วัตถุมงคล.คณาจารย์ทั่วไทย..พุทโธน้อย..หลวงปู่จรัญ.วัดอัมพวัน.คุณแม่บุญเรือน..หลวงปู่ดู่..วัดสะแก..อื่นๆๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ญาณวโร นามะ, 18 เมษายน 2015.

  1. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่49 เหรียญระฆัง หลวงพ่อเกษม เขมโก รุ่น ระฆังมหาโชคลาภ (พิมพ์เล็ก) ปี 2538 (เนื้อเงิน)**คุณพะเยา543จองแล้วครับ**

    เหรียญ ครูบาเจ้าเกษม เขมโก รุ่นนี้ พิมพ์เล็ก สร้าง 1,000 องค์ ครับ เดี๋ยวนี้วัตถุมงคลของท่านหายากมากแล้วนะครับ ส่วนใหญ่ราคาสูงมาก ๆ โดยเฉพาะ เนื้อเงิน และ เนื้อนวะ หายากครับ ในแต่ละรุ่น เหรียญนี้ทันหลวงพ่อปลุกเสกแน่นอนครับ

    **องค์นี้สภาพสวยครับ ให้บูชาราคาไม่แพง 250 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6454.JPG
      SAM_6454.JPG
      ขนาดไฟล์:
      66.7 KB
      เปิดดู:
      467
    • SAM_6459.JPG
      SAM_6459.JPG
      ขนาดไฟล์:
      65 KB
      เปิดดู:
      307
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2015
  2. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่50 เหรียญหลวงพ่อลำภู ที่ระลึกทำบุญอายุ 80ปี วัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม ปี2524 เนื้ออัลปาก้า
    **มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**

    ประวัติหลวงพ่อลำภู คงคฺปัญโญ

    ท่านนามเดิมว่า "ลำภู เรืองรักเรียน"

    เกิดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2444 ตรงกับวันพุธ แรม 2 ค่ำ เดือน 12 ปีฉลู ณ บ้านไก่จ้น ต.ท่าหลวง อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายคง นางผิว เรืองรักเรียน มีพี่น้องรวม 10 คน ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2465 ณ วัดไก่จ้น หลังจากบวชแล้วท่านได้ศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรมจนสามารถอ่านออกเขียนได้(สมัยนั้นนับคนอ่านเขียนภาษาได้น้อยมากนะครับ) จนแตกฉานในอรรถทั้งภาษาไทยและภาษาขอมบาลี

    ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 ท่านย้ายจากวัดไก่จ้นไปอยู่วัดช่างทอง จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อศึกษาและปฏิบัติวิปัสนากัมมัฏฐานเป็นเวลา 7 ปี ท่านได้สอบนักธรรมชั้นตรี ได้เมื่อปี พ.ศ.2473 ที่วัดหนองเขื่อนช้าง จ.สระบุรี

    จากนั้นปี พ.ศ.2477 ก็ย้ายจากวัดช่างทอง ไปอยู่วัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาต่อ

    ในปีพ.ศ.2502 ท่านได้รับตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส) ทั้งๆที่ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส แต่หลวงปู่ลำภู ท่านบอกว่า "ผมแก่แล้วไม่สามารถทำหน้าที่เจ้าอาวาสได้ ขอให้พิจารณาพระที่มีอายุพรรษาสมควรแก่หน้าที่ต่อไป" การสละสิทธิ์ที่จะพึงได้ของหลวงปู่ลำภูได้ประกาศในที่ประชุมคัดเลือกเจ้าอาวาสในครั้งนั้นเป็นการเสียสละอันยิ่งใหญ่

    ในปี พ.ศ.2510 ท่านได้ตำแหน่งฐานานุกรม เป็นพระครูสังฆรักษ์
    ในปี พ.ศ.2512 ต่อมาได้รับตำแหน่งรักษาการแทน เจ้าอาวาสวัดบางขุนพรหม (วัดใหม่อมตรส)

    วัดไก่จ้น คือที่พำนักยามสิ้นอายุขัยของพระครูอมรคุณาจาร(หลวงปู่ลำภู)

    ในช่วงที่หลวงปู่ลำภูท่านมีอายุมากแล้ว ท่านได้สร้างวิหารส่วนตัวไว้ที่วัดไก่จ้น ท่านได้สั่งกับศิษย์ใกล้ชิดไว้ว่า ยามเมื่อท่านสิ้นอายุขัยแล้ว ให้ย้ายศพท่านกลับมาบ้านเกิด ที่วัดไก่จ้น

    ในปี พ.ศ.2533 หลวงปู่ลำภู ท่านได้สิ้นอายุขัยด้วยโรคชรา ที่กุฏิของท่านในวัดใหม่อมตรส ท่านมรณะภาพ เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2533เวลา 20.15 น. สิริอายุ 88 ปี 9 เดือน 4 วัน สังขารของท่านได้ตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ที่ วัดใหม่อมตรส เป็นเวลา 1 ปี แล้วจากนั้นก็ย้ายมาที่วิหารที่หลวงปู่ลำภู สร้างไว้ที่วัดไก่จ้น จ.อยุธยา ปรากฎว่า สังขารของหลวงปู่ลำภูนั้นไม่เน่าไม่เปื่อย จวบจนปี พ.ศ.2552 คณะศิษย์ส่วนมากเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะจัดการพระราชทานเพลิงศพตามประเพณีนิยม เพราะเป็นการปลงภาระซึ่งคณะศิษย์รับไว้ ยิ่งนานต่อไปคณะศิษย์ก็ลดลงทุกวัน จึงเป็นความสมควรอย่างยิ่ง วันที่พระราชทานเพลิงศพ วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2552 เวลา 16.00 น.

    คำระลึกอนุสรณ์กล่าวถึง หลวงพ่อลำภู คงคฺปัญโญ (พระครูอมรคุณาจาร) ของพระครูพิพัฒนานุกูล เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม ความว่า

    "หลวงพ่อเป็นพระมหาเถระสำคัญรูปหนึ่งของวัดใหม่อมตรส ท่านเป็นพระเถระผู้รัตตัญญู ผู้มีคุณูปการสำคัญต่อวัดเป็นเวลายาวนาน คณะสงฆ์วัดใหม่ฯ ให้ความเคารพบูชาอย่างสูงยิ่งมาโดยตลอด พระสงฆ์-สามเณรได้รับการอุปถัมภ์บำรุงอย่างทั่วถึง โดยทุกท่านผู้อยู่ทันสมัยหลวงพ่อมีชีวิตอยู่จะได้พึ่งบารมีของหลวงพ่อทั้งวัด ตอนหลวงพ่อลำภูเป็นรองเจ้าอาวาสและเป็นพระอาจารย์พระครูบริหารคุณวัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส เมื่อเจ้าอาวาสวัดใหม่ฯ ว่างลงท่านไม่รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ยกให้พระครูบริหารเป็น เพราะเห็นว่ายังหนุ่มกว่า ด้วยความที่ท่านมีอัธยาศัยไมตรีจิตที่ดีต่อทุกคน เมื่อได้พบท่านกราบท่านแล้วดูจะเอิบอิ่มใจ เพราะหลวงพ่อมีดีกับตัวที่หายาก และท่านก็ศักดิ์สิทธิ์มีมนต์ขลังจริง มีผู้ศรัทธาเลื่อมใสมาอาบน้ำมนต์รักษาโรคจำนวนมาก พระสงฆ์สามเณรอบอุ่นมาก คราวที่หลวงพ่อยังมีชีวิตอยู่ยิ่งกว่าร่มโพธิ์ร่มไทร ถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีหลายท่านรำลึกเสมอในบุญหลวงพ่อพระครูอมรคุณาจาร (ลำภู คงคฺปัญโญ) หลวงพ่อท่านสร้างความดีไว้มากเพื่อต้องการให้อยู่เลยตาย ตามคำนิยมที่รู้กันว่า อยู่แค่ตายอยู่ได้ทุกคน อยู่เพื่อปวงชนอยู่ได้เลยตาย หรืออยู่เพื่อตัวอยู่ได้แค่สิ้นลม อยู่เพื่อสังคมอยู่คู่ฟ้าดิน"

    คำบอกเล่ากล่าวถึง หลวงพ่อลำภู คงคฺปัญโญ (พระครูอมรคุณาจาร) ของพระครูพิพัฒนานุกูล เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม

    “หลวงพ่อลำภูท่านเป็นพระที่ชอบนั่งวิปัสนาและศึกษไสยเวทย์ ในอดีตชาวบ้านในระแวกวัด เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยมักจะมาหาท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ท่ป่วยเกี่ยวกับโรคฝี หลวงพ่อท่านรักษาได้ฉมังนักแล”


    ส่วนปี 2524 นั้น หลวงปู่ลำภูไม่ได้สร้างพระเนื้อผงเลย ท่านสร้างแค่เหรียญรูปไข่เนื้ออัลปาก้าหน้าตรง รอบเหรียญมีจุดไข่ปลา หลังเหรียญก็จุดไข่ปลารอบเหรียญเช่นกัน และเขียนว่าที่ระลึกทำบุญอายุ 80 ปี พ.ศ.2524 ส่วนพระบูชารูปเหมือนหลวงปู่ลำภูนั้น ทางวัดไก่จ้นได้สร้างถวายหลวงปู่ลำภู จึงถือว่ารุ่นนี้คือ "รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่ลำภู" วัดไก่จ้น คือที่พำนักยามสิ้นอายุขัยของพระครูอมรคุณาจาร (หลวงปู่ลำภู)

    ยามเมื่อหลวงปู่ลำภูมีอายุมาก ท่านได้สร้างวิหารส่วนตัวไว้ที่วัดไก่จ้น ท่านได้สั่งไว้ว่า ยามเมื่อท่านสิ้นอายุขัยแล้ว ให้ย้ายศพท่านกลับมาบ้านเกิด ที่วัดไก่จ้น เมื่อปี 2533 หลวงปู่ลำภูได้สิ้นอายุขัยด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 1 กันยายน เวลา 20.15 น. รวมอายุขัยได้ 88 ปี 9 เดือน 4 วัน สังขารของท่านตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดใหม่อมตรส เป็นเวลา 1 ปี แล้วจากนั้นก็ย้ายมาที่วิหารที่หลวงปู่ลำภูสร้างไว้ที่วัดไก่จ้น

    สังขาร หลวงปู่ลำภูนั้นไม่เน่าไม่เปื่อย จวบจนปี 2552 คณะศิษย์ส่วนมากเห็นพ้องต้องกันว่า ควรจะจัดการพระราชทานเพลิงศพตามประเพณีนิยม เพราะเป็นการปลงภาระซึ่งคณะศิษย์รับไว้ ยิ่งนานต่อไปคณะศิษย์ก็ลดลงทุกวัน จึงเป็นความสมควรอย่างยิ่ง วันที่พระราชทานเพลิงศพ วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2552 เวลา 16.00 น.

