เรื่องเด่น สมเด็จพระสังฆราช ถวายวิสัชนา “ทศพิธราชธรรม” ในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ ย่อมสำเร็จพระบารมีในอนาคต

ในห้อง 'ในหลวงกับพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 5 พฤษภาคม 2019.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    0b89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b8b1e0b887e0b886e0b8a3e0b8b2e0b88a-e0b896e0b8a7e0b8b2e0b8a2e0b8a7e0b8b4.jpg
    สมเด็จพระสังฆราช ถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ ให้ทรงทศพิธราชธรรม ราชสังคหวัตถุ จักรวรรดิวัตร และพละ ย่อมสำเร็จเป็นพระบารมีในอนาคต

    วันนี้ (5 พ.ค.) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ถวายศีล ถวายพร และถวายวิสัชนาพระธรรมเทศนา “ทศพิธราชธรรมจริยาทิกถา” แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย และสถาปนาพระฐานันดรศักดิ์พระบรมวงศ์ ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีใจความตอนหนึ่ง ว่า

    สมเด็จพระบรมศาสดา เมื่อทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ยังต้องทรงบำเพ็ญพระพุทธกิจโปรดเวไนยนิกรให้ดื่มด่ำพระสัจธรรมยังพระพุทธภูมิให้สำเร็จเป็นอันดี ข้อนี้มีอุปมาฉันใด พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงดำรงราชัยสวรรคก็มีอุปมัยฉันนั้น จึงขอรับพระราชทานเลือกสรรพระราชธรรมของโบราณกษัตริย์มาถวายวิสัชชนา โดยมีทศพิธราชธรรมมาเป็นปฐม 10 ประการ ดังนี้

    1.ทาน การให้ พระมหากษัตริย์พึงชุบเลี้ยงพระราชวัง ข้าทูลละอองธุลีพระบาท ข้าราชการ บรรพชิต ตลอดจนอาณาประชาราษฎร์ ด้วยวัตถุปัจจัยบรรดาอามิตรทั้งหลายตามฐานานุรูปของบุคคลนั้นๆ และการพระราชทานธรรมทานแจกจ่ายพระบรมราโชวาท พระราชดำริ อันถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ให้พสกนิกรทั้งหลายเจริญรอยตาม

    2.ศีล การสังวรณ์กาย วาจาให้ปราศจากโทษ พระมหากษัตริย์พึงเว้นจากความประพฤติทุจริต กล่าวในการทางปกครอง ย่อมหมายถึงรัฐธรรมนูญ บทกฎหมาย และจารีตประเพณีอันดีงาม กล่าวในทางพุทธศาสนา หมายถึงศีล อย่างน้อยคือศีล 5 ของฆราวาสทั่วไป และพระราชาจะทรงรักษาและโน้มน้าวให้พสกนิกรรักษาด้วย

    3.บริจาค พระมหากษัตริย์พึงสละสิ่งไม่เป็นประโยชน์หรือเป็นประโยชน์ เพื่อสิ่งที่เป็นประโยชน์ใหญ่กว่า เพื่อบรรเทาความตระหนี่ ดงพระพุทธภาษิตที่ว่า พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะอันประเสริฐ เพื่อรักษาชีวิตก็พึงสละอวัยวะ เพื่อจะรักษาธรรมะก็พึงสละทรัพย์ อวัยวะ และแม้ชีวิตได้ทั้งสิ้น

    4.อาชวะ ความซื่อตรง พระมหากษัตริย์พึงประพฤติพระองค์ ซื่อตรงในการงานตามหน้าที่ของพระประมุข ปราศจากมารยา ซื่อสัตย์สุจริตต่อสัมพันธมิตร พระราชวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาท ไม่ทรงหลอกลวงประทุษร้ายโดยอยุติธรรม

    5.มัททวะ ความอ่อนโยน พระมหากษัตริย์พึงมีพระราชอัธยาศัยอ่อนโยน ละมุนละม่อม ไม่ถือพระองค์ด้วยความดื้อรั้น เมื่อมีผู้กราบบังคมทูลพระกรุณาด้วยเหตุผลของบัณฑิตก็ควรทรงสดับฟังโดยถี่ถ้วน ถ้าดีควรอนุโมทนาและปฏิบัติตาม และควรมีความอ่อนน้อยท่านผู้เจริญโดยวัยและคุณความดี

    6.ตบะ การกำจัดความเกียจคร้านและความชั่ว พระมหากษัตริย์พึงมีตบะ ซึ่งตบะของพระมหากษัตริย์ คือ การคุ้มครองประชาชน ต้องทรงพากเพียรที่จะขจัดความเกียจคร้านเบื่อหน่ายที่จะรักษาอาณาประชาราษฎร์ให้อยู่เย็นเป็นสุข ต้องทรงตั้งพระราชหฤทัยบำเพ็ญพระราชกิจอย่างสม่ำเสมอและให้ดียิ่งขึ้น

