เรื่องเด่น “พุทธบริษัท”ต้องเกื้อกูลกัน เพื่อศาสนาเจริญรุ่งเรือง

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 4 สิงหาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,592
    พระบรมศาสดา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงฝากพระพุทธศาสนาไว้กับ “พุทธบริษัท” ทั้งหลาย พระองค์ทรงไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดเป็นศาสดาแทน จึงเป็นหน้าที่ของพุทธบริษัททุกคนไม่ว่าจะเป็น ภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา ต่างต้องทำหน้าที่ร่วมกัน รักษาพระพุทธศาสนาให้สืบทอดต่อไปด้วยความเจริญมั่นคง

    ภิกษุมีสถานภาพเป็นหัวหน้าพุทธบริษัท จึงต้องทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งด้านคันถธุระและวิปัสสนาธุระ ประพฤติปฏิบัติตนตามสิกขาบทในพระวินัยอย่างเคร่งครัดเพื่อขัดเกลากิเลส เผยแผ่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์แก่อุบาสก อุบาสิกาเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง

    e0b8b4e0b8a9e0b8b1e0b897e0b895e0b989e0b8ade0b887e0b980e0b881e0b8b7e0b989e0b8ade0b881e0b8b9e0b8a5.jpg

    อุบาสก อุบาสิกา มีหน้าที่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ฟังธรรมตามกาลเพื่อจะได้มีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาที่ประกอบด้วยปัญญา ไม่ฟังคำสอนของภิกษุที่เทศนาธรรมหรือคฤหัสถ์ที่บรรยายธรรมซึ่งไม่ตรงตามพระไตรปิฎกอันเป็นเหตุนำไปสู่การมีความเห็นผิด (มิจฉาทิฎฐิ) และมีการน้อมนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ไปประพฤติปฏิบัติด้วยการรักษากาย วาจา ใจ ให้สุจริต ซึ่งจะเป็นประโยชน์สุขต่อการดำเนินชีวิตทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

    ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ วงการสงฆ์ ในพระพุทธศาสนามีสาเหตุมาจากการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องของ “พุทธบริษัท” ทั้งหลาย กล่าวคือผู้ที่บวชเป็นภิกษุส่วนใหญ่ไม่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงประกอบกับไม่มีอัธยาศัยในการครองตนอยู่ในเพศบรรพชิต จึงไม่มีการศึกษาพระธรรมและมีการล่วงละเมิดสิกขาบทในพระวินัย

    b8b4e0b8a9e0b8b1e0b897e0b895e0b989e0b8ade0b887e0b980e0b881e0b8b7e0b989e0b8ade0b881e0b8b9e0b8a5-1.jpg

    โทษของการล่วงละเมิดสิกขาบทในพระวินัยมีหลายสถาน โทษสถานหนัก อาบัติปาราชิกที่ต้องขาดจากความเป็นภิกษุ โทษสถานกลาง อาบัติสังฆาทิเสส หากไม่อยู่ปาริวาสกรรมก็จะไม่พ้นอาบัติ และ โทษสถานเบา ซึ่งประกอบด้วยอาบัติถุลลัจจัย อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฏ อาบัติทุพภาสิต หากไม่ปลงอาบัติก็จะไม่พ้นอาบัติ

    พระสุตตันตปิฎก (พระสูตร) ในอัคคิขันธูปมสูตร มีเรื่องราวตอนหนึ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศลชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ทรงได้ตรัสกับภิกษุสงฆ์ว่า…

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล มีธรรมลามก มีความประพฤติสกปรกน่ารังเกียจปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์แต่ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เน่าใน มีความกำหนัดกล้า เป็นดังหยากเยื่อเข้าไปนั่งกอดหรือนอนกอดพระราชธิดา บุตรสาวพราหมณ์หรือบุตรสาวคฤหบดีจะประเสริฐอย่างไร การเข้าไปนั่งกอดนอนกอดกองไฟใหญ่โน้นที่กำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วงอยู่ นี้ดีกว่า…”

    4e0b8a9e0b8b-2e0b897e0b895e0b989e0b8ade0b887e0b980e0b88-2e0b8b7e0b989e0b8ade0b88-2e0b8b9e0b8a5-2.jpg