    **หรียญหลวงพ่อลำภู ที่ระลึกทำบุญอายุ 80ปี วัดใหม่อมตรส บางขุนพรหม กทม. ปี2524 เป็นเหรียญรุ่นที่4 รุ่นสุดท้าย ทันหลวงพ่อปลุกเสก เนื้ออัลปาก้า สวยๆเดิมๆ ให้บูชา 300 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2015
  3. thaicat2013

    thaicat2013 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    585
    ค่าพลัง:
    +1,010
    แจ้งโอนเงินแล้วครับเมื่อ 27/04/15 เวลา 07.42 น. จำนวน 450 บาท 28/04/15 เวลา 17.58 น. จำนวน 100 บาท
    ส่งของที่ นายสมชาย รอดนุช 78/2 หมู่ 8 ถนนพระประโทน-บ้านแพ้ว ต.ดอนยายหอม
    อ.เมือง จ.นครปฐม 73000
     
  4. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รับทราบครับ:cool::cool:
     
  5. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่51 พระนาคปรกหลวงพ่อยิด สีดอกบวบ วัดหนองจอก ปี ๒๕๓๗

    "หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน" หรือ "พระครูนิยุตธรรมสุนทร" แห่งวัดหนองจอก ต.ดอนยายหนู อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ที่ได้รับความเลื่อมใสความศรัทธาจากชาวประจวบคีรีขันธ์

    อัตโนประวัติหลวงพ่อยิด มีนามเดิมว่า ยิด ศรีดอกบวบ เกิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2476 โยมบิดา-มารดา ชื่อนายแก้วและนางพร้อย ศรีดอกบวบ อายุ 9 ขวบ ได้บรรพชาเป็นสามเณร ในวัดบ้านเกิด ฝึกปฏิบัติสมาธิ ศึกษาอักขระเลขยันต์ ศึกษาพระธรรมวินัย กระทั่งอายุ 14 ปี ได้ลาสึกออกมาช่วยครอบครัวหาเลี้ยงชีพ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท โดยมีหลวงปู่อินทร์ วัดยาง เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอธิการหวล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ศุข วัดโตนดหลวง เพื่อศึกษาวิทยาคมเพิ่มเติม และยังได้ออกธุดงควัตรไปตามสถานที่วิเวกต่างๆ ในหลายพื้นที่ รวมทั้งได้เดินเท้าเข้าไปในฝั่งประเทศพม่า เป็นต้น จนกระทั่งปี พ.ศ.2487 บิดาของท่านได้ป่วย หลวงพ่อยิด ท่านจึงเดินทางกลับมา ด้วยความกตัญญูรู้คุณ ท่านจึงได้ลาสิกขาออกมาดูแลบิดาและมารดา ที่แก่ชรา และได้แต่งงานมีครอบครัว ท้ายที่สุด เมื่อโยมบิดา-มารดา ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ.2518 ท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบทอีกครั้ง ที่วัดเกาะหลัก โดยมีเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์

    หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ท่านได้ไปอยู่จำพรรษาเป็นพระลูกวัดที่วัดทุ่งน้อย อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาชาวบ้านหนองจอก ต.ดอนยายหนู ทราบข่าวจึงยกที่ดินให้จำนวน 21 ไร่ 2 งาน เป็นพื้นที่ป่า เพื่อให้ท่านสร้างวัดขึ้น หลวงพ่อยิดได้ปลูกกุฏิหลังเล็ก เป็นที่พักสงฆ์ ส่วนญาติโยมได้ช่วยกันถางป่า จนเป็นสถานที่รองรับการประกอบพิธีทางศาสนา หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก ได้รับความศรัทธาจากนายทหาร ตำรวจ ข้าราชการ ประชาชน เป็นจำนวนมาก ที่เข้ามาขอรับวัตถุมงคล อาทิ ตะกรุด พระเครื่อง ปลัดขิกหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก เนื่องจากเชื่อกันว่า วัตถุมงคลของท่านมีพุทธคุณเด่นในด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง คาถาบูชาปลัดขิกหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก อีกทั้งยังทำให้ผู้เลื่อมใสมีโชคลาภ วัตถุมงคล วัดหนองจอก จึงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในวงการพระเครื่องเมืองไทยทั่วประเทศ วัตรปฏิบัติ ใน 1 ปี หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก จะสรงน้ำปีละครั้งเท่านั้น โดยอนุญาตให้บรรดาญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธา ใช้แปรงทองเหลืองที่ใช้ขัดเหล็ก ขัดตามตัว แขนขาของท่าน แต่แปรงทองเหลืองไม่ได้ระคายผิวหนังแม้แต่น้อย หลังจากขัดตัวให้ท่านแล้วเสร็จ หลวงพ่อยิด ท่านจะมอบวัตถุมงคลให้คณะศิษย์นำไปบูชากันอย่างทั่วถึง

    สำหรับปัจจัยที่ได้รับจากการบริจาค จะนำไปสมทบทุนการศึกษา ทำนุบำรุงศาสนา สังคมและชุมชน จนกลายเป็นประเพณีถือปฏิบัติของ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก มรณภาพลงอย่างสงบ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2538 สิริรวมอายุ 71 ปี พรรษา 30 แม้หลวงพ่อยิด พระเกจิดังแห่งวัดหนองจอก อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จะมรณภาพลง แต่ด้วยความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ชาวบ้านในพื้นที่จึงได้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิพระครูนิยุตธรรมสุนทร (หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ) เพื่อบำรุง บูรณะ และปฏิสังขรณ์ ศาสนสถาน เป็นทุนภัตตาหาร การศึกษา และพยาบาล พระภิกษุ สามเณร ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียน นักศึกษาที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ส่งเสริมและสนับสนุน ในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาและดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์

    ปัจจุบัน มูลนิธิพระครูนิยุตธรรมสุนทร (หลวงพ่อยิด จันทสุวัณโณ) มีทุนทั้งสิ้น 19,473,175.82 บาท แต่ละปีจะมีการนำดอกผลบริจาคให้กับสาธารณะมาโดยตลอด เช่นในปี 2552 นำเงินจำนวน 559,803.29 บาท มอบเป็นทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ สงเคราะห์ผู้สูงอายุ บำรุงการศึกษาให้แก่พระภิกษุสามเณร ที่เล่าเรียนพระธรรมวินัย พร้อมทั้งบำรุงซ่อมแซมถาวรวัตถุวัดหนองจอก ค่าบำรุงการศึกษานักเรียนในเขตอำเภอกุยบุรี จำนวนทั้งสิ้น 26 โรงเรียน นอกจากนี้ ยังปรับปรุงศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้านหนองจอก มอบเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนการสอนให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ค่าอาหารเสริมให้นักเรียน ปรับปรุงห้องสมุด โรงเรียน สนับสนุนงบในการจัดทำโครงการพัฒนายกระดับคุณภาพกระบวนการ การจัดการเรียนรู้ เป็นต้น

    **องค์นี้ สภาพสวยแชมป์ ให้บูชาเบาๆ 300 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6466.JPG
      SAM_6466.JPG
      ขนาดไฟล์:
      68.2 KB
      เปิดดู:
      135
    • SAM_6468.JPG
      SAM_6468.JPG
      ขนาดไฟล์:
      58.6 KB
      เปิดดู:
      144
  6. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่52 เหรียญหลวงปู่ไตฮงกง มูลนิธิปอเต๊กตึ้ง สภาพสวย กะไหล่เงิน**คุณsupachaipnuจองครับ**

    ประวัติความเป็นมา

    หลวงปู่ไต่ฮงกง เป็นพระภิกษุในสมัยราชวงศ์ซ้อง ไม่มีประวัติที่ละเอียด เท่าที่เล่าสืบกันมาว่าท่านเป็นพระที่จาริกมาจากเมืองอื่น เป็นพระที่นิยมสงเคราะห์ชาวบ้านเกี่ยวกับการเก็บศพที่ไร้ญาติ ซ่อมแซมถนนหนทางที่ชำรุด และสร้างสะพานในที่ที่ควรสร้างเป็นหลักใหญ่ มีพระองค์อื่น ๆ ที่เห็นด้วยกับท่านจึงร่วมกันออกทำงานประเภทนี้เป็นกิจวัตรทุกวัน กระทั่งท่านได้มรณภาพไป คณะสงฆ์ที่ได้เคยร่วมงานสานต่อจากท่านก็ยังคงดำเนินงานนี้เสมอมา ต่อมามีชนบทแห่งหนึ่งได้เกิดโรคระบาดติดต่อที่ร้ายแรง มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ขณะที่คณะสงฆ์ได้ไปเก็บศพทำพิธีพรมน้ำมนต์ศพนั้น มีคนไข้คนหนึ่งขอให้ท่านพรมน้ำมนต์ให้ และปรากฎว่าคนไข้คนนั้นกลับหายเป็นปกติ จึงมีการสร้างศาลาบูชาท่าน เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นอานิสงส์จากหลวงปู่ไต่ฮงกงโจวซือ แล้วก็มีการทำกันอย่างแพร่หลายไปทั่วเมืองแต้จิ๋ว โดยเรียกชื่อศาลานี้ว่า “ศาลาหลวงปู่ไต่ฮงกง” และยังคงทำงานด้านการเก็บศพ พร้อมทำงานซ่อมแซมถนนตามแบบท่าน แต่การดำเนินจะเป็นฆราวาส ชาวจีนจึงถืว่า การบริจาคแก่ศาลหลวงปู่ไต่ฮงกงเป็นมหากุศลอย่างยิ่ง


    ลักษณะความเชื่อ

    การทำบุญบริจาคโลงศพ หรือทำบุญให้กับศพที่ไร้ญาติ มีความเชื่อกันว่าเป็นมหากุศลอย่างยิ่ง เป็นเสมือนการสะเดาะห์เคราะห์ต่อดวงชะตา ให้พ้นจากภัยพิบัติต่างๆ หรือให้ภัยพิบัตินั้น ๆ เบาบางลง และยังเป็นการทำบุญให้กับเจ้ากรรมนายเวรอีกด้วย เพื่อเป็นการสานต่อเจตนาของหลวงปู่ไต่ฮงกงโจวซือ จึงมีการทำบุญบริจาคโลงศพกันอยู่เป็นเนืองนิตย์ และเพื่อเป็นการสักการบูชาท่าน ให้ปฎิบัติสืบต่อกันนั่นเอง

    ***เหรียญนี้ออกแบบสองหน้า ลายเส้นคมตามจีวร ให้บูชา 500 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6462.JPG
      SAM_6462.JPG
      ขนาดไฟล์:
      104.2 KB
      เปิดดู:
      164
    • SAM_6463.JPG
      SAM_6463.JPG
      ขนาดไฟล์:
      109.8 KB
      เปิดดู:
      136
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2015
  7. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    มีสมาชิกพีเอมมาจองครับ:cool::cool::cool::cool:
     
  8. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่53 สมเด็จองค์ปฐม บรมมหาจักรพรรดิ พระพุทธเจ้าพระองค์แรก ปางจักรพรรดิ์ ปี48 (ขนาดคล้องคอ)

    (จัดสร้างโดย นพ.อานุภาพ สหภิญโญชนม์)
    เพื่อให้โครงการสร้างพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมบรมพุทธมหาจักรพรรดิหน้าตัก 16" ฐานกว้าง 36” สูง 60”
    เพื่อนำไปประดิษฐานยังวัด ต่างๆทั้ง 5 ภาคของประเทศ ซึ่งในขณะนี้ยังขาดเงินทุนในการจัดสร้างอีกเป็นจำนวนมาก
    ดังนั้น เพื่อให้โครงการ ดังกล่าวสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จึงได้สร้างองค์จำลองของพระประธานน้อย
    สมเด็จองค์ปฐมบรมมหาจักรพรรดิขึ้นมา ขนาดประมาณ 2 ซม. สูง 4.5 ซม. ด้วยชนวนมวลสารต่างๆ
    และภายในองค์พระยังได้บรรจุสิ่งของที่เป็น มงคลต่างๆ
    อีกมากมาย แก่ผู้ที่ได้ร่วมทำบุญเพื่อให้เป็นพุทธานุสสติอันเป็นหนึ่งในกรรมฐาน 40 กอง
    ด้วยเหตุ นี้ทางคณะผู้สร้างจึงได้ทำการเททองหล่อพระรูปจำลองของสมเด็จองค์ปฐมบรมพุทธ มหาจักรพรรดิขนาดห้อยคอขึ้น
    เพื่อหาทุนในการสร้างพระประธานน้อยดังกล่าว
    (ปัจจุบันพระพุทธรูปบูชาหน้าตัก16นิ้วเสร็จแล้ว และไปประดิษฐานตามวัดต่างๆจนครบหมดแล้ว)
    (เหลือเพียงพระสมเด็จองค์ปฐม ขนาดห้อยคอ ที่เหลือจากการบอกบุญในครั้งนั้น อยู่จำนวนหนึ่ง)

    วัตถุประสงค์
    1. เพื่อเป็นพุทธานุสสติและเป็นมงคลอันอุดมแก่ผู้ได้ทัศนาและกราบไหว้บูชา
    2. เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา มาตาปิตุโรบูชา อาจาริยบูชา
    อันมีพระพุทธเจ้าสมเด็จองค์ปฐมเป็นประธาน หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมญาณ(หลวงพ่อฤาษีฯ) วัดท่าซุง
    หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด และหลวงปู่ดู่ วัดสะแกเป็นที่สุด

    ชนวนหล่อพระ
    1.ชนวน หล่อสมเด็จองค์ปฐมหลายสำนักหลาย สถานที่เช่น
    -ชนวนหล่อสมเด็จองค์ปฐม (องค์ประธานที่วิหารแก้ว) วัดท่าซุง อุทัยธานี
    -ชนวนหล่อพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐมบรม มหาจักรพรรดิหน้าตัก 9 นิ้ว ถวาย 108 วัด
    -ชนวนหล่อองค์ปฐมของโครงการโพธิจิต
    -ชนวนหล่อองค์ปฐมของสำนักปฎิบัติธรรมโคตร เศรษฐี แม่ชีประทุม โชติอนันต์
    -ชนวนหล่อองค์ปฐมของวัดใหม่เพ็ชรรัตน์ สุพรรณบุรี
    2.ชนวนหล่อพระจากที่ต่างๆ เช่น ชนวนหล่อหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ของหลวงปู่สอ วัดป่าหนองแสง ยโสธร
    ชนวนหล่อพระของคุณสุธันย์ สุนทรเสวี
    3.ตะกรุดเก่าหลายสำนัก เช่น ตะกรุดมหาจักรพรรดิ หลวงปู่ดู่ วัดสะแก,ตะกรุดหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ฯลฯ 4.ห่วงเหรียญ และเหรียญครูบาอาจารย์ต่างๆ จำนวนมาก
    5.แผ่นยันต์จากครูบาอาจารย์ต่างๆ กว่า ๑๕๐ รูปทั่วประเทศ

