตราบใด ชญานทรรศนะยังไม่เกิดข้นแก่ตถาคต

    * บาลี : ปฏิญฺญา , ภาษาไทย นำมาใช้ว่า ปฏิญญา [ปะตินยา] หมายถึง น. การให้คํามั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันโดยถือเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง

    ยตศฺจ เม ภิกฺษว เอษุ จตุรฺษฺวารฺยสตฺเยษฺเววํ ตฺริปริวรฺตํ ทฺวาทศาการํ ชฺญานทรฺศนมุตฺปนฺนมฺ,
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ชญานทรรศนะในอารยสัตย์ทั้ง 4 นี้ เวียน 3 รอบ มี 12 อาการอย่างนี้ เกิดขึ้นแก่ตถาคต

    อโกปฺยา จ เม เจโตวิมุกฺติะ, ปฺรชฺญาวิมุกฺติศฺจ สากฺษาตฺกฤตา,
    และเจโตวิมุกติ* ของตถาคตไม่กำเริบ(ไม่เปลี่ยนแปลง) และ ปรัชญาวิมุกติ**ตถาคตทำให้ปรากฏแล้ว

    บาลีว่า * เจโตวิมุตฺติ ความหลุดพ้นแห่งจิต ** ปญฺญาวิมุติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา

    ตโต’หํ ภิกฺษโว’นุตฺตรํา สมฺยกฺสํโพธิมภิสํพุทฺโธ’สฺมิ อิติ ปฺรติชฺญาสิษมฺฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้น ตถาคตจึงประติชญาได้ว่าตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมยักสัมโพธิแล้ว

    ชฺญานทรฺศนํ เม อุทปาทิฯ กฺษีณา เม ชาติะ, อุษิตํ พฺรหฺมจรฺยมฺ, กฤตํ กรณียมฺ, นาปรสฺมาทฺภวํ ปฺรชานามิ๚
    ตราบนั้นชญานทรรศนะ เกิดขึ้นแล้วแก่ตถาคต ชาติ (ความเกิด)ของตถาคตสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ตถาคตได้อยู่แล้ว (คือได้ประพฤติเสร็จแล้ว) กิจที่ควรทำตถาคตได้ทำแล้ว ตถาคตไม่ต้องจากภพหนึ่งไปสู่ภพแล้ว



    ตเตฺรทมุจฺยเตฯ

    ในที่นี้ มีคำกล่าวไว้ว่า

    วาจาย พฺรหฺมรุต กินฺนรครฺชิตาย
    อํไศะ สหสฺรนยุเตภิ สมุทฺคตายฯ
    พหุกลฺปโกฏิ สท สตฺยสุภาวิตาย
    เกาณฺฑินฺยมาลปติ ศากฺยมุนิะ สฺวยํภูะ ๚๓๑๚

    31 พระศากยมุนี องค์สวยัมภู ตรัสเรียกเกาณฑินยะ* ด้วยพระวาจาดังว่าเสียพรหมเสียงกินนรอันดังขึ้นตั้งพันส่วน ซึ่งได้อบรมมาดีแล้วในความสัตย์ทุกเมื่อตั้งหลายโกฏิกัลปตรัสว่า ฯ

    * พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นพระภิกษุสาวก ผู้เป็นเอตทัคคะในด้านรัตตัญญู คือเป็นผู้รู้ธรรมก่อนใครในพระพุทธศาสนาและได้บวชก่อนผู้อื่น

    จกฺษุรนิตฺยมธฺรุวํ ตถ โศฺรต ฆฺราณํ
    ชิหฺวา ปิ กาย มน ทุะขา อนาตฺม ศูนฺยาฯ
    ชฑาสฺวภาว ตฤณกุฑฺม อิวา นิรีหา
    ไนวาตฺร อาตฺม น นโร น จ ชีวมสฺติ ๚๓๒๚

    32 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่เที่ยง ไม่แน่นอน เป็นทุกข์ เป็นอนาตมะ* เป็นศูนย** เป็นสวภาพ***ของคนเขลา ปราศจากความพยายามเหมือนหญ้ายอดด้วน ในที่นี้ไม่มีอาตมะ**** ไม่มีคน ไม่มีชีวะ ฯ

    *อนัตตา ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน ศูนยตา
    **สุญญตา ความเป็นของสูญ คือความไม่มีตัวตน ถือเอาเป็นตัวตนไม่ได้.
    ***สวภาพ หรือ สวภาวะ สภาวะที่อยู่ด้วยตัวมันเอง หรือ พรหมัน อาตมันของพราหมณ์
    ****อัตตา หรือความเป็นตัวเป็นตน สิ่งที่ยึดเป็นตัวตน

    เหตุํ ปฺรตีตฺย อิมิ สํภุต สรฺวธรฺมา
    อตฺยนฺตทฤษฺฏิวิคตา คคนปฺรกาศาฯ
    น จ การโก’สฺติ ตถ ไนว จ เวทโก’สฺติ
    น จ กรฺม ปศฺยติ กฤตํ หฺยศุภํ ศุภํ วา ๚๓๓๚

    33 ธรรมทั้งปวงเหล่านี้ มีได้เพราะอาศัยเหตุเหมือนความสว่างในอากาศเห็นได้ไกลยิ่ง ไม่มีผู้ทำ และไม่มีผู้ถูกทำ ไม่มีการทำ ไม่มีสิ่งถูกทำ ไม่มีความชั่วหรือความดี ฯ

    สฺกนฺธา ปฺรตีตฺย สมุเทติ หิ ทุะขเมวํ
    สํโภนฺติ ตฤษฺณ สลิเลน วิวรฺธมานาฯ
    มารฺเคณ ธรฺมสมตาย วิปศฺยมานา
    อตฺยนฺตกฺษีณ กฺษยธรฺมตยา นิรุทฺธาะ ๚๓๔๚

    34 จริงอยู่ ความทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยสกันธ ดั่งว่านี้เหมือนความเจริญงอกงามของตฤษณา* เกิดขึ้นเพราะน้ำ การเห็นแจ้งโดยความเสมอกันในธรรม ย่อมมีด้วยมรรค ความดับสนิทโดยธรรมเป็นเครื่องสิ้นไป ย่อมมีด้วยการหมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง ฯ

    * ท่านใจศัพท์ว่า ตฤษณ แต่น่าจะเป็นตฤณ ซึ่งเปลว่าหญ้า คือหญ้าเจริญงอกงามเพราะน้ำ



    สํกลฺปกลฺปชนิเตน อโยนิเศน
    ภวเต อวิทฺย น ปิ สํภวโก’สฺย กศฺจิฯ
    สํสฺการเหตุ ททเต น จ สํกฺรโม’สฺติ
    วิชฺญานมุทฺภวติ สํกฺรมณํ ปฺรตีตฺย ๚๓๕๚

    35 อวิทยา* ย่อมมีเพราะไม่พิจารณาถี่ถ้วนอันเกิดจากการกำหนดด้วยความดำริหรือความมุ่งหมาย และไม่มีอะไรเป็นมูลเหตุของอวิทยานั้นเลย อวิทยายังให้ความเป็นเหตุแห่งสังสการ** และไม่มีการก้าวเลยไป วิชญาน***เกิดขึ้นเพราะอาศัยการก้าวหน้าของสังสการฯ

    บาลีว่า * อวิชชา คือ ความไม่รู้แจ้ง คือ ความไม่รู้ความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ โดยถูกต้อง
    ** สังขาร คือ การปรุงแต่ง สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง
    *** วิญญาน คือความรับรู้อารมณ์




    วิชฺญาน นาม ตถ จ รูป สมุตฺถิตาสฺติ
    นาเม จ รูปิ สมุเทนฺติ ษฑินฺทฺริยาณิฯ
    ษฑินฺทิไยรฺนิปติโต อิติ สฺปรฺศ อุกฺตะ
    สฺปรฺเศน ติสฺร อนุวรฺตติ เวทนา จ ๚๓๖๚

    36 นามคือวิชญาน และรูป เกิดขึ้นแล้ว อินทรีย์ 6 ย่อมเกิดขึ้นในนามและรูป อินทรีย์รับอารมณ์ เรียกว่าสปรรศะ * และเวทนา 3 ย่อมเป็นไปตามสปรรศะ ฯ

    * บาลีว่า ผัสสะ คือ สัมผัส การกระทบ การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก



    ยตฺกิํจิ เวทยิตุ สรฺว สตฤษฺณ อุกฺตา
    ตฤษฺณาต สรฺว อุปชายติ ทุะขสฺกนฺธะฯ
    อุปาทานโต ภวติ สรฺว ภวปฺรวฤตฺติะ
    ภวปฺรตฺยยา จ สมุเทติ หิ ชาติรสฺย ๚๓๗๚

    37 เวทนาใดๆ ท่านเรียกว่าเป็นไปกับด้วยตฤษณากองทุกข์ทั้งปวงเกิดขึ้นเพราะตฤษณา ความเป็นไปในภพทั้งปวงมีเพราะอุปาทานจริงอยู่ ชาติ(ความเกิด) ย่อมตั้งขึ้นแก่เขา เพราะภพเป็นปรัตยัย*
    * สำนวนแปลปกติคือ ปัจจัย

    ชาตีนิทาน ชรวฺยาธิทุขานิ โภนฺติ
    อุปปตฺติ ไนก วิวิธา ภวปญฺชเร’สฺมินฺฯ
    เอวเมษ สรฺว อิติ ปฺรตฺยยโต ชคสฺย
    น จ อาตฺม ปุทฺคลุ น สํกฺรมโก’สฺติ กศฺจิ ๚๓๘๚

