เพื่อการกุศล ดีหลวงฟ้าประทาน ถวายเงินศาลพระเสื้อเมือง 2ล้านบาท เรียบร้อย

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย jummaiford, 16 ธันวาคม 2012.

  1. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ตอนนี้ยอดรวม79องค์ใกล้80องค์เเล้วครับ

    บอกให้สบายใจอีกหน่อยว่าพระชุดนี้ ถือว่ามหามงคลพิเศษเพราะเททองที่วัดดีหลวง เเล้วเสกที่วัดดีหลวง โดยสมภารวัดดีหลวง เต็มใจ สุดยอดของพระรุ่นนี้เลยทีเดียว หากจะนับไปอาจจะเป็นพระกริ่งรุ่นเเรกที่เททองที่วัดเเล้วเอาเข้าโบสถ์เสกในวัดโดยใช้ชื่อพระนามพระกริ่งว่าดีหลวงฟ้าประทาน
     
  2. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    พระกริ่งรุ่นนี้จะทำการอุดกริ่ง1ชั้น เเละอุดผงอีกชั้นนึง สรุปเเล้วการทำพระกริ่งนี้จะยุ่งยากกว่าปกติเเละพิเศษมากคือทำเป็นสองชั้นคือมีทั้งกริ่งเเละอุดผงสุดยอดของพระกริ่งของยุคเลยละครับ
     
  3. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    :cool::cool::cool::cool::cool::cool::cool:
     
  4. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ล่าสุดตอนนี้มีคนจองพระเเก้วมรกตเเล้ว 11 องค์ เหลือพระให้จองอีก 5 องค์เท่านั้นสำหรับพระเเก้วมรกตไม่ทรงเครื่องเนื้อนวโลหะ5นิ้ว

    ส่วนพระกริ่งมีคนทะยอยจองเรื่อยๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 19 ธันวาคม 2012
  5. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ตอนนี้ยอดพระกริ่งรวม85องค์เเล้วละครับ ดีใจเเละปลื้มใจมากๆหวังใจว่าพระชุดนี้คงจะเป็นพระชุดประวัติศาสตร์ในชีวิตที่ผมได้สร้างถวายวัดดีหลวงเเละศาลพระเสื้อเมือง หวังใจว่าพระชุดนี้คงได้เผยเเพร่บารมีหลวงพ่อทวดไปได้ไกลๆให้คนหลายๆระดับมากกว่ารุ่นก่อนๆครับ

    ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยนะครับ
     
  6. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ผมเสนอไอเดียร์ของผมว่าถ้าทำได้จริงๆเเล้วเราน่าจะให้ผู้ที่ทำบุญเช่าบูชาพระรุ่นนี้นำชนวนหรือเเผ่นยันต์ของครูบาอาจารย์ที่ดีๆมาหล่อหลอมจะได้เป็นรุ่นรวมใจน่าจะดีไม่น้อยครับ กรุณาส่งมวลสารมาตามที่อยู่นี้ครับ

    นพ.ดนัย โอวัฒนาพานิช 52/322(378) ลาดพร้าว 62 ม.ตะวันรุ่งซ16 วังทองหลาง กทม 10310
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 ธันวาคม 2012
  7. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ตอนนี้ยอดจองพระกริ่งล่าสุด90องค์เเล้วละครับ
    ใกล้ความจริงเเล้วครับ
    อนุโมทนากับทุกท่านด้วยนะครับ
     
  8. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    สำหรับพระเเก้วมรกตไม่ทรงเครื่องจะทำการหล่อโบราณดินไทยในวันที่26มกราคม2556เลยที่วัดดีหลวง ไม่ได้ทำการหล่อไว้ก่อนเพราะตั้งใจให้ถือกำเนิดในวัดดีหลวง มหามงคลนามครับ
     
  9. a_srikut

    a_srikut Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2011
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +71
    อนุโมทนาบุญด้วยครับ
    ขอจองพระกริ่งดีหลวงฟ้าประทาน ๑ องค์ครับ
     
  10. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    เช้านี้มียอดจองจากผู้เคยเช่าพระกริ่งดีหลวงได้ลงชื่อจอง พระกริ่งดีหลวง ฟ้าประทาน 2 ชุดครับ พระชุดนี้เป็นพระสายหลวงปู่ทวด เสกและเททองทุกองค์ หน้าโบสธ์วัด ดีหลวง วัดบ้านเกิดหลวงพ่อทวด ครับ ท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมช่วยกันประชาสัมธ์ก็ถือว่าได้ร่วมบุญกับหลวงปู่ทวดแล้วครับ เพราะปัจจัยนี้จะนำไปสร้างศาลให้แก่ ตาขุนลก ซึ่งเป็นเจ้าภาพบวชให้แก่หลวงปู่ทวด ชื่อศาลพระเสื้อเมืองนครศรีธรรมราช ครับ ขออนโมธนาบุญด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 ธันวาคม 2012
  11. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    พระขุนลกปรากฏในประวัติหลวงพ่อทวดคือ ท่านพร้อมด้วยญาติพี่น้องรับเป็นเจ้าภาพอุปถัมป์บวชหลวงพ่อทวด

    ใครจะไปรู้เบื้องหลังเจ้าภาพการบวชครั้งใหญ่ของพระมหาโพธิสัตว์อย่างหลวงพ่อทวดคือคนจีน ใครจะไปรู้ นอกจากเเฟนพันธุ์เเท้เท่านั้น