    ภายในองค์พระได้รับการบรรจุมวลสารต่างๆ ดังนี้
    1.พระบรมสารีริกธาตุ(ลป.เหรียญ วรลาโภ ได้เมตตามอบให้)
    2.ผงลูกแก้วมณีนพรัตน์ของหลวงปู่ ดู่ วัดสะแก
    3.ทรายคำจากวัดพระธาตุจอมทอง จ.เชียงใหม่
    4.พระธาตุสีวลี
    5.ผงแร่โคตรเศรษฐีของแม่ชีประทุม โชติอนันต์
    6.ผงหินพระธาตุเขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์
    7.พระธาตุ ๕๐๐ อรหันต์
    8.ผงจิตรลดา และผงธูปกรรมฐาน
    (ได้รับเมตตาจากองค์สมเด็จพระญาณ สังวร สมเด็จพระสังฆราช เมตตาประทานให้)
    9.แป้งเสกหลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีเจริญสุข,หลวงพ่อดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต,
    ครูบาอิน อินโท วัดทุ่งปุย เชียงใหม่

    พิธีเททอง
    เมื่อ วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 2548 โดยพระอาจารย์ปรินทร์ วัดเขาแร่ สุโขทัย เป็นประธานเททอง

    พุทธาภิเษก (7 ครั้ง)

    1.ในงานเททองหล่อรูปเหมือนพระ ครูขันตยา ภรณ์(ครูบาขัน) สุสานไตรลักษณ์ เชียงใหม่ เมื่อ 28 เมษายน 2548
    2.ณ วัดกษัตราธิราช อยุธยา เมื่อ 4 มิถุนายน 2548 โดยคณาจารย์ดังนี้
    - หลวงปู่ทิม วัดพระขาว อยุธยา
    - หลวงปู่เพิ่ม วัดป้อมแก้ว อยุธยา
    - หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูน อยุธยา
    - หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม อยุธยา
    - หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม อยุธยา
    - หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา
    - หลวงพ่อเสงี่ยม อยุธยา
    3.ในงานเททองหล่อ พระศรีอาริย์ ณ วัดหน้าพระเมรุ อยุธยา เมื่อ 11 กรกฎาคม 2548
    4.พิธีเทวาภิเษกองค์จตุคามรามเทพ ณ วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา โดย
    - หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา
    - พระอาจารย์ธรรมโชติ วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา
    5.พิธีเททองหล่อสมเด็จองค์ปฐมทองคำ 5 นิ้ว เพื่อนำไปประดิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์ศรีเวียงชัย
    (ชะเวดากองจำลอง) วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน เมื่อ 12 สิงหาคม 2548 โดย
    - ครูบาวิจิตร วัดกุสเตอร์โกล์ ตาก
    - หลวงเตี่ยศุภรัตน์ วัดใหม่
    6.เมื่อ 1 กรกฎาคม 2550 ในงานเททองหล่อ สมเด็จองค์ปฐม ปางมหาจักรพรรดิ 16 นิ้ว
    ทูลเกล้าถวายในหลวง โดย
    - หลวงปู่สรวง วัดป่าศรีฐานใน ยโสธร
    - หลวงพ่ออำนวย วัดบรมนิวาส กรุงเทพ
    - หลวงพ่อสุจินดา วัดหนองน้ำเขียว จ.ตาก
    - พระอาจารย์ปรินทร์ วัดเขาแร่ สุโขทัย
    7.ณ สำนักสงฆ์ธรรมรักษ์ กรุงเทพ เมื่อ 17 กรกฎาคม 2550 โดย
    - หลวงปู่ทิม วัดพระขาว อยุธยา
    - หลวงพ่ออำนวย วัดบรมนิวาส กรุงเทพ
    - พระครูปลัดธวัชชัย วัดพระนอนจักรสีห์ สิงห์บุรี

    อธิษฐานจิตเดี่ยว โดย
    1.พระอาจารย์ปรินทร์ วัดเขาแร่ สุโขทัย
    2.หลวง ปู่ สีโรจน์ วัดประดู่ทรงธรรม อยุธยา
    3.ครูบาคำเป็ง ถ้ำอุทยาน กำแพงเพชร
    4.ครูบาอริยชาติ วัดพระธาตุดงสีมา เชียงราย
    5.หลวงตาม้า วัดพุทธพรหมปัญโญ เชียงใหม่
    6.อาจารย์ ศุภรัตน์ แสงจันทร์ เมตตาอัญเชิญพระบารมีพระเข้าสถิตในพระเครื่องทุกองค์
    7.หลวงปู่ตัน วัดบึงพลาราม หนองคาย
    8.หลวงพ่อวิชัย วัดถ้ำผาจม เชียงราย
    9.หลวงปู่ธีร วัดจันทราวาส บุรีรัมย์
    10.หลวงปู่จันทร์แรม วัดเกาะแก้วธุดงค์สถาน บุรีรัมย์
    11.หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด บุรีรัมย์
    12.พระอาจารย์มานิต วัดเงิน ตลิ่งชัน

    เหตุมหัศจรรย์ วันเททอง
    ได้เกิด ปาฎิหารย์มีฝนตกปรอยๆ มาเป็นช่วงๆ ในระหว่างทำพิธี
    และได้เกิดปาฎิหารย์พระบรมสารีริกธาตุ ได้เสด็จมาในขณะกำลังทำพิธีบวงสรวง
    โดยเสด็จลงมาประทับลอยอยู่ในขันน้ำมนต์เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจ ยิ่งนัก ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมในพิธี
    ต่างก็ได้รับแจกพระบรมสารีริกธาตุ ที่เสด็จมาโดยถ้วนหน้ากัน
    คาถาอาราธนา(ท่านมาบอก) "นะโม ปฐม สัมมาสัมพุทธะ สัพพะพุทโธ นะโมพุทธายะ"

    พุทธลักษณะ
    เป็นพระ พุทธรูปปางประทานพร ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อลังการ
    ตามแบบอย่างพระเจ้าบรมมหาจักรพรรดิราช
    ประทับนั่งบนฐาน บัวภายใต้ซุ้มเรือนแก้ว
    พระหัตถ์ซ้าย ถือลูกแก้วอยู่บนดอกบัว
    พระหัตถ์ขวา ยกขึ้นประทานพร
    มีรัศมีประภามณฑลโดยรอบพระเศียร
    ด้านหลังประภามณฑลเป็นรัตนจักร ซึ่งมีพระรัตนะทั้ง 3 อยู่ภายใน
    เปรียบเสมือนพุทธจักร แห่งพระรัตนตรัยที่จะหมุนแผ่ไพศาลทำลายซึ่งอวิชชา
    หนี่งองค์จะมี 3 ส่วนเชื่อมประกอบเป็นองค์พระ
    คือ องค์พระ,ซุ้มเรือนแก้ว,ฐาน เชื่อมติดกัน
    ใต้ฐานจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมวลสารวิเศษต่างๆ แล้วเชื่อมปิดด้วยตะกั่ว
    ใต้ฐานเป็นอักขระ ลายมือของครูบาชัยยะวงศา

    **จำนวนในจัดสร้าง 1000 องค์ เนื้อทองผสมผิวไฟ*สภาพสวย ให้บูชา 1500 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6473.JPG
      SAM_6473.JPG
      ขนาดไฟล์:
      72 KB
      เปิดดู:
      174
    • SAM_6476.JPG
      SAM_6476.JPG
      ขนาดไฟล์:
      77.6 KB
      เปิดดู:
      149
    • SAM_6479.JPG
      SAM_6479.JPG
      ขนาดไฟล์:
      66.6 KB
      เปิดดู:
      162
  9. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่54 พระเนื้อดิน กรุจังหวัดอยุธยา ไม่ทราบกรุ แท้ดูง่าย

    **องค์นี้เอาไว้ศึกษา เนื้อหา ดิน รายละเอียดต่างๆ ผิวดินได้ครับ ซื้อไว้เพื่อศึกษา เป็นองค์ครูที่ดีเยี่ยม เหมาะกับการดูพระกรุทางจังหวัดอยุธยาและบ้านกร่างครับ ให้บูชา 400 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 77.jpg
      77.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74.6 KB
      เปิดดู:
      209
    • 78.jpg
      78.jpg
      ขนาดไฟล์:
      70.2 KB
      เปิดดู:
      139
  10. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่55 เหรียญในหลวงเสมา ครบ 3 รอบ มหาราช ปี 06 สวยเดิม ปลุกเสก พิธีใหญ่ ปี พ.ศ.ลึก ทรงคุณค่า น่าบูชาและสะสม**คุณsupachaipnuจองครับ**

    เหรียญเสมา 3 รอบมหาราช ปี 06 เหรียญสวยเดิม เหรียญปลุกเสก พิธีใหญ่ ปี พ.ศ.ลึก ทรงคุณค่า น่าบูชาและสะสม สุดยอดพิธีที่มีเกจิอาจารย์ทั่วประเทศปลุกเสก!! ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งแห่งยุค ประวัติการสร้าง.... เหรียญอนุสรณ์มหาราช เหรียญเสมา 3 รอบ รัชกาลที่ 9 มีคนอีกจำนวนมากที่ไม่รู้ว่า เหรียญนี้ไม่ใช่แค่เป็นเหรียญที่ระลึก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ 3 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2506 เท่านั้น แท้จริงเป็นเหรียญที่ได้ผ่านพิธีการปลุกเสกอย่างยิ่งใหญ่ ณ อุโบสถวัดราชบพิธ ถึง 2 วาระด้วยกัน โดยพระคณาจารย์ที่โด่งดังในปี 2506 ซึ่งพระเครื่องของท่านเหล่านั้น ปัจจุบันเราเล่นหากันเป็นแสนเป็นล้าน เช่น อาจารย์ทิม วัดช้างไห้ ผู้สร้างหลวงพ่อทวดอันลือลั่น หลวงพ่อเงินวัดดอนยายหอม หลวงพ่อเต๋ พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ฯลฯ ใครที่รู้แล้วก็ถือเป็นการทบทวนความจำนะครับ ส่วนใครที่ยังไม่รู้ ...เมื่ออ่านพิธีการปลุกเสกแล้วก็รีบหานะครับ ใช้คุ้มครองตนเองเหมือนพระเครื่อง..แถมเป็นมงคลที่ยิ่งใหญ่กับชีวิตอีกด้วย เหรียญอนุสรณ์มหาราช สร้างในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเฉลิมพระชนม์พรรษาครบ 3 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2506 เหรียญเสมา (รูปอาร์มหรือโล่ห์) ขนาด 1.8 X 1.6 ซ.ม. เป็นเนื้ออัลปาก้า (เนื้อเงินและทองคำก็มี) ผ่านพิธีปลุกเสกใหญ่ ณ อุโบสถวัดราชบพิธ 2 วาระด้วยกัน ดังนี้ 1. ครั้งแรกวันที่ 29-30 พ.ย.2506 2. และระหว่างวันที่ 5-6-7 เมษายน 2507 รายนามพระคณาจารย์ที่ได้รับอาราธนามานั่งปรกบริกรรม วันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2506 ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธ (พิธีครั้งที่ 1) 1. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา 2. หลวงพ่อพระครูโพธิสารประสาธน์ วัดโพธิสัมพันธ์ บางละมุง ชลบุรี 3. หลวงพ่อพระวรพจรน์ปัญญาจารย์ วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี 4. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน แม่ทะ ลำปาง 5. หลวงพ่อพระราชหระสิทธิคุณ วัดราชธานี สุโขทัย 6. หลวงพ่อเงิน (พระราชธรรมาภรณ์ )วัดดอนยายหอม นครปฐม 7. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม 8. พ่อท่านคล้าย วัดสวนขวัญ ฉวาง นครศรีธรรมราช 9. พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ ปัตตานี รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ 5 เมษายน 2507 1. พระสุเมธมุนี เจ้าคณะวัดบางหลวง ปทุมธานี 2. พระสุนทรศีลสมาจาร (หลวงพ่อผล) วัดหนัง ธนบุรี 3. พระครูปลัดบุญรอด วัดประดู่พัฒนาราม นครศรีธรรมราช 4. หลวงพ่อทบ วัดสว่างอรุณ ชนแดน เพชรบูรณ์ 5. พระครูนนทกิจวิมล ( หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี 6. หลวงพ่อบัว วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี 7. พระครูพุทธมนต์วราจารย์ (พระปลัดสุพจน์) วัดสุทัศน์ พระนคร 8. พระครูบวรธรรมกิจ (หลวงปู่เทียน) วัดโบสถ์เชียงราก ปทุมธานี 9. หลวงพ่อหอม วัดขากหมาก ระยอง รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ 6 เมษายน 2507 1. พระครูพิทักษ์วิการกิจ (หลวงพ่อสา) วัดราชนัดดา พระนคร 2. พระครูสถาพรพุทธมนต์(หลวงพ่อสำเนียง) วัดเวฬุวนาราม บางเลน นครปฐม 3. พระครูธรรมิตรนุรักษ์ วัดเขาหลัก ท่าศาลา นครศรีธรรมราช 4. พระครูรักขิตวันมุนี (หลวงพ่อถีร์) วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี 5. พระเทพสังวรวิมล (หลวงพ่อเจียง) วัดเจริญสุขาราม สมุทรสงคราม 6. หลวงพ่อสำเภา วัดหงส์รัตนาราม บางกอกใหญ่ ธนบุรี 7. พระครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก 8. พระมุจรินทร์โมลี (หลวงปู่ดำ) วัดมุจรินทร์ หนองจิก ปัตตานี รายนามพระคณาจารย์ที่ปลุกเสกวันที่ 7 เมษายน 2507 1. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก บางไทร อยุธยา 2. พระครูโพธิสารประสาธน์ (อาจารย์บุญมี) วัดโพธิสัมพันธ์ ชลบุรี 3. พระวราพจน์ปัญญาจารย์ (หลวงพ่อวัดป่า) วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี 4. หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน แม่ทะ ลำปาง 5. พระราชประสิทธิคุณ (หลวงพ่อทิม) วัดราชธานี สุโขทัย 6. พระราชธรรมาภรณ์ (หลวงพ่อเงิน) วัดดอนยายหอม นครปฐม 7. หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม นครปฐม 8. พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อเมี้ยน) วัดพระเชตุพน พระนคร 9. พระครูวิสัยโสภณ (อาจารย์ทิม) วัดช้างไห้ โคกโพธิ์ ปัตตานี การเริ่มพิธีนั้น พระเจริญคาถาภารวาณจะ ตั้งแต่เวลา 15.00 น.ของแต่ละวัน พระคณาจารย์ทุกรูปจะผลัดเปลี่ยนกันนั่งปรกบริกรรมกันตลอดเวลา จนตลอดรุ่งของทุกวัน จนถึงเช้าตรู่วันที่ 8 เมษายน 2507 เวลา 6.00 น. พระอาจารย์ที่นั่งปรกวันที่สามทั้งหมดทุกรูปประชุมพร้อมกันปลุกเสกเงียบเป็นเวลา 30 นาที พอครบเวลาตามที่กำหนด เจ้าหน้าที่ลั่นฆ้องชัย พราหมณ์ เป่าสังข์แกว่งบัณเฑาะว์ ปี่พาทย์ทำเพลง 3 ลา พระคณาจารย์ทุกรูปประพรมน้ำพุทธมนต์เหรียญเสมาทั้งหมดที่เข้าพิธีเสร็จแล้วเจิม พระพิธีธรรมเจริญคาถาดับเทียนชัย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ดับเทียนชัย พราหมณ์เริ่มพิธีเบิกแว่นเวียนเทียนสมโภชเป็นเสร็จการพิธี ##### พระดี พิธีใหญ่ ปี พ.ศ.ลึก นับเป็นเหรียญอันทรงคุณค่า แห่งแผ่นดินและของชาติ อันนำแบบพระพักตร์หันข้างของพ่อหลวงของเรา มาเป็นต้นแบบ บนเหรียญรุ่นนี้ครับ #####