    38 ทุกข์คือชรา พยาธิ ซึ่งบังเกิดขึ้นหายอย่างในกรงคือภพนี้(โลกนี้) ย่อมมีเพราะชาติ (ความเกิด เป็นเหตุ ดังนั้นสภาพทั้งปวงนี้แหละย่อมมีเพราะปรัตยัย* ของโลก ไม่มีตน และไม่มีบุทคลผู้ดำเนินการใดๆ ฯ
    * สำนวนแปลปกติคือ ปัจจัย

    ยสฺมินฺน กลฺปุ น วิกลฺปุ โยนิมาหุะ
    ยทฺโยนิโศ ภวติ น ตตฺร อวิทฺย กาจิฯ
    ยสฺมินฺนิโรธุ ภวตีห อวิทฺยตายาะ
    สรฺเว ภวางฺค กฺษยกฺษีณ กฺษยํ นิรุทฺธา ๚๓๙๚

    39 ท่านกล่าวว่าบ่อเกิดไม่มีในกัลป (กัลปเจริญ)และไม่มีในวิกัลป (กัลปเสื่อม) ใดๆอนึ่งที่ใด พิจารณาถี่ถ้วน อวิทยาไม่ว่าชนิดใด ย่อมไม่มีในที่นั้น นิโรธ (ความดับสนิท) มีในที่ใดที่นั้นย่อมมีเพราะความไม่มีอวิทยา องค์แห่งภพทั้งปวงหมดสิ้นแล้ว ความสิ้นคือ นิโรธ(ความดับสนิท) ฯ

    เอวเมษ ปฺรตฺยยต พุทฺธ ตถาคเตน
    เตน สฺวยํภุ สฺวกมาตฺมนุ วฺยากโรติฯ
    น สฺกนฺธ อายตน ธาตุ วเทมิ พุทฺธํ
    นานฺยตฺร เหตฺววคมาทฺภวตีห พุทฺธะ ๚๔๐๚

    40 นี่แหละ ตถาคตตรัสรุ้แล้วโดยปรัตยัย เพราะฉะนั้นพระสวยัมภูย่อมพยากรณ์โดยตนเองได้ ตถาคตมิได้กล่าวว่า สกันธ อายตนะและธาตุ เป็นพุทธ พุทธในโลกนี้ ก็มิได้มีเพราะการหยั่งรู้เหตุอย่างอื่น(นอกจากสกันธ อายตนะและธาตุ)

    * บาลีว่า ขันธ์



    ภูมิรฺน จาตฺร ปรตีรฺถิก นิะสฤตานํา
    ศูนฺยา ปฺรวาทิ อิห อีทฤศ ธรฺมโยเคฯ
    เย ปูรฺวพุทฺธจริตา สุวิศุทฺธสตฺตฺวาะ
    เต ศกฺนุวนฺติ อิมิ ธรฺม วิชานนาย ๚๔๑๚

    41 และภาคพื้นในโลกนี้ ก็ไม่เป็นบุณยสถานอันใหญ่ยิ่งของผู้เดินทางในความศูนย(ว่างเปล่า) เป็นลัทธิในการประกอบธรรมเช่นนี้ ในโลกนี้ผู้ใดเคยประพฤติเพื่อเป็นพุทธมาแล้ว เป็นสัตว์บริศุทธยิ่ง ผู้นั้นสามารถ เพื่อรู้ธรรมนี้ได้ ฯ



    เอวํ หิ ทฺวาทศาการํ ธรฺมจกฺรํ ปฺรวรฺติตมฺฯ
    เกาณฺฑินฺเยน จ อาชฺญาตํ นิรฺวฤตฺตา รตนา ตฺรยะ ๚๔๒๚

    42 จักรคือธรรมมี 12 อาการอย่างนี้แล ตถาคตให้หมุนแล้วและเกาฑินยะได้รู้แล้ว รัตนะ 3 ครบแล้ว



    พุทฺโธ ธรฺมศฺจ สํฆศฺจ อิตฺเยตทฺรตนตฺรยมฺฯ
    ปรสฺปรํา คตะ ศพฺโท ยาวทฺ พฺรหฺมปุราลยมฺ ๚๔๓๚

    43 รัตนตรัยนั้นคือ พุทธะ ธรรมะ สังฆะ เสียงดังต่อๆ กันไปกระทั่งถึงบุรีเป็นที่อยู่ของพรหม ฯ



    วรฺติตํ วิรชํ จกฺรํ โลกนาเถน ตายินาฯ
    อุตฺปนฺนา รตนา ตฺรีณิ โลเก ปรมทุรฺลภา ๚๔๔๚

    44 จักรปราศจากธุลี เพราะโลกนาถผู้เผยแผ่ให้หมุนแล้ว รัตนะทั้งหลาย 3 หายากที่สุดในโลก เกิดขึ้นแล้ว ฯ



    เกาณฺฑินฺยํ ปฺรถมํ กฤตฺวา ปญฺจกาศฺไจว ภิกฺษวะฯ
    ษษฺฏีนํา เทวโกฏีนํา ธรฺมจกฺษุรฺวิโศธิตมฺ ๚๔๕๚

    45 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้ง 5 มีเกาฑินยะเป็นประถม มีแล้ว เทวดา 60 โกฏิ ตถาคตได้ชำระธรรมจักษุ(ดวงตาเห็นธรรม) ให้สะอาดแล้ว ฯ

    อนฺเย จาศีติโกฏฺยสฺตุ รูปธาตุกเทวตาะฯ
    เตษํา วิโศธิตํ จกฺษุ ธรฺมจกฺรปฺรวรฺตเน ๚๔๖๚

    46 และเทวดารูปพรหมอื่นๆอีก 80 โกฏิ ตถาคตก็ได้ชำระจักษุของเทวดาเหล่านั้นให้สะอาดแล้ว ในการหมุนจักรคือธรรม ฯ

    จตุรศีติสหสฺราณิ มนุษฺยาณํา สมาคตาฯ
    เตษํา วิโศธิตํ จกฺษุ มุกฺตา สรฺเวภิ ทุรฺคตี ๚๔๗๚

    47 มนุษย์ทั้งหลายแปดหมื่นสี่พัน มาประชุมกันแล้ว ตถาคตชำระจักษุของมนุษย์เหล่านั้นให้พ้นจากการฝ้าฟางทั้งปวง ฯ

    ทศทิศตุ อนนฺต พุทฺธสฺวโร คจฺฉิ ตสฺมิํ กฺษเณ
    รุต มธุร มโนชฺญ สํศฺรูยนฺเต จานฺตรีเกฺษ ศุภฯ
    เอษ ทศพเลน ศากฺยรฺษิณา ธรฺมจโกฺรตฺตมํ
    ฤษิปตนมุเปตฺย วาราณสี วรฺติโต นานฺยถา ๚๔๘๚

    48 ในกษณะนั้น เสียงกล่าวถึงพระพุทธดังไปในทิศทั้ง 10 ไม่มีที่สุด เป็นเสียงไพเราะจับใจ ได้ยินในอากาศชัดเจน เสียงนั้นว่า พระฤษีศากยมีกำลัง10(ทศพล) เสด็จไปยังฤษิปตนะในมหานครพาราณสี หมุนจักรสูงสุดคือธรรม ไม่ใช่อย่างอื่น ฯ

    ทศ ทิศิต ยิ เกจิ พุทฺธศตา สรฺวิ ตูษฺณีภุตาะ
    เตษ มุนินเย อุปสฺถายกาะ สรฺวิ ปฤจฺฉี ชินําฯ
    กิมิติ ทศพเลภิ ธรฺมากถา ฉินฺน ศฺรุตฺวา รูตํ
    สาธุ ภณต ศีฆฺร กิํ การณํ ตูษฺณีภาเวน สฺถิตาะ ๚๔๙๚

    49 พระพุทธตั้งร้อยในทิศทั้ง 10 บางพวกทรงนิ่งหมด พระโพธิสัตว์ผู้รับใช้ทั้งปวงของพระพุทธเหล่านั้น ถามพระชินว่า พระทศพลทั้งหลายได้ยินเสียงแล้วงดธรรมกถาเพราะเหตุใด ดังจะขอโอกาศ ขอพระองค์โปรดบอกโดยเร็ว เพราะเหตุไร องค์พระทศพลทั้งหลายจึงนิ่งเงียบ ฯ

    ปุรฺวภวศเตภิ วีรฺยาพไล โพธิ สมุทานิยา
    พหว ศตสหสฺร ปศฺจานฺมุขา โพธิสตฺตฺวา กฤตาะฯ
    เตน หิตกเรณ อุตฺตปฺตตา ปฺราปฺต โพธิะ ศิวา
    จกฺร ตฺริปริวรฺต ปฺราวรฺติตา เตน ตูษฺณีภุตาะ ๚๕๐๚

    50 พระทศพลทั้งหลายตรัสว่า โพธิ ตถาคตนำมาแล้วด้วยกำลังความเพียรตั้งร้อยภพในครั้งก่อนๆ โพธิสัตว์หลายแสนพากันหัวหน้าสู่โพธิซึ่งมีความรุ่งเรืองสูง เป็นสวัสดิมงคล ตถาคตผู้ทำประโยชน์นั้นได้บรรลุแล้ว จักรตถาคตให้เป็นไปแล้วโดยหมุน 3 รอบ เพราะฉะนั้น พระทศพลทั้งหลายจึงนิ่งเงียบ ฯ

    อิมุ วจน ศฺรุณิตฺว เตษํา มุนีสตฺตฺวโกฏฺยะ ศตา
    ไมตฺรพล ชนิตฺว สํปฺรสฺถิตา อคฺรโพธิํ ศิวามฺฯ
    วยมปิ อนุศิกฺษิ ตสฺยา มุเน วีรฺยสฺถาโมทฺคตํ
    กฺษิปฺร ภเวม โลกิ โลโกตฺตมา ธรฺมจกฺษุรฺททาะ ๚๕๑๚
    อิติ๚