    7.อักโกธะ ความไม่มักโกรธ พระมหากษัตริย์พึงมีพระเมตตาสูงส่ง ไม่ทรงปรารถนาจะก่อเวรภัยแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ไม่ทรงพระพิโรธด้วยเหตุอันไม่สมควร แม้จะมีเหตุให้ทรงบรรลุแก่อำนาจแห่งความโกรธ ก็พึงข่มพระราชหฤทัยให้สงบระงับ มิให้บังเกิดพระกริยาอันไม่งดงาม ไม่น่ารัก น่าเคารพ ดุจมีพระฉายส่องพระพักตร์เป็นเครื่องกำกับพระอาการไว้เสมอ

    8.อวิหิงสา การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตลอดจนสรรพสัตว์ให้ตกทุกข์ได้ยาก พระมหากษัตริย์พึงประกอบด้วยพระมหากรุณา ไม่ปรารถนาจะทรงเบียดเบียนผู้ใดให้ลำบาก ไม่ทรงก่อทุกขยากแก่มนุษย์หรือสัตว์เพียงเพื่อความสนุก ไม่ขูดรีดหรือกะเกณฑ์ราษฎรอย่างเหลือกำลัง กระทั่งเกิดความระส่ำระสาย ทรงคุ้มครองประชาชนดุจดังบิดรมารดารักษาบุตร

    9.ขันติ ความอดทนต่อสิ่งที่ควรอดทนเป็นเบื้องหน้า พระมหากษัตริย์พึงมีพระราชหฤทัยกล้าหาญ อดทนต่อโลภะ โทสะ และโมหะ ย่อมต้องทรงอดทนต่อสู้กับกิเลสได้ ทรงสามารถอดทนต่อถ้อยคำที่ชั่ว ติฉินนินทา ส่งรักษาพระกายพระวาจาให้สงบเรียบร้อยได้เสมอ

    10.อวิโรธะ การไม่ปฏิบัติให้ผิดจากการที่ถูกที่ตรง ดำรงอาการคงที่ พระมหากษัตริย์พึงรักษาพระราชจรรยานุวัตรตามหลักนิติศาสตร์และราชศาสตร์ ไม่ทรงประพฤติคลาดจากความยุติธรรม ทรงยกย่องผู้กระทำดีสมควรได้รับการยกย่อ ทรงปราบปราบผู้กระทำเลวสมควรถูกกำราบ ไม่ทรงตัดสินพระราชหฤทัยเชิดชูหรือข่มเหงบุคคลใดๆ ด้วยอำนาจแห่งอคติ คือ ความลำเอียง 4 ประการ เพราะความชอบ ความชัง ความกลัว และความเขลา

    หากทรงดำรงพระราชธรรมได้ดังนี้ พระปีติโสมนัสมหาศาลก็จะเบังเกิดแก่พระองค์ และย่อมทรงเป็นที่สรรเสริญว่า ทรงปกครองโดยธรรมะเป็นอุบาย ชนทั้งหลายก็น้อมเข้าสวามิภักดิ์ต่อพระประมุขผู้ได้ชื่อว่า ทรงปกครองโดยธรรม มิใช่โดยอำนาจ ต่างเจริญสุขสวัสดีร่วมกันได้ทุกสถาน
    89ee0b8a3e0b8b0e0b8aae0b8b1e0b887e0b886e0b8a3e0b8b2e0b88a-e0b896e0b8a7e0b8b2e0b8a2e0b8a7e0b8b4-1.jpg
    นอกจากนี้ สมเด็จพระสังฆราช ได้ถวายวิสัชนาราชสังคหวัตถุ จักรวรรดิวัตร และพละกำลังของพระมหากษัตริย์ โดยราชสังคหวัตถุ เป็นพระราชจรรยาอันเป็นที่ตั้งแห่งการสงเคราะห์หน่วงน้ำใจประชาชน จำแนกเป็น 5 ประการ ดังนี้ 1.สัสสเมธะ การบำรุงเกษตรกรรมให้บริบูรณ์ 2.ปุริสเมธะ ทรงพระปรีชาในการสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานสนองพระเดชพระคุณ 3.สัมมาปาสะ ทรงพระปรีชาในการผูกประสานน้ำใจปวงชนให้นิยมยินดี 4.วาชเปยะ ทรงพระปรีชาในการใช้วาจาอ่อนหวานจับใจ ทรงปราศรัยกับบุคลทั่วไปยยังให้เกิดความรักใคร่ชื่นชม และ 5.นิรัคคฬะ ทรงพระปรีชาในการทำให้บ้านเมืองมั่นคงปลอดภัย อุปมาได้ว่า แม้ประตูเรือนก็ไม่จำเป็นต้องลงกรณ์