    **เหรียญนี้พิเศษ Royal mint (นิยม) ให้บูชา450บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6480.JPG
      SAM_6480.JPG
      ขนาดไฟล์:
      58.1 KB
      เปิดดู:
      181
    • SAM_6481.JPG
      SAM_6481.JPG
      ขนาดไฟล์:
      48.8 KB
      เปิดดู:
      180
    • 654662-3.JPG
      654662-3.JPG
      ขนาดไฟล์:
      30.2 KB
      เปิดดู:
      541
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2015
  11. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่56 เหรียญนั่งพาน หลวงพ่อมีวัดมารวิชัย จ.อยุธยา**มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**

    ประวัติ หลวงพ่อมี เขมธัมโม วัดมารวิชัย จ. อยุธยา

    ท่านพระครูเกษมคณาภิบาล หรือหลวงพ่อมี เขมธัมโม มีชื่อเดิมเต็ม ๆ ว่า “บุญมี” ถือกำเนิดในตระกูล “ธนสนธิ์” ชื่อของท่านโยมบิดามารดาสมมตินามขึ้นเพื่อเรียกขาน อันมีความหมายถึง “การมีกุศลแห่งความสุข ที่ร่ำรวยมีอันจะกินมิได้ขาด” มาปัจจุบัน ลูกศิษย์ลูกหาต่างเรียกนามองค์ท่านแบบสั้น ๆ ว่า “หลวงพ่อมี” จนติดปากกันมาจวบปัจจุบัน ถือเป็นมงคลนามอย่างใหญ่หลวง เมื่อองค์ท่านเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ บำเพ็ญบารมีธรรมตามรอยพระบาทองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนนามกระเดื่องประกาศกิตติคุณให้สานุศิษย์และชนชาวไทยทั่วแคว้นได้ประจักษ์โดยถ้วนทั่วกัน

    โยมบิดานาม นายโหมด
    โยมมารดานาม นางพุฒ

    หลวงพ่อมี ถือกำเนิดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2454 ตรงกับวันจันทร์แรม 2 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน ณ หมู่บ้านขนมจีน ข้างวัดมารวิชัยตอนใต้ หลวงพ่อมีเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้องท้องเดียวกัน 5 คนดังนี้

    1. หมอแบน
    2. นายจุ่น
    3. นางสำลี
    4. หลวงพ่อมี เขมธัมโม
    5. นายสำแล

    เมื่อปฐมวัย


    ในวัยเด็ก หลวงพ่อมี เป็นเด็กที่อ่อนแอและขี้โรคมาก ท่านมีโรคประจำตัวเจ็บป่วยออด ๆ แอด ๆ อยู่เสมอ เรียกว่า สามวันดีสี่วันไข้ไม่ว่าอากาศจะร้อนนิดหนาวหน่อยก็ป่วย ถ้าอากาศร้อนขึ้นก็จะเกิดอาการชักขนาดถูกแมวหรือสุนัขชนถูกตัวเท่านั้นก็ชักแล้ว ดังนั้น หลวงพ่อมี จึงเป็นเด็กที่มีรูปร่างผอมโซ แบบเด็กพุงโรก้นปอด เหมือนเป็นตาลขโมยไม่มีผิด ลักษณะเซื่อง ๆ ซึม ๆ ขี้อาย ไม่ช่างพูดและไม่เล่นหัวเหมือนกับเด็กชาวบ้านโดยทั่วไป คล้าย ๆ กับเป็นเสมือนปัญญาอ่อน เหล่านี้คือบุคลิกของหลวงพ่อมีในวัยเด็ก ซึ่งปราศจากวี่แววแห่งความรุ่งโรจน์ของชีวิตในอนาคต ไม่ว่าจะมองไปในแง่ใด ตามสายตาที่แสดงความเป็นห่วงของญาติผู้ใหญ่และชาวบ้านข้างเคียงทั้งปวง


    คุณสมบัติพิเศษ


    ธรรมชาติสร้างสรรค์มนุษย์ให้เกิดมา ถ้าจะว่ากันแล้วก็ต้องเป็นไปตามกฎแห่งกรรม มีดีก็มีชั่ว มีขาดต้องมีเกิน เหมือนดังตัวอย่างในวัยเด็กของหลวงพ่อมี ที่ไม่มีผู้ใดสามารถคาดการณ์อนาคตของท่านว่าจะเป็นพระอาจารย์เรืองวิชาที่มีชื่อเสียงโด่งดังได้กล่าวคือ หลวงพ่อมี มีคุณสมบัติพิเศษที่ผิดแปลกไปจากเด็กชาวบ้านธรรมดา ๆ ตรงที่ท่านเป็นเด็กที่มีใจบุญสุนทาน ชอบติดตามบิดามารดาเข้าวัด ถ้าถูกห้ามปรามไม่ให้ตามไปด้วยจะต้องร้องไห้คร่ำครวญจนถึงกับชักตาตั้ง ซึ่งก็เป็นเรื่องอัศจรรย์อยู่ไม่น้อยที่เด็กเซื่องซึมคล้ายปัญญาอ่อนจะมีความกระตือรือร้นในการไปวัด อันเป็นการส่อแววการเป็นเกจิอาจารย์ของหลวงพ่อมีมาแล้วตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ดังนั้น เมื่อพี่ชายคนโต คือ หมอแบนมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดมารวิชัย หลวงพ่อมี ขณะนั้นมีอายุเพียง 12 ปี จึงขอบิดามารดาติดตามพระพี่ชายมาอยู่ด้วยทันที (ภายหลัง พระพี่ชายลาสิกขาแล้ว ได้เป็นแพทย์ประจำตำบล ชาวบ้านเรียกท่านว่า “หมอแบน”) ในตอนแรกบรรดาญาติผู้ใหญ่ไม่มีผู้ใดยอมให้หลวงพ่อมีที่มีลักษณะปัญญาอ่อนไปอยู่ด้วย เพราะเกรงจะเป็นภาระให้กับพระพี่ชายที่เพิ่งอุปสมบทใหม่ ๆ
    หลวงพ่อมีจึงร้องไห้และเกิดชักขึ้น จนทุกคนต้องตามใจให้ไปอยู่กับพระแบนที่วัดมารวิชัย ตั้งแต่อายุเพียง 12 ปี บัดนั้นเป็นต้นมา

    สติปัญญากลับปราดเปรื่อง


    เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์มากจริง ๆ ตั้งแต่หลวงพ่อมีมาอยู่วัดมารวิชัยแล้ว ลักษณะอาการที่โง่งมประดุจเด็กปัญญาอ่อนและขี้โรค กลับกลายเป็นตรงกันข้าม อาการขี้โรคต่าง ๆ หายดังปลิดทิ้งไม่เคยมีอาการชักอีกเลย สติปัญญาที่ใคร ๆ มองกันว่าทึบ ก็กลับปราดเปรื่องสามารถศึกษาอักขระสมัย ทั้งภาษาไทยและภาษาขอมกับหลวงพี่แบนและได้รับการแนะนำสั่งสอนจากครูเยื้อน ซึ่งเป็นบุตรของอา จึงมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกัน จนหลวงพ่อมีสามารถอ่านออกเขียนได้อย่างรวดเร็ว นั่นเป็นที่แปลกใจของญาติสนิททั้งปวง และเริ่มมองเห็นแววแห่งอัจฉริยะฉายขึ้นในตัวเด็กชายบุญมีคนนี้

    วัยหนุ่มอันบริสุทธิ์


    ชีวิตในวัยเด็กจนถึงรุ่นหนุ่มก่อนอุปสมบทของหลวงพ่อมี ก็เป็นไปเหมือนกับชาวบ้านธรรมดา เพราะครอบครัวยากจนและมีอาชีพเป็นชาวนา ต้องคอยช่วยพ่อแม่ทำไร่ไถนาตามประสาไปวัน ๆ โดยไม่มีการผาดโผนอันน่าตื่นเต้นใด ๆ
    เนื่องจากท่านเป็นคนใจบุญชอบทำทานเข้าวัดวาฟังเทศน์ฟังธรรมแล้ว เหล้ายาปาปิ้ง การพนันขันต่อ หรือการเที่ยวเตร่ต่าง ๆ เยี่ยงหนุ่มลูกทุ่งทั้งหลายนั้นท่านไม่เคยผ่านมาก่อนเลยทั้งสิ้น จากการที่หลวงพ่อมี มีความขยันขันแข็งในการทำงาน จึงมีหญิงมาชอบพอกับท่านคนหนึ่ง แต่ติดที่ท่านเป็นคนขี้อาย ไม่ช่างพูดประกอบกับหญิงนั้นเป็นคนที่งามจึงไม่เคยชวนกันไปเที่ยวไหน 2 ต่อ 2 เหมือนหนุ่มสาวคู่อื่น ๆ เลย ภายหลังเมื่อท่านมาอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ผัดผ่อนการหมั้นหมายเรื่อยมา สตรีนั้นเห็นว่า ท่านไม่ถึงแน่แล้วก็เลยไม่ได้ติดต่อกันอีก ปัจจุบันก็ยังมีชีวิตอยู่ แต่ยังครองตัวเป็นโสดมาถึงบัดนี้ นับว่า สตรีท่านนี้เป็นหญิงที่มีความมั่นคงในความรักอันน่ายกย่องสรรเสริญยิ่งทีเดียว


