เรื่องเด่น ทำไมต้องทำพิธีบวงสรวงในวัน "เสาร์ห้า" ?

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย Komodo, 27 มกราคม 2012.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    g2.jpg
    l4.jpg
    ภาพประกอบจากเว็บวัดท่าขนุนดอทคอม

    ทำไมต้องทำพิธีบวงสรวงในวัน "เสาร์ห้า" ?

    ถาม : บวงสรวงทำไมถึงต้องวันเสาร์ห้า ?
    ตอบ : วันเสาร์ห้า ตามสายครูบาอาจารย์ท่านถือเป็นวันไหว้ครู พิธีบวงสรวงก็เหมือนกับรำลึกถึงครูบาอาจารย์ที่มีเมตตากรุณา สั่งสอนพวกเราสืบ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบันนี้ ลักษณะของงานบวงสรวงที่ทำ ก็ไหว้ตั้งแต่พระพุทธเจ้าลงมา เพราะพระพุทธเจ้าต้องเป็นครูใหญ่อยู่แล้ว

    ถาม : วันเสาร์ห้านี้คืออะไร ?
    ตอบ : วันเสาร์ขึ้นห้าค่ำ ถ้าได้เดือนห้ายิ่งดี ถ้าไม่ได้เดือนห้า เดือนไหนก็ได้ แต่ต้องเป็นข้างขึ้น คือ ตามสายครูบาอาจารย์เขากำหนดมาอย่างนั้น

    ถาม : ไม่มีเหตุผลเลยหรือคะ ?
    ตอบ : มี..แต่ว่าเหตุผลนี้ยิ่งยอมรับยากใหญ่ อย่างเช่น วันเสาร์ห้านี้เป็นวันแข็ง เป็นวันที่กำลังสูง ถ้าทำอะไรผลประโยชน์ก็จะได้มาก

    ถาม : ใช่ ๆ คือ คนนั้นชอบบอกแต่ว่ากำลังสูง วันแข็ง คำว่า “กำลังสูง” คำว่า “วันแข็ง” นั้นจริง ๆ แล้ว หมายถึงอย่างไร ?
    ตอบ : อยู่กับช่วงระยะจังหวะเวลาการโคจรของดวงดาวเรา ต้องยอมรับว่าโลกของเรามีพลังงาน ดวงดาวทุกดวงมีพลังงานอยู่ จังหวะนั้น วาระนั้น เวลานั้น พลังงานจะหนุนเสริมกันมาสูงกว่าจังหวะอื่น เหมือนกับน้ำขึ้นน้ำลง ขึ้นก็ขึ้นเป็นปกติ แต่วันนั้นจะขึ้นสูงที่สุด อย่างนี้เป็นต้น

    คราวนี้โบราณาจารย์ที่ท่านมีความรู้ในเรื่องของโหราศาสตร์หรือว่าดาราศาสตร์ และการโคจรของดวงดาวต่าง ๆ ท่านจับเคล็ดตรงนี้ได้ ท่านก็เอาวันอย่างนี้มาเพื่อประยุกต์ใช้งาน ถ้าไม่แจ่มแจ้งประท้วงได้นะ ...(หัวเราะ)...

    ถาม : กำลังสงสัยว่า ถ้าเกิดพลังงานที่ได้มาสูงในที่นี้นั้น แล้วเรามีความจำเป็นอะไรจะต้องไปเกี่ยวข้องด้วย ?
    ตอบ : ในลักษณะของการเกี่ยวข้อง คือว่าวันเสาร์ห้าจริง ๆ เราไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง แต่ว่าเราทำเพื่อสงเคราะห์คนอื่นด้วย อย่างเช่นว่า คณะศิษย์ที่เขาต้องการที่จะให้การช่วยเหลือในบางส่วนที่เขายังขาดอยู่ ถ้าหากไม่มากจนเกินไป อย่างเช่นว่า น้ำแก้วหนึ่งถ้าขาดอยู่แค่นี้ ถ้าอาศัยตรงจุดนั้นอาจจะเติมเต็มพอดี สิ่งที่เขาตั้งความปรารถนาไว้ก็จะสำเร็จตามนั้น แต่ถ้าหากว่าขาดมาก ๆ ก็ไม่สำเร็จเหมือนกัน

