ทำไมบางคนถึงชวนสวดมนตร์ ถือศีล ทำบุญ ได้ง่ายกว่าคนอื่นๆ?

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย สายเมฆฝน, 23 พฤษภาคม 2016.

  1. สายเมฆฝน

    สายเมฆฝน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 เมษายน 2015
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +5
    จากผู้คนที่เคยพบปะมา ไม่ว่าจะเป็นญาติ เพื่อน พี่น้อง หรือคนร่วมงาน
    บางคนพอชวนสวดมนตร์เขาจะทำทันที ชวนไปทำบุญ ไปเข้าวัด
    ถ้าเขาไปด้วยได้เขาไปเลย แต่ถ้าไปไม่ได้เขาขอโมทนาสาธุกับเราด้วย
    ผิดกับบางคนที่มีข้ออ้างบ้าง หรือบ่ายเบี่ยงเถียงเรากลับบ้าง

    แล้วพฤติกรรมทั้งสองแบบก็จะมาจากคนเดิมโดยไม่ผิดเพี้ยนเปลี่ยนพฤติกรรมเท่าไหร่ คนที่จะไปก็ไปตลอด คนที่ไม่เอาก็ไม่เอาตลอด

    การกระทำที่ไม่เหมือนกันเป็นเพราะสาเหตุอะไรเหรอคะ? ขอความกรุณาท่านผู้รู้ช่วยอธิบายในหลายๆแง่มุมให้พอเข้าใจด้วยค่ะ
     
  2. zhayun

    zhayun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +425
    ผมไม่ใช่ผู้รู้ แต่ผมมีความเห็นว่า

    คนที่เคยทำบุญมามากในอดีต พอมาชาตินี้ เขาก็มาทำต่อ เพราะเป็นของคุ้นเคย ที่ทำมาเป็นประจำ จึงอยากทำบุญต่อ

    ส่วนคนที่ไม่ค่อยได้ทำบุญหรือทำบุญมาน้อยในอดีต พอมาชาตินี้ เขาก็รู้สึกไม่ค่อยคุ้นเคย เพราะไม่ค่อยได้ทำบุญ หรือทำมาน้อย เมื่อไม่คุ้นเคย ก็ไม่อยากทำครับ
     
  3. ผู้ไกล

    ผู้ไกล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    544
    ค่าพลัง:
    +4,752
    ยามที่กรรมเก่าในด้านความชั่วเข้าแทรกแซงจิตใจบุคคลนั้น
    ก็จะหลงไหลไปกับทางโลก ไม่สนใจเรื่องบุญ
    เป็นธรรมดาครับ แต่ยามใดที่กรรมเก่าในด้านความดี
    เข้ามาก็จะทำให้จิตใจคนผู้นั้นเข้าถึงการปฏิบัติธรรมได้ง่าย

    คนที่จะเข้ามาปฏิบัติธรรมสร้างบุญสร้างกุศลในพระพุทธศาสนา
    คือคนที่เห็นทุกข์ "ผู้ใดเห็นทุกข์....ผู้นั้นเห็นธรรม"
    ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้

    และที่สำคัญหากมีการชักชวนทำบุญทำทาน สวดมนต์ไหว้พระ
    เจริญกรรมฐาน บ้างคนก็ใช่ว่าจะทำทั้งหมดก็เนื่องด้วยวาสนาบารมีบุญเก่า

    ท่านที่เริ่มต้นบำเพ็ญบุญบารมีระดับต้น
    - ชวนทำบุญทำทานได้ แต่ชวนถือศีล เจริญกรรมฐานไม่ได้

    ท่านที่บำเพ็ญบุญบารมีระดับอุปบารมี
    - ชวนทำบุญทำทาน ถือศีลได้ แต่เจริญกรรมฐานไม่ได้