    เริ่มเล่นแร่


    ในวัยเด็กนี่เองที่องค์ท่านหลวงพ่อมี เขมธัมโม ได้ไปเยี่ยมหลวงน้าที่วัดบ้านพร้าวนอก ปทุมธานี โดยติดตามโยมคุณแม่ไป หลวงน้าคือ “หลวงพ่อเขียน โชติสโร” ในเวลานั้นกำลังเล่นแร่แปรธาตุ (เหมือนกับหลวงปู่จัน วัดโมลี จังหวัดนนทบุรี) ถือเป็น โอกาสของเด็กชายบุญมี ที่ได้สัมผัสกับสายวิชาเร้นลับนี้ เป็นการหล่อหลอมธาตุต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด โดยมีหน้าที่เติมฟืนช่วยสูบลมให้ไฟร้อนจัดตลอดเวลา ถือว่าเป็นการเริ่มการศึกษาด้วยตนเองในสายวิชา “เล่นแร่แปรธาตุ” มาตั้งแต่บัดนั้น หลวงพ่อมีเคยเล่าว่า “เหนื่อยมากเพราะกว่าจะหลอมธาตุแปรธาตุได้ หลวงพ่อเขียนท่านต้องเหงื่อไหลไคลย้อย ร่างกายสกปรกไปหมด ถูกรมด้วยควันไฟและเถ้าถ่านอยู่เป็นเวลานานกว่าจะเสร็จ” “ส่วนวิชาทำตะกั่วให้เป็นเงิน ทำเงินให้เป็นทองคำนั้น หลวงพ่อเขียนท่านหวงมาก ไม่ยอมถ่ายทอดให้ใครง่าย ๆ ในสมัยนั้น เป็นที่เล่าลือกันแพร่หลาย” หลวงพ่อมีท่านเคยถามถึงการที่อยากจะศึกษาสายวิชานี้ แต่หลวงน้าหลวงพ่อเขียน กล่าวว่า “จะสอนให้เมื่อบวชเป็นพระ” ตั้งแต่วันนั้นเด็กชายมีก็เฝ้ารอเพื่อถึงอายุเวลาอุปสมบท


    บรรพชาอุปสมบท


    หลวงพ่อมี เขมธัมโม มีใจฝักใฝ่ใคร่จะบรรพชาเป็นสามเณรมานานแล้ว แต่ติดขัดที่มีภาระช่วยโยมบิดา มารดา ทำไร่ไถนา จึงต้องคอยให้มีอายุครบบวชเสียก่อนจึงจะได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุตามประเพณีนิยม ซึ่งบรรดาชายทั้งหลายกระทำกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ดังนั้นเมื่อหลวงพ่อมีอายุ 21 ปี อายุครบเกณฑ์ทหารต้องถูกคัดเลือกเข้าประจำการเป็นทหารเพื่อรับใช้ชาติ ท่านจึงตั้งใจไว้ว่า ถ้าไม่ถูกทหารจะบวชทดแทนคุณพ่อแม่ทันที แล้วหลวงพ่อมีก็สมความปรารถนาที่ตั้งใจไว้ เมื่อท่านจับได้สลากใบดำไม่ต้องเข้ารับราชการทหาร จึงได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุสมดังใจ ณ พัทธสีมา วัดมารวิชัย ในวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับ วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 โดยมีพระครูอดุลวุฒิกร หลวงพ่อพิน จันทโชโต วัดช่างเหล็ก อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์

    หลวงพ่อเขียน โชติสโร วัดบ้านพร้าวนอก อ.สามโคก จ.ปทุมธานี ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลวงน้า คือเป็นน้องโยม มารดาของหลวงพ่อมี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อเกลี้ยง อินทโชติ วัดมารวิชัย ซึ่งภายหลังไปเป็นเจ้าอาวาส วัดสามตุ่ม ในเขตอำเภอเสนา เป็นพระกรรมวาจาจารย์แทน หลวงพ่อคล้าย เจ้าอาวาสวัดมารวิชัยขณะนั้น ซึ่งเกิดอาพาธพอดี

    หลวงพ่อมี ได้รับฉายาเป็นภาษาบาลี จากหลวงพ่อพินผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ว่า “เขมธัมโม” แปลว่า “ผู้มีธัมมะอันเกษม”
    การศึกษาเล่าเรียนเบื้องต้นขององค์ท่านหลวงพ่อมี ท่านได้เรียนรู้จาก หลวงพี่แบน ซึ่งเป็นพระพี่ชาย ต่อมาได้เข้าศึกษาทั้งภาษาไทยและ ภาษาขอมกับครูเยื้อน บุตรของอา จนพอจะมีพื้นฐานอ่านออกเขียนได้ หลังจากนั้นท่านจึงศึกษาด้วยตนเอง และเมื่อเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ จึงไปศึกษาพระธรรมวินัยกับหลวงปู่คล้าย พลายแก้ว ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดมารวิชัย ในขณะนั้นถือเป็นรากฐานอันมั่นคงในการสืบสานพุทธศาสนาต่อไป “ในช่วงที่อาตมาบวชอยู่ที่วัดมารวิชัยนั้น เป็นจังหวะที่ได้ศึกษาเล่าเรียนในทางปริยัติธรรมด้วย เพราะขณะนั้นกำลังเจริญอย่างเต็มที่”


    ศึกษาพระธรรมวินัย


    เวลาส่วนใหญ่หลวงพ่อมีท่านจะศึกษาพระปริยัติธรรมด้วยตนเอง ไม่ได้ไปศึกษาเล่าเรียนจากสำนักใด ๆ แต่ท่านสอบได้นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก ไล่มาเป็นลำดับ แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญา ผสานความมีมานะพากเพียรที่มีอยู่ในองค์ท่าน ในภายหลังเมื่อท่านอายุมากขึ้นแล้ว ได้เข้าศึกษาหาความรู้ในโรงเรียนพระสังฆาธิการส่วนภูมิภาค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนสำเร็จการศึกษารุ่นที่ 1 ปี พ.ศ. 2513 หลวงพ่อมี นำความรู้ทางด้านพระปริยัติธรรมที่ท่านร่ำเรียนมาสอนพระภิกษุสามเณรภายในวัดมารวิชัยตั้งแต่ท่านยังไม่ได้เป็นเจ้าอาวาส และเมื่อเป็นเจ้าอาวาสแล้วก็ทำการสอนนักธรรมด้วยตัวของท่านเอง ในระหว่างเข้าพรรษาตลอด 3 เดือน จนพระภิกษุสามเณรทั้งหลายมีความรู้ความสามารถสอบเปรียญธรรมขั้นสูงได้ปีละหลายสิบรูป จวบจนปัจจุบันนี้ หลวงพ่อมียังคงทำการสอนนักธรรมด้วยตนเองทุกปี โดยไม่ได้นิมนต์พระภิกษุจากสำนักอื่น ๆ มาทำการสอนเลย


    ผลงานการก่อสร้าง


    จากการที่หลวงพ่อมี ได้รับการอบรมบ่มจิตจากหลวงพ่อปานในการปฏิบัติอสุภกรรมฐาน ยกเอานิมิตมาพิจารณาจนกลายมาเป็นวิปัสสนาญาณ บังเกิดมี ศีล สมาธิ ปัญญา รู้แจ้งเห็นจริงในไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกข์ขัง ความเป็นทุกข์และอนัตตา ความไม่ใช่ตัวตน มีอารมณ์จิตเบื่อหน่ายสภาพความเป็นอยู่ของร่างกายตนเองและผู้อื่น จิตใจจึงระลึกนึกถึง พระนิพพานเป็นปกติ จนสามารถบรรเทาอารมณ์รัก โลภ โกรธ และหลง หรือความพอใจใด ๆ ทั้งสิ้นนั้น แทบจะถูกขจัดออกไปจากจิตใจของหลวงพ่อมี อย่างสิ้นเชิง

    เมื่อหลวงพ่อมี ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดมารวิชัย ท่านจึงสามารถตัดใจได้ทุกอย่าง โดยมีสัญญากับพระลูกวัดอีก 6 คน คือ พระอาจารย์ครอบ, พระอาจารย์สาย ซึ่งเป็นพระอาวุโส และพระเย็น, พระเสริฐ, พระหนอม และพระโกยว่า “พระทุกองค์ห้ามสึก จนกว่าจะตายหรือสร้างอุโบสถให้สำเร็จเสียก่อน จึงสึกได้” พระภิกษุผู้รักษาสัจจะทั้ง 7 องค์ ต่างช่วยกันบูรณะอุโบสถวัดมารวิชัย จนเสร็จและยังช่วยทำนุบำรุงจนมีความเจริญถาวรสืบต่อมา แต่ด้วยเหตุที่เจ้าอาวาสคือหลวงพ่อมี เป็นพระอาจารย์ผู้ถือสมถะทั้งยังมักน้อย บรรดาเสนาสนะต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นส่วนใหญ่จะสร้างเฉพาะสิ่งที่จำเป็นจริง ๆ หรือสร้างแบบง่าย ๆ อย่างพออาศัยอยู่ได้เท่านั้น และเมื่อเกิดชำรุดทรุดโทรม ก็ทำการบูรณะซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้สร้างให้ถาวรใหญ่โตและสวยงามเหมือนกับวัดอื่น ๆ ทั่วไป

    เพราะเหตุที่หลวงพ่อมีเป็นพระสมถะ รักสันโดษและมักน้อยนั่นเอง อุโบสถวัดมารวิชัยได้รับการบูรณะจนพระภิกษุสงฆ์ สามารถประกอบสังฆกรรมได้แล้ว ต่อมาจึงได้สร้างหน้าบันเพิ่มเติม พร้อมกับทำพิธียกช่อฟ้าขึ้นในปี พ.ศ. 2491 ในขณะที่ทำการบูรณะอุโบสถอยู่นั้น ตรงกับปี พ.ศ. 2485 ได้รื้อกุฏิริมคลองย้ายขึ้นมาปลูกในบริเวณที่อยู่ปัจจุบัน เพื่อหนีน้ำที่หน้าน้ำท่วมสูงขึ้นทุกปี ทั้งยังเป็นการแก้ปัญหาที่จะต้องหาทุนมาสร้างกุฏิใหม่อีกด้วย

    ต่อมาปี พ.ศ. 2501 หลวงพ่อมี ได้สร้างศาลาเรียงล้อมศาลาการเปรียญ หลังใหญ่ที่ หลวงพ่อปาน มาสร้างไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วสร้างหอระฆังและกุฏิอีก 3 หลัง ปัจจัยที่มีอยู่ทั้งหมดไปสมทบทุนกับทางราชการสร้างโรงเรียน 2 แห่ง คือโรงเรียนวัดมารวิชัย และโรงเรียนจุฬาราษฎร์วิทยา ในเนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ เมื่อปี พ.ศ. 2509 และยังได้สร้างสถานีอนามัย เนื้อที่ 7 ไร่ กับสำนักงานผดุงครรภ์ประจำตำบลบางนมโค ในเนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน อีกด้วย

    สาธารณะประโยชน์ต่าง ๆ ที่กล่าวมาส่วนใหญ่เป็นที่ดินของบรรพบุรุษที่ตกทอดมาถึงหลวงพ่อมี แล้วท่านนำมาบริจาคต่อ ทั้งยังขายที่ดินอีกบางส่วนไป เพื่อนำปัจจัยมาสมทบทุนในการก่อสร้างต่าง ๆ เช่น สร้างฌาปนสถาน พ.ศ. 2510 สร้างกำแพงรอบอุโบสถเพื่อความเป็นสัดส่วน พ.ศ. 2512 และสิ่งที่ชาวบ้านทั้งหลายมีความประทับใจในตัวหลวงพ่อมีอย่างไม่รู้ลืมอยู่ทุกวันนี้ คือ หลวงพ่อมี เป็นผู้ขอไฟฟ้าโดยเริ่มปักเสาจากปากทางถนนสาคลี ผ่านหน้าวัดมารวิชัยเรื่อยไป ถึงตลาดสาคลี เป็นระยะทางประมาณ 7 ก.ม. ด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัวของหลวงพ่อมีทั้งสิ้น เมื่อปี พ.ศ. 2514 นอกจากนี้หลวงพ่อมียังได้สร้างแท้งน้ำ เครื่องสูบน้ำสำหรับพระและชาวบ้านได้ใช้ดื่มน้ำที่สะอาด สร้างศาลาท่าน้ำ สร้างหอสวดมนต์ในปี พ.ศ. 2521 ฯลฯ นับว่าหลวงพ่อมี เป็นพระอาจารย์ที่มีความมุมานะ พยายามสูงในการสร้างความเจริญแก่ท้องถิ่นอย่างมากองค์หนึ่ง