    ความเป็นมาระหว่างหลวงปู่ทวดกับตาขุนลก

    ในหนังสือเทศาภิบาล 3-4 ร.ศ. 126 (พ.ศ. 2450) ซึ่งเป็นสำเนาหนังสือครั้งกรุงเก่าว่าด้วยการพระราชทานกัลปนา ยอเข้าตำราหมื่นตราพระธรรมวิลาศเอาไปวิวาทเป็นหัวเมือง กล่าวถึงหลวงปู่ทวดไว้ว่า ท่านเกิดในปี พ.ศ. 2171 (บางแห่งว่า พ.ศ. 2125 ซึ่งน่าจะถูกต้องกว่า) เมื่อบวชเณรเรียนจบการศึกษาธรรมบททศชาติที่บ้านเกิดแล้วก็ได้เดินทางมาเล่าเรียนพระ ธรรมวินัยชั้นสูงที่วัดเสมา เมืองนครศรีธรรมราชกับพระครูกาเดิม และเมื่ออายุได้ 20 ปี พระขุนลก (ตาขุนลก ซึ่งเป็นขุนนางแห่งเมืองนครในขณะนั้น) พร้อมญาติพี่น้องจึงรับเป็นเจ้าภาพอุปถัมภ์การอุปสมบทตามประเพณีด้วยวิธีอุททกสีมา (ผูกด้วยเรือมาดตะเคียนมาดพะยอมและมาดยาง) โดยมีพระมหาเถรปิยทสุสี เป็นพระอุปัชฌาย์จารย์ พระมหาเถรพุทธสาครเป็นกรรมวาจาย์และพระมหาเถรศรีรัตนเป็นอนุคู่สวด

    จะเห็นได้ว่าผู้ทำพิธีอุปสมบทนั้นล้วนเป็นพระเถระชั้นสูงและยังมีเจ้านายชั้นสูงของเมืองนครเป็นผู้อุปถัมภ์เมื่อศึกษาพระธรรมวินัย จนจบหลักสูตรแล้ว ท่านประสงค์จะศึกษาพระธรรมชั้นสูงขึ้นไปอีก พระครูกาเดิมแห่งวัดเสมาเมืองจึงได้ฝากโดยสารเรือกับนายอินเดินทางเข้ากรุงศรีอยุธยา เมื่อหลวงปู่ทวดลาพระครูกาเดิมแล้วก็ได้ไปลาเจ้าอาวาสวัดท่าแพ ซึ่งอาจจะเป็นพระเถระในคณะอุปสมบทที่คลองท่าแพ (คลองปากพูน) ใน ครั้งนั้นแล้วเดินทางมาขึ้นเรือไปราชธานีครั้งนี้ ในระหว่างทางได้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ท่านได้สมญานามว่า " เหยียบน้ำทะเลจืด" (ดูอนันต์ คณานุรักษ์, ประวัติหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด (ยะลา; ห้าแยกการพิมพ์ 2534))
     
  12. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ประวัติสมเด็จพะโคะ หรือ หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด


    หลวงปู่ทวด ผู้เหยียบน้ำทะเลจืดแห่งวัดช้างให้ ตำบลป่าไร่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ผู้เป็นสมเด็จเจ้าพะโคะ ซึ่งตำนานกล่าวไว้ว่า สมเด็จเจ้าพะโคะ ซึ่งได้รับพระราชทานสมณะศักดิ์เป็นพระราชมุณีสามีรามคุณูปรมาจารย์ จากสมเด็จพระมหาธรรมราชา
    สมเด็จเจ้าพะโคะ ชาตะ วันศุกร์ เดือน 4 ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ.2125 บิดาชื่อหู มารดาชื่อจัน มีอายุมากแล้ว จึงคลอดบุตรเป็นชาย ชื่อเจ้าปู โดยคลอด บุตรคนนี้ที่บ้านสวนจันทร์ ตำบล ชุมพล เมืองจะทิ้งพระ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ในปัจจุบัน) นายหู นางจันทร์ 2 สามีภรรยา เป็นคนยากจน อาศัยอยู่กับคหบดีผู้หนึ่ง ชื่อเศรษฐีปาน ปัจจุบันคือบ้านเลียบ หมู่ที่ 1 ตำบลดีหลวง อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เศรษฐีปานผู้นี้มีข้าทาสและลูกหนี้ชายหญิงมากมาย และนายหู นางจัน ก็เป็นลูกหนี้ของเศรษฐีปานด้วย ทั้ง 2 เป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมเมื่อนางจันทร์คลอดบุตรเมื่อ เดือน ๕ ปีมะโรง ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๒๕ ในวันที่ถึงกำหนดคลอดนั้นได้เกิดแผ่นดินไหวอันเป็นที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง นายหูผู้บิดา ได้เอารกบุตรชายไปฝังไว้ที่ใต้ต้นเลียบซึ่งอยู่ใกล้สวนจันทร์ ของเศรษฐีปาน ซึ่งต้นเลียบในปัจจุบันก็เจริญงอกงามมีลำต้นใหญ่มาก ประชาชนทั่วไป ก็นับถือกันว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ครั้งนั้นเทศกาลเดือน ๔ อันเป็นฤดูเกี่ยวข้าว เศรษฐีปานจึงเร่งรัดข้าทาสชายหญิงและลูกหนี้ให้ไปเกี่ยวข้าวในนา และออกจากการอยู่ไฟแล้ว ก็อุ้มลูกออกไปช่วยนายหูสามีทำนา โดยออกไปช่วยเกี่ยวข้าวในนาของคหบดีที่ทั้ง 2 อาศัยอยู่ด้วย เมื่อถึงนาก็เอาผ้าผูกทำเปลระหว่างต้นเหม้าและต้นหว้าที่อยู่ใกล้กันให้ลูกนอนขณะเกี่ยวข้าวนางจันทร์เป็นห่วงลูก ก็เหลียวมามองที่เปลก็เห็นงูตัวใหญ่ (งูจงอาง) ขอรัดเปลที่เจ้าปู่น้อยนอน 2 สามีภรรยาตกใจร้องให้เพื่อนชาวนามาช่วย เพื่อนชาวนาที่เกี่ยวข้าวอยู่ใกล้เคียงก็รีบวิ่งมาดู ก็ไม่มีใครสามารถช่วยได้ เพราะงูใหญ่นั้นชูร่างขึ้นส่งเสียงขู่ฟ่อๆ อย่างน่ากลัว นายหูนางจันทร์ผู้มั่นอยู่ในบุญกุศล ตั้งสติยืนพิจารณาเห็นว่างูใหญ่นั้นมิได้ทำร้ายบุตรตน จึงเกิดสงสัยว่างูบองใหญ่ตัวนี้น่าจะเกิดจากเทพนิมิตบันดาล คิดดังนั้นแล้ว 2 สามีภรรยาก็ช่วยกันหาดอกไม้ และเก็บรวงข้าวเผาเป็นข้าวตอกนำมาบูชา กราบไหว้งูใหญ่พร้อมกับกล่าวคำสัตย์อธิษฐาน ขอให้ลุกน้อยปลอดภัยชั่วครู่นั้น งูใหญ่ก็คลายขนดลำตัวออกจากเปล อันตรธานหายไปในทันที นายหูนางจันทร์และเพื่อนชาวนาพากันเข้าไปดูทารกในเปล ปรากฏว่าเจ้าปู่ยังนอนหลับเป็นปรกติอยู่ แต่มีแก้วดวงหนึ่งประมาณไข่นกพิราบ วางไว้ตรงคอ แก้วดวงนั้นมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี 2 สามีภรรยาจึงเก็บรักษาไว้
    ต่อมาคหบดีเจ้าของบ้านทราบความ จึงมาขอแก้วดวงนี้ไว้เป็นกรรมสิทธ์ นายหูนางจันทร์จำใจต้องมอบให้ด้วยใจกตัญญู ฝ่ายคหบดีนั้นเมื่อได้แก้วพญางูมาเป็นสมบัติแล้วก็รู้สึกปีติใจ แต่ต่อมาไม่นานก็เกิดการวิปริต คหบดีนั้นเกิดล้มเจ็บรวมทั้งครอบครัวทั้งหลาย ก็เกิดการเจ็บไข้ได้ป่วยไปทั่วหน้า สุดที่จะแก้ไข คหบดีจึงคิดได้ว่าที่เกิดเหตุร้ายขึ้นครั้งนี้คงจะเป็นเพราะตนยึดเอาดวงแก้วพญางูไว้ เกรงเหตุร้ายลุกลามยิ่งขึ้น จึงตัดสินใจคืนแก้วดวงนั้นให้ 2 สามีภรรยากลับไป ซึ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจอย่างยิ่งก็คือ ครอบครัวคหบดีผู้นั้นก็กลับคืนมาอยู่เย็นเป็นสุขดังเดิม และเกิดมีเมตตาสงสารนายหูนางจันทร์ ไม่ใช้งานหนัก การทำมาหากินเลี้ยงชีพก็เจริญรุ่งเรืองอยู่สุขสบายตลอดมา เมื่อเจ้าปู น้อยอายุได้ 7 ขวบ บิดามารดานำไปถวายสมภารจวง วัดดีหลวง (วัดกุฎีหลวง) ให้เรียนหนังสือ เด็กชายปูมีปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าเพื่อนๆเรียนรู้เรื่องต่างๆ ได้เร็วทั้งหนังสือขอมและไทย จนอายุ 15 ปี สมภารจวงก็บวชให้เป็นสามเณร