    ท่านที่บำเพ็ญบุญบารมีระดับปรมัตถะบารมี
    - ชวนทำบุญทำทาน ถือศีล เจริญกรรมฐานได้
    จนถึงปรารถนาเพื่อพระนิพพานได้เลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 พฤษภาคม 2016
  4. ธรรมดาบส

    ธรรมดาบส สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤษภาคม 2016
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +23
    คงเป็นเพราะสัญญาเก่าที่ทำไว้ในอดีต
     
  5. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    เพราะพฤติกรรมของคนเกิดจากความเชื่อของคน ลองนึกภาพง่ายๆ ว่าเราลองบอกให้คนคนหนึ่งไปฆ่าตัวตายมันเป็นเรื่องยากขนาดไหน แต่ถ้าเราใส่ความเชื่อให้เขาไปและทำให้เขาเชื่อว่าการฆ่าตัวตายจะได้ไถ่บาป และไปสวรรค์ อาจมีคนที่ยอมทำตามอยู่ ความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมก็คือวิธีการที่คนเราเข้าใจชีวิต และวิธีการที่เราเข้าใจตัวเอง นีคือค่านิยม ถ้าเราไม่สามารถเปลี่ยนวิธีการที่เขามองชีวิตและรู้จักตัวเองได้ก็เปลี่ยนพฤติกรรมเขาไมได้ คนบางส่วนเลือกที่จะเปลี่ยนความเชื่อเมื่อความเชื่อได้รับการพิสูจน์ว่าไม่เป็นจริงหรือไม่ได้ผลอย่างมีหลักฐานเป็นที่ประจักษ์ บางคนจะยอมเปลี่ยนความเชื่อเมื่อต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด การเปลี่ยนความเชื่อของคนอื่นที่ได้ผลที่สุดก็คือการทำตัวเป็นแบบอย่าง เพราะถ้าตัวเราเองยังไม่ทำ คำพูดของเราก็คงไม่มีหนัก การทำตัวเป็นแบบอย่างมีผลมากกว่าการที่เราบอกคนทีละมากๆ เสียอีก เมื่อเราบอกให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมถึงเราจะเป็นคนที่น่าเชื่อถือแค่ไหน พูดอะไรไปใครเชื่อหมด แต่ความเชื่อนั้นก็อยู่กับเขาได้ไม่นาน ถ้าไม่พิจารณาตามจนเห็นด้วยตัวเองก็จะลืมและไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ดังนั้นการมุ่งเน้นให้คนอื่นเชื่อเราอาจจะไม่เกิดประโยชน์อะไร แม้แต่คนที่เชื่อเราอย่างปราศจาคข้อสงสัยก็ตาม พระพุทธเจ้าไม่ได้มุ่งเน้นให้เราเชื่อโดยไม่พิจารณาตาม กลับกันคนที่ไม่เชื่อเราเขาอาจจะได้พิจารณาเข้าใจในสิ่งที่เกิดประโยชน์กับเขาก็ได้
     
  6. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941

    ...สิ่งทั้งปวงย่อมเกิดด้วยเหตุปัจจัยมากมายหลายประการ.....หาได้เกิดเองโดยปราศจากเหตุหรือเกิดโดยบังเอิญไม่...

    ความที่สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา หาสัตว์บุคคลตัวตนของใครไม่มี จึงไม่มีใครมีอำนาจควบคุมบังคับบัญชาอะไรได้อย่างแท้จริง...

    ความต่างกันของบุคคลทั้งหลาย ย่อมมีมาปัจจัยหลายหลาย ว่าโดยคร่าวๆได้แก่...