    ภิกษุที่ล่วงละเมิดสิกขาบทในพระวินัยเป็นผู้ไม่มีความเคารพต่อพระพุทธองค์ เมื่อมรณภาพไปแล้วจะถูกฉุดคร่าไปสู่อบายภูมิ การทำบุญถวายทานของอุบาสก อุบาสิกาแก่ภิกษุที่ประพฤติปฏิบัติล่วงละเมิดสิกขาบทในพระวินัยจะไม่เกิดผลจากการอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย เพราะผู้ตายไม่สามารถอนุโมทนาได้ เนื่องจากภิกษุไม่รักษาพรหมจรรย์เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์

    การศึกษาพระธรรมจนเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์อย่างถูกต้องจนสามารถบรรลุธรรมตามลำดับขั้น ใช่ว่าจะเกิดขึ้นกับภิกษุซึ่งอยู่ในเพศบรรพชิตเท่านั้น แต่ก็เกิดขึ้นกับ อุบาสก อุบาสิกา ซึ่งอยู่ในเพศคฤหัสถ์ได้เช่นเดียวกัน

    ความแตกต่างของการบรรลุธรรมนั้นภิกษุสามารถสำเร็จเป็น “อริยบุคคล” ได้ตั้งแต่ระดับขั้นโสดาบันบุคคล สกทาคามีบุคคล อนาคามีบุคคล จนถึงขั้นอรหันตบุคคล ส่วน อุบาสก อุบาสิกา สามารถสำเร็จเป็น “อริยบุคคล” ได้ตั้งแต่ระดับขั้นโสดาบันบุคคล สกทาคามีบุคคล จนถึงขั้นอนาคามีบุคคล ถ้าจะบรรลุธรรมถึงขั้นอรหันต บุคคลก็ต้องสละจากเพศคฤหัสถ์ไปสู่เพศบรรพชิต

    4e0b8a9e0b8b-3e0b897e0b895e0b989e0b8ade0b887e0b980e0b88-3e0b8b7e0b989e0b8ade0b88-3e0b8b9e0b8a5-3.jpg

    ภิกษุที่มีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาจาก

    “พระไตรปิฎก” อย่างถูกต้อง เป็นผู้ประพฤติชอบปฏิบัติชอบย่อมเป็นเนื้อนาบุญและเป็น “ผู้เกื้อกูล” หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์แก่ อุบาสก อุบาสิกา ได้เป็นอย่างดี ในกรณีเดียวกันนี้ อุบาสก อุบาสิกา ที่มีความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาจาก “พระไตรปิฎก” อย่างถูกต้อง เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติตนที่มีการรักษากาย วาจา ใจ ให้สุจริต ย่อมเป็น “ผู้เกื้อกูล” หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์แก่ภิกษุที่ไม่ได้ศึกษาพระธรรมให้มีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมวินัยอย่างถูกต้อง

    รวมถึงการเพ่งโทษให้ภิกษุได้รู้ต้วว่า ทำผิดอะไร? ติเตียนให้รู้สำนึกว่าทำผิดเช่นนี้ได้อย่างไร? และโพนทะนาถึงความผิดของภิกษุให้เป็นที่รับรู้ทั่วกันอย่างแพร่หลาย

    การเพ่งโทษ ติเตียน และโพนทะนา นื้ อุบาสก อุบาสิกาจะต้องกระทำด้วยความหวังดีและมีเมตตา

    การเกื้อกูลระหว่างกันของ “พุทธบริษัท” ทั้งเพศบรรพชิตและเพศคฤหัสถ์จะเป็นปัจจัยสำคัญในการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นสืบไป.

    …………………………………

    คอลัมน์ : ว่ายทวนน้ำ

    โดย “ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล”


    ขอบคุณภาพ : sites.google.com

    ขอขอบคุณที่มา
    https://www.dailynews.co.th/article/589193
     
  2. tharaphut

    tharaphut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,721
    ค่าพลัง:
    +5,211
    สาธุ สาธุ สาธู อนุโมทนามิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...