    51 พระโพธิสัตว์ร้อยโกฏิได้ยินคำนี้ขอพระทศพลทั้งหลายแล้วทำให้กำลังแห่งไมตรีเกิดขึ้น ได้มุ่งต่อโพธิอันประเสริฐเป็นแดนเกษม ทูลว่าข้าแต่พระมุนี ข้าพระองค์ทั้งหลายศึกษาความตั้งขึ้นแห่งกำลังความเพียร นั้นแล้ว จะเป็นผผุ้ให้จักษุในธรรม(ดวงตาเห็นธรรม อันเป็นโลกุตตมในโลกโดยเร็ว ดั่งนี้ ฯ

    buddha.jpg



    อ้างอิง

    २६ धर्मचक्रप्रवर्तनपरिवर्तः षड्‍विंशः
    Technical Details
    Text Version: Devanāgarī
    Input Personnel: DSBC Staff
    Input Date: 2004
    Proof Reader: Miroj Shakya
    Supplier: Nagarjuna Institute of Exact Methods
    Sponsor: University of the West

    1.พระคัมภีร์ลลิตวิสตร พระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์พุทธประวัติฝ่ายมหายาน ศาสตราจารย์ ร.ต.ท.แสง มนวิทูร เปรียญ

    2.ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔ วินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ หน้าที่ ๑๕ ข้อที่ ๑๓

    3.การวิจัยเชิงคัมภีร์กรณีศึกษา “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย ธรรมธารา วารสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา ฉบับที่ 1 ปี 2559

    4. Saṃyukta Āgama , 379. Turning the Dharma Wheel Translated from Taishō Tripiṭaka volume 2, number 99

    5.พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

    http://blog.thai-sanscript.com/dharmachakrapravartana/
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    อารยตริรัตนานุสมฤติสูตร บทอิติปิโสฝ่ายมหายาน
    TOPICS:คัมภีร์ทางศาสนาธารณีพุทธศาสนามนตรยานมหายาน
    69aff708a150f651a2d842059356488f-dunhuang-lamas-736x437.jpg

    POSTED BY: THANAKRIT พฤศจิกายน 18, 2017


    อารฺยตฺริรตฺนานุสฺมฤติสูตฺรมฺ
    พระสูตรว่าด้วยการระลึกถึงพระรัตนตรัยอันประเสริฐ

    อารยตริรัตนานุสมฤติสูตร แปลเป็นภาษาไทย พร้อมเสียงอ่านภาษาสันสกฤต

    บทระลึกถึงพระรัตนตรัยหรือคนไทยเรียกบทอิติปิโสนั้น ปรากฎมีอยู่โดยทั่วๆไปปนในพระสูตรอื่นๆ ทั้งฝ่ายบาลีและสันสกฤต ทั้งสาวกยานและมหายาน เนื้อหาก็ใกล้เคียงกัน แต่บางพระสูตรอาจจะขยายความมาก แต่ก็ไม่ได้เป็นพระสูตรเอกเทศแต่อย่างใด

    ในฝ่ายมหายานนั้นมี พระสูตรที่ว่าด้วยการระลึกถึงพระรัตนตรัย เป็นเอกเทศอยู่พระสูตรหนึ่งชื่อ อารยตริรัตนานุสมฤติสูตร มีเนื้อหาใกล้เคียงกับบทอิติปิโสของฝ่ายบาลี แต่ในส่วนระลึกถึงพระพุทธคุณ มีส่วนขยายมีเนื้อหาคล้ายใน สมาธิราชสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรมหายานในยุคแรก ๆ ซึ่งส่วนท้ายของพระพุทธคุณ จะปรากฏมติที่เป็นหลักข้อเชื่อใหญ่ของมหายานโดยเฉพาะ ที่เกียวกับคุณลักษณะและการดำรงอยู่ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และลักษณะแห่งพระนิพพานในแบบมหายาน

    อารยตริรัตนานุสมฤติสูตร นี้เป็นฉบับที่ธิเบตเก็บรักษาไว้ ชื่อในภาษาธิเบต ชื่อ ’phags pa dkon mchog gsum rjes su dran pa’i mdo และยังมีเนื้อหาภาษาสันสกฤตปรากฏในรายการดัชนีศัพท์ของคัมภีร์อภิธานศัพท์ ชื่อคัมภีร์มหาวยุตปัตติ เป็นอภิธานศัพท์สันสกฤต-ธิเบต-จีน อีกด้วย ปัจจุปันมีการแปลออกเป็นหลายฉบับหลายภาษา มีอรรถาธิบายไว้หลายฉบับเช่นกัน ในชื่อภาษาอังกฤษว่า The sutra of the recollection of the noble three jewels

    อารยตริรัตนานุสมฤติสูตร
    ต้นฉบับเทวนาครีจาก dsbcproject
    ปริวรรตโดย thai-sanscript
    เสียงสาธยาย Vidya Rao
    แปลโดย ธนกฤต พรหมศิริ

    आर्यत्रिरत्नानुस्मृतिसूत्रम्
    อารฺยตฺริรตฺนานุสฺมฤติสูตฺรมฺ
    พระสูตรว่าด้วยการระลึกถึงพระรัตนตรัยอันประเสริฐ

    नमः सर्वबुद्धबोधिसत्त्वेभ्यः
    นมะ สรฺวพุทฺธโพธิสตฺตฺเวภฺยะ
    ขอความนอบน้อมจงมีแด่ปวงพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

    बुद्धानुस्मृतिः
    พุทฺธานุสฺมฤติะ
    ระลึกถึงพระพุทธคุณ

    इत्यपि बुद्धो भगवांस्तथागतोऽर्हन्
    อิตฺยปิ พุทฺโธ ภควําสฺตถาคโต ‘รฺหนฺ
    เหตุว่า พระพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้มีพระภาค พระตถาคตเจ้า[ผู้เสด็จมาอย่างนั้น] และพระอรหันต์

    सम्यक्संबुद्धो
    สมฺยกฺสํพุทฺโธ
    เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า[ผู้ตรัสรู้ชอบโดยพระองค์เอง]

    विद्याचरणसम्पन्नः
    วิทฺยาจรณสมฺปนฺนะ
    ผู้ถึงพร้อมด้วยวิทยาและจรณะ

    सुगतो
    สุคโต
    เป็นพระสุคตเจ้า[ผู้ไปแล้วด้วยดี]

    लोकविदनुत्तरः पुरुषदम्यसारथिः
    โลกวิทนุตฺตระ ปุรุษทมฺยสารถิะ
    เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นสารถีฝึกบุรุษบุคคลที่ควรฝึก
    ยอดเยี่ยมอย่างไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน

    शास्ता देवमनुष्याणां
    ศาสฺตา เทวมนุษฺยาณํา
    เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

    बुद्धो भगवानिति।
    พุทฺโธ ภควานิติ ฯ
    ทรงเป็นพุทธะ ทรงเป็นผู้มีพระภาค เพราะเหตุดังนี้

    निष्यन्दः स तथागतः पुण्यानाम्
    นิษฺยนฺทะ ส ตถาคตะ ปุณฺยานามฺ
    พระตถาคตเจ้านั้นเป็นผลิตผลแห่งบุญทั้งหลาย
    [ทรงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับบุญ]

    अविप्रणाशः कुशलमूलानाम्
    อวิปฺรณาศะ กุศลมูลานามฺ,
    เหตุว่าพระองค์ทรงไม่กําจัดกุศลมูลทั้งหลายทิ้งเสีย

    अलङ्कृतः क्षान्त्या
    อลงฺกฤตะ กฺษานฺตฺยา,
    ทรงตกแต่งไว้ดีด้วยธรรมแห่งกษานติ[ขันติธรรม]

    आलयः पुण्यनिधानानाम्
    อาลยะ ปุณฺยนิธานานามฺ,
    ทรงเป็นฐานแห่งขุมทรัพย์คือบุญทั้งหลาย

    चित्रितोऽनुव्यञ्जनैः कुसुमितो लक्षणैः
    จิตฺริโต’นุวฺยญฺชไนะ กุสุมิโต ลกฺษไณะ,
    ประดับประดาไว้ด้วยอนุพยัญชนะ [ลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ]
    และงดงามด้วยดอกไม้ผลิบานแห่งพุทธลักษณะ [ลักษณะของมหาบุรุษ]

    प्रतिरूपो गोचरेण
    ปฺรติรูโป โคจเรณ,
    ทรงมีวีถีทางที่เหมาะสม

    अप्रतिकूलो दर्शनेन
    อปฺรติกูโล ทรฺศเนน,
    การปรากฎพระองค์ไม่เป็นที่น่ารังเกียจของผู้ใด

    अभिरतिः श्रद्धाधिमुक्तानाम्
    อภิรติะ ศฺรทฺธาธิมุกฺตานามฺ,
    แต่เป็นความยินดีของผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธาทั้งหลาย

    अनभिभूतः प्रज्ञया
    อนภิภูตะ ปฺรชฺญยา,
    ทรงไม่ถูกปรัชญาครอบงํา
    [ทรงมีปัญญาเลิศไม่มีผู้ใดจะครอบงำพระองค์ได้ด้วยปัญญาอื่นๆ]

    अनवमर्दनीयो बलैः
    อนวมรฺทนีโย พไละ,
    ไม่อาจทำลายพระองค์ได้ด้วยพลังทั้งหลาย

    शास्ता सर्वसत्त्वानाम्
    ศาสฺตา สรฺวสตฺตฺวานามฺ
    ทรงเป็นครูของสรรพสัตว์ทั้งหลาย

    पिता बोधिसत्त्वानाम्
    ปิตา โพธิสตฺตฺวานามฺ
    เป็นบิดาของพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย

    राजा आर्यपुद्गलानाम्
    ราชา อารฺยปุทฺคลานามฺ
    เป็นพระราชาของพระอริยบุคคลทั้งหลาย

    सार्थवाहः निर्वाणनगरसम्प्रस्थितानाम्
    สารฺถวาหะ นิรฺวาณนครสมฺปฺรสฺถิตานามฺ
    เป็นผู้นำทางของบรรดานักเดินทางที่มุ่งสู่นิรวาณนคร

    अप्रमेयो ज्ञानेन
    อปฺรเมโย ชฺญาเนน
    มีพระญาณไม่อาจประมาณได้

    अचिन्त्यः प्रतिभानेन
    อจินฺตฺยะ ปฺรติภาเนน
    มีพระปฏิภานอันไม่สามารถนึกคิดได้

    विशुद्धः स्वरेण
    วิศุทฺธะ สฺวเรณ
    มีพระสุรเสียงบริสุทธิ์

    आस्वदनीयो घोषेण
    อาสฺวทนีโย โฆเษณ
    มีเสียงกังวานอันน่าพอใจ

    असेचनको रूपेण
    อเสจนโก รูเปณ
    มีพระรูปอันน่าชม

    अप्रतिसमः कायेन
    อปฺรติสมะ กาเยน
    มีพระกายอันไม่มีผู้ใดเปรียบได้

    अलिप्तः कामैः
    อลิปฺตะ กาไมะ
    ไม่แปดเปื้อนด้วยกามทั้งหลาย

    अनुपलिप्तो रूपैः असंसृष्ट आरूप्यैः
    อนุปลิปฺโต รูไปะ อสํสฤษฺฏ อารูปฺไยะ
    ไม่ติดด้วยรูปทั้งหลาย ไม่ยินดีด้วยอรูปทั้งหลาย

    विप्रमुक्तः स्कन्धेभ्यः
    วิปฺรมุกฺตะ สฺกนฺเธภฺยะ
    ทรงหลุดพ้นเป็นอิสระจากสกันธ์[ขันธ์]ทั้งหลาย

    विसम्प्रयुक्तो धातुभिः
    วิสมฺปฺรยุกฺโต ธาตุภิะ
    ทรงไม่ประกอบด้วยธาตุทั้งหลาย

    संवृत आयतनैः
    สํวฤต อายตไนะ
    ทรงควบคุมอายตนะทั้งหลายไว้ดีแล้วด้วย

    प्रच्छिन्नो ग्रन्थैः
    ปฺรจฺฉินฺโน คฺรนฺไถะ
    ทรงตัดขาดแล้วจากเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย

    विमुक्तः परिदाघ्नैः
    วิมุกฺตะ ปริทาฆฺไนะ
    หลุดพ้นจากความเร่าร้อน

    परिमुक्तस्तृष्णया
    ปริมุกฺตสฺตฤษฺณยา
    หลุดพ้นจากความทะยานอยาก

    ओघादुत्तीर्णः परिपूर्णो ज्ञानेन
    โอฆาทุตฺตีรฺณะ ปริปูรฺโณ ชฺญาเนน
    ทรงข้ามขึ้นแล้วจากห้วงน้ำ ทรงเต็มรอบด้วยพระญาณ

    प्रतिष्ठितोऽतीतानागतप्रत्युत्पन्नानां बुद्धानां भगवतां ज्ञाने
    ปฺรติษฺฐิโต’ตีตานาคตปฺรตฺยุตฺปนฺนานํา พุทฺธานํา ภควตํา ชฺญาเน,
    ดํารงมั่นอยู่ในพระญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ในอดีต อนาคต และปัจจุบัน

    अप्रतिष्ठितो निर्वाणे
    อปฺรติษฺฐิโต นิรฺวาเณ,
    ทรงไม่ดํารงอยู่ในนิรวาณ[1]

    स्थितो भूतकोट्याम्
    สฺถิโต ภูตโกฏฺยามฺ
    ทรงดํารงอยู่ในสภาวะสูงสุด

    स्थितः सर्वसत्त्वालोकनीयायां भूमौ
    สฺถิตะ สรฺวสตฺตฺวาโลกนียายํา ภูเมา
    ทรงดํารงอยู่ในภูมิที่ทรงเหลียวมองลงมายังสรรพสัตว์ได้

    सर्व इमे तथागतानां विशेषतः सम्यग् गुणाः।
    สรฺว อิเม ตถาคตานํา วิเศษตะ สมฺยคฺคุณาะฯ
    พระตถาคตเจ้าทรงประกอบด้วยคุณธรรมอันวิเศษทั้งหลายเหล่านี้

    धर्मानुस्मृतिः
    ธรฺมานุสฺมฤติะ
    ระลึกถึงพระธรรมคุณ

    सद्धर्मस्तु आदौ कल्याणः
    สทฺธรฺมสฺตุ อาเทา กลฺยาณะ
    พระสัทธรรมนั้นงามในเบื้องต้น

    मध्ये कल्याणः
    มธฺเย กลฺยาณะ
    งามในท่ามกลาง

    पर्यवसाने कल्याणः
    ปรฺยวสาเน กลฺยาณะ
    งามในเบื้องปลาย

    स्वर्थः सुव्यञ्जनः
    สฺวรฺถะ สุวฺยญฺชนะ
    ประกอบด้วย อรรถะ [โดยความหมาย]
    พยัญชนะ [โดยตัวอักษรหรือตามคํา] อันเลิศ

    केवलः, परिपूर्णः, परिशुद्धः, पर्यवदातः
    เกวละ, ปริปูรฺณะ, ปริศุทฺธะ, ปรฺยวทาตะ
    อันไม่เจือปน สมบูรณ์ บริสุทธิ ไร้มลทิน

    स्वाख्यातः भगवतो धर्मः
    สฺวาขฺยาตะ ภควโต ธรฺมะ
    พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว

    सान्दृष्टिकः
    สานฺทฤษฺฏิกะ
    เป็นสิ่งทีผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง

    निर्ज्वरः
    นิรฺชฺวระ,
    ปราศจากความเร้าร้อน[คือความทุกข์]

    आकालिकः
    อากาลิกะ,
    ไม่จำกัดด้วยกาลเวลา

    औपनायिकः
    เอาปนายิกะ,
    ทำให้ผู้ปฏิบัติไปถึงที่หมาย[นิรวาณ]

    ऐहिपश्यिकः
    ไอหิปศฺยิกะ,
    เป็นสิ่งทีควรเชิญชวนให้มาดู

    प्रत्यात्मवेदनीयो विज्ञैः
    ปฺรตฺยาตฺมเวทนีโย วิชฺไญะ,
    วิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน[ให้หรือขอกันไม่ได้]

    स्वाख्यातो भगवतो धर्मविनयः सुप्रवेदितः नैर्याणिकः
    สฺวาขฺยาโต ภควโต ธรฺมวินยะ สุปฺรเวทิตะ ไนรฺยาณิกะ,
    พระธรรมและวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
    ทรงประกาศไว้ดีแล้ว เป็นธรรมอันจะพาออกไปจากสังสารวัฏ

    संबोधिगामी
    สํโพธิคามี,
    เป็นธรรมที่ทำให้เกิดพระสัมโพธิ[การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า]

    अभिन्नः संस्तूपः
    อภินฺนะ สํสฺตูปะ,
    เป็นธรรมอันกว้างขวางครอบคลุม สอดรับกันไม่ขัดแย้ง

    सप्रतिशरणः
    สปฺรติศรณะ,
    เป็นธรรมถูกต้องสมบูรณ์วางใจเชื่อถือได้

    छिन्नप्लोतिकः।
    ฉินฺนโปฺลติกะ ฯ
    เป็นธรรมตัดเหตุคือกรรมทั้งหลายได้



    संघानुस्मृतिः
    สํฆานุสฺมฤติะ
    ระลึกถึงพระสังฆคุณ

    सुप्रतिपन्नो भगवत आर्यसंघः
    สุปฺรติปนฺโน ภควต อารฺยสํฆะ
    พระอริยสงฆ์[2]ของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี

    न्यायप्रतिपन्नः
    นฺยายปฺรติปนฺนะ
    เป็นผู้ปฏิบัติถูก

    ऋजुप्रतिपन्नः
    ฤชุปฺรติปนฺนะ
    เป็นผู้ปฏิบัติตรง

    सामीचीप्रतिपन्नः
    สามีจีปฺรติปนฺนะ
    เป็นผู้ปฏิบัติสมควร

    अञ्जलीकरणीयः
    อญฺชลีกรณียะ
    เป็นผู้ควรแก่การไหว้

    सामीचीकरणीयः
    สามีจีกรณียะ
    เป็นผู้ควรแก่การกราบ

    पुण्यश्रीक्षेत्रः
    ปุณฺยศฺรีเกฺษตฺระ
    เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐ

    महादक्षिणापरिशोधकः
    มหาทกฺษิณาปริโศธกะ
    เป็นผู้ควรแก่ของทักษิณาอันบริสุทธิ์

    प्राहवनीयः
    ปฺราหวนียะ
    เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ

    आहवनीयः।
    อาหวนียะฯ
    เป็นผู้ควรแก่ของที่เขานำมาถวายสักการะ

    ॥ आर्यत्रिरत्नानुस्मृतिसूत्रं समाप्तम्॥
    ๚ อารฺยตฺริรตฺนานุสฺมฤติสูตฺรํ สมาปฺตมฺ๚
    จบ พระสูตรว่าด้วยการระลึกถึงพระรัตนตรัยอันประเสริฐ