    ๑. เป็นผู้อยู่ในประเทศอันสมควร(ปฏิรูปเทส) ในถิ่นนี้มีกัลยาณชน ที่สอนข้อธรรมที่เป็น"สัมมาทิฏฐิ"ตนได้เข้าใกล้กัลยาณชน ได้สดับธรรมนั้น แล้วย่อมได้ความเห็นที่ถูกตรง ย่อมมีศรัทธาที่จะเจริญกุศลทุกประการเพราะทราบชัดในเหตุผลที่ถูกตรง ไม่ทำไปเพราะหลงหรืองมงายด้วยอาการต่างๆ..แต่มีศรัทธาที่ถูกตรงเท่านั้นจึงไม่ลังเลที่จะเจริญกุศลแม้โดยไม่ต้องมีใครมาชักชวน

    อีกพวกหนึ่ง เป็นผู้อยู่ในสมาคมของปาปมิตร ได้รับคำแนะนำในทางที่ผิดเป็นต้นว่ากรรมไม่มีผล บาปบุญไม่มีโลกนี้ไม่มีลกหน้าไม่มี เกิดมาชาตินี้ชาติเดียว ตายไปก็จบ ฯฯลฯฯ เช่นนี้ย่อมมีทิฏฐิวิบัติ ย่อมไม่มีศรัทธาในอันที่จะเจริญกุศล แม้กุศลขั้นพื้นฐานมีทานและศีลก็เป็นสิ่งที่ชนเหล่านี้ทำได้โดยยาก.. ไม่จำต้องกล่าวถึงกุศลขั้นเจริญภาวนา"เพื่อความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด" เลย...

    ๒. ด้วยอำนาจการสั่งสมอุปนิสสัยสันดานมามากในด้านต่างๆในสังสารวัฏอันหาเบื้องต้นไม่พบ ย่อมง่ายที่แสดงออกไปโดยอาการต่างๆตามที่ตนเคยทำมาจนชำนาญจึงบางคนง่ายที่จะเจริญกุศลและบางคนยากที่จะทำเช่นนั้น...

    เหมือนสายน้ำที่กัดเซาะดินเป็นร่องแล้วย่อมไหลไปได้โดยคล่อง ฉันใด อุปนิสสัยสันดานที่สั่งสมไว้ก็ฉันนั้นย่อมเป็นเหมือนร่องนำไปสู่พฤติกรรมอันตนนิยมไว้นั่นเอง...

    ๓. อาศัยความที่ตนเป็นผู้มากด้วยสติปัญญารู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ มีโยนิโสมนัสสิการที่มีกำลังก็พร้อมและยินดีในกุศลกิจทั้งปวงโดยง่าย ส่วนอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่มีความคิดแยบคาย สั่งสมปัญญามาไม่มากย่อมไม่เห็นสาระในการทำกุศลแม้เล็กน้อย...

    ๔. เป็นผู้ตั้งตนไว้โดยชอบ คือตั้งใจไว้ว่าตนจะประพฤติทานศีลภาวนาไปตามกำลัง ย่อมขวนขวายในการนั้นๆเมื่อได้โอกาส อีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งตนไว้ในความประมาท แม้มีโอกาสย่อมละเลยกุศลไปเสีย..

    ๕. ปุถุชนย่อมมีจิตใจแปรปรวนไปตามอำนาจของโลกธรรม๘..จึงเอาแน่นอนไม่ได้ว่า ในเวลาใดใจเขาจะมุ่งไปทางกุศลหรืออกุศล เช่นบางคนเสื่อมลาภหรือยศ จิตมีแต่โทสะโทมนัส ที่จะให้หันมาเจริญกุศลนั้นหาได้ยากนัก เว้นเสียแต่ว่ามีความเห็นที่ถูกตรงหนักแน่มั่นคงเท่านั้นที่จะสนับสนุนให้เจริญกุศลต่อไปได้...เป็นต้น

    ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายกระตือรือร้นทำกุศลหรือปฏิเสธก็ตาม สิ่งเหล่านี้ก็หาได้มั่นคงสม่ำเสมอเช่นนี้ตลอดไปไม่เพราะจิตของปุถุชนย่อมหวั่นไหวไปตามกำลังกิเลสตัณหาที่ตนยังมีอยู่ ...