แล้วนำไปฝากท่านพระครูสัทธรรมรังษี วัดสีหยัง (ปัจจุบันคือ วัดสีคูยัง อำเภอระโหนด จังหวัดสงขลา) ซึ่งพระชินเสน องค์นี้เป็ฯอาจารย์ที่เชี่ยวชารญ มีชื่อสเยงมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อสามเณรปู เรีนยธรรมบท ทศชาติมูลบทบรรพกิจจบแล้ว กจึงเดินทางไปศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราช ครั้งอายุได้ 20ปี บริบูรณ์ ขุนลก ก็นำสามเณรปูไปสู่สำนักพระมหาเถระปิยะทัสสี เพื่อขออุปสมบทบวชเป็นภิกษุ เนื่องจากเวลานั้นที่วัดท่าแพ ยังไม่มีพัธสีมา ขุนลก จึงได้จัดเรือมาดตะเคียนลำหนึ่ง เรือมาดพยอมลำหนึ่ง เรือมาดยางลำหนึ่ง เอามาผูกขนานกันที่คลองท่าเรือ (ปัจจุบันเรียกว่าคลองท่าแพ ) เพื่อใช้เป็นที่อุปสมบทแก่สามเณรปู ขุนลกและญาติพี่น้องทั้งหลายได้มาร่วมในพิธีอุปสมบทโดยพร้อมเพรียงกันในพิธีอุปสมบทสามเณรปูมีพระมหาปิยะทัสสีเป็นพระอุปัชฌายะ พระมหาพุทธสาครเป็นพระกรรมวาจา พระมหาเถระศรีรัตนเป็นอนุกรรมวาจา สามเณรปูเมืออุปสมบทแล้วมีฉายาว่า “สามีราโม” แต่ คนทั่วๆไปเรียกว่า “เจ้สามีราม” เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ทีวัดท่าแพ วัดสีมาเมือง เมื่อเห็นว่าเพียงพอแก่การศึกษาที่เมืองนครศรีธรรมราชแล้ว กจึงตั้งใจไปศึกษาต่อที่กรุงศรีอยุธยา พอดีทราบว่ามีเรือสำเภาของนายอิน ชาวเมืองสทิงพระจะไปค้าขายยังกรุงศรีอยุธยาและมาแวะที่เมืองนครศรีธรรมราชด้วยจึงขอโดยสารเรือสำเภาลำนั้นไปกรุงศรีอยุธยา ซึ่งนายสำเภาอิน ก็อนุโมทนารับนิมนต์ไปกับสำเภานั้น
    เมื่อถึงวันเดินทางเจ้าสามีราม ก็อำลาชีต้นผู้เป็นอาจารย์และโยมทั้งหลายไปกับเรือของนายอิน ครั้งเรือสำเภาแล่นเข้าเขตหน้าเมืองชุมพร ได้บังเกิดคลื่นลมแรงทะเลปั่นป่วนเรือไม่สามารถฝ่าคลื่นลมไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึง 7วัน 7 คืน เป็นเหตุให้เสบียงอาหารรวมทั้งน้ำจืดที่มีอยู่ในสำเภาขาดแคลนลง บรรดาลูกเรือต่างก็ตั้งข้อสงสัย กันว่า การเกิดอาเพทขึ้นครั้งนี้คงเป็นเพระเจ้าสามีรามโดยสารมาในเรือดังนั้นทั้งนายสำเภาและลูกเรือต่างก็ตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะ ดังนั้นจึงได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด ขณะที่เจ้าสามีรามนั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ได้ห้อยเท้าข้างซ้ายซึ่งมีลักษณะทู่ลงในทะเล ก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วง เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำบริเวณนั้นขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักใส่เรือไว้จนเพียงพอ ทั้งนายสำเภาอินและลูกเรือก็สำนึกในความผิดก้มลงกราบขอขมาเจ้าสามีราม และนิมนต์ขึ้นเรือสำเภาอีก และนับถือเจ้าสามีราม เป็นชีต้นหรืออาจารย์ตั้งแต่นั้นมา หลังจากนั้นเรือสำเภาก็ได้แล่นเร็วเกินความคาดหมายมุ่งตรงเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา
    พระอาจารย์ทิม ธัมมะธะโร (พระครูวิสัยโสภณ) ร่วมกับนายอนันต์ คณารักษ์ ครั้งนั้นดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองปัตตานีคิดร่วมกันสร้างรูปลักษณ์ของหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2495 เป็นรูปลักษณ์ฯ เนื้อว่านมหามงคลต่าง ๆ แจกจ่ายมอบให้กับผู้ที่ศรัทธานับถือ นำไปบูชาพกพาอาราธนาติดตัว เพื่อความเป็นสิริมงคลก็เกิดปาฏิหาริย์ ปรากฏการณ์เยอะแยะมากมายจนมีวัดวาอารามต่าง ๆ จัดสร้าง พระเครื่องหลวงปู่ทวดอีกมากมาย เป็นเนื้อว่าน เนื้อผง เนื้อโลหะ ทั้งรูปหล่อบูชาขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก ถือเป็นพระเครื่องที่มีผู้นิยมมากที่สุดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประสบการณ์อภินิหารมีมากมายถูกจารบันทึกเอาไว้โดยเฉพาะการมรณะภาพของหลวงปู่ทวดก็นับว่าแปลก เพราะท่านหายไปเฉย ขณะที่ท่านจำพรรษาสุดท้ายที่วัดพะโคะ ตำบลชุมพล อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยไม่มีผู้ใดทราบมาจนบัดนี้ ที่วัดแห่งนี้มีรูปหล่อของท่าน และเจดีย์ของท่านปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน
     