    ศึกษาวิทยาคม


    หลวงพ่อมี ได้เล่าให้ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดคนหนึ่งฟังว่า ยุคที่ท่านเป็นพระหนุ่มนั้น วิชาด้านคาถาอาคมต่าง ๆ เป็นที่นิยมเรียนกันมาก ชาวอยุธยาแทบทุกคนที่เป็นชายก็ล้วนแต่มีผู้สนใจเรียนกันมากเป็นพิเศษ เพราะคนหนุ่มในยุคนั้นต้องการของจริงมาทดลองกัน คือ ใครมีอะไรดีก็มาอวดต่อหน้าสาว ๆ ตามหมู่บ้านต่าง ๆ สำหรับหลวงพ่อมีนั้น เมื่อท่านบวชได้พรรษาแรก ท่านก็ได้เรียนภาษามคธ และทางปริยัติควบคู่กันไป ในตอนหัวค่ำ หลวงพ่อมีและพระเณรรุ่นหนุ่ม ๆ ก็มักจะจับกลุ่มกันเรียนคาถาอาคมอย่างขะมักเขม้น คือเรียนทั้งจากตำราสมุดข่อย และจากหลวงตาที่บวชเรียนมาหลายพรรษาในวัดนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคาถาเกี่ยวกับหัวใจต่าง ๆ นั้น หลวงพ่อมีท่านได้เรียนอย่างคล่องแคล่วและรวดเร็ว เช่น คาถาหัวใจหนุมาน หัวใจเสือ หัวใจราชสีห์ และหัวใจลิงลม เป็นต้น

    หลวงพ่อมี เมื่อได้พระอาจารย์ดี ท่านก็ตั้งใจในการเรียนอย่างเต็มที่ เพราะหลวงตาผู้สอนท่านจะคอยกำกับโดยให้ผู้เรียนนั่งสมาธิพนมมือ และหลับตาภาวนาหัวใจของคาถาต่าง ๆ ไปด้วย ในระหว่างการเรียนจะเงียบสงบ เพราะต้องการให้เกิดสมาธิเร็วขึ้นเป็นเอกัคตา คือเป็นหนึ่งตลอด เรียกว่าผู้เรียนคาถาต่าง ๆ ต้องมีสมาธิ เพราะสมาธิเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสมัยหลวงพ่อมีนั้น จะมีพระเณรเรียนในทางวิชาอาคมกันมาก เพราะมีพระอาจารย์คอยสอนให้อยู่อย่างมากมายนั่นเอง“เพื่อเห็นแก่อนาคตก็ต้องเรียนไว้ เพราะต่อไปจะหาไม่มีอีกแล้ว ที่จะมีอาจารย์ผู้เก่งกล้าสามารถเช่นสมัยนั้น”


    หัวใจลิงลม


    หลวงพ่อมี ท่านได้ตั้งใจศึกษาวิชาทุกอย่างจากครูบาอาจารย์ที่มีอยู่ในสมัยนั้น เช่น การเรียนคาถาปลุกหัวใจลิงลมก็เรียนมาจากหลวงพ่อสำลี ซึ่งท่านเก่งในวิชานี้เป็นอย่างมาก แต่ก่อนที่หลวงพ่อสำลีท่านจะเริ่มพิธีปลุกหัวใจลิงลมนั้น ท่านได้บอกกับพระเพื่อน ๆ ว่า “ถ้าผมมือสั่นและตัวสั่นก็ช่วยกันจับเอาไว้ให้ดีนะ” พิธีการปลุกคาถาหัวใจลิงลมของหลวงพ่อสำลีนั้น ท่านได้ทำให้พระเณรผู้เป็นลูกศิษย์ดูกันเพื่อจะได้รู้ได้เห็นของจริง คือเวลาปลุกหัวใจลิงลมนั้น ผู้ปลุกจะอยู่ไม่เป็นสุขจะมีการกระโดดโลดเต้น จับโน่นเกาะนี่คล้ายกับลิงจริง ๆ หลวงพ่อสำลีท่านจะพนมมือทำใจให้เป็นสมาธิเพื่อท่องคาถาหัวใจลิงลมประมาณได้สัก 2-3 นาที มือของท่านจะเริ่มสั่น และหัวเข่าทั้ง 2 ข้างก็จะตีกับพื้นกระดานเสียงดังสนั่นพร้อมกับหายใจแรงมาก บรรดาพระเณรที่เป็นศิษย์ซึ่งรวมทั้งหลวงพ่อบุญมีด้วย ต่างก็ระวังกันอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าหากหลวงพ่อสำลีกระโดดออกหน้าต่างกุฏิไปก็จะยุ่งกันใหญ่ ครั้นเมื่อหลวงพ่อสำลีปลุกหัวใจลิงลมแล้ว ก็ช่วยกันจับ แต่จับไม่ค่อยจะอยู่ เพราะกิริยาอาการและท่าทางของท่านมีความปราดเปรียวและว่องไวมาก จนพระผู้รู้อากัปกิริยาดังกล่าวได้ตบร่างของท่านอย่างแรง อาการต่าง ๆ จึงได้ลดลงและสงบไปในที่สุด เรื่องคาถาอาคมนี้ เป็นศาสตร์ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้ให้ได้ผลก็ต่อเมื่อผู้ใช้มีจิตเป็นสมาธิอย่างแน่วแน่ ต้องมีความเชื่อและศรัทธาจริง ๆ สำหรับหลวงพ่อสำลีนั้น ท่านได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาอาคมต่าง ๆ ให้กับหลวงพ่อมีจนหมดสิ้น จึงทำให้หลวงพ่อมีท่านมีวิชาอาคมแก่กล้าสามารถท่องปฏิบัติ เกิดเป็นอาการได้ทุกอย่างสมดังประสงค์

    ไม่คิดลาสิกขา

    ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากหลวงพ่อมีท่านบวชได้ 1 พรรษา และท่านสอบนักธรรมชั้นตรีได้ใหม่ ๆ ท่านไม่คิดที่จะลาสิกขาบท ออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา แต่ท่านกลับอยากจะบวชเพื่อศึกษาต่อเพราะท่านชอบศึกษาเล่าเรียนมาก หลวงพ่อมีท่านได้ตั้งใจอย่างแน่วแน่แล้วว่า จะขอบวชและศึกษาหาความรู้ในพระพุทธศาสนาตลอดไป ซึ่งหลวงพ่อมีกล่าวว่า “การได้เข้ามาศึกษาอยู่ในร่มเงาพระพุทธศาสนานั้น เป็นของยากเพราะทุกคนต้องพร้อมที่จะเสียสละความสุขสบายในโลกภายนอกทุกอย่าง แต่ถ้าได้อยู่ศึกษาจนถ่องแท้แล้ว ก็ไม่อยากจะสึกออกไปอีก”

    **เหรียญนี้สภาพสวย เดิมๆ พร้อมกล่อง ให้บูชา 400 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6482.JPG
      SAM_6482.JPG
      ขนาดไฟล์:
      60.6 KB
      เปิดดู:
      123
    • SAM_6483.JPG
      SAM_6483.JPG
      ขนาดไฟล์:
      86.8 KB
      เปิดดู:
      124
    • SAM_6485.JPG
      SAM_6485.JPG
      ขนาดไฟล์:
      69.1 KB
      เปิดดู:
      104
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2015
  12. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่57 เหรียญสี่เหลี่ยมหล่อโบราณ (หลังยันต์มะ) แบบอุดผง อุดเงิน เนื้อนวะโลหะเปียกทอง หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา จ.อยุธยา ปี 2535**มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**


    - สำหรับในผงพุทธคุณที่อุดด้านในของเหรียญชุดนี้ ครบสูตรของหลวงพ่อเมี้ยนท่าน แต่ที่พิเศษเพิ่มขึ้นมาคือ ไม้เมตตามหาเสน่ห์ "ว่านสาวหลง" ที่บริเวณใต้ต้นพบว่ามีฝูงผีเสื้อนับแสน ๆ ตัวมาตายอยู่ใต้ต้นไม้นี้ โดยไม่ยอมบินจากต้นไม้ต้นนี้ไป หลวงพ่อเมี้ยนท่านได้เหลาไม้นี้เป็นท่อนเล็ก ๆ ใส่รวมกับผงพุทธคุณในเหรียญนี้ลงไป

    - อุดปิด และตอกโค๊ต "มะ ใบโพธิ์" กำกับทับอีกที

    - ตอกโค๊ต "นะ" ที่บริเวณข้อศอกด้านซ้ายมือของหลวงพ่อท่าน

    - บอกได้คำเดียว "องค์นี้สวย แบบหูตากะพริบชัดเจนมาก"

    - ผิวด้านหน้า-ด้านหลังของเหรียญ จะเห็นได้ว่าเปียกทองคำทั่วทั้งเหรียญ เรียกกันว่า ใส่ทองคำกันไม่ยั้งเลยครับ

    - เนื้อนวะโลหะที่ใช้ ท่านได้ใช้ก้านชนวนพระกริ่งรุ่นเก่า ๆ ของวัดสุทัศน์ฯ นำมาหลอม และเติมทองคำเพื่อเทลงเบ้า

    - วัตถุมงคลชุดนี้ ได้จัดสร้างขึ้นโดยความเห็นชอบของหลวงพ่อเมี้ยน เนื่องจากทางวัดโพธิ์กบเจาจะประกอบพิธียกช่อฟ้าพระอุโบสถ ในวันที่ 14-15 พ.ย. 2535 และเพื่อเป็นเกียรติประวัติของวัด และเป็นการเชิดชูความดีของหลวงพ่อ

    ทางคณะกรรมการจึงได้จัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นพิเศษนี้ และให้ชื่อรุ่นว่า "ช่อฟ้า" อันหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความสูงสุด และความสำเร็จในผลงานที่กระทำมาในชีวิต มวลสารได้นำมาจากเนื้อนวะโลหะชนวนพระกริ่งเก่า ๆ หลายรุ่น อีกทั้งยังได้สร้างตามตำรับพิธีการจัดสร้างแบบโบราณกาล โดยการผสมโลหะธาตุก่อนนำไปเทเป็นองค์พระ เมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2535 ณ วัดปริวาส โดยมีท่านพระอาจารย์อรรถพน กิตฺติโก เป็นเจ้าพิธี และผู้ควบคุมช่างหลอมแร่ธาตุ

    **องค์จริงแก่เปียกทอง สภาพสวย พิเศษอุดเงินให้บูชา พีเอมหรือโทรถาม ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6487.JPG
      SAM_6487.JPG
      ขนาดไฟล์:
      66.3 KB
      เปิดดู:
      135
    • SAM_6488.JPG
      SAM_6488.JPG
      ขนาดไฟล์:
      64.7 KB
      เปิดดู:
      129
    • SAM_6486.JPG
      SAM_6486.JPG
      ขนาดไฟล์:
      69.6 KB
      เปิดดู:
      224
    • SAM_6489.JPG
      SAM_6489.JPG
      ขนาดไฟล์:
      21 KB
      เปิดดู:
      98
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2015
  13. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่58 พระปิดตายันต์ยุ่งรุ่น 1 หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง เนื้อเงิน ปี 2536**มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**

    "พระมงคลวราจารย์" หรือ "หลวงพ่อเชิญ ปุญญสิริ" อดีตเจ้าอาวาสวัดโคกทอง ต.กุฎี อ.ผักไห่ จ.พระนครศรี อยุธยา เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่มีลูกศิษย์ไปทั่วสารทิศ วัตถุมงคลพระเครื่องของหลวงพ่อเชิญ ที่จัดสร้างทุกรุ่น ล้วนมีอิทธิมงคลพุทธานุภาพสูงส่งโดดเด่นทุกด้าน เป็นที่ปรารถนาไว้ในครอบครองของบรรดานักสะสมเป็นยิ่งนัก

    หลวงพ่อเชิญ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2450 ที่ ต.โผงเผง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ในวัยเด็ก โยมบิดาได้นำมาฝากหลวงพ่อขาบ เจ้าอาวาสวัดฤาไชย ต.กุฎี อ.ผักไห่ เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือ

    เมื่ออายุครบ 20 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2470 ที่วัดโคกทอง มีหลวงพ่อขาบ วัดฤาไชย เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อเพิ่ม วัดโคกทอง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระปลัดแจ่ม วัดโพธิ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    หลวงพ่อเชิญ เป็นศิษย์ของพระเกจิเรืองนามหลายท่านด้วยกัน อาทิ หลวงพ่อขาบ, หลวงพ่อเพิ่ม, หลวงพ่อจง, หลวงปู่ศุข, หลวงพ่อปาน, หลวงพ่อกลั่น เป็นต้น พ.ศ.2492 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโคกทอง พ.ศ.2509 เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระมงคลวราจารย์