    เว้นเสียแต่พระอริยบุคคลมีพระโสดาบันบุคคลเป็นต้นไปเท่านั้นจึงจะมั่นคงเจริญในกุศลทั้งปวง ...

    อนึ่ง ในบางกรณี ผู้ที่ปฏิเสธการชักชวนของผู้อื่นเพื่อไปทำสิ่งที่เรียกว่า"บุญ" กลับเป็นผู้ที่"รู้จักบุญที่ถูกต้อง"ก็ได้ เพราะอาศัยปัญญาสัมมาทิฏฐิในการวินิจฉัยแล้วพบว่า นั้นเป็นความหลงหรืองมงายไปก็มีดังนั้น จึงตัดสินไม่ได้แน่นอนว่าใครเป็นเช่นใด ... การคบคุ้นกันนานๆเท่านั้น อาจเป็นช่องทางทราบอัธยาศัยของเขาได้...
     
  7. Nimmanoradee

    Nimmanoradee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +68
    คนเราเกิดมาหลายชาติ ดูอย่างชาตินี้ชาติเดียว เกิดมาเราได้สร้างทั้งกรรมดี กรรมชั่ว ไอ้สองตัวนี้มันไม่หายไปไหน ถึงเวลาตัวใดตัวหนึ่งมันจะเข้ามาสนองเรา ถ้าอยู่ในวาระที่กรรมดีส่งผลนี่ว่าง่ายเลย พูดคำเดียวก็ไปแล้ว ถ้ากรรมชั่วมันเข้าสนองต่อให้เอาช้างมาฉุดก็ไม่เข้าวัด แม้แต่คนที่มีนิสัยชอบทำบุญ อยู่ดีๆก็เลิกไปซะอย่างนั้น ก็เพราะอกุศลมันเข้าแทรกพอดี ถ้ามีโอกาสขยันทำดีอยู่ ก็รีบๆทำให้มากที่สุดครับ กุศลกรรมมันจะได้มีกำลังสูงกว่าอกุศล
     
  8. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    เพราะแต่ละคนมีจุดมุ่งหมาย มีความเชื่อ และมีความศรัาธา แตกต่างกันไป ทุกคนมีสิทธิของตนเองที่จะเลือกกรรมวิธีสร้างความสุขทางใจ ซึ่งอาจจะเป็นกรรมวิธีที่ดี หรือไม่ดี ก็แล้วแต่บุคคล หากจุดมุ่งหมาย ความเชื่อ ความศรัทธา ตรงกัน เห็นพ้องกัน ก็ชักจูงโดยง่าย ตรงข้ามกัน ถ้าเห็นต่างแล้ว ไม่อาจชักจูงให้เห็นตามได้เลย
     
  9. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    อีกเหตุผลนึงที่คนเขาทำ หรือไปกัน เพราะทำแล้วเห็นผล ได้ความสบายใจ ความสุขกลับมา ก้เลยทำประจำๆ ไม่ได้มีขายและไม่ใช่หาซื้อกันได้ง่ายๆ

    "สวดมนต์ ถือศีล ทำบุญ ไปวัด" จริงแล้ว ก็อยู่ใน ศีล สมาธิ ปัญญา" นี่แหละ
    เป็นกุศลกรรมบถ10 ก็ได้ ใครที่ปรารถนา สวรรค์สมบัติ นิพพานสมบัติ และมนุษย์สมบัติ ก็ต้องอาศัยสิ่งเหล่านี้ติดตัวไป

    อีกอย่างที่ขาดไม่ได้คือ กตัญญูต่อบุพการีและผู้มีพระคุณ(แก้วสององค์)
     
  10. zipp

    zipp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    234
    ค่าพลัง:
    +141
    คิดว่า"ความศรัทธา"ที่มีในพระพุทธศาสนามากน้อยไม่เท่ากัน เช่น นับถือศาสนาพุทธแค่ทะเบียนบ้าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...