  13. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ประวัติความเป็นมาศาลเจ้าตาขุนลก





    ท่านเป็นชาวจีนฮกเกี้ยนที่ได้เข้ามารับราชการในเมืองนครในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง สมัยกรุงศรีอยุธยา มีหน้าที่เกี่ยวกับนา ตำแหน่งสูงสุดที่ปรากฏใน พ.ศ. 2191 มีบรรดาศักดิ์เป็นพระหรือออกพระ นับถือศาสนาพุทธ มีบ้านพักอาศัยอยู่ในบริเวณบ้านวัดสพ เป็นบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของข้าราชการกรมนาของเมืองนคร ท่านมีส่วนในการพัฒนาการทำนาของชาวนา จนเป็นที่เคารพนับถือของชาวนครทั่วไป ท่านเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2206 หลุมศพของตาขุนลก ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 บ้านมะม่วงสองต้น อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช
    มีศิลาจารึกหน้าหลุมศพขนาดใหญ่วางตั้งอยู่ ศิลามีขนาด 1.50*1.00 เมตร หนาประมาณ 15 ซม. สลักเป็นภาษาจีน และข้างหน้าแผ่นศิลาจารึก มีกระถางธูปศิลา อักษรบนศิลา หน้าหลุมศพ
    อ่านว่า ฟุ หรือ ฮก
    อ่านว่า ผู่ เป็นอำเภอหนึ่งของมณฑลฮกเกี้ยน
    อ่านว่า ยี่กุนหลิม (ภาษาฮกเกี้ยน) เป็นชื่อผู้ตาย สองตัวหน้าเป็นชื่อตัว ตัวที่สามเป็นแซ่
    อ่านว่า กงจือมู่ แปลว่า หลุมฝังศพของ
    อักษรจีนบนกระถางธูปศิลา
    อ่านว่า จั่งไห่ น่าจะหมายถึงชื่อกลุ่มชาวจีนกลุ่มหนึ่ง ในทำนองเป็นสมาคม
    อ่านว่า ตี่จือ แปลว่า สานุศิษย์
    อ่านว่า เฉินเอี๋ยนชู เป้นชื่อบุคคล (แซ่ตั้ง หรือตัน) ผู้บริจาคกระถางศิลานี้
    อ่านว่า สี่เชื่อ แปลว่า อนุโมทนาด้วยความยินดี
    อ่านว่า คังชี รัชสมัยหนึ่งในราชวงศ์ชิน (ค.ศ. 1662-1722 หรือ พ.ศ. 2205-2265)
    อ่านว่า ติงจิ่วชุ้ย แปลว่า ปีติ่งจิ่ว ตรงกับ ค.ศ. 1697 หรือ พ.ศ. 2240

    คำว่า ยี่กุน แปลตามศัพท์ว่า ชายสองหรือบุตรคนที่สอง กุน ออกเสียง ใกล้เคียงกับคำว่าขุนในภาษาไทยและยังมีความหมาย
    ที่ใกล้เคียงกันด้วย ชื่อเต็มของตาขุนลกตามศิลาหน้าหลุมศพว่า “ยี่กุน” เป็นชื่อจีนดั้งเดิมของท่านซึ่ง อีกชื่อหนึ่งซึ่งเป้นชื่อรองที่ชาวจีนส่วนใหญ่มักนิยมเรียกคือ “ลก” มีความหมายว่ามั่งคั่งด้วยสมบัติและบริวาร คำว่าขุนเป็นตำแหน่งทางศักดินาที่ท่านรับราชการในเมืองนครศรีธรรมราช และยังพ้องกับชื่อของท่านด้วย
    ชื่อของท่านจึงได้เรียกขานกันว่า “ขุนลก” ส่วนคำว่า “ตา” นำหน้าชื่อ “ขุนลก” นั้นเป็นคำสรรพนามที่คนใต้ใช้เรียกผู้เฒ่าสูงอายุในทำนองเดียวกับคำว่า ปู่ ทวด เจ้า อุ้ย ชื่อพระขุนลกปรากฏในประวัติหลวงพ่อทวดคือ ท่านพร้อมด้วยญาติพี่น้องรับเป็นเจ้าภาพอุปถัมป์บวชหลวงพ่อทวด
    อ่านว่า คังชี สมัยหนึ่งในราชวงศ์ชิง
    อ่านว่า ชุ่ยซื่อ แปลว่า แห่งปี
    อ่านว่า กุ่ยม่าว นับแบบจีน 60 ปี จะเป็น 1 รอบ ตรงกับ พ.ศ. 2206 ซึ่งเป็นปีที่ 2 แห่งรัชสมัยคังชี ตรงกับต้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์


    จงชุน แปลว่า ปีที่ 2 แห่งฤดูใบไม้ผลิ ตรงกับเดือนมีนาคม
    ลี่ตั้น แปลว่า เป็นฤกษ์ยามที่บรรจุศพในศิลาจารึกหน้าหลุมศพ ระบุปีที่ตาลุกเสียชีวิต ตรงกับ พ.ศ. 2206 และตรงกับปีที่ 3 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
    สานสานฉืออวน- จ่างลี (อักษรที่เว้นไว้เพราะเลือนไปจนอ่านไม่ออก) แปลว่า ผู้ใหญ่ของอ่าว หนองน้ำ สามภูเขา