    หลวงพ่อเชิญ ได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2543 สิริอายุ 93 ปี พรรษา 73 กล่าวขานกันว่า วัตถุมงคลหลวงพ่อเชิญทุกรุ่น ท่านจะอธิษฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวตลอดไตรมาส จนได้รับความนิยม

    วัตถุมงคลหลวงพ่อเชิญแทบทุกรุ่น มีพุทธคุณโดดเด่นด้านแคล้วคลาดปลอดภัย อยู่ยงคงกระพัน

    **เนื้อเงิน สร้างน้อย หายาก ครับ ให้บูชา 500 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6490.JPG
      SAM_6490.JPG
      ขนาดไฟล์:
      67.3 KB
      เปิดดู:
      116
    • SAM_6492.JPG
      SAM_6492.JPG
      ขนาดไฟล์:
      71.6 KB
      เปิดดู:
      113
    • SAM_6493.JPG
      SAM_6493.JPG
      ขนาดไฟล์:
      55.2 KB
      เปิดดู:
      198
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2015
  14. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่59 เหรียญสมเด็จ(เกี่ยว) วัดสระเกศ วรวิหาร รุ่นแรก ปี35 **มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**


    สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) เป็นพระสงฆ์มหานิกาย ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เคยเป็นผู้รักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราช ปัจจุบันเป็นประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระเถระที่มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์สูงสุดของมหาเถรสมาคม ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ เมื่อปี พ.ศ.2533 มีนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า 'สมเด็จพระพุฒาจารย์ ภาวนากิจวิธานปรีชา ญาโณทยวรางกูร วิบูลวิสุทธิจริยา อรัญญิกมหาปริณายก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี

    นามเดิม เกี่ยว โชคชัย เกิดวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2471 ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 8 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง ณ บ้านเฉวง ต.บ่อผุด อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนบุตร 7 คน ของนายอุ้ยเลี้ยน แซ่โหย่ (เลื่อน โชคชัย) และนางยี (ยี โชคชัย) ครอบครัวทำสวนมะพร้าว ปัจจุบันสกุลโชคชัย หรือแซ่โหย่ เปลี่ยนชื่อสกุลเป็นโชคคณาพิทักษ์

    สำเร็จการศึกษาขั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนประจำหมู่บ้าน ในปี 2483 แต่ก่อนจะถึงกำหนดวันเดินทางไปเรียนต่อยังโรงเรียนใน ตัวเมืองสุราษฎร์ธานี เด็กชายเกี่ยวเกิดมีอาการป่วยไข้ขึ้นมาอย่างกะทันหัน บิดามารดาจึงบนบานว่าหากหายจากป่วยไข้จะให้บวชเป็นเณร ดังนั้น เมื่อหายป่วยจึงบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ 6 มิถุนายน 2484 ที่วัดสว่างอารมณ์ ต.บ่อผุด โดยมีเจ้าอธิการพัฒน์เป็นพระอุปัชฌาย์

    ความตั้งใจเดิมคือบวชแก้บน 7 วัน แล้วจะสึกไปเรียนต่อ แต่เมื่อบวชแล้วก็ไม่คิดสึก โยมบิดามารดาจึงพาไปฝากหลวงพ่อพริ้ง (พระครูอรุณกิจโกศล) เจ้าอาวาสวัดแจ้ง ต.อ่างทอง อ.เกาะสมุย ต่อมาหลวงพ่อพริ้งนำไปฝากอาจารย์เกตุ วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร แต่ไม่นาน กรุงเทพฯ ประสบภัยสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงพ่อจึงรับตัวพาไปฝากอาจารย์มหากลั่น ต.พุมเรียง อ.ไชยา กระทั่งสงครามสงบจึงพา กลับไปที่วัดสระเกศ ฝากไว้กับพระครูปลัดเทียบ (ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระธรรมเจดีย์ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ)

    ท่านศึกษาธรรมะจนสอบได้นักธรรมชั้นเอก และศึกษาปริยัติธรรม สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยคตั้งแต่ยังเป็นสามเณร เมื่อมีอายุครบอุปสมบทก็ได้อุปสมบทในวันที่ 1 พฤษภาคม 2492 ที่วัดสระเกศ โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมวโรดม ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ ครั้นพ.ศ.2497 ท่านสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค อันเป็นประโยคสูงสุด

    เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานแต่งตั้ง เลื่อนและสถาปนาสมณศักดิ์โดยลำดับดังนี้ พ.ศ.2501 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่พระเมธีสุทธิพงศ์ พ.ศ.2505 เป็นพระราชาคณะ ชั้นราช ที่พระราชวิสุทธิเมธี พ.ศ.2507 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพคุณาภรณ์ พ.ศ.2514 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมคุณาภรณ์ พ.ศ.2516 เป็นพระราชาคณะ เจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ (รองสมเด็จ) ที่พระพรหมคุณาภรณ์

    พ.ศ.2533 ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่ออายุ 62 ปี นอกจากนี้ เคยได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค 9 และเป็นเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี 2508 ครั้นถึงพ.ศ.2516 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม และพ.ศ.2540 ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนา มหาเถรสมาคม

    เนื่องจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระอาการประชวร และเสด็จเข้าประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มาตั้งแต่ต้นปีพ.ศ.2545 ทำให้เข้าร่วมงานพระศาสนาไม่สะดวก มหาเถรสมาคมจึงได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราชในต้นปีพ.ศ.2547

    ต่อมาการแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด มหาเถรสมาคมจึงมีมติให้แต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวร โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ที่สามารถปฏิบัติห น้าที่ได้ในขณะนั้นทำหน้าที่เป็นประธาน

    สมเด็จพระพุฒาจารย์มีผลงานเขียนหนังสือหลายเล่ม ประกอบด้วย ธรรมะสำหรับผู้นับถือพระพุทธศาสนา, ดีเพราะมีดี, ทศพิธราชธรรม, วันวิสาขบูชา, การนับถือพระพุทธศาสนา, ปาฐกถาธรรมสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ), โอวาทพระธรรมเทศนาและบทความสมเด็จพระพุฒาจารย์, การดำรงตน และคุณสมบัติ 5 ประการ
    **เหรียญนี้สวยเดิมๆ กะไหล่ทอง ให้บูชา เบาๆ 700 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6511.JPG
      SAM_6511.JPG
      ขนาดไฟล์:
      61.7 KB
      เปิดดู:
      273
    • SAM_6509.JPG
      SAM_6509.JPG
      ขนาดไฟล์:
      70.7 KB
      เปิดดู:
      111
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤษภาคม 2015
  15. Natchapon

    Natchapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2008
    โพสต์:
    717
    ค่าพลัง:
    +1,218
    3 รายการที่จองไว้ ได้โอนเงินให้แล้วครับ ยอดโอน 1,550 ครับ

    ณัชพล อนุสรณ์สกุล
    15/286 หมู่บ้านภาสกร หมู่9 ถนนสุขาภิบาล1 แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพ 10150

    ขอบคุณครับ
     
  16. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รับทราบครับ
     
  17. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ:cool::cool:
     
  18. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่60 ลป.ทวด วัดช้างให้ รุ่นมหาราช พศ.2538 เนื้อนวะโลหะ


    พระเครื่องของ หลวงพ่อทวด ถึงแม้ว่าท่านไม่ได้สร้างเองแต่ในความศักดิ์สิทธิ์นั้น คงไม่มีใครจะปฏิเสธได้ ความนิยมในวัตถุมงคลหรือ พระเครื่อง หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ นั้นถือว่าเป็นอมตะควบคู่ไปกับตำนานเล่าขานสืบต่อกันไป ประวัติหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ซึ่งผู้สร้างตำนานแห่งความศักดิ์สิทธิ์ คือ พระอาจารย์ทิม ธมฺมธโร(พระครูวิสัยโสภณ)


    วัดช้างให้

    ประวัติวัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้)
    วัดราษฎร์บูรณะ หรือวัดช้างให้ ตั้งอยู่ที่ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ชิดกับทางรถไฟสายใต้ (ระหว่างหาดใหญ่-ไปยะลา) วัดช้างให้สร้างขึ้นเมื่อใด ใครเป็นคนสร้างครั้งแรกก็ยังหาหลักฐานแน่นอนไม่ได้ มากนัก ก็พอจะอ้างอิงตามหนังสือตำนานเมืองปัตตานีได้บ้าง ซึ่งหนังสือตำนานเมืองปัตตานีรวบรวมโดย พระศรีบุรีรัฐพิพิธ (สิทธิ์ ณ สงขลา) ดังบทความตอนหนึ่งว่า
    สมัยพระยาแก้มดำ เจ้าเมืองไทรบุรี ปรารถนาต้องการจะหาที่ เพื่อที่จะสร้างเมืองให้ “เจ๊ะสิตี”น้องสาวครอบครอง เมื่อโหรหาฤกษ์ยามดีได้เวลา ท่านเจ้าเมืองก็เสี่ยงสัตย์อธิฐานปล่อยช้างตัวสำคัญคู่บ้านคู่เมืองออกเดิน ป่าหรือเรียกว่า “ช้างอุปการ” เพื่อหาที่ชัยภูมิดีสร้างเมือง ท่านเจ้าเมืองก็ยกพลบริวารเดินตามหลังช้างนั้นไปเป็นเวลาหลายวัน วันหนึ่งช้างได้เดินไปหยุดอยู่ ณ ที่ป่าแห่งหนึ่ง(ที่วัดช้างให้เวลานี้) แล้วเดินวนเวียนร้องขึ้น 3 ครั้งพระยาแก้มดำถือเป็นนิมิตที่ดีจะสร้างเมือง ณ ที่ตรงนี้ แต่น้องสาวตรวจดูแล้วไม่ชอบ พี่ชายก็อธิษฐานให้ช้างดำเนินหาที่ใหม่ต่อไป ได้เดินรอนแรมหลายวัน เวลาตกเย็นวันหนึ่งก็หยุดพักพลบริวารน้อง สาวถือโอกาสออกจากที่พักเดินเล่น บังเอิญขณะนั้นมีกระจงสีขาวผ่องตัวหนึ่ง วิ่งผ่านหน้านางไปนางอยากจะได้กระจงขาวตัวนั้น จึงชวนพวกพี่เลี้ยงวิ่งไล่ล้อมจับ กระจงตัวนั้นได้วิ่งวกไปเวียนมาบนหาดทรายอันขาวสะอาดริมทะเล ( คือตำบล กือเซะเวลานี้ ) ทันใดนั้น กระจงก็ได้อันตรธานหายไป นางเจ๊ะสิตี รู้สึกชอบที่ตรงนี้มากจึงขอให้พี่ชายสร้างเมืองให้ เมื่อพระยาแก้มดำปลูกสร้างเมืองให้น้องสาว และมอบพลบริวารให้ไว้พอสมควรเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ชื่อเมืองนี้ว่า “เมืองปะตานี” ( ปัตตานี ) ขณะนั้นพระยาแก้มดำเดินทางกลับมาถึงภูมิประเทศที่ช้างบอกให้ครั้งแรก ก็รู้สึกเสียดายสถานที่ จึงตกลงใจหยุดพักแรมทำการแผ้วถางป่า และปลูกสร้างขึ้นเป็นวัดให้ชื่อว่า “วัดช้างให้” มาจนบัดนี้ ต่อมาพระยาแก้มดำ ก็ได้มอบถวายวัดช้างให้ แก่ “ท่านลังกา”ครอบครอง พระภิกษุชราองค์นี้ท่านอยู่เมืองไทรบุรีเขาเรียกว่าท่านลังกาเมื่อท่านมา อยู่วัดช้างให้ชาวบ้านเรียกว่าท่านช้างให้เป็นเช่นนี้ตลอดมา

    สมัยโบราณนั้น คนมลายูนับถือศาสนาพุทธ พระยาแก้มดำคนมลายูจึงได้สร้างวัดช้างให้ขึ้น อ้างตามหนังสือของพระยารัตนภักดี เรื่องปัญหาดินแดนไทยกับมลายู หน้า 8 บรรทัด 16 ในหนังสืออิงตามประวัติศาสตร์ว่า พ.ศ.1300 กษัตริย์ครองกรุงศรีวิชัยแห่งปาเล็มบัง มีอานุภาพแผ่ไพศาลอาณาเขตเข้ามาถึงแหลมมลายู และได้ก่อสร้างสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาไว้หลายแห่ง มีผู้พบศิลาจารึกแผ่นหนึ่งที่ นครศรีธรรมราช บันทึกว่า เมื่อพ.ศ.1318 เจ้าเมืองศรีวิชัย ได้มาก่อสร้างพระเจดีย์ที่นครศรีธรรมราชและที่สำคัญอีกแห่งคือ พระพุทธไสยาสน์ในถ้ำที่ภูเขา (วัดหน้าถ้ำ) ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา คาดว่าสร้างเมื่อสมัยกรุงศรีวิชัย ระหว่างพ.ศ.1318-1400 ต่อมามีการปฎิสังขรณ์เพิ่มเติมตามที่เห็นในปัจจุบัน