    หมายเหตุ
    [1] นิรวาณในมหายาน

    มหายานมี นิรวาณ หรือ นิพพาน 2 ประเภท
    1.ประเภทแรก นิรฺวาณ คือ นิพพานสภาวะอันดับทุกข์โดยสิ้นเชิง หมดสิ้นเชื้อที่จะทำให้มาเกิดอีกในสังสารวัฏ

    ในทางเถรวาทมีเพียงนิพพานชนิดนี้เพียงอย่างเดียว และหลักข้อเชื่อของเถรวาทนั้นเชื่อว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับพระอรหันต์ทั้งปวงต่างก็บรรลุพระนิพพานนี้

    ส่วนมหายานนั้นเชื่อว่า นิพพานชนิดนี้เป็นสภาวะที่พระปัจเจกพุทธเจ้า และ พระสาวกคือ พระอรหันต์บรรลุเท่านั้น ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบรรลุพระนิพพานอีกประเภท

    2. ประเภทสอง อปฺรติษฺฐิต นิรฺวาณ คือ สภาวะการไม่เข้านิพพาน หรือ นิพพานไม่หยุดนิ่ง (non-abiding nirvana) หมายความว่า เป็นพระนิพพานที่ไม่ได้ตัดขาดออกจากสังสารวัฏ การบรรลุพระนิพพานแบบนี้ทางมหายานมีความเชื่อว่า ผู้บรรลุตัดขาดกิเลสทั้งหมดโดยสิ้นเชิงแล้ว จะประกอบไปด้วยจิตตั้งมั่นที่จะช่วยเหลือสรรพสัตว์ จะอยู่ในนิพพานแบบแรกก็ย่อมได้ [ดูเพิ่มเติมเรื่อง เรื่อง ยาน (มหายาน)] แต่ท่านไม่ทำเช่นนั้นเนื่องจากยังมีจิตที่ปรารถนาจะช่วยเหลือสรรพสัตว์

    สัตว์ที่จะทำเช่นนี้ได้ต้องเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ที่บรรลุพระโพธิสัตว์ภูมิที่ 10 แล้ว[ดูเพิ่มเติมเรื่อง โพธิสัตว์ทศภูมิ(มหายาน)] พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ผู้เที่ยงแท้เหล่านี้จะดำรงอยู่ [ดูเพิ่มเติมเรื่อง ตรีกาย(มหายาน)] และปณิธานว่าจะช่วยเหลือดูแลสรรพสัตว์ ว่าตราบใดที่สัตว์โลกสุดท้ายยังไม่บรรลุพระนิพพานประเภทแรก ตราบนั้นก็จะยังอยู่ในสังสารวัฏเพื่อช่วยเหลือสัตว์เหล่านั้นต่อไป นิพพานประเภทนี้เถรวาทและพุทธศาสนาฝ่ายสาวกยานส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ

    สรุปคำสอนของเถรวาทกับมหายานนั้น ทั้งสองฝ่ายเข้าใจพระนิพพานตรงกัน จุดมุ่งหมายสูงสุดก็คือนิพพานประเภทแรกเหมือนกัน แต่วัตถุประสงค์และวิธีการนั้นต่างกัน



    [2] สังฆะมหายาน
    สังฆะมหายาน หรือสงฆ์ แบ่งไว้ 2 ประเภท ได้แก่ ภิกฺษุสํฆ อารฺยสํฆ

    ภิกฺษุสํฆ ( भिक्षुसंघ , bhikṣusaṃgha) บาลีเรียก ภิกขุสงฆ์ หรือ สมมุติสงฆ์ คือ ชุมชนสงฆ์ หรือหมู่ภิกษุทีทำสังฆกรรมต่างๆ ร่วมกัน

    อารฺยสํฆ ( आर्यसंघ , āryasaṃgha ) บาลีเรียก อริยสงฆ์ หรือ สาวกสงฆ์ ในฝ่ายสาวกยานหมายถึง เฉพาะพระอริยบุคคล 4 ประเภท ในพระสูตรนี้ ฉบับแปลอังกฤษ แปลว่า สงฆ์แห่งมหายาน เหตุเพราะพระสูตรนี้เป็นพระสูตรมหายาน คำว่า อารฺยสํฆ นี้ในมหายานจึงนับพระโพธิสัตว์ในภูมิทั้ง 10 เข้าไปด้วยเป็นอริยสงฆ์ ไม่ได้หมายถึง สาวกสงฆ์ เพียงอย่างเดียว



    อ้างอิง

    Technical Details
    Text Version: Devanāgarī
    Input Personnel: DSBC Staff
    Input Date: 2006
    Proof Reader: Miroj Shakya
    Supplier: Nagarjuna Institute of Exact Methods
    Sponsor: University of the West

    आर्यत्रिरत्नानुस्मृतिसूत्रम्
    http://www.dsbcproject.org/canon-text/content/411/1877

    Sutra of Recollection of the Three Jewels (sanskrit)

    Methods of spiritual praxis in the Sarvāstivāda: A Study Primarily Based on the Abhidharma-mahāvibhāṣā ,Stephen Suen ,The University of Hong Kong

    THE TREATISE ON THE GREAT VIRTUE OF WISDOM OF NĀGĀRJUNA (MAHĀPRAJÑĀPĀRAMITĀŚĀSTRA) ÉTIENNE LAMOTTE VOL. III CHAPTERS XXXI-XLII

    The Sutra of The Recollection of the Noble Three Jewels
    https://www.nalandatranslation.org/...f-the-recollection-of-the-noble-three-jewels/

    Noble Sūtra of Recalling the Three Jewels
    http://www.lotsawahouse.org/words-of-the-buddha/sutra-recalling-three-jewels

    Noble Sutra of Recalling the Three Jewels
    http://www.rigpawiki.org/index.php?title=Noble_Sutra_of_Recalling_the_Three_Jewels

    การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์สมาธิราชสูตร โดย ร้อยโทพรชัย หะพินรัมย์
    หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร

    นิพพานสองแบบ : soraj hongladarom
    https://soraj.wordpress.com/tag/เถรวาท/



    http://blog.thai-sanscript.com/aryatriratnanusmrtisutram/
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เขมาเขมสรณทีปิกคาถา ในฝ่ายภาษาสันสกฤต
    TOPICS:คัมภีร์ทางศาสนาพุทธศาสนามหายานสาวกยาน
    0110.jpg
    POSTED BY: THANAKRIT พฤศจิกายน 21, 2017

    เขมาเขมสรณทีปิกคาถา ในฝ่ายภาษาสันสกฤต
    คาถาว่าด้วยที่พึ่งอันประเสริฐได้แก่พระรัตนตรัย


    หากท่านใดเคยทำวัตรสวดมนต์ หรือเห็นในหนังสือสวดมนต์ทั่วไป ก็คงจะรู้จักเขมาเขมสรณทีปิกคาถา หรืออาจจะผ่านตากันมาบ้างนะครับ เขมาเขมสรณทีปิกคาถา เนื้อหาเกี่ยวกับ ที่พึ่งอันประเสริฐ ได้แก่พระรัตนตรัย เป็นพระคาถาหนึ่ง ที่ปรากฎในคัมภีร์พุทธศาสนาทั้งฝ่ายสาวกยาน และมหายาน เท่าที่ผมค้นหามีปรากฎในคัมภีร์ดังต่อไปนี้

    – คาถาธรรมบท พุทธวรรคที่ ๑๔ ขุททกนิกาย สุตตันตปิฎก นิกายเถรวาท

    – ปราติหารยสูตร ในคัมภีร์ทิวยาวทาน นิกายสรรวาสติวาท

    – คัมภีร์อภิธรรมโกศะ เป็นพระอภิธรรมของ นิกายสรรวาสติวาท ประพันธ์โดย พระวสุพันธุ แต่ภายหลังท่านย้ายไปเป็นฝ่ายมหายาน ในสำนักคิดโยคาจาร

    – คัมภีร์ศรณคมนเทศนา ซึ่งเป็นคัมภีร์ในหมวดศาสตรปิฏก ของฝ่ายมหายาน สำนักคิดมัธยมกะ ประพันธ์โดย พระทีปังกรศรชญาณ

    ภายหลังเมื่อมหายานพัฒนาเต็มรูป แล้ว ฝ่ายมหายานได้นำคัมภีร์ของนิกายสรวาสติวาท(รวมถึงนิกายมูลสรวาสติวาท) ไปใช้ด้วย จะเห็นได้ชัดที่สุด โดยเฉพาะพุทธศาสนามหายานฝ่ายธิเบตซึ่งภายหลังพัฒนาเป็น วัชรยาน ปัจจุบันภิกษุเหล่านี้ยังใช้วินัยกรรมของฝ่ายนิกายสรวาสติวาทอยู่

    ผมจะยกข้อความเปรียบเทียบเขมาเขมสรณทีปิกคาถา โดยเนื้อหามีดังต่อไปนี้ครับ

    เขมาเขมสรณทีปิกคาถา ภาษาบาลี
    คำแปลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง
    คาถาธรรมบท พุทธวรรคที่ ๑๔ ขุททกนิกาย สุตตันตปิฎก

    बहुं वे सरणं यन्ति पब्बतानि वनानि च ।
    आरामरुक्खचेत्यानि मनुस्सा भयतज्जिता ॥
    พหุํ เว สรณํ ยนฺติ ปพฺพตานิ วนานิ จ ฯ
    อารามรุกฺขเจตฺยานิ มนุสฺสา ภยตชฺชิตา ๚

    มนุษย์เป็นอันมากแล, ถูกภัยคุกคามแล้ว,
    ย่อมถึงภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์, ว่าเป็นที่พึ่ง

    नेतं खो सरणं खेमं नेतं सरणमुत्तमं ।
    नेतं सरणमागम्म सब्बदुक्खा पमुच्चति ॥
    เนตํ โข สรณํ เขมํ เนตํ สรณมุตฺตมํ ฯ
    เนตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ๚