    ถาม : เรื่องพูดค่อนข้างจะไม่ค่อยเชื่อนะคะ ตรงที่บอกว่าถ้าเราตั้งปรารถนาแล้ว เราได้มาร่วมพิธีตรงนี้นั้น จะส่งผลให้เราสมปรารถนา ?
    ตอบ : เรื่องนี้เรามาดูในลักษณะของบุคคลทั่ว ๆ ไปแล้วกัน อย่างเช่นว่า ถ้าเราอยู่ในตำแหน่งใหญ่ที่ให้คุณให้โทษคนได้ เราจัดงานขึ้นมาแล้วบริวารเขามา...พูดง่าย ๆ มาแสดงตัวให้เราเห็น โดยปกติทั่ว ๆ ไปก็ย่อมพอใจว่าเขายังมางานของเรา ก็จะเกิดความเมตตามากกว่าคนอื่น ขณะเดียวกันคนที่ไม่มา เอ๊ะ...ไอ้นี่ไม่เห็นหัวกูนี่หว่า ก็เลยกลายเป็นว่า ถ้าถึงเวลาถึงวาระที่จะต้องพิจารณาความดีความชอบหรือต้องช่วยเหลือใคร ก็จะช่วยเหลือคนที่เราเห็นหน้ามากกว่า เปรียบเทียบง่าย ๆ อย่างหยาบ ๆ เลย แต่ว่าเรื่องนี้ของเขาลึกกว่าเยอะ

    ถาม : ที่เขาว่า ฟังดูแล้วจะขัดกับหลักของกรรม ใช่ไหมคะ ?
    ตอบ : ไม่ใช่ขัดกับหลักของกรรม จริง ๆ แล้วตรงไปตรงมา เพราะว่าบุคคลที่เขามาร่วมพิธี เขาต้องทำกรรมดีมา เขาถึงได้มาในพิธีนั้น คนอื่นที่นอกสายไป ที่เขาไม่เลื่อมใสในตรงจุดนั้น เขาก็ไม่ได้มาร่วมกัน ไม่ได้ขัดหรอก ไปด้วยกันเลยแหละ เพียงแต่ว่าของเราเองลืมมองไป

    ถาม : คือฟังคำอธิบายถ้าไม่ขัดกับเรื่องของกรรม ก็เหมือนกับช่วยเหลือเกื้อกูล ?
    ตอบ : ก็ใช่อยู่ แต่ว่าลักษณะการช่วยเหลือ บอกแล้วว่าต้องขาดน้อย แล้วลักษณะที่ต้องการช่วยนั้น ก็เหมือนกับว่าเปิดโอกาสให้กับคนทุกคนได้รับ แต่ถ้าหากว่าคน ๆ นั้นวาระบุญวาระกรรมของเขาไม่ได้ถึงตรงจุดนั้น เขาก็ไม่ได้มาร่วมงาน

    ถาม : ฟังดูเหมือนเกี่ยวเนื่องกับการยึดบารมีพระเข้ามาช่วยเหลือ ?
    ตอบ : จริง ๆ แล้วคือ ใช้ของตัวเอง คนที่มาร่วมพิธีเขาจะต้องมีการภาวนา ทำกำลังใจในลักษณะนั้น ในเมื่อการภาวนาลักษณะนั้น ทำกำลังใจลักษณะนั้น ก็คือการเติมส่วนที่ขาดให้กับตัวเองนั่นเอง

    ถ้าหากเราอยู่ที่บ้านบอกให้เขาทำ สิ่งแวดล้อมไม่ชวนให้ทำ แต่ถ้ามาอยู่ร่วมในพิธีกรรม ซึ่งเขารู้สึกว่าขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อมั่นของเขา กำลังใจของเขายึดโยงได้ง่าย เขาก็จะทำได้ และทำได้ดีด้วย จริง ๆ ก็คือตัวของเขาเอง เพียงแต่ว่าพิธีกรรมนั้นเป็นแค่เครื่องโยงเท่านั้น เขาทำของเขาเอง จะไปตะโกนเรียกร้องให้ใครเขาช่วยก็ไม่ได้หรอก นอกจากการแนะนำเฉย ๆ อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าท่านบอกแล้วว่า ท่านมีหน้าที่แนะเท่านั้น จะทำหรือไม่ทำอยู่ที่ตัวเรา

    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนกันยายน ๒๕๔๔
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2019
  2. Komodo

    Komodo หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11,610
    กระทู้เรื่องเด่น:
    145
    ค่าพลัง:
    +104,605
    วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
    บวงสรวงไหว้ครูประจำปี (เสาร์ ๕) และเป่ายันต์เกราะเพชร
    ในวันเสาร์ที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...