    จักรวรรดิวัตร 12 ประการ ดังนี้ 1.ควรพระราชทานพระบรมราโชวาท และพระบรมราชานุเคราะห์แด่คนภายใน คือ ข้าราชสำนัก และคนภายนอก คือ ข้าราชการ ตลอดจนประชาชนทั้งหลาย 2.ควรผูกพระราชไมตรี กับบรรดานานาประเทศ 3.ควรสงเคราะห์พระบรมวงศานุวงศ์ตามสมควรแก่พระอิสริยยศฐานันดร 4.ควรเกื้อกูลคหบดีทั้งปวง 5.ควรอนุเคราะห์ประชาชนตามฐานานุรูป 6.ควรอุปการะบรรพชิตผู้ประพฤติชอบด้วยไทยธรรมเกื้อกูลแก่การบำเพ็ญสมณะปฏิบัติ 7.ควรจัดรักษาสัตว์ทั้งจตุบทและทวิบาทด้วยอภัยทาน ป้องกันไม่ให้ใครทำอันตรายถึงขั้นจะสูญพันธุ์ 8.ควรห้ามชนทั้งหลายไม่ให้กระทำชั่ว พร้อมชักนำให้ประกอบอาชีพและกระทำแต่ความดี 9.ควรแสวงหาหนทางให้ผู้ไม่มีทรัพย์ได้ประกอบสัมมาชีพ พร้อมพระราชทานพระราชทรัพย์เจือจาน 10.ควรเสด็จเข้าใกล้บรรพชิตผู้ทรงศีลและทรงสติปัญญา เพื่อมีพระราชปุจฉาถึงกุศลอกุศล 11.ควรห้ามพระจิต งดเว้นไม่เสด็จพระราชดำเนินไปสู่สถานที่ที่อาจนำมาซึ่งความเสื่อม 12.ควรระงับความโลภในลาภอันไม่สมควรได้

    พละ 5 ประการ ดังนี้ 1.กายพละ ต้องทรงมีพระกำลังพระวรกายเข้มแข็งเพื่อการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ 2.โภคพละ ต้องทรงมีพระราชทรัพย์เพ่อการบำรุงเลี้ยงบุคคลที่พึงบำรุงเลี้ยง 3.อมัจจพละ ต้องทรงมีข้าทูลละอองธุลีพระบาท และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย เพื่อเป็นกำลังทางนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ 4.อภิชัจจพละ ต้องเสด็จพระราชสมภพในตระกูลอันเป็นผลมาจากปุพเพกตปุญญตา เพื่อให้เป็นที่นิยมนับถือของมหาชน 5.ปัญญาพละ ต้องมีพระปัญญาเฉลียวฉลารอบคอบ ทรงขวนขวายบรมพระปัญญาให้เพิ่มพูน เพื่อจะได้มีพระญาณทราบเหตุผลแจ้งชัดในสรรพสิ่ง

    สมเด็จบรมบพิตร เพิ่งเสด็จบรมราชัยสวรรค์ใหม่ เปรียบประดุจบรมศาสดาแรกตรัสรู้ เมื่อใดทรงบำเพ็ญพระราชธรามให้สำเร็จแก่ประชาชนผู้อยู่ใต้พระบรมโพธิสมภาร ก็เปรียบประดุจพระบรมศาสดาได้บำเพ็ญพุทธกิจบริบูรณ์ ทรงกระทั่งบรรลือพระสุรเสียงพระสุรนาถว่า กิจใดพระศาสดาผู้กรุณาแสวงหาประโยชน์แก่สาวกควรจะควรทำ กิจนั้นเราอาศัยความเอ็นดูได้กระทำแล้วแก่ท่านทั้งหลายทุกประการดังนี้ ข้อนี้จักสำเร็จเป็นพระบารมีต่อไปในอนาคต ยังพระราชอุบัติของพระองค์ให้มีผลสมด้วยพระพุทธภาษิตว่า ภิกษุทั้งหลาย ทั้ง 2 บุคคลนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ชนสุขแห่งชนเป็นอันมาก เพื่อความต้องการ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสำราญแห่งชนอันมาก ทั้งเทวดาและมนุษย์ 2 บุคคลนี้ คือ พระตถาคตพระสัมมาสัมพุธเจ้าหนึ่ง และพระราชา พระจักรพรรดิหนึ่งดังนี้ ท่านพระราชอุบัติของพระมหากษัตริย์จะพึงมีผลดังพระพุทธภาษิตได้ ด้วยแต่อำนาจแห่งการบำเพ็ญพระราชธรรม ดังรับพระราชทานถวายวิสัชนามาฉะนี้

    ขอขอบคุณที่มา
    https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000043151
     

แชร์หน้านี้

Loading...