    ที่พึ่งนั้นแล, ไม่เกษม, ที่พึ่งนั้นไม่อุดม,
    เพราะบุคคลอาศัยที่พึ่งนั้น, ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

    यो च बुद्धञ्च धम्मञ्च सङ्घञ्च सरणं गतो ।
    चत्तारि अरियसच्चानि सम्मप्पञ्ञाय पस्सति ॥
    โย จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ฯ
    จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ๚

    ส่วนผู้ใด, ถึงพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์,
    ว่าเป็นที่พึ่ง, ย่อมเห็นอริยสัจ ๔

    दक्खं दुक्खसमुप्पादं दुक्खस्स च अतिक्कमं ।
    अरियञ्चट्ठङ्गिकं मग्गं दुक्खूपसमगामिनं ॥
    ทกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ ฯ
    อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ทุกฺขูปสมคามินํ ๚

    คือทุกข์, เหตุให้เกิดทุกข์, ความก้าวล่วงทุกข์,
    และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘,
    อันให้ถึงความสงบระงับทุกข์ด้วยปัญญาอันชอบ

    एतं खो सरणं खेमं एतं सरणमुत्तमं ।
    एतं सरणमागम्म सब्बदुक्खा पमुच्चति ॥
    เอตํ โข สรณํ เขมํ เอตํ สรณมุตฺตมํ ฯ
    เอตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ๚

    ที่พึ่งนั้นแล, เป็นที่พึ่งอันเกษม, ที่พึ่งนั้นอุดม,
    เพราะบุคคลอาศัยที่พึ่งนั้น, ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ฯ



    เขมาเขมสรณทีปิกคาถา ภาษาสันสกฤต
    คำแปลจากวิทยานิพนธ์วิเคราะห์คัมภีร์ทิวยาวทาน

    बहवः शरणं यान्ति पर्वतांश्च वनानि च ।
    आरामांश्चैत्यवृक्षांश्च मनुष्या भयतर्जिताः ॥
    พหวะ ศรณํ ยานฺติ ปรฺวตําศฺจ วนานิ จ ฯ
    อารามําศฺไจตฺยวฺฤกฺษําศฺจ มนุษฺยา ภยตรฺชิตาะ ๚

    – เหล่ามนุษย์จำนวนมาก ผู้ถูกภัยเอาชนะคุกคามแล้วย่อมถึงภูเขาบ้าง
    ป่าบ้าง สวนบ้าง เจดีย์บ้าง ต้นไม้บ้างว่าเป็นศรณะ

    न ह्येतच्छरणं श्रेष् नैतच्छरणमुत्तमम् ।
    नैतच्छरणमागम्य सर्वदुःखात् प्रमुच्यते ॥
    น หฺเยตจฺฉรณํ เศฺรษฺ ไนตจฺฉรณมุตฺตมมฺ ฯ
    ไนตจฺฉรณมาคมฺย สรฺวทุะขาตฺ ปฺรมุจฺยเต ๚

    – แท้จริงแล้วศรณะ (คือ ภูเขา เป็นต้น) นี้หาใช่เป็นศรณะอันประเสริฐไม่
    หาใช่เป็นศรณะอันสูงสุดไม่ เหล่ามนุษย์ถึงศรณะนี้แล้วก็จะไม่พ้นจากทุกข์ทั้งมวล

    यस्तु बुद्धं च धर्मं च संघंच शरणं गतः ।
    आर्यसत्यानि चत्वारि पश्यति प्रज् या यदा ॥
    ยสฺตุ พุทฺธํ จ ธรฺมํ จ สํฆํจ ศรณํ คตะ ฯ
    อารฺยสตฺยานิ จตฺวาริ ปศฺยติ ปฺรชฺ ยา ยทา ๚

    แต่เมื่อบุคคลผู้ที่ถึงพระพุทธ พระธรรม
    และพระสงฆ์ว่าเป็นศรณะ ย่อมเห็นอารยสัตย์ 4

    दुःखं दुःखसमुत्पन्नं निरोधं समतिक्रमम् ।
    आर्यं चाष्टाङ्गिकं मार्गं केฺषमं निर्वाणगामिनाम् ॥
    ทุะขํ ทุะขสมุตฺปนฺนํ นิโรธํ สมติกฺรมมฺ ฯ
    อารฺยํ จาษฺฏางฺคิกํ มารฺคํ เกฺษมํ นิรฺวาณคามินามฺ ๚

    (คือ) ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และอารยอัษฎางคิกมรรค
    อันเกษม อันเป็นทางนำไปสู่นิรวาณตามลำดับ

    एत (दैฺव) शरणं श्रेष् मेतच्छरणमुत्तमम् ।
    एतच्छरणमागम्य सर्वदुःखात्प्रमुच्यते ॥
    เอต (ไทฺว) ศรณํ เศฺรษฺ เมตจฺฉรณมุตฺตมมฺ ฯ
    เอตจฺฉรณมาคมฺย สรฺวทุะขาตฺปฺรมุจฺยเต ๚

    ศรณะ (คือ พระพุทธ เป็นต้น) นี้เป็นศรณะประเสริฐสุด
    ศรณะนี้เป็นศรณะที่สูงสุด บุคคลถึงศรณะนี้แล้วจะพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

    อ้างอิง

    ฉากประณิธิเลขที่ 14 (Praṇidhi scene No. 14)
    เป็นภาพสมัยศวรรตที่ 9 ภาพแสดงหมู่พุทธบริษัทหลายชาติพันธุ์ในเมืองเตอร์ฟาน(Turfan) กำลังคุกเข่ากำลังเคารพสักการะพระพุทธเจ้า จาก ถ้ำสหัสพุทธเบเซลิค เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ ประเทศจีน
    คาถาธรรมบท พุทธวรรคที่ ๑๔
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php…
    คัมภีร์ทิวยาวทาน
    http://gretil.sub.uni-goettingen.de/…/4_…/buddh/divyav_u.htm
    คัมภีร์อภิธรรมโกศะ
    http://www.mldc.cn/sanskritweb/resour/etext/abhk4.html
    คัมภีร์ศรณคมนเทศนา
    http://www.dsbcproject.org/canon-text/content/250/1078
    การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์ทิวยาวทานเรื่องที่1-19, นางสาวปัทมา นาควรรณ ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร
    http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp…

    http://blog.thai-sanscript.com/khemakhemasarana/
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับสังกษิปตะมาตฤกา[ฉบับย่อ]
    POSTED BY: THANAKRIT กันยายน 11, 2016

    14330881_1254575124555682_224332194_n-1.jpg
    ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับสังกษิปตะมาตฤกา
    สำนวนในมหายานสูตรสังครหะ

    ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร เป็นพระสูตรขนาดเล็ก ในหมวดปรัชญาปารมิตาของพระไตรปิฎกฝ่ายมหายาน พระสูตรหมวดนี้ ที่เน้นการใช้ปัญญาในการนำพาสู่ฝั่งข้างโน้น อันได้แก่พระนิพพาน ประกาศหลักอนัตตาซึ่งเป็นหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนา

    ข้อชี้แจ้ง
    เนื้อหาในจะมี 3 ส่วนคือ 1.ส่วนเสียงอ่าน 2.ภาคปริวรรต 3.ภาคแปล

    1. ส่วนเสียงอ่าน จะมีเสียง 3 ไฟล์ เสียงอ่านธรรมดา 1 ไฟล์ และเสียงธรรมสังคีต 2 ไฟล์
      สามารถคลิกเล่นประกอบการอ่านได้
    2. ภาคปริวรรต จะปริวรรตจากต้นฉบับอักษรเทวนาครี อักษรไทยแบบคงรูป ใช้สัญลักษณ์
      และอักษรไทยแบบปรับรูป [สำหรับอ่านของบุคคลทั่วไป] ใช้ตัวหนังสือสีน้ำเงิน
    3. ภาคแปล จะมีแปลเป็นภาคภาษาไทย
    ต้นฉบับอักษรเทวนาครี จากโครงการ Digital Sanskrit Buddhist Canon

    प्रज्ञापारमिताहृदयसूत्रम् [संक्षिप्तमातृका]
    ปฺรชฺญาปารมิตาหฤทยสูตฺรมฺ [สํกฺษิปฺตมาตฤกา]
    ปรัชญาปาระมิตาหฤทะยะสูตรัม [สังกษิปตะมาตฤกา]

    || नमः सर्वज्ञाय ||
    ๚ นมะ สรฺวชฺญาย ๚
    ๚ นะมะห์ สรรวัชญายะ ๚

    आर्यावलोकितेश्वरबोधिसत्त्वो गम्भीरायां प्रज्ञापारमितायां चर्यां चरमाणो व्यवलोकयति स्म |
    อารฺยาวโลกิเตศฺวรโพธิสตฺตฺโว คมฺภีรายํา ปฺรชฺญาปารมิตายํา จรฺยํา จรมาโณ วฺยวโลกยติ สฺม ฯ
    อารยาวะโลกิเตศวะระโพธิสัตตโว คัมภีรายาม ปรัชญาปาระมิตายาม จรรยาม จะระมาโณ วยะวะโลกะยะติ สมะ ฯ

    पञ्च स्कन्धाः, तांश्च स्वभावशून्यान् पश्यति स्म ||
    ปญฺจ สฺกนฺธาะ, ตําศฺจ สฺวภาวศูนฺยานฺ ปศฺยติ สฺม ๚
    ปัญจะ สกันธาห์, ตามศจะ สวะภาวะศูนยาน ปัศยะติ สมะ ๚



    इह शारिपुत्र रूपं शून्यता, शून्यतैव रूपम् |
    อิห ศาริปุตฺร รูปํ ศูนฺยตา, ศูนฺยไตว รูปมฺ ฯ
    อิหะ ศาริปุตระ รูปัม ศูนยะตา, ศูนยะไตวะ รูปัมฯ