    ที่ใกล้เคียงกันด้วย ชื่อเต็มของตาขุนลกตามศิลาหน้าหลุมศพว่า “ยี่กุน” เป็นชื่อจีนดั้งเดิมของท่านซึ่ง อีกชื่อหนึ่งซึ่งเป้นชื่อรองที่ชาวจีนส่วนใหญ่มักนิยมเรียกคือ “ลก” มีความหมายว่ามั่งคั่งด้วยสมบัติและบริวาร คำว่าขุนเป็นตำแหน่งทางศักดินาที่ท่านรับราชการในเมืองนครศรีธรรมราช และยังพ้องกับชื่อของท่านด้วย
    คำว่า หนองน้ำ หมายถึงน้ำที่มีน้ำขังตลอดปี เพราะเป็นที่ลุ่มด้านตะวันตกของเมืองนครตั้งอยู่ปัจจุบันพื้นที่ลุ่มต่ำในแถบนี้ไม่มีน้ำขังอยู่เลย เว้นแต่ในฤดูฝนน้ำหลากเท่านั้นที่พอจะมองเห็นสภาพที่คล้ายอดีต
    คำว่า สามภูเขา ฉากหลังด้านตะวันตกที่ไกลออกไปจะเป็นทิวเขาเป็นแนวยาวมียอดเขาเรียงกันเป็นกลุ่มๆ นับได้ 3 กลุ่ม คำว่า ผู้ใหญ่ แปลมาจากคำว่า จ่าง หน้าคำนี่มีอักษรอยู่ตัวหนึ่งเลือนจนอ่านไม่ออก
    ชาวฮกเกี้ยนเป็นจีนกลุ่มแรกที่ได้อพยพเข่ามาตั้งหลักแหล่งในเมืองนคร ซึ่งมีหลักฐานที่เด่นชัด ก็มีมาตั้งอยู่สมัยอยุธยา บริเวณที่มีชาวจีนฮกเกี้ยนอาศัยอยู่นอกจากท่าตีน-ท่าวัง ก็มีที่ตำบลพระเสื้อเมือง และตำบลนา (ปัจจุบันรวมเป็นตำบลในเมือง)
    ชาวจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ในภาคใต้ของไทยมีอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมของท้องถิ่นอยู่ไม่น้อย เช่น ในด้านการเกษตร การทำนา คนจีนเป็นผู้นำจอบเข้ามาใช้เรียกว่า จองหัวหมู
    ความเชื่อ
    ชาวนา ชาวบ้าน ไม่ว่า ไทย พุทธ จีน อิสลาม ในบริเวณทุ่งปรัง มีความเชื่อและปฏิบัติต่อตาขุนลกสืบต่อกันมาจนเป็นประเพณี ตั้งแต่สมัยโบราณกล่าวคือ ในฤดูทำนาตอนพักเที่ยงวัน ชาวนาที่นำอาหารกลางวันมา ก่อนที่จะกินจะแบ่งข้าวหยิบหนึ่งกับข้าวขนาดปลายช้อนวางลงบนใบไม้หรือใบตอง แล้วเอ่ยชื่อตาขุนลกให้วิญญาณของท่านมารับแล้วจึงจะกิน ชาวทุ่งปรังนับถือและปฏิบัติต่อตาขุนลกเสมอมา
    แต่ในปัจจุบัน ความเจริญทางด้านวัตถุบ้านที่อยู่อาศัยได้รุกเข้าสมทบไปในเขตที่เคยเป็นทุ่งนาทุกที การทำนาก็มีน้อยลงไปตามลำดับ ความเชื่อและประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับตาขุนลกก็ลดน้อยถอยลง จนชาวเมืองนครส่วนใหญ่ไม่รู้จักตาขุนลกกันแล้ว คงเหลือแต่ความเชื่อของคนบางกลุ่มที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณเช่นกัน
    องค์การบริการส่วนตำบลมะม่วงสองต้นเล็งเห็นถึงความสำคัญของโบราณสถานและโบราณวัตถุที่จะรำลึกถึงคุณความดีของตาขุนลก จึงคิดจะปรับปรุงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวของตำบลมะม่วงสองต้นสืบไป
    แนะนำของเก่า
    จอบหัวหมู เป็นจอบชนิดหนึ่งที่จีนมีใช้มาร่วมพันกว่าปีแล้ว ใบจอบหนา ฐานขอบเรียกเป็นเส้นตรงคล้ายจอบธรรมดา แต่มีขนาดสั้นกว่า ช่องใส่ด้ามจอบต่างกับจอบงธรรมดาที่มีช่องใส่อยู่ด้านบนในแนวตั้ง (ลักษณะเดียวกับเสียม) ด้ามจอบจะเป็นไม้ชิ้นเดียว ส่วนปลายที่ติดกับใบจอบจะโค้งงอเป็นมุมฉากลักษณะเช่นนี้เหมาะสมกับการใช้งานแต่งคันนา ขุด หรือพรวนดินในนาที่มีน้ำขัง น้ำจะไม่กระเซ็นใส่ผู้ใช้ และยังช่วยผ่อนแรงในการใช้ดีกว่าคันจอบธรรมดา จีนเรียกจอบชนิดนี้ว่า เปาะ
    ปัจจุบันมีการทำนาด้วยแรงคนน้อยลง จึงมีการใช้จอบกันน้อยลง
    [/COLOR]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 ธันวาคม 2012
  14. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ศาลเจ้าตาขุนลก

    ตั้งอยู่ที่ตำบลในเมือง (ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เรียกตำบลนี่ว่าตำบลพระเสื้อเมือง) ถนนหลังพระธาตุใกล้ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช

    พระเสื้อเมืองทรงเมืองนั้น เป็นคติความเชื่อดั้งเดิมมาช้านานของสังคมเอเชีย รูปเคารพพระเสื้อเมืองทรงเมืองดั้งเดิม 2 พระองค์ ที่ประดิษฐานในศาลเจ้าพระเสื้อเมืองนี้มีมาตั้งแต่อยุธยา ภายในศาลเจ้ามีหลักฐานโบราณวัตถุคือ หินสลักที่เหลือเพียงเท้าสิงห์ รูปเหมือนอยู่ 1 คู่ หินบดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 2 ฟุต ใช้สำหรับบดแป้ง จากหลักฐานเหล่านี้ทำให้สันนิษฐานได้ว่า เดิมที่นี่เป็นศาสนาสถานของพราหมณ์มาก่อน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาภานุพันธุ์วงศ์วรเดช ได้ทรงบันทึกในหนังสือชีวิวัฒน์ เมื่อ พ.ศ. 2427 (รัชกาลที่5) ในตอนที่กล่าวถึงเมืองนครตอนหนึ่งว่า "…ข้างฟากถนนด้านตะวันตก ถัดบ้านพระยานคร (ปัจจุบันคือศาลากลางจังหวัด - ผู้เขียน) ไปประมาณ 10 เส้น มีตลาดอีกแห่งหนึ่ง เป็นตลาดร้านเพิงเป็นหลังๆ ขายผ้า เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องใช้สอยต่างๆ ประมาณ21-22 ร้าน ที่นั้นมีโรงศาลเจ้าเสื้อเมืองหลังหนึ่ง มุงจากฝาลูกกรงไม้ไผ่เหมือนโรงโป ในนั้นมีกุฏิอิฐ2 หน้า ข้างตะวันตกมีเทวรูปศิลาปิดทองยืนจมดินสูงสักศอกเศษหน้าข้างตะวันออกมีเทวรูปศิลาปิดทองนั่งชันเข่าสูงสักศอกเศษหนึ่ง… " จะเห็นได้ว่าในบันทึกนี้ไม่ได้กล่าวถึงรูปเคารพอื่นๆเลย มีเพียงพระเสื้อทรงเมืองซึ่งลักษณะศิลปแบบท้องถิ่นที่เป็นความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ ซึ่งยังคงประดิษฐานอยู่ในศาลเจ้าในปัจจุบัน
    ประมาณ 50 ปี หลังจากนั้นคือในปี พ.ศ. 2476 หลักฐานที่กล่าวถึงพระเสื้อเมือง ปรากฏในหนังสือสาส์นสมเด็จ ซึ่งเป็นการรวบรวมหนังสือที่สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัติวงศ์ ทรงมีลายพระหัตถ์โต้ตอบระหว่างกันกับกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความตอนหนึ่งว่า "…ให้นำย้อนหลังไปดูศาลเจ้าพระเสื้อเมืองเป็นโรงใหญ่ กำมะลอฝาขัดแตะกลางโรงมีกุฏิก่ออย่างจีน ดุจกุฏินกขุนทอง หน้ากุฏิมีโต๊ะพระเครื่องบูชาอย่างจีนตั้งในกุฏิพระพุทธรูปรุ่นเก่า หลังกุฏิมีรูปปั้นเป็นเทวดานั่งวิศวกรรมแต่มีนมดูจะเป็นนาง หลังโต๊ะมีโต๊ะเครื่องบูชาอย่างจีนตั้งอีกแห่งหนึ่ง หลังโต๊ะแขวนรูปกวนอู เป็นที่น่าสังเกตได้ว่าศาลนี้เคยมีจีนมาปกครองแต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว ผู้ว่าราชการให้ผู้ใหญ่บ้านที่อยู่ใกล้มาดูแล…"
    จากการสัมภาษณ์คุณสมใจ ชินโอภาส (แซ่ตี่) ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่3 ของจีนผู้สร้างศาลเจ้าแห่งนี้ พอจะประมวลได้ว่าศาลเจ้าแห่งนี้สร้างโดยนายทับหิ้น แซ่ตี้ ชาวฮกเกี้ยนในราว พ.ศ.2422-23 ท่านเป็นพ่อค้าที่มีฐานะดีมากผู้หนึ่งในเมืองนคร ตั้งบ้านอยู่ตรงกันข้ามกับศาลพระเสื้อเมือง ท่านเป็นที่พึ่งของคนยากจนในละแวกนี้ นายทับหิ้นเสียชีวิตในราวปี พ.ศ.2470-72 ศาลเจ้าจึงขาดผู้ดูแลที่เป็นอยู่ระยะหนึ่ง ดังที่ปรากฏในหนังสือของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ฯ ว่า "เคยมีจีนปกครองแต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว" ในระยะที่ไม่มีผู้ดูแลนั้นก็เพราะว่า บุตรของนายทับหิ้นชื่อ นายฮุนเซี๊ยะ แซ่ตี่ ไปอยู่เมืองจีนขณะที่ยังเล็กยังไม่กลับมา นายฮุนเซี๊ยะกลับมาเมืองไทยในราวปี พ.ศ. 2475 - 76 และได้เป็นผู้จัดการดูแลรักษาศาลเจ้าต่อมาจนวาระสุดท้าย ในปี พ.ศ. 2526 และคุณสมใจ ชินโอภาส (แซ่ตี่) บุตรีนายฮุนเซี๊ยะ ได้รับหน้าที่เป็นผู้จัดการต่อจากบิดา ในขณะเดียวกันก็มีกรรมการเป็นคณะของศาลเจ้าเป็นผู้ดูแลและบริหารงานของศาลเจ้า โดยมีการคัดเลือก ผลัดเปลี่ยนคณะกันทุกปี จนเป็นประเพณีสืบต่อจนถึงปัจจุบัน ศาลเจ้าเก่าที่เป็นไม้ถูกพายุพัดจนเสียหายทั้งหลังเมื่อ 26 ตุลาคม 2505 ชาวจีนในเมืองนครจึงได้ร่วมกันสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคารคอนกรีต โดยมีนายฮุนเซี๊ยะเป็นแม่งานจนสำเร็จลุล่วง และได้ทำการสมโภชอย่างเป็นทางการเมื่อ 31 ธันวาคม 2508 ภายในศาลเจ้าแบ่งเป็น 3 ซุ้ม คือ ซุ้มกลาง เป็นซุ้มใหญ่ประดิษฐานรูปพระเสื้อเมืองและพระทรงเมือง ซึ่งเป็นรูปเก่าแก่ และมีปึงเถ่ากงและปึงเถ่าม่าแบบจีน ประดิษฐานเคียงคู่กัน (เทพแบบจีนเพิ่งจะนำเข้ามาในคราวที่สร้างศาลใหม่) ความจริงปึงเถ่ากงและปึกเถ่าม่าก็คือพระเสื้อเมืองและพระทรงเมือง ซึ่งจีนรับอิทธิพลความเชื่อมาจากอินเดียนั่นเอง ซุ้มทางด้านซ้าย (ทิศตะวันออก) เป็นเทพไซ่เซ่งเอี้ย เทพแห่งความมั่งคั่งสมบูรณ์ ด้านขวา (ทิศตะวันตก) ประดิษฐานรูปปั้นพระสังกระจาย 1 รูป พระจีนปูนปั้นซึ่งมีขนาดสูงกว่าองค์อื่นๆ ในซุ้มเดียวกัน เป็นรูปจำลองของตาขุนลก และมีรูปแกะสลักด้วยไม้จันทร์หอมของตาขุนลกในอิริยาบถเดียวกับรูปปูนปั้น (ท่านั่ง) แต่มีขนาดเล็กกว่า
     