    ขณะที่ท่านลังกา"หลวงพ่อทวด"พำนักอยู่ที่วัดในเมืองไทรบุรีวันหนึ่งอุบาสก อุบาสิกา และลูกศิษย์อยู่พร้อมหน้าท่านได้พูดขึ้นในกลางชุมนุมนั้นว่า ถ้าท่านมรณภาพเมื่อใดขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วย และขณะหามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดน้ำเน่าไหลลงสู่พื้นดินที่ตรงนั้นจงเอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้าง หน้าจะเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ อยู่มาไม่นานท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชราคณะศิษย์ผู้เคารพในตัวท่านก็ได้ จัดการตามที่ท่านสั่งโดยพร้อมเพรียงกันเมื่อทำการฌาปณกิจศพท่านเรียบร้อย เมื่อ พ.ศ.2501 พระครูวิสัยโสภณ ได้เดินทางไปบูชามาแล้วทุกสถานที่ แต่ละสถานที่ก็มีสภาพเหมือนสถูปที่บรรจุอัฐิหลวงพ่อทวดที่วัดช้างให้เมื่อครั้งยังไม่ได้ตบแต่งสร้างใหม่สอบถามชาวบ้านแถบๆนั้นดู ต่างก็เล่นถึงเรื่องราวที่สืบทอดต่อกันมาให้อาจารย์ทิมและคณะฟังว่าเป็นสถานที่ตั้งศพหลวงพ่อทวด เมื่อมาพักแรมมีน้ำเหลืองหยดตกลงพื้นก็เอาไม้ปักทำเครื่องหมายไว้ บางแห่งก็ก่อสร้างเป็นสถูปเจดีย์ก็มี แล้วคณะศิษย์ผู้ไปส่งได้ขอแบ่งเอาอัฐิของท่านแต่ส่วนน้อยนำกลับไปทำสถูปที่ วัด ณ เมืองไทรบุรีไว้เป็นที่เคารพบูชาตลอดจนบัดนี้สมเด็จเจ้าพะโคะกับท่านช้างให้ หรือ"หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" นี้สมัยท่านยังมีชีวิตมีชื่อที่ใช้เรียกท่าน หลายชื่อเช่น พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์ ท่านลังกา และท่านช้างให้ แต่เมื่อท่านมรณภาพแล้วเรียกเขื่อนหรือสถูปศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอัฐิของท่าน ว่า “เขื่อนท่านช้างให้” เขื่อน หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด (คำว่าเขื่อนเป็นภาษพื้นเมืองทางใต้ หมายถึงสถูปที่บรรจุอัฐิของท่านผู้มีบุญนั่นเอง) เมื่อ พ.ศ. 2480 พระครูมนูญสมณการ วัดลานุภาพ ได้ชวนชาวบ้านช้างให้และใกล้เคียงไปทำการแผ้วถางวัดร้างแห่งนี้ โดยจัดบูรณะให้เป็นวัดมีพระสงฆ์เข้าจำพรรษาและในปีนั้นเอง ได้ให้พระภิกษุช่วงมาอยู่ก็ได้มีการจัดสร้างถาวรวัตถุ ขึ้น เช่นศาลาการเปรียญ และกฏิ2-3หลัง ครั้งต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2484 พระภิกษุช่วงก็ได้ลาสิกขาบท วัดช้างให้จึงขาดเจ้าอาวาสและผู้นำลง พระครูภัทรกรณ์โกวิท เจ้าอาวาสวัดนาประดู่ จึงได้ให้พระภิกษุทิม (พระครูวิสัยโสภณ) ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ตามที่ชาวบ้านขอมา
    พระภิกษุทิม ได้ย้ายไปอยู่วัดช้างให้ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2484 ตรงกับวันอังคาร ขึ้น15ค่ำเดือน8 พระภิกษุทิม มาอยู่วัดช้างให้ตอนแรก ก็ไปๆมาๆอยู่กับวัดนาประดู่ กลางวันต้องไปสอนนักธรรมวัดนาประดู่

    **องค์นี้สภาพสวย สร้างน้อย เนื้อนวะ ให้บูชา 600 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6518.JPG
      SAM_6518.JPG
      ขนาดไฟล์:
      189.3 KB
      เปิดดู:
      303
    • SAM_6519.JPG
      SAM_6519.JPG
      ขนาดไฟล์:
      57.9 KB
      เปิดดู:
      265
  19. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่61 เต่าหลวงพ่อหลิว รุ่นเพี่อมาตุภูมิ ออกวัดหนองอ้อ จ.ราชบุรี ปี2541 พิมพ์เล็ก **มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**

    าพูดถึงพญาเต่าเรือนแล้ว เกจิอาจารย์ที่ถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สุดย่อมไม่พ้นหลวงปู่หลิว แห่งวัดไร่แตงทอง ตำบลลูกนก อ.กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ท่านได้เดินทางฝ่าป่าดงดิบซึ่งถือว่าอันตรายมากในสมัยนั้นไปเรียนวิชากับอาจารย์ชาวกะเหรี่ยงเป็นเวลา 3 ปี เมื่อได้วิชาติดตัวกลับมาแล้วได้กลับมาช่วย ที่บ้านปราบโจรขโมยวัวจนราบคาบ วิชาเต่าเรือนนั้นท่านได้เรียนมาจาก หลวงพ่อย่น วัดฆ้องใหญ่ จ.ราชบุรี นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาจากอาจารย์อีกหลายท่าน อาทิเช่ หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จ.เพชรบุรี หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช และ หลวงพ่ออุ้ม จ.นครสวรรค์ วิชาที่ท่านศึกษาจาก หลวงพ่ออุ้มคือ ท่านให้ลป.หลิวนำกระดาษฟูลสแก็ปไปไว้อีกฟากของภูเขาที่อยู่ห่างออกไป 10 กิโลเมตร จากนั้นหลวงพ่ออุ้มได้นำ เหรียญบาทขึ้นมา ลงอักขระอาคมแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ ปรากฎว่าเหรียญสามารถลอยข้ามภูเขาไปตกยังกระดาษได้ ท่านสนใจวิชานี้มากได้ศึกษาจนสำเร็จ

    **เหรียญนี้เลี่ยมพร้อมใช้ ให้บูชา 300 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6520.JPG
      SAM_6520.JPG
      ขนาดไฟล์:
      66.8 KB
      เปิดดู:
      147
    • SAM_6521.JPG
      SAM_6521.JPG
      ขนาดไฟล์:
      70.2 KB
      เปิดดู:
      186
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2015
  20. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,712
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่63 เหรียญหลวงพ่อคูณ รุ่นทวีคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ เนื้ออัลปาก้า ปี 2537 **คุณพะเยา543จองแล้วครับ**

    เหรียญสวยๆพิธีดีๆสร้างปี 37
    เหรียญหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ รุ่นทวีคูณ ปี 2537 เนื้ออัลปาก้า วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา
    วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยทำการปั้มที่กองกษาปณ์กรมธนารักษ์ นับว่าเป็นเหรียญที่สวยมากอีกรุ่นหนึ่งของหลวงพ่อ หลวงพ่อคูณปลุกเสกเดี่ยวเต็มที่ 7 วัน 7 คืน คุณวิเศษแคล้วคลาด เมตตามหานิยม และคงกระพันเชื่อถือได้
    เหรียญสวยๆพิธีดีๆสร้างปี 37
    เหรียญหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ รุ่นทวีคูณ ปี 2537 เนื้ออัลปาก้า วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา
    วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างเพื่อเป็นที่ระลึกวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยทำการปั้มที่กองกษาปณ์กรมธนารักษ์ นับว่าเป็นเหรียญที่สวยมากอีกรุ่นหนึ่งของหลวงพ่อ หลวงพ่อคูณปลุกเสกเดี่ยวเต็มที่ 7 วัน 7 คืน คุณวิเศษแคล้วคลาด เมตตามหานิยม และคงกระพันเชื่อถือได้
    รายละเอียดด้านจำนวนการสร้าง เหรียญรูปใข่ รุ่นทวีคูณ
    ชุดทองคำมี 3 เนื้อคือทองคำ เงิน และอัลปาก้า รันนิ่งนัมเบอร์เดียวกันทั้งหมด จำนวน 999 ชุด.....เนื้อเงินสร้าง 5,999 เหรียญ.....เนื้ออัลปาก้าไม่ทราบจำนวนชัดเจนเพราะบล็อคแตกซะก่อน
    เนื้อเงิน และเนื้ออัลปาก้า ถูกนำไปอยุ่ในชุดทองคำจำนวนอย่างละ 999 เหรียญ และบูชาเดี่ยวตั้งแต่หมายเลข 1000 เป็นต้นไป เหรียญเนื้ออัลปาก้าทราบมาว่าเมื่อปั๊มไปซักระยะ บล็อคเกิดชำรุด เนื่องจากเนื้ออัลปาก้ามีความแข็ง และมีขนาดค่อนข้างหนา ทำให้ไม่สามารถปั๊มให้ครบตามจำนวน
    พิธีพทธาภิเษกเหรียญรุ่นทวีคูณรุ่นนี้ ได้รับความเมตตาจากสุดยอดพระเกจิฯ หลากหลายรูป ไม่เพียงหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ เพียงท่านเดียวเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความเข้มขลัง เพิ่มวิชาอาคมจาก หลวงพ่อจอย วัดโนนไทย หลวงพ่อเสาร์ วัดกุดเวียน หลวงพ่อไหล วัดบึง และพระเกจิฯอีกมากมาย พุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 22 กรกฏาคม พ.ศ.2537 ตรงกับวันอาสาฬหบูชา เมื่อเสร็จสิ้นพิธิพุทธาภิเษก ทางด้านพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ รัฐมนตรีสุวัจน์ และคณะกรรมการจัดสร้างทั้งหมด ได้นำวัตถุมงคลรุ่นทวีคูณนี้เวียนรอบพระอุโบสถพร้อมกับพุทธศาสนิกชนอย่างคับคั่ง ปัจจุบันวัตถุมงคลของหลวงพ่อคูณมีสนนราคาขยับขึ้นไปมากในทุกๆ รุ่น มีโอกาสเก็บตอนที่ราคายังไม่แพงนี้ต้องรีบครับ

    รุ่นทวีคูณนี้เป็นพุทธภิเศกที่ยิ่งใหญ่

    รวมเกจิอาจารย์ชื่อเสียงโดงดังทั้งโคราชครับสวยๆน่าเก็บครับ
    เหรียญหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา “รุ่นทวีคูณ” ปี37 เนื้ออัลปาก้า** รุ่นนี้ปลุกเสก 7 วัน 7 คืน .... โดยมี ท่านพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ท่านสุวัจน์-เทวัญ ลิปตพัลล เป็นกรรมการจัดสร้าง........ซึ่งถือว่าเป็นอีกรุ่นที่มีความนิยม สูงอย่างต่อเนื่อง ในงานประกวดพระใหญ่ๆ มีแทบทุกงาน ซึ่งถือเป็นมาตรฐานวงการ และ อยู่ในความสนใจของผู้นิยมพระเครื่องและศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศ........ด้วยพุทธศิลป์อันล้ำเลิศ และล้ำค่า ด้วยศิลปะที่งดงามเหนือคำบรรยาย จัดเป็นตำนานการสร้างพระที่เยี่ยมยอด หรือเป็น มาสเตอร์พีซ อีกชิ้นหนึ่งของ นายช่างเกษม มงคลเจริญ.......สำหรับวัตถุมงคลหลวงพ่อคูณ ปัจจุบันนี้ถือได้ว่าหายากพอสมควร ทั้งกริ่ง และ เหรียญ ตลอดจน รูปเหมือนปั๊ม ในสนามพระมักจะไม่ค่อยมีให้เห็นซักเท่าไร ผู้คนที่มีก็มักจะหวงแหนยิ่งนัก

    ***เหรียญนี้สวย เก่าเก็บ ให้บูชา 400 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_6512.JPG
      SAM_6512.JPG
      ขนาดไฟล์:
      62 KB
      เปิดดู:
      199
    • SAM_6513.JPG
      SAM_6513.JPG
      ขนาดไฟล์:
      71 KB
      เปิดดู:
      142
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2015

แชร์หน้านี้

Loading...