    रूपान्न पृथक् शून्यता, शून्यताया न पृथग् रूपम् |
    รูปานฺน ปฤถกฺ ศูนฺยตา, ศูนฺยตายา น ปฤถคฺ รูปมฺ ฯ
    รูปานนะ ปฤถัก ศูนยะตา, ศูนยะตายา นะ ปฤถัค รูปัม ฯ



    यद्रूपं सा शून्यता, या शून्यता तद्रूपम् ||
    ยทฺรูปํ สา ศูนฺยตา, ยา ศูนฺยตา ตทฺรูปมฺ ๚
    ยัทรูปัม สา ศูนยะตา, ยา ศูนยะตา ตัทรูปัม ๚



    एवमेव वेदनासंज्ञासंस्कारविज्ञानानि ||
    เอวเมว เวทนาสํชฺญาสํสฺการวิชฺญานานิ ๚
    เอวะเมวะ เวทะนาสัญชญาสัมสการะวิชญานานิ ๚



    इहं शारिपुत्र सर्वधर्माः शून्यतालक्षणा अनुत्पन्ना अनिरुद्धा अमला न विमला नोना न परिपूर्णाः |
    อิหํ ศาริปุตฺร สรฺวธรฺมาะ ศูนฺยตาลกฺษณา อนุตฺปนฺนา อนิรุทฺธา อมลา น วิมลา โนนา น ปริปูรฺณาะ ฯ
    อิหัม ศาริปุตระ สรรวะธรรมาห์ ศูนยะตาลักษะณา อะนุตปันนา อะนิรุทธา อะมะลา นะ วิมะลา โนนา นะ ปะริปูรณาห์ ฯ



    तस्माच्छारिपुत्र शून्यतायां न रूपम्, न वेदना, न संज्ञा, न संस्काराः, न विज्ञानानि |
    ตสฺมาจฺฉาริปุตฺร ศูนฺยตายํา น รูปมฺ, น เวทนา, น สํชฺญา, น สํสฺการาะ, น วิชฺญานานิ ฯ
    ตัสมาจฉาริปุตระ ศูนยะตายาม นะ รูปัม, นะ เวทะนา, นะ สัญชญา, นะ สัมสการาห์, นะ วิชญานานิ ฯ



    न चक्षुःश्रोत्रघ्राणजिह्वाकायमनांसि, न रूपशब्दगन्धरसस्प्रष्टव्यधर्माः |
    น จกฺษุะโศฺรตฺรฆฺราณชิหฺวากายมนําสิ, น รูปศพฺทคนฺธรสสฺปฺรษฺฏวฺยธรฺมาะ ฯ
    นะ จักษุห์โศรตระฆราณะชิหวากายะมะนามสิ, นะ รูปะศัพทะคันธะระสัสปรัษฏะวยะธรรมาห์ ฯ



    न चक्षुर्धातुर्यावन्न मनोधातुः ||
    น จกฺษุรฺธาตุรฺยาวนฺน มโนธาตุะ ๚
    นะ จักษุรธาตุรยาวันนะ มะโนธาตุห์ ๚



    न विद्या नाविद्या न विद्याक्षयो नाविद्याक्षयो यावन्न जरामरणं न जरामरणक्षयो
    न दुःखसमुदयनिरोधमार्गा न ज्ञानं न प्राप्तित्वम् ||
    น วิทฺยา นาวิทฺยา น วิทฺยากฺษโย นาวิทฺยากฺษโย ยาวนฺน ชรามรณํ น ชรามรณกฺษโย
    น ทุะขสมุทยนิโรธมารฺคา น ชฺญานํ น ปฺราปฺติตฺวมฺ๚
    นะ วิทยา นาวิทยา นะ วิทยากษะโย นาวิทยากษะโย ยาวันนะ ชะรามะระณัม นะ ชะรามะระณักษะโย
    นะ ทุห์ขะสะมุทะยะนิโรธะมารคา นะ ชญานัม นะ ปราปติตวัม๚



    बोधिसत्त्वस्य(श्च ?) प्रज्ञापारमितामाश्रित्य विहरति चित्तावरणः |
    โพธิสตฺตฺวสฺย(ศฺจ ?) ปฺรชฺญาปารมิตามาศฺริตฺย วิหรติ จิตฺตาวรณะ ฯ
    โพธิสัตตวัสยะ(ศจะ ?) ปรัชญาปาระมิตามาศริตยะ วิหะระติ จิตตาวะระณะห์ ฯ



    चित्तावरणनास्तित्वादत्रस्तो विपर्यासातिक्रान्तो निष्ठनिर्वाणः |
    จิตฺตาวรณนาสฺติตฺวาทตฺรสฺโต วิปรฺยาสาติกฺรานฺโต นิษฺฐนิรฺวาณะ ฯ
    จิตตาวะระณะนาสติตวาทะตรัสโต วิปรรยาสาติกรานโต นิษฐะนิรวาณะห์ ฯ



    त्र्यध्वव्यवस्थिताः सर्वबुद्धाः प्रज्ञापारमितामाश्रित्य अनुत्तरां सम्यक्संबोधिमभिसंबुद्धाः ||
    ตฺรฺยธฺววฺยวสฺถิตาะ สรฺวพุทฺธาะ ปฺรชฺญาปารมิตามาศฺริตฺย อนุตฺตรํา สมฺยกฺสํโพธิมภิสํพุทฺธาะ ๚
    ตรยัธวะวยะวัสถิตาห์ สรรวะพุทธาห์ ปรัชญาปาระมิตามาศริตยะ อะนุตตะราม สัมยักสัมโพธิมะภิสัมพุทธาห์ ๚



    तस्माज्ज्ञातव्यः प्रज्ञापारमितामहामन्त्रो महाविद्यामन्त्रोऽनुत्तरमन्त्रोऽसमसममन्त्रः
    सर्वदुःखप्रशमनः सत्यममिथ्यत्वात् प्रज्ञापारमितायामुक्तो मन्त्रः |
    ตสฺมาชฺชฺญาตวฺยะ ปฺรชฺญาปารมิตามหามนฺโตฺร มหาวิทฺยามนฺโตฺร’นุตฺตรมนฺโตฺร’สมสมมนฺตฺระ
    สรฺวทุะขปฺรศมนะ สตฺยมมิถฺยตฺวาตฺ ปฺรชฺญาปารมิตายามุกฺโต มนฺตฺระ ฯ
    ตัสมาชชญาตะวยะห์ ปรัชญาปาระมิตามะหามันโตร มะหาวิทยามันโตรนุตตะระมันโตรสะมะสะมะมันตระห์
    สรรวะทุห์ขะประศะมะนะห์ สัตยะมะมิถยัตวาต ปรัชญาปาระมิตายามุกโต มันตระห์ ฯ

    [บทธารณี]
    तद्यथा- गते गते पारगते पारसंगते बोधि स्वाहा ||
    ตทฺยถา- คเต คเต ปารคเต ปารสํคเต โพธิ สฺวาหา ๚
    ตัทยะถา- คะเต คะเต ปาระคะเต ปาระสังคะเต โพธิ สวาหา๚


    इति प्रज्ञापारमिताहृदयसूत्रं समाप्तम् ||
    อิติ ปฺรชฺญาปารมิตาหฤทยสูตฺรํ สมาปฺตมฺ ๚
    อิติ ปรัชญาปาระมิตาหฤทะยะสูตรัม สะมาปตัม ๚

    ภาคแปล

    พระอารยาวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เมื่อทรงได้บำเพ็ญปัญญาบารมี
    จนบรรลุถึงโลกุตรธรรมอันลึกซึ้งแล้ว พิจารณาเล็งเห็นว่าที่แท้
    จริงแล้วขันธ์ ๕ นั้นเป็นสูญ จึงได้ก้าวล่วงจากสรรพทุกข์ทั้งปวง

    ดูก่อนท่านสารีบุตร รูปคือความสูญ ความสูญนั่นแหละคือรูป
    ความสูญไม่อื่นไปจากรูป รูปไม่อื่นไปจากความสูญ
    รูปอันใด ความสูญก็อันนั้น ความสูญอันใด รูปก็อันนั้น
    อนึ่ง เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เป็นสูญอย่างเดียวกัน

    ท่านสารีบุตร ก็สรรพธรรมทั้งปวงมี ความสูญเป็นลักษณะ
    ไม่เกิด ไม่ดับ ไม่มัวหมอง ไม่ผ่องแผ้ว ไม่หย่อน ไม่เต็ม อย่างนี้

    เพราะฉะนั้นแหละท่านสารีบุตร ในความสูญ
    จึงไม่มี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ไม่มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรม
    ไม่มีจักษุธาตุ จนถึงมโนธาตุ ธรรมชาตินั้น วิญญาณธาตุ
    ไม่มีวิชชา ไม่มีอวิชชา ไม่มีความสิ้นไปแห่งวิชชา และอวิชชา
    จนถึงไม่มี ความแก่ ความตาย ไม่มีความสิ้นไปแห่ง ความแก่ ความตาย
    ไม่มีทุกข์ สมุห์ทัย นิโรธ มรรค ไม่มีญาณ ไม่มีการบรรลุ ไม่มีการไม่บรรลุ

    พระโพธิสัตว์ผู้วางใจในปัญญาบารมี จะมีจิตที่เป็นอิสระจากอุปสรรคสิ่งกีดกั้น
    เพราะจิตของพระองค์เป็นอิสระจาก อุปสรรคสิ่งกีดกั้น พระองค์จึงไม่มีความกลัวใดๆ
    ก้าวล่วงพ้นไปจากมายาหรือสิ่งลวงตา ลุถึงพระนิพพานได้ในที่สุด

    อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในตรีกาล (อดีต ปัจจุบัน และอนาคต)
    ด้วยเหตุที่ทรงอาศัยปัญญาบารมีจึงได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    ด้วยเหตุฉะนี้จึงสมควรทราบว่าปัญญาบารมีนี้
    คือมหาศักดามนตร์(เป็นมหามนต์อันศักดิ์สิทธิ์)
    คือมหาวิทยามนตร์(เป็นมนต์แห่งความรู้อันยิ่งใหญ่)
    คืออนุตรมนตร์(เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นยิ่งกว่า)
    คืออสมสมมนตร์(เป็นมนต์อันไม่มีมนต์อื่นใดมาเทียบได้)
    สามารถขจัดสรรพทุกข์ทั้งปวง นี่เป็นสัจจะ เป็นอิสระจากความเท็จทั้งมวล
    จึงเป็นเหตุให้กล่าวมนตร์แห่งปัญญาบารมีว่า

    “คะเต คะเต ปารคะเต ปารสังคะเต โพธิ สวาหา”*

    * ปกตินั้น บทธารณี นั้นมักจะไม่แปล แต่หากแปลจะแปลว่า
    “จงไป จงไป ไปถึงฝั่งโน้น ไปให้พ้นโดยสิ้นเชิง บรรลุถึงความรู้แจ้ง”


    เชิงอรรถ
    1. ศูนยตาหรือสุญญตาศูนยตาหรือสุญญตา (บาลี: สุญฺญตา , สันสกฤต: ศูนฺยตา) แปลว่า ความว่างเปล่า ความเป็นของสูญ มีความหมายว่า ความไม่มีตัวตน ถือเอาเป็นตัวตนไม่ได้
      “สุญญตาอันใด อนัตตาก็อันนั้น อนัตตาอันใด สุญญตาก็อันนั้น”
      คำว่า สุญญตา เป็นคำที่ฝ่ายมหายานนิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด สุญญตากับอนัตตาความจริงก็มีความหมายใกล้เคียงกัน กล่าวคือเป็นคำปฏิเสธสภาวะซึ่งมีอยู่ เป็นอยู่ด้วยตัวมันเอง เพราะในทรรศนะของมหายาน สรรพสิ่งซึ่งปรากฏแก่เราล้วนเป็นปฏิจจสมุปบาทธรรมทั้งสิ้น สุญญตามิได้หมายว่าว่างเปล่าไม่มีอะไรเลยเหมือนอากาศ แต่หมายเพียงว่าไม่มีสภาวะที่ดำรงอยู่ได้โดยตัวของมันเอง ชนิดที่ไม่ต้องอาศัยปัจจัย แต่ปัจจัยธรรมซึ่งอาศัยกันเป็นภาพมายา มีอยู่ปรากฏอยู่มิใช่ว่าจะไม่มีอะไรๆ ไปเสียทั้งหมด ฝ่ายมหายานอธิบายว่าโลกกับพระนิพพาน ความจริงไม่ใช่อันเดียวกันหรือแตกต่างกัน กล่าวคือโลกเป็นปฏิจจสมุปบาท ความดับปฏิจจสมุปบาทนั้นเสียได้ ก็คือพระนิพพาน ฉะนั้นทั้งโลกและพระนิพพานจึงเป็นสุญญตาคือไม่ใช่เป็นสภาวะ และเมื่อสภาวะไม่มีเสียแล้ว อภาวะก็พลอยไม่มีไปด้วย เพราะมีสภาวะจึงมีอภาวะเป็นของคู่กัน ผู้ใดเห็นว่าโลกและพระนิพพานเป็นสภาวะ ผู้นั้นเป็นสัสสตทิฏฐิ ผู้ใดเห็นว่าโลกและพระนิพพานเป็นอภาวะเล่า ผู้นั้นก็เป็นอุจเฉททิฏฐิ ผู้ใดเห็นว่าโดยสมมติสัจจะธรรมทั้งปวงเป็นปฏิจจสมุปบาทและโดยปรมัตถสัจจะธรรมทั้งปวงเป็นสุญญตาไซร้ ผู้นั้นแลได้ชื่อว่าผู้มีสัมมาทิฏฐิโดยแท้ ที่ว่ามานี้เป็นมติของพระนาครชุนผู้เป็นต้นนิกายสุญญวาท” (เสถียร โพธินันทะ, ชุมนุมพระสูตรมหายาน, สำนักพิพมพ์บรรณาคาร, 2516, ต-ถ )ดูและฟังเพิ่มเติมหลักของสุญญตา อ.เสถียร โพธินันทะ

    2. ธรรมสังคีต ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร
      ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร นั้นมีหลากหลายภาษาและหลายสำนวน(แต่เนื้อหาเหมือนกัน) นอกจากจะนิยมสาธยายเป็นระหว่างประกอบพิธีทางศาสนาในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาฝ่ายมหายานแล้ว ในปัจจุบันยังพบในรูปแบบที่เป็นธรรมสังคีต ประกอบกับดนตรีหลากหลายแนว และเวอร์ชั่นที่ได้รับความสนใจ หลายท่านคงจะเคยได้ยิน ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร หรือ The Heart Sutra ที่ร้องเป็นภาษาสันสกฤตโดย Imee Ooi ชาวมาเลเซีย เชื้อสายจีนเป็นที่แพร่หลายใน Youtube เวอร์ชั่นนี้เป็นที่ชื่นชอบในไทยมาก ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบวีดีโอหรือแม้แต่บทปริวรรต ผู้เรียบเรียงคิดว่า ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ของ Imee Ooi น่าจะเป็น ฉบับสังกษิปตะมาตฤกา[ฉบับย่อ] แต่สำนวนของใครไม่ทราบใด้ แต่น่าจะเป็นคนละสำนวนกับ สำนวนในมหายานสูตรสังครหะ
    3. เนื่องจากเป็นพระสูตรที่เป็นที่สนใจของคนไทยจำนวนมาก บทแปลไทยของ ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร ฉบับสังกษิปตะมาตฤกา นี้ก็มีหลากหลายสำนวนเช่นกัน มีแพร่หลายในอินเตอร์เน็ตจำนวนมาก แต่หาที่มาที่ไปไม่ได้ อนึ่งผู้เรียบเรียงเองไม่ใช้ผู้เชี่ยวชาญภาษาสันสฤต ดังนั้น ผู้เรียบเรียงจึงเลือกสำนวนมาหนึ่งสำนวน แต่ ณ ที่นี้ผู้เรียบเรียงนำมาประกอบใส่ไว้พอเป็นที่สังเขปเท่านั้น
    อ้างอิง
    ข้อมูลอักษรต้นฉบับ

    Title: Mahāyāna-sūtra-saṃgrahaḥ ( part 1)
    Editor: Vaidya, P.L
    Publisher: The Mithila Institute of Post-Graduate Studies and Research in Sanskrit Learning
    Place of Publication: Darbhanga
    Year: 1961

    Technical Details
    Text Version: Devanāgarī
    Input Personnel: DSBC Staff
    Input Date: 2004
    Proof Reader: Miroj Shakya
    Supplier: Nagarjuna Institute of Exact Methods
    Sponsor: University of the West

    อ่านเพิ่มเติมที่ http://dsbcproject.org/canon-text/content/401/1829



    ข้อมูลเสียงต้นฉบับ

    ไฟล์เสียงที่ 1 เสียงอ่านของ Aniruddha Basu ผู้ใช้ Youtube
    Heart Sutra
    ฟังเพิ่มเติม :




    ไฟล์เสียงที่ 2 เสียงร้องของ Vidya Rao นักร้องเพลงคลาสิก ชาวอินเดีย
    Heart Sutra (Prajñāpāramitā Hṛdaya): Buddhist Chant :
    ฟังเพิ่มเติม :




    ไฟล์เสียงที่ 3 เสียงร้องของ Elisa Chan นักร้องชาวฮ่องกง
    心經 梵文唱頌 陳潔靈 作曲/編曲 倫永亮 :
    ฟังเพิ่มเติม :


    http://blog.thai-sanscript.com/prajnaparamita-heart-sutra/
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ตั้งใจจะเอา คัมภัร์ทางพุทธศาสนามาให้อ่านกันหลายวันแล้วครับ ไปหาเจอจาก google search อ่านแล้วชอบมาก ตถาคต เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ และทรงมหากรุณาต่อสรรพสัตว์ที่ทนทุกข์ให้ห้วงสังสารวัฏเป็นอย่างยิ่ง เมื่อหลายปีก่อนที่ workpoint นำเรื่องพระพุทธเจ้ามหาศาสดาโลก มาฉายผมก็ดู แต่พอถึงบทที่ตถาคตตรัสสั่งสอน สาวกองค์สำคัญ หลายองค์ ผมก็ฟัง อยู่ดีๆ น้ำตาก็ไหลออกมา ไม่รู้ว่าซาบซึ้งในหลักธรรมของพระองค์ หรือรู้สึกคิดถึงพระองค์
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,862
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Fenómenos Naturales
    ฟิลิปปินส์ - ในปัจจุบัน Talisay, Batangas เต็มไปด้วยโคลนหนาและต้นไม้บางต้นก็ร่วงลงเนื่องจากเถ้าที่ร่วงจากการปะทุของภูเขาไฟ Taal

    ผู้พักอาศัยบางคนไม่มีไฟฟ้าหรือน้ำประปา ในขณะที่การอพยพยังดำเนินต่อไป
    FILIPINAS - En Talisay, Batangas ahora está lleno de lodo espeso, y algunos árboles han caído debido a la caída de cenizas causada por la erupción del volcán Taal.

    Algunos residentes tampoco tienen electricidad ni suministro de agua, mientras continúa la evacuación.

     

แชร์หน้านี้

Loading...