  15. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    :cool::cool::cool::cool::cool::cool::cool::cool:
     
  16. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    บางท่านอาจสงสัยว่าทำพิธีเททองและเสกที่วัดดีหลวง พิเศษอย่างไร ?????

    ผมเคยได้เอาพระกริ่งนารายน์รุ่งเรืองไปเสกที่วัดดีหลวง


    พ่อท่าน ประสิทธิ์ วัดดีหลวง วัดสายตรงหลวงพ่อทวด เสกเดี่ยวในพระอุโบสถสมัยอยุธยา โบสถ์เดียวกันกับหลวงพ่อทวดบรรพชาสามเณร

    มีเรื่องปาฎิหารย์ มาเล่าสู่กันฟัง ขณะที่ หลวงพ่อประสิทธิ์ นั่งปลุกเสกพระกริ่งนั้นได้มีเสียงดังของลมพัดเข้ามายังกองวัตถุมงคลและมีเสียง กริ่ง ดังก้องในโบสธ์ วัดดีหลวงทั้งๆที่ ไม่มีระฆัง หรือ กระดิ่งแม้แต่ใบเดียวในโบสธ์วัดดีหลวง หลวงพ่อประสิทธิ์ ได้กล่าวว่า อาตมาคิดว่าพระรุ่นนี้ดังแน่เพราะท่านก็ได้ยินเสียงกริ่งดังชัดเจนกันทุกคนที่นั่งอยู่ในโบสธ์นั้น

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0167.JPG
      IMG_0167.JPG
      ขนาดไฟล์:
      431.2 KB
      เปิดดู:
      78
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 ธันวาคม 2012
  17. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    พระกริ่งรุ่นนี้มีคนจองเเล้ว93องค์ ครับผมล่าสุดเมื่อเช้านี้ส่วนพระเเก้วมรกตไม่ทรงเครื่อง 5นิ้ว โดยประมาณ เนื้อนวโลหะ ดินไทยโบราณตอนนี้มีคนจองเเล้ว12องค์ คงเหลือ 4องค์สุดท้ายเเล้วนะครับ
     
  18. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ตอนนี้มีคนทะยอยจองพระกริ่งดีหลวงฟ้าประทานเรื่อยๆเเล้วนะครับ คิดว่าไม่นานยอดจองน่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเเละมวลสารบางอย่างสายหลวงพ่อทวดที่หายากๆก้อจะนำมาบรรจุในพระกริ่งรุ่นนี้เเบบเต็มภาคภูมิให้สมกับชื่อว่าเป็นพระกริ่งสายตรงหลวงพ่อทวดครับ
     
  19. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    ถือได้ว่าดีหลวงฟ้าประทานคือพระกริ่งที่รวมมวลสารได้มากที่สุดรุ่นหนึ่งในชีวิตผมเลย ต้องขอบพระคุณหลายๆท่านที่สละของหวงมาอาทิ ตะกรุดหลวงพ่อศุข ตะกรุดเงินหลวงพ่อเดิม เเละพระเครื่องอีกมากมายรวมทั้งชนวนเก่าเเก่หลายอย่าง

    เมื่อวานลูกชายของอดีตนายตำรวจองค์รักษ์ กรุณาเล่าให้ฟังว่ามีคนจะมาขอเเลกพระกริ่งนารายณ์รุ่งเรืองกับปิดตาหลวงพ่อศุขเนื้อดินเนื่องด้วยประสบการณ์ของพระกริ่งนั่นเอง
     
  20. jummaiford

    jummaiford เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    10,501
    ค่าพลัง:
    +38,941
    พระกริ่งดีหลวงฟ้าประทารุ่นนี้มีคนจองเเล้ว100 องค์ ครับผมล่าสุดเมื่อเที่ยงนี้ สรุปยอดจองเช้านี้ 10 